ขสมก. – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 02 Dec 2021 04:43:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ครม.ไฟเขียวงบกว่า 5,500 ล้าน อุดขาดทุนบริการ PSO “รฟท.-ขสมก.” ปี 2565 https://positioningmag.com/1364963 Wed, 01 Dec 2021 14:11:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1364963 ครม.เห็นชอบอุดหนุนส่วนต่าง PSO ให้รฟท.-ขสมก.วงเงินรวมกว่า 5,550 ล้านบาท สำหรับบริการสาธารณะ ปี 2565 เสริมสภาพคล่องและไม่กระทบต่อการให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง สั่งรฟท.เร่งพัฒนาทรัพย์สิน สร้างรายได้เพิ่ม และเดินหน้าฟื้นฟู ขสมก. ช่วยลดงบอุดหนุนจากรัฐ

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 30 พ.ย. 2564 มีมติเห็นชอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ 2565 (วันที่ 1 ต.ค. 2564 – 30 ก.ย. 2565) รวมทั้งสิ้น 5,557 ล้านบาท

แบ่งเป็นขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จำนวน 2,279.781 ล้านบาท และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 3,278.866 ล้านบาท โดยในส่วนของ ขสมก. เป็นการอุดหนุนสำหรับการให้บริการรถโดยสารถธรรมดาในเขตกทม.และปริมณฑล จำนวน 1,460 คัน ซึ่งประเมินระยะทางวิ่งให้บริการเฉลี่ย 209 กม./คัน/เดือน ประมาณการผู้โดยสารจำนวน 354 คน/คัน/วัน

Bmta bus รถเมล์
Photo : Shutterstock

ทั้งนี้ ขสมก.ได้ประเมินโดยใช้สมมุติฐานรายได้ จากปี 2563 และสมมุติฐานค่าใช้จ่าย ได้แก่ ค่าซ่อมแซมรถ ค่าภาษีต่อทะเบียนรถโดยสาร ค่าประกันภัยรถโดยสาร ค่าเช่าสถานีที่ ค่าเช่าระบบ GPS ค่าเชื้อเพลิง เงินเดือนค่าจ้างและสวัสดิการ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เฉลี่ย 3 ปี โดยประเมินรายได้จากการให้บริการสาธารณะ 1,933.995 ล้านบาท ขณะที่ประมาณการต้นทุนอยู่ที่ 4,213.776 ล้านบาท ขาดทุนเพื่อขออุดหนุน PSO จำนวน 2,279.781 ล้านบาท

สำหรับ รฟท. เป็นการอุดหนุนบริการเชิงสังคมทั่วประเทศ จำนวน 152 ขบวน (รถชานเมือง 65 ขบวน รถท้องถิ่น 51 ขบวน รถธรรมดา 32 ขบวน และรถรวม 4 ขบวน) และมีประมาณการจำนวนผู้โดยสารเชิงสังคม จำนวน 24.22 ล้านคน โดยประมาณการรายได้จากบริการสาธารณะ ที่ 297.988 ล้านบาท ประมาณการต้นทุนที่ 3,576.854 ล้านบาท มีผลขาดทุนเพื่อขออุดหนุน PSO จำนวน 3,278.866 ล้านบาท

Photo : Shutterstock

ด้านนางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุม ครม. วันที่ 30 พ.ย.2564 ว่า ครม.เห็นชอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ 2565 รวมทั้งสิ้น 5,557 ล้านบาท แบ่งเป็น ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จำนวน 2,279 ล้านบาท และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 3,278 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยเป็นวงเงินอุดหนุนจ่ายชดเชยผลขาดทุนให้กับ ขสมก. และ รฟท. ในรูปของเงินงบประมาณตามจำนวนส่วนต่างของประมาณการรายได้และต้นทุนการให้บริการสาธารณะ

ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถทั้ง ขสมก.และ รฟท. จัดบริการสาธารณะที่มีคุณภาพกับประชาชนอย่างต่อเนื่องและลดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินในการดำเนินภารกิจ ซึ่งภาระงบประมาณที่รัฐต้องชดเชยดังกล่าว ยังคงไม่เกินร้อยละ 30 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนด

Photo : Shutterstock

นอกจากนี้ ครม.ยังให้ ขสมก. และ รฟท. พิจารณาหาวิธีการเพิ่มรายได้และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการให้บริการสาธารณะ เพื่อเป็นแนวทางในการลดกรอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะจากรัฐบาลด้วย โดยให้ ขสมก. เร่งดำเนินการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการที่สอดคล้องกับแผนปฏิรูประบบรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่องให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

ส่วน รฟท. นั้นให้เร่งดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ โดยเฉพาะการหารายได้เพิ่มจากทรัพย์สิน จากการถ่ายโอนทรัพย์สินภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทลูกของ รฟท. (บริษัท เอสอาร์ทีแอสเสท จำกัด) เพื่อให้มีเงินสดเพียงพอต่อการดำเนินกิจการได้อย่างยั่งยืน

Source

]]>
1364963
“ขสมก.” มียอดหนี้รวมทะลุ 1.22 แสนล้าน คาดปี 64 ขาดทุนอีกกว่า 3.3 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1292627 Fri, 14 Aug 2020 14:59:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1292627 ครม.อนุมัติให้ ขสมก.กู้เงิน 7,895 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่องในปี 64 ที่คาดว่าผลประกอบการจะขาดทุน 33,085 ล้านบาท ขณะที่ยอดหนี้สะสมล่าสุดพุ่งทะลุ 1.22 แสนล้าน โดย “คลัง-สำนักงบฯ” ให้เร่งแผนฟื้นฟู เดินหน้าแก้ไขอย่างจริงจังเพื่อลดภาระรัฐบาล

หนี้ค้างกว่า 1.22 แสนล้าน

ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า

“ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 13 ส.ค. ได้อนุมัติให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินประจำปีงบประมาณ 2564 จำนวน 7,895 ล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเพื่อใช้เป็นเงินสดหมุนเวียนในการดำเนินงาน และทำให้มีสภาพคล่องทางการเงินเพียงพอในการให้บริการขนส่งสาธารณะ แบ่งเป็นนำไปใช้ชำระค่าเชื้อเพลิง 3,219 ล้านบาท ชำระค่าเหมาซ่อม 1,642 ล้านบาท และเสริมสภาพคล่องทางการเงิน 3,033 ล้านบาท”

กระทรวงคมนาคมรายงานว่า ณ วันที่ 30 พ.ย. 2562 ขสมก.มีหนี้สินค้างชำระรวม 122,100 ล้านบาท โดยมีสาเหตุมาจากการเก็บค่าโดยสารต่ำกว่าต้นทุนจริง และไม่สามารถปรับอัตราค่าโดยสารเพิ่มขึ้นได้ สำหรับหนี้สินแบ่งเป็น

  • หนี้พันธบัตรเงินกู้พร้อมดอกเบี้ย 57,673 ล้านบาท
  • หนี้เงินกู้ระยะยาวพร้อมดอกเบี้ย 56,318 ล้านบาท
  • หนี้ค่าเชื้อเพลิง 113 ล้านบาท
  • หนี้ค่าเหมาซ่อม 252 ล้านบาท
  • หนี้ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน 1,560 ล้านบาท
  • หนี้กองทุนบำเหน็จพนักงาน 4,362 ล้านบาท
  • หนี้สินอื่นๆ 1,822 ล้านบาท
Photo : Shutterstock

ขณะที่ประมาณการเงินสดรายรับรายจ่ายของ ขสมก.ประจำปีงบประมาณ 2564 มีรายรับเงินสด 9,579 ล้านบาท รายจ่ายเงินสด 42,665 ล้านบาท ส่งผลให้ติดลบจำนวน 33,085 ล้านบาท ขสมก.จึงจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน เพื่อใช้เป็นเงินสดหมุนเวียนในการดำเนินงานและทำให้มีสภาพคล่องทางการเงินเพียงพอในการให้บริการขนส่งสาธารณะ

ด้านกระทรวงการคลังมีความเห็นว่า ขอให้กระทรวงคมนาคมและ ขสมก.เร่งจัดทำและดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการอย่างจริงจัง เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นรูปธรรมโดยเร็วและไม่เป็นภาระของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ส่วนสำนักงบประมาณเห็นว่าควรให้ ขสมก.เร่งรัดดำเนินการเสนอแผนฟื้นฟูกิจการที่ปรับปรุงใหม่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยเฉพาะแนวทางในการเพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย และการแก้ไขปัญหาหนี้สินอย่างยั่งยืนเพื่อลดภาระของรัฐบาล

