คนมั่งคั่ง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 25 Feb 2021 03:10:23 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดความเห็น ‘เศรษฐีเอเชีย’ มองเทค บริหารเงินกงสี ความยั่งยืน ปรับพอร์ตลงทุนในตลาดผันผวน https://positioningmag.com/1320828 Wed, 24 Feb 2021 17:23:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320828 เปิดความเห็นของเหล่า ‘เศรษฐี’ ในเอเชีย กับมุมมองด้านเทคโนโลยี การลงทุน การบริหารทรัพย์สินครอบครัว และความยั่งยืน ท่ามกลางตลาดที่ผันผวนในวิกฤต COVID-19 

Lombard Odier (ลอมบาร์ด โอเดียร์) ร่วมกับ KBank Private Banking สำรวจมุมมองและข้อกังวลของผู้มีความมั่งคั่งสูง (UHNWIs) ในประเด็นสานสัมพันธ์ เปลี่ยนผ่าน และพลิกโฉม : การเข้าถึงผู้มีความมั่งคั่งสูงในภูมิภาคเอเชีย ในยุค New Normal’ 

โดยรวบรวมความคิดเห็นของศรษฐี 150 ราย ใน 7 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และไต้หวัน 

วินเซนต์ มาเนียนาต์ Limited Partner and Chief Executive Officer, Asia, Lombard Odier กล่าวว่า ผลกระทบจากโรคระบาดครั้งใหญ่ในศตวรรษ ทำให้เหล่านักธุรกิจชั้นนำเปลี่ยนมุมมองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว รวมไปถึงหันมาเน้นลงทุนไม่หวือหวา แต่ถือได้ยาวนานขึ้น

ผู้มีความมั่งคั่งสูงหลายราย ต้องการพึ่งพาที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในประเทศนั้นๆ เพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้ ในช่วงที่การเดินทางยังลำบาก เราจึงได้เห็นสถาบันการเงินระดับโลกหลายแห่งเริ่มมาเปิดธุรกิจบริหารความมั่งคั่งร่วมกับสถาบันการเงิน ‘ท้องถิ่น’ มากขึ้น

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย (ซ้าย) วินเซนต์ มาเนียนาต์ Limited Partner and Chief Executive Officer, Asia, Lombard Odier (ขวา)

เเม้เศรษฐกิจโลกจะตกต่ำ เเต่ธุรกิจ Private Banking ที่ดูเเลลูกค้ามั่งคั่ง กลับมีผลประกอบการดีที่สุดในรอบหลายปี เพราะพิษเศรษฐกิจสะเทือน ‘รากหญ้า’ มากกว่า ‘คนรวย’

Lombard Odier เเละ KBank Private Banking คาดว่า แนวโน้มการเติบโตของบุคคลผู้มีสินทรัพย์สูง หรือ Ultra High Net Worth Individuals : UHNWIs ในเอเชียจะยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ราว 10-15% ภายหลังวิกฤตโรคระบาด เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว เเละสงครามการค้าคลี่คลายลง

“จำนวนของเศรษฐีใหม่ในเอเชียจะมีเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตามเทรนด์การลงทุนในธุรกิจดิจิทัลใหม่ๆ ที่เเจ้งเกิดเเละเติบโตในช่วง COVID-19”

สำหรับในประเทศไทย มองว่า ธุรกิจที่จะสามารถ ‘ฟื้นตัวได้เร็ว’ จากวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น ธุรกิจด้านพลังงาน ,  ธุรกิจด้านวัสดุหรือวัตถุดิบ (Material) และธนาคาร

เทคโนโลยี : more digital…เเต่ยังชอบ ‘พบปะพูดคุย’ 

ผลสำรวจนี้ ชี้ให้เห็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนของบุคคลผู้มีความมั่งคั่งสูงในการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัล

กว่า 81% ของคนรวยในเอเชีย เห็นว่าการติดต่อผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น และลดการพบปะกันลง more digital, less physical จะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่

