แอดไวซ์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 01 Jul 2022 05:33:19 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘แอดไวซ์’ ไม่หวั่นพิษศก. มั่นใจฟันรายได้ 1.9 หมื่นล้าน พร้อมเดินหน้าโรดโชว์เกมมิ่ง 63 จังหวัด https://positioningmag.com/1390774 Thu, 30 Jun 2022 08:57:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1390774 ถือเป็นปีที่แอคทีฟหนักมากสำหรับ สิงห์ไอทีภูธร อย่าง แอดไวซ์ (Advice IT) โดยล่าสุดได้ออกมาพูดถึงแผนครึ่งปีหลัง ท่ามกลางพิษเศรษฐกิจที่เริ่มส่งผลกระทบชัดขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมยืนยันว่า เป้าหมายการเติบโต 25% ทำรายได้ 19,000 ล้านบาทยังไงก็ไม่เปลี่ยนเเปลง

พิษเศรษฐกิจเริ่มส่งผล

ภาพรวมสินค้าไอทีในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แม้จะมีดีมานด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากเทรนด์ Work From Home, Learn From Home แต่เพราะปัญหาซัพพลายเชนจึงทำให้สินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ ขณะที่ภาพรวมปีนี้คาดว่าจะมียอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์-โน้ตบุ๊กราว 2.8 ล้านเครื่อง

สำหรับแอดไวซ์เองในช่วงไตรมาสแรกถือว่าทำได้ดีอย่างมาก แต่ในช่วง 2 เดือนหลังของไตรมาส 2 รายได้กลับไม่เป็นไปตามเป้า ซึ่งเป็นผลกระทบจากปัญหาเงินเฟ้อที่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม แอดไวซ์ยังไม่ปรับเป้าที่วางไว้ 19,000 ล้านบาท เติบโต 25% เนื่องจากวางแผนกิจกรรมการตลาดเพื่อกระตุ้นช่วยครึ่งปีหลังไว้รับมือ

“ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โควิดทำให้ตลาดไอทีเติบโตมาก แต่มาปีนี้เริ่มกลับสู่ภาวะปกติ ประกอบกับปัญหาเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ เราก็เริ่มเห็นผลกระทบในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา แต่เรายังยืนยันไม่ปรับเป้าการเติบโต” ณัฎฐ์ ณัฐนิธิการัชต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดไวซ์ ไอที อินฟินิท จำกัด กล่าว

ณัฎฐ์ ณัฐนิธิการัชต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดไวซ์ ไอที อินฟินิท จำกัด

ออกโรดโชว์เกมมิ่ง

ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แอดไวซ์พยายามเจาะลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ อายุ 15-35 ปี จากเดิมกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่จะอายุ 30 ปีขึ้นไป โดยแอดไวซ์ได้ขยายสาขาในกรุงเทพฯ มากขึ้น และ งบการตลาด 70% อัดที่ออนไลน์ มีการใช้อินฟลูเอนเซอร์และการแข่งขันอีสปอร์ตเพื่อจับกลุ่มวัยรุ่น รวมถึงการเป็นสปอนเซอร์ The Match Bangkok Century Cup 2022

“เราพยายามจับกลุ่มคนรุ่นใหม่เพราะจะได้ขยับจากยอดซื้อสินค้าจากกลุ่ม Low-Mid ไปเป็นกลุ่ม Mid-Hight ซึ่งเราก็เริ่มเห็นว่าราคาเฉลี่ยในการซื้อสินค้าก็เพิ่มจาก 22,000-23,000 บาทเป็น 26,000-28,000 บาท โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มเกมมิ่งที่ขายดี อย่างสินค้าราคาหลัก 50,000 ขึ้นไปก็เริ่มขายได้มากขึ้น” จักรกฤช วัชระศักดิ์ศิลป์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานผลิตภัณฑ์ การขายและการตลาด

จักรกฤช วัชระศักดิ์ศิลป์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานผลิตภัณฑ์ การขายและการตลาด บริษัท แอดไวซ์ ไอที อินฟินิท จำกัด

สำหรับกลยุทธ์ครึ่งปีหลังนี้ จะมีการจัด โรดโชว์ “THE WAY OF GAMING” คาราวานธีมอีสปอร์ตที่จะเดินทางทัวร์ทั่วประเทศรวมทั้งหมด 63 จังหวัด รวมถึงการเปิดหน้าร้านใหม่อีก 10 สาขา และรีโนเวตเพิ่มอีก 30 สาขา ปัจจุบัน แอดไวซ์มีสาขารวม 335 สาขา เป็นของตัวเอง 108 แฟรนไชส์ 227 สาขา และสาขาที่ลาว 15 สาขา

2-3 ปีที่ผ่านมา เราพยายามเพิ่มกลุ่มกลาง-บน โดยเรามีการปรับสัดส่วนในการแสดงสินค้าใหม่ให้เป็นไปตามกลยุทธ์ มีการปรับรีโลเคชั่น มีการรีโนเวต เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงง่าย”

‘แอดไวซ์’ สิงห์ไอทีภูธรขอผงาดเข้ากรุงด้วยแมตช์ ‘แดงเดือด’ หวังยกระดับแบรนด์ก่อน IPO

