ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 28 Mar 2024 05:25:44 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 3 เทคนิคสร้างวินัยการออม สร้างพอร์ตให้โตได้ด้วย​ DCA ​ https://positioningmag.com/1468014 Thu, 28 Mar 2024 03:49:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1468014

โดยตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO Jitta Wealth

นักลงทุนระดับโลกอย่างปู่ Warren Buffett ได้กล่าวเอาไว้ว่า
“Successful investing takes time, discipline and patience.”
เป็นคำสอนนักลงทุนทั่วโลกอย่างง่ายๆ ว่าสิ่งที่จะทำให้การลงทุนของคุณประสบความสำเร็จ พอร์ตเติบโตได้นั่นก็คือ เวลา วินัย และความอดทน ​

กลยุทธ์การลงทุนที่มีองค์ประกอบครบทั้ง เวลา วินัยและความอดทน ทั้ง 3 สิ่งนี้รวมอยู่ในเรื่องของ Dollar cost Average (DCA) หรือการลงทุนแบบถั่วเฉลี่ยอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง

ดังนั้นหากจะพูดว่ากลยุทธ์การ DCA หรือเพิ่มทุนอย่างสม่ำเสมอในสินทรัพย์ที่ดีเป็นหนทางแห่งความสำเร็จในโลกการลงทุนก็คงจะไม่ผิดเพี้ยนมากนัก

การ DCA ถูกพิสูจน์มาแล้วว่าช่วยสร้างผลตอบแทนให้ดีขึ้นได้ โดยไม่ต้องจับจังหวะ​

และยังเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญมาก!

จนบางครั้งอาจจะชี้ชะตาว่าพอร์ตจะกำไรหรือขาดทุนได้เลย

แต่ผมเชื่อว่ายังมีนักลงทุนหน้าใหม่ที่กำลังละล้าละลัง ไม่กล้าที่จะเริ่มต้นลงทุน เพราะคิดว่าเงินทุนที่มีในมือจะน้อยเกินกว่าจะใช้สร้างกำไรได้

ผมอยากบอกตรงนี้เลยครับว่า คุณไม่จำเป็นต้องพะวงอะไรให้มากมายเลยครับ เพราะการลงทุนในสินทรัพย์ที่ดียิ่งเริ่มเร็ว ก็ยิ่งทำให้การลงทุนระยะยาวของคุณค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป แต่มีประสิทธิภาพได้

Photo : Shutterstock

ยิ่งในปัจจุบันการลงทุนเป็นเรื่องเข้าถึงง่ายและรวดเร็วขึ้น คุณไม่จำเป็นต้องรอเก็บเงินจนได้ก้อนใหญ่ มีเงินเพียงไม่กี่บาทก็สามารถเริ่มต้นลงทุนได้แล้ว และยิ่งหากคุณสร้างวินัยให้กับตัวเองด้วยการออมเงิน DCA ได้อย่างสม่ำเสมอจะยิ่งเห็นหนทางแห่งความสำเร็จที่รออยู่ข้างหน้าเลยครับ

หากคุณยังรู้สึกว่าการ DCA ทำได้ยาก หรือคิดหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้ DCA กลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น​อยู่

วันนี้ผมมี 3 เทคนิคง่ายๆ  ที่จะช่วยให้ DCA กลายเป็นเรื่องง่าย​ คุณสามารถเริ่มต้นออมเงินหรือ DCA ได้อย่างสม่ำเสมอ ทำอย่างไรตามไปดูกันได้เลยครับ

1. ทำงบรายรับ-รายจ่ายประจำเดือน

อาจจะฟังดูน่าเบื่อเพราะเป็นวิธีที่ถูกพูดถึงบ่อยๆ แต่ถ้าคุณทำได้คุณจะเข้าใจว่ามันสำคัญมากแค่ไหน

คุณไม่จำเป็นต้องมองหาสมุดบัญชีมาเริ่มต้นการบันทึกให้ดูยุ่งยากเลยครับ เมื่อคิดจะเริ่มแล้ว เพียงแค่หยิบมือถือที่คุณติดมืออยู่ขึ้นมาแล้วเริ่มการจดรายรับรายจ่ายของคุณใส่ในแอปโน๊ตธรรมดาๆ หรือจะเป็นแอปสำหรับรายรับรายจ่ายที่จะช่วยให้คุณบันทึกรายรับ-รายจ่ายอย่างสะดวกขึ้นก็สามารถทำได้ง่ายๆ ครับ

เพราะไม่ว่าจะจดที่ไหนก็ไม่สำคัญเท่ากับ ‘จด’ จริงๆ แค่คุณเริ่มทำแบบนี้สัก 2-3 เดือนคุณก็จะพอเห็นภาพชัดเจนขึ้นแล้วว่า ‘คุณหมดเงินไปกับอะไรบ้าง’

แน่นอนว่าถึงตอนนั้นมันจะช่วยให้คุณสามารถเลือกว่ารายการไหนที่ไม่จำเป็น ตัดได้ หรือตัดไม่ได้ แล้วเอางบส่วนนั้นมาใส่เป็นรายการ DCA เติมเข้าพอร์ตรายเดือนได้บ้าง

ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีนะครับ เพราะวิธีนี้จะทำให้คุณเห็นภาพมากขึ้นว่า คุณสามารถ DCA ได้เดือนละเท่าไหร่ ถ้าอยากเพิ่มจำนวนเงินจะทำอย่างไรได้บ้าง

