โอนเงิน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 15 Nov 2024 11:14:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ธนาคาร” อัปเกรดระบบความปลอดภัยแน่น “มิจจี้” ต้องหาวิธีใหม่ๆ ทำโกงออนไลน์ เพิ่มขึ้น 10 เท่า  https://positioningmag.com/1499323 Fri, 15 Nov 2024 11:03:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1499323 BioCatch (ไบโอแคตช์) บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ กล่าวว่า ปัจจุบันธนาคารในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา มีการหลอกลวงทางดิจิทัล หรือ ฉ้อโกงออนไลน์ เพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าในปีนี้ (2024) เนื่องจากอาชญากรมีใช้เทคนิคและเทคโนโลยีให้การหลอกเหยื่อให้โอนเงินไปให้

Tom Peacock ผู้อํานวยการ BioCatch ของ Global Fraud Intelligence กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการฉ้อโกงออนไลน์นี้ เป็นผลมาจากการที่ธนาคารได้ปรับเปลี่ยนและอัปเกรดการป้องกันการเข้ายึดบัญชีและการฉ้อโกงรูปแบบอื่นๆ ให้มีความรัดกุมขึ้น

ซึ่งจากการเก็บข้อมูลจากพฤติกรรมการใช้แอปมือถือและเว็บไซต์ในลูกค้าธนาคารเพื่อช่วยให้ธนาคารแยกแยะระหว่างลูกค้าและอาชญากร ของ BioCatch ได้พบว่า อาญชากร หรือ มิจฉาชีพ มีการตระหนักได้ว่า การโน้มน้าวให้มนุษย์ทําอะไรบางอย่างผ่านการถ่ายโอนด้วยตัวเองนั้น ง่ายกว่าการพยายามหลีกเลี่ยงการควบคุมความปลอดภัยและการป้องกันโดยเทคโนโลยี

โดย Barclays (บาร์เคลย์) และ HSBC (เอชเอสบีซี) กลุ่มธนาคารของอังกฤษที่เป็นหนึ่งในกลุ่มลูกค้าของ BioCatch ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันจากหน่วยงานกํากับดูแลและฝ่ายนิติบัญญัติฯของประเทศ มีการมุ่งเน้นการปราบปรามไปที่อันตรายที่เกิดจากการหลอกลวงทางดิจิทัลมากขึ้น ส่งผลให้ธนาคารอยู่ภายใต้แรงกดดันในการกำจัดอาชญากรออกจากแพลตฟอร์มการเงินออนไลน์ รวมถึงการชดเชยค่าเสียหายให้กับเหยื่อที่มีจำนวนมากขึ้น 

ด้าน JPMorgan Chase (เจพีมอร์แกน เชส) และ Wells Fargo (เวลส์ ฟาร์โก) ผู้ให้บริการทางการเงินของอเมริกา ได้กล่าวว่า สํานักคุ้มครองทางการเงินของผู้บริโภคของอเมริกา อาจมีการลงโทษพวกเขา (กลุ่มผู้ให้บริการทางการเงิน) เนื่องจากมีความเกี่ยวเนื่องกับการชำระเงินของลูกค้าที่ชำระผ่านแอป Zelle เนื่องจากเมื่อในปี 2023 มีลูกค้าของธนาคารจำนวน 3 ราย รายงานว่า มีการทำธุรกรรมผ่านแอป Zelle และมีการตรวจสอบพบในภายหลังว่าเป็นการฉ้อโกงออนไลน์ ซึ่งรวมมูลค่าความเสียหายมากถึง 166 ล้านดอลลาร์ 

การเพิ่มขึ้นของการฉ้อโกงออนไลน์ มีการวิเคราะห์ว่า อาชญากรใช้กลวิธี “โน้มน้าวใจ” เพื่อโน้มน้าวให้เหยื่อทำธุรกรรมโอนเงินให้พวกเขาด้วยตัวเอง แม้การฉ้อโกงแบบนี้จะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 5 ปีก่อน แต่ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา มีอัตราตัวเลขที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งแพลตฟอร์มอย่าง Zelle ช่วยให้มิจฉาชีพทำงานได้เร็วขึ้นกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ และประสบความสําเร็จในการฉ้อโกงมากขึ้นนั่นเอง 