ย้อนรอย 3 ปี กู้เงินกว่า 7 หมื่นล้าน

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ครม.เคยมีมติอนุมัติให้ ขสมก.กู้เงินรวม 70,502 ล้านบาท

  • วันที่ 8 ส.ค. 2560 ให้ ขสมก.กู้เงินนำไปชำระค่าเชื้อเพลิงและค่าเหมาซ่อมของรถปรับอากาศประจำปีงบประมาณ 2561 วงเงิน 2,833 ล้านบาท
  • วันที่ 19 ก.ย. 2560 ให้กู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้และดอกเบี้ยที่จะครบกำหนดในปีงบประมาณ 2561 วงเงิน 26,782 ล้านบาท
  • วันที่ 6 ก.พ. 2561 ให้กู้เงินเพื่อชำระหนี้เงินต้นที่จะครบกำหนดชำระในวันที่ 1 มี.ค. 2561 วงเงิน 2,962 ล้านบาท
  • อนุมัติให้กู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินปีงบประมาณ 2561 วงเงิน 2,013 ล้านบาท
  • วันที่ 7 ส.ค. 2561 ให้กู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้และดอกเบี้ยที่จะครบกำหนดในปีงบประมาณ 2562 วงเงิน 15,374 ล้านบาท
  • วันที่ 16 ต.ค. 2561 ให้กู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินปีงบประมาณ 2562 วงเงิน 9,217 ล้านบาท
  • วันที่ 4 มิ.ย. 2562 ให้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินประจำปีงบประมาณ 2563 วงเงิน 11,319 ล้านบาท

Source

]]>
1292627
เปิดแผนฟื้นฟู “ขสมก.” ล้างหนี้ 1.27 แสนล้าน ปรับค่าโดยสาร ดึงเอกชนเดินรถ ปี 72 เลิกขาดทุน! https://positioningmag.com/1282667 Sat, 13 Jun 2020 07:05:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282667 คนร. ไฟเขียวปรับปรุงแผนฟื้นฟู ขสมก.ใหม่ รัฐรับหนี้ 1.27 แสนล้าน หนุน PSO และเออร์รี่ 1.4 หมื่นล้าน เปลี่ยนจ้างเอกชนวิ่งตามระยะทาง 2,511 คัน ดึงรถร่วม 54 เส้นทางรับจ้างวิ่งด้วยอีก 1,500 คัน จ่าย 30 บาท/วัน ขึ้นได้ทุกสาย “ศักดิ์สยาม” ลั่น ปี 72 เลิกขาดทุน

ปรับค่าโดยสาร ให้เอกชนเดินรถ

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน วันที่ 8 มิ.ย. มีมติเห็นชอบหลักการการปรับปรุงแผนฟื้นฟูกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ซึ่งมีรายละเอียดเปลี่ยนแปลงจากแผนฟื้นฟูเดิมที่ ครม.เคยมีมติเห็นชอบไปเมื่อ 25 มิ.ย. 2562 เช่น

  • การจัดหารถโดยสารปรับอากาศ จำนวน 2,511 คัน จากการซื้อและเช่า เป็นการจ้างวิ่งตามระยะทาง
  • ปรับปรุงเส้นทางเดินรถ ไม่ให้ทับซ้อน
  • เปลี่ยนค่าโดยสาร จาก 15-20-25 บาทตามระยะทาง เป็น 30 บาท/วัน ไม่จำกัดเที่ยว เป็นต้น

โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาแผนฟื้นฟูฯ และการบริหารจัดการหนี้อย่างละเอียด เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใน มิ.ย.นี้ โดยจะเสนอใน 4 ประเด็นคือ

  • ทบทวนมติ ครม.เดิม เพื่อให้ ขสมก.เช่ารถโดยสารไฟฟ้า (EV) จำนวน 2,511 คัน
  • จ้างเอกชนเดินรถบริการ (NGV) จำนวน 1,500 คัน
  • ขอจัดสรรงบประมาณ ประจำปี 2565 สำหรับโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด จำนวน 5,301 คน วงเงิน 4,560 ล้านบาท
  • ขอให้รับภาระหนี้สิน 127,786.1 ล้านบาท และขอเงินอุดหนุนค่าบริการเชิงสังคม (PSO) จำนวน 7 ปี วงเงิน 9,674 ล้านบาท