Photo : Shutterstock

2. จ่ายแค่ไหน ออมเท่านั้น

ถ้ามีคนมาบอกว่า ‘คุณจะมีเงินออมมากขึ้น ถ้าคุณใช้มากขึ้น’ ฟังแล้วคุณอาจจะคิดว่า มันช่างย้อนแย้งจัง จะเป็นไปได้อย่างไร

แต่อย่าลืมว่าการใช้จ่าย ได้ช้อปปิ้งในสิ่งที่ชอบ ถือเป็นความสุขในชีวิตครับ

ดังนั้นคุณอาจจะไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต

แต่ใช้วิธีช้อปที่ช้อบชอบบบ มาช่วยออมเงินแทน

วิธีการก็คือ คุณต้องตั้งกฏให้กับตัวคุณเอง ‘ซื้อเท่าไหร่ ก็ออมเท่าที่ใช้ไป’

นอกจากจะเก็บเงินได้แล้ว คุณก็จะไตร่ตรองมากขึ้นก่อนช้อป และเมื่อมีเงินเก็บ คุณก็สามารถแบ่งเงินนั้นไป DCA ต่อได้บ่อยขึ้นด้วย

หรือคุณอาจจะตั้งกฏที่เบาลงไปหน่อยว่า ถ้าเดือนนี้ใช้เงินเกิน 5,000 บาท จะต้องโอนเงินเข้าพอร์ต 1,000 บาท ถ้าใช้เงินเกิน 10,000 บาท จะโอนเงินเข้าพอร์ต 5,000 บาท

พอร์ตของคุณก็จะงอกเงยขึ้นได้ด้วยเงินเพิ่มทุนเหล่านี้

นอกจากจะเก็บเงินได้แล้ว คุณก็จะไตร่ตรองมากขึ้นก่อนช้อป และเมื่อมีเงินเก็บ คุณก็สามารถแบ่งเงินนั้นไป DCA ต่อได้บ่อยขึ้น มากขึ้นแบบไม่รู้สึกผิดกับการใช้จ่ายครับ

Photo : Shutterstock

3. เก็บเงินตามสูตร 50/30/20

เทคนิคสุดท้ายของวันนี้ อาจจะเป็นสูตรที่ดูคุ้นตา แต่คุณต้องรู้ไว้ว่าหนทางการออมเงินที่เวิร์กที่สุดสำหรับหลายๆ คนคือ ‘ออมก่อนใช้’

การแบ่งเงินออกเป็นส่วนๆ เป็นเรื่องสำคัญมาก! สูตร 50/30/20 ก็เป็นหนึ่งในสูตรแบ่งเงินยอดฮิต

ง่ายๆ เลยครับ เมื่อเงินรายได้ของคุณเข้าบัญชีมา คุณก็แค่จัดแบ่งออกเป็นก้อนๆ ประมาณนี้

  • 50% สำหรับสิ่งที่จำเป็น (Need)
  • 30% สำหรับสิ่งที่ต้องการ (Want)
  • 20% สำหรับเก็บออม

และส่วนนี้ 20% นี้จะเป็นส่วนที่เราจะแบ่งสัดส่วนมันอีกทีก็ได้ว่า จะ DCA สำหรับพอร์ตลงทุนเท่าไหร่ และเหลือไว้เท่าไหร่สำหรับเป็นเงินเก็บฉุกเฉิน

ซึ่งสัดส่วนเหล่านี้ เป็นแค่ตัวอย่างเท่านั้นครับ คุณเองก็สามารถออกแบบตัวเลขในแต่ละส่วนของคุณได้ตามความเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ที่ต้องการ

แต่อย่าลืมว่าเมื่อได้สัดส่วนที่จะเอามา DCA แล้ว ทุกครั้งที่มีเงินเดือนหรือรายรับเข้ามาก็แบ่งเงินให้ชัดเจนก่อนนำไปใช้ หรือหากกลัวลืมผมเทคนิคง่ายๆ ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้กับตัวเองได้ อย่างเช่นการตั้งค่า DCA ในวันที่เงินเดือนออกก็สะดวกดี

ทุกวันนี้ก็มีหลายแอปการเงินที่ได้นำเทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยนักลงทุนให้สามารถเลือกตั้งค่า DCA ไว้แล้ว เช่นเดียวกับแอปของ Jitta Wealth ที่ได้พัฒนาฟีเจอร์การ DCA เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้า สามารถออมก่อนใช้ ช่วยให้คุณลงทุนอย่างมีวินัยและสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว

]]>
1468014
3 ทริคควรรู้ ก่อนเริ่มต้นลงทุน https://positioningmag.com/1465189 Tue, 05 Mar 2024 16:41:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1465189

โดย ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO จาก Jitta Wealth

ในโลกที่หมุนเร็วอย่างทุกวันนี้ การเข้าถึงเรื่องของการเงินการลงทุนแทบไม่มีอุปสรรคใดมาขวางได้ ผมเชื่อว่าผู้บริโภคหลายคนก็มีความสนใจและมองหาโอกาสลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีหรือที่เรียกว่า ‘ให้เงินทำงาน’

