ค้าส่ง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 04 Dec 2021 08:56:09 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดเเผน “แม็คโคร x โลตัส” เเท็กทีมเจาะตลาดอาเซียน ลุยค้าปลีก-ค้าส่ง ควบโมเดล O2O https://positioningmag.com/1365379 Fri, 03 Dec 2021 15:19:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365379 หลังจาก ‘กลุ่มซีพี’ ประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง ด้วยการโยกกิจการกลุ่มโลตัส (Lotus’s)
ในไทยและมาเลเซีย มูลค่ารวม 217,949 ล้านบาท ไปอยู่ภายใต้กลุ่มแม็คโคร (Makro) ผนึกกำลังขยายธุรกิจไปในระดับภูมิภาค

ล่าสุดทาง บมจ.สยามแม็คโคร เสนอขายหุ้นสามัญของบริษัทให้แก่ประชาชนทั่วไป (Public Offering หรือ PO)
ที่ 43.50 บาทต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่าเสนอขายรวมไม่เกิน 62,205 ล้านบาท (รวมมูลค่าของหุ้นส่วนเกิน) โดยทั้งห้ผู้ถือหุ้นเดิมของ MAKRO CPALL และ CPF ที่ได้รับสิทธิ และนักลงทุนรายย่อยสามารถจองซื้อระหว่างวันที่ 4 – 9 ธันวาคมนี้ (อ่านรายละเอียดการจอง ที่นี่)

วันนี้ ทางทีมผู้บริหารทั้งฝั่งแม็คโครเเละโลตัส เเถลงถึง กลยุทธ์หลังระดมทุนครั้งใหญ่ เพื่อปรับโครงสร้างทางการเงิน ชำระเงินกู้จากสถาบันการเงินบางส่วน และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ พร้อมเผยทิศทางธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีกที่จะขยายไปในอาเซียน เเละการพัฒนาเทคโนโลยี เเพลตฟอร์ม O2O รองรับผู้บริโภคยุคใหม่ ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนยอดขายออนไลน์เป็น 15-20% ภายใน 3 ปี

ปักธงอาเซียน ผสมโมเดล O2O

สุชาดา อิทธิจารุกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร MAKRO กล่าวว่า ตอนนี้แม็คโครและกลุ่มโลตัส มีฐานลูกค้าร่วมกันขนาดใหญ่ สเต็ปต่อไปจะเป็นการร่วมมือกันวางยุทธศาสตร์ที่มุ่งสร้างการเติบโตไปสู่ ‘ระดับภูมิภาค’ ขยายไปในทุกช่องทางทั้งการค้าส่งแบบ B2B (Business to Business) และค้าปลีกแบบ B2C (Business to Consumer)
โดยต่อยอดศักยภาพจากฐานธุรกิจในประเทศไทย ไปยังภูมิภาคเอเชียใต้และภูมิภาคอาเซียน

สำหรับรูปแบบธุรกิจจะเน้นไปที่ 3 กลุ่มธุรกิจใหญ่ๆ คือ Wholesale ธุรกิจเเบบค้าส่ง นำโดยกลุ่มเเม็คโครในประเทศไทย ที่ดำเนินธุรกิจมานาน กว่า 32 ปี กลุ่มที่สองคือ Retail ธุรกิจค้าปลีกในไทยเเละมาเลเซีย เน้นอาหารเเละสินค้าอุปโภคบริโภค นำโดยกลุ่มโลตัส ไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ตเเละมินิซูเปอร์มาเก็ต เเละกลุ่มที่สาม คือ Malls ธุรกิจบริหารพื้นที่เช่าในศูนย์การค้าในไทยเเละมาเลเซีย โดยเมื่อรวมกันเเล้วสามารถทำยอดขายในปีที่ผ่านมาได้ถึง 4.3 เเสนล้านบาท

ทิศทางต่อไป จะขยายสาขาไปในหลายรูปแบบ เเละนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ พัฒนาระบบนิเวศออนไลน์ของการค้าปลีกรูปแบบใหม่ “ก้าวสำคัญคือเราจะสร้างแพลตฟอร์มแห่งโอกาส ทั้งฝั่งลูกค้า คู่ค้า ผู้ประกอบการ SMEs ผู้ผลิตสินค้ารายย่อยของไทยโดยจะพัฒนาแพลตฟอร์ม O2O ผสมระหว่างช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ (offline and online หรือ O2O) เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคในยุคดิจิทัล”

