งาน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 17 Jun 2024 02:28:11 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ไม่ใช่เล่น ๆ! ‘Work ไร้ Balance’ อาจส่งผลทำให้ GDP โลกลดถึง 9% https://positioningmag.com/1478308 Sun, 16 Jun 2024 12:29:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1478308 ขึ้นชื่อว่าการทำงาน แน่นอนว่า ความเครียด ถือเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และอารมณ์เชิงลบในแต่ละวันของพนักงานและการขาดความเป็นอยู่ที่ดี อาจจะยิ่งส่งผลเสียต่อการมีส่วนร่วมของพนักงาน และเป็นไปได้ว่าจะกระทบกับเศรษฐกิจในที่สุด

จากการสำรวจพนักงาน 128,278 คนในกว่า 140 ประเทศ เมื่อปีที่ผ่านมา โดย Gallup ได้เปิดเผยรายงานที่ประมาณการว่า การมีส่วนร่วมของพนักงานที่ต่ำ ทำให้เกิด ความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลก 8.9 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 9% ของ GDP โลก

โดยแบบสำรวจดังกล่าวพบว่า พนักงานประมาณ 20% ทั่วโลกรายงานว่ารู้สึกเหงา โกรธ หรือเศร้าในแต่ละวัน และโดยเฉลี่ย 41% บอกว่าพวกเขารู้สึกเครียด และผู้ที่มีแนวโน้มจะรู้สึกเหงามากที่สุดคือ 

  • พนักงานที่รู้สึกไม่ผูกพันกับงาน (31%)
  • พนักงาน Full Time ที่ทำงานจากระยะไกล (25%)
  • พนักงานอายุน้อย (22%)

โดยงานสามารถช่วยให้ความเป็นอยู่ของพนักงานแย่ลงหรือดีขึ้นได้ โดยรายงานของ Gallup ระบุว่า เมื่อพนักงานพบว่างานและความสัมพันธ์ในการทำงานของตนมีความหมาย งานจะสัมพันธ์กับความเพลิดเพลินในแต่ละวัน ในทางกลับกัน พนักงานที่ไม่ชอบงานของตน มักจะมีความเครียดและความกังวลในแต่ละวันในระดับสูง รวมถึงอารมณ์เชิงลบอื่น ๆ ในระดับสูงด้วย

อีกข้อมูลที่น่าสนใจคือ ผลสำรวจพบว่า มีพนักงานเพียง 23% เท่านั้นที่มีส่วนร่วมในการทำงาน ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า โดยพนักงานที่มีส่วนร่วมเหล่านี้ เขามองว่าตนเองเป็น เจ้าของกิจการ ในเชิงจิตวิทยา ทำให้คนกลุ่มนี้จะมีส่วนร่วมอย่างมากและกระตือรือร้นเกี่ยวกับงานและสถานที่ทำงานของตน ถือเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประสิทธิภาพและนวัตกรรม และองค์กรไปข้างหน้า

แต่ก็มีพนักงานมากถึง 62% ที่ไม่ยึดติดกับงานและบริษัท ซึ่งเพิ่มขึ้น 3% เนื่องจากความต้องการด้านการมีส่วนร่วมของพวกเขาไม่ได้รับการสนองตอบอย่างเต็มที่ พวกเขาจึง ทุ่มเทเวลาแต่ไม่ได้ใช้พลังงานหรือความหลงใหลในการทำงาน

ทั้งนี้ แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดขององค์กร คือ การเน้นย้ำความเป็นอยู่ที่ดีทั้งในที่ทำงานและในชีวิต และให้ความสำคัญกับการจ้างงานและการพัฒนาผู้จัดการเป็นอันดับแรก เพราะ มื่อผู้จัดการมีส่วนร่วม พนักงานมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมมากขึ้น

“หน่วยธุรกิจที่พนักงานมีส่วนร่วมสูง มีแนวโน้มที่จะเห็นความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เช่นเดียวกับประสิทธิภาพการทำงาน ความสามารถในการทำกำไร และการขายที่สูงกว่าทีมที่มีส่วนร่วมต่ำ”

Source

]]>
1478308
‘กรุงเทพฯ’ ขึ้นแท่นอันดับ 17 เมืองที่ต่างชาติอยากย้ายมา ‘ทำงาน’ มากที่สุดของโลกปี 2024 https://positioningmag.com/1475330 Tue, 28 May 2024 05:33:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1475330 ในยุคที่โลกไร้พรมแดน การใช้ชีวิตและทำงานในต่างประเทศกลายเป็นเรื่องที่ไม่ได้น่ากลัวอีกต่อไป และผู้คนทั่วโลกก็สามารถย้ายไปทำงานในต่างประเทศได้มากขึ้น โดยจากการสำรวจโดย Decoding Global Talent Report เพื่อดูว่าเมืองไหนในโลก เป็นปลายทางที่คนอยากย้ายไปทำงานมากที่สุด

จากการสำรวจของ Decoding Global Talent Report ประจำปี 2024 โดย Boston Consulting Group (BCG) ร่วมกับ The Network และ The Stepstone Group ที่สุ่มสำรวจมากกว่า 150,000 รายใน 188 ประเทศ พบว่า 3 เหตุผลที่คนอยากย้ายไปทำงานที่ต่างประเทศ คือ

  • โอกาสทางเศรษฐกิจ
  • ความก้าวหน้าในอาชีพ
  • คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