ตั้งทีม B2B เพิ่มยอดขาย

นอกจากฝั่งลูกค้าทั่วไป แอดไวซ์ได้เพิ่มทีมที่จะจับตลาดองค์กร โดยเพิ่มทีมเซลล์โดยเฉพาะ เบื้องต้นจะเน้นที่บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ก่อน นอกจากนี้ ฝั่งของออนไลน์ แอดไวซ์ยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยมีการขายทั้งโซเชียลคอมเมิร์ซ (Facebook, Line), อีคอมเมิร์ซ (Lazada, Shopee, JD.Central) และในปีนี้แอดไวซ์จะเพิ่มช่องทาง Instagram เพื่อเพิ่มยอดขายออนไลน์

ในส่วนของราคาน้ำมัน แอดไวซ์เองก็ได้ผลกระทบโดยต้นทุนการขนส่งเพิ่มขึ้นถึง 20% แต่แอดไวซ์ยังไม่มีการปรับราคาค่าส่ง เนื่องจากต้นทุนดังกล่าวเป็นส่วนน้อยของบริษัท ทำให้ไม่กระทบมากนัก

“แม้เศรษฐกิจจะตกต่ำแต่เรายังเห็นดีมานด์แฝง อย่างที่เราหันไปจับ B2B มากขึ้น ก็เพราะเรายังเห็นถึงความต้องการการลงทุนอย่างต่อเนื่อง อย่างตลาดคริปโตดร็อป แต่กลุ่มเกมเมอร์ยังเติบโต แน่นอนว่าปัญหาเศรษฐกิจมันอาจทำให้ดีมานด์ช็อก แต่เดี๋ยวก็กลับมา แต่คงไม่ได้โตมากเหมือนช่วงโควิด”

ปัจจุบัน แอดไวซ์มียอดขายจากหน้าร้าน 58%, ช่องทางออนไลน์ 19%, แฟรนไชส์ 14% และลูกค้าองค์กร 9%

ปีหน้า IPO ได้แน่นอน

ในส่วนเรื่องการ IPO ปัจจุบันผ่านขั้นตอนการตรวจสอบด้านระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของการออก IPO แล้ว เหลือเพียงตั้งคณะกรรมการให้ถูกต้อง และยื่นเอกสารอื่น ๆ เท่านั้น แต่ปีนี้อาจไม่ทัน คาดว่าปีหน้าจะได้ออก IPO แน่นอน

]]>
1390774
‘แอดไวซ์’ สิงห์ไอทีภูธรขอผงาดเข้ากรุงด้วยแมตช์ ‘แดงเดือด’ หวังยกระดับแบรนด์ก่อน IPO https://positioningmag.com/1381017 Fri, 08 Apr 2022 07:14:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381017 จากคำถามง่ายของลูกสาวที่ว่า “ทำไมที่เซ็นทรัลเวิลด์มี Banana มี J.I.B แต่ไม่เคยเห็น Advice ประกอบการเป้าหมายที่จะพาบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ จักรกฤช วัชระศักดิ์ศิลป์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานผลิตภัณฑ์ การขายและการตลาด บริษัท แอดไวซ์ ไอที อินฟินิท จำกัด จึงต้องพยายามดัน แอดไวซ์ ให้เป็นที่รู้จักในกรุงเทพฯ ให้ได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหนก็ตาม

จากการรวมกันของร้านไอทีสู่แบรนด์แอดไวซ์

จุดเริ่มต้นของ แอดไวซ์ ไอที (Advice IT) ค้าปลีกสินค้าไอทีชั้นนำของประเทศไทยที่มีฉายาว่า สิงห์ภูธร นั้นเกิดขึ้นจากการรวมตัวของร้านค้าไอทีทั่วประเทศ ซึ่งมีรูปแบบการดำเนินการที่เรียกว่า แอดไวซ์ ดิสทริบิวชั่น (Advice Distributions) โดยการนำเอาร้านค้าไอทีที่เป็นลูกค้าขายส่งมาสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงระบบหลังบ้านเข้าด้วยกัน โดยในอดีตเน้นการขายส่งเป็นหลักโดยมีสัดส่วนถึง 88% แต่ปัจจุบันเหลือแค่ 33% ที่เหลือเป็นค้าปลีก

ปัจจุบัน แอดไวซ์มีสาขาที่ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศถึง 350 สาขา แต่มีสาขาในกรุงเทพฯ ราว 10 กว่าสาขาเท่านั้น และจากเป้าหมายที่จะ IPO หรือ จดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ การเป็นที่รู้จักและภาพลักษณ์ที่ดีนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นแอดไวซ์ต้องเร่งเดินหน้า เนื่องจากพิษโควิดทำให้เป้าหมายที่ต้อง IPO ให้แล้วเสร็จในปี 64 ต้องล่าช้าไป

ฉีกขนบค้าปลีกไอที

ปกติแล้วธุรกิจค้าปลีกไอทีส่วนใหญ่จะใช้โปรโมชันหรือทำโฆษณาออนไลน์เป็นหลัก แต่ยากที่จะมาลงทุนทำ ภาพยนตร์โฆษณา แต่แอดไวซ์ถือเป็นผู้เล่นไม่กี่รายที่ทำ ย้อนไปในปี 2559 แอดไวซ์ได้ภาพยนตร์โฆษณาออกมา 2 เรื่อง “เพราะเพื่อนบ้านคือกล้องวงจรที่ดีที่สุด” และเรื่อง “12 ปีเป็นอายุที่เหมาะสมเด็กในการเล่น แท็บเล็ต”  ซึ่งทั้ง 2 เรื่องก็เกิดได้รับการพูดถึงอย่างมาก

