โรงเรียนนานาชาติรีเจ้นท์ ถือเป็นโรงเรียนนานาชาติแห่งแรกๆ ที่ก่อตั้งขึ้นในไทย โดยใช้ระบบผสมผสานการเรียนหลักเป็นหลักสูตรจาก “อังกฤษ” และช่วง 2 ปีสุดท้าย (Year 12-13) เป็นระบบ IB (International Baccalaureate)
“ดร.วีระชัย เตชะวิจิตร์” ผู้ก่อตั้งและประธานบริหาร โรงเรียนนานาชาติรีเจ้นท์ กล่าวว่า เหตุที่เลือกผสมผสานหลักสูตรลักษณะนี้ ต้องย้อนไปที่จุดมุ่งหมายของโรงเรียนซึ่งต้องการสร้างเยาวชนให้เป็น “Well-rounded Leaders of the Future” หรือผู้นำที่มีความครบเครื่องรอบด้านแห่งอนาคต
คำว่า “ครบเครื่อง” ของรีเจ้นท์ หมายถึง เยาวชนจะไม่เพียงแต่เก่งด้านวิชาการอย่างเดียว แต่ต้องมีจิตใจที่ดี พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม มีทักษะทางสังคมในลักษณะที่จะเป็นผู้นำ และสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นได้
เมื่อจุดหมายเป็นเช่นนี้ ดร.วีระชัยจึงมองว่าหลักสูตรการเรียนของอังกฤษซึ่งมีความเข้มข้นในด้านวิชาการแล้วนั้นยังไม่เพียงพอ ต้องมีการนำหลักสูตร IB เข้ามาใช้ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนจบมัธยมศึกษาด้วย
เนื่องจากหลักสูตร IB จะมีเกณฑ์วัดผลนอกเหนือจากคะแนนสอบในเชิงวิชาการ 6 วิชาด้วย คือ ผู้เรียนจะต้องทำ “วิทยานิพนธ์ฉบับย่อ 4,000 คำ” หัวข้อที่ทำจะต้องเกี่ยวข้องกับปัญหาสังคมที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข เช่น ปัญหาโลกร้อน การคอร์รัปชัน สงคราม เป็นต้น ผู้เรียนจะต้องค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหานั้นและนำเสนอหนทางแก้ไขด้วย โดยคะแนนจากวิทยานิพนธ์มีคะแนนเต็ม 3 คะแนน ถือเป็นงานที่ ‘หิน’ มากสำหรับเยาวชนวัยนี้ที่จะต้องคิดตรึกตรองถึงปัญหา ทำให้ในแต่ละปีนักเรียนที่ส่งวิทยานิพนธ์ในหลักสูตร IB มีแค่ 0.25% เท่านั้นที่ได้ 3 คะแนนเต็ม!
อีกส่วนที่เป็นเกณฑ์ในหลักสูตร IB คือนักเรียนจะต้องทำ “กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม” ให้ครบ 150 ชั่วโมง และกิจกรรมนั้นจะต้องถูกออกแบบตามหลัก CAS หมายถึง Creativity (สร้างสรรค์), Actions (ลงมือปฏิบัติ) และ Services (งานบริการ) ส่วนใหญ่นักเรียนจะใช้เวลาวันเสาร์-อาทิตย์เพื่อไปทำกิจกรรมให้ครบ
“ตัวอย่างกิจกรรม CAS เช่น นักเรียนกลุ่มที่ฝันอยากเป็น ‘หมอ’ อาจจะรวมกลุ่มกันไปเป็นเยาวชนอาสาในโรงพยาบาล ได้หยิบจับช่วยเหลือผู้ป่วย ทำให้เด็กได้ขัดเกลาจิตใจในการช่วยเหลือคนและเสียสละ และยังได้รู้จักตนเองว่าเหมาะสมหรือไม่ที่จะทำงานในวงการสาธารณสุข” ดร.วีระชัยกล่าว “เรามองว่าเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องสร้าง ‘ผู้นำ’ ที่มีทั้งสมองและจิตใจเพื่อไปแก้ไขปัญหาสังคมในภายภาคหน้า”
ดร.วีระชัยกล่าวว่า ประเด็นต่อมาที่โรงเรียนนานาชาติรีเจ้นท์ให้ความสำคัญในการพัฒนาการศึกษาคือ โรงเรียนนี้จะต้องเป็นสถานที่แห่ง “ความสุข” สำหรับนักเรียน
“คุณคิดว่านักเรียนที่ไม่อยากมาโรงเรียนเป็นเพราะอะไร? ส่วนใหญ่เพราะสองสาเหตุใหญ่คือ เขาเรียนไม่รู้เรื่อง และถูกเพื่อนหรือครูรังแก เมื่อเรียนตามไม่ทันก็ไม่มีความสุขและไม่อยากมาอีก ยิ่งถูกเพื่อนรังแกหรือครูคอยจิกก็หนีเรียนเลย” ดร.วีระชัยกล่าว
