ดิจิทัลเเบงก์กิ้ง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 17 Nov 2021 12:17:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ttb business one ต่อยอดฟีเจอร์ใหม่ จาก Pain Point ชาวเอสเอ็มอี จัดการธุรกิจผ่าน ‘มือถือ’  https://positioningmag.com/1362565 Wed, 17 Nov 2021 09:55:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1362565 SMEs ไทยปรับตัวเข้าหาดิจิทัล ttb business one จับโอกาสเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ รับโมบายแอปพลิเคชัน เเก้ Pain Point ผู้ประกอบการ จัดการธุรกิจผ่านมือถือได้ในระบบเดียว 

ปัจจุบันธุรกิจ SMEs’ (เอสเอ็มอี) ในไทย มีผู้ประกอบการมากถึง 3 ล้านราย คิดเป็นกว่า 99% ของผู้ประกอบการทั้งหมดในประเทศ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและส่งผลต่อ GDP ถึง 42% มีการจ้างงานเเละกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปยังภูมิภาคต่างๆ

เเต่เมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดลากยาวมาเกือบ 2 ปี ผู้ประกอบการรายย่อยรับผลกระทบหนัก ต้องปรับตัวให้อยู่รอด ดิจิทัลมากขึ้น เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนเเปลงไป

ในช่วงโควิด SMEs ส่วนใหญ่ยังต้องการความช่วยเหลือ โดย 52% ยังพอประคองตัวไปได้ อีก 10% ไปได้ดี เเต่อีกกว่า 38% อยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง

ต่อยอดเทคโนโลยีจาก Pain Point ผู้ประกอบการ 

จุดนี้เป็นโอกาสของ ทีเอ็มบีธนชาต ที่จะพัฒนาดิจิทัลโซลูชันttb business one’ มาจับกลุ่มตลาดลูกค้า SMEs โดยเฉพาะ โดยเน้นไปที่การเเก้ Pain Point ของผู้ประกอบการ SMEs ที่มักจะทำธุรกิจผ่านมือถือต้องเจอบ่อยๆ อย่าง

  • การทำธุรกรรมหลายประเภทต้องเข้าหลายระบบ หรือลืมรหัสผ่านเพราะมีหลายอัน
  • ดิจิทัลเเบงก์กิ้งบนคอมพิวเตอร์กับมือถือ ‘เเยกโปรไฟล์กัน’ ทำให้สับสน ใช้งานเฉลี่ย 7 คลิกต่อ 1 ธุรกรรม
  • ไม่รู้ว่าเงินโอนรับเข้ามานั้นมาจากคู่ค้ารายใด ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ
  • ไม่รู้วิธีการจ่ายหรือการโอนเงินแบบไหนเร็วที่สุด หรือประหยัดที่สุด
  • โอนจ่ายโดยไม่รู้จำนวนเงินสำรองที่เหลือ
  • ไม่สามารถตั้งเมนู Personalize ได้ตามความต้องการของเเต่ละเเผนกได้

ปัจจุบัน ทีเอ็มบีธนชาต มีลูกค้าธุรกิจและเอสเอ็มอีที่ทำธุรกรรมบนดิจิทัลแบงก์กิ้ง ทั้งโมบายแอปพลิเคชัน และอินเทอร์เน็ต รวมเกือบ 200,000 ราย

หากเทียบกับปี 2563 ที่ผ่านมา พบว่า ผู้ประกอบการ SMEs หันมาใช้ช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นถึง 60% และลูกค้าธุรกิจทั้งหมดมีจำนวนรายการที่ทำผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว หรือเพิ่มขึ้น 160% ขณะที่สัดส่วนการทำธุรกรรมของลูกค้าระหว่างช่องทางดิจิทัลกับช่องทางสาขาเปลี่ยนจาก 40% ต่อ 60% เป็น 80% ต่อ 20% เเล้ว

การออกแบบโมบายแอปพลิเคชันในครั้งนี้ล้วนมาจากความคิดเห็นของลูกค้าจริง ๆ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานให้มากที่สุด” สุกัญญา ตรีเสน่ห์จิต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าเอสเอ็มอี ทีเอ็มบีธนชาต กล่าว 

