แอร์บัส – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 02 Jun 2024 12:18:14 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Airbus อาจผลิตเครื่องบินไม่ได้ตามเป้า สาเหตุสำคัญมาจากชิ้นส่วนประกอบเครื่องบินยังขาดแคลนจากปัญหา Supply Chain https://positioningmag.com/1476158 Sun, 02 Jun 2024 08:20:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1476158 แหล่งข่าวของสำนักข่าว Reuters รายงานว่าแอร์บัส (Airbus) ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่จากทวีปยุโรปนั้นอาจผลิตเครื่องบินได้ล่าช้ากว่าเดิม ปัญหาสำคัญนั้นมาจากชิ้นส่วนประกอบเครื่องบินยังขาดแคลน ซึ่งเป็นผลจาก Supply Chain และยังรวมถึงปัญหาแรงงานขาดแคลน

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Airbus ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่จากทวีปยุโรป อาจผลิตเครื่องบินไม่ได้ตามเป้า นั้นมาจากสาเหตุสำคัญคือชิ้นส่วนสำหรับประกอบเครื่องบินยังขาดแคลน ขณะเดียวกันปัญหาการขาดแคลนแรงงานก็ซ้ำเติมปัญหาดังกล่าวด้ว

แหล่งข่าวของสื่อรายดังกล่าวได้ชี้ว่า Airbus นั้นยังมีการดำเนินงานล่าช้ากว่าเป้าหมายราวๆ 1.5 เดือน ในการส่งมอบเครื่องบิน คาดว่าเครื่องบินจำนวนหนึ่งที่จะต้องส่งมอบในครึ่งปีแรกของปี 2024 นั้นกลับกลายเป็นว่าอาจต้องส่งมอบในครึ่งปีหลัง

ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่จากทวีปยุโรปได้แก้ปัญหาดังกล่าว โดยพูดคุยกับเหล่าซัพพลายเออร์ที่ผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินที่มีจำนวนมาก ซึ่งชิ้นส่วนของเครื่องบินนั้นถ้าหากมีคำสั่งซื้อแล้วจะต้องใช้เวลารอชิ้นส่วนนานถึง 12-13 เดือนด้วยกัน และถ้าหากเป็นชิ้นส่วนที่ต้องการผลิตแบบพิเศษอาจต้องรอนานถึง 2 ปี

ปัญหาของชิ้นส่วนที่ผลิตไม่ทันนั้นมาจากทั้งผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด ขณะเดียวกันความต้องการชิ้นส่วนเครื่องบินเพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการนำชิ้นส่วนมาเปลี่ยนให้กับเครื่องบินที่จอดไว้ในช่วงการแพร่ระบาด และยังรวมถึงชิ้นส่วนที่ต้องนำไปผลิตเครื่องบินลำใหม่

โฆษกของ Airbus กล่าวได้ปฏิเสธความคิดเห็นเพิ่มเติมกับ Reuters และยังย้ำเป้าหมายการส่งมอบเครื่องบินปี 2024 ที่ 800 ลำเช่นเดิม โดยตัวเลขการส่งมอบเครื่องบินล่าสุดจนถึงเดือนเมษายน Airbus ส่งมอบเครื่องบินไปแล้ว 204 ลำด้วยกัน

ก่อนหน้านี้สายการบินหลายแห่ง หรือแม้แต่บริษัทให้เช่าเครื่องบินได้กล่าวถึงปัญหา Supply Chain ส่งผลกระทบทั้งอุตสาหกรรมการบิน โดยคาดว่าปัญหาดังกล่าวจะคลี่คลายลงไปได้อาจใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี

นอกจากชิ้นส่วนขาดแคลนแล้วนั้น Airbus เองยังประสบปัญหาแรงงานขาดแคลน ยิ่งซ้ำเติมปัญหาให้หนักมากขึ้นกว่าเดิม ผลดังกล่าวยังทำให้การส่งมอบเครื่องบินนั้นอาจล่าช้าต่อไปได้อีก กระทบต่อสายการบินที่เป็นลูกค้าทั่วโลกที่ยังต้องใช้เครื่องบินรุ่นเดิมต่อไปอีกระยะ

]]>
1476158
“แอร์บัส” มั่นใจระบบกรองอากาศบนเครื่องบินปลอดภัย ลดเสี่ยง COVID-19  https://positioningmag.com/1285353 Sun, 28 Jun 2020 06:53:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285353 “แอร์บัส” มั่นใจระบบฟอกอากาศภายในห้องโดยสารเครื่องบิน ลดความเสี่ยง COVID-19 ชี้ทุกส่วนในอุตสาหกรรมการบินร่วมมือกำหนดมาตรการและข้อกำหนด เชื่อเรียกเชื่อมั่นผู้โดยสาร กระตุ้นเดินทาง

อานันท์ สแตนลีย์ ประธานบริษัท แอร์บัส ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เปิดเผยว่า

“จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบต่อการเดินทางโดยเครื่องบินในช่วงที่ผ่านมา โดยขณะนี้ สถานการณ์เริ่มผ่อนคลาย และหลายสายการบินเริ่มกลับมาให้บริการอีกครั้ง ซึ่งการสร้างความมั่นใจให้กับผู้โดยสารในเรื่องความปลอดภัยในการใช้บริการ และมาตรการป้องกันการติดเชื้อไวรัส COVID-19 จึงเป็นสิ่งสำคัญ”

ในฐานะผู้ผลิตเครื่องบิน ยืนยันถึงการออกแบบและการใช้อุปกรณ์ที่ทำให้คุณภาพอากาศในห้องโดยสาร สะอาดเทียบเท่ากับห้องผ่าตัดในโรงพยาบาล ซึ่งเชื้อไวรัสจะแพร่กระจายได้น้อยมากเนื่องจากอากาศภายในห้องโดยสารจะผ่านการฟอกครบทุกขั้นตอน และหมุนเวียนใหม่ในทุกๆ 2-3 นาที

โดยอากาศที่เข้าสู่ห้องโดยสารจะผ่านช่องระบายอากาศที่อยู่ใกล้กับช่องสัมภาระเหนือศีรษะ และไหลลงที่ต่ำในแนวดิ่งที่อัตรา 1 เมตรต่อวินาที ทิศทางการไหลของอากาศที่ลงต่ำในแนวดิ่งนี้จะช่วยเลี่ยงไม่ให้อากาศภายในห้องโดยสารเคลื่อนที่ในแนวขวาง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนซึ่งกันและกัน

โดยอากาศจะถูกนำออกจากห้องโดยสารโดยผ่านช่องระบายอากาศที่ระดับพื้นทางเดินผู้โดยสารและผ่านแผงกรองอากาศชนิดประสิทธิภาพสูง (HEPA) โดยขั้นตอนนี้จะช่วยกำจัดอนุภาคต่างๆ ภายในห้องโดยสารรวมถึงไวรัสและแบคทีเรียเช่นโคโรนาไวรัสที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ได้มากกว่า 99.9% จากนั้นอากาศที่ผ่านกระบวนการกรองแล้วจะถูกผสมกับอากาศบริสุทธิ์ที่ดึงมาจากภายนอกเครื่องบินก่อนจึงจะนำเข้ามาสู่ห้องโดยสาร ซึ่งเทคโนโลยีการฟอกอากาศนี้ได้รับยอมรับว่ามีประสิทธิภาพ เพราะผ่านสถานการณ์โรคซาร์ส โคโรนาไวรัส และไวรัสเมอร์สมาแล้ว

นอกจากนี้ สายการบินเองมีมาตรการเพิ่มข้อปฏิบัติการดูแลรักษาความสะอาดเครื่องบิน ทำความสะอาดจะครอบคลุมทั้งห้องโดยสาร ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์บริเวณรอบเก้าอี้โดยสารในแต่ละที่นั่ง ห้องเตรียมอาหาร และห้องสุขา และผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ใช้ในการทำความสะอาดฆ่าเชื้อสามารถป้องกันเชื้อโรคได้ยาวนานขึ้นสูงถึง 5 วัน นอกจากนี้ ในระหว่างเที่ยวบิน ผู้โดยสารและลูกเรือจะต้องสวมหน้ากากอนามัย และการจัดระเบียบการรักษาระยะห่างกัน

อานันท์กล่าวว่า การเดินทางจะกลับมาเร็วหรือช้า อยู่ที่การสร้างความเชื่อมั่น ซึ่งทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมการบิน สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) สภาสมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศ (ACI) ที่จับมือร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแล สายการบิน ท่าอากาศยาน และผู้ผลิตอากาศยานจะต้องร่วมมือกัน

เนื่องจากความปลอดภัยในการเดินทาง จะเริ่มตั้งแต่ที่สนามบิน ขั้นตอนในการเข้าอาคารผู้โดยสาร การตรวจเช็กอุณหภูมิร่างกาย และลดการสัมผัสกับผู้อื่นให้น้อยลงในทุกขั้นตอนเช็กอินไปจนถึงขึ้นเครื่อง

Source

]]>
1285353
สายการบิน “เอมิเรตส์” เจรจาลดคำสั่งซื้อ A380 กับแอร์บัส หลังลือเตรียมปลดพนง. 3 หมื่นคน https://positioningmag.com/1280047 Fri, 22 May 2020 05:07:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1280047 เอมิเรตส์ หนึ่งในสายการบินให้บริการระยะไกลใหญ่ที่สุดในโลก กำลังเจรจากับแอร์บัส ผู้ผลิตเครื่องบินของยุโรป เกี่ยวกับการรับมอบเครื่องบินรุ่น A380 ที่ยังค้างคาอยู่ในคำสั่งซื้อ ความเคลื่อนไหวซึ่งมีขึ้นหลังจากมีรายงานว่าสายการบินแห่งนี้เตรียมปรับลดพนักงานราวๆ 30,000 คน เพื่อลดค่าใช้จ่ายท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