การออกแบบห้องเรียนของรีเจ้นท์จึงจัด “ระบบแบ่งระดับรายวิชา” ในแต่ละวิชานักเรียนจะถูกจัดเซทหรือกลุ่ม 1,2 และ 3 แยกตามระดับความเก่งในวิชานั้นๆ ทำให้การเรียนในห้องจะตามกันทันได้ง่ายกว่า และยังเป็นระบบที่สอนเด็กในเชิงจิตวิทยาด้วยว่า “ไม่มีใครที่เก่งไปหมดทุกเรื่อง” เพราะบางคนอาจจะเก่งคณิตมากจนได้อยู่กลุ่ม 1 วิชาคณิต แต่อ่อนวิชาภาษาอังกฤษจนไปอยู่กลุ่ม 3 วิธีนี้จะทำให้เด็กนักเรียนไม่ทะนงตัวจนเกินไป ในทางกลับกันก็ทำให้นักเรียนบางคนเห็นว่าตัวเองมีจุดเด่นเช่นกัน
นอกจากนี้ รีเจ้นท์ยังจัดให้ครูที่เก่งที่สุดได้สอนกลุ่มนักเรียนที่อ่อนที่สุดในระบบนี้ด้วย เพราะครูที่เก่งต้องทำให้เด็กในกลุ่ม 3 สามารถพัฒนาตัวเองขึ้นมาให้ได้มากที่สุด
“หลายครั้งที่ครูเก่งๆ สอนแต่เด็กเก่งๆ ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ถูก ครูที่เก่งจริงจะต้องสอนให้เด็กในห้องเดียวกันเรียนตามกันทันได้ทั้งหมด ไม่ทิ้งใครเอาไว้” ดร.วีระชัยกล่าว
บุคลากร “ครู” ที่โรงเรียนนานาชาติรีเจ้นท์จึงสำคัญยิ่ง โดยครูที่จะเข้ามาสอนได้นั้นจะต้องมีใบประกาศนียบัตรวิชาชีพครู หรือ QTS (Qualified Teacher Status) จากอังกฤษและมีประสบการณ์การสอนในอังกฤษมาแล้วเท่านั้น
อีกเหตุผลหนึ่งที่ ดร.วีระชัยเห็นว่าเป็นอุปสรรคความสุขของนักเรียนคือ “การรังแกกัน” (Bully) ในโรงเรียน ถือเป็นสิ่งที่รีเจ้นท์ให้ความสำคัญสูงสุดว่านักเรียนที่นี่จะต้องไม่มีพฤติกรรมการข่มเหงรังแกผู้อื่นโดยเด็ดขาด
เรื่องการฝึกฝนให้นักเรียนไม่รังแกกันนั้นพูดง่ายกว่าการปฎิบัติจริง ดังนั้น รีเจ้นท์จึงสร้างกิจกรรมร่วมหลักสูตรชื่อ “Roundsquare” ขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนทุกคนได้ฝึกปฎิบัติ พัฒนาทักษะสังคมที่จำเป็น จนเกิดความสุขของการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นมิตรกับทุกคนและทุกสิ่งที่อยู่รอบตัว และดร.วีระชัยยังได้กล่าวเชิญชวนให้ผู้ปกครองนำลูกหลานของท่านมาสัมผัสบรรยากาศที่ปราศจากการรังแกกัน อิจฉากัน หรือความเห็นแก่ตัวที่ยากที่จะหาพบได้ในที่อื่น
ระยะหลังมานี้มีโรงเรียนนานาชาติเปิดใหม่เป็นจำนวนมาก ซึ่งดร.วีระชัยมองว่าซัพพลายโรงเรียนใหม่เปิดมาก เพราะดีมานด์ความต้องการของผู้ปกครองก็มากไม่แพ้กัน
“ทุกคนมองว่าถ้าเรียนในโรงเรียนรัฐปกติจะไม่ได้ภาษาและทักษะทางสังคม เพราะฉะนั้นถ้าคนที่พอจะมีฐานะ เขาก็จะผลักดันลูกหลานให้เข้าโรงเรียนนานาชาติถ้าทำได้” ดร.วีระชัยกล่าว “ผู้ปกครองอยากให้เข้านานาชาติเพื่อให้เรียนในระบบการศึกษาที่ดี มีโอกาสเรียนต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ และสังคมก็มีส่วน ทำให้ลูกมีเครือข่ายเพื่อนฝูงที่ดี”
สำหรับโรงเรียนนานาชาติรีเจ้นท์เอง ดร.วีระชัยเปิดเผยว่ามีแนวคิดที่จะขยายแคมปัสใหม่เช่นกัน หรืออาจจะเป็นการขยายขนาดแคมปัสในบริเวณเดิมเพื่อให้รองรับนักเรียนได้มากขึ้น หรือหาทำเลดีมีหมู่บ้านระดับดี ทันสมัย เพื่อสร้างแคมปัสแห่งใหม่