ฟีเจอร์ใหม่ คุมธุรกิจได้ผ่าน ‘มือถือ’ 

ผ่านมาได้ 11 เดือน หลังทีเอ็มบีธนชาต เปิดตัวบริการ ttb business one ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ ในรูปแบบอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ครั้งนี้ก็ถึงเวลาขยายฟีเจอร์ใหม่ๆ ผ่าน โมบายแอปพลิเคชัน อย่างเต็มรูปเเบบ อิงตามความต้องการของลูกค้า 

โดยคอนเซ็ปต์หลักๆ ของ ttb business one คือการวางจุดเด่นเป็น One Platform ระบบเดียวเข้าได้จากทุกอุปกรณ์ทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน ผู้ใช้จะได้รับประสบการณ์เดียวกันทั้งหมด เห็นทุกอย่างในโปรไฟล์เดียวกัน

One to Control คือระบบเดียวทำได้ทุกธุรกรรม ซื้อ ขาย รับ จ่าย ทั้งในและต่างประเทศ ควบคุมธุรกิจได้จากที่เดียว ไม่ต้องเข้าหลายแอป จำหลาย user password เช่น โอนเงินในประเทศ ต่างประเทศ เรียกดูวงเงิน OD 

เเละ One to Command ระบบเดียว มองเห็นภาพรวมและข้อมูลสรุปทางการเงินภายในบริษัท ด้วย Dashboard ที่เรียกดูง่ายและเข้าใจง่าย สามารถสั่งการต่อได้เลย พร้อมระบบมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล

“ฟีเจอร์บนมือถือ จะมีทั้งการอนุมัติรายการ ทำรายการที่ง่ายขึ้นไม่ต้องกดหลายครั้ง การเรียกดูรายงานต่าง ๆ ได้ในหน้าจอเดียว พร้อมการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายงานตามที่ต้องการ สามารถควบคุมทุกเรื่องธุรกิจได้จากมือถือ” 

รัชกร ชยาภิรัต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารนวัตกรรมทางดิจิทัลลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต บอกว่า จากตัวเลขการใช้ธุรกรรมช่องทางดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ยืนยันว่า ttb business one มาถูกทางแล้ว ฟีเจอร์เหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ช่องทางดิจิทัลได้เต็มที่ 100% มีข้อมูล Data Insightful ช่วยคาดการณ์กระแสเงินสดเข้า-ออก ภายในบริษัทได้ล่วงหน้า ทำให้บริหารจัดการกระแสเงินสดได้ ซึ่งตอนนี้ไม่มีค่าธรรมเนียมการใช้แพลตฟอร์ม

“ttb ตั้งเป้าว่าด้วยนวัตกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ จะมีลูกค้ามาใช้ช่องทางดิจิทัลมากขึ้น 60% ภายในสิ้นปี” 

 

]]>
1362565
เปิดสูตร ‘ธุรกรรมการเงิน’ ของกรุงศรี กับภารกิจสร้าง ‘บริการดิจิทัล’ ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ทุกกลุ่ม https://positioningmag.com/1351948 Thu, 16 Sep 2021 10:00:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1351948

หลายคนคงคุ้นเคยกับบริการหลักๆ ของธนาคาร อย่างเงินฝาก สินเชื่อ บัตรเครดิต/เดบิต การบริหารความเสี่ยงด้านอัตราเเลกเปลี่ยน การลงทุนเเละบริการ ‘ธุรกรรมการเงิน’

เมื่อเจาะลึกไปยังส่วนของ ‘ธุรกรรมการเงิน’ จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่อยู่ ‘ใกล้ตัวเรามากที่สุด’ ทั้งการรับ-จ่ายเงินในประเทศ ระหว่างประเทศ หรือชำระสินค้าเเละบริการ ส่งเงินให้เพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง การรับจ่ายเงินเหล่านี้ จึงครอบคลุม ‘ลูกค้าทุกกลุ่ม’ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา ผู้ประกอบการรายย่อย SMEs ไปจนถึงธุรกิจรายใหญ่เเละหน่วยงานภาครัฐ