และแม้จะมีข้อกังวลด้านเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ของหลาย ๆ ประเทศ แต่คนก็ยัง มองหางานในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยคนที่โยกย้ายไปทำงานต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น +23% ในปี 2566 จากเดิมเพียง 21% ในปี 2563 และ แรงงานทักษะสูงมากถึง 800 ล้านคน สามารถหางานในต่างประเทศได้

สำหรับ 10 เมืองยอดนิยมที่คนสนใจย้ายไปทำงาน

  1. ลอนดอน (9%)
  2. อัมสเตอร์ดัม (8%)
  3. ดูไบ (7%)
  4. อาบูดาบี (7%)
  5. นิวยอร์ก (6%)
  6. เบอร์ลิน (5%)
  7. สิงคโปร์ (5%)
  8. บาร์เซโลนา (5%)
  9. โตเกียว (5%)
  10. ซิดนีย์ (4%)

โดย ลอนดอน ครองแชมป์ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2014 ยังคงรักษาตำแหน่งสูงสุดมาตั้งแต่ปี 2014 โดยปัจจัยสำคัญมาจากที่ใช้ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก, มีโอกาสทางการเงินมากมาย, แบรนด์ที่เปิดกว้างและมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการเข้าถึงทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา

กรุงเทพฯ ติดอันดับที่ 17 ของโลก

ในส่วนของ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีทั้งหมด 9 เมือง ที่ติดใน 30 อันดับแรก ได้แก่

  • สิงคโปร์ (อันดับที่ 7)
  • โตเกียว (อันดับที่ 9)
  • ซิดนีย์ (อันดับที่ 10)
  • เมลเบิร์น (อันดับที่ 14)
  • โอ๊คแลนด์ (อันดับที่ 16)
  • กรุงเทพฯ (อันดับที่ 17)
  • ปักกิ่ง (อันดับที่ 25)
  • กัวลาลัมเปอร์ (อันดับที่ 26)
  • โอซาก้า (อันดับที่ 30)

สิงคโปร์ จุดหมายปลายทางอันดับต้น ๆ ของเอเชีย และอันดับที่ 7 ของโลกมีความน่าสนใจที่ สามารถดึงทาเลนต์จากประเทศรอบข้าง เช่น มาเลเซีย (30%) ไทย (22%) อินโดนีเซีย (19%) ฟิลิปปินส์ (14%) และฮ่องกง (13%) โดย 74% ของทาเลนต์ที่ย้ายไปสิงคโปร์มองว่าเป็นเพราะ คุณภาพของโอกาสในการทำงาน อีก 57% ชอบคุณภาพชีวิตในสิงคโปร์ และ 55% ชอบความปลอดภัย

การจ้างแรงงานต่างชาติไม่เพียงแต่เติมเต็มช่องว่างด้านกำลังการผลิตเท่านั้น แต่บริษัทที่มีความหลากหลายระดับโลกมากขึ้นยังมีนวัตกรรมและความสำเร็จมากกว่าอีกด้วย พวกเขาสร้างผลกำไรที่สูงขึ้นและมีแนวโน้มที่จะเป็นนักสร้างสรรค์ระดับโลกมากกว่า 75%”

]]>
1475330
‘โคเปนเฮเกน’ ขึ้นแท่นเมืองที่มี Work Life Balance อันดับ 1 ของโลก https://positioningmag.com/1421731 Fri, 03 Mar 2023 06:48:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1421731 ตามรายงานฉบับใหม่จาก MoneyNerd เว็บไซต์การเงินส่วนบุคคลที่ใช้ข้อมูลจากองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD), รายงานความสุขโลก, Glassdoor, LinkedIn เพื่อพิจารณาว่า 25 เมืองใหญ่สุดของโลก เมืองไหนมี ผู้อยู่อาศัยที่มีความสุขที่สุดและมีโอกาสเข้าถึงงานที่มีค่าตอบแทนสูงมากที่สุด โดยวัดจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ค่าครองชีพ เงินเดือนเฉลี่ย จำนวนโอกาสในการทำงาน โดย 5 อันดับเมืองที่มีความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและการใช้จ่าย ได้แก่

1.โคเปนเฮเกน

รายได้เฉลี่ย: 44,474 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี (ราว 1,556,000 ล้านบาท)

คะแนนความสมดุลในชีวิตการทำงาน: 8.6 เต็ม 10

คะแนนความสุข: 7.6 เต็ม 10

2.อัมสเตอร์ดัม

รายได้เฉลี่ย: 44,367 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี (ราว 1,552,000 บาท)

คะแนนความสมดุลในชีวิตการทำงาน: 8.3 เต็ม 10

คะแนนความสุข: 7.4 เต็ม 10

อัมสเตอร์ดัม
(Photo: Shutterstock)

3.นิวยอร์ก

รายได้เฉลี่ย: 71,401 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี (ราว 2,499,035 บาท)

คะแนนความสมดุลในชีวิตการทำงาน: 5.2 เต็ม 10

คะแนนความสุข: 7 เต็ม 10

ภาพจาก Shutterstock

4.ออสโล

รายได้เฉลี่ย: 46,196 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี (ราว 1,161,000 บาท)

คะแนนความสมดุลในชีวิตการทำงาน: 8.5 เต็ม 10

คะแนนความสุข: 7.4 เต็ม 10

5.ซูริก

รายได้เฉลี่ย: 82,191 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี (ราว 2,876,000 บาท)