และแม้ว่าจะมีแอปพลิเคชันใหม่ๆ ออกมามากมายให้เลือกลงทุน แต่หลายคนก็ยังจดๆ จ้องๆ เพราะยังมีความรู้สึกลังเล กล้าๆ กลัวๆ ไม่แน่ใจว่าจะลงทุนอะไร อย่างไรดี สินทรัพย์ใด จะเหมาะสมกับความเสี่ยงที่เรารับได้จริงๆ หรือลงทุนเมื่อไร ให้ผลตอบแทนคุ้มค่า

ก็ไม่แปลกนะครับขึ้นชื่อว่าการลงทุน เราทุกคนอยากเห็นผลตอบแทนจากเงินที่นำไปลงทุน มากกว่าความเสียหายหรือเงินที่ลงทุนไปสูญเปล่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเราเองมีความพร้อมแค่ไหน และควรเอาเงินส่วนไหนมาลงทุนให้เหมาะสมและไม่เสี่ยงมากเกินไป เพื่อไม่ให้กระทบกับความมั่นคงในชีวิตการเงิน รวมไปถึงความมั่นคงของครอบครัวในอนาคต

วันนี้ผมอยากชวนทุกท่านมาเช็คความพร้อมก่อนการลงทุนกันด้วยวิธีง่ายๆ ลองทำความเข้าใจดูก่อนได้ครับ

Photo : Shutterstock

ข้อที่ 1: อย่าเพิ่งเริ่มลงทุน ถ้ายังออมเงินไม่เป็น

ในชีวิตของเราแทบทุกคน ย่อมจะมีเหตุการณ์หนึ่งที่ทุกคนจะต้องเจอเหมือนกัน คือเมื่อวันหนึ่งวันนั้นมาถึง วันที่พวกเราจะต้องเลิกทำงาน หรือที่เรียกว่าเกษียณอายุนั่นเอง บั้นปลายชีวิตแต่ละคนแตกต่างกันไปแน่นอนครับ เพราะความรู้และการเตรียมความพร้อมที่แตกต่างกัน

บางคนเตรียมตัวดี มีเงินเก็บไว้ใช้ก็ไม่ลำบาก แต่บางคนกลับไม่มีเลย ผมเชื่อว่าอย่างหลังเนี่ย หลายคนกลัวว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเอง จริงไหมครับ ผมไม่อยากเห็นคุณเอาแต่กลัวนะครับ ก่อนอื่น​ก่อนจะเริ่มต้นลงทุน ผมอยากให้คุณลองจัดระเบียบการเงินให้เป็นก่อน

เริ่มที่การดูแลกระแสเงินสด (cashflow)ให้เป็นบวกก่อนนะครับ

กระแสเงินสดหรือจะเรียกว่าสภาพคล่องที่มาในรูปแบบของเงินเก็บก่อนนะครับ เพราะถ้าคุณเริ่มต้นจากกระแสเงินสดติดลบ​ สภาพคล่องตึงตัว การลงทุนนั้นจะกลายเป็นการพนันทันที เพราะเราจะลงทุนด้วยความรู้สึกว่าอยากได้กำไรเร็วๆ กำไรเยอะๆ โดยไม่สนปัจจัยอื่นๆ เลย

แล้วคุณจะต้องทำอย่างไรให้มีเงินเก็บ…

คำตอบเดียวคือ ‘เก็บ’ สร้างวินัยให้กับการออมเงินเท่านั้นครับ

อาจจะตั้งระบบตัดจ่ายอัตโนมัติเช่น 10% ของรายได้ ไปเก็บไว้ในบัญชีเงินฝากดิจิทัลดอกเบี้ยสูง หรือฝากประจำก็ได้ หรือแบ่งเงินเป็นสัดส่วนตั้งแต่ต้นเมื่อมีรายได้เข้ามา แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ‘ขอแค่ให้เริ่ม‘ เท่านั้นครับ หลักการนี้คือเรื่องของ ‘วินัย’ ที่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการออมเงินหรือการลงทุนก็ต้องใช้หลักการนี้เช่นเดียวกัน

Photo : Shutterstock

ข้อที่ 2:  อย่าเพิ่งลงทุนถ้ายังไม่มี ‘ความรู้’

เพราะว่าความรู้ (Education) เป็นตัวเร่งให้เราได้รู้จักตัวเอง วางเป้าหมายปลายทาง และเรียนรู้เครื่องมือที่จะพาไปถึงเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและไม่หลงทาง ยิ่งถ้าหากคุณสามารถทำความเข้าใจธรรมชาติของเครื่องมือ คุณก็จะลงทุนได้แบบไม่ต้องกังวล

เหมือนอย่างตลาดหุ้น ในระยะสั้นย่อมมีความผันผวน เหวี่ยงขึ้น เหวี่ยงลงเป็นระยะ แต่เมื่อคุณถอยออกมามองภาพใหญ่ มองระยะยาวจะเห็นได้ว่า ตลาดหุ้นมักจะเป็นขาขึ้นมากกว่าขาลงเสมอๆ

แต่อย่าเป็นเด็กเรียนมากไปนะครับ บางคนมีความเชื่อว่า ก่อนจะลงทุนได้ก็ต้องมีความรู้เรื่องธุรกิจก่อน ถึงจะเริ่มต้นลงทุนได้ แต่ความจริงแล้วไม่จำเป็นต้องรู้ทั้งหมดก็เริ่มต้นได้ครับ เพราะถ้าต้องรู้ทั้งหมด คุณก็จะไม่มีวันได้ลงทุนอย่างแน่นอน ค่อยๆ ลงทุนไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้น่าจะดีกว่าครับ