เฉลิมฉลองครบรอบ 30 ปีโรงเรียนนานาชาติรีเจ้นท์ ขอเชิญชวนผู้ปกครองและบุตรหลาน มาร่วมงานเปิดบ้านแนะนำหลักสูตรโรงเรียนนานาชาติระบบอังกฤษในงาน “Whole School Open House and our 30th Year Anniversary, celebrating three decades of academic success!” ที่โรงเรียนนานาชาติรีเจ้นท์กรุงเทพฯ เพื่อพบปะพูดคุยกับทีมครูชาวอังกฤษระดับมืออาชีพ พร้อมทั้งเยี่ยมชมบรรยากาศการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล – Year 13
พบกันวันพุธที่ 23 ตุลาคม 2024 เวลา 9.00-11.30 น. ที่ Regent’s International School Bangkok แคมปัสพระรามเก้า สำรองที่นั่งเพื่อรับสิทธิพิเศษและส่วนลดมากมายภายในงาน ลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/9fcBRtxhA7Cd7MJW7 ผู้ปกครองที่สนใจสมัคร สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 092-362-8888 Line@regentsschoolbkk (หรือสแกน QR CODE ด้านล่าง), [email protected] www.regents.ac.th
]]>
ได้รับเลือกจากหนังสือพิมพ์ The Sunday Times ให้เป็นโรงเรียนยอดเยี่ยมแห่งทศวรรษ ในปี พ.ศ. 2563 และได้รับรางวัลด้านการศึกษาที่มีชื่อเสียงที่สุด โดยเฉลี่ยแล้วนักเรียนหนึ่งในหก ของไบรท์ตัน จะได้รับข้อเสนอให้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและเคมบริดจ์ ในช่วงหกปีที่ผ่านมา
โดยรวมแล้วนักเรียน 98% ของไบรท์ตัน ได้รับข้อเสนอจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ อังกฤษ เช่น Imperial, LSE และ UCL ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานักเรียนชั้น Year 13 ในครอบครัวไบรท์ตัน ได้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาและแคนาดากว่า 30 แห่ง รวมถึงสถาบัน Ivy League เช่น Brown, Columbia, Dartmouth, Harvard และ University of Pennsylvania
“ไบรท์ตัน คอลเลจ ไม่เพียงสร้างคนฉลาดเท่านั้น แต่ยังสร้างคนดีให้สังคมด้วย
โรงเรียนฯ ได้ปรับตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อรับมือกับความท้าทายที่หลากหลายตลอดทศวรรษ ที่ผ่านมา เพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนไม่เพียงแต่จะมีผลการเรียน GCSE และ A-Level ที่ยอดเยี่ยมเท่านั้น แต่มีความเข้าใจโลก มีความสุขและเห็นคุณค่าของตนเอง สามารถประสบความสำเร็จได้เหนือกว่าความคาดหวังของผู้ปกครอง”
โดย The Sunday Times
มิสเตอร์ ไมค์ วอลตัน, ครูใหญ่ ของโรงเรียนนานาชาติไบรท์ตัน คอลเลจ กรุงเทพฯ ได้ร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดกับไบรท์ตัน ที่ประเทศอังกฤษ เพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนไบรตันในประเทศไทย จะได้สัมผัสประสบการณ์การศึกษาระดับโลกแบบเดียวกับมาตรฐานที่ได้รับรางวัลจาก The Sunday Times โรงเรียนฯ มีแนวความคิดที่จะสร้างความมั่นใจ ใฝ่รู้ และจิตใจที่ดีงามให้เด็กไทยเพื่อสร้างความแตกต่างเชิงบวกให้กับโลกของเรา ด้วยคุณภาพการสอน ที่โดดเด่นควบคู่ไปกับโอกาสในการเรียนหลักสูตรที่หลากหลายได้พัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการ และการพัฒนาส่วนบุคคลซึ่งเป็นจุดเด่นของโรงเรียนไบรท์ตันมาตลอด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร: 02-300 9600
อีเมล์: [email protected]