ด้านเจ้าของ Zelle อย่าง Early Warning Services แย้งว่า ในขณะที่จำนวนการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้นในปี 2023 แต่มีรายงานว่า การหลอกลวงและการฉ้อโกงลดลงเกือบ 50% และมีจำนวนการชำระเงินส่วนน้อยเท่านั้นที่ถูกตรวจพบว่าเป็นการฉ้อโกงออนไลน์ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอัตราการฉ้อโกงออนไลน์ที่อ้างโดย BioCatch นั้นอาจเป็นเพียงการทำธุรกรรมที่เพิ่มขึ้น เพราะก่อนหน้านั้นธนาคารไม่สามารถระบุได้ว่า การทำธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นการฉ้อโกง เนื่องจากธุรกิจธนาคารมีกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้น 

ทั้งนี้ BioCatch ปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลด้านตัวเลขปริมาณการหลอกลวงที่มีความเฉพาะ เนื่องจากมีข้อตกลงในการรักษาความลับของลูกค้า แต่ในอีกสัญญาณหนึ่งที่เกี่ยวข้องของอาชญากรรมทางไซเบอร์ ลูกค้ากลุ่มธนาคารให้ข้อมูลกั  BioCatch ว่า มีการเปิดบัญชีหลอกลวง (บัญชีม้า) น้อยลง 59% แต่อาชญากรได้มุ่งเน้นไปที่การเข้ายึดบัญชีธนาคารที่มีอยู่แทน ส่งผลให้จำนวนการฉ้อโกงเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าผ่านช่องทางอื่นแทน 

ที่มา : CNBC 

]]>
1499323
รู้จัก MAKE เเอปฯ โมบายเเบงกิ้งจาก KBank เจาะใจ “คนรุ่นใหม่” กลยุทธ์ปูทางสู่ธนาคาร 5.0 https://positioningmag.com/1289276 Thu, 23 Jul 2020 11:33:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1289276 ในยุคนี้เเอปพลิเคชันโมบายเเบงกิ้งถือเป็นเเอปฯ จำเป็นที่ต้องมีไว้ในสมาร์ทโฟนไปเเล้ว ทำให้ธนาคารต่างๆ กำลังเปิดศึกเเย่งฐานผู้ใช้กันอย่างดุเดือด ไม่ใช่เเค่ในไทยเเต่มีเป้าหมายจะขยายไปทั่วอาเซียน โดยเน้นไปที่การเจาะใจคนรุ่นใหม่

ล่าสุดธนาคารใหญ่ในไทยอย่างกสิกรไทย” (KBank) เปิดตัวแอปพลิเคชัน MAKE by KBank เพื่อมาตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคในยุค New Normal ที่ใช้ชีวิตเชื่อมโยงกันผ่านเทคโนโลยีโดยเฉพาะ คาดว่าจะเปิดตัวเป็นทางการได้ในช่วงไตรมาส 4 เเละตั้งเป้าจะมียอดเปิดใช้แสนบัญชีภายในสิ้นปีนี้

เเม้ว่ากสิกรไทยจะมี K PLUS เป็นโมบายแบงกิ้งที่มีลูกค้าใช้บริการ 13 ล้านราย (อันดับ 1 ในไทย) อยู่แล้ว เเต่การมาของ MAKE ครั้งนี้ ทางทีมงานบอกว่าจะเป็นการ Re-imagining ครั้งใหญ่เเละเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่การยกระดับเป็นธนาคาร 5.0 เลยทีเดียว

เรืองโรจน์ พูนผล ประธาน กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) กล่าวถึงท่ีมาของ MAKE ว่า ต้องการตอบโจทย์การบริหารเงินของคนรุ่นใหม่อย่างดีที่สุด ทำให้ธนาคารต้องคิด ไม่ยึดติดขนบเดิม จึงมีการทดลองสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ อยู่เสมอ เพื่อให้ธนาคารไปอยู่ทุกที่ในช่วงเวลาของชีวิตของทุกคน