สายการบินที่มีรัฐดูไบเป็นเจ้าของแห่งนี้ มีกำหนดรับมอบเครื่องบิน A380 จำนวน 8 ลำ ก่อนที่แอร์บัสจะยุติโครงการเครื่องบินโดยสารใหญ่ที่สุดในโลกรุ่นนี้ในปีหน้า

แหล่งข่าวด้านอุตสาหกรรมการบินเปิดเผยว่าเอมิเรตส์ไม่ต้องการรับมอบ A380 ทั้งหมดตามกำหนดรับมอบ หลังโรคระบาดใหญ่ไวรัส COVID-19 ได้สั่นคลอนธุรกิจการเดินทางทั่วโลก ซึ่งทางผู้เชี่ยวชาญคาดหมายว่าต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าอุปสงค์จะฟื้นคืน

บลูมเบิร์กรายงานก่อนหน้านี้ว่า เอมิเรตส์อยู่ระหว่างการเจรจากับแอร์บัส สำหรับยกเลิกคำสั่งซื้อ A380 จำนวน 5 จากทั้งหมด 8 ลำ ในขณะที่โฆษกของเอมิเรตส์ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่าได้มีการพูดคุยกับแอร์บัสเป็นประจำเกี่ยวกับ “ความต้องการฝูงบินของเรา” แต่ไม่ขอแสดงความคิดเห็นใดๆ เกี่ยวกับการเจรจาทางการค้า

ส่วนโฆษกของแอร์บัสบอกว่า พวกเขาติดต่อประสานงานกับลูกค้าทุกราย แต่รายละเอียดจะยังคงเป็นความลับจนกว่าจะมีข้อตกลงใดๆ ที่สามารถเผยแพร่ต่อสาธารณะได้ หลังถูกถามว่าแอร์บัสกำลังเจรจากับเอมิเรตส์เกี่ยวกับชะตากรรมของ A380 จริงหรือไม่

เอมิเรตส์ เป็นหนึ่งในสายการบินที่มี A380 ไว้ใช้งานมากที่สุดในโลก ด้วยมีเครื่องบินซูเปอร์จัมโบ้รุ่นนี้ในฝูงบินถึง 115 ลำ ทั้งนี้ครั้งหนึ่งพวกเขาเคยมียอดสั่งซื้อ A380 สะสมถึง 162 ลำ แต่ลดลงเหลือ 123 ลำ ในปี 2019

เดิมทีสายการบินแห่งนี้คาดหมายว่าจะใช้งานฝูงบิน A380 ไปจนถึงช่วงทศวรรษ 2030 อย่างไรก็ตาม โรคระบาดใหญ่บีบให้สายการบินทั่วโลกต้องทบทวนกลยุทธ์ใหม่หมด และตอนนี้เอมิเรตส์กำลังพิจารณาปลดประจำการ A380 ที่มีอยู่ในปัจจุบันเร็วกว่ากำหนด

ความเคลื่อนไหวล่าสุดนี้เมื่อขึ้นหลังจากช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่าเอมิเรตส์กรุ๊ป บริษัทแม่ของสายการบินเอมิเรตส์ กำลังมีแผนปรับลดพนักงาน 30,000 อัตรา เพื่อลดต้นทุนท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 ถือเป็นการลดพนักงานลงราวๆ 30% จากกว่า 105,000 คนในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม

โฆษกของเอมิเรตส์บอกว่าจะไม่มีถ้อยแถลงต่อสาธารณะจากบริษัทในเรื่องเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยต่างๆ ของสายการบิน แต่ทางบริษัทกำลังพิจารณาทบทวนค่าใช้จ่ายและทรัพยากรต่างๆ ในการประมาณการทางธุรกิจ

“การตัดสินใจดังกล่าวจะต้องสื่อสารในแนวทางที่เหมาะสม อย่างเช่นธุรกิจที่มีความน่าเชื่อถือหนึ่งๆ ควรจะทำ คณะผู้บริหารของเราได้สั่งการให้ทุกแผนกให้ทบทวนค่าใช้จ่ายต่างๆ และทรัพยากรทั้งหมดอย่างละเอียด”

บลูมเบิร์กรายงานเพิ่มเติมโดยอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดว่า เอมิเรตส์ กรุ๊ป ได้ระดมทุนในการจัดหาแหล่งเงินทุนใหม่ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้เป็นมูลค่ากว่า 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังเตรียมมองความเป็นไปได้ในการขอความช่วยเหลือจากทางการดูไบ

