แพ็กเกจจิ้งใหม่ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 12 Sep 2020 10:03:55 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 McDonald’s อังกฤษทดลองระบบ “แก้วใช้ซ้ำ” คืนแก้วได้คืนเงินมัดจำ แก้ปัญหาขยะล้นโลก https://positioningmag.com/1296708 Sat, 12 Sep 2020 08:42:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296708 McDonald’s ประเทศอังกฤษ กำลังวางแผนทดสอบระบบ “แก้วใช้ซ้ำ” ร่วมกับบริษัท Loop โดยลูกค้าวางเงินมัดจำค่าแก้วก่อน และจะได้คืนเมื่อคืนแก้วภายในร้าน หรือถ้าสั่งกลับบ้าน สามารถนำแก้วไปคืนที่จุดรับคืนอื่นๆ ได้ ช่วยแก้ปัญหาขยะล้นโลก และสะดวกกับลูกค้ามากกว่าการรณรงค์ให้พกแก้วไปเอง

ถ้าคุณมีโอกาสได้แวะร้าน McDonald’s ที่ประเทศอังกฤษช่วงต้นปีหน้า คุณอาจสังเกตเห็นทางเลือกใหม่ในการสั่งเครื่องดื่มร้อนอย่างกาแฟหรือช็อกโกแลตร้อน แทนที่จะใส่แก้วกระดาษใช้แล้วทิ้งอย่างเคย ร้านจะให้แก้วพลาสติกและฝาปิดแก้วแบบใช้ซ้ำได้แทน โดยแก้วรูปแบบนี้สามารถนำกลับมาล้าง ฆ่าเชื้อ และนำกลับเข้าระบบของร้านสำหรับเสิร์ฟลูกค้ารายต่อไปได้

McDonald’s เป็นเชนร้านอาหารเจ้าแรกที่ร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัท Loop เพื่อสร้างระบบภาชนะใช้ซ้ำขึ้นมา บริษัท Loop นั้นเป็นผู้นำในระบบบรรจุภัณฑ์ใช้ซ้ำอยู่แล้ว ที่ผ่านมาเคยร่วมเป็นพันธมิตรกับแบรนด์ดังผู้ผลิตแชมพูและไอศกรีม สร้างเครือข่ายให้ผู้บริโภคนำบรรจุภัณฑ์กลับมาคืน แต่ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่บริษัททำงานกับเชนร้านอาหาร ซึ่งบริบทการใช้และคืนบรรจุภัณฑ์อาจจะแตกต่างออกไป

ในประเทศอังกฤษ สาขาส่วนใหญ่ของ McDonald’s ใช้แก้วกระดาษที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้อยู่แล้ว แต่แน่นอนว่าการใช้ซ้ำแก้วเดิมย่อมมีผลต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าการเข้ากระบวนการรีไซเคิลทันที

ตัวอย่างแก้วใช้ซ้ำ (Reuse) ของ McDonald’s อังกฤษ

ระบบใหม่นี้จะให้ลูกค้ามัดจำเงินค่าแก้วใช้ซ้ำไว้ก่อน หากนั่งทานในร้านเสร็จแล้วสามารถคืนแก้วที่จุดรับคืนของ Loop ในร้านและได้รับเงินมัดจำคืนทันที หรือถ้าลูกค้าสั่งกลับบ้าน (take away) สามารถเก็บแก้วมาคืนทีหลังได้ หรือจะคืนที่จุดรับคืนอื่นๆ ของ Loop ก็ได้ นอกจากในร้าน McDonald’s แล้ว ยังมีจุดรับที่ซูเปอร์มาร์เก็ต Tesco ด้วย

หลังจากได้คืนแก้วแล้ว Loop จะเป็นผู้นำไปทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ และบรรจุหีบห่อกลับมาที่ร้านใหม่อีกครั้ง (ถ้าหากลูกค้าหาจุดรับคืนไม่เจอ ตัวแก้วเองสามารถรีไซเคิลได้)

“ทอม ซากี้” ซีอีโอ Loop มองว่า การทำระบบคืนแก้วแบบนี้สะดวกกับลูกค้ามากกว่าการต้องพกแก้วส่วนตัวไปทุกที่ “กุญแจสำคัญคือเราจะทำอย่างไรเพื่อให้แน่ใจว่าการใช้ซ้ำ (reuse) นั้นใช้ได้จริงกับธุรกิจที่มุ่งเน้นเรื่องความสะดวกสบายของลูกค้า ดังนั้นเราจึงมุ่งมั่นกับการสร้างความสะดวกให้กับการทิ้ง แต่ยังทำให้สิ่งนั้นกลับมาใช้ซ้ำได้อยู่”