ขาดทุนเดือนละ 360 ล้าน

เนื่องจากสภาพรถ ขสมก.เก่าและชำรุด ใช้งานมากว่า 20 ปี อีก 3 ปีอะไหล่จะเลิกผลิต มีปัญหาค่าเหมาซ่อมสูง ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร ทำให้มีผลประกอบการขาดทุนสะสมตั้งแต่ปี 2519 และถึงวันที่ 31 มี.ค. 2562 มีหนี้สินรวม 123,824.9 ล้านบาท หรือขาดทุนประมาณ 360 ล้านบาทต่อเดือน (ดอกเบี้ยจ่าย 233 ล้านบาท) โดยแบ่งเป็นหนี้จากการออกพันธบัตร จำนวน 64,339.1 ล้านบาท และหนี้เงินกู้ อีก 63,446.9 ล้านบาท ซึ่งจะมีกำหนดครบชำระทยอยแต่ละปีตามแผนฟื้นฟูนี้ ขสมก. เป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งกระทรวงการคลังจะเข้ามาดูแลรับภาระหนี้

รถเมล์ ขสมก

แผนฟื้นฟูใหม่ ขสมก. มีการปรับปรุงเส้นทางเดินรถจาก 269 เส้นทางเป็น 162 เส้นทาง (ขสมก.108 เส้นทาง รถร่วมเอกชน 54 เส้นทาง) เพื่อไม่ให้ทับซ้อน โดย ขสมก.จะจัดหารถ EV 2,511 คัน ในรูปแบบการจ้างวิ่งจ่ายค่าเช่าตามระยะทาง เอกชนต้องรับภาระค่าเชื้อเพลิง ค่าซ่อมบำรุงทั้งหมด โดยเลือกรายที่เสนอค่าจ้างวิ่งต่ำสุด ซึ่งจากการศึกษาของทีดีอาร์ไอ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจร.) การเดินรถเฉลี่ยจะอยู่ที่ 240 กม./คัน /วัน ดังนั้นต้นทุนหลังจากนี้จะอยู่ที่ราคาประมูลของเอกชนเท่าไร นำมาคูณกับจำนวนรถที่เช่า ซึ่งคาดว่าจะมีต้นทุนค่าจ้างวิ่งประมาณ 4,000 ล้านบาท/ปี ขณะที่ปัจจุบัน ขสมก.มีต้นทุนการบริการกว่า 50 บาท/กม. ดังนั้นเอกชนต้องเสนอราคาที่ต่ำกว่านี้แน่นอน

ปรับค่าโดยสาร 30 บาท/วัน

ส่วนรถร่วมเอกชนมี 54 เส้นทางนั้นจะเป็นรถ NGV จำนวน 1,500 คัน ซึ่ง ขสมก.จะจ้างให้เอกชนมาร่วมเดินรถโดยจ่ายค่าเช่าวิ่งตามกิโลเมตร เพื่อให้โครงสร้างค่าโดยสารเหมือน ขสมก. ที่ 30 บาท/วัน ไม่จำกัดเที่ยว หากไม่จ้างเอกชนวิ่ง ประชาชนจะต้องจ่ายค่าโดยสารเส้นทางของรถร่วมเอกชน ที่ 15-20-25 บาท

โดยหลัง ครม.อนุมัติ ขสมก.จะเร่งออก TOR เปิดประมูลรถ 2,511 คันในเดือน ก.ค. – ก.ย. 63 ลงนามสัญญา ปลาย ก.ย. 63 เริ่มรับมอบรถคันแรกใน มี.ค. 2564 ส่งมอบเดือนละ 400 คัน ครบใน 7 เดือน (ก.ย. 2564) กำหนดระยะเวลาสัญญาเช่าวิ่ง 7 ปี แบ่งออกเป็น 3 สัญญา จากก่อนหน้านี้จะให้เป็นสัญญาเดียวแต่เกรงว่าจะเกิดการผูกขาด ส่วนรถร่วมเอกชน ที่จะเข้ามารับจ้างวิ่ง 54 เส้นทาง จำนวน 1,500 คัน เริ่มส่งมอบเดือน พ.ค. 2564 เดือนละ 300 คันครบใน ก.ย. 2564