คะแนนความสมดุลในชีวิตการทำงาน: 7.7 เต็ม 10

คะแนนความสุข: 7.5 เต็ม 10

โคเปนเฮเกนได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองอันดับ 1 ของโลกที่มีความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตที่ดีและให้เงินเดือนที่แข่งขันได้ โดยเมืองหลวงของเดนมาร์กมีเงินเดือนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 44,474 ดอลลาร์/ปี แม้ไม่ใช่ค่าเฉลี่ยเงินเดือนที่สูงที่สุด แต่คะแนนความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานสูงถึง 8.6 เต็ม 10 คะแนน เนื่องจากโคเปนเฮเกนได้รับการยกย่องว่า เป็นเมืองที่ปลอดภัย สินค้าอุปโภคบริโภคราคาย่อมเยา มีสวัสดิการที่น่าสนใจแก่คนงาน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานแบบ Remote Working และนโยบายการลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร

ที่น่าสนใจคือการติดอันดับของ นิวยอร์ก เพราะเป็นหนึ่งในเมืองที่มี ค่าครองชีพแพงสูงสุดของโลก และถือเป็นเมืองที่ต้อง เร่งรีบ แต่กลายเป็นว่านิวยอร์กกลับมีคะแนนความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานสูงกว่าเมืองอื่น ๆ ทั่วโลก เช่น ฮ่องกงและดูไบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะว่าชาวนิวยอร์กมีรายได้มากกว่า

ในขณะเดียวกัน ปักกิ่ง ลิสบอน และ บูดาเปสต์ ถือเป็นเมืองที่เลวร้ายที่สุดสำหรับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน จากข้อมูลของ เนื่องจากทั้ง  เมืองนี้มี เงินเดือนเฉลี่ยต่อปีต่ำกว่าที่อื่น เมืองเหล่านี้มีเงินเดือนเฉลี่ยต่อปีต่ำตั้งแต่ 12,664-18,366 ดอลลาร์ (ราว 443,000-642,000 บาท) นอกจากนี้ยัง มีตำแหน่งงานที่ว่างน้อย ทำให้การหางานมีการแข่งขันที่สูง

ส่วนอันดับ 4 และ 5 ของเมืองยอดแย่ ได้แก่ ดูไบ และ ฮ่องกง ตามลำดับ แม้ว่าช่วงเงินเดือนเฉลี่ยจะดีขึ้นเป็น 34,271-50,853 ดอลลาร์ (1,199,000-1,779,000 บาท) แต่เมืองเหล่านี้ก็ยังขาดคะแนนความสุข (6.6 และ 5.4 ตามลำดับ) และคะแนนค่าครองชีพเทียบกับเงินเดือนเฉลี่ยของเมือง (ตั้งแต่ 57.2 ถึง 70.6)

]]>
1421731
‘HR’ จะรับมืออย่างไรในวันที่ ‘พนักงาน’ มั่นใจว่ายังไงก็หางานใหม่ได้ https://positioningmag.com/1421493 Wed, 01 Mar 2023 14:57:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1421493 ดูเหมือนจะหมดยุค กอดงานที่รัก แล้ว เพราะจากการสำรวจของ JobStreet (จ๊อบสตรีท) และ JobsDB (จ๊อบส์ดีบี)ภายใต้กลุ่มบริษัท SEEK (ซีค) ได้จัดทำร่วมกับ Boston Consulting Group (BCG) และ The Network เผยให้เห็นว่า 70% ของผู้ร่วมตอบแบบสอบถามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง เชื่อว่า พวกเขามีอำนาจในการต่อรอง

70% มั่นใจว่าหางานใหม่ได้

ในช่วงที่เกิดการระบาดของ COVID-19 มีทั้งบริษัทที่ได้ผลกระทบในเชิงบวก และก็มีหลายบริษัทที่ได้ผลกระทบในเชิงลบ ทำให้พนักงานประจำหลายคนเลือกที่จะกอดงานที่รักไว้ให้แน่น ๆ เพราะไม่อยากตกงาน แต่หลังจากที่สถานการณ์คลี่คลายลง แม้เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย เห็นการเลย์ออฟพนักงานโดยเฉพาะในบริษัทเทคโนโลยี แต่พนักงานในปัจจุบันกลับพร้อม หางานใหม่ และคนที่กำลัง มองหางาน เขามีความมั่นใจว่า ยังไงก็หางานได้

โดยจากผลสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามยังคงรู้สึกมั่นใจที่จะมองหาโอกาสใหม่ ๆ แม้จะกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอยู่บ้าง แต่มีสัดส่วนถึง 70% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มองว่า อำนาจในการเจรจาต่อรองในตำแหน่งงานต่าง ๆ ยังคงเป็นของพวกเขา โดยมีจำนวนผู้สมัครงานทั่วภูมิภาคถึง 74% ที่ได้รับ การติดต่อเรื่องตำแหน่งงานใหม่ ๆ ปีละหลายครั้ง และ 36% ได้รับการติดต่อทุกเดือน ส่วนใน ประเทศไทย ตัวเลขเหล่านี้ค่อนข้างสูงอยู่ที่ 68% และ 34% ตามลำดับ

