ค่าครองชีพสูง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 08 Jun 2023 03:21:42 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘นิวยอร์ก’ แซง ‘ฮ่องกง’ ขึ้นแท่นเมืองที่ค่าครองชีพแพงสุดในโลกสำหรับชาวต่างชาติ https://positioningmag.com/1433498 Thu, 08 Jun 2023 03:21:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1433498 หลังจากที่ขึ้นแท่นเป็นเมืองที่ค่าครองชีพสูงสุดในโลกสำหรับชาวต่างชาติ 4 ปีซ้อน ในที่สุด ฮ่องกง ก็เสียตำแหน่งให้กับ นิวยอร์ก จากการสำรวจเรื่อง ค่าครองชีพ ครั้งล่าสุดของ ECA International ที่จัดอันดับเมืองทั้งหมด 207 แห่ง โดยพิจารณาจากจำนวนสินค้าและบริการที่ใช้จ่ายแต่ละครั้ง เช่น ค่าอาหาร สาธารณูปโภค การขนส่งสาธารณะ และความต้องการขั้นพื้นฐาน

สำหรับ 10 เมืองที่มีค่าครองชีพสูงสุดในโลกสำหรับชาวต่างชาติ ได้แก่

  • นิวยอร์ก
  • ฮ่องกง
  • เจนีวา
  • ลอนดอน
  • สิงคโปร์
  • ซูริค
  • ซานฟรานซิสโก
  • เทลอาวีฟ
  • โซล
  • โตเกียว

โดย นิวยอร์ก กลายมาเป็น เมืองที่ค่าครองชีพสูงสุดในโลกสำหรับชาวต่างชาติ เนื่องจาก เงินดอลลาร์แข็งค่า และ ค่าเช่าที่ที่สูงขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ นิวยอร์กยังครองแชมป์ เมืองที่เศรษฐีเลือกอาศัยมากที่สุดในโลก อีกด้วย และนอกจากนิวยอร์กก็มี ซานฟรานซิสโก ที่ขยับขึ้นจากอันดับที่ 11 มาอยู่ที่อันดับ 7

NEW YORK CITY

แม้จะเสียแชมป์ แต่ ฮ่องกง ยังคงเป็นเมืองที่ค่าครองชีพสูงสุดในโลกสำหรับชาวต่างชาติในเอเชีย โดย Lee Quane ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียของ ECA อธิบายว่า สาเหตุที่ฮ่องกงเสียแชมป์ทั้งที่ราคาสินค้าและบริการในฮ่องกงจะเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบหลายปีเนื่องจากเงินเฟ้อก็ตาม แต่มีสิ่งเดียวที่ลดลงคือ ราคาที่พักในเมืองที่ร่วงลง โดยราคาบ้าน ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี

อีกประเทศประเทศในเอเชียที่อันดับขยับขึ้นก็คือ สิงคโปร์ โดยติด อันดับ 5 ของโลก และ อันดับ 2 ของเอเชีย โดยขยับขึ้นจากอันดับ 8 ในปีที่แล้ว และนับเป็นครั้งแรกที่สิงคโปร์ติดอันดับท็อป 5 โดยการขึ้นอันดับอย่างก้าวกระโดดนี้มีสาเหตุหลักมาจาก ค่าที่พักที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันเฉลี่ยที่ 2,600 ดอลลาร์/เดือน (ราว 91,000 บาท)

สำหรับ เมืองที่ที่แพงที่สุดสำหรับชาวต่างชาติในเอเชีย ได้แก่

  • ฮ่องกง
  • สิงคโปร์
  • โซล
  • โตเกียว
  • เซี่ยงไฮ้
  • กว่างโจว
  • เซินเจิ้น
  • ปักกิ่ง
  • ไทเป
  • โยโกฮาม่า
]]>
1433498
‘เจ้าสัวสหพัฒน์’ มองปัญหาต้นทุนหนักกว่า ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ แนะรัฐคุมนานสินค้าอาจ ‘ขาดแคลน’ https://positioningmag.com/1388352 Thu, 09 Jun 2022 12:34:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388352 หากพูดถึงเครือ ‘สหพัฒน์’ เชื่อว่านี่คือชื่อที่อยู่คู่สินค้าอุปโภคบริโภคของคนไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะ ‘มาม่า’ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เปรียบเสมือนเพื่อนยามยากเวลาหิว โดยภายในงานแถลงข่าว งานสหกรุ๊ปแฟร์ ครั้งที่ 26 เจ้าสัวบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ได้ออกมาเปิดใจถึงวิกฤตต้นทุนสินค้า ที่ส่งผลกระทบต่อสินค้าอุปโภคบริโภคในไทยว่า ครั้งนี้หนักกว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อ 26 ปีที่แล้วเสียอีก