ข้อที่ 3: มองการลงทุนให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

ลงทุนทั้งที ต้องรู้สึกเป็นหุ้นส่วน มองว่าคุณเป็นเจ้าของหุ้นหรือธุรกิจนั้นๆ ให้คิดว่าคุณจะทำอย่างไรให้ธุรกิจที่เราลงทุนเติบโต มีรายได้ดี สร้างกำไรให้กับคุณ และอะไรส่งผลกระทบกับธุรกิจของคุณบ้าง มากกว่าการหวังแค่เสี่ยงโชค แบบซื้อหุ้นแล้วจะอธิษฐานให้ธุรกิจเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ

ก่อนจะเลือกลงทุนในสักบริษัทคุณจะต้องเข้าใจ 4 สิ่งนี้ด้วยกัน

  1. มีความรู้พื้นฐานด้านการเงินพอที่จะอ่านงบการเงินเป็น
  2. รู้จักสินค้าและโมเดลธุรกิจของบริษัทที่เราลงทุน
  3. เข้าใจความเสี่ยงของบริษัท
  4. รู้จักปัจจัยภายนอกทั้งการเมือง เศรษฐกิจ หรือสภาพสังคมไว้บ้าง
Property investment and mortgage financial concept.

ซึ่งเดี๋ยวนี้ ยิ่งมีเทคโนโลยีเข้ามา ทำให้การลงทุนนั้นง่ายกว่าเดิม อย่างเช่นงบการเงินย้อนหลัง ที่คุณสามารถดูได้บนเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีให้เลือกมากมาย และบางแห่งสามารถเปิดดูได้ผ่านแอปพลิเคชันบนมือถืออย่างของ Jitta.com เองก็มีข่าวสารข้อมูลของบริษัททั่วโลกให้คุณเข้ามาดูได้อย่าง real-time ช่วยให้คุณเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายมากขึ้นและสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วทันเวลา

เท่านี้คุณก็มีพื้นฐาน​ความรู้และเครื่องไม้เครื่องมือเพียงพอที่จะเลือกได้แล้วว่าคุณจะลงทุนในกิจการของบริษัทใดบ้าง ซึ่งหลังจากเลือกและลงทุนไปแล้ว สิ่งต่อไปที่คุณต้องมีคือ ‘วินัย’ ลงทุนไปเรื่อยๆ ไม่เดาตลาดหุ้น และต้องทบทวนและปรับพอร์ตให้เป็นระบบ

‍‍สุดท้ายแล้ว เวลาที่ดีที่สุดในการลงทุนก็คือ ‘วันนี้’ เริ่มตั้งแต่ตอนนี้ ก่อนจะสายเกินไป เพราะฤกษ์ดีคือเลิกรอนะครับ ส่วนความกลัว ผมบอกได้เลยว่ามันกำจัดง่ายมาก ด้วยการลงมือทำและเรียนรู้ไปกับมันด้วยสติครับ

ขอให้ทุกท่านมีความสุขและประสบความสำเร็จในโลกการลงทุนนะครับ

]]>
1465189
3 ทริก ตั้งเป้าหมายการลงทุน https://positioningmag.com/1461542 Mon, 05 Feb 2024 06:30:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1461542

โดย ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO Jitta Wealth

ในทุกๆ ครั้ง ก่อนที่คุณจะขับรถ หรือเริ่มออกเดินทางไปที่ไหนสักแห่ง หรือลงมือทำอะไรสักอย่าง การที่คุณรู้ว่าคุณจะมุ่งหน้าไปที่ไหน หรือทำสิ่งๆ นั้นไปเพื่ออะไร เป็นเรื่องที่สำคัญจริงไหมครับ

เส้นทางของการลงทุนก็เช่นเดียวกัน

เริ่มต้นปีใหม่แบบนี้ นอกจากจะเซตเป้าหมายชีวิตแล้ว คุณควรเริ่มกำหนดเป้าหมายการลงทุนไปด้วยพร้อมกัน

วันนี้ผมอยากจะพาคุณมาเรียนรู้เรื่องการกำหนดเป้าหมายการลงทุนของตัวเองก่อนจะเริ่มต้นลงทุน เพื่อให้คุณรู้ว่าควรเตรียมตัวยังไง วางกลยุทธ์แบบไหน เพื่อพิชิตเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพราะการมีเป้าหมายนั้นสำคัญ

​การกำหนดเป้าหมายจะช่วยให้จิตใจคุณเข้มแข็งขึ้น เพราะคุณจะสามารถเตรียมใจว่าจะต้องเจอกับอะไรบ้างที่รออยู่ข้างหน้า และวางกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อพิชิตเป้าหมายนั้น เมื่อคุณได้เตรียมตัวเตรียมใจและมีความพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นระหว่างทางแล้ว แม้ในบางครั้งที่คุณอาจจะรู้สึกท้อบ้าง แต่การมองไปที่เป้าหมายและเห็นว่าเราเดินมาไกลแล้ว หรือยิ่งกว่านั้นคือรู้ว่าใกล้จะถึงเส้นชัย มันก็จะช่วยให้คุณมีแรงฮึดสู้ได้ไม่น้อยเลย     ​

การลงทุนก็เช่นกันครับ หากคุณตั้งเป้าหมายไว้ที่การลงทุนระยะยาว คุณก็จะสามารถเตรียมใจรับมือกับความผันผวนในระยะสั้นได้ พร้อมทั้งเตรียมตัวโดยการเดินหน้า DCA เพื่อถัวเฉลี่ยต้นทุนรับมือความผันผวนที่เกิดขึ้น และมุ่งหน้าสู่เป้าหมายต่อไป