พร้อมปฏิเสธข้อเสนอหากเจอประสบการณ์ไม่ดีตอนสัมภาษณ์

อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจก็คือ 59% ของผู้สมัครงาน พร้อมจะทำงานกับบริษัทที่มีกระบวนการสรรหาที่ดี และ 39% เลือกจะปฏิเสธข้อเสนอ หากเจอประสบการณ์ที่ไม่ดีในตอนสัมภาษณ์หรือสรรหาคน ซึ่งสิ่งที่ผู้สมัครอยากมีคือ สามารถเจรจาต่อรอง เปิดใจ มีพื้นที่ให้เขาแสดงความเป็นตัวตน ไม่ได้มองเขาเป็นหุ่นยนต์หรือกระดาษ ความมีการสนทนาเหมือนการทำความรู้จักตั้งแต่เริ่มเลย

อยากเปลี่ยนงาน

Work Life Balance สิ่งที่แรงงานมองหาอีกครั้ง

ผู้ตอบแบบสอบถาม 71% มองว่า สิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุดคือ งานที่มั่นคงและความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงาน ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามในไทยมีสัดส่วนมากถึง 77% ที่มีความเห็นในทิศทางเดียวกัน โดยผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าปัจจัยอันดับ 1 ในการพิจารณาเมื่อตัดสินใจหางานใหม่ก็คือ เงิน (22%) ตามด้วย ความสมดุลระหว่างชีวิตและงาน (17%) นอกจากนี้จำนวนวันลาหยุดและความมั่นคงของงานเป็นปัจจัยอันดับ 3 ที่ผู้สมัครงานให้ความสำคัญ

ทั้งนี้ 3 เหตุผลแรกที่ทำให้ผู้สมัครงานเริ่มมองหางานใหม่คือ

  1. ต้องการมองหาตำแหน่งที่น่าสนใจกว่าหรือตำแหน่งสูงขึ้นกว่าเดิม (49%)
  2. งานที่ทำอยู่ปัจจุบันมีโอกาสในการเติบโตน้อย (30%)
  3. เงินเดือนและสวัสดิการในปัจจุบันยังไม่น่าพอใจ (27%)

“ความคาดหวังของผู้คนที่มีต่องานเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้สมัครงานส่วนใหญ่ไม่ต้องการใช้ชีวิตเพื่อทำงานอีกต่อไปแต่พวกเขาต้องการทำงานเพื่อใช้ชีวิต” ซาการ์ โกเอล พาร์ตเนอร์และผู้ช่วยผู้อำนวยการ BCG กล่าว

เงินเดือนไม่ช่วยยื้อ

ปัจจุบัน ความมั่นคง ขององค์ไม่ใช่สิ่งสำคัญอันดับแรกที่จะยื้อให้พนักงานอยู่กับองค์กร แต่เป็น การเรียนรู้ ในที่ทำงานนั้น ๆ เพราะเขามองว่าการเปลี่ยนแปลงมันเร็วมาก ดังนั้น การเรียนรู้เป็นสิ่งที่เขามองหา องค์กรที่ทำให้เขามีความสามารถมากขึ้นจะเป็นสิ่งที่ทำให้เขาอยู่กับองค์กรต่อไป ซึ่งผู้ประกอบการต้องเข้าใจว่าอัตราเงินเดือนที่สูงอาจเป็นหนทางหนึ่งในการดึงดูดคนมีความสามารถ อย่างไรก็ตาม เงินเดือนดังกล่าวไม่อาจรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรได้ในระยะยาว

“ปัจจุบันพนักงานจะอยู่กับองค์กรใดองค์กรหนึ่งนานเฉลี่ย 2 ปีครึ่ง คนที่ทำงานนาน 30-40 ปีในที่เดียวปัจจุบันเป็นอะไรที่ว้าวมาก และในอนาคตคงไม่ได้เห็นอีกแล้ว เพราะตอนนี้คนมั่นใจว่าเขาจะสามารถหางานใหม่ได้ สิ่งที่เขาต้องการคือ Work Life Balance และองค์กรที่เพิ่มสามารถเพิ่มความสามารถให้เขา”

Work Life Balance = Hybrid Work

Work Life Balance เปลี่ยนไปตามตลาดแรงงาน ปัจจุบันก็คือ Hybrid Work โดย 62% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า พวกเขาต้องการทำงานแบบไฮบริด เขาไม่ต้องทำงานในออฟฟิศ 5 วัน/สัปดาห์ มีเพียง 22% ที่ ต้องการเข้าออฟฟิศ 100%

สำหรับประเทศไทย ผู้สมัครงานมากถึง 72% ต้องการการทำงานแบบ Hybrid ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกถึง 18% และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง 10%

“คนรุ่นใหม่ไม่ได้ไม่อยากเข้าออฟฟิศเลย เขายังอยากเข้าออฟฟิศบ้างไม่ใช่ทุกวัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเขาอยากมีส่วนร่วมกับองค์กรกับเพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน แต่เขาแค่ไม่อยากเข้าออฟฟิศ 5 วัน/สัปดาห์”

ตลาดแรงงานไทยกำลังขาดภาคบริการ

ในขณะที่ทั่วภูมิภาคต้องการแข่งงานด้านไอที แต่สำหรับประเทศไทย นางสาวดวงพร พรหมอ่อน กรรมการผู้จัดการ JobsDB Thailand (จ๊อบส์ ดีบี ประเทศไทย) เปิดเผยว่า สายงานไอทีไม่ใช่อันดับ 1 ที่ตลาดแรงงานไทยต้องการ แต่เป็น สายงานผู้ใช้แรงงาน (58%) และ ภาคธุรกิจบริการ (57%) เนื่องจากการท่องเที่ยวที่กลับมาเติบโตอย่างมาก