จนมาปี 2021 ที่ผ่านมา แอดไวซ์ได้ทำภาพยนตร์โฆษณาอีกครั้ง โดยเน้นเรื่อง “เราได้อะไรจากการฟัง?” โฆษณาดังกล่าวได้แจ้งเกิด ป้าอ้วนขายข้าวหลาม ที่เสมือนเป็นตัวแทนคนหาเช้ากินค่ำที่ไม่เข้าใจเรื่องสินค้าไอที และด้วยฝีปากแบบแม่ค้าที่พูดตรง ๆ ห้วน ๆ และทำให้ป้าอ้วนเป็นที่ถูกใจใครหลาย ๆ คน จากนั้น แอดไวซ์ก็จับ ป้าอ้วน มาต่อยอดทำคลิปรีวิวคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไอทีจนเกิดเป็นไวรัลอีกรอบ

The Match จิ๊กซอว์ตัวสุดท้าย?

แน่นอนว่าจุดประสงค์ของภาพยนตร์โฆษณาตัวล่าสุดของแอดไวซ์ก็คือ การสร้างภาพแบรนด์ที่ดีขึ้น เพราะอย่างที่เกริ่นไปตอนแรกว่า แอดไวซ์ต้องการที่จะทำ IPO เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์เพื่อเป็นบริษัทมหาชน และเมื่อมีความแข็งแรงมากพอแล้วในต่างจังหวัด ดังนั้น กรุงเทพฯ จึงเป็นหมุดหมายที่สำคัญมาก และการจะเจาะคนกรุงนั้น แอดไวซ์ได้พุ่งเป้าไปที่ Gen Z

ที่ผ่านมา แอดไวซ์ใช้ อีสปอร์ต มาเป็นกลยุทธ์ในการทำตลาดตั้งแต่ปี 2019 เพื่อเจาะกลุ่ม Gen Z อาทิ ร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในการจัด “Esports Thailand Championship presented by Advice” การจัดกิจกรรม “Advice E-Sports 2019 Episode 2” ใน 18 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ แต่ก็ไม่ได้เจาะจงไปเฉพาะเจาะจงไปที่ Gen Z คนกรุงนัก

การที่ใช้อีสปอร์ตเป็นกลยุทธ์ในการตลาดไม่ได้มีเพียงเพื่อสร้างการรับรู้หรือขยายตลาดไปยัง Gen Z เท่านั้น แต่เพราะปัญหาซัพพลายเชนที่มีไม่พอ แถมสินค้าใหม่ ๆ ก็เริ่มมีราคาสูงขึ้น การที่เจาะกลุ่มคนเล่นเกมก็จะช่วยให้ขายสินค้าได้ แพงขึ้น เพราะคนกลุ่มนี้จ่ายหนักกว่าคนต่างจังหวัด

ด้วยความที่การทำ IPO ของบริษัทไม่ได้เป็นไปตามแผน ประกอบกับที่ปีนี้มีการจัดศึก แดงเดือด ของ ลิเวอร์พูล และ แมนเชสเตอร์ยูในเต็ด ในประเทศไทย หรือ The Match Bangkok Century Cup 2022 ทำให้ จักรกฤช สาวกหงส์แดงที่มีเลือดของ The Kop เต็มเปี่ยมเห็นโอกาสที่จะใช้ สปอร์ตมาร์เกตติ้ง ช่วยให้เข้าถึงคนกรุงเทพฯ โดยยอมทุ่มเงินหลักร้อยล้านกระโดดเข้ามาเป็น สปอนเซอร์ ในศึกแดงเดือดในไทยครั้งนี้

“แน่นอนว่าใช้งบขนาดนี้ยังไง ROI ในเรื่องยอดขายไม่คุ้มอยู่แล้ว แต่เรามองว่ามันจะช่วยทำให้แอดไวซ์เป็นที่รู้จักของคนกรุงมากขึ้น เพราะกิจกรรมจัดในกรุงเทพฯ เป็นหลัก ขณะที่กลุ่ม Gen Z นอกจากเล่นเกมเขาก็ชื่นชอบกีฬาฟุตบอลด้วย และสุดท้าย แอดไวซ์อยากคืนกำไรให้ลูกค้าแล้วก็ประเทศ เพราะการแข่งขันจะช่วยฟื้นการท่องเที่ยวในไทย”

เป้าหมายสุดท้ายเป็นคอมมูนิตี้ไอที

สำหรับแผนการการขยายสาขาของแอดไวซ์จะเน้นที่กรุงเทพฯ เป็นหลัก ส่วนในต่างจังหวัดจะเน้นรีโนเวตสาขาให้มีขนาดใหญ่มากขึ้นเพื่อสร้างเป็น คอมมูนิตี้ ไม่ใช่แค่ร้านขายสินค้าไอที เช่น พื้นที่ให้ Work From Home การจัดพื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยน เป็นต้น นอกจากนี้ แอดไวซ์ยังขยายสู่สมาร์ทดีไวซ์อื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ IoT ภายในบ้านอีกด้วย