 

ถ้าระบบ ‘เวิร์ก’ อาจจะขยายไปใช้กับเมนูอื่นต่อ

การทดสอบระบบใหม่กับแก้วกาแฟครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกของ McDonald’s เชนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดรายนี้เคยทดลองระบบแก้วใช้ซ้ำในเยอรมนีมาแล้ว แต่ระบบนั้นคือการให้ส่วนลดกับลูกค้าที่นำแก้วมาเอง และเสิร์ฟเครื่องดื่มในแก้วกระเบื้องเมื่อลูกค้าต้องการทานในร้าน ซึ่งเป็นระบบแบบเดียวกับร้านอาหารฟูลเซอร์วิสทั้งหลายทำกัน แต่สำหรับเชนฟาสต์ฟู้ดที่ลูกค้าจำนวนมากซื้ออาหารกลับบ้าน วิธีนี้จึงไม่ค่อยตอบโจทย์เท่าไหร่

“เรากำลังใช้โครงการนำร่องนี้เพื่อทดสอบ และเพื่อพิจารณาว่าโมเดลการใช้ซ้ำจะใช้ได้จริงกับระบบของเราได้อย่างไร ทั้งในมุมมองของการบริหารร้าน และมุมมองของลูกค้า” เจนนี่ แมคคอลล็อค รองประธานฝ่ายความยั่งยืนระดับโลก McDonald’s Corporation กล่าว

“โครงการนี้จะเหมือนกับเวลาที่เราทดลองลงเมนูใหม่ เราต้องเข้าใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับแฟรนไชส์ของเรา ประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับตั้งแต่การสั่งออร์เดอร์ การสัมผัสกับแก้วและเครื่องดื่มในแก้ว จนถึงการคืนแก้ว โดยเรามีแบบประเมินประสิทธิภาพของสิ่งเหล่านี้รอไว้แล้ว โครงการจะทดลองหลายๆ รูปแบบ เช่น ต้องมีเงินมัดจำจูงใจเท่าไหร่ถึงจะกระตุ้นให้ลูกค้านำแก้วมาคืน แก้วจะถูกใช้ซ้ำกี่ครั้งก่อนที่จะหายเข้าไปสู่การรีไซเคิล แม้ว่างานดีไซน์จะออกแบบมาให้แก้วใช้ซ้ำได้อย่างน้อย 100 ครั้งก็ตาม” แมคคอลล็อคอธิบาย

มีความเป็นไปได้ที่ระบบนี้จะถูกนำไปใช้กับบรรจุภัณฑ์อย่างอื่นในร้านด้วย “ถ้าหากใช้ได้จริงกับแก้วเครื่องดื่มร้อน มันอาจจะขยายไปใช้กับน้ำอัดลม หรือแมคเฟลอร์รี่ด้วยก็ได้” ซากี้กล่าว “จากนั้นก็อาจจะขยายไปถึงแพ็กเกจจิ้งที่ใช้ใส่แฮมเบอร์เกอร์ เฟรนช์ฟราย นักเก็ตไก่ ไปจนถึงพายแอปเปิล”

ซากี้ยังหวังด้วยว่า ระบบนี้อาจจะขยายไปสู่เชนร้านอาหารอื่นๆ “ความงามของเครือข่ายของเราคือ ยิ่งมีผู้เล่นในตลาดเข้ามาใช้งานมากเท่าไหร่ เครือข่ายของจุดรับคืนก็จะยิ่งมากและสะดวกขึ้นเท่านั้น”

McDonald’s เองก็หวังว่าร้านอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกันจะช่วยกันทำให้ระบบนี้ก้าวหน้า “สิ่งหนึ่งที่เราเห็นบ่อยๆ ในการสร้างความยั่งยืนคือ ยิ่งมีผู้มีส่วนร่วมที่หลากหลายและมุมมองจากส่วนต่างๆ ของสังคมจำนวนมากที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน จะยิ่งง่ายขึ้นในการสร้างความก้าวหน้า ในกรณีโครงการนี้คือการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและโซลูชันเพื่อป้องกันไม่ให้ขยะไปอยู่ในธรรมชาติ” แมคคอลล็อคกล่าว