“ แผนฟื้นฟูใหม่ จะลดค่าครองชีพประชาชน จากแค่ 30 บาท/วัน นั่งไม่จำกัดเที่ยวและเส้นทาง ผู้สูงอายุจ่าย 15 บาท (ลด 50%) บัตรรายเที่ยว 15 บาท บัตรรายเดือน (นักเรียน นักศึกษา 630 บาท/เดือน 21 บาท/วัน) บุคคลทั่วไป 720 บาท/เดือน 24 บาท/วัน ซึ่งก่อนเกิดโควิด-19 มีผู้ใช้บริการรถเมล์ประมาณ 2 ล้านคน/วัน หากอนาคตมีปริมาณผู้โดยสารเพิ่ม จะเพิ่มจำนวนรถที่เช่าจ้างวิ่งรถได้ง่าย”

ปรับลดคน มีเกษียณก่อนกำหนด

เป้าหมายแผนฟื้นฟูจะทำให้ ขสมก.มีผลดำเนินงาน EBITDA เป็นบวก ในปี 2572 หรือไม่ขาดทุนอีกต่อไป โดยจะมีการปรับลดพนักงานต่อรถ 1 คน จาก 4.65 คน เหลือ 2.75 คน โดยจะมีการเกษียณอายุก่อนกำหนด จำนวน 5,301 คน ใช้เงิน 4,560 ล้านบาท โดยจะไม่มีการรับพนักงานเพิ่มแทนผู้เกษียณ ซึ่งพบว่าคนขับรถที่เป็นพนักงาน ขสมก. จะเกษียณหมดในปี 2603 หลังจากนั้น คนขับรถจะเป็นของเอกชนที่นำรถมารับจ้างวิ่งทั้งหมด

นอกจากนี้จะขอรับเงินสนับสนุน (PSO) เป็นเวลา 7 ปี (65-71) จำนวน 9,674 ล้านบาท โดย PSO ปีแรกประมาณ 2,000 กว่าล้านบาท และมีแผนหารายได้เพิ่มจากการพัฒนาพื้นที่เชิงธุรกิจ โดยให้เอกชนร่วมทุน ที่อู่บางเขน เนื้อที่ 11 ไร่เศษ อู่มีนบุรี กว่า 10 ไร่

Source

]]>
1282667
ขสมก. เอาบ้าง! จ่ายผ่านบัตรโดยสาร รับเครดิตเงินคืน 2 บาทต่อเที่ยว ใช้ได้กว่า 3,000 คัน https://positioningmag.com/1256126 Fri, 06 Dec 2019 11:12:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1256126 ขสมก. ร่วมกับธนาคารกรุงไทย ออกบัตรเติมเงินโดยสารรถประจำทาง พร้อมกับจัดโปรให้เครดิตเงินคืน 2 บาทต่อเที่ยว สูงสุด 15 เที่ยวต่อเดือน แก่ผู้โดยสารที่ชำระค่าโดยสารด้วยบัตร ใช้ได้กับรถโดยสารกว่า 3,000 คัน

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ร่วมกับธนาคารกรุงไทย ได้ออกบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ ขสมก.(บัตรเติมเงิน) มีจำหน่ายบนรถโดยสาร ขสมก.ในราคาใบละ 50 บาท สามารถเติมเงินผ่านธนาคารกรุงไทยทุกสาขา, แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT, ตู้เอทีเอ็ม และตู้บุญเติมที่ร่วมโครงการ

ได้จัดโปรโมชันแก่ผู้โดยสารที่ชำระค่าโดยสารด้วยบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ร่วม ขสมก.กว่า 3,000 คัน ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล รับเครดิตเงินคืน 2 บาทต่อเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2562 ถึง 31 ม.ค. 2563

ทั้งนี้ ผู้ถือบัตร 1 ใบจะได้รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 15 สิทธิ์ หรือ 30 บาทต่อบัตรต่อเดือน ซึ่งจะได้รับเครดิตเงินคืนไปยังบัตรที่คงสถานะปกติภายใน 15 วันทำการ นับจากสิ้นเดือน ธ.ค. 2562 และ ม.ค. 2563 โดยเครดิตเงินคืนมีทั้งหมด 975,000 สิทธิ์ ตลอดระยะเวลารายการส่งเสริมการขาย

Source

]]>
1256126