ทั้งนี้ ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 กลุ่มเเม็คโคร มีศูนย์จำหน่ายสินค้ารวม 145 สาขา ประกอบด้วย สาขาในไทย 138 สาขา และต่างประเทศ 7 สาขา ได้แก่ กัมพูชา อินเดีย (ภายใต้แบรนด์ “LOTS Wholesale Solutions”) จีน และเมียนมา มีการจำหน่ายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ได้แก่ เว็บไซต์ Makroclick , Makro Application และ Makro Line Official Account

ส่วนกลุ่มโลตัส ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 มีร้านค้ารวม 2,164 แห่งทั่วประเทศไทย ประกอบด้วย ร้านไฮเปอร์มาร์เก็ต 222 แห่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต 192 แห่ง และมินิซูเปอร์มาร์เก็ต 1,750 แห่ง ธุรกิจบริหารพื้นที่เช่าภายในศูนย์การค้า 199 แห่ง มีพื้นที่รวมประมาณ 720,000 ตารางเมตร (ไม่รวมศูนย์การค้าที่ลงทุนโดยกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าโลตัสส์ รีเทล โกรท (LPF) รวม 23 แห่ง)

“แผนการขยายสาขาของแม็คโคร จะเดินหน้าขยายเฉลี่ยปีละ 5 สาขา หลังสถานการณ์โรคระบาดคลี่คลายจะเริ่มขยายสาขาในต่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยปีละ 4-6 สาขา โดยจะโฟกัสการทำตลาดในภูมิภาคอาเซียนเป็นหลัก”

โดยหลังได้รับเงินทุนจากการระดมทุนครั้งนี้ สัดส่วนการนำไปใช้จะเเบ่งเป็นครึ่งหนึ่งจะนำไปขยายธุรกิจเเละใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนเเละอีกครึ่งหนึ่งจะนำไปชำระเงินกู้

ที่มา : Facebook แม็คโคร คู่คิดธุรกิจคุณ

โลตัสยุคใหม่ คีพสไตล์ SMART

ด้านแบรนด์ Lotus’s กำลังอยู่ในช่วงที่มีการ ‘ปรับภาพลักษณ์ใหม่’ รีเเบรนด์ให้ทันสมัยเเละถูกใจลูกค้ามากขึ้น
ด้วยการวางโพสิชันนิ่งเป็น “SMART Retailer” สมาร์ทในการช้อปปิ้งเเละการจับจ่ายใช้สอย

สมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย เล่าว่า โลตัสมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้เพื่อสร้างประสบการณ์ช้อปปิ้งผ่านช่องทางที่หลากหลาย หรือ Omni-channel ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเเบบเฉพาะบุคคล รองรับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้ประกอบการจะใช้เป็นช่องทางเติบโตไปด้วยกัน

การเปิดสาขา ‘Lotus’s Go Fresh’ ซึ่งเป็นมินิซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อที่มีสินค้าหลากหลาย
ทั้งอาหารสด อาหารแห้ง ของใช้ในบ้าน เครื่องดื่มเเละสินค้าต่างๆ ก็เป็นเเนวทางหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา

ขณะเดียวกันจะมีการพัฒนาร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ไปพร้อมๆ ด้วยศูนย์การค้าของบริษัท ทั้งในไทยเเละมาเลเซีย
ให้เป็น Smart Community Hubs มีพื้นที่ให้เช่าเพื่อทำธุรกิจมากกว่า 1 ล้านตรม. (เเบ่งเป็นในประเทศไทยราว 7 เเสนตรม.) โดยมีการปรับให้ร้านเข้าใกล้ชุมชนมากขึ้น อย่างโซนบางใหญ่จะเป็น Family Mall โซนลาดกระบังจะเป็นเเนว Service Mall เป็นต้น

ผู้บริหารโลตัส มองว่า ภาพรวมเศรษฐกิจจะค่อยๆ ทยอยฟื้นตัว หลังจากเปิดประเทศและผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ซึ่งจะส่งผลต่อการบริโภค เเละการเติบโตของกลุ่มโลตัส ซึ่งอัตราการเช่าพื้นที่ภายในศูนย์การค้าก็ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ คาดว่าจะกลับมาเต็มในระดับที่เคยได้ก่อนโควิดตั้งเเต่ช่วงกลางปีหน้าเป็นต้นไป

ทั้งนี้ โลตัสมีเเผนจะเดินหน้าเปิดสาขาในมาเลเซียเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปีหน้ามีแผนขยายสาขาเฉลี่ย 10 สาขาต่อปี จากปัจจุบันที่มีสาขาอยู่ทั้งสิ้น 60 สาขา ส่วนประเทศอื่นๆ ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา ซึ่งจะเน้นการลงทุนทั้งออฟไลน์บวกออนไลน์ไปด้วยกัน