ส่วนไอทีตลาดก็ยังมีความต้องการเป็นจำนวนมาก สะท้อนจากจำนวนการเสนองานต่อสัปดาห์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากธุรกิจในหลายอุตสาหกรรมล้วนปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเติบโตท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้นในปัจจุบัน

ภาคบริการตอนนี้ต้องไปหาแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน คนที่เคยทำงานบริการตอนนี้ก็หันไปทำธุรกิจส่วนตัว หรืออยู่ตัวกับงานใหม่ทำให้เขาไม่กลับมา ซึ่งโจทย์ของผู้ประกอบการตอนนี้คือ ต้องคอยพัฒนาสกิลใหม่ ดังนั้น ธุรกิจบริการเริ่มมีแนวคิดในการจัดอบรม หรือเปิดสถาบันฝึกวิชาชีพให้กับงานภาคบริการ เพื่อให้พร้อมทำงานได้เลย”

6 ข้อองค์กรและ HR ต้องปรับตัว

  1. ก้าวข้ามอคติ เพื่อเพิ่มกลุ่มผู้สมัครงานที่มีความสามารถ เช่น เลือกจากประสบการณ์แม้เรียนจบไม่ตรงสาย
  2. ปรับวิธีในการเข้าถึงผู้สมัครที่แตกต่างกัน
  3. สร้างความประทับใจระหว่างกระบวนการสรรหา ซึ่ง HR เปรียบเสมือนหน้าตาขององค์กร
  4. เลือกใช้เครื่องมือทางดิจิทัลให้เหมาะสม เพราะปัจจุบันผู้สมัครเข้าหาองค์กรผ่านหลายช่องทาง ทั้งเว็บไซต์จัดหางาน ทั้งยื่นตรงที่องค์กร
  5. วัฒนธรรมองค์กรที่ใช่ เพราะนอกเหนือจากการทำงานแบบไฮบริด และค่าตอบแทน วัฒนธรรมองค์กรก็เป็นอีกสิ่งที่ผู้สมัครให้ความสำคัญ
  6. ปลดล็อกผู้ที่มีความสามารถในองค์กร โดยควรมีแผนการเพิ่มศักยภาพ มีสวัสดิการที่ดี เพราะต้นทุนในการหาพนักงานใหม่สูงกว่าการรักษาพนักงานเดิม
]]>
1421493
ว่างงานพุ่งไม่หยุด เด็กจบใหม่ 5 แสนคนเคว้ง ‘ไม่มีงานทำ’ หนี้ครัวเรือนสูง จำใจกู้นอกระบบ https://positioningmag.com/1333573 Mon, 24 May 2021 07:50:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333573 โควิด-19 สั่นคลอนเศรษฐกิจไทย ไตรมาสเเรกของปี 2564 ว่างงานพุ่ง 7.6 เเสนราย นักศึกษาจบใหม่เกือบแสนคน ‘สุดเคว้ง’ ตำแหน่งงานไม่เพียงพอ เสี่ยงตกงานยาว ด้านหนี้ครัวเรือนสูงไม่หยุด ทะลุ 14 ล้านล้านบาท ประชาชนต้องควักเงินออมมาใช้ ก่อหนี้บัตรเครดิตเสี่ยงกู้นอกระบบเพิ่ม

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ในช่วง 3 เดือนเเรกของปีนี้ คนไทยว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 7.6 แสนคน คิดเป็น 1.96% เป็นผลกระทบต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลายระลอก นับตั้งแต่เดือน ม..เป็นต้นมา

โดยอัตราการว่างงานของแรงงานในระบบ พบว่า ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานของผู้ประกันตนมาตรา 33 มีจำนวน 3.46 แสนคน คิดเป็นสัดส่วน 3.1% สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่การระบาดยังไม่รุนแรงแต่ปรับตัวลดลงจากครึ่งปีหลัง

เเบ่งเป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ประมาณ 8 หมื่นคน ในเดือน มี.. ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูง และลูกจ้างของสถานประกอบการที่ขอใช้มาตรา 75 ตาม พ...คุ้มครองแรงงานฯ มีจำนวนทั้งสิ้น 82,346 คน ลดลงเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน

Photo : Shutterstock

ส่วนชั่วโมงการทำงานรวมอยู่ที่ 40.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ลดลง 1.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 การทำงานต่ำระดับเพิ่มขึ้นถึง 129.1% เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4

จากภาพรวมที่ผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นแต่ชั่วโมงการทำงานลดลง สะท้อนการจ้างงานและการทำงานที่ไม่เต็มเวลา ทำให้แรงงานมีรายได้ลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน

โดยกำลังแรงงานมีจำนวนทั้งสิ้น 38.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.5% จากการเข้าสู่ตลาดแรงงานของผู้อยู่นอกกำลังแรงงานอย่างต่อเนื่อง

เเละมียอดผู้มีงานทำในไทยทั้งสิ้น 37.6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 0.4% จากการขยายตัวของการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมที่ดูดซับแรงงานบางส่วนที่ถูกเลิกจ้างจากภาคเศรษฐกิจอื่นมาตั้งแต่ปี 2563 ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรมีการปรับตัวสูงขึ้น รวม 11.07 ล้านคน เพิ่มขึ้น 2.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่นอกภาคเกษตรกรรม การจ้างงานปรับตัวลดลงเล็กน้อยที่ 0.6% โดยสาขาการผลิตอุตสาหกรรมมีการจ้างงานลดลง 2.2%