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา KBank เริ่มทยอยเปิดตัวนวัตกรรมทางการเงินยุคดิจิทัล เช่น 6 เทคโนโลยีใหม่แบบไร้สัมผัส เเละ “ขุนทอง” เป็นแชทบอทเหรัญญิกช่วยคิดการแชร์ค่าอาหาร รวมถึง Eatable แพลตฟอร์มจัดการร้านอาหารที่มีทั้งส่วนบริการในร้าน รับออเดอร์ เรียกพนักงานหรือรับชำระเงิน เเละมีบริการจัดส่งเดลิเวอรี่ด้วย 

สำหรับ MAKE by KBank จะเน้นให้ลูกค้ารู้สึก “สะดวก-สบาย-สนุก” เข้ากับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ สามารถทำกิจกรรมทางการเงินโดยที่ไม่ต้องจำเลขบัญชี ไม่ต้องมีเบอร์โทร ผ่าน 3 พฤติกรรมหลักอย่าง ได้เเก่ บริการโอนเงินผ่านบลูทูธ บันทึกประวัติการทำธุรกรรมในรูปแบบแชท และช่องทางจัดเก็บเงินตามความต้องการของเเต่ละบุคคล

MAKE อ่านพ้องเสียงไปกับคำในภาษาไทยว่า “เมฆ” ดังนั้นโลโก้จึงเป็นรูปก้อนเมฆที่มีความโค้งมน ไม่สมมาตรเเต่มีไดนามิก มีการดีไซน์เเอปพลิเคชันโดยเเบ่งโหมดค่าใช้จ่ายตามสีของท้องฟ้าในช่วงเวลาต่างๆ” 

โดยการออกแบบฟีเจอร์ต่างๆ ของ MAKE มีแนวคิดหลักจาก

  • MAKE it Social ตอบรับกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่มีชีวิตกับเทคโนโลยี ให้ผู้ใช้สามารถบริหารจัดการเงินด้วยตัวเอง และสามารถแชร์ร่วมกันระหว่างเพื่อนหรือบุคคลที่ต้องการได้
  • MAKE it Fast พัฒนาเทคโนโลยีและออกแบบฟีเจอร์ที่ทำให้การจัดการการเงินสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
  • MAKE it Scalable สามารถรองรับปริมาณการทำธุรกรรมจำนวนมาก โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ที่มีแนวโน้มการใช้โมบายแบงกิ้งมากขึ้น

ในเฟสเเรก MAKE by KBank จะประกอบด้วย 3 ฟีเจอร์หลัก ที่เหมาะกับชีวิตประจำวันยุค New Normal ที่ต้องการจัดการทุกอย่างผ่านบัญชีธนาคารเดียว

Pop Pay บริการโอนเงินที่สะดวกและรวดเร็ว เพราะสามารถโอนเงินผ่านบลูทูธ ให้คนที่อยู่ในระยะ 10 เมตรได้เลยโดยไม่ต้องขอเลขบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ หรือ QR Code จากอีกฝ่าย ยกระดับวิธีโอนเงินแบบ Contactless เพียงแค่กดเลือกไอคอนเพื่อนที่มีบัญชี MAKE by KBank เหมือนกันและอยู่ในรัศมีที่กำหนด ก็กดส่งเงินได้เลย (ซึ่งจะมีชื่อจริงของเพื่อนให้เราเช็กก่อนกดโอน)

Chat Banking บันทึกรายการการทำธุรกรรมสไตล์ใหม่ที่ผู้ใช้สามารถเก็บบันทึกประวัติการโอนเงินระหว่างเพื่อนเป็นรูปแบบของโซเชียลแชท (Social Chat) คล้ายคลึงกับบริการส่งข้อความหรือแอปแชทที่ใช้กันทั่วไป โดยผู้โอนเงินสามารถแนบรูปภาพหรือเขียนบันทึกของการโอนนั้นๆ ได้เพื่อให้ง่ายต่อการย้อนดูภายหลัง