ไม่รู้ว่าตั้งแต่การใช้ ป้าอ้วน มา อีสปอร์ต บวกกับการเป็นสปอร์นเซอร์ The Match จะเพียงพอสำหรับสร้างการรับรู้รวมถึงเสริมภาพให้กับแบรนด์พอที่จะ IPO หรือไม่ ซึ่งทางแอดไวซ์คาดว่าในเดือน มิ.ย.จะมีรายละเอียดที่ชัดเจนว่าจะแล้วเสร็จให้ได้ภายในปีนี้หรือไม่ คงต้องติดตามกัน

]]>
1381017
‘แอดไวซ์’ ชี้ตลาดไอทีดีมานด์มีแต่ซัพพลายสะดุด เน้นโฆษณา ‘บ้าน ๆ’ ย้ำภาพสิงห์ภูธร https://positioningmag.com/1348007 Sun, 22 Aug 2021 03:52:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348007 ตั้งแต่เกิดการระบาดของ COVID-19 จะเห็นข่าวปัญหาด้านซัพพลายที่เกิดขึ้นตามมา ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งที่ล่าช้า รวมไปถึง ‘ชิปเซ็ต’ ที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากเหล่าเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าไอทีต่าง ๆ มีความต้องการเพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลจากการ Work from Home และ Learn form Home

ดีมานด์มีแต่ปัญหาซัพพลายลากยาว

จักรกฤช วัชระศักดิ์ศิลป์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานผลิตภัณฑ์ การขายและการตลาด บริษัท แอดไวซ์ ไอที อินฟินิท จำกัด ผู้ค้าปลีกและค้าส่งอุปกรณ์ไอทีรายใหญ่ ยอมรับว่า ณ ปัจจุบันประเมินการเติบโตของตลาดไอทีได้ยาก เพราะที่ผ่านมาตลาดยังคงมีดีมานด์ ทั้งจากการใช้ทำงานและการเรียน แต่ด้วยปัญหาด้านซัพพลายเชนที่ลากยาวทำให้มีสินค้าไม่เพียงพอ อีกทั้งการระบาดซ้ำยังส่งผลต่อกำลังซื้อผู้บริโภค

“แม้ธุรกิจไอทีจะมีดีมานด์มากกว่าอุตสาหกรรมอื่น แต่เพราะซัพพลายเชนที่จำกัดและสภาวะเศรษฐกิจทำให้พูดได้ไม่เต็มปากว่าตลาดมันจะดี ต้องรอดูช่วงครึ่งปีหลังหากซัพพลายกลับมาน่าจะเห็นภาพชัด”

จักรกฤช วัชระศักดิ์ศิลป์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานผลิตภัณฑ์ การขายและการตลาด บริษัท แอดไวซ์ ไอที อินฟินิท จำกัด

ล็อกดาวน์กระทบน้อย เพราะเป็นสิงห์ภูธร

จากมาตรการล็อกดาวน์ที่ลากยาวตั้งแต่ 12 ก.ค. ที่ผ่านมาจนจะไปสิ้นสุดในวันที่ 31 ส.ค. นี้ ซึ่งยังไม่แน่ว่าขยายเวลาไปอีกหรือไม่ โดยจากมาตรการล็อกดาวน์ทำให้ห้างสรรพสินค้า และไอทีพลาซ่าต่าง ๆ ต้องปิดลงชั่วคราว แต่แอดไวซ์ไม่ได้รับผลกระทบมากนักเนื่องจากมีสาขาประมาณ 10% จากกว่า 300 สาขาต้องปิด ที่เหลือเป็นสาขาสแตนด์อโลนในต่างจังหวัด

ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีแรกครึ่งปีแรก แอดไวซ์ได้เปิดสาขาใหม่ที่จังหวัดหนองบัวลำภูและชัยนาท และในกรุงเทพฯ มี 2 แห่ง ได้แก่ สาขาในไทวัสดุบางนา และสาขาเซ็นทรัลพระรามสอง ซึ่งหากสถานการณ์กลับมาดีขึ้นคาดว่าจะเปิดได้อีกครั้งในเดือนก.ย.

“เราโชคดีที่สาขาส่วนใหญ่ของเราอยู่ในต่างจังหวัด ผลกระทบจึงค่อนข้างน้อย และในช่วงครึ่งปี 2020 เราค่อนข้างลงทุนในออนไลน์พอสมควรเพราะเราเห็นเทรนด์”

เนื่องจากการเติบโตของอีคอมเมิร์ซเพราะมาตรการล็อกดาวน์ ดังนั้น คาดว่าสัดส่วนยอดขายออนไลน์ของสินค้าไอทีทั้งตลาดคาดว่าจะมีสัดส่วนประมาณ 25% ในปีนี้ เช่นเดียวกับแอดไวซ์ที่คาดว่าจะมีสัดส่วนประมาณ 25% และภายในปี 2566 คาดว่าทั้งตลาดจะมีสัดส่วนบนอีคอมเมิร์ซถึง 50%

กลยุทธ์ 3D พร้อมอัดโฆษณาแบบบ้าน ๆ

บริการ Advice 3D เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ลูกค้าในการใช้บริการ ซึ่งประกอบด้วย Advice Drive Thru โดยจะมีพนักงานรับออเดอร์และจัดสินค้าส่งให้ลูกค้าเพียงมาจอดรถในจุดบริการ Advice Delivery เป็นบริการจัดส่งถึงบ้าน และทางด้านการบริการดูแลหลังการขาย Advice Dee Dee Onsite Claim & Service เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าทั้งในด้านการซื้อสินค้าและการให้บริการ