บริการที่เปลี่ยนไป ตามเทรนด์ดิจิทัล

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ธุรกรรมการเงิน ได้เปลี่ยนเเปลงไปอย่างมาก จากเดิมในอดีตที่ส่วนใหญ่มักจะให้บริการกับองค์กรขนาดใหญ่ ปัจจุบันลูกค้าทั่วไปสามารถเข้าถึงช่องทางดิจิทัลได้ทุกคน โอนเงินผ่านมือถือได้ทุกที่

เเนวโน้มตลาดที่เติบโต ทำให้บรรดาลูกค้าธุรกิจขนาดเล็กเเละขนาดกลาง เริ่มเปิดช่องทางการชำระเงินที่หลากหลายมากขึ้น โดย ‘ลูกค้าทุกกลุ่ม’ ต่างหันมาใช้บริการทางการเงินดิจิทัล สะท้อนให้เห็นการมุ่งไปสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’ (Cashless Society) อย่างเต็มรูปแบบในอนาคตอันใกล้

จากข้อมูลพบว่า จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของไทย เพิ่มขึ้น 14% จากปี 2559-2563 คิดเป็นกว่า 75% ของประชากรทั้งหมด

เทรนด์เทคโนโลยีเหล่านี้ มีส่วนช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าของ ‘ธนาคารกรุงศรีอยุธยา’ จำนวนมาก หันมาใช้บริการผ่านทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น โดยในกลุ่มลูกค้าบุคคล มีการใช้ช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นกว่า 131% จากปี 2561 เเละลูกค้าธุรกิจ เพิ่มขึ้น 56% จากปี 2562

 ขณะเดียวกัน ช่องทางการใช้บริการก็เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด เช่น ผู้ใช้บริการทางดิจิทัลล้วนๆ จากเดิมมีเเค่ 8% เเต่ขณะนี้เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 33% นับเป็นอัตราการเติบโตที่น่าสนใจทีเดียว

ดังนั้น การสร้างสรรค์ ‘นวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ’ จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่สถาบันการเงิน ต้องพัฒนาให้ก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภค เปิดทางการรับ-จ่ายเงินของทั้งผู้ซื้อเเละผู้ขาย ผู้ส่งเเละผู้รับ ให้ง่าย สะดวกเเละมีความปลอดภัยสูง

วันนี้ เรามีโอกาสพูดคุยกับ ‘ยิ่งลักษณ์ คงคาสัย’ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกรรมการเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ถึงภารกิจการยกระดับธุรกรรมการเงินในยุคดิจิทัล ว่ามีกลยุทธ์เเละทิศทางต่อไปอย่างไรบ้าง


ทันสมัย ครบ เเละเเตกต่าง

 เธอเล่าว่า เมื่อโลกปรับ ธุรกิจต้องเปลี่ยน นำมาสู่เเผนการดำเนินธุรกิจระยะกลางของกรุงศรี ในช่วงปี 2564-2566 เพื่อเป้าหมายสำคัญสู่การเป็นสถาบันการเงินไทยที่เป็น ‘ที่หนึ่งในใจลูกค้า’ พร้อมเชื่อมโยงความต้องการของลูกค้าทั่วภูมิภาคอาเซียน

โดยปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกรรมการเงิน เติบโตไปกับเทรนด์ของโลกได้ ก็คือการพัฒนาบริการตามพฤติกรรมผู้บริโภค การปรับกฎ กติกาของภาครัฐให้เอื้อต่อการใช้ดิจิทัล รวมไปถึง ต้องก้าวไปพร้อมกับการขยายตัวของธุรกิจในภูมิภาคที่มีการชำระเงินระหว่างประเทศมากขึ้น เเละเทคโนโลยีที่รองรับวิถีการจ่ายเงินในยุคใหม่ อย่าง e-Wallet , QR Payment ฯลฯ

“ธนาคารไม่ใช่เเค่ต้องก้าวให้ทัน เเต่ต้องคาดการณ์ถึงอนาคตได้ว่า ลูกค้ามีความต้องการอย่างไร”

สำหรับเเผนงานหลักของกรุงศรี เพื่อปูทางสร้างรากฐานการให้บริการที่เเข็งเเกร่ง ให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เเบ่งออกเป็น 3 ส่วนง่ายๆ คือ

