กองทุน RMF – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 10 Nov 2021 17:48:55 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิด 3 ธีมเมกะเทรนด์ จัดพอร์ตกองทุน SSF-RMF อย่างไร ในช่วงโค้งสุดท้ายปลายปี https://positioningmag.com/1361364 Wed, 10 Nov 2021 12:11:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1361364 SCB CIO เเนะเเนวจัดพอร์ตลงทุน RMF – SSF ช่วงปลายปีนี้ กับ 3 ธีมเมกะเทรนด์ หุ้นโลก “กลุ่มสุขภาพ – กลุ่มเทคโนโลยีการเงิน – หุ้นจีนกลุ่ม Tech และ A-Shares” มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว

ศรชัย สุเนต์ตา ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารฝ่าย SCB Chief Investment Office (CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เผยถึง มุมมองต่อการจัดพอร์ตลงทุนเพื่อการออมสำหรับการเกษียณและการลดหย่อนภาษี โดยใช้โอกาสจากการลงทุนในกองทุน RMF (Retirement Mutual Fund) และ SSF (Super Savings Fund) ในช่วงปลายปี เป็นเครื่องมือช่วยออมและวางแผนเกษียณในระยะยาว

โดยประชากรไทยส่วนใหญ่ ยังมีเงินออมไม่เพียงพอและมีแผนการเงินระยะยาวไม่ครอบคลุมต่อการเกษียณอย่างยั่งยืน ในขณะที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ครอบครัวส่วนใหญ่มีขนาดที่เล็กลง การพึ่งพาตนเองจึงเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นเหมือนกับสังคมผู้สูงอายุในหลายประเทศทั่วโลก

“การวางแผนการเงินสำหรับชีวิตหลังเกษียณไม่ควรพึ่งระบบบำเหน็จบำนาญ หรือสวัสดิการของรัฐเป็นช่องทางหลัก หรือพึ่งพารายได้จากลูกหลาน แต่ควรให้ความสนใจกับแผนการลงทุนส่วนบุคคลเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินและพึ่งพาตนเองได้ในยามเกษียณ”

ผู้ลงทุนควรเลือกเทรนด์การลงทุนที่คาดว่า จะสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนที่เติบโตให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นภายหลังเกษียณได้อย่างมั่นคง เช่น ค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาล ที่คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นตามอายุของเราที่มากขึ้น และราคาของค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นด้วย

เกาะ 3 ธีม ลงทุนปลายปี

ในการลงทุนระยะยาว SCB CIO ได้เลือก 3 ธีมเมกะเทรนด์ที่น่าสนใจ ได้แก่ ธุรกิจสุขภาพ ธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน และการเติบโตของเศรษฐกิจจีน สำหรับการลงทุนในกองทุน RMF และ SSF ดังนี้

ธุรกิจสุขภาพ – Healthcare

เป็นเทรนด์ที่เหมาะกับการถือลงทุนในระยะยาว เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลคิดเป็นสัดส่วนที่สูงต่อ GDP และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั่วโลกในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว

ขณะที่โครงสร้างประชากรเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจากการที่สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีเมื่อเทียบกับอัตราการเกิด ซึ่งการลงทุนในหุ้นของบริษัทด้านธุรกิจสุขภาพทั่วโลก เป็นโอกาสการกระจายการลงทุนในหลายอุตสาหกรรมย่อยที่มีความสำคัญ เช่น

  • บริษัทยา (Pharmaceutical)
  • เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
  • เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (Health Technology)
  • เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology)
  • ประกันสุขภาพ (Health Insurance)
  • อุปกรณ์การแพทย์ (Medical Devices and Instruments)

“การลงทุนในหุ้นบริษัทธุรกิจสุขภาพโลก มองเป็นการลงทุนได้ทั้งในสไตล์หุ้น defensive ที่มีความผันผวนไม่มาก รวมถึงสไตล์หุ้น growth ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงได้อย่างสมดุล ซึ่งเหมาะกับแผนการลงทุนระยะยาว เนื่องจากธุรกิจสุขภาพถือเป็นธุรกิจหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จะอยู่คู่กับมนุษย์ทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับตัวอย่างกองทุนจาก SCB ที่น่าสนใจ ได้แก่ SCBRMGHC (RMF)”

Photo : Shutterstock

ธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน – Fintech 

วิวัฒนาการของภาคเทคโนโลยีทางการเงินมีความคืบหน้าต่อเนื่องและ Fintech ยังมีแนวโน้มเข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมบริการทางการเงินและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในระยะยาว เนื่องจากกระแส Digital Transformation ทั่วโลกเร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 ทำให้ปัจจุบันกระแส Fintech เป็นเรื่องปกติในทุกภาคส่วน