ปัจจุบัน สายการบินทั่วโลกล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบสาหัสจาก COVID-19 ด้วยกันทั้งสิ้น โดยส่วนใหญ่ต่างก็จำเป็นต้องปรับลดจำนวนพนักงาน บุคลากร เพื่อให้ธุรกิจสามารถผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้ บ้างก็ต้องใช้วิธีปรับลดชั่วโมงการทำงาน สมัครใจลาออก หรือปลดเกษียณก่อนกำหนด เป็นต้น

Source

]]>
1280047
AIRBUS ขาดทุ่มอ่วม 46,000 ล้านบาท เซ่นคดีติดสินบน https://positioningmag.com/1264393 Fri, 14 Feb 2020 16:12:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1264393 แอร์บัส ประกาศตัวเลขขาดทุนสุทธิ 1,362 ล้านยูโร (ราว 46,128 ล้านบาท) ในปี 2019 ส่วนหนึ่งมาจากการระงับคดีติดสินบนกับนานาประเทศ แต่ผู้ผลิตอากาศยานสัญชาติยุโรปรับปากว่าจะเพิ่มผลกำไรการดำเนินงานและจัดส่งเครื่องบิน 880 ลำในปีนี้

รายได้จากการดำเนินงานทั้งปี ซึ่งไม่รวมค่าระงับคดีอาญาและค่าใช้จ่ายครั้งเดียวอื่นๆ เพิ่มขึ้น 19% เป็น 6,946 ล้านยูโรและน่าจะเกิน 7,500 ล้านยูโรในปี 2020 แอร์บัส ระบุ ขณะที่รายได้เพิ่มขึ้น 11% เป็น 70,478 ล้านยูโร

“แอร์บัสกลับมามีผลการดำเนินงานด้านการเงินที่แข็งแกร่ง ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการจัดส่งเครื่องบินเชิงพาณิชย์ของเรา” ประธานบริหาร กีโยม โฟรี กล่าวในถ้อยแถลงบริษัท

แอร์บัสจะให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการดำเนินงานและการใช้จ่ายในปี 2020 รวมทั้ง “สร้างเสริมวัฒนธรรมองค์กรของเราเข้มแข็งมากขึ้น” เขากล่าวเสริม

ตัวเลขขาดทุนสุทธิสอดคล้องกับค่าปรับ 1,212 ล้านยูโรในโครงการเครื่องบินลำเลียงทางทหาร A400M รวมทั้งเงินสำรองสำหรับการระงับคดีอาญามูลค่า 4,000 ล้านดอลลาร์กับคณะอัยการของอังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐฯ จากพฤติกรรมทุจริตในอดีต

แอร์บัสมองข้ามความเสียหายจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่กำลังกระทบสายการบินต่างๆ และเศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในตอนนี้ และมองภาพการเติบโตว่า “ไม่น่าจะมีอุปสรรคสำคัญใดๆ รวมทั้งจากเชื้อไวรัสโคโรนา”

แอร์บัสคาดการณ์ว่าจะมีกระแสเงินสดอิสระประมาณ 4,000 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นจาก 3,509 ล้านยูโรในปี 2019 และปรับเงินปันผลขึ้น 9 เปอร์เซ็นต์เป็น 1.80 ยูโรต่อหุ้น

โครงการ A400M มีการจัดส่งเครื่องบินแล้ว 14 ลำในปี 2019 ตามกำหนดการ แต่ตอนนี้มีอุปสรรค “ที่ท้าทายมากขึ้นเรื่อยๆ” รวมถึงการขยายคำสั่งห้ามส่งออกสินค้าไปยังซาอุดีอาระเบียของเยอรมนี แอร์บัส ระบุ

สำหรับไตรมาสที่ 4 รายได้การดำเนินงานลดลง 9% เหลือ 2,813 ล้านยูโร จากที่นักวิเคราะห์หลายคนคาดการณ์ว่าจะน่าจะเหลือ 2,736 ล้านยูโร อ้างจากโพลความคิดเห็นของแอร์บัส รายได้ประจำไตรมาสเพิ่มขึ้น 4% เป็น 24,310 ล้านยูโร

Source

]]>
1264393
“โทนี เฟอร์นันเดส” CEO แอร์เอเชีย “ลาออก” เซ่นข่าวฉาวรับสินบนแอร์บัส หุ้นร่วง 8% https://positioningmag.com/1263222 Tue, 04 Feb 2020 14:42:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1263222 CEO ของแอร์เอเชีย “โทนี เฟอร์นันเดส” ประกาศลาออกจากบริษัท ในขณะที่ทางการกำลังสืบสวนการจ่ายเงินที่ผิดปกติในสายการบินสัญชาติมาเลเซีย และผลจากการสั่งปรับบริษัท แอร์บัส เป็นจำนวนเงิน 4,000 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากการติดสินบนกำลังสั่นสะเทือนทั่วอุตสาหกรรมนี้