ดังนั้นก่อนจะเริ่มลงทุน เรามาลองตั้งเป้าหมายกันก่อนครับ

การกำหนดเป้าหมายด้วยความเสี่ยง

ผมแนะนำให้คุณเริ่มต้นจากสำรวจระดับความเสี่ยงที่ตัวเองรับไหวก่อน

เพราะหากคุณกำหนดเป้าหมายไปเลยโดยที่ไม่รู้ว่ามีความเสี่ยงแบบไหนรออยู่ เมื่อคุณลงทุนได้สักระยะ แล้วต้องเจอกับความเสี่ยงที่สูงเกินกว่าคุณจะรับมือได้ อาจทำให้คุณต้องยอมแพ้และล้มเลิกการลงทุนนั้นไปอย่างน่าเสียดาย

ดังนั้น หากคุณรู้ว่าตัวเองสามารถรับความเสี่ยงได้แค่ไหน ก็สามารถตั้งเป้าหมายบนระดับความเสี่ยงที่รับได้ เพื่อจะได้มองหาเส้นทางหรือกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสม​และไปถึงได้จริง อาทิเช่น

หากคุณรับความเสี่ยงได้น้อย ก็ลองตั้งเป้าผลตอบแทน 2-5% แล้วลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงน้อยๆ อย่างตราสารหนี้ เช่น หุ้นกู้ พันธบัตร ก็จะทำให้คุณอุ่นใจและไม่เครียดเกินไป

แต่หากคุณคิดว่าคุณสามารถรับความเสี่ยงได้ปานกลาง ก็สามารถตั้งเป้าผลตอบแทนระดับกลางๆ 5-8% และสามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงสูงขึ้นอย่างการลงทุนในกองทุนรวม ที่มีทั้งหุ้น และตราสารหนี้

หากคุณอายุยังน้อยหรือใจถึงมากพอที่จะรับความเสี่ยงได้สูง ผมแนะนำให้ลองตั้งเป้าผลตอบแทนได้มากกว่า 8%  และเลือกสินทรัพย์เสี่ยงได้เต็มที่มากขึ้น อย่างลงทุนในตราสารทุน เช่น หุ้นต่างๆ

กำหนดเป้าหมายด้วยระยะเวลา

อีกวิธีในการกำหนดเป้าหมายคือนำเรื่องของ ‘เวลา’ มาเป็นเกณฑ์ กล่าวคือคุณต้องสำรวจตัวเองว่าต้องการลงทุนเป็นระยะเวลานานเท่าไหร่ จากนั้นจึงตั้งเป้าหมายให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่คุณสามารถทำได้

เช่นหากคุณต้องการลงทุนระยะสั้นๆ ไม่เกิน 1 ปี คุณอาจต้องกลับมามองถึงข้อจำกัดเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น ระยะเวลาการสร้างผลตอบแทนของสินทรัพย์นั้นๆ ที่จำกัด รวมถึงความเสี่ยง และค่าธรรมเนียมที่อาจเพิ่มขึ้น

เช่นต้องการลงทุนระยะสั้น ไม่เกิน 1 ปี แต่ไม่อยากรับความเสี่ยงที่สูง ก็อาจคิดมากหน่อยว่าใน 1 ปีนั้นสินทรัพย์ที่เราลงทุนต้องไม่ผันผวนมากนัก ก็ต้องลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น

หรือหากสามารถรับความเสี่ยงได้ก็อาจลงทุนในหุ้นกลุ่มเติบโตที่มีความผันผวนของราคาสูง ซึ่งก็มีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินต้นสูงเช่นกัน

หากมีเวลาลงทุนระยะกลาง 1-3 ปี ก็จะมีสินทรัพย์ให้เลือกลงทุนได้หลากหลายมากขึ้น ความเสี่ยงต่ำกว่าระยะสั้น มีระยะเวลาสร้างผลตอบแทนมากขึ้น แต่ก็ต้องวางแผนให้รัดกุมเช่นกัน

แต่ถ้าคุณหนักแน่นพอ ควรเลือกการลงทุนที่มีเป้าหมายระยะยาว 5 ปีขึ้นไป เพราะจะความเสี่ยงต่ำลง และมีทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลายมากขึ้น สามารถปล่อยให้สินทรัพย์ค่อยๆ สร้างผลตอบแทน แต่อย่างว่านะครับ ระหว่างทางจะมีข่าวสารต่างๆ มากระทบจิตใจได้บ้าง ดังนั้นนักลงทุนที่เลือกเส้นทางนี้ต้องมีความหนักแน่นมากทีเดียว

กำหนดเป้าหมายด้วยวัตถุประสงค์การใช้เงิน

การลงทุนเพื่อเป้าหมายอะไรสักอย่าง จะทำให้คุณสามารถมองหาการลงทุนที่เหมาะสมได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านระยะเวลา หรือความเสี่ยง รวมทั้งสามารถกำหนดกลยุทธ์เพื่อให้สามารถไปถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