ปริมาณนักท่องเที่ยวที่ลดลงเเละมาตรการควบคุมโควิด-19 ทำให้ภาคบริการ จ้างงานลดลง 0.7% สาขาการขายส่ง/ขายปลีกลดลง 1.0% และสาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า ลดลง 0.4% และสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลง 0.2%

เเต่บางอุตสาหกรรมที่ยังสามารถขยายตัวได้ เช่น ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก อุปกรณ์ที่ใช้ในทางการแพทย์ และการผลิตเครื่องอุปกรณ์การขนส่งอื่น ๆ

เด็กจบใหม่ เสี่ยงไร้งานยาว 

ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สศช. ระบุว่า ผลกระทบของโควิด-19 ระลอกใหม่ต่อเศรษฐกิจและการจ้างงาน ในปี 2564 ที่ต้องติดตามเเละเเก้ไขอย่างเร่งด่วน ได้เเก่

1) แรงงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) อาจตกงานมากขึ้นหรือถูกลดชั่วโมงการทำงาน

โดยธุรกิจ MSMEs ได้รับผลกระทบตั้งแต่ปี 2563 ทำให้ GDP ของ MSMEs ปรับตัวลดลงสูงถึง 9.1% หากไม่สามารถควบคุมการระบาดได้อย่างรวดเร็ว ธุรกิจเหล่านี้อาจไม่สามารถประคองตัวต่อไปได้ รวมถึงการเลิกจ้างแรงงาน และโอกาสการกลับมาฟื้นตัวอาจใช้เวลานานมากขึ้น 

2) แรงงานในภาคท่องเที่ยวอาจถูกเลิกจ้างมากขึ้น และต้องหาอาชีพใหม่

ปัญหานี้จะส่งผลกระทบต่อแรงงานในภาคการท่องเที่ยวที่มีอยู่กว่า 7 ล้านคน โดยหากแรงงานถูกเลิกจ้างจะไม่สามารถกลับเข้ามาทำงานในสาขาเดิมได้ในระยะเวลาอันใกล้ และอาจต้องเปลี่ยนอาชีพ ซึ่งรัฐบาลจะพิจารณาว่าจะสามารถช่วยเหลือได้อย่างไร

3) ตำแหน่งงานอาจไม่เพียงพอจะ รองรับนักศึกษาจบใหม่

กระทบกับการหางานของ นักศึกษาจบใหม่ในปี 2564 ประมาณ 4.9 แสนคน ขณะที่โครงการจ้างงานกลุ่มผู้จบการศึกษาใหม่และแรงงานคืนถิ่นภายใต้ พ...เงินกู้ฯ ในปี 2563 ซึ่งมีระยะเวลาการจ้างงานประมาณ 12 เดือนกำลังจะสิ้นสุดลง อาจส่งผลกระทบต่อแรงงานภายใต้โครงการประมาณ 1.4 แสนตำแหน่ง

4) เเรงงานรายได้ลดต่อเนื่อง เสี่ยงตกงานยาว

ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของแรงงาน เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า ชั่วโมงการทำงานที่ลดลง 6 ไตรมาสติดต่อกันและการว่างงานเพิ่มขึ้นสะท้อนว่าแรงงานมีรายได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง

ผู้ว่างงานจากผลกระทบของ COVID-19 มีแนวโน้มเป็นผู้ว่างงานระยะยาวมากขึ้น

นอกจากนี้ยังต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ที่จะมีผลต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรไทยด้วย

Photo : Shutterstock

หนี้ครัวเรือนทะลุ 14 ล้านล้าน คนจำใจก่อหนี้บัตรเครดิตกู้นอกระบบเพิ่ม

หนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 4 ของปี 2563 มีมูลค่า 14.02 ล้านล้านบาท ขยาย 3.9% จาก 4% ในไตรมาสก่อน หรือคิดเป็นสัดส่วน 89.3% ต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว

เเม้ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนปรับตัวดีขึ้น แต่ยังต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน (สินเชื่อกล่าวถึงพิเศษ) ยังอยู่ในระดับสูง

โดยในไตรมาส 4 ปี 2563 สัดส่วน NPLs ของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2.84% ลดลงจาก 2.91% ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากการดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วงที่ผ่านมาของสถาบันการเงิน

เเต่จากปัญหาตลาดแรงงานที่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงขึ้น จะทำให้รายได้ของแรงงานลดลง และทำให้ครัวเรือนประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องมากขึ้น

คาดว่าแนวโน้มการก่อหนี้ของครัวเรือนในปี 2564 สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อจีดีพี จะยังคงอยู่ในระดับสูง จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวกลับไปในระดับก่อนโควิด-19”

ครัวเรือนจะระมัดระวังการใช้จ่าย โดยเฉพาะการชะลอการซื้อสินค้าในกลุ่มสินค้าคงทน ทำให้ความต้องการสินเชื่อที่อยู่อาศัยและรถยนต์ชะลอตัวลง

ด้านความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลอาจปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปัญหาการขาดสภาพคล่องรวมทั้งมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับประชาชนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐจึงจำเป็นต้องมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างเหมาะสม