ในส่วนของการสร้างแบรนด์ ช่วงครึ่งปีแรกแอดไวซ์ได้ปล่อยภาพยนตร์โฆษณา “เราได้อะไรจากการฟัง” เนื่องจากต้องการสร้างแบรนด์ และแสดงถึงภาพลักษณ์ว่าเป็นมากกว่าไอที เนื่องจากมองว่าอนาคตหน้าร้านจะไม่ได้ขายสินค้าอย่างเดียว แต่เป็นที่ให้ลูกค้าได้มาชมสินค้าและเป็นคอมมูนิตี้ให้มาพบปะแลกเปลี่ยนกัน

นอกจากนี้ ในช่องทางออนไลน์ แอดไวซ์ก็ได้ปล่อยโฆษณาออนไลน์ที่ต่อยอดคาแร็กเตอร์ “ป้าขายข้าวหลาม” ที่อยู่ในภาพบนตร์โฆษณามารีวิวโน้ตบุ๊กแบบบ้าน ๆ โดยเน้นความเข้าใจง่ายไม่ต้องใช้ KOL ชื่อดัง และเตรียมจะปล่อยโฆษณาออนไลน์ในลักษณะนี้ออกมาอีก

“เรามีการปรับรูปแบบการดำเนินงาน การทำตลาดและการให้บริการเป็นเชิงรุกมากขึ้น พร้อมมุ่งเน้นการทำตลาดออนไลน์ ทั้งในส่วนของช่องทางหลักอย่างอีคอมเมิร์ช เรายังขยายช่องทางในส่วนของมาร์เก็ตเพลส และโซเชียลคอมเมิร์ชเพิ่มเติม เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามสถาการณ์ในปัจจุบัน”

ยังโตเกินกว่าเป้า

แม้จะมีปัญหาด้านซัพพลาย แต่ช่วงครึ่งปีแรกแอดไวซ์ยังสามารถเติบโตได้เกินกว่าเป้าที่ตั้งไว้ แต่ภาพรวมทั้งปีไม่สามารถระบุได้ว่าจะเติบโตได้มากกว่าปีที่ผ่านมาหรือไม่ ทั้งนี้ สัดส่วนรายได้ของบริษัทในปัจจุบันมาจากการขายปลีก 60% ขายส่ง 40% โดย 3 กลุ่มสินค้าที่สร้างรายได้หลักมาจากพีซีแบรนด์, คอมดีไอวาย (คอมประกอบ) และเครื่องพิมพ์

]]>
1348007
‘แอดไวซ์’ ฉีกทุกกฎส่ง ‘ป้าอ้วน’ ขายข้าวหลามรีวิว ‘โน้ตบุ๊กเกมมิ่ง’ เกิดมิติใหม่แห่งการขาย https://positioningmag.com/1342427 Thu, 15 Jul 2021 08:54:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342427 หากพูดถึงบริษัท ‘ค้าปลีกไอที’ รายใหญ่ในไทยแล้วเชื่อว่าชื่อของ ‘แอดไวซ์ ไอที’ ต้องเป็นชื่อแรก ๆ ที่คนไทยคุ้นเคยกันดี และหนึ่งในสิ่งที่แอดไวซ์สามารถนำมาสร้างการจดจำได้ก็คือ ‘ภาพยนตร์โฆษณา’ โดยเฉพาะโฆษณาตัวล่าสุด “เราได้อะไรจากการฟัง?” ซึ่งแจ้งเกิดคาแร็กเตอร์ ‘ป้าอ้วนขายข้าวหลาม’ จนนำไปสู่มิติใหม่ของการขาย

ย้อนรอยโฆษณาแอดไวซ์

หากเทียบกับคู่แข่งรายอื่น ๆ ในตลาดค้าปลีกไอทีจะเห็นว่าไม่มีใครเน้นทำภาพยนตร์โฆษณากัน ส่วนใหญ่จะเน้นนำงบไปอัดโปรโมชันเพื่อขายเสียมากกว่า แต่ในปี 2016 แอดไวซ์ได้ภาพยนตร์โฆษณาออกมา 2 เรื่อง “เพราะเพื่อนบ้านคือกล้องวงจรที่ดีที่สุด” และเรื่อง “12 ปีเป็นอายุที่เหมาะสมเด็กในการเล่น แท็บเล็ต” ซึ่งก็เกิดเป็นไวรัลในโลกออนไลน์จนมียอดวิวทะลุกว่า 5 ล้านวิว ภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ และในปี 2018 ก็ทำภาพยนตร์โฆษณาเรื่อง “อยากให้คนไทยเข้าใจกีฬา E-sports” เพื่อให้สังคมเข้าใจในเรื่องอีสปอร์ตมากขึ้น

และเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมา แอดไวซ์ได้ปล่อยโฆษณาตัวล่าสุดที่เน้นเรื่อง “เราได้อะไรจากการฟัง?” ซึ่งโฆษณาดังกล่าวมียอดวิวกว่า 4 ล้านวิว พร้อมแจ้งเกิด ‘ป้าอ้วนขายข้าวหลาม’ ที่เปรียบเสมือนคนหาเช้ากินค่ำที่ไม่เข้าใจเรื่องสินค้าไอที และด้วยฝีปากแบบแม่ค้าที่พูดตรง ๆ ห้วน ๆ และทำให้ป้าอ้วนเป็นที่ถูกใจใครหลาย ๆ คน

