ชีวิตทำงาน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 20 Sep 2021 13:18:20 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ความเสี่ยง’ จากการทำงานหนัก เครียด-มลภาวะ คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกเกือบ 2 ล้านคนต่อปี https://positioningmag.com/1352717 Mon, 20 Sep 2021 12:09:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1352717 องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เปิดเผยรายงานที่ทำร่วมกันเกี่ยวกับผลกระทบจากการทำงานของประชากรโลก โดยระบุว่า โรคและการบาดเจ็บจากการทำงาน มีส่วนทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 1.9 ล้านคน ในปี 2016

โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้คนเสียชีวิตจากการทำงาน มีหลายอย่าง ตั้งแต่ความเครียดสะสม มลพิษทางเสียง การสัมผัสกับมลพิษทางอากาศในสถานที่ทำงาน สารก่อให้เกิดโรคหอบหืดเเละสารก่อมะเร็ง

อีกหนึ่งความเสี่ยงที่สำคัญก็คือชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานเกินไปซึ่งเชื่อมโยงกับการเสียชีวิตถึง 750,000 ราย ส่วนการสัมผัสมลพิษทางอากาศในสถานที่ทำงาน (เช่น ฝุ่นละออง ก๊าซ และควัน) เชื่อมโยงกับการเสียชีวิตราว 450,000 ราย

ประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิกตะวันตก มีจำนวนผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ด้วยสาเหตุเกี่ยวข้องกับการทำงานมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย และมีอายุเฉลี่ยที่ 54 ปี

เป็นเรื่องน่าตกใจที่เราได้เห็นคนจำนวนมากต้องถูกฆ่าตายด้วยงานของพวกเขาดร.เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการ WHO กล่าว

เราหวังว่ารายงานฉบับนี้ จะกระตุ้นไปยังประเทศและธุรกิจต่างๆ ให้ปรับปรุงและปกป้องสุขภาพและความปลอดภัยของคนงาน

โรคและการบาดเจ็บต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานนั้น ได้ส่งผลให้เกิดประชาชนเกิดความเครียด ประสิทธิภาพเเละคุณภาพชีวิตลดลง และอาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อรายได้ครัวเรือนซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ

(photo : Photo by Andrea Piacquadio from Pexels)

เเม้อัตราการเสียชีวิตจากการทำงานต่อประชากรทั่วโลกจะลดลง 14% ในช่วงปี 2000-2016 ซึ่งอาจสะท้อนถึงการปรับปรุงด้านสุขภาพและความปลอดภัยในที่ทำงานที่มีมากขึ้น

เเต่อย่างไรก็ตาม อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองที่เกี่ยวข้องกับการมีชั่วโมงทำงานยาวนานเกินไป กลับเพิ่มขึ้นถึง 41% และ 19% ตามลำดับ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของปัจจัยเสี่ยงด้านอาชีพเเละสังคมในยุคใหม่

จากการวิเคราะห์ข้อมูลใน 194 ประเทศ พบว่า การทำงานต่อสัปดาห์ 55 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น ได้เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองถึง 35% และเพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดอีก 17% เมื่อเทียบกับการทำงานเฉลี่ย 35-40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

โดยรายงานฉบับนี้ มีข้อเสนอเเนะเพื่อเป็นแนวทางให้รัฐบาล นายจ้างและลูกจ้าง เช่น ข้อตกลงเกี่ยวกับการจำกัดเวลาทำงานสูงสุดที่เหมาะสม มาตรการลดการสัมผัสมลพิษทางอากาศในสถานที่ทำงาน อย่างการควบคุมฝุ่น การระบายอากาศ และมีอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เป็นต้น

 

อ่านรายงานฉบับเต็ม : WHO 

 

]]>
1352717
เมื่อ WFH ทำ ‘เส้นแบ่งชีวิต’ หาย ‘เวลาส่วนตัว’ ที่มากขึ้นคือทางออกก่อน ‘หมดไฟ’ https://positioningmag.com/1350721 Tue, 07 Sep 2021 11:04:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1350721 จากการระบาดของ COVID-19 ที่มาหลายระลอกจนหลายคนชินชาที่จะต้องทำทุกกิจกรรมภายในบ้านโดยเฉพาะ ‘การทำงาน’ หรือ ‘Work From Home’ และดูเหมือนว่าแม้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง แต่เวลาในการทำงานกลับเหมือนไม่มีสิ้นสุด นำไปสู่อาการหมดไฟ และต้องการเวลาส่วนตัวมากขึ้น