Cloud Pocket  สามารถสร้างกระเป๋าเงินย่อยไว้แยกเก็บเงินในบัญชีได้ไม่จำกัดจำนวน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแบ่งเงินออกเป็นส่วนๆ ได้ สร้างเป็น Cloud Pocket ส่วนตัว เพื่อจัดสรรเงินสำหรับการใช้ส่วนบุคคล เช่น เงินออม ค่าใช้จ่ายรายเดือนของบริการต่างๆ ค่าของขวัญสำหรับคนพิเศษ ค่าช้อปปิ้ง หรือจะชวนเพื่อนมาร่วม Cloud Pocket ของเรา เพื่อเก็บเงินเป็นกองกลางเพื่อใช้ทำกิจกรรม ไปทริป หรือซื้อของร่วมกัน สร้างความเป็น Community-Based มากขึ้นก็ได้เช่นกัน สามารถย้ายเงินข้าม Pocket ได้อย่างสะดวก ไม่จำกัดจำนวนครั้ง รวมทั้งมีการแจ้งเตือนเวลามีเงินโอนเข้า และยังสามารถตั้งค่าโอนอัตโนมัติได้อีกด้วย

 

สำหรับการเปิดบัญชีเพื่อใช้งาน ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน MAKE by KBank ก่อน จากนั้นระบบจะให้ยืนยันตัตนผ่าน KPLUS เหมือนการเปิดบัญชีออมทรัพย์ปกติ โดยผู้ใช้สามารถทำการถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็มโดยไม่ใช้บัตรได้ (กดไอคอน MAKE ที่หน้าจอตู้เอทีเอ็ม) หากต้องการโอนเงินก็สามารถทำได้ปกติเพียงมีเลขบัญชีผู้รับปลายทาง

ทั้งนี้ แอปฯ MAKE ยังต้องยืนยันตัวตนผู้ใช้ผ่าน KPLUS ไปก่อนในช่วงนี้ ซึ่งทำให้ผู้ใช้ต้องติดตั้งทั้ง 2 แอปฯ แต่ในอนาคต ทีมงานเตรียมจะพัฒนาให้เป็นแอปฯ ที่สมบูรณ์ในตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งพาเเอปฯ หลักของธนาคาร

โดยตอนนี้ MAKE ยังอยู่ในช่วงที่ให้พนักงานธนาคารกสิกรไทยและ KBTG (ราว 2 หมื่นคน) ได้ทดลองใช้งานก่อน สำหรับลูกค้าหรือบุคคลที่สนใจร่วมทดลองใช้งานเป็นกลุ่มแรก สามารถลงทะเบียนได้ (ที่นี่) เพื่อช่วยให้ทางทีมพัฒนาสามารถรับความเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการบริการ ก่อนที่จะเปิดให้ลูกค้าทั่วไปได้ใช้งานเต็มรูปแบบในช่วงปลายปี 2563 ในระหว่างนี้ทางธนาคารยังเปิดประกวดไอเดียการสร้างฟีเจอร์ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ชิงเงินรางวัลรวม 60,000 บาทด้วย (อ่านรายละเอียด ที่นี่)

การเปิดตัว MAKE by KBank ในปีนี้ นับเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ของธนาคารที่ต้องการจะเพิ่มยอดการ “เปิดบัญชีใหม่” ในช่วงสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ผู้คนหันมา “ออมเงิน” มากขึ้น เพราะความไม่เเน่นอนของชีวิตเเละหน้าที่การงาน