เว็บไซต์: https://brightoncollege.ac.th/
LINE: @brightoncollegebkk
]]>
โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพฯ หรือ King’s College International School Bangkok เปิดเทอมแรกแล้ว! โดยโรงเรียนแห่งนี้เป็นสาขาของ King’s College School, Wimbledon ประเทศอังกฤษ โรงเรียนชั้นนำที่สามารถส่งนักเรียนถึง 25% เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย Oxford และ Cambridge ได้
สาขาที่ประเทศไทยนั้นเป็นสาขานอกประเทศอังกฤษสาขาที่ 3 ของโลก (2 สาขาก่อนหน้านี้อยู่ในเมืองอู๋ซีและหางโจว ประเทศจีน) เริ่มต้นโครงการโดย ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ ประธานบริหาร โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพฯ ซึ่งพบประสบการณ์ตรงหลังจากลูกชายย้ายโรงเรียนจากโรงเรียนนานาชาติในไทยไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ ทำให้เล็งเห็นว่าโรงเรียนนานาชาติในไทยยังสามารถยกระดับการศึกษาให้ดีขึ้นอีก เพื่อเทียบเคียงกับในอังกฤษได้
ในที่สุด ดร.สาคร สามารถติดต่อขอนำแบรนด์และระบบจาก King’s College School, Wimbledon มาเปิดการเรียนการสอนในไทยได้สำเร็จ พร้อมประสานเช่าที่ดินขนาด 22.5 ไร่ ย่านพระราม 3 ของ “เครือสหพัฒน์” เป็นทำเลก่อสร้างโรงเรียน และสหพัฒน์ได้เข้าร่วมถือหุ้นด้วยประมาณกว่า 10% โครงการนี้ใช้งบลงทุนทั้งหมด 4,000 ล้านบาท ก่อนจะเปิดเรียนวันแรกไปเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563
ดร.สาครกล่าวว่า ปัจจุบันโรงเรียนเปิดสอนตั้งแต่ชั้น Pre-nursery ถึง Year 10 ก่อนจะทยอยเปิดเพิ่มจนถึง Year 13 ขณะนี้กำลังพิจารณาว่าในปีการศึกษา 2565 จะสามารถเปิดเพิ่มถึง Year 12 ได้หรือไม่ และจะมีการลงทุนก่อสร้างตึกเรียนเพิ่มเติมรองรับนักเรียน
สำหรับปีการศึกษาแรกนี้ มีนักเรียนเข้าเรียนแล้วมากกว่า 300 คน ถือว่าเหนือความคาดหมาย เพราะเดิมมองว่าปีแรกน่าจะมีนักเรียนราว 100 คนเท่านั้น และกว่า 300 คนที่ได้เข้าเรียนนี้ยังต้องผ่านการสอบแข่งขันและสอบสัมภาษณ์ด้วย ไม่สามารถรับได้ทุกคน ทำให้เห็นว่าพ่อแม่ผู้ปกครองยุคนี้มีความต้องการการศึกษาในระบบนานาชาติสูงมาก
“ดีมานด์โรงเรียนนานาชาติสูงกว่าซัพพลายมาตลอด ระยะหลังมีโรงเรียนนานาชาติเปิดใหม่เยอะมากก็จริง แต่ดีมานด์ก็ยังสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีซัพพลายไม่เพียงพอ” ดร.สาครกล่าว
การมีโรงเรียนนานาชาติใหม่ๆ นั้นมักจะมาตอบโจทย์ความต้องการที่ต่างออกไปของผู้ปกครอง และวิธีคิดใหม่ในการให้การศึกษายุคนี้
ดร.สาครเล่าย้อนให้ฟังว่า ในอดีตยุคแรกของการตั้งโรงเรียนนานาชาติที่ประเทศไทย จุดแข็งสำคัญคือเรื่อง “ภาษา”
ที่ทำให้ใครๆ ต้องการส่งลูกหลานเข้าเรียน ต่อมาพัฒนามาเป็นเรื่องของ “โอกาสทางการศึกษา” เพราะโรงเรียนจะปูทางให้เด็กมีโอกาสมากกว่าเพื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก
แต่ยุคนี้ ดร.สาครมองว่า สังคมโลกรวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครองไทยมองการศึกษาอีกแบบหนึ่ง โรงเรียนนานาชาติไม่ได้ตอบโจทย์แค่เรื่องภาษากับโอกาส แต่ต้องสร้างให้เด็ก “มีเป้าหมายชีวิตของตัวเองและดีรอบด้าน” คือไม่ใช่แค่เรียนเก่ง แต่รู้ว่าตนเองต้องการอะไร มีทักษะอื่นในชีวิต และมีจิตใจที่ดี