ปัญหาต้นทุนหนักกว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง

บุณยสิทธิ์ ยอมรับว่า ปัญหาเรื่องต้นทุนวัตถุดิบในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา หรือนับตั้งแต่เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบต่อราคาวัตถุดิบมากกว่าช่วง 2 ปีที่เกิดวิกฤตโควิด และส่งผลกระทบรุนแรงกว่าช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 หรือ 26 ปีที่แล้ว ซึ่งช่วงนั้นเงินบาทอ่อนตัวส่งผลให้สินค้าขึ้นราคา แต่เมื่อก่อนเป็นการ ค่อย ๆ ปรับขึ้น แต่ครั้งนี้ ขึ้นพรวดเดียว

“เราจัดงานสหกรุ๊ปแฟร์ครั้งแรกเมื่อช่วงที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง และเวลานี้เหตุการณ์เหมือนกับ 26 ปีที่แล้ว โดยมีสงครามเป็นตัวทำให้ของขึ้นราคาและไม่รู้ว่าจะไปจบตรงไหน ซึ่งตอนนี้ สินค้าที่กระทบสุดมากที่สุด คือ ข้าวสาลี น้ำมันปาล์ม และนำมัน เลยทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกระทบก่อน”

บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)

ด้วยปัญหาต้นทุน ทำให้สินค้าในเครือต้องมีการปรับราคาไม่เช่นนั้นบริษัทก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน โดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผงซักฟอก โดยตอนนี้กำลังรอเจรจากับกระทรวงพาณิชย์เพื่ออนุมัติเรื่องการปรับราคาเนื่องจากปัญหาต้นทุน เพราะถ้ายิ่งควบคุมนาน มีโอกาสที่สินค้าจะขาดตลาด เพราะวัตถุดิบในการผลิตไม่เพียงพอ เหมือนกรณีของ วัคซีน อย่างไรก็ตาม จะขึ้นราคามากน้อยแค่ไหนต้องรอพิจารณาจากต้นทุนวัตถุดิบอีกที

“ตอนนี้ทุกประเทศขึ้นราคาหมด เราเองตอนนี้ก็แบกต้นทุนอยู่ ดังนั้น ยังไงก็ต้องขึ้น แต่การขึ้นราคา ต้องค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ผู้บริโภคยอมรับได้”

แนะดันส่งออกบรรเทาวิกฤตต้นทุน

สถานการณ์จะดีขึ้นเมื่อไหร่นั้นขึ้นอยู่กับสงคราม จากตอนแรกคาดว่าจะจบภายในไม่ถึงเดือน แต่ปัจจุบันลากยาวมากว่า 3 เดือน ดังนั้น ต้องเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด เครือสหพัฒน์เองก็ไม่ได้วางแผนไว้ตายตัว เพราะต้องรอดูสถานการณ์สงครามวันต่อวัน

อย่างไรก็ตาม มองว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะดีกว่า 2 ปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่สามารถกลับไปสู่ช่วงก่อนเกิดโควิด เพราะแม้มีวิกฤตเงินเฟ้อแต่ไม่ต้องล็อกดาวน์เหมือนที่ผ่านมา อีกทั้งประเทศไทยยังเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหาร ดังนั้น มองว่าการส่งออกเป็นอีกแนวทางบรรเทาปัญหาต้นทุน

“เชื่อว่าประเทศไทยฟื้นตัวเร็วกว่าประเทศอื่นในฝั่งเอเชียด้วยกัน เพราะเราเป็นประเทศส่งออกอาหาร แม้ไทยจะเจอผลกระทบก็จริง แต่คนไทยก็ปรับตัวได้เร็ว”