โดยผู้มีความมั่งคั่งสูงในไทยที่คิดเห็นเช่นนี้ มีจำนวนมากเป็นลำดับที่ 3 ในเอเชีย

อย่างไรก็ตาม พวกเขามองว่าไม่ใช่ทุกอย่างที่สามารถขับเคลื่อนบนโลกดิจิทัลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการติดต่อสื่อสาร และการสร้างความไว้วางใจระหว่างลูกค้าและ Private Bank

เพราะการลงทุนครั้งละกว่าร้อยล้านพันล้าน การได้พูดคุยกันต่อหน้ายังมีความจำเป็น

โดย 59% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียและในประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังคงต้องการพบปะพูดคุยที่ธนาคารหรือสถานที่อื่นๆ มากกว่าการติดต่อผ่านทางอีเมล จดหมาย วิดีโอคอล หรือโทรศัพท์

เมื่อสถานการณ์ COVID-19 จบลง ผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทยจำนวนหนึ่งกล่าวว่า การพบปะกันยังคงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับการดำเนินธุรกิจ และไม่คิดว่ากิจกรรมเหล่านี้จะสามารถทดแทนได้ผ่านการติดต่อสื่อสารแบบออนไลน์

การลงทุน : ‘ดอกเบี้ยต่ำ’ จะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวิถีใหม่

ผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชีย เห็นความผันผวนของตลาดมากขึ้น เเต่กลุ่มนักลงทุนที่เคยผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมากเเล้ว ‘ไม่ได้ตื่นตระหนกต่อวิกฤตครั้งนี้มากนัก”

ผลสำรวจ ระบุว่า70% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย เเละ 81% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียไม่ได้ปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุน โดยเฉพาะระยะเวลาของการลงทุน

สำหรับด้านการบริหารสินทรัพย์ แม้ว่าจะมีผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียบางส่วน เลือกที่จะบริหารจัดการแบบที่ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ (Conservative) โดยเลือกลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ เงินฟรังก์สวิส เงินเยน และพันธบัตรรัฐบาล

“แต่ก็ยังมีผู้มีความมั่งคั่งสูงอีกจำนวนหนึ่งที่มองเห็นโอกาสในช่วงเวลานี้ โดยให้ความสนใจกับหุ้น และตราสารหนี้ภาคเอกชน เนื่องจากเล็งเห็นแนวโน้มว่าภาวะดอกเบี้ยต่ำจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวิถีใหม่” 

โดย 78% มองว่าภาวะดอกเบี้ยตํ่าจะเป็นส่วนหนึ่งของโลกยุคหลัง COVID-19 และอาจดําเนินต่อเนื่องไปอีกทศวรรษ

ผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทยกว่า 87% กล่าวว่า การมีบริการพิเศษที่นอกเหนือบริการด้านลงทุนจะส่งผลอย่างมากต่อการตัดสินใจในการเลือกธนาคาร โดยบริการ 3 อันดับแรกที่มีความสำคัญสูงสุด ได้เเก่ 

  • บริการด้านสินเชื่อ
  • ความสามารถในการเข้าถึงเครือข่ายผู้ประกอบการ
  • ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการเงิน
  • การเข้าถึงโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์จริง เช่น อสังหาริมทรัพย์

บริหารทรัพย์สินครอบครัว : สนใจ ‘ธรรมาภิบาล’ มากขึ้น 

ความผันผวนของตลาด ทำให้ผู้มั่งคั่งในเอเชีย เริ่มกลับมา ‘ทบทวน’ ธรรมาภิบาลในการจัดการทรัพย์สินครอบครัวและการดําเนินธุรกิจในระยะยาว และทําให้เรื่องนี้เร่งด่วนขึ้น

สำหรับประเทศไทย 35% ของครอบครัวผู้มีความมั่งคั่งสูงได้มีการจัดทำธรรมาภิบาลของครอบครัวแล้ว และวิกฤตในครั้งนี้ก็ได้ส่งผลให้อีก 45% ของครอบครัวที่ยังไม่ได้จัดทำธรรมาภิบาลของครอบครัวสนใจที่จะเริ่มวางแผนในอนาคต

นอกจากนี้ บริการที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Advisory Service) ได้กลายเป็นอีกหนึ่งบริการที่เติบโตสูงที่สุด และเข้ามาตอบโจทย์การบริหารจัดการที่ดินของครอบครัวผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย

สำหรับในปี 2020 ที่ผ่านมา KBank Private Banking ได้ทำการศึกษาและดูแลพอร์ตการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ให้แก่กลุ่มลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งสูงจำนวน 121 ราย โดยครอบคลุมที่ดินทั้งหมด 940 แปลง

เศรษฐีรุ่นใหม่มองความ ‘ความยั่งยืน’ คืออนาคต 

เหล่ามหาเศรษฐี เริ่มตระหนักถึงสิ่งที่มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตหลังวิกฤต COVID-19 ซึ่งเทรนด์ ‘ความยั่งยืน’ เป็นที่สำคัญที่สุดสำหรับการตัดสินใจเลือก Private Bank

69% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย ได้จัดอันดับให้เทรนด์ด้านความยั่งยืนเป็น 1 ใน 3 ประเด็นที่สำคัญที่สุด โดยไทยคือประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากเป็นที่สอง รองจากญี่ปุ่น

แม้ว่า 89% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียกล่าวว่า เทรนด์ความยั่งยืนจะยังคงมีบทบาทสำคัญในระยะยาว แต่กลับมีเพียง 61% ที่วางแผนการลงทุนโดยคำนึงถึงมิติด้าน ESG และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผู้มีความมั่งคั่งสูงบางส่วน ยังไม่เชื่อมั่นว่าการลงทุนด้านความยั่งยืนจะสร้างผลตอบแทนท่ีดีได้ โดย 1 ใน 3 ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชีย (ส่วนใหญ่จาก ฮ่องกง ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์) ไม่มีแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนที่คํานึงถึงมิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของไพรเวทแบงก์ในการให้คำแนะนำ เพื่อแสดงให้กลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูงเห็นถึงศักยภาพและแนวทางการสร้างผลกำไรของการลงทุนอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

“กลุ่มเศรษฐีรุ่นใหม่ ให้ความสําคัญกับความยั่งยืนเป็นลําดับต้นๆ และต้องการใช้บริการของธนาคารที่มีการลงมือด้านนี้อย่างจริงจัง” 

4 เรื่องที่ Private Bank ต้องพัฒนา 

KBank Private Banking ให้บริการการบริหารความมั่งคั่งแก่ลูกค้าธนาคารกสิกรไทย ที่มีเงินฝากและเงินลงทุนกับธนาคาร ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป ส่วน Lombard Odier เป็นบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์และความมั่งคั่งที่มีประสบการณ์กว่า 220 ปี ดูแลสินทรัพย์รวมของลูกค้าทั่วโลกกว่า 290 พันล้านฟรังก์สวิส (ข้อมูล วันที่ 30 มิถุนายน 2563)

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ระบุว่า ผลสำรวจนี้สะท้อนให้เห็นความต้องการของกลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูงที่เพิ่มขึ้นและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

KBank Private Banking เเละพันธมิตรทางธุรกิจอย่าง Lombard Odier มองว่ามี 4 เรื่องที่ผู้ให้บริการต้องทำเพื่อช่วยสร้างความมั่งคั่งที่ยั่งยืนให้แก่ลูกค้า ได้แก่

  1. เร่งพัฒนาคุณภาพของบริการดิจิทัล ทั้งในด้านการสื่อสาร การส่งมอบบริการ การรายงานข้อมูลทางการเงิน และการทำธุรกรรม ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการให้บริการของไพรเวทแบงเกอร์
  2. สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนที่มีกลไกควบคุมความเสี่ยง ติดตั้งเครื่องมือที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้สะดวกขึ้นในทุกๆ ผลิตภัณฑ์
  3. เสริมความแข็งแกร่งของบริการที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการลงทุนในตลาดทุน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนนอกตลาดและลงทุนโดยตรงในบริษัท หรือบริการให้คำแนะนำด้านอสังหาริมทรัพย์และการวางแผนความมั่งคั่ง
  4. เป็นสื่อกลางในการพิสูจน์ให้เห็นถึงผลตอบแทนในระยะกลางและระยะยาวของการลงทุนอย่างยั่งยืน และนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

 