การตัดสินใจช็อควงการนี้ออกมาหลังจากสำนักงานฉ้อฉลร้ายแรงของอังกฤษ (Serious Fraud Office หรือเอสเอฟโอ) เผยแพร่รายละเอียดของการสืบสวนที่พบว่า บุคคลภายในบริษัทแอร์บัสจ่ายเงินเพื่อให้ได้ข้อตกลงกับแอร์เอเชียและบริษัทลูก แอร์เอเชีย เอ็กซ์

เมื่อค่ำวันที่ 3 ก.พ. เฟอร์นันเดส และประธานกรรมการบริษัท คามารูดิน เมอรานูน กล่าวในถ้อยแถลงว่า “เราขอสละตำแหน่งบริหารของเราโดยมีผลทันทีเป็นระยะเวลา 2 เดือน หรือระยะเวลาอื่นๆ ตามที่บริษัทเห็นสมควร”

พวกเขากล่าวเสริมว่า “เราขอปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาการกระทำผิดหรือประพฤติมิชอบในฐานะผู้บริหารของแอร์เอเชีย เราไม่มีทางทำร้ายบริษัทนี้ที่เราใช้ทั้งชีวิตของเราสร้างจนมีสถานะระดับโลกดังเช่นปัจจุบัน แต่เราจะยังคงเป็นที่ปรึกษาให้กับสายการบินนี้ต่อไป”

เมื่อวันที่ 1 ก.พ. คณะกรรมการปราบปรามคอร์รัปชั่นของมาเลเซีย ระบุว่า พวกเขามีอำนาจสืบสวนการกระทำทุจริตใดๆ ก็ตามของพลเมืองและผู้อยู่อาศัยถาวรทุกที่นอกประเทศ อีกสองหน่วยงานในมาเลเซีย รวมถึงสำนักงานการบินและคณะกรรมการความมั่นคง ได้เริ่มการสืบสวนของพวกเขาเองแล้ว

เฟอร์นันเดสเป็นหนึ่งในลูกค้าที่ภักดีที่สุดของแอร์บัส และสายการบินต้นทุนต่ำของเขา ซึ่งเขาซื้อด้วยเงิน 1 ริงกิตในปี 2001 เป็นลูกค้าเครื่องบินแบบช่องทางเดินเดียวรายใหญ่ที่สุดของแอร์บัส

ข่าวนี้ส่งผลให้หุ้นของแอร์เอเชียร่วงลงกว่า 8% ในวันนี้ หลังร่วงอยู่แล้วกว่า 10% เมื่อวันที่ 3 ก.พ. ภายหลังการเผยแพร่การสืบสวนของเอสเอฟโอ

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ศาลฝรั่งเศส ระบุว่า แอร์บัสตกลงจ่ายค่าปรับ 3,600 ล้านยูโรให้อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐฯ เพื่อยุติการสืบสวนคอร์รัปชั่น ซึ่งเกิดจากการขายอุปกรณ์น่าสงสัยหลายอย่าง

เอกสารของศาลบนเว็บไซต์ของเอสเอฟโอ ระบุว่า บริษัท EADS France SAS ซึ่งต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Airbus Group SAS จ่ายเงิน 50 ล้านดอลลาร์สนับสนุนทีมกีฬาของผู้บริหารแอร์เอเชีย 2 คน

“ผู้มีสิทธิตัดสินใจ” ในแอร์เอเชียและแอร์เอเชียเอ็กซ์ตอบแทนบริษัทดังกล่าวด้วยคำสั่งซื้อเครื่องบิน 180 ลำจากแอร์บัส

Source

]]>
1263222
มาเลเซียเร่งสืบ “แอร์บัส” ติดสินบน “แอร์เอเชีย” ล็อกดีลซื้อเครื่องบิน 1,500 ล้านบาท https://positioningmag.com/1262881 Sun, 02 Feb 2020 18:54:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1262881 หน่วยงานปราบปรามคอร์รัปชั่นของมาเลเซียกำลังสืบสวนข้อกล่าวหาของสำนักงานการฉ้อฉลร้ายแรงของอังกฤษ (Serious Fraud Office หรือ SFO) ที่ว่า บริษัท แอร์บัส จ่ายสินบน 50 ล้านดอลลาร์ (ราว 1,559 ล้านบาท) เพื่อให้ได้คำสั่งซื้อเครื่องบินจาก แอร์เอเชีย เครือสายการบินต้นทุนต่ำที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียและมีสำนักงานใหญ่ในมาเลเซีย

SFO ระบุว่า แอร์บัสประสบความล้มเหลวในการป้องกันไม่ให้บุคคลภายในจ่ายสินบนแก่กลุ่มผู้บริหารของ แอร์เอเชีย กรุ๊ป และบริษัทลูก แอร์เอเชีย เอ็กซ์