ทั้งนี้เป้าหมายนั้น จะต้องเป็นสิ่งที่คุณสามารถทำได้จริงบนระยะเวลาที่มี ดังนั้นสำรวจและถามใจตัวเองไปเลยครับว่าลงทุนครั้งนี้มีไปเพื่ออะไร และคุณจะต้องใช้เวลาเท่าไหร่ บนการลงทุนแบบไหนเพื่อบรรลุเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น ลงทุนเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้ลูก

แน่นอนว่าคุณต้องการรูปแบบการลงทุนที่ค่อนข้างมั่นคงพอที่จะส่งลูกเรียนได้ระยะยาว ก็ต้องมองการลงทุนที่ความเสี่ยงน้อยลงมาหน่อย บนระยะเวลาที่จะต้องใช้เงินก้อนนั้น หรือลงทุนเพื่อเก็บเงินไว้ใช้ยามเกษียณ

นอกจากเรื่องระยะเวลาและความเสี่ยง อาจต้องเพิ่มทุนอย่างสม่ำเสมอ (DCA) เพื่อให้พอร์ตเติบโตได้ไวขึ้น เพื่อให้เงินต้นค่อยๆ เติบโต เพียงพอสำหรับอนาคต เมื่อถึงวันที่เราไม่มีรายได้ใหม่เข้ามาเติมพอร์ต

ที่สำคัญต้องกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน และไม่ล้มเลิกกลางคัน หรือเข้าๆ ออกๆ จากตลาด

แต่ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเป้าหมายแบบใด แต่เป้าหมายต้องมีความเป็นไปได้ สอดคล้องกับความเป็นจริงและดูสมเหตุสมผล พร้อมกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เพื่อให้นักลงทุนสามารถจัดลำดับความสำคัญของแต่ละเป้าหมายได้

เมื่อได้เป้าหมายแล้วเราถึงจะมองหากลยุทธ์ที่เหมาะสม เตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมเงินให้พร้อม

และในระหว่างที่ก้าวเดินไปสู่เป้าหมาย อย่าลืมทบทวนตัวเอง ว่าเรายังคงเดินอยู่บนเส้นทางที่ถูกต้องอยู่เสมอ

มองเป้าหมายเป็นเส้นชัย เก็บเกี่ยวประสบการณ์ระหว่างทาง เพื่อเดินหน้าไปสู่เป้าหมายที่ท้าทายยิ่งขึ้นต่อไป

มีเป้าหมายแล้ว กลยุทธ์พร้อม ใจพร้อม คุณทำได้!

ปี 2567 นี้ตั้งเป้าอะไรไว้ และตอนนี้คุณมาได้ไกลแค่ไหน อย่าลืมมาแชร์กันนะครับ

]]>
1461542
ล้างอาถรรพ์ให้โลกลงทุน พอกันทีกับพอร์ตต้องคำสาป https://positioningmag.com/1449647 Mon, 30 Oct 2023 13:20:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449647

โดย ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO Jitta Wealth

ช่วงใกล้วันฮาโลวีนแบบนี้ นักลงทุนอาจจะกำลังสัมผัสกับเรื่องหลอนๆ ในโลกการลงทุน หรือความลี้ลับบางอย่างที่ทำให้เราไม่ว่าจะลงทุนอย่างไร พอร์ตก็แดงวนไป  ทำอย่างไรก็ไม่กำไรอยู่ดี 

คิดไปคิดมา คุณเป็นนักลงทุนที่ต้องคำสาป หรือพอร์ตคุณกำลังต้องคำสาปกันแน่ แล้วเราจะล้างอาถรรพ์ที่แฝงอยู่กับพอร์ตลงทุนได้อย่างไรกัน

วันนี้ผมจะชวนมาร่วมไขปริศนาเกี่ยวกับอาถรรพ์ และเรื่องราวของ ผี วิญญาณ และคำสาป พร้อมวิธีป้องกัน ที่อาจจะทำให้การลงทุนของคุณไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป..

โลกนี้อาจมีสิ่งลึกลับที่มองไม่เห็น… เข้ามามีบทบาทกับชีวิต หรือแม้กระทั่งการลงทุนโดยที่คุณไม่รู้ตัว…

วิญญาณ อาถรรพ์ และคำสาป เป็นเรื่องราวที่อยู่คู่กับวัฒนธรรมของมนุษย์เรามาอย่างยาวนานครับ ไม่ว่าจะเป็นทวีปใด หรือมุมไหนของโลก ล้วนต้องมีเรื่องลึกลับ หาคำตอบไม่ได้ ไปจนถึงสยองขวัญจนไม่อยากหาคำตอบเป็นส่วนประกอบเสมอ

ในโลกการลงทุนก็มีเรื่องน่ากลัวเช่นนี้อยู่เหมือนกันครับ… แต่มันจะเป็นไปในลักษณะไหน ผมจะพาคุณเปิดสัมผัสที่หก แล้วเผชิญหน้ากับเรื่องนี้ไปพร้อมๆ กันครับ

ยินดีที่ (ไม่) รู้จัก ‘ผี’

ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2554 คำว่า ‘ผี’ มีไว้ใช้เรียกคนที่ตายไปแล้ว และหมายถึง สิ่งที่มนุษย์เชื่อว่าเป็นสภาพลึกลับ มองไม่เห็นตัว แต่อาจจะปรากฏเหมือนมีตัวตนได้ อาจให้คุณหรือโทษ มีทั้งดีและร้าย