จะอยู่รอดต้องเปิดทางคนรุ่นใหม่

บุณยสิทธิ์ คาดว่า เครือสหพัฒน์ต้องใช้เวลาอีก 1-2 ปี รายได้ถึงจะกลับไปเท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด โดยจากนี้ก็จะเน้นสินค้าในกลุ่ม เฮลท์แคร์ และเวลเนส เนื่องจากคนหันมาดูแลสุขภาพตั้งแต่ช่วงโควิดที่ผ่านมา และมองว่า ธุรกิจจากนี้จะอยู่รอดได้ต้องปรับตัวและต้องเปลี่ยนมือให้ คนรุ่นใหม่ มารับช่วงต่อ

แต่ละช่วงไม่เหมือนกัน เราต้องทำใจให้เปลี่ยนทันเหตุการณ์ ตอนนี้สหกรุ๊ปแฟร์เปลี่ยนให้คนใหม่มารับต่อ ไม่ได้เอาคนเก่ามาดู เพราะเราต้องยอมรับว่ารุ่นใหม่เขามีความสามารถแบบหนึ่ง คนเก่าก็มีความสามารถอีกแบบ คนรุ่นเก่าอาจเก่าเรื่องระวังตัว คนรุ่นใหม่เก่าเทคโนโลยี เราพยายามทำให้การเปลี่ยนเเปลง ทำให้เกิดผลบวก”

สินค้าแฟชั่นปีนี้โตเพราะไม่มี Work From Home

ธรรมรัตน์ โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ในเครือสหพัฒน์ กล่าวเสริมว่า ในส่วนต้นทุนผ้าของบริษัทก็พุ่งขึ้นตั้งแต่ 50-100% ตั้งแต่เกิดสงครามเป็นต้นมา เนื่องจากน้ำมันขึ้นราคา ดังนั้น ไอ.ซี.ซี ก็เพิ่มไลน์สินค้าใหม่ แม้มีราคาสูงแต่ผู้บริโภคบางคนยังยอมจ่าย เพราะอั้นมาจาก 2 ปีก่อนเนื่องจากตลาดปิด

นอกจากนี้ สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผ้าอย่าง เอสเซ้นซ์ ก็ต้องขึ้นราคาไม่ช้าก็เร็ว เพราะวัตถุดิบหลักได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันเช่นกัน แต่สินค้ากลุ่มดังกล่าวยังมีกลไกตลาดควบคุมอยู่ ดังนั้น อาจจะยังต้องทนแบกต้นทุนอยู่ดี

“จริง ๆ ราคามันควรจะขึ้นตอนนี้แล้วเพราะโรงงานก็ไม่ไหวแล้ว แต่ที่ราคายังไม่ขึ้นเพราะสินค้าในตลาดตอนนี้ยังเป็นล็อตเก่าอยู่ ซึ่งเราคงจะขึ้นราคาสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าควบคุม แต่คงขึ้นไม่เกินเพดานที่ตั้งไว้ เพราะราคาปัจจุบันยังมีช่องให้ขึ้นได้อยู่”

สำหรับผลประกอบการ ไอ.ซี.ซี ปีนี้คาดว่าจะเติบโตได้ประมาณ 20% เป็นอย่างน้อย จากปีที่ผ่านมาติดลบเกือบ -50% อย่างไรก็ตาม ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ไอ.ซี.ซี.ได้ปรับวิธีการทำงาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายได้พอสมควร ทำให้บริษัทมีกำไรเพิ่มมากขึ้น แม้ยอดขายในปัจจุบันจะไม่เท่ากับช่วงก่อนโควิดก็ตาม

“แม้จะมีปัญหาเงินเฟ้อ แต่เชื่อว่าธุรกิจแฟชั่นและ FMCG ยังไงก็โตเพราะมีปัจจัยบวกจากการเลิก Work From Home คนเลยแต่งตัวออกจากบ้านมากขึ้น เราก็มีสินค้าใหม่ที่ยังเพิ่ม Need ลูกค้าได้อยู่”

]]>
1388352
นักเศรษฐศาสตร์มองปี 65 ปัญหา ‘เงินเฟ้อ’ ยิ่งรุนแรงเนื่องจากไม่มีมาตรการช่วยเหลือจากรัฐ https://positioningmag.com/1369196 Thu, 30 Dec 2021 03:59:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369196 การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ได้นำไปสู่ยุคใหม่ของความไม่เท่าเทียมด้วยปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยนักเศรษฐศาสตร์เตือนว่าประชากรที่ยากจนต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนต่าง ๆ ที่เพิ่มสูงขึ้น และในปีหน้าปัญหายิ่งรุนแรง เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ของภาครัฐอาจหายไปเนื่องจากการระบาดที่ลดลง

การวิเคราะห์ล่าสุดโดย Penn Wharton พบว่า ในปี 2021 ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและปานกลางในสหรัฐฯ จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประมาณ 7% หากซื้อสินค้าแบบเดียวกันกับที่พวกเขาซื้อในปี 2020 หรือในปี 2019 ซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 3,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อครัวเรือน

โดยค่าอาหารเพิ่มขึ้น 6.4% ในปีที่ผ่านมา ขณะที่น้ำมันเบนซินพุ่งขึ้น 58% และตอนนี้หลายคนกำลังเผชิญกับราคาที่สูงขึ้นเนื่องจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลกลางค่อย ๆ หายไป แต่ในทางตรงกันข้าม การใช้จ่ายของครัวเรือนที่ร่ำรวยเพิ่มขึ้นเพียง 6%

ประเมินราคาน้ำมันในไทยพุ่ง 25% กระทบธุรกิจ ครัวเรือนเเบกค่าครองชีพเพิ่ม 340 บาท/เดือน

Kent Smetters กล่าวว่า ความไม่เท่าเทียมกันนี้เป็นเรื่องปกติในช่วงที่เงินเฟ้อ ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายที่ราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ครัวเรือนที่มีรายได้สูงได้เปลี่ยนการใช้จ่ายจากสินค้าและไปสู่การบริการมากขึ้น ในขณะเดียวกัน การหยุดชะงักของการผลิตที่เกิดจากการระบาดได้ทำให้ต้นทุนของสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้น

“สิ่งที่พวกเขากำลังซื้อได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตอุปทาน” Smetters กล่าว

ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลบัตรเครดิตและบัตรเดบิตโดย Alberto Cavallo นักเศรษฐศาสตร์จาก Harvard Business School โดยในช่วงเริ่มต้นของการระบาดใหญ่แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยประสบปัญหาการขึ้นราคาซึ่งหนักกว่าเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับผู้บริโภคที่ร่ำรวย

ในปี 2019 เอกสารร่วมจากนักวิจัยที่ Columbia และ London School of Economics คาดการณ์ว่า จะมีผู้คนอีกประมาณ 3 ล้านคน ที่ต้องดำรงชีวิตอยู่ในความยากจน หากรายได้ของพวกเขาถูกปรับตามอัตราเงินเฟ้อที่พวกเขาประสบ

‘เทลอาวีฟ-อิสราเอล’ ครองแชมป์เมือง ‘ค่าครองชีพสูงสุดในโลก’ แซง ‘ปารีส’ แชมป์เก่า

]]>
1369196
“ดร.ยุ้ย” คำนวณ “BTS ยกเลิกตั๋วเดือน” ทำค่าเดินทางแพงขึ้นสูงสุด 130% https://positioningmag.com/1356928 Sat, 16 Oct 2021 09:47:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356928 ดร.ยุ้ย-เกษรา แห่งเสนาฯ คำนวณค่าเดินทางคนกรุงหลัง “BTS ยกเลิกตั๋วเดือน” บางคนต้องจ่ายแพงขึ้นสูงสุด 130% ระยะยาวส่งผลกับการตัดสินใจเลือกทำเลอยู่อาศัย กลับมาเลือกคอนโดฯ เล็กใกล้กลางเมือง

“ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงปัจจัยหนึ่งที่จะมีผลกับตลาดคอนโดมิเนียมในอนาคตคือการ “ยกเลิกโปรโมชัน 30 วัน” หรือ “ตั๋วเดือน” ของ รถไฟฟ้าบีทีเอส ที่ประกาศเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2564 จะทำให้คนบ้านไกลมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

โดยดร.เกษรารวบรวมข้อมูลว่า รอบปีงบประมาณ 2563-64 บีทีเอสมีผู้โดยสารที่ใช้บัตรรายเดือนและจะได้รับผลกระทบจากการยกเลิกนี้ 40.6 ล้านเที่ยวคน (คิดเป็นสัดส่วน 32.5% ของเที่ยวเดินทางทั้งหมด) แบ่งเป็นบัตรบุคคลทั่วไป 36.2 ล้านเที่ยวคน และนักเรียน 4.37 ล้านเที่ยวคน