ส่วนข้อสงสัยที่ว่า MAKE จะมาทับซ้อนหรือเเย่งฐานลูกค้าของเเอปฯ หลักอย่าง KPLUS หรือไม่นั้น ผู้บริหาร KBTG ตอบว่า เป็นการเชื่อมโยงกันมากกว่า เพราะทั้งสองมีเป้าหมายลูกค้าที่เเตกต่างกันเเน่ชัด โดย KPLUS จะเป็นเเอปฯ ที่ทำเพื่อผู้ใช้ทุกคน ครอบคลุมเเละมีบริการครบวงจรของธนาคาร ส่วน MAKE จะเน้นไปที่คนรุ่นใหม่ Gen Y-Z ที่นิยมเปิดบัญชีหลายบัญชี มีไลฟ์สไตล์เเละกิจกรรมที่หลากหลาย ชื่นชอบการใช้เทคโนโลยี

“ในอนาคตอาจจะมีการนำฟีเจอร์ของ MAKE ไปอยู่ใน KPLUS หรือเเอปฯ ขุนทอง หรือนำฟีเจอร์ของ KPLUS มาใส่ใน MAKE ด้วยก็ได้ เป็นการเชื่อมต่อระหว่างกัน ซึ่งเราจะมีการพัฒนาฟังก์ชั่นใหม่ๆ มาให้ใช้ตลอด นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น KBank ยังจะมีนวัตกรรมใหม่มาเปิดตัวอีก อย่างเร็วก็ในช่วงเดือนหน้านี้” 

 

]]>
1289276
แอปเปิล คลอด “Apple Pay Cash” โอนเงินผ่าน iMessage ได้แล้วนะ https://positioningmag.com/1149104 Wed, 06 Dec 2017 03:13:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1149104 ไหนๆ ต้องอัปเดต iOS 11.2 ออกมาก่อนกำหนด แอปเปิลถือโอกาสเปิดบริการแอปเปิลเพย์ แคช” (Apple Pay Cash) เลยทีเดียว โดยให้บริการแล้วในบางรัฐของสหรัฐอเมริกา

ความสามารถของแอปเปิลเพย์ แคชนี้จะทำให้ผู้ใช้งาน iOS สามารถทำธุรกรรมได้โดยตรงผ่านแอปพลิเคชันไอแมสเซส (iMessage) เช่น ผู้เป็นลูกสามารถส่งข้อความขอให้แม่ ส่งเงินค่าราเมนมาให้ ทางคุณแม่ก็โอนเงินมาให้เลย 20 เหรียญสหรัฐ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า ความสะดวกของการทำธุรกรรมทางการเงินจะเกิดขึ้นได้อีกมากจากบริการแอปเปิล เพย์ แคชดังกล่าว เพราะมันสามารถโอนเงินได้ไม่ต่างจากที่แอปพลิเคชันเช่น Venmo, PayPal หรือ Square Cash ทำได้ นอกจากนั้นยังสามารถสั่งการผ่านผู้ช่วยดิจิตอลอย่าง Siri ก็ได้ด้วย

ส่วนเงินที่จะส่งไปนั้นจะดึงจากบัญชีเดบิต หรือเครดิตที่ผูกเอาไว้กับแอปเปิลวอลเล็ต กระเป๋าสตางค์อิเล็กทรอนิกส์ของแอปเปิลนั่นเอง

นอกจากนั้น ผู้ใช้งานยังสามารถโอนเงินไปยังธนาคาร หรือเก็บไว้ในอุปกรณ์ในฐานะบัตรของขวัญก็ได้ ส่วนการนำออกมาใช้จ่าย ก็สามารถทำได้ทุกที่ที่รับ Apple Pay

ข้อดีอีกประการหนึ่งคือ แอปเปิลเลือกที่จะให้มันทำงานบน iMessage ซึ่งเป็น Ecosystem ของแอปเปิลเอง ไม่ต้องไปพึ่งพาการใช้งานผ่านแอปพลิเคชันของบริษัทอื่น

อย่างไรก็ดี การเปิดให้ใช้งานนั้นยังจำกัดแค่บางรัฐในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ซึ่งเท่ากับว่าในระดับโลกแล้ว บริการเหล่านี้คงต้องรอต่อไปอีกสักระยะเลยทีเดียว.

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9600000122637

]]>
1149104