โดยที่แอร์เอเชีย ระบุว่า พวกเขาไม่เคยทำการตัดสินใจจัดซื้อใดๆ เพราะการสนับสนุนจากแอร์บัส และว่า พวกเขาจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับคณะกรรมการปราบปรามคอร์รัปชั่นของมาเลเซีย

แอร์เอเชีย ระบุในถ้อยแถลงว่า พวกเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสืบสวนแอร์บัสของเอสเอฟโอ หรือเคยได้รับโอกาสให้ข้อมูลใดๆ ด้านแอร์บัสปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็น

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 31 มกราคมที่ผ่านมา แอร์บัสบรรลุข้อตกลงมูลค่า 4,000 ล้านดอลลาร์กับฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐฯ หลังจากคณะอัยการ ระบุว่า แอร์บัสเคยจ่ายสินบนให้เจ้าหน้าที่รัฐ และปิดบังการจ่ายเงินดังกล่าวในฐานะส่วนหนึ่งของการคอร์รัปชั่นทั่วโลก

ข้อตกลงดังกล่าวทำให้แอร์บัสสามารถหลีกเลี่ยงการดำเนินคดีทางอาญา ซึ่งอาจนำไปสู่การถูกห้ามทำข้อตกลงสาธารณะในสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป

การเปิดโปงครั้งนี้ออกมาหลังจากการสืบสวนขยายผลสู่ข้อตกลงที่ทำกับตลาดต่างประเทศอีกหลายสิบแห่ง

“ภายใต้กฎหมายคณะกรรมการปราบปรามคอร์รัปชั่นแห่งมาเลเซีย (เอ็มเอซีซี) เราได้รับอำนาจ และมีขอบเขตอำนาจศาล ที่จะสืบสวนการกระทำคอร์รัปชั่นใดๆ ก็ตามของพลเมืองมาเลเซียหรือผู้อยู่อาศัยถาวรในสถานที่ใดๆ ก็ตามนอกมาเลเซีย” ลาธีฟา โคยา หัวหน้าคณะกรรมการปราบปรามคอร์รัปชั่น ระบุในถ้อยแถลง

“ในกรณีการเปิดโปงแอร์บัส-แอร์เอเชีย ผมยืนยันว่า เอ็มเอซีซีกำลังติดต่อประสานงานกับทางการอังกฤษและเริ่มการสืบสวนเรื่องนี้แล้ว”

Source

]]>
1262881
เครื่องบินโตสนั่น! แอร์บัสฟันธง อีก 20 ปี มีลำใหม่เพิ่ม 37,400 ลำ มูลค่า 5.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ https://positioningmag.com/1179257 Wed, 18 Jul 2018 05:10:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1179257 แอร์บัส ได้ออกมาเปิดเผยถึงความต้องการเครื่องบินโดยสารของโลกในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีจำนวน 48,000 ลำ ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า และการเติบโตของการจราจรทางอากาศที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ต่อปี ส่งผลให้ความต้องการเครื่องบินโดยสารและเครื่องบินบรรทุกสินค้าลำใหม่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 37,390 ลำ ตามการคาดการณ์ตลาดโลกปี 2561-2579 ของแอร์บัส (Global Market Forecast 2018-2036)

ตัวขับเคลื่อนการเติบโต มาจากการบริโภคของภาคเอกชนในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่เพิ่มขึ้น 2.4 เท่า และรายได้ของชนชั้นกลางทั่วโลกสูงขึ้นและเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว

โดยประเทศกำลังพัฒนาจะมีสัดส่วนการเติบโตทางเศรษฐกิจคิดเป็นร้อยละ 60 ต่อการเดินทางต่อหัวเพิ่มจำนวนเป็น 2.5 เท่า เมื่อรวมกับรูปแบบธุรกิจการบินที่กำลังพัฒนาและการเปิดเสรีอย่างต่อเนื่อง การขยายตัวของการขนส่งทางอากาศที่เพิ่มมากขึ้นจะทำให้ความยืดหยุ่นในการชะลอตัวของภูมิภาคเพิ่มมากขึ้น

ความหลากหลายของเครื่องบินและความสามารถในการพัฒนาทางเทคโนโลยีช่วยให้สายการบินต่างๆ มีความยืดหยุ่นในการสำรวจโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับการลดต้นทุน

แอรบัสมองว่า ศักยภาพที่เพิ่มขึ้นของเครื่องบินในปัจจุบัน จะช่วยลดขอบเขตความแตกต่างระหว่างตลาดต่างๆ ลง จึงทำให้มีแนวโน้มในการนำเครื่องบินไปใช้งานในวงกว้างมากขึ้น

“ข้อเท็จจริงเหล่านี้ ทำให้แอร์บัสพัฒนาการแบ่งกลุ่มเครื่องบินออกเป็นเครื่องบินขนาดเล็ก ขนาดปานกลาง ขนาดใหญ่ และขนาดใหญ่พิเศษ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิธีการที่สายการบินใช้อากาศยานมากขึ้น” เอริค ชัลซ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายพาณิชย์ บริษัทแอร์บัส กล่าว