นอกจากนี้ ยังต้องเฝ้าระวังการก่อหนี้นอกระบบโดยเฉพาะกับครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครัวเรือนมีรายได้ และสามารถรักษาระดับการบริโภคไว้ในระดับเดิม

สิ่งที่น่าสนใจอีกประการคือ ตอนนี้ประชาชนเริ่มนำเงินออมออกมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากขึ้น จึงต้องมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ เช่น เวลาชำระหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ย มาไว้รองรับในระยะถัดไป

 

 

]]>
1333573
ส่องมาตรการ ‘Uber Works’ เพื่อช่วยหางานให้ ‘ผู้ขับ’ แม้ไม่ใช่งานของบริษัทก็ตาม https://positioningmag.com/1271958 Tue, 07 Apr 2020 00:07:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271958 จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เกือบทั่วโลกต้องออกมาตรการที่หลีกเลี่ยงการพบปะหรือออกไปแหล่งชุมชน ซึ่งส่งผลต่อบริการขนส่งสาธารณะ ทำให้ผู้ขับขี่ต้องดิ้นรนหางานทำ Uber เองก็เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่รับผลกระทบดังกล่าว ดังนั้น Uber จึงเตรียมเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่สำหรับไดรเวอร์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้พวกเขาหางานทำในช่วงวิกฤตินี้ แม้ว่างานนั้นจะเป็นของ บริษัทอื่น ก็ตาม

ตั้งแต่เกิดวิกฤติไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ยอดใช้งานของ Uber แพลตฟอร์ม Ride-Hearing ชื่อดังหดลงอย่างมหาศาล อย่างในเมืองซีแอตเทิลซึ่งเป็นเมืองที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักยอดการใช้งานลดลงกว่า 60-70% รวมไปถึงเมืองใหญ่อื่น ๆ เช่น ซานฟรานซิสโก, ลอสแองเจลิส และนิวยอร์ก โดยคาดว่าภาพรวมยอดใช้งานของ Uber ลงถึง 50%

ส่งผลให้ Uber ได้ประกาศฟีเจอร์ใหม่ในแอปของผู้ขับ (Driver) เรียกว่า Work Hub ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่สร้างรายได้จากกิจการอื่น ๆ ทั้งรับการสั่งซื้อผ่าน Uber Eats รวมถึงบริการ Uber Freight บริการจับคู่ระหว่างคนขับรถบรรทุก และบริษัทที่ต้องการให้ไปส่งสินค้า (cargo) ที่กำลังมองหาคนขับที่มีใบขับขี่เชิงพาณิชย์เพื่อช่วยในการขนส่งสินค้า

“Work Hub ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่ค้นหาโอกาสใหม่ ๆ อย่างการเพิ่มขึ้นของ Uber Eats โดยเฉพาะในเมืองต่าง ๆ เช่น Seattle และ San Francisco รวมถึงการส่งของต่าง ๆ ซึ่ง 2 บริการนี้จะช่วยให้ไดรฟ์เวอร์ส่งคน สามารถหารายได้เพิ่มเติมได้”

อย่างไรก็ตาม ไม่มีงานมากพอที่จะครอบคลุมทุกไดรฟ์เวอร์ที่ต้องการหารายได้ ดังนั้นบริษัทจึงร่วมมือกับบริษัท ภายนอกหลายสิบแห่ง เพื่อช่วยเติมเต็มช่องว่าง ผ่านโครงการ Uber Works โดยบริษัททำงานร่วมกับบริษัทจัดหาพนักงานในชิคาโก ดัลลัสและไมอามีเพื่อเชื่อมต่อไดรเวอร์กับงานชั่วคราวในร้านขายของชำ, การผลิตอาหารและธุรกิจซัพพลายเชนที่ต้องการพนักงานเพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงเป็นพาร์ตเนอร์กับชุดอาหารของ Kroger และ Home Chef บริษัทจัดส่งอาหารซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองชิคาโก

นอกจากนี้ Work Hub จะเปิดรับสมัครงาน โดยมีบริษัทเกือบ 15 แห่ง ที่กำลังสนใจจ้างงานในตอนนี้ อาทิ 7-Eleven, Albertsons, Dollar Tree, FedEx, Hertz, Land O’Lakes, McDonald’s, PepsiCo, UPS และ Walgreens และอื่น ๆ

Source

#Uber #Ubereats #Fooddelivery #Covid19 #Positoiningmag

]]>
1271958
“ลูกจ้างคนรวย” งานที่กำลังโตเร็วที่สุดในอเมริกา…อีกด้านไม่ได้สวยหรูอย่างที่คิด https://positioningmag.com/1256621 Wed, 11 Dec 2019 12:27:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1256621 AP Photo/Julio Cortez

ปัจจุบันคนที่มีฐานะร่ำรวยในอเมริกามีจำนวนเพิ่มขึ้น รายได้ที่สูงขึ้นก็มักตามมาด้วยความต้องการด้านบริการเเละสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตมากขึ้นด้วย อย่างเช่น การไปนวด เข้าร้านเสริมสวยทำเล็บทำผม หรือมีเงินจ้างคนให้พาสุนัขไปเดินเล่น

งานเหล่านี้มักถูกเรียกว่า “ลูกจ้างคนรวย” (wealth workers) ซึ่งเป็นงานภาคบริการที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับตำแหน่งงานสำหรับชาวอเมริกันที่เป็นคนชั้นกลางที่ยังคงลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง

เเม้ว่าจะตำเเหน่งงานเหล่านี้จะมีมากขึ้นเเละดึงดูดใจให้ใครหลายคนอยากทำ เเต่ก็มีสิ่งที่น่าเป็นห่วงอีกด้าน นั่นคือเรื่องสวัสดิการที่ไม่ครอบคลุมเเละค่าจ้างต่ำ

Mark Muro เจ้าหน้าที่อาวุโสของสถาบัน Brookings Institute กล่าวว่า คนที่มีรายได้สูงยินดีที่จ่ายเงินซื้อบริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจ้างครูสอนโยคะ จ้างคนจูงสุนัขไปเดินเล่น หรือจ้างคนดูแลตารางการทำงานให้ ขณะเดียวกันคนที่อยากจะมาทำงานบริการเเนวนี้ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน

รายงานจากสำนักงานสถิติแรงงานสหรัฐ ระบุว่า อาชีพด้านการให้บริการส่วนบุคคล กำลังเป็นอาชีพที่เติบโตเร็วที่สุดของตลาดงานสำหรับคนงานที่ไม่ได้จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และคาดว่างานประเภทนี้จะเติบโตขึ้นอีกราว 17% ในช่วง 10 ปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้มีตำแหน่งงานใหม่มากกว่า 1 ล้านตำแหน่ง

โดยงานที่ให้บริการคนรวยในอเมริกาตอนนี้ ส่วนใหญ่มีเเนวโน้มเป็น ผู้หญิงเเละเป็นชาวละติน หลายคนไม่มีวุฒิการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และอาจทำงานหลายอย่างพร้อมกันเพื่อให้บริการแก่ผู้ที่มีฐานะทางการเงินดีกว่าตัวเอง

ข้อมูลจากสถาบัน Brookings Institute ชี้ว่า อาชีพช่างทำเล็บมือและเล็บเท้า เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงปี 2010 – 2017 โดยอาชีพครูฝึกออกกำลังกาย ครูสอนโยคะ และคนรับจ้างเดินจูงสุนัขไปเดินเล่น เพิ่มขึ้นถึงสามเท่าของอัตราการจ้างงานโดยรวม

“เราไม่ได้กังวลถึงการอยู่ของอาชีพเหล่านี้ เพราะมันเป็นไปตามโครงสร้างการทำงานในอเมริกา เเต่สิ่งที่เรากังวลคือการได้รับค่าตอบเเทนที่ไม่ค่อยดีนัก” Muro กล่าว

ทุกวันนี้มีผู้คนอย่างน้อย 3 ล้านคนในสหรัฐ ที่ต้องพึ่งพางานประเภทนี้เพื่อเลี้ยงชีพ ถึงเเม้ว่าจะ “ไม่ใช่งานที่ดีนักและค่าตอบแทนน้อย” เเละเสี่ยงที่จะถูกนายจ้างเอารัดเอาเปรียบ อีกทั้งยังไม่ค่อยได้รับสวัสดิการทั้งในเรื่องการลาป่วย วันลาพักร้อน หรือเงินบำเหน็จบำนาญ ดังนั้นคนที่ทำงานเหล่านี้จึงจัดอยู่ในกลุ่มที่ถูกใช้งานอย่างไม่ยุติธรรม

อย่างไรก็ตาม งานบริการนี้ได้ให้โอกาสกับผู้อพยพ โดย 1 ใน 3 ของแรงงานในสหรัฐอยู่ในระบบเศรษฐกิจ
แบบ Gig Economy (ทำงานอิสระ) เป็นสัดส่วนถึง 10% ของพนักงานเต็มเวลา ขณะที่อีกส่วนหนึ่งพยายามทำงานเสริม เช่น เป็นคนขับ Uber เพื่อเพิ่มรายได้

โดย Louis Hyman ผู้อำนวยการศูนย์ Workplace Studies ของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ให้ความเห็นว่า เป็นเรื่องดีต่อเศรษฐกิจเพราะการที่มีคนจำนวนมากต้องการให้คนทำงานเหล่านั้นก็เป็นอุปสงค์ที่มีพลัง คำถามคือไม่ใช่การจะกำจัด Gig Economy ออกไปยังไง เเต่เราจะอยู่ร่วมกันอย่างมั่นคงอย่างไรมากกว่า เเละนี่ก็ไม่ใช่เรื่องเฉพาะคนที่ทำงานประเภทนี้เท่านั้นเเต่รวมไปถึงคนที่มีค่าแรงต่ำในอเมริกาทั้งหมดด้วย

Hyman เสนอทางช่วยเหลือว่า อาจจะต้องมีการตั้งค่าระบบบัญชีส่วนตัวของพนักงานเหล่านี้ เมื่อทุกครั้งที่มีค่าจ้างจากนายจ้างเข้ามาก็จะเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพหรือบัญชีออมทรัพย์ด้วย เป็นต้น

นอกจากนี้ เขายังเป็นห่วงเรื่องสังคมของคนอเมริกัน ที่งานบริการมักแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างคนรวยกับคนจน จึงขอเรียกร้องให้มีการเคารพในอาชีพเเละการทำงานของผู้คนในส่วนนี้ด้วย

 

ที่มา VOA : US Fastest Growing Jobs: Caring for the Wealthy
ภาพ : AP Photo/Julio Cortez

]]>
1256621