ทุกวันนี้ ผู้คนทั่วโลกรู้สึกกดดัน เครียด และเหนื่อยล้ามากขึ้น แม้ว่าการทำงานจากที่บ้านจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับวันทำงาน แต่ขณะเดียวกันองค์กรก็มีความคาดหวังเพิ่มสูงขึ้นว่าพนักงานจะต้อง พร้อมทำงานอยู่เสมอ และสำหรับหลาย ๆ คน เส้นแบ่งระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้ถูกหลอมรวมเป็นเส้นเดียวกันไปแล้ว ทำให้สิ่งที่หลาย ๆ คนต้องการมากที่สุดก็คือ ‘เวลาส่วนตัวที่มากขึ้น’

ก่อนที่โลกจะก้าวเข้าสู่โลกของการทำงานแบบไฮบริดในอนาคต อะโดบีได้สำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง 5,500 คน ซึ่งประกอบด้วยพนักงานบริษัท ผู้ประกอบการธุรกิจ SME ใน 7 ภูมิภาคทั่วโลก โดยมีการสอบถามเกี่ยวกับเวลาที่รู้สึกกดดันมากที่สุด และส่งผลกระทบกับชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัวอย่างไร ซึ่งคำตอบที่ได้รับชี้ให้เห็นว่าแนวคิดเรื่องเวลาได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก

WFH ทำให้เวลาส่วนตัวกลายเป็นเวลาทำงาน

หนึ่งในคำถามที่น่าสนใจที่สุดเกี่ยวกับการทำงานจากที่บ้านคือ “ก่อนนี้เราเคยใช้เวลาราวสองชั่วโมงต่อวันเดินทางไป-กลับที่ทำงาน แต่ตอนนี้เมื่อเราทำงานจากที่บ้าน เราใช้เวลาดังกล่าวไปกับเรื่องใดบ้าง?” คำตอบที่ได้คือ คนจำนวนมากใช้เวลาว่างที่เพิ่มขึ้นเป็นชั่วโมงทำงานที่เพิ่มขึ้น

จากผลการสำรวจของอะโดบี พบว่า 49% ของพนักงานบริษัท และ 56% ของผู้ประกอบการ SME ระบุว่า ทุกวันนี้พวกเขาใช้เวลาทำงานยาวนานกว่าเดิม กล่าวคือ พนักงานบริษัททำงานโดยเฉลี่ย 44.9 ชั่วโมง/สัปดาห์ ส่วนผู้ประกอบการ SME ทำงานโดยเฉลี่ย 45.1 ชั่วโมง/สัปดาห์ ซึ่งมากกว่าชั่วโมงทำงานปกติ

เวลาที่เพิ่มขึ้นย่อมหมายถึง แรงกดดันที่เพิ่มขึ้น ว่าพนักงานหรือผู้ประกอบการต้อง พร้อมติดต่อได้เสมอ แม้กระทั่ง หลังเวลาเลิกงาน ทั้งนี้ เกือบครึ่งหนึ่งของพนักงานบริษัท และ 3 ใน 5 ของผู้ประกอบการ SME รู้สึกกดดันที่จะต้องตอบกลับอีเมล และแก้ปัญหาให้กับลูกค้าหลังเวลางาน

ภาวะหมดไฟในการทำงาน

ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) กลายเป็นปัญหาที่พบมากในช่วงปีที่ผ่านมา โดยผู้ประกอบการ SME กว่า 1 ใน 3 ประสบกับปัญหาที่พนักงานรู้สึกเหนื่อยล้า และหมดไฟในการทำงานเพราะความเครียดจากการทำงานในช่วงแพร่ระบาด

อย่างไรก็ตาม ภาวะหมดไฟในการทำงานไม่ได้เกิดขึ้นในระดับที่เท่าเทียมกันกับคนทุกกลุ่ม โดยผู้ประกอบการที่เป็นชนกลุ่มน้อยราว 67%, ผู้ประกอบการที่เป็นสตรี 49% ด้านผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตของผู้คน (ร้านขายของชำ) ราว 67% มีความเครียดเกี่ยวกับเวลาในการทำงานมากกว่าผู้ประกอบการที่ไม่ใช่ชนกลุ่มน้อย 52%, ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ชาย 38% และผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กบางประเภท 49%

ความเครียดดังกล่าวส่งผลกระทบไปถึงเรื่องชีวิตส่วนตัวด้วย โดยผู้ประกอบการที่เป็นชนกลุ่มน้อย 64%, ผู้ประกอบการที่เป็นสตรี 54% และผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตของผู้คน 60% มีความเครียดในเรื่องชีวิตส่วนตัวมากขึ้น จากการที่ต้องคอยประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอดในเวลาเดียวกัน

ผลการสำรวจพบว่า ผู้ประกอบการที่เป็นชนกลุ่มน้อย 55% และผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตของผู้คน 51% ว่าตนเองรู้สึกหมดไฟในการทำงานและการประกอบธุรกิจ  นอกจากนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กที่จำเป็นเกือบครึ่งหนึ่งระบุว่าตนเอง ยินดีที่จะขายธุรกิจในวันพรุ่งนี้ถ้าเป็นไปได้

กลุ่มคน Gen Z กว่าครึ่งพร้อมลาออก

ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่มีพนักงานลาออกเพิ่มมากขึ้น โดยในช่วงเดือนเมษายนเพียงเดือนเดียว พนักงานในสหรัฐฯ กว่า 4 ล้านคนลาออกจากงาน ตามข้อมูลจากกระทรวงแรงงานของสหรัฐฯ ขณะที่พนักงานบริษัท 35% ระบุว่าตนเองมีแผนที่จะเปลี่ยนงานในปีหน้า และ 61% ของคนกลุ่มนี้ระบุถึงเหตุผลว่าเป็นเพราะ ต้องการที่จะออกแบบตารางเวลาชีวิตของตนเองได้อย่างอิสระมากขึ้น

ตัวเลขดังกล่าวอยู่ในระดับที่สูงยิ่งขึ้นสำหรับคนเพิ่งเริ่มทำงาน โดยถึงแม้ว่าคน Gen Z จะเพิ่งเข้าสู่ตลาดแรงงานเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ กว่าครึ่ง หนึ่งมีแผนที่จะหางานใหม่ในปีหน้า  นอกจากนี้ คนกลุ่มนี้ยังระบุว่าพวกเขามีความพึงพอใจน้อยที่สุดกับ work-life balance (56%) รวมถึงอาชีพการทำงานโดยรวม (59%) และคนกลุ่มนี้รู้สึกกดดันมากที่สุดที่จะต้องทำงานใน ช่วงเวลาทำงานตามปกติ (62%)

1 ใน 4 ระบุว่าตนเองทำงานได้ดีที่สุดในช่วงเวลาอื่นที่ไม่ใช่เวลาทำงาน 9 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งของคนรุ่น Gen Z ระบุว่าตนเองมักจะทำงานบนเตียงนอนเป็นประจำ

เทคโนโลยี ตัวช่วยเสริมการทำงาน

จากการสำรวจพบว่า พนักงานมีความคาดหวังที่สูงขึ้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จะช่วยให้พวกเขาทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ งานง่าย ๆ อย่างเช่น การจัดการไฟล์ แบบฟอร์ม สัญญา การชำระเงิน และใบแจ้งหนี้

เนื่องจากพนักงานต้องใช้เวลาราว 1 ใน 3 ของชั่วโมงทำงานไปกับ งานธุรการที่ต้องทำซ้ำ ๆ โดย 86% ของพนักงานบริษัท และ 83% ของผู้ประกอบการ SME ระบุว่างานปลีกย่อยเหล่านี้เป็นอุปสรรคที่บั่นทอนประสิทธิภาพในการทำงาน 91% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีความสนใจในเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับงานหรือกระบวนการต่าง ๆ เช่น Adobe Acrobat และ Adobe Sign

ดังนั้น ในอนาคต พนักงานจะต้องทำงานร่วมกันกับคนที่อยู่ในออฟฟิศ และคนที่ทำงานจากที่บ้าน ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการปรับใช้เครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีที่ใช้งานง่าย รวมไปถึงเทคโนโลยี AI และระบบอัตโนมัติ เพื่อรักษาและดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถให้ทำงานกับองค์กรไปนาน ๆ

โดยผลการศึกษาของอะโดบีชี้ว่า พนักงานบริษัทราวครึ่งหนึ่งพร้อมที่จะเปลี่ยนงานถ้าหากว่าที่ทำงานใหม่มีเครื่องมือที่ดีกว่า ซึ่งจะช่วยให้เขาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และถ้าหากพนักงานมีเวลาว่างมากขึ้น ผู้ตอบแบบสอบถามกว่าครึ่งตอบว่า จะใช้เวลาว่างที่ไปกับเรื่องอื่น ๆ ที่ตนเองสนใจ รวมถึงการพัฒนาทักษะและความสามารถเพื่อการเติบโตในอนาคต

]]>
1350721