Photo : Shutterstock

ตั้งเป้ายอดขายออนไลน์ 20% ใน 3 ปี

ด้าน ธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โลตัสส์ เอเชีย-แปซิฟิก (ยกเว้นประเทศจีน) ให้ข้อมูลว่า ธุรกิจออนไลน์ของเเม็คโครเเละโสตัสกำลังจะพัฒนานั้น ล้วนมาจากความเเข็งเเกร่งของฐาน ‘ออฟไลน์’ ที่มีอยู่เดิม คือใช้กำลังสาขาเเละซัพพลายเชน ผสานธุรกิจทางด้าน B2B และ B2C เข้าด้วยกัน จุดเเข็งคือตอนนี้กว่า 100 สาขาของเเม็คโครกลายเป็นจุดที่ส่งสินค้าออนไลน์ให้ลูกค้า ซึ่งจะได้รับของในเวลาอันสั้นตามเวลาที่จองไว้

โดยธุรกิจออนไลน์ของบริษัทในช่วง 9 เดือนเเรกของปีมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัด เพิ่มขึ้นถึง 60% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่เเล้ว โดยในส่วนของเเม็คโครมียอดขายออนไลน์ขยับจาก 1.22 หมื่นล้านบาท มาเป็น 1.83 หมื่นล้านบาท ขณะที่โลตัสทำยอดขายออนไลน์ได้ถึง 3.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่เเล้วที่ 1.5 พันล้านบาท

“จะมีการเปิดปรับปรุงแอปพลิเคชันและเพิ่มบริการใหม่เข้ามาตั้งเเต่ช่วงไตรมาส 1/65 เป็นต้นไป เริ่มจากแอปพลิเคชันของ MAKRO ก่อน และตามมาด้วยการปรับปรุงแอปพลิเคชันโลตัส ‘รูปแบบใหม่’ ซึ่งจะมีทั้ง การขายของออนไลน์ เป็นดิจิทัลทัชพอยต์ของฐานลูกค้าทั้งหมดมาไว้ในที่เดียว เเละใช้สาขาของโลตัสที่มีอยู่ถึง 2 พันสาขา มาส่งสินค้าให้ลูกค้าได้ภายใน 1 ชั่วโมง นอกจากนี้จะนำผู้ประกอบการ คู่ค้า ขึ้นมาขายบนเเพลตฟอร์มด้วยกัน ตามรูปแบบ B2B2C ecosystem ซึ่งจะได้เห็นในช่วงไตรมาส 2/65”

จากการส่งเสริมช่องทางการขายผ่านออนไลน์อย่างเต็มที่ครั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าจะเพิ่มสัดส่วนยอดขายจากช่องทางออนไลน์ของทั้งเเม็คโครและโลตัสเป็น 15-20% ให้ได้ภายใน 3 ปีนี้ จากปัจจุบันของเเม็คโครที่อยู่ระดับ 11-12%

 

]]>
1365379
ซีพีเตรียมเร่งขยายต่างประเทศ ปรับโครงสร้างธุรกิจกลุ่มค้าปลีก ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนร้านทั่วภูมิภาค ต่อยอดออนไลน์ออฟไลน์ https://positioningmag.com/1349545 Wed, 01 Sep 2021 03:30:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1349545 “ธุรกิจค้าปลีกเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยบนเวทีโลก

และเป็นธุรกิจที่ประเทศไทยสามารถประสบความสำเร็จบนเวทีโลกได้”

ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ประธานกรรมการ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)

 

“เราต้องการให้ธุรกิจค้าปลีกของเราทั่วโลกทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มให้กับเกษตรกร ผู้ผลิตและ SME ไทย ให้สามารถนำผลผลิตและสินค้าไปขายในต่างประเทศได้”

ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ประธานกรรมการ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)

 

เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) โดยนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานกรรมการ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ประกาศว่าเครือซีพีตั้งเป้าขยายร้านค้าปลีกและร้านค้าส่งของเครือให้ได้อย่างรวดเร็ว ทั่วภูมิภาค ซึ่งรวมถึงสาขาของสยามแม็คโคร และศูนย์ค้าปลีกค้าส่งรูปแบบอื่นๆ ในเครือซีพี

ปัจจุบัน เครือซีพีมีธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจค้าส่งอยู่ในประเทศจีน มาเลเซีย อินเดีย กัมพูชา เมียนมา ภายใต้แบรนด์และรูปแบบร้านค้าที่หลากหลาย รวมจำนวนประมาณ 337 ร้านค้า

นายศุภชัย กล่าวว่า “ธุรกิจค้าปลีกเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยบนเวทีระดับโลก และเป็นธุรกิจที่ประเทศไทยสามารถประสบความสำเร็จบนเวทีโลกได้ นี่คือวิสัยทัศน์ร่วมกันของธุรกิจในกลุ่มค้าปลีกและค้าส่งในเครือซีพี”


เพิ่มความคล่องตัวและเพิ่มประสิทธิภาพ

“เพื่อที่จะประสบความสำเร็จบนเวทีโลกที่ซับซ้อน เราต้องตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว เพื่อนำบริษัทในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกของเครือซีพีขยายธุรกิจและแข่งขันกับผู้ประกอบธุรกิจในเวทีระดับโลก หากเมื่อมีการปรับโครงสร้างธุรกิจต่างๆ หลังได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นแล้ว จะทำให้สยามแม็คโคร กลายเป็นบริษัทแม่ของ บริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด”

“การปรับเปลี่ยนครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความคล่องตัวในการตัดสินใจต่างๆ และยังมีประโยชน์อื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นด้วย ก็คือ จะช่วยทำให้แม็คโคร และโลตัสส์ มีความคล่องแคล่ว รวดเร็ว (Agility) ในการเดินหน้าสู่ความสำเร็จบนเวทีระดับนานาชาติ” นายศุภชัย กล่าว


เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนทั่วไป

ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 31 สิงหาคม คณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบที่จะนำเสนอต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ที่จะจัดขึ้นในช่วงกลางเดือนตุลาคม เพื่อให้อนุมัติเพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) จากปัจจุบัน 2,400 ล้านบาท เป็น 5,586 ล้านบาท โดยการเปิดขายหุ้นใหม่ จำนวน 6,372,323,500 หุ้น ที่ราคาพาร์ หุ้นละ 0.5 บาท ซึ่งในจำนวนนั้น จะเป็นการเปิดขายให้กับประชาชนทั่วไป จำนวน 1,362,000,000 หุ้น ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะเดินหน้าตามแผนการขยายธุรกิจในต่างประเทศ และแผนธุรกิจอื่นๆ

นางสุชาดา อิทธิจารุกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจสยามแม็คโคร กล่าวว่า “เราต้องการเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปได้เข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจที่มีอนาคตการเติบโตที่น่าตื่นเต้นบนเวทีระดับนานาชาติ ด้วยการเพิ่มสัดส่วนที่มากขึ้นให้ประชาชนทั่วไปได้เข้ามาร่วมเป็นเจ้าของแม็คโคร โดยบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนการเป็นเจ้าของบริษัทฯ ให้กับประชาชนทั่วไป ถึง 2 เท่า จากเดิมสัดส่วนที่ประชาชนทั่วไปร่วมเป็นเจ้าของ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) อยู่ที่ 7% จะเพิ่มเป็นมากกว่า 15% ในขณะที่ จำนวนการถือหุ้นของเครือซีพี ในบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) จะลดลงจาก 93% เหลือประมาณ 85%”

การปรับโครงสร้างธุรกิจของบริษัทต่างๆ ครั้งนี้ จะไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินการของ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) และบริษัทอื่นๆ ที่ดำเนินการอยู่

“พนักงานทั้งหมด ผู้บริหาร การจัดการและงานประจำวัน ฟอร์แมตธุรกิจ การวางตำแหน่งทางธุรกิจ ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และซัพพลายเออร์ จะยังคงอยู่และดำเนินการเช่นเดิม โดยการปรับโครงการธุรกิจครั้งนี้จะไม่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องบุคลากร และจะไม่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ ทั้งนี้การดำเนินการขั้นตอนต่างๆ ตามแนวทางการปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งนี้ ยังคงต้องผ่านการเห็นชอบจากผู้ถือหุ้น รวมถึงการอนุมัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป” นายศุภชัยกล่าว


‘แพลตฟอร์มแห่งโอกาส’

นายศุภชัยกล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดโครงสร้างใหม่ของธุรกิจค้าปลีกเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเครือซีพีบนเวทีนานาชาติครั้งนี้ จะช่วยสนับสนุนกลยุทธ์ ‘แพลตฟอร์มแห่งโอกาส’ ที่เครือซีพีเพิ่งประกาศไปก่อนหน้านี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ในระบบเศรษฐกิจโลกยุคหลังวิกฤตโควิดด้วย “การสร้างแพลตฟอร์มให้กับบริษัทอื่นๆ จากประเทศไทย และผลิตภัณฑ์ของคนไทย เพิ่มศักยภาพการทำธุรกิจของพวกเขาให้ได้มากที่สุด”