สำหรับหุ้นธุรกิจ Fintech ที่น่าสนใจ ได้แก่ บริษัทที่ทำธุรกิจในเรื่องของ E-Commerce, Social Platform, Digital Payment, Digital Lending, Cloud Computing รวมไปถึงธุรกิจด้าน Wealth Management และ Robo Advisory และบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนใน Cryptocurrency และเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างมากจากคนรุ่นใหม่

ทั้งหมดนี้เป็นธุรกิจการเงินแห่งอนาคตและถือเป็นตลาดที่ค่อนข้างใหญ่ และบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ล้วนเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาด Fintech ทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงถือเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตสูง ซึ่งสอดคล้องกับแผนการลงทุนระยะยาวเช่นกัน สำหรับตัวอย่างกองทุนจาก SCB ที่น่าสนใจ ได้แก่ SCBFINTECH (SSF)

Photo : Shutterstock

หุ้นจีนกลุ่มTech และ A-Shares

แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจจีน ประเทศจีนถือเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าสนใจลงทุนมากที่สุดในโลก และยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี

แม้ในปีนี้ราคาหุ้นจีนปรับลดลงมามากเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นในประเทศอื่น เนื่องจากแรงกดดันจากการคุมเข้มด้านกฎระเบียบต่อบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ และการปฏิรูปเศรษฐกิจและธุรกิจตามแนวทางความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน (Common Prosperity)

ความกังวลด้านกฎระเบียบยังอาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นจีนในช่วงสั้น แต่จากแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวของจีนยังชี้ให้เห็นถึงโอกาสการเติบโตของธุรกิจจีนอีกมาก ปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่สามารถพลิกโฉมเศรษฐกิจและมีความเป็นเลิศในวิทยาการด้านต่างๆ ทั้งสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และมีเทคโนโลยีที่สามารถแข่งขันได้กับชาติมหาอำนาจตะวันตก และด้วยขนาดประชากรจีนที่มีมากราว 1.4 พันล้านคน ทำให้ยังมีกำลังซื้ออีกมหาศาลและเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ของโลก

SCB CIO เห็นโอกาสการลงทุนในหุ้นจีน A-Shares ที่ได้อานิสงส์จากการบริโภคภายในประเทศที่ยังสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของทางการจีนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ บริษัทเทคโนโลยีจีนที่ปีนี้ ราคาหุ้นปรับฐานลงมามากจากความกังวลและการคุมเข้มด้านกฎระเบียบ ทำให้ราคาหุ้นเริ่มถูกและมี valuation ที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนระยะยาว ตัวอย่างกองทุนจาก SCB ที่น่าสนใจ ได้แก่ SCBRMCHA (RMF) และ SCBCTECH-SSF

Photo : Shutterstock

ปรับการลงทุนให้เหมาะกับตัวเอง 

โดยสรุป 3 ธีมเมกะเทรนด์ :

จากการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมีสัดส่วนที่สูงต่อ GDP และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั่วโลก ด้าน Fintech จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงภาคบริการทางการเงินและอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นธุรกิจการเงินแห่งอนาคตที่มีตลาดขนาดใหญ่และมีศักยภาพในการเติบโตสูง 

ส่วนหุ้นจีนแม้ปีนี้ มีการปรับตัวลงมาค่อนข้างแรงเมื่อเทียบกับตลาดอื่นๆ จากความกังวลเรื่องกฎระเบียบต่างๆ จึงเป็นจังหวะการเข้าลงทุน เนื่องจากจีนมีโอกาสเติบโตทางธุรกิจอีกมาก โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีและเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ของโลก

SCB CIO มองว่า โอกาสการลงทุนในระยะยาว ทำให้ 3 ธีมเมกะเทรนด์ข้างต้นเป็นธีมการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับการคัดเลือกเพื่อเข้ามาจัดพอร์ตการลงทุนสำหรับการลงทุนในกองทุน RMF และ SSF ในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ เพื่อเป็นหนึ่งในตัวช่วยการลดหย่อนภาษีและการวางแผนการลงทุนในระยะยาว สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนและได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีไปพร้อมกัน

อย่างไรก็ตาม กองทุน RMF และ SSF มีเงื่อนไขการลงทุนที่แตกต่างกัน ผู้ลงทุนควรพิจารณาทางเลือกในการลงทุนให้เหมาะสมกับตนเอง โดยพิจารณาทั้งจากจุดประสงค์ในการลงทุน ระยะเวลาในการลงทุน ความเสี่ยงและนโยบายการลงทุนของกองทุนตามความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน การกระจายความเสี่ยงไปหลายกองทุน

“สัดส่วนการลงทุนในหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยง ควรจะต้องสอดคล้องกับอายุและความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของผู้ลงทุนด้วย หากอายุมากขึ้นก็ควรจะต้องทยอยลดน้ำหนักในกองทุนหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงให้น้อยลงไปด้วยเช่นกัน” 

 

]]>
1361364