อ่านรายงานฉบับเต็ม (ที่นี่)

 

]]>
1320828
ตามติด “วิถีคนรวย” เอเชียแปซิฟิก ซื้อของหรู ช้อปจิวเวลรี ติดโซเชียล จ่ายเพื่อรักษ์โลก https://positioningmag.com/1258870 Sun, 29 Dec 2019 18:00:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1258870 จากสถิติในเอเชียแปซิฟิกมีจำนวนคนมั่งคั่งสูงถึง 18% ของประชากรทั้งหมด นับเป็น 20.64 ล้านคน หรือมีรายได้เฉลี่ยร่วม 20 ล้านล้านบาทต่อเดือน สำหรับคนเอเชีย และ 1 แสนล้านบาทสำหรับคนไทย  

Ipsos Thailand เปิดเผยผลสำรวจ “วิถีชีวิตกลุ่มคนมั่งคั่งในเอเชีย” โดยคนรวยชาวไทยกว่า 62% เต็มใจที่จะจ่ายแพงกว่าสำหรับสินค้าที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และ 53% ยินดีที่จะอุดหนุนสินค้าของไทย นับเป็นอัตราที่สูงกว่าคนมั่งคั่งชาวเอเชีย โดยผลวิจัยจากชุดนี้นับเป็นการศึกษากลุ่มคนมั่งคั่งขนาดใหญ่และทำต่อเนื่องมาร่วม 2 ทศวรรษ

สำหรับข้อมูลวิจัย “วิถีชีวิตกลุ่มคนมั่งคั่งในเอเชีย” เป็นการศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มคนมีฐานะ หรือบุคคลที่มีความร่ำรวยในหลากหลายมุม เช่น การใช้สื่อ การใช้จ่าย การท่องเที่ยว รวมถึงความสนใจต่อสินค้าประเภทฟุ่มเฟือย ตลอดจนทัศนคติ และความสนใจส่วนตัวของพวกเขา

โดยรายงานชุดนี้ได้มีการริเริ่ม และเปิดเผยต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกในปี 2540 เบื้องต้นทำการศึกษาเพียง 7 ประเทศในภูมิภาคเอเชียเท่านั้น ปัจจุบันการศึกษานี้ได้มีการขยายขอบเขตการสำรวจครอบคลุมถึง 11 ประเทศทั่วเอเชีย รวมถึงประเทศไทยด้วย 

วิถีชีวิตที่หรูหราแบบใหม่

ผลการศึกษาชุดนี้นับเป็นข้อมูลชุดสำคัญที่สามารถช่วยให้บริษัทที่เกี่ยวข้องเข้าใจ ปรับตัว และสามารถก้าวขึ้นมาเป็น Game Changers ให้ทันยุคที่แนวโน้มของความหรูหราได้กลายเป็น Truly Luxury หรือความหรูหราที่แท้จริง ไม่ใช่เพียงแค่สิ่งของภายนอก แต่เป็นความหรูหราที่สะท้อนมาจากความคิดและคุณค่าที่มีอยู่ของแต่ละบุคคล เรียกได้ว่าเป็น “วิถีชีวิตที่หรูหราแบบใหม่” 

ลักษณะของกลุ่มคนมั่งคั่งนี้เป็นกลุ่มคนที่มักจะคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด รักในการท่องเที่ยว และเต็มใจที่จะจ่ายแพงกว่าสำหรับสินค้าที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ โดยคนรวยชาวไทยกว่า 62% เต็มใจที่จะจ่ายแพงกว่าสำหรับสินค้าที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และ 53% ยินดีที่จะอุดหนุนสินค้าของไทย นับเป็นอัตราที่สูงกว่าคนมั่งคั่งชาวเอเชีย

อ่านเพิ่มเติม : The 1 Insight 2020 : เจาะลึกการใช้จ่ายของ “คนรวยยุคใหม่” ไลฟ์สไตล์ต้องมาก่อน