จากขายข้าวหลาม สู่ขายคอมพิวเตอร์

ปกติเราจะเห็นการรีวิวสินค้าไอทีจากกูรูที่มีความรู้ มีความน่าเชื่อถือ แต่แอดไวซ์ก็กล้าที่จะ ฉีกขนบเดิม ๆ โดยนำป้าอ้วนเจ้าเก่าที่หลายคนจดจำได้จากภาพยนตร์โฆษณา มารีวิวสินค้าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเกมมิ่งในสไตล์แม่ค้าของป้าอ้วนที่พูดห้วน ๆ แบบบ้าน ๆ แต่ข้อมูลยังเป๊ะ พร้อมปล่อยมุกโบ๊ะบ๊ะกับทีมงานออกมาเป็นระยะ ๆ พร้อมพ่วงสไตล์แบบ ‘บังฮาซัน’ เข้ามาผสม

แน่นอนว่าวิดีโอรีวิวความยาวเกือบ 3 นาทีนั้นโดนใจชาวเน็ตเป็นจำนวนมาก ทำให้คลิปวิดีโอดังกล่าวมียอดวิวที่สูงมากกว่า 1.6 แสนครั้ง แชร์กว่า 3 พันครั้ง ภายในไม่ถึง 1 สัปดาห์ พร้อมกับคอมเมนต์กว่า 600 ครั้งที่ชื่นชมความเป็นตัวเอง ความตลก และความเป็นธรรมชาติของคุณป้า จนชาวเน็ตแอบแซวว่ารีวิวดีแบบนี้ ระวังพนักงานแอดไวซ์จะตกงานกันเลยทีเดียว

Human Touch และ Unique ส่วนผสมที่ลงตัว

หากจะย้อนรายความสำเร็จด้านการขายในโลกโซเชียล หลายคนต้องจำ ‘บังฮาซัน’ ‘พิมรี่พาย’ และ ‘เจ๊น้ำ’ ได้แน่นอน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าทั้ง 3 มีสไตล์การขายที่ไม่เหมือนใคร อย่างบังฮาซันมีการพูดคุยแบบลูกคู่กับทีมงานที่คอยรับคอยส่ง อีกทั้งยังมีสำเนียงใต้ยิ่งเป็นที่จดจำ ส่วนพิมรี่พายและเจ๊น้ำก็มีคาแร็กเตอร์ ‘ปากแรง’ ที่พร้อม ‘ด่าลูกค้า’ ซึ่งลูกค้าก็มองว่าตลกและจริงใจ จะเห็นว่าทั้งหมดมีความ Unique และ Human Touch ทั้งสิ้น

เช่นเดียวกันกับ ป้าอ้วน ที่แม้จะไม่ได้เหมาะกับการมาขายสินค้าไอทีแม้แต่นิดเดียว แต่เพราะคาแร็กเตอร์แบบแม่ค้าบ้าน ๆ ที่พูดอธิบายเเบบตรง ๆ ทำให้สินค้าไอทีสามารถเข้าใจได้ง่าย มีมุกตลกที่ทำให้รู้สึกเป็นกันเอง ทำให้การดูรีวิวสินค้าไอทีไม่ใช่เรื่องยากที่มีแต่ข้อมูลเทคนิคทำให้โดนใจเหล่าชาวเน็ตอย่างจัง

ถือว่า แอดไวซ์ ทำได้ดีทีเดียวสำหรับการต่อยอดจากแค่ภาพยนตร์โฆษณามาสู่มิติใหม่ของการรีวิวสินค้า ซึ่งช่วยให้เข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ และการจดจำแบรนด์ได้มากขึ้น ซึ่งหากดูจากกระแสดังกล่าว เชื่อว่าคลิปต่อ ๆ ไปของ ป้าอ้วน ต้องตามมาอีกเพียบแน่นอน

]]>
1342427
“บาทฟินเทค” จับมือ “แอดไวซ์” ใช้เงินคริปโตซื้อสินค้าครั้งแรกในไทย https://positioningmag.com/1162540 Wed, 21 Mar 2018 03:54:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1162540 “บาทฟินเทค” เปิดมิติใหม่วงการเงินคริปโตฯ ไทย แจ้งเกิดเงิน “ไทยบาทดิจิทัล” (TBD) ให้คนไทยซื้อขายสินค้าออนไลน์ได้ปลอดภัยในราคาถูกลงบนเทคโนโลยีบล็อกเชน ตั้งใจขยายตัวเลขการใช้งานทะลุ 1 พันล้านบาทใน 5 ปีหลังบริษัทระดมทุนด้วย ICO จำนวน 300 ล้านเหรียญคริปโตฯ ขีดเส้นเมษายนนี้ จับ “แอดไวซ์” ประเดิมขายสินค้าไอทีผ่านสกุลเงินดิจิทัลครั้งแรกในไทย

ศักดา เกตุแก้ว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บาทฟินเทค กล่าวว่า การเปิดตัวระบบเงินดิจิทัลใหม่ TBD เกิดขึ้นเพราะความเชื่อมั่นในเงินบาทไทย ว่าสามารถเป็น “ดอลลาร์ของอาเซียน” ได้ เนื่องจากความนิยมใช้งานเงินบาทของประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน ขณะเดียวกัน TBD ยังพัฒนาบนเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งสามารถแก้ปัญหาการหลอกลวงในวงการอีคอมเมิร์ซได้ดี