1.ทันสมัย นำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ เพื่อให้บริการรับ-จ่ายเงินทั้งในเเละต่างประเทศ

2.ครบ ต้องบริการให้ครบความต้องการของลูกค้าเเต่ละกลุ่ม ที่เเตกต่างกัน ทั้งบุคคลทั่วไป ธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่

3.เเตกต่าง ท่ามกลางสมรภูมิการเเข่งขันของเเบงก์ในยุคดิจิทัล กรุงศรี มีจุดเเข็งคือ การนำเครือข่ายธนาคาร MUFG บริษัทเเม่จากญี่ปุ่น และพันธมิตรทางธุรกิจทั่วโลก มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการให้บริการกับลูกค้า

“การที่ MUFG มีเครือข่ายอยู่กว่า 50 ประเทศทั่วโลก ทำให้กรุงศรีสามารถให้คำปรึกษาเรื่องการลงทุนต่างประเทศกับลูกค้าที่ต้องการได้เป็นอย่างดี ข้อมูลต่างๆ มีความเเม่นยำและมีธนาคารที่สนับสนุนด้านธุรกรรมการเงินเพราะ MUFG ทำธุรกิจอยู่ในประเทศนั้นๆ อยู่เเล้ว” 


บริการที่ดีต้องตอบโจทย์ ‘ลูกค้าทุกกลุ่ม’

 ความเคลื่อนไหวด้านธุรกรรมการเงินดิจิทัลของกรุงศรี ในช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา มีกลยุทธ์ที่น่าศึกษาอย่าง การนำเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า API มาเป็นตัวช่วยเชื่อมต่อการเเลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างลูกค้าเเละธนาคาร ให้มีความสะดวก รวดเร็วเเละปลอดภัยยิ่งขึ้น

นิลวรรณ จีระบุญ ผู้บริหารสายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ธุรกรรมการเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด
(มหาชน) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงผลิตภัณฑ์และบริการในด้านธุรกรรมการเงินว่า ที่ผ่านมามีบริการที่ต่อยอดเทคโนโลยี API มาใช้ในชีวิตประจำวันของลูกค้าทุกคน อย่างเช่น การเติมเงิน จ่ายบิล ออนไลน์ช้อปปิ้งผ่านเเพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ

นอกจากนี้ ยังอัพเกรดการจ่ายเงินด้วย QR Code ให้ครอบคลุมทั้งในเเละต่างประเทศ นำร่องเปิดบริการ cross-border QR payment ระหว่างไทย-ญี่ปุ่นก่อนเมื่อปีที่เเล้ว เเละล่าสุดเพิ่งประกาศเปิดตัวในอินโดนีเซีย ไปในเดือนก.ย. 2564

โดยมุ่งตอบโจทย์การใช้งานในกลุ่มลูกค้าคนไทยที่เดินทางท่องเที่ยวไปที่อินโดนีเซีย และชาวอินโดนีเซียที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นหลัก ซึ่งกรุงศรีจะมีเเผนการขยายไปยังประเทศอาเซียนอื่นๆ ต่อไป

อีกบริการที่ขาดไม่ได้ คือการขยายช่องทางการโอนเงินระหว่างประเทศ โดยเน้นไปที่ลูกค้าบุคคลรายย่อยที่โอนเงิน 15 สกุลเงินผ่านเเอปพลิเคชัน KMA

ด้านลูกค้าธุรกิจนั้น กรุงศรีได้เชื่อมโยงกับภาครัฐในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของประเทศ เช่น การให้บริการยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ในส่วนของปีนี้ ก็มีการพัฒนาต่อยอดบริการ โดยเน้นไปที่การทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยรับ-จ่ายเงินได้สะดวกมากขึ้น สอดคล้องกับวิถีชีวิต New Normal ในช่วงโรคระบาด เช่น เเอปพลิเคชันสำหรับร้านค้า ที่มีชื่อว่า ‘กรุงศรี มั่งมีช้อป’ ขยายการชำระเงินด้วย QR Code เเละ e-Wallet เเละช่องทางรับเงินจากการขายผ่านเว็บไซต์