คนมั่งคั่งในไทยมีรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชีย

จากสถิติพบว่าในเอเชียแปซิฟิกมีจำนวนคนมั่งคั่งสูงถึง 18% ของประชากรทั้งหมด นับเป็น 20.64 ล้านคน โดยมีสัดส่วนระหว่างชายกับหญิงในจำนวนเท่าๆ กัน และหากพิจารณาถึงระดับรายได้ต่อครัวเรือนของคนกลุ่มนี้พบว่าโดยเฉลี่ยชาวเอเชียมีรายได้ครัวเรือนต่อเดือนอยู่ที่ 5,477 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.6 แสนบาท

อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนมั่งคั่งที่ไทยมีรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชีย โดยคนไทยมีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่เพียง 4,826 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.4 แสนบาทเท่านั้น ทั้งนี้ กว่า 87% ของกลุ่มดังกล่าวนี้จะมีการศึกษาอย่างต่ำในระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่า

ที่มา : mgronline

ช้อปปิ้งของหรู จ่ายหนักจิวเวลรี นาฬิกาเเละไวน์ 

กลุ่มคนร่ำรวยในเอเชียแปซิฟิกนิยมซื้อของดี ชอบจิวเวลรี นาฬิกาหรู เครื่องแต่งกายที่ออกแบบโดยดีไซเนอร์ชื่อดัง รองเท้า และเครื่องประดับต่างๆ ในแง่ของพฤติกรรมการช้อปปิ้งของกลุ่มคนที่มีรายได้สูง พวกเขามักจะเลือกคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดที่สามารถตอบสนองความต้องการและรูปแบบไลฟ์สไตล์ของตนเอง 

จากสถิติพบว่าภายใน 12 เดือนที่ผ่านมากลุ่มคนมั่งคั่งทั้งในเอเชียและประเทศไทยมีการใช้จ่ายกับ

  • จิวเวลรี มีมูลค่าถึง 9,999 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3 แสนบาท 
  • นาฬิกาหรู มีราคาถึง 1,999 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 6 หมื่นบาท 
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ มีมูลค่าสูงถึง 4,999 ดอลลาร์สหรัฐ ราว 1.5 แสนบาท

โดยเเบ่งเป็น 

สินค้าจิวเวลรี – คนรวยในเอเชีย 55% คนรวยไทย 47%
นาฬิกาหรู – คนรวยในเอเชีย 35% คนรวยไทย 46%
ไวน์ – คนรวยในเอเชีย 53% คนรวยไทย 44%
เครื่องดื่มเเอลกอฮอล์ – คนรวยในเอเชีย 47% คนรวยไทย 46% 

จากการศึกษาที่พิจารณาถึงเปอร์เซ็นต์ของการครอบครองสินค้าที่มีมูลค่ามากกว่า 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราวๆ 3 หมื่นบาท ในกลุ่มของคนมีฐานะทั้งในเอเชียแปซิฟิก และประเทศไทยจะพบว่า กลุ่มคนมั่งคั่งในไทยมีเปอร์เซ็นต์การเป็นเจ้าของเสื้อผ้าหรือเครื่องหนังที่มีดีไซน์เฉพาะ ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยในแถบเอเชียแปซิฟิก แต่สำหรับสินค้าประเภทเครื่องประดับและรองเท้านั้นจะมีสัดส่วนในอัตราที่ใกล้เคียงกัน

เที่ยวต่างประเทศอย่างน้อย 4 ทริปต่อปี ญี่ปุ่นฮิตสุด 

ญี่ปุ่นถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวเป้าหมายอันดับหนึ่งของกลุ่มคนรวยในทวีปเอเชีย ตามด้วยฮ่องกง และเดินทางปีละอย่างต่ำ 4 ทริป

การท่องเที่ยวถือเป็นหนึ่งในไลฟ์สไตล์ที่กลุ่มคนมีฐานะชาวเอเชียชื่นชอบมากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความจำเป็นในการเดินทางเพื่อธุรกิจ และผู้ที่ชอบเดินทางเพื่อการพักผ่อน 

จากสถิติพบว่าคนเหล่านี้จะมีการเดินทางไปต่างประเทศอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี โดยกว่า 33% ของกลุ่มคนรวยในไทย และ 22% ของคนในเอเชียแปซิฟิกเลือกที่จะไปประเทศญี่ปุ่น ตามด้วยฮ่องกงในอัตรา 19% และ 14% ตามลำดับ 

โดยรูปแบบการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูงมากในกลุ่มคนมั่งคั่งในประเทศไทยคือ การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ หรือเพื่อสุขภาพ ตามด้วยการท่องเที่ยวภายในประเทศ ที่มีค่าชี้วัดมากกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเกิน 1 เท่าตัว และ 50% ตามลำดับ

คนรวยในเอเชียเสพสื่อทุกแพลตฟอร์ม  

“คนมั่งคั่งในเอเชียเสพสื่อทุกแพลตฟอร์ม รวมถึงทีวี และแมกกาซีนต่างประเทศ และยึดสื่อโซเชียล เป็นเหมือนส่วนหนึ่งของชีวิตเลยทีเดียว” 

สำหรับรูปแบบสื่อที่กลุ่มเป้าหมายที่มั่งคั่งในเอเชียชื่นชอบนั้นเรียกได้ว่าครอบคลุมแทบทุกแพลตฟอร์ม แต่มีการใช้เวลากับเว็บไซต์ และแอปต่างๆ สูงสุด ตามมาด้วย ทีวี หนังสือพิมพ์ และแมกกาซีน สำหรับกลุ่มคนมีรายได้สูงชาวไทยจะใช้เวลากับแอปและเว็บไซต์มากกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชีย โดยชอบทั้ง 2 แพลตฟอร์มทั้งสื่อรูปแบบดั้งเดิม และสื่อใหม่ดิจิทัล

คนมั่งคั่งในเอเชียแปซิฟิก และคนมีรายได้สูงชาวไทยต่างมีความนิยมในการเสพสื่อทีวี และนิตยสารต่างประเทศเหมือนๆ กัน เพียงแต่มีสัดส่วนที่แตกต่างกัน โดย 44% เป็นอัตราสำหรับคนมีรายได้สูงในเอเชียแปซิฟิก และ 50% ของคนมีรายได้สูงชาวไทย

ส่วนสื่อโซเชียล นับได้ว่าเป็นสื่อที่แทบจะถือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของกลุ่มคนมั่งคั่งทั้งหลาย สำหรับกลุ่มคนมั่งคั่งชาวเอเชียแปซิฟิกนั้นมีความนิยมใช้ช่องทางต่างๆ ดังนี้

  • Facebook  69% 
  • YouTube 63% 
  • Instagram 42% 
  • LinkedIn 21% 

คนรวยไทยใช้โซเชียลนานสุด 

ด้านคนรวยชาวไทยนิยมใช้ช่องทาง 

  • Facebook 94%
  • YouTube 90% 
  • Instagram 61% 
  • LinkedIn 18%

จากการศึกษาพบว่า กลุ่มคนมีฐานะในประเทศไทยใช้เวลากับโซเชียลมีเดียต่างๆ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มคนมั่งคั่งในเอเชีย คนไทยใช้เวลากับแพลตฟอร์มเหล่านี้มากกว่า 500 นาทีภายในระยะเวลา 7 วันที่ผ่านมา หรือราวๆ 8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งค่าเฉลี่ยของเอเชียแปซิฟิกอยู่ที่เพียง 6 ชั่วโมงเท่านั้น

ยอมจ่ายเพื่อรักษ์โลก

มากกว่า 1 ใน 3 ของกลุ่มคนมีฐานะในภูมิภาคเอเชียให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมของโลกมากกว่าการใช้จ่ายเพื่อเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ และยินดีที่จะสนับสนุนสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ

โดย 53% ของกลุ่มคนมั่งคั่งชาวเอเชียในยุคปัจจุบันเปิดเผยว่า พวกเขาพร้อมและยินดีที่จะจ่ายมากกว่าสำหรับสินค้าหรือบริการที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม และอีก 47% ยังยินดีที่จะซื้อหรืออุดหนุนสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ 

เป็นที่น่าสนใจว่ากลุ่มคนมีฐานะในประเทศไทยถึง 63% ยินดีที่จะจ่ายมากกว่าสำหรับสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 53% ระบุว่ามีความยินดีที่จะอุดหนุนสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่ากลุ่มคนมั่งคั่งชาวเอเชียอย่างมีนัยสำคัญ

 

Source

]]>
1258870