“ปีล่าสุด ตัวเลขคนไทยโดนโกงบนออนไลน์คิดเป็นมูลค่า 4.53 แสนล้านบาท มากกว่างบประมาณกระทรวงศึกษาซึ่งเป็นกระทรวงไทยที่ได้รับงบประมาณมากที่สุด” ศักดาระบุว่าคำนวณตัวเลขนี้จากยอดการเติบโตของธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะการค้าขายออนไลน์ หรืออีคอมเมิร์ชในประเทศไทย ที่มีสูงถึง 1.4 ล้านล้านบาทต่อปี และมีสัดส่วนการหลอกลวงมากกว่า 30% ของยอดอีคอมเมิร์ชในช่วงที่ผ่านมา

ระบบของบาทฟินเทค จะทำให้ผู้ซื้อผู้ขายได้ใช้จ่ายผ่าน “ไทยบาทดิจิทัล” หรือ TBD เมื่อผู้ซื้อโอนเงินไปที่ผู้ขายผ่านระบบกระเป๋าเงินดิจิทัล ระบบเงินจะถูกลด-เพิ่มจากบัญชี โดยบัญชีผู้ซื้อจะถูกตัด และขึ้นสถานะรอการยืนยันที่บัญชีผู้ขาย เช่นเดียวกับระบบเช็ครอการเคลียริ่ง เมื่อผู้ซื้อได้รับสินค้าตรงตามที่ตกลงกับผู้ขาย เงินไทยบาทดิจิทัลจะเข้าบัญชีผู้ขายโดยสมบูรณ์ แต่ถ้าเกิดข้อผิดพลาดทำให้การซื้อขายไม่สมบูรณ์ ระบบก็ะทำการคืนเงินให้กับผู้ซื้อโดยอัตโนมัติ

“ระบบนี้จะดีกว่าการจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิต visa master card หรือ paypal แม้บัตรเครดิตผู้ซื้อจะนิยมเพราะได้สะสมแต้ม และสิทธิพิเศษอื่น ๆ แต่ขณะเดียวกันกับมีการหักเงินฝั่งผู้ขาย 2-6% ในทุกธุรกรรม ซึ่งบริษัทเจ้าของบัตรเครดิตได้ส่วนแบ่ง 4% และให้คืนผู้ใช้บัตร 1% แต่ TBD คิดค่าธรรมเนียมแค่ 0.1% และเข้ามาจัดการความปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้กับทั้งผู้ซื้อและผู้ขายทั้งระบบ”

สาเหตุที่ทำให้ค่าธรรมเนียม TBD ทำได้ต่ำ เพราะเทคโนโลยีบล็อกเชนที่กำลังได้รับความนิยม โดยค่าธรรมเนียม 0.1% นี้จะถูกเรียกเก็บกรณีที่มีการโฮล หรือการตั้งค่าไม่ตัดเงินในระบบทันที เพื่อรอให้ผู้ซื้อคลิกตัดเงินเมื่อได้รับของแล้ว ซึ่งถ้าไม่โฮล จะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมเพื่ออำนวยความสะดวก

“ค่าธรรมเนียมเราต่ำกว่าคนอื่น 30 เท่า เพราะที่ผ่านมาเทคโนโลยีเก็บข้อมูลมีราคาแพง แต่เราใช้บล็อกเชนทำให้การเก็บข้อมูลทำได้ด้วยต้นทุนต่ำ และปลอดภัย”

เฉพาะปีนี้ ต้นสังกัด TBD คาดว่าจะมีการใช้เงินระบบไทยบาทดิจิทัลประมาณ 5% ของมูลค่าอีคอมเมิร์ชในประเทศไทย หรือประมาณ 70 ล้านบาท ในระยะยาวคาดว่าปริมาณการใช้ TBD จะครอบคลุม 50% ของตลาดทั้งหมดภายใน 5 ปี (2565) แตะ 1 พันล้านบาท

***พุ่งเป้าชาวคริปโตฯ ไทย

เป้าหมายหลักที่จะเลือกใช้ TBD แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มผู้ค้าอีคอมเมิร์ชจากบริษัทใหญ่ที่ต้องการสร้างความเชื่อมั่นทางด้านการซื้อขายให้กับลูกค้า โดยเฉพาะสินค้าที่มีวงเงินหลายพันบาทต่อชิ้น และไม่ต้องการพึ่งพาเว็บซื้อขายที่มีระบบเครดิตการชำระเงินที่ไม่เหมาะสม กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มลูกค้าไมโครเปย์เมนต์ หรือการค้ารายย่อยที่ต้องการเงินหมุนเวียนสูงจะตามมา

ในมุมผู้บริโภค กลุ่มเป้าหมายหลักของไทยบาทฟินเทคคือกลุ่มผู้ถือเหรียญดิจิทัลอยู่แล้ว โดยคนกลุ่มนี้สามารถแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัลที่ถืออยู่เป็น TBD เพื่อนำไปซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ต่อไป 

“ขณะนี้ TBD แลกเปลี่ยนได้เฉพาะบนบริการแคชทูคอยน์ (Cash2Coin – อีกบริการที่ศักดาก่อตั้งขึ้น) ยอดแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัลบน Cash2Coin เฉลี่ยวันละ 10 ล้านบาท รองรับ 10 กว่าสกุล” ศักดาย้ำ “ผมมองว่าไม่มีความท้าทายทางกฎหมาย เนื่องจากประเทศไทยมีศาลปกครอง ถ้าทุกอย่างพร้อมก็ต้องออกใบอนุญาต สิ่งท้าทายคือมิจฉาชีพ เจอผมแน่ ผู้ซื้อผู้ขายจะสบายใจได้ ถ้ามีการโกงก็ดึงเงินคืนได้”