เมื่อแบ่งกลุ่มเครื่องบินออกเป็นสี่กลุ่มอย่างละเอียด พบว่า

กลุ่มเครื่องบินขนาดเล็ก

จะครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเครื่องบินทางเดินเดี่ยวที่มีการแข่งขันมากที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งทางแอร์บัสคาดการณ์ว่าในอนาคตความต้องการเครื่องบินใหม่จะมีจำนวน 28,550 ลำ ซึ่งคิดเป็นกว่าสามในสี่ของความต้องการทั้งหมดที่คาดไว้

กลุ่มเครื่องบินขนาดกลาง

ย่างเครื่องบินลำตัวกว้างขนาดเล็กและเครื่องบินทางเดินเดี่ยวพิสัยไกล เพื่อใช้ในภารกิจที่ต้องการความยืดหยุ่นในการรองรับผู้โดยสารเพิ่มเติมและพิสัยการบินที่ไกลขึ้น แอร์บัสคาดการณ์ว่าความต้องการเครื่องบินขนส่งผู้โดยสารและเครื่องบินบรรทุกสินค้าจำนวน 5,480 ลำ

กลุ่มเครื่องบินขนาดใหญ่อย่างรุ่น เอ350 ที่ปัจจุบันนิยมนำมาใช้ปฏิบัติการบินมากที่สุด ซึ่งตอบโจทย์ในเรื่องความยืดหยุ่นในการรองรับผู้โดยสารเพิ่มเติมและพิสัยการบิน คาดว่าจะมีความต้องการถึง 1,760 ลำ

กลุ่มเครื่องบินขนาดใหญ่พิเศษอย่างรุ่น เอ350-1000 และ เอ380 โดยปกติแล้วจะสะท้อนถึงความสามารถในการรองรับผู้โดยสารและพิสัยการบินที่ไกล แอร์บัสคาดการณ์ว่าความต้องการที่มีต่อเครื่องบินกลุ่มนี้ในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีจำนวน 1,590 ลำ

จากความต้องการเครื่องบินลำใหม่จำนวนทั้งสิ้น 37,390 ลำ เครื่องบินจำนวน 26,540 ลำ นำไปใช้เพื่อรองรับการเติบโตของฝูงบิน และอีก 10,850 ลำจะใช้เพื่อทดแทนเครื่องบินรุ่นเก่าที่ประหยัดพลังงานน้อยกว่า จากการที่ฝูงบินในโลกมีการเติบโตเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวถึง 48,000 ลำ จึงส่งผลให้ความต้องการนักบินใหม่เพิ่มขึ้นถึง 540,000 คน แอร์บัสยังคงเดินพัฒนาธุรกิจบริการเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น.

]]>
1179257
แอร์บัส ใส่ห้องนอนในเครื่องบิน https://positioningmag.com/1166744 Sat, 21 Apr 2018 05:00:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1166744 แอร์บัส ได้ร่วมมือกับ โซดิแอค แอร์โรว์สเปซ ได้ร่วมกันออกแบบ พัฒนาและทำตลาดโมดูลบริเวณด้านล่างของห้องโดยสาร (lower-deck module) ที่มาพร้อมกับที่นอนสำหรับผู้โดยสาร ซึ่งที่นอนนี้จะพอดีกับช่องบรรทุกสินค้าที่มีอยู่ของเครื่องบิน

การออกแบบห้องนอนในเครื่องบินครั้งนี้ นอกจากยกระดับประสบการณ์ของผู้โดยสารแล้ว ยังช่วยให้สายการบินสามารถสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์ได้ด้วย

แอร์บัส ระบุว่า โมดูลห้องนอนแบบใหม่สำหรับผู้โดยสารนี้ สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างง่าย ด้วยการนำไปแทนอุปกรณ์บรรทุกสินค้าแบบปกติของเครื่องบิน โดยที่พื้นของโถงบรรทุกสัมภาระใต้ท้องเครื่องและอุปกรณ์บรรทุกสินค้าของเครื่องบินไม่ได้รับผลกระทบใดๆ เนื่องจากโมดูลห้องนอนผู้โดยสารจะถูกติดตั้งบนพื้นที่เก็บสัมภาระได้เลย

ภายในปี 2563 สายการบินที่มีโมดูลห้องนอน จะถูกบรรจุในแค็ตตาล็อกของโซลูชั่นที่ได้รับการรับรอง โดยจะเริ่มติดตั้งบนเครื่องบิน เอ330 เป็นอันดับแรก จะมีทั้งนำไปติดตั้งเครื่องบินลำเก่าและแบบที่ติดตั้งมาให้เลยจากโรงงานผลิต.