ทั้งนี้ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ฟังก์ชั่นธุรกรรมการเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ การจ่ายชำระค่าสินค้า “โดยมีปริมาณการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เเต่จำนวนเงินในแต่ละรายการต่ำลง” เนื่องจากผู้คนจ่ายเงินเพื่อซื้อของเล็กๆ น้อยๆ หลักสิบหลักร้อยกันมากขึ้น เพื่อลดการสัมผัสเงินสด

สำหรับลูกค้าธุรกิจขนาดกลางเเละรายใหญ่ มีการเชื่อมต่อโดยตรงกับระบบของลูกค้าได้เเบบ ‘เรียลไทม์’ รวมถึงการเชื่อมต่อกับการจัดซื้อของลูกค้าได้ เเละนำส่งรายงานต่างๆ ที่จำเป็นให้กับภาครัฐ อย่าง e-WHT , e-TAX Invoice เเละ e-Receipt

“เราต้องการลดขั้นตอนการทำธุรกรรมให้กับลูกค้า ให้ผู้ใช้สะดวกสบายมากขึ้น ลดการเซ็นเอกสาร ให้ลูกค้าสามารถใช้บริการได้ในเเพลตฟอร์มเดียว เเละเรียกดูรายงานได้ทุกที่ ทุกเวลา ได้รับประโยชน์ที่จับต้องได้”

 ด้านการขยายทีมงาน เพื่อพัฒนาด้านดิจิทัลของกรุงศรีนั้น นอกจากจะทุ่มงบเงินลงทุนในส่วนนี้มากขึ้นเเล้ว สิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญก็คือการ ReSkill เเละ UpSkill ขยายทักษะของบุคลากรที่มีอยู่ จัดเทรนนิ่งภายในบริษัท ให้พนักงานก้าวทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป


ความท้าทายของ ‘ดิจิทัลเเบงก์กิ้ง’

เมื่อพูดถึงเเนวโน้มตลาดดิจิทัลเเบงก์กิ้งในอาเซียน ยิ่งลักษณ์ มองว่า ตอนนี้ทุกประเทศมีความตื่นตัวในการใช้ดิจิทัลเพื่อการรับจ่ายเงินเพิ่มขึ้น เเต่การยอมรับเเละการนำไปใช้จริงในเเต่ละประเทศนั้น ‘จะไม่เท่ากัน’

ในส่วนของประเทศไทย ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.) เเละมีเเผนเเม่บทอย่างชัดเจน เเละมีความร่วมมือกับธนาคารกลางในประเทศอื่นๆ ด้วย อย่างอินโดนีเซีย สิงคโปร์ จุดนี้ทำให้เห็นว่า การขับเคลื่อนจากฝั่งรัฐบาลที่มาช่วยเสริมเอกชนนั้น ทำให้ดิจิทัลเเบงก์กิ้งในอาเซียนจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ได้เร็วขึ้น

“ความท้าทายในการยกระดับธุรกรรมการเงินในไทย ไม่ใช่เรื่องเทคโนโลยีหรือการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เเต่เป็นเรื่องของการยอมรับการใช้ ผู้บริโภครายเล็กจะยอมรับได้ง่ายกว่า เพราะโอนจ่ายในชีวิตประจำวันอยู่เเล้ว เเต่ภาคธุรกิจที่มีปริมาณธุรกรรมเยอะ จะคำนึงถึงระบบความปลอดภัย ความเเม่นยำ ข้อมูลสำหรับตรวจสอบ จึงเป็นความท้าทายในเเง่ของการประยุกต์ใช้”

ต่อไปนี้ เราคงได้เห็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเงินและระบบการชำระเงินให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สอดคล้องกับทิศทางการทำธุรกรรมการเงินผ่านดิจิทัลที่เติบโต ซึ่งส่งผลดีต่อผู้บริโภคอย่างเราๆ ที่จะได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยยิ่งขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

อ่านรายละเอียดบริการดิจิทัลเเบงก์กิ้งของกรุงศรี ได้ที่ www.krungsri.com

 

]]>
1351948