ตารางคำนวณภาระค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้นเมื่อ BTS ยกเลิกตั๋วเดือน

ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ เมื่อยกเลิกโปรโมชันไปแล้ว จะทำให้เงินในมูลค่าเดียวกันที่เคยจ่ายให้กับตั๋วเดือนสามารถเดินทางได้ระยะสั้นลง สำหรับตั๋วเดือนของบุคคลทั่วไปจะทำให้เดินทางได้เพียง 2 ใน 3 ของที่เดินทางได้เดิม เท่ากับค่าใช้จ่ายแพงขึ้น 40-70% หากจะเดินทางในระยะเดิม และถ้าเป็นตั๋วนักเรียนนักศึกษา ค่าใช้จ่ายจะแพงขึ้นถึง 80-130%

ปัจจัยนี้จะเข้ามาเปลี่ยนมุมมองใหม่อีกครั้ง จากก่อนหน้านี้หลังเผชิญสถานการณ์ COVID-19 วงการดีเวลอปเปอร์เคยมีการอภิปรายกันว่า สภาวะการ Work From Home ไม่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน จะทำให้ตลาดคอนโดฯ เปลี่ยนหรือไม่ โดยมองกันว่าผู้ซื้ออาจยอมย้ายไปอยู่คอนโดฯ ที่ไกลขึ้น เพื่อให้ได้ห้องที่ใหญ่ขึ้น เป็นการพลิกโฉมตลาดคอนโดฯ จากที่เคยหดไซซ์เล็กลงมาตลอด

ค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทางเข้าส่วนต่อขยายในปัจจุบัน

“แต่เมื่อระยะทางไกลสัมพันธ์กับค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่สูงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อ BTS ยกเลิกตั๋วเดือนไปแล้ว คนที่บ้านไกลจะยิ่งได้รับผลกระทบสูง ยิ่งอยู่ในโซนส่วนต่อขยายยิ่งต้องจ่ายเพิ่ม ต่อไปอาจจะไม่ใช่คิดว่าอยู่สถานีไหนก็ได้เพราะมีบีทีเอสแล้วเดินทางไปได้หมด แต่คนต้องกลับมาคิดเหมือนเก่าว่า การมีบ้านใกล้งานคือวิธีที่ประหยัดที่สุด” ดร.เกษรากล่าว

กลับกลายเป็นว่า สำหรับการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอส ขอบเขตที่ยังอยู่ในระยะที่ประหยัดค่าใช้จ่ายได้คืออยู่ในโซนที่ยังไม่ถูกเก็บค่าแรกเข้าโซนส่วนต่อขยายเพิ่ม ได้แก่ไม่เกินสถานีหมอชิต วงเวียนใหญ่ และอ่อนนุช แต่นั่นต้องแลกมาด้วยการอยู่ในห้องชุดขนาดเล็กเพื่อให้ราคาต่อยูนิตต่ำลงเช่นที่เคยเป็นมา

อ่านข่าวเพิ่มเติม

]]>
1356928
นโยบาย ‘ลูก 3 คน’ ของจีนอาจไม่ได้ผล เหตุคนไม่อยากมีลูกเยอะเพราะปัญหา ‘ค่าครองชีพ’ https://positioningmag.com/1334998 Wed, 02 Jun 2021 07:12:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1334998 ในปัจจุบันจะเริ่มมีการพูดถึง ‘สังคมผู้สูงวัย’ ในหลายประเทศ เนื่องจากอัตราการเกิดที่ต่ำจนอนาคตอาจนำไปสู่ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ซึ่ง ‘จีน’ ก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยในปี 2020 จีนมีประชากรทั้งหมด 1,412 ล้านคน แต่ประชากรที่เพิ่มขึ้นในปี 2020 มีเพียง 12 ล้านคน ต่ำที่สุดที่เคยเกิดขึ้นนับตั้งแต่ปี 1961 ซึ่งทำให้รัฐบาลได้เปลี่ยนกฎอนุญาตมีลูกได้ 3 คน แต่ดูเหมือนมันจะไม่ง่ายขนาดนั้น

พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้บังคับใช้กฎการมีบุตรมาตั้งแต่ปี 1980 เพื่อควบคุมการเพิ่มทางประชากรของประเทศ โดยสามารถมีลูกได้เพียงคนเดียว ต่อมาในปี 2015 ก็ได้อนุญาตให้คู่สมรสสามารถมีบุตรได้ 2 คน แต่ทว่าตัวเลขอัตราการเกิดยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง

จนในปี 2020 ประเทศจีนมีอัตราการเกิดเพียง 12 ล้านคน ลดลงจากปี 2019 ถึง 20% ในขณะที่จำนวนผู้ที่มีอายุระหว่าง 15 – 59 ปีลดลงต่ำกว่า 900 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 63% ของประชากร จัดตัวเลขดังกล่าวทำให้รัฐบาลตัดจีนตัดสินใจอนุญาตให้ผู้คนมีลูกมากขึ้นเป็น 3 คน เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ

ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า กำลังแรงงานของจีนจะถึงจุดสูงสุดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ก่อนที่จะหดตัวลงประมาณ 5% ในทศวรรษหน้า และนั่นอาจเป็นปัญหาสำหรับนโยบายเศรษฐกิจที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้ตั้งเป้าให้ GDP ของจีนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในปี 2035

“ประชากรที่เคยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมากำลังจะสลายไปอย่างรวดเร็ว” เยว่ ซู นักเศรษฐศาสตร์จากหน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์ในลอนดอนกล่าว

ในขณะที่นักวิเคราะห์บางคนคาดว่า จีนจะสามารถแซงหน้าสหรัฐอเมริกาในฐานะเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลกได้ภายในสิ้นทศวรรษนี้ แต่ก็มีช่องว่างที่ใหญ่กว่ามากในแง่ของ GDP ต่อหัว โดยของจีนอยู่ที่ 17,000 ดอลลาร์ ขณะที่สหรัฐฯ มีมากกว่า 63,000 ดอลลาร์ ตามข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

จีนเริ่มใช้นโยบายลูกคนเดียวเมื่อกว่า 40 ปีที่แล้วเพื่อแก้ไขปัญหาประชากรที่มากเกินไป รวมถึงบรรเทาความยากจน แม้ขณะนี้รัฐบาลกำลังผ่อนคลายมากขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีลูกมากขึ้น แต่นั่นอาจไม่เพียงพอที่จะจัดการกับวิกฤตประชากรที่ลดลง เนื่องจากประชากรหลายคนระบุว่า ค่าครองชีพที่สูงขึ้นเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการมีครอบครัวที่ใหญ่ขึ้น

ภาพจาก shutterstock

สื่อสังคมออนไลน์ของจีนขาดความกระตือรือร้นอย่างเห็นได้ชัดหลังจากการประกาศให้สามารถมีลูกได้ครอบครัวละ 3 คน ขณะที่การพูดถึง เหตุผลที่ไม่ต้องการมีลูกคนที่ 3 หรือไม่มีลูกเลย กลับเป็นหัวข้อที่ได้รับความนิยมสูงสุดใน Weibo ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียคล้าย Twitter ในประเทศจีน

“ฉันจะมีลูกได้อย่างไรในเมื่อความกดดันในชีวิตสูงขนาดนี้” ผู้ใช้ Weibo คนหนึ่งเขียน

Xinhua ถามผู้ใช้ Weibo ว่าพวกเขาพร้อมสำหรับลูกคนที่สามหรือไม่ แบบสำรวจออนไลน์ดึงดูดคำตอบมากกว่า 30,000 ครั้งภายในครึ่งชั่วโมงซึ่งมากกว่า 90% โหวตว่า “ไม่มีอย่างแน่นอน” อย่างไรก็ตาม การสำรวจถูกลบออกไปอย่างเงียบ ๆ

ทั้งนี้ มีอาจารย์มหาวิทยาลัยชาวจีนคนหนึ่งเสนอแนวคิดให้รัฐบาลจ่ายเงินอุดหนุนแก่ครอบครัวที่มีบุตรเกิดใหม่คนละ 1 ล้านหยวน (ราว 4.85 ล้านบาท) เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนมีลูกมากขึ้น ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาอัตราการเกิดในจีนที่ลดต่ำลงเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม ทางรัฐบาลยังไม่มีนโยบายสนับสนุนใด ๆ ออกมา

Source

]]>
1334998