โดยดร.สาครมองว่าปรัชญาการให้การศึกษาของ King’s College School ซึ่งโรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพฯ ถอดแบบมาใช้ด้วยนั้น สามารถตอบโจทย์นี้ได้ เพราะโรงเรียนจะให้คุณค่า 3 เสาหลัก ทั้งด้านความเป็นเลิศทางวิชาการ หลักสูตรร่วมผสมส่งเสริมกิจกรรมอื่น และดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด พร้อมกับส่งเสริมให้เป็นคนที่ดีผ่านคุณค่าเรื่องกิริยามารยาท จิตใจเมตตา และใฝ่ปัญญา
“โรงเรียนมีเรื่องความเป็นเลิศทางวิชาการ แต่ไม่ได้ต้องการเป็นโรงเรียนที่กลายเป็นโรงงานฝึกทำข้อสอบ แต่ต้องการส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมอื่นด้วยเพื่อให้เป็นคนที่เติบโตมาแบบรอบด้าน รวมถึงฝึกด้านจิตใจ ทำให้เรามี House System เพื่อสร้างสัมพันธ์พี่น้อง และอบรมเรื่องมารยาทนอบน้อม เคารพผู้ใหญ่ ยังมีความเป็นไทย ที่นี่เด็กยังรู้จักการไหว้ทุกคน” ดร.สาครกล่าว
ด้านผลกระทบจาก COVID-19 ต่อโรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพฯ ดร.สาครกล่าวว่า มีผลกับการนำครูและบุคลากรจากต่างประเทศเข้ามาในไทย มีความท้าทายสูงขึ้น แต่สุดท้ายสามารถนำคุณครูเข้ามาได้ตามเป้า ปัจจุบัน โรงเรียนทำการสอนด้วยครูต่างชาติทั้งหมด (ยกเว้นคุณครูภาษาไทย) โดยครูหลายท่านเป็นครูระดับ Tier 1 จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ซึ่งโรงเรียนทุ่มทุนจ้างในอัตรารายได้เดียวกับที่ประเทศอังกฤษ เพราะครูคือหัวใจสำคัญที่สุดของระบบการศึกษา
ส่วนผลต่อดีมานด์ของผู้ปกครอง ในเชิงเศรษฐกิจนั้นมีผลกระทบกับรายได้ของผู้ปกครองกลุ่มนี้น้อยมาก และยิ่งส่งให้ดีมานด์สูงขึ้นด้วย เพราะในระดับมัธยม ปกติผู้ปกครองมักจะส่งลูกหลานเข้าเรียนในต่างประเทศโดยตรง แต่เมื่อสถานการณ์ COVID-19 ระบาดหนักในต่างประเทศ ทำให้บางส่วนหันกลับมาพิจารณาทางเลือกในไทยมากขึ้น
ขณะที่ตัวเลือกโรงเรียนนานาชาติในไทยที่มักจะแบ่งการศึกษาออกเป็นระบบอังกฤษกับอเมริกัน ดร.สาครมองว่า ในแง่หลักสูตรเชิงวิชาการไม่ได้แตกต่างกันมากนัก แต่สิ่งที่ต่างกลับเป็นคุณค่าและทักษะประเภท soft skills ซึ่งกระแสระบบอังกฤษจะเป็นที่นิยมมากกว่า เพราะยังปลูกฝังเรื่องกิริยามารยาท จะเห็นได้ว่าโรงเรียนนานาชาติที่เปิดใหม่เป็นระบบอังกฤษเกือบทั้งหมด
ดร.สาครยังมองภาพระบบการศึกษาไทยว่าสามารถพัฒนาได้ โดยควรจะหันมายึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ มีกฎระเบียบที่ยืดหยุ่นให้ครูแต่ละโรงเรียนปรับวิธีการเรียนการสอนให้เข้ากับท้องถิ่นนั้นๆ
“เรายังติดกับดักระบบการศึกษาในอดีต คือต้องมีหลักสูตรตายตัวและครูเป็นคนถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก แต่วันนี้เทคโนโลยีทำให้ความรู้สามารถหาได้จากทุกที่ ครูจึงกลายเป็น facilitator มากกว่า เป็นผู้ชี้แนะช่องทางการไปค้นคว้าหาความรู้ สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กหาเป้าหมายของตัวเองเจอ และนำการอภิปรายในชั้นเรียน ช่วยให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นในชีวิต เช่น การคิด การพูด” ดร.สาครกล่าว “ครูต้องผู้สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กเติบโตด้วยความสุข”