“เราต้องการให้ธุรกิจค้าปลีกของเราทั่วโลกทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มให้กับเกษตรกร ผู้ผลิต และ SME ไทยนับหมื่นๆ ราย ให้สามารถนำผลผลิตและสินค้าไปขายในต่างประเทศ”

“การขยายช่องทางค้าปลีกในตลาดโลกให้มากขึ้นสำหรับสินค้าไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลผลิตทางการเกษตร และอาหารสด คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยสานฝันของประเทศไทยในการเป็น ‘ครัวของโลก (Kitchen of the World)’ โดยร้านค้าของเครือซีพีจะทำหน้าที่เสมือนท่อธุรกิจที่ลำเลียงนำธุรกิจขนาดเล็กๆ จากประเทศไทย ให้เข้าสู่ตลาดใหม่ได้ พร้อมกับนำผลผลิตและสินค้าของไทยไปนำเสนอ สร้างการเติบโตให้กับธุรกิจของเขาเอง ตลอดจนเสริมสร้างความแข็งแกร่งในทุกสถานการณ์ (Resilience) ให้กับธุรกิจของเรา” นายศุภชัย กล่าว


ยักษ์ใหญ่ระดับโลก

ประเทศไทยได้รับการยอมรับในวงการค้าปลีกระดับสากล จากการที่ธุรกิจค้าปลีกของไทยสามารถคว้ารางวัลยอดเยี่ยมด้านนวัตกรรม จากสมาคมค้าปลีกที่มีชื่อเสียงระดับโลก และยังเป็นเจ้าของกิจการค้าปลีกระดับแลนด์มาร์คในหลายประเทศ อย่างไรก็ดี อาจจะยังไม่สามารถเทียบกับยักษ์ใหญ่ของวงการค้าปลีกระดับโลกได้

“ขนาดของธุรกิจ (scale) ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญที่สุดของธุรกิจค้าปลีกระดับโลก นั่นคือเหตุผลที่ในโลกปัจจุบัน บริษัทค้าปลีกระดับโลกจะเป็นบริษัทขนาดยักษ์ใหญ่ ยกตัวอย่างผู้ค้าปลีก 2 รายที่ใหญ่ที่สุดของโลก สามารถสร้างยอดขายของแต่ละรายได้มากกว่าขนาดเศรษฐกิจทั้งหมดของประเทศไทย จึงเป็นความท้าทายของธุรกิจค้าปลีกของไทยในการไปแข่งขันในระดับโลก”

“ผมมั่นใจว่า การร่วมมือกับธุรกิจอื่นๆ ในประเทศไทย การปรับโครงสร้างธุรกิจ และการก้าวไปข้างหน้าอย่างมีเป้าหมายชัดเจน ตลอดจนมีเงินทุนที่เพียงพอ จะส่งผลให้ประเทศไทยมีเครือข่ายการจัดจำหน่ายสินค้าในต่างประเทศที่ค่อนข้างใหญ่ และมีนัยสำคัญได้ในอนาคตอันใกล้นี้” นายศุภชัย กล่าว

นางสุชาดากล่าวว่า “แม็คโคร ได้สนับสนุนลูกค้าผู้ประกอบการต่างๆ มากมายในประเทศไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการร้านค้าปลีกรายย่อย เช่น ร้านโชห่วย มินิมาร์ท ตลอดจนโรงแรม ร้านอาหาร และธุรกิจจัดเลี้ยงอย่างแข็งขัน มาเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 32 ปี ความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ดีนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า คุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเป็นเรื่องสำคัญสูงสุด เราได้คัดสรรสินค้าที่หลากหลาย ครบครัน มีคุณภาพดี ในราคาขายส่ง เพื่อให้ลูกค้าผู้ประกอบการรายย่อยสามารถลดต้นทุน ประกอบธุรกิจได้อย่างมีกำไร และเติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นเป็นพันธมิตรที่คู่ค้าทุกคนวางใจ พร้อมสนับสนุนลูกค้าผู้ประกอบการของเราให้พัฒนาธุรกิจและเติบโตอย่างต่อเนื่อง”

“เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การเร่งขยายธุรกิจต่างประเทศของเราในอนาคต จะสร้างโอกาสให้ผู้ผลิตสินค้ารายย่อย (เอสเอ็มอี) และเกษตรกร ผู้ผลิตอาหารสด สินค้าสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในประเทศไทย ประสบความสำเร็จในการขยายตลาดและเติบโตในเวทีโลกต่อไป” นางสุชาดา กล่าว

]]>
1349545