ศักดา เกตุแก้ว จับมือกับ จักกฤช วัชระศักดิ์ศิลป์ รองประธานเจ้าหน้าบริหารสายงานการขายและการตลาดบริษัท แอดไวซ์ ไอที อินฟินิท หรือ แอดไวซ์

เบื้องต้น บริษัทจะต้องขอใบอนุญาตให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ประเภท ค. เพื่อให้บริการทั่วประเทศหลายอุตสาหกรรม การขอใบอนุญาตนี้กำหนดให้เฉพาะบริษัทที่มีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท ทำให้บริษัทต้องประกาศแผนระดมทุน ICO

*** ICO 300 ล้าน

บาทฟินเทคระบุว่าจะระดมทุนผ่านระบบ ICO ด้วยการออกเหรียญจำนวน 300 ล้านเหรียญ ในมูลค่าเริ่มต้นที่ 3 บาทต่อ 1 เหรียญ จะมีการเปิดซื้อขายเหรียญในรอบพรีเซล 30 มีนาคมนี้ และขายผ่านตลาดเสรีตั้งแต่ 30 เมษายนเป็นต้นไป

“เราจะใช้ผู้ตรวจสอบ หรือ Auditor ที่ดูแลการเข้าตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้จัดการซื้อขายครั้งนี้ ซึ่งจะทำให้มาตรฐานการ ICO ของบริษัทเทียบเท่ากับการระดมทุนในตลาดปกติ”

บริษัทคาดว่าภายใน 3 เดือนจะสามารถระดมทุนได้ตามที่บริษัทตั้งเป้าหมาย ซึ่งเงินลงทุน ICO ครั้งนี้ 50% จะถูกนำไปพัฒนาแพลตฟอร์ม รองลงมาจะถูกใช้เป็นทุนค่าใบอนุญาต ถัดมาเป็นค่าจัดการและดำเนินการ ขณะที่อีก 5% จะถูกแบ่งไปทำการตลาดและการกุศล 

“เราแยกบาทฟินเทคออกมาจากไทยบาทดิจิทัล เราทำ ICO เพื่อเอาเงินดิจิทัลมาใช้จ่าย เราจะตัด 20% มาซื้อเหรียญให้เหลือ 100 ล้านเหรียญทุกปี และจะเอาข้อมูลการโอนเงินระหว่างผู้บริโภคหรือ C2C มาเป็นบิ๊กเดต้า เพื่อวิเคราะห์การกู้เงิน ไทยบาทดิจิทัลจะเท่ากับ 1 บาทตลอดกาล ไม่มีการปรับขึ้นลงเพื่อให้ผู้ซื้อและผู้ขายไม่มีความเสี่ยง” 

*** ซื้อสินค้าไอทีด้วยคริปโตฯ ครั้งแรกในไทย

จักกฤช วัชระศักดิ์ศิลป์ รองประธานเจ้าหน้าบริหารสายงานการขายและการตลาดบริษัท แอดไวซ์ ไอที อินฟินิท หรือ แอดไวซ์ เปิดเผยว่าการเป็นพันธมิตรกับบาทฟินเทค ถือเป็นครั้งแรกที่จะนำเงินคริปโตเคอเรนซี่มาใช้ในการซื้อขายสินค้าจริงในไทย เป็นการอำนวยความสะดวกและสร้างความปลอดภัยในการซื้อสินค้าและรองรับการใช้สกุลเงินดิจิทัลไปพร้อมกัน

“ทำไมแอดไวซ์ถึงก้าวเข้ามาเป็นพันธมิตรกับบาทฟินเทค เพราะความปลอดภัย เราทำธุรกิจตั้งแต่การขายผ่านช่องทางหน้าร้านตัวเอง เราสร้างแฟรนไชส์ พัฒนาจาก SME เราทำธุรกิจดีลแบบ B2B มา 20 ปี เพิ่งเปิด B2C ประมาณปีครึ่ง ยอดขายโตมาก ปีที่แล้วขายไป 970 ล้าน เป็นโหมดสินค้าไอที 100% ทำโดยไม่ได้อยู่บนมาร์เก็ตเพลสไหนเลย เท่าที่คุยคือติดเรื่องกฎ คาดว่าจะทำได้จริงช่วงเมษายนนี้”

ผู้บริหารแอดไวซ์เชื่อว่าตลาดหลักของความเคลื่อนไหวนี้คือคนกลุ่มผู้ถือเหรียญเงินดิจิทัลอยู่แล้ว

“ผมตีว่าเกิน 10 ล้านบาทอยู่แล้ว ตลาดที่มีอยู่แล้วนี่น่าจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้ ผมไม่ได้มองกลุ่มใหม่ เราเองก็เป็นไอที ผมคิดว่าความเข้าใจเรื่องคริปโตเยอะขึ้น โมเดลนี้ผมมองว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทาง ที่จะอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า เราตอบไม่ได้ว่ากลุ่มนี้จะเพิ่มรายได้เรากี่เปอร์เซ็นต์ แต่มองเหมือน TBD ว่าขอ 5% ก็แล้วกัน“

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000027964

]]>
1162540