]]>บิ๊กโปรเจกต์ที่เกิดขึ้นในปี 2531 คือการเปิดตัว “ธนาซิตี้” ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โครงการแรกของธนายง บนที่ดิน 1,700 ไร่ ย่านบางนา-ตราด กม.14 ใกล้กับสนามบินสุวรรณภูมิ เป้าหมายของ “ธนาซิตี้” คือสร้างเมืองใหม่ที่มี facilities ของการอยู่อาศัยครบทุกด้าน
คีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) และบริษัท ยูซิตี้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การพัฒนาโครงการธนาซิตี้เมื่อ 31 ปีก่อน ต้องการสร้างให้เป็นเมืองใหม่ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบทุกอย่าง เริ่มด้วยที่อยู่อาศัย บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม สนามกอล์ฟ 400 ไร่
จิ๊กซอว์ล่าสุดที่เข้ามาเติม คือ โรงเรียนนานาชาติเวอร์โซ (Verso) ก่อสร้างบนที่ดิน 168 ไร่ ติดโครงการธนาซิตี้ ซึ่งลงทุนโดย “ยูซิตี้” ในเครือบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ และพันธมิตร บริษัท ฟอร์จูน แฮนด์ เวนเจอร์ ลิมิเต็ด จากฮ่องกง ฝ่ายละ 50% มูลค่าลงทุน 5,000 ล้านบาท
นอกจากนี้บริษัทมีแผนจะลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนพื้นที่ด้านหน้าโครงการธนาซิตี้ ประมาณ 200 ไร่ โดยจะพัฒนาเป็นอสังหาฯ รูปแบบ “มิกซ์ยูส” โปรเจกต์นี้คาดใช้เงินลงทุนราวหมื่นล้านบาท แผนลงทุนคาดว่าจะสรุปในปี 2563
“รูปแบบการลงทุนโครงการมิกซ์ยูสบนที่ดินที่เหลืออีก 200 ไร่ ยังไม่สรุป การสร้างเมืองใหม่ก็สามารถใส่ facilities อื่นๆ ที่คนอยู่อาศัยต้องการเข้ามาได้ ทั้งโรงพยาบาล หรือศูนย์การค้า หากพัฒนาพื้นที่ตรงนี้จบ ก็ถือว่าสร้างเมืองใหม่ธนาซิตี้ได้สำเร็จ ซึ่งต้องใช้เวลากว่า 30 ปี ค่อยๆ พัฒนาพื้นที่ 1,700 ไร่”
ปี 2563 คาดว่าโครงการรถไฟรางเบา (LRT) บางนา-สุวรรณภูมิ จะเริ่มประมูลและก่อสร้างได้ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเดินทางมาที่โครงการธนาซิตี้
ปัจจุบัน BTS ยังมีที่ดินอยู่อีกหลายแปลงมูลค่าหลักหมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ แนวรถไฟฟ้า ซึ่งสามารถพัฒนาและลงทุนอสังหาฯ ได้หลายรูปแบบ
สำหรับ “โรงเรียนนานาชาติเวอร์โซ” บนพื้นที่ 168 ไร่ ลงทุน 5,000 ล้านบาท ถือโรงเรียนนานาชาติใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ จะเปิดสอนภาคการศึกษาแรกในเดือน ส.ค. 2563 เป็นโรงเรียนนานาชาติที่ออกแบบและพัฒนาพื้นฐานของแนวคิดใหม่ โดยมีนักเรียนเป็นศูนย์กลางและเน้นหลักสูตรเตรียมพร้อมรับมือกับอนาคต (Future-ready Curriculum) รองรับนักเรียนได้ 1,800 คน ตั้งแต่ชั้นเตรียมอนุบาลจนถึงเกรด 12
มองว่าโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกของประเทศไทย หรือ อีอีซี จะสามารถดึงดูดชาวต่างชาติเข้ามาได้ปีละประมาณ 100,000 คน ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะส่งบุตรหลานมาเรียน
จากสมาคมโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยยังระบุอีกด้วยว่า ประเทศไทยเป็นตลาดโรงเรียนนานาชาติที่มีการเติบโตมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีอัตราการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลักตลอดระยะ 8 ปีที่ผ่านมา
]]>ก่อนถึงวันงาน “สหกรุ๊ปแฟร์” ที่ปีนี้จัดวันที่ 27 – 30 มิ.ย. 2562 ไบเทค บางนา “เสี่ยบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา” ประธานเครือสหพัฒน์ ในวัย 83 ปี ยังทำหน้าที่เป็นผู้บอกเล่าสิ่งที่เป็นไฮไลต์ของงานแฟร์แต่ละปี สำหรับปีนี้เริ่มตั้งแต่คอนเซ็ปต์งาน “ว้าวถูกใจทุก Gen” ที่ “เสี่ยบุณยสิทธิ์” เป็นผู้ออกไอเดีย เพื่อสื่อว่างานนี้ จะมีสินค้า บริการ และวัฒนธรรมที่หลากหลายมาตอบโจทย์ “ทุกเจน”
ที่ออกมาเป็นคอนเซ็ปต์ “ว้าวถูกใจทุก Gen” เพราะต้องการสร้างความ Wow ในทุกลุ่มลูกค้า โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ต้องการให้เข้ามามีส่วนร่วมกับสินค้าของเครือสหพัฒน์ ผ่านงานสหกรุ๊ปแฟร์ เพราะหากคนรุ่นใหม่รู้จักและคุ้นเคยกับแบรนด์ จะทำให้สินค้ามี Life Cycle อยู่กับคนรุ่นใหม่ไปอีกยาวนาน พร้อมต้องพัฒนาสินค้าใหม่ที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์เจนใหม่ๆ ไม่เช่นนั้นก็จะกลายเป็น Old Fashion
ขณะที่คนทั่วไปที่รู้จักสินค้าในกลุ่มอุปโภคบริโภค กลุ่มแฟชั่น ของเครือสหพัฒน์ดีอยู่แล้ว แต่ก็ต้องกระตุ้นให้ทุกคนรู้สึก Wow กับสินค้าและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่นำมาเสนอด้วยเช่นกัน
นโยบายการเติบโตของเครือสหพัฒน์หลังจากนี้ จะมุ่งสู่ New Growth Engine ด้านการให้บริการและการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น จากเดิมลงทุนสร้างโรงงาน ผลิตสินค้าจำนวนมาก ปัจจุบันเป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและแฟชั่นเกือบทุกอย่าง
แต่ปีนี้จะโฟกัสที่การนำเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้ง AI, Big Data และ IoT มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการบริการให้กับผู้บริโภคมากขึ้น ในงาน สหกรุ๊ปแฟร์ จะเป็นครั้งแรกที่จะโชว์ “ร้านค้าอัจฉริยะไร้พนักงาน” His & Her Smart Shop ที่ได้ร่วมกับทรู คอร์ปอเรชั่น พัฒนาขึ้นโดยใช้เทคโนโลยี AI ที่จะเปิดให้ลูกค้าเข้าไปทดลองใช้บริการภายงาน ซื้อสินค้าและจ่ายเงินเองผ่านสมาร์ทเพย์เมนต์ โดยไม่มีพนักงานขาย
แนวโน้มธุรกิจค้าปลีกในอนาคต จะใช้คนลดลง เพราะแรงงานหายากมากขึ้น และให้บริการ Smart Shop ก็จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็เป็นแนวคิดการให้บริการรูปแบบเดียวกับ Vending Machine แต่เปลี่ยนจากตู้มาเป็นร้านค้า และเครือสหพัฒน์เองได้พัฒนาเทคโนโลยีนี้ร่วมกับพันธมิตรในประเทศขึ้นมารองรับแล้วเช่นกัน เพราะต้องการให้บริการที่ล้ำหน้ากว่าคนอื่นๆ หลังจากเปิดให้ทดลองใช้บริการในงานสหกรุ๊ปแฟร์แล้วจะพัฒนาต่อเนื่อง เพื่อนำมาใช้บริการจริงหลังจากนี้
การพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้งานมากขึ้น เพื่อทำให้เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคและความต้องการของตลาด เพื่อให้เครือสหพัฒน์ทำธุรกิจได้ครบวงจรและตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคได้ตรงจุด เพราะการเป็นผู้ผลิตสินค้าโดยไม่รู้เทรนด์ตลาดว่ามีความต้องการอย่างไร ไม่สามารถทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
สำหรับสินค้าไฮไลต์ในงานสหกรุ๊ปแฟร์ ปีนี้ จะมีการเปิดตัว มาม่า OK บิ๊กคัพ โจ๊กและข้าวต้มรสชาติใหม่ เช่น เล้งแซ่บ กุ้งกระเทียม, เสื้อ ARROW ที่ผลิตจากกระบวนการ Upcycling โดย PTTGC, เทคโนโลยี 3D Printing ของ PAN เป็นการออกแบบพื้นรองเท้านตามขนาดของเท้า, กลุ่มสินค้าชำระล้าง ออร์แกนิกของแบรนด์ ENFANT
อีกไฮไลต์ปีนี้คือประธานเปิดงานคนใหม่ เพราะ “เสี่ยบุณยสิทธิ์” ขอสละตำแหน่งประธานตีฆ้องเปิดงาน หลังจากทำหน้าที่ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ต่อจาก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรี ที่เป็นประธานเปิดงานสหกรุ๊ปแฟร์ตั้งแต่ปีแรก 2540
ด้านแผนการลงทุนปีนี้ ตามยุทธศาสตร์ด้านวัฒนธรรมในกลุ่มโรงเรียน ปีนี้ได้ลงทุน โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพ บนพื้นที่ 25 ไร่ ย่านพระราม 3 พื้นที่ติดกับบริษัทไอ.ซี.ซี. ใช้งบประมาณราว 1,000 ล้านบาท โดยร่วมมือกับโรงเรียน คิงส์คอลเลจ วิมเบิลดัน ประเทศอังกฤษ คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2563 มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านบุคลากรให้ประเทศ
นอกจากนี้ในงานสหกรุ๊ปแฟร์ จะมีการเซ็นสัญญาลงทุนกลุ่มบริการเพิ่มเติม กับกลุ่มโตคิว ญี่ปุ่น เพื่อร่วมลงทุนโรงแรม 4 – 4 ดาวครึ่ง ขนาดกว่า 100 ห้อง ลงทุน 1,000 ล้านบาท และคอนโดมิเนียมขนาดกว่า 200 ห้อง ลงทุน 1,000 ล้านบาท ที่นิคมอุตสาหกรรมสหพัฒน์ ศรีราชา เพื่อรองรับอีอีซี
พร้อมกันนี้จะเซ็นสัญญาร่วมกับ Sojostu จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะทำหน้าที่ดึงบริษัทจากญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในการขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม 3 แห่ง ที่กบินทร์บุรี ลำพูน และแม่สอด
เครือสหพัฒน์ยักษ์ใหญ่ด้านสินค้าอุปโภคบริโภคและอีกหลากหลายธุรกิจ ปี 2561 ทั้งเครือมีรายได้กว่า 3 แสนล้านบาท มุมมองของ เสี่ยบุณยสิทธิ์ จึงสะท้อนภาพรวมสถานการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจประเทศในฐานะภาคเอกชน โดยมองว่าหลังจากประเทศไทยผ่านการเลือกตั้งในเดือน มี.ค. 2562 และยังไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้ เป็นสิ่งที่นักลงทุนต่างชาติเริ่มไม่มั่นใจในเสถียรภาพรัฐบาล จึงลังเลเรื่องการลงทุน
เครือสหพัฒน์เองครึ่งปีแรกยังไม่มีแผนลงทุนใหญ่ เพราะพันธมิตรต่างชาติต้องการรอดูนโยบายรัฐบาลเช่นกัน จากเดิมที่มองว่าปีนี้ ที่มีการเลือกตั้ง โอกาสการลงทุนใหม่น่าจะมากกว่าปีก่อน 2 – 3 เท่า แต่มาถึงขณะนี้การลงทุนคงไม่มากกว่าปีก่อน ขณะที่การเติบโตเดิมวางไว้ที่ 5% ก็น่าจะเหลือเพียง 2 – 3%
“การตัดสินใจลงทุนจะต้องดูเสถียรภาพของรัฐบาลด้วยเช่นกัน เปรียบได้กับการขับรถยนต์หากเหตุการณ์ดี ก็จะเหยียบคันเร่งเต็มที่ แต่หากเหตุการณ์ไม่ชัดเจนก็ต้องแตะเบรก”
]]>