หลายคนในที่นี้คงได้รับการสะกดจิตมาตั้งแต่เริ่มจำความได้ ว่าผีคือสิ่งที่น่ากลัว ​หลายคนบนโลกนี้กลัวผี ทั้งที่บางคนอาจจะไม่เคยเห็นหรือสัมผัสด้วยซ้ำ…

ไม่ใช่แค่คนไทยที่พูดถึงเรื่องผีๆ เราจะเห็นได้ว่า ‘ผี’ มีลักษณะแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมครับ อย่างทางฝั่งยุโรปผีจะมีลักษณะเป็นปีศาจไล่ฆ่าคน เช่น ปีศาจสับหัว (The Headless Horseman) ที่เป็นบุรุษขี่ม้าสีดำและไม่มีหัว ไล่สังหารผู้คนโดยการตัดศีรษะ

Etf
Photo : Shutterstock

ทางฝั่งเอเชีย ผีมักมาในลักษณะของวิญญาณที่มีความคับแค้นใจจากการเสียชีวิตอันน่าเศร้า มักไปสิงร่างคน หรือกระตุ้นจิตใจให้ทำเรื่องไม่ดี ไปจนถึงขั้นพรากชีวิตของคนที่ถูกเล่นงาน

ในโลกการลงทุนก็มีวิญญาณหลอนที่คอยมาสร้างความหวาดกลัวให้กับนักลงทุนเป็นระยะครับ ไม่ว่าจะเป็น วิญญาณ “ข่าวร้าย” วิญญาณ “เงินเฟ้อ” วิญญาณ “เงินฝืด” วิญญาณ “ดอกเบี้ย” วิญญาณ “ภาษี”​ เผลอๆ อาจจะน่ากลัวกว่าเจอผีจริงๆ เสียอีกนะครับ

เพราะถ้ามีวิญญาณเหล่านี้เข้ามาเมื่อไหร่ เมื่อคุณเปิดดูพอร์ต คุณอาจจะมีความรู้สึกขนหัวลุก เหมือนมีลมเย็นๆ พัดผ่านหลังคอให้เย็นวาบ ส่วนบางคนที่จิตอ่อน คุณอาจได้ยินเสียงกระซิบที่คอยบอกว่า ขาย ขาย ขาย ขาย…

และวิญญาณเหล่านี้ มักเป็นตัวแทนของความทรงจำที่เลวร้าย แม้ว่าเหตุการณ์นั้นจะเป็นอดีตไปแล้ว แต่ความทรงจำยังคงติดอยู่กับเรื่องราว และคอยตามหลอกหลอนเราอยู่เรื่อยไป

ใครที่เคยติดดอยหรือขายหมูสักครั้ง จะซื้อจะขายหุ้นแต่ละทีคงเสียวสันหลังไม่น้อยเลยใช่ไหมครับ

ไสยศาสตร์และการลงทุน

ที่ร้ายแรงกว่าการมีวิญญาณมาล่อลวงจิตใจ คือคุณก้าวเข้าสู้ด้านมืดด้วยตัวเอง…โดยการลงทุนใน ‘หุ้นผีบอก’

‘ผีบอก’ เป็นคำที่เรามักได้ยินในบริบทของ ‘ยาผีบอก’ ครับ สูตรยาที่ไม่มีที่มาที่ไป มีเพียงสรรพคุณเลิศเลอ

ตลาดหุ้นที่ขับเคลื่อนด้วย ‘ความหวัง’ นี่เองจึงเป็นบ่อเกิดของ ‘หุ้นผีบอก’ ครับ

หุ้นที่ไม่มีที่มาที่ไปแน่ชัดสักเท่าไหร่ แต่กลับถูกพูดถึงต่อๆ กันในวงกว้างว่ามีโอกาสจะทำกำไรได้เท่านั้นเท่านี้ ซึ่งพอมีการยืนยันจากหลายปากหลายเสียง ก็ทำให้ข่าวหุ้นตัวนั้นดูน่าเชื่อถือขึ้นมาเสียอย่างนั้น

Photo : Shutterstock

พอข่าวเรื่องหุ้นตัวนี้เริ่มมีการกระจายออกไปมากเข้า คนที่ได้รับข่าวหลังๆ จะรู้สึกว่ามันน่าเชื่อถือ เพราะถูกยืนยันมาจากหลายๆ แหล่ง ทั้งที่จริงๆ แล้วมันมาจากแหล่งเดียวนั่นแหละครับ

หากโชคดีผีผลักก็จะได้กำไร แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นผีซ้ำด้ามพลอย พากันขาดทุนเป็นแถบๆ

การลงทุนแบบไม่มีหลักการ หวังพึ่งแต้มบุญ และหวังว่าหุ้นผีบอกที่ลงไปจะต้องทำกำไรแน่ๆ มักจบด้วยการบาดเจ็บขาดทุนจนต้องออกจากตลาดไป

และหากคุณถลำลึกวนเวียนอยู่แต่กับหุ้นผีบอก หรือลงทุนแบบพึ่งดวง ก็อาจทำให้พอร์ตของคุณติดอาถรรพ์สีแดง ทำยังไงก็ไม่กำไรสักที

ล้อมสายสิญจน์ รดน้ำมนต์ให้พอร์ตลงทุน

ใจเย็นๆ นะครับ อย่าเพิ่งรีบแต่งตัวเตรียมไปหาหมอผี หรือหมอธรรมะที่ไหน เพราะวิธีแก้ คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเอง

วันนี้ผมมีวิธีแก้อาถรรพ์มาบอกครับ…

หาก วิญญาณร้าย มาทำให้จิตใจที่แข็งแกร่งของคุณหวั่นไหว คอยมากระซิบให้คุณขายหุ้นดีๆ ทิ้ง เพราะแค่ราคาผันผวนจากภาวะตลาด หรือฉุดรั้งไม่ให้คุณลงทุน จริงๆ แล้วอาจมาจากจิตใต้สำนึกของคุณเองก็ได้ครับ

เมื่อต้องเลือก ย่อมเกิดความลังเล และความกลัวขึ้นมาเป็นเรื่องธรรมดา น้ำมนต์ที่เราจะใช้ไม่ต้องไปหาที่ไหนไกลครับ สามารถใช้น้ำสะอาดสำหรับล้างหน้า หรือน้ำเย็นๆ สักแก้วมาดื่มสักหน่อย

เรียกสติของตัวเองกลับมาให้มากที่สุดครับ หยุดคิดและวิเคราะห์ให้รอบคอบถึงโอกาสและความเสี่ยง สิ่งที่จะได้และอาจต้องเสียไป หากคุณตัดสินใจลงมือทำอะไรสักอย่าง เช่น การขายหุ้นในพอร์ต

Photo : Shutterstock

จากนั้นค่อยเสริมด้วยหลักการลงทุนดีๆ ที่จะทำให้คุณมองเห็นวิธีการ และมุมมองที่กว้างมากขึ้น

ส่วนวิธีแก้อาถรรพ์พอร์ตจาก หุ้นผีบอก คือเริ่มจากปรับเปลี่ยนนิสัยการลงทุนครับ จากที่เอาแต่เฝ้าติดตามข่าวอย่างเดียว เปลี่ยนเป็นคอยศึกษาพื้นฐานของกิจการควบคู่ไปด้วยครับ

หลีกเลี่ยงเหตุผลในการซื้อขายหุ้นที่ว่า ‘ใครๆ ก็บอกอย่างนั้น’

แค่นี้หุ้นผีบอกก็ทำอะไรคุณไม่ได้แล้วครับ

คาถานักลงทุนระยะยาว ไล่พอร์ตแดงไปจากชีวิต

การลงทุน ต้องมีสติ มีเหตุและผล

การลงทุน ต้องเข้าใจ มีเหตุและผล

การลงทุน ต้องมองไกล มีเหตุและผล

คำภีร์หรือบทสวดอาจไม่ได้เท่าสติ ความรู้ และหลักการลงทุนที่ดีครับ

]]>
1449647
ให้ Barbie เปิดโลกการลงทุน https://positioningmag.com/1442109 Thu, 24 Aug 2023 03:11:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1442109

บทความโดย ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO Jitta Wealth
ตั้งแต่ภาพยนตร์ Barbie เปิดตัวในเดือน ก.ค. ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ติดอันดับที่ 1 บนตาราง Box Office สหรัฐฯ ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ จนถึงตอนนี้กวาดรายได้ทั่วโลกรวมแล้วกว่า 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้ในช่วงเปิดตัวสูงสุดในประวัติศาสตร์ของ Warner Bros. เป็นรองเพียงภาพยนตร์ Harry Potter and the Deathly Hallows: Part 2 ​ซึ่งก็คาดได้ว่าจะขึ้นแท่นอันดับ 1 ได้ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

ว่ากันว่ากระแสที่ดังเปรี้ยงปร้างครั้งนี้ทำให้นักแสดงนำ และโปรดิวเซอร์อย่าง Margot Robbie จะได้รับเงินค่าจ้างบวกกับเงินโบนัสก้อนใหญ่ถึง 50 ล้านดอลลาร์ หรือราว 1.7 พันล้านบาทขึ้นแท่นผู้กำกับหญิงที่มีรายได้สูงสุดในประวัติศาสตร์

รายได้ดีจนประธาน Fed อย่าง JeromePowell พูดว่า “Barbie (รวมไปถึง คอนเสิร์ตของ Taylor Swift) ส่งผลต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง”

คาดไม่ถึงเลยใช่ไหมครับว่าอุตสาหกรรมของเล่นและธุรกิจบันเทิง จะมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจได้ขนาดนี้

หรือนี่จะเป็น โอกาสลงทุน ได้ไหมนะ?

ผมไม่ได้พูดเล่นนะครับ อย่าลืมว่า ในสนามการลงทุนมีเรื่องให้คาดไม่ถึงอยู่เสมอครับ อะไรที่อยู่รอบๆ ตัวเราอาจจะเป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นที่ดีก็ได้…

เช่นเดียวกับภาพยนตร์ Barbie ที่นำเสนอเรื่องราวจากคำถามที่ว่า ถ้าบาร์บี้มาอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง แล้วจะเป็นอย่างไร?

Photo : Shutterstock

ซึ่งกระแสในโซเชียลมีเดียแสดงให้เห็นแล้วว่า Barbie อาจจะไม่ใช่ภาพยนตร์สีชมพูโลกสวยแบบที่ใครหลายคนคิด

ในโลกของการลงทุนก็เช่นกัน ขอแค่คุณยึดในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง เลือกหุ้นคุณภาพดี ราคาที่เหมาะสม กระจายความเสี่ยงและรีวิวพอร์ตสม่ำเสมอ ก็เป็นหลักในการก้าวย่างที่ดีแล้วครับ

เอาล่ะครับ ผมจะพาไปส่องