ดอลลาร์สหรัฐ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 02 Sep 2022 08:49:28 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘เงินเยน’ อ่อนค่าสุดในรอบ 24 ปี แตะ 140 เยนต่อ 1 ดอลลาร์ https://positioningmag.com/1398649 Fri, 02 Sep 2022 04:57:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1398649 เงินเยนอ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 24 ปี เมื่อเทียบกับดอลลาร์ โดย 1 ดอลลาร์ มีมูลค่าเท่ากับ 140 เยน เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1998 เนื่องจากญี่ปุ่นยังคงใช้นโยบายผ่อนคลายการเงินที่มีมายาวนาน ตรงกันข้ามกับการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ เข้มงวดขึ้น 

การลดลงอย่างมากของค่าเงินเยนส่วนใหญ่ได้รับแรงผลักดันจากแนวทางที่แตกต่างกันของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นและธนาคารกลางอื่น ๆ รวมถึงเฟด ซึ่งได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อจัดการกับเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นจากสงครามยูเครน โดย David Forrester นักยุทธศาสตร์ FX อาวุโสที่ Credit Agricole CIB ในฮ่องกง คาดว่า มีความเป็นไปได้ที่ รัฐบาลจะเข้าแทรกแซง

“ก่อนหน้านี้ หากคุณดูเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงเพื่อซื้อเงินเยน โดยปกติแล้วจะอยู่ในระดับเหล่านี้”

ฮิโรคาสึ มัตสึโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่น กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ใช่สิ่งที่ต้องการ และกำลังจับตาดูความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม ทาง ฮิโรคาสึ ไม่ได้ให้ข้อบ่งชี้ใด ๆ ว่าจะมีมาตรการพิเศษใด ๆ มารับมือ

ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เจอโรม พาวเวลล์ ประธานของเฟด ประกาศความมุ่งมั่นที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อหลีกเลี่ยงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ กลับกันผู้กำหนดนโยบายของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นยังยืนกรานที่จะคงดอกเบี้ยเอาไว้ในระดับต่ำ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างการเติบโตในเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก

ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นต้องเจอกับปัญหาอัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นสูงสุดในรอบ 7 ปี และราคาสินคุ้ปโภคบริโภคที่ไม่รวมสินค้าสดเพิ่มขึ้น 2.4% เนื่องจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น ที่ส่งผลต่อดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่น

“อัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นไม่เพียงแต่เร่งตัวขึ้นเท่านั้น แต่ยังขยายออกไปมากกว่าแค่อัตราเงินเฟ้อด้านราคาอาหารและพลังงาน บางที BoJ อาจต้องเปลี่ยนจุดยืนเล็กน้อย กระทรวงการคลังอาจต้องเข้าไปแทรกแซง เพื่อลดอัตราเงินเฟ้อนำเข้าจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง”

แม้ว่าค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงในสินค้านำเข้าจะทำให้สินค้านำเข้าในญี่ปุ่นมีราคาแพงขึ้น แต่เงินเยนที่อ่อนค่าลงยังสามารถเพิ่มผลกำไรของบริษัทญี่ปุ่นที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ในต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงบริษัทใหญ่ ๆ เช่น Toyota และ Nintendo ขณะที่ นายกรัฐมนตรี ฟุมิโอะ คิชิดะ ได้ประกาศผ่อนคลายกฎการเข้าประเทศที่เข้มงวด เพื่ออนุญาตให้นักท่องเที่ยวใช้บริการแพ็กเกจทัวร์ แต่ไม่มีไกด์ ซึ่งนี่ถือเป็นอีกมุมมองของการใช้ประโยชน์จากเงินเยนที่อ่อนค่าลง

Source

]]>
1398649
ทิศทางตลาดเงินปี 64 กรุงศรีฯ มอง “บาทไทยยังแข็ง” แตะ 29.25 บาท/ดอลลาร์ ทุนต่างชาติไหลเข้า https://positioningmag.com/1308787 Wed, 02 Dec 2020 15:43:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308787 ทิศทางตลาดเงินปี 2564 จะผันผวนน้อยลงกว่าปีนี้ เเต่ยังมีความไม่เเน่นอนสูงเเบงก์กรุงศรีฯ ประเมินเงินบาทเเข็งค่ายาวถึงสิ้นปี 64 เเตะ 29.25 บาท จากเเนวโน้มเงินดอลลาร์ที่ยังอ่อนค่า มองกระแสเงินทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดเกิดใหม่โดยเฉพาะอาเซียน ส่วนภาพรวมการลงทุนจะราบเรียบแต่ไม่ราบลื่น