]]>
1166744
ขายไม่ออก!! แอร์บัสส่อเลิกผลิตเครื่องบินพาณิชย์ใหญ่สุดในโลก ‘A380’ https://positioningmag.com/1152034 Thu, 28 Dec 2017 07:52:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1152034 รอยเตอร์ – แอร์บัสกำลังร่างแผนในความเป็นไปได้ที่จะค่อยๆยุติผลิตเครื่องบินโดยสารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก “ซูเปอร์จัมโบ A380” หากไม่ได้รับคำสั่งซื้อจากสายการบินเอมิเรตส์ ตามการเปิดเผยของแหล่งข่าวใกล้ชิดในเรื่องนี้เมื่อวันพุธ (27ธ.ค.)

เค้ารางแห่งข้อเท็จจริงของเครื่องบินยอดขายต่ำปรากฎขึ้นมา ทั้งที่มันเพิ่งเข้าสู่การบริการได้เพียง 10 ปี และทำให้อนาคตของแอร์บัส A380 ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ความเป็นสากลที่จับต้องได้มากที่สุดของยุโรปแขวนอยู่บนเส้นด้าย

“ถ้าไม่ได้สัญญาจากเอมิเรตส์ แอร์บัสจะเริ่มกระบวนการยุติผลิต A380” บุคคลที่เข้าร่วมรับฟังสรุปเกี่ยวกับแผนดังกล่าวเปิดเผยกับรอยเตอร์ ขณะที่ซัพพลายเออร์เจ้าหนึ่งเสริมว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวสมเหตุสมผล เนื่องจากอุปสงค์อ่อนแอ

ทั้งแอร์บัสและเอมิเรตส์ ปฏิเสธแสดงความคิดเห็นต่อคำกล่าวอ้างดังกล่าว 

แหล่งข่าวเปิดเผยต่อว่าการยุติผลิตใดๆจะเป็นไปแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อเปิดทางให้ แอร์บัส ผลิตเครื่องบินเพื่อส่งมอบตามคำสั่งซื้อทีมีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็มาจากสายการบินเอมิเรตส์ โดยรอยเตอร์คาดหมายว่าตามกำลังผลิตในปัจจุบัน อาจกินเวลาไปจนถึงทศวรรษหน้า

แอร์บัส A380 ซึ่งมีต้นทุนการพัฒนาถึง 11,000 ล้านยูโร สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ราว 500 คนและมีจุดประสงค์เพื่อท้าทายความยิ่งใหญ่ของโบอิ้ง747 แต่อุปสงค์ของเครื่องบิน 4 เครื่องยนต์นี้กลับดำดิ่ง เนื่องจากสายการบินต่างๆมักเลือกเครื่องบิน 2 เครื่องยนต์ที่มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งสะดวกต่อการหาผู้โดยสารและมีค่าบำรุงรักษาถูกกว่า

อย่างไรก็ตามเอมิเรตส์ยังคงเป็นสายการบินที่เชื่อมั่นใน A380 โดยเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุด ด้วยคำสั่งซื้อรวม 142 ลำ แต่เพิ่งได้รับมอบราวๆ 100 ลำ

การเจรจาระหว่างแอร์บัสและเอมิเรตส์ เกี่ยวกับคำสั่งซื้อใหม่ซูเปอร์จัมโบอีก 36 ลำ มูลค่า 16,000 ล้านดอลลาร์ พังครืนลงที่งานดูไบ แอร์โชว์เมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งนับตั้งแต่นั้นทั้งสองฝ่ายได้ฟื้นการเจรจาขึ้นมาอีกครั้ง แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่พบเห็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าจะตกลงกันได้

แม้ว่าสายการบินต่างๆอย่างเช่น บริติช แอร์เวย์ส แสดงความสนใจใน A380 แต่ แอร์บัส ลังเลที่จะเปิดโรงงานต่อ หากปราศจากคำสั่งซื้อที่แน่นอนจากเอมิเรตส์ ในขณะที่ทางฝั่งของเอมิเรตส์เอง ก็ต้องการคำรับประกันจาก แอร์บัส ว่าจะยังเดินหน้าผลิตต่อไปอีกสักทศวรรษ เพื่อปกป้องการลงทุนของพวกเขา

การตัดสินใจยกเลิกผลิตอาจกลายเป็นจุดแตกหักระหว่างแอร์บัสกับหนึ่งในลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของพวกเขา และในอนาคตอาจผลักให้ เอมิเรตส์ หันไปสั่งซื้อเครื่องบินจากโบอิ้งมากขึ้น ขณะที่แหล่งข่าวยุโรป ตั้งข้อสังเกตว่ามันสะท้อนถึงการขยายอิทธิพลในอ่าวเปอร์เซียของอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แต่แหล่งข่าวอุตสาหกรรมของทั้งสหรัฐฯและยูเออี ยืนยันว่าประเด็นการเมืองไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้.

ที่มา : mgronline.com/around/detail/9600000130507

]]>
1152034