Source

]]>
1296708
หน้าร้อนคนกินเยอะ! เลย์ ควัก 80 ล้าน ส่งแพ็กเกจใหม่ในรูปชาม “เลย์ โบว์ล – แบ็ค” ชามเขย่าตลาดมันฝรั่งหมื่นล้าน โต 20% รับไฮซีซั่นหน้าร้อนยอดพุ่ง 20%  https://positioningmag.com/1164537 Tue, 03 Apr 2018 10:36:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1164537 นอกจากการออกสินค้าใหม่แล้ว การออกแพ็กเกจจิ้งใหม่ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการสร้างดีมานด์เพื่อกระตุ้นยอดขาย หากตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าได้มากพอ

ทำให้ บริษัท เป๊ปซี่โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ต้องควักงบออกแพ็กเกจจิ้งใหม่ให้กับมันฝรั่งเลย์ ที่อยู่ในรูปของซองและชาม ผสมกัน หรือเลย์ โบว์ล-แบ็ค (Lay’s Bowl – Bag) ออกวางตลาดรับช่วงหน้าร้อนที่ถือเป็นฤดูขายที่สำคัญอีกช่วงหนึ่ง

ส่วนเรื่องของรสชาติ ก็ต้องทำคู่กันไป งานนี้เลย์จึงต้องคว้าเป๊กผลิตโชคขวัญใจเหล่า นุช นั่งแท่นพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ หวังดันยอดหน้าร้อน โดยปูพรมกิจกรรมการตลาดภายใต้คอนเซ็ปต์แชร์ความอร่อยให้ชีวิตยิ่งมีรสชาติ

โดยจะใช้งบการตลาด 80 ล้านบาท สร้างการรับรู้วงกว้างผ่านแคมเปญโฆษณาชุดและใช้โฆษณากลางแจ้ง สื่อบนสถานีรถไฟฟ้า สื่อออนไลน์ สื่อในร้านค้า และ ณ จุดขาย ควบคู่ไปกับกิจกรรมส่งเสริมการขายในช่องทางต่างๆ รวมไปถึงการจัดโปรโมชั่นเพื่อให้ผู้บริโภคได้ลุ้นกิจกรรม Meet & Greet

เคิร์ท พรีชอว์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจอาหาร บริษัท เป๊ปซี่โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมา ตลาดมันฝรั่งทอดกรอบมูลค่า 10,000 ล้านบาท2  (ข้อมูลนัลเส็น) ถือเป็นหนึ่งในสามแคทิกอรีหลักที่มีการเติบโตสูงที่สุดในอุตสาหกรรมขนมขบเคี้ยว (Salty Snack)

โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงถึง 8.9%3 และยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปีนี้ โดยในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา (มกราคมกุมภาพันธ์ 2561) มีอัตราการเติบโต สูงถึง 20%4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ยิ่งตลาดโต เลย์ก็ต้องเดินหน้าขับเคลื่อนตลาด เริ่มเปิดตัวด้วยแคมเปญเลย์ ชีสเฟสติวัลมาตั้งแต่ต้นปี ตามมาด้วย เลย์ โบว์ลแบ็ค’  (Lay’s Bowl – Bag) เพื่อบุกตลาดในช่วงหน้าร้อน ซึ่งถือเป็นช่วงไฮซีซั่นที่มียอดขายเติบโตกว่าช่วงปกติ 15 – 20%5

เนื่องจากเป็นช่วงที่ผู้บริโภคมักออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านร่วมกับเพื่อนฝูงและครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางท่องเที่ยวหรือพักผ่อน

โดยประเทศไทยถือเป็นตลาดแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เลย์เลือกเปิดตัวนวัตกรรมนี้ ก่อนจะขยายไปในประเทศอื่นต่อไป.


  • 1 มูลค่าตลาดขนมขบเคี้ยว (Salty Snack) ในประเทศไทย ปี 2560 อ้างอิงข้อมูล บริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด
  • 2,3 ในปี 2560 เซ็กเมนต์มันฝรั่งทอดกรอบมีมูลค่า 10,612 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 8.9% อ้างอิงข้อมูล บริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด
  • 4 อัตราการเติบโตของเซ็กเมนต์มันฝรั่งทอดกรอบ ระหว่างเดือนมกราคมกุมภาพันธ์ ปี 2561 อ้างอิงข้อมูล บริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด
  • 5 อัตราการเติบโตของเซ็กเมนต์มันฝรั่งทอดกรอบในช่วงหน้าร้อน (เปรียบเทียบยอดขาย เดือนมีนาคมเมษายน กับ เดือนมกราคมกุมภาพันธ์ ระหว่างปี 2558 – 2560)

อ้างอิงข้อมูล บริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด

]]>
1164537