ตรรก บุนนาค ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวถึง การคาดการณ์ตลาดเงินในปี 2564 ว่ายังมีความผันผวนเเละเงินบาททีเเนวโน้มเเข็งค่าจากปัจจัยทั้งในเเละนอกประเทศ

  • ไตรมาส 1 ปี 2564 คาดว่าค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 30.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
  • ไตรมาส 2 ปี 2564 คาดว่าจะอยู่ที่ 29.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
  • ไตรมาส 3 ปี 2564 คาดว่าจะอยู่ที่ 29.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
  • ไตรมาสปี 2564 คาดว่าจะอยู่ที่ 29.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ปัจจัยต่างประเทศหลักๆ มาจากเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง (ทำให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าต่อ) จากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของสหรัฐฯ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤต COVID-19 ทั้งการขยายวงเงิน QE การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำ (0.00-0.25%) ต่อเนื่อง

นอกจากนี้ มองว่าสงครามการค้าระหว่างจีนสหรัฐฯ เเละการกีดกันทางการค้าต่างๆ ที่มีแนวโน้มลดความรุนแรงลง จะมีส่วนช่วยกดดันค่าเงินหยวนและสกุลคู่ค้าในภูมิภาค ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวจะส่งผลให้เงินทุนไหลกลับเข้าสู่กลุ่มตลาดเกิดใหม่อย่างอาเซียน รวมถึงประเทศไทยด้วย

ปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องติดตาม ได้แก่ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 ทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาด นโยบายการเงินและการคลังของยุโรปที่จะรับมือต่อโรคระบาด การพัฒนาและกระจายวัคซีน รวมถึงข้อสรุปของ Brexit ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด

ส่วนปัจจัยในประเทศ คือการที่บัญชีเดินสะพัดของไทยยังเกินดุลเล็กน้อย เเต่การท่องเที่ยวของไทยฟื้นตัวช้า มาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อชะลอเงินบาทที่แข็งค่าอย่างรวดเร็ว รวมถึงการผ่อนคลายเกณฑ์ให้ไปลงทุนในต่างประเทศ 

ปัจจัยที่ชี้นำเงินบาทในปีหน้า เราให้น้ำหนักกับปัจจัยภายนอกเป็นหลักประมาณ 70-80% ที่เหลือเป็นปัจจัยในประเทศ

สำหรับภาคการส่งออกของไทยนั้น จะยังได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อเนื่อง เพราะที่ผ่านมาผู้ประกอบการส่วนใหญ่เคยชินกับค่าเงินที่อยู่ในระดับ 30-31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่หากเเนวโน้มเงินบาทมีโอกาสจะแข็งค่าถึงระดับ 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก็จะส่งผลกระทบอย่างแน่นอน

ขณะที่ทิศทางเศรษฐกิจไทยและอัตราดอกเบี้ย มองว่า เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึง มีความเสี่ยงขาลงสูงมาก โดยมีจุดเปราะบางสำคัญ คือปัญหาว่างงานและหนี้ภาคครัวเรือนที่พุ่งสูง โดยศูนย์วิจัยกรุงศรี คาดว่า GDP ปี 2564 จะขยายตัวที่ 3.3% แม้ว่าปี 2563 นี้จะติดลบราว 6.4% คาดว่า กนง. จะตรึงดอกเบี้ยนโยบายตลอดปี 2564 ไว้ที่ 0.5%”

ด้านภาพรวมการลงทุนในปี 2564 มองว่าจะราบเรียบแต่ไม่ราบลื่นเพราะแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาก สะท้อนจากดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระดับสูงกว่า 1,400 จุด

ส่วนผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น คาดว่าจะอยู่ระดับต่ำ ตามแนวโน้มการตรึงดอกเบี้ยนโยบายส่วนการระดมทุนจากภาคเอกชนและภาครัฐส่งผลให้อัตราผลตอบแทนระยะยาวสูงขึ้นเล็กน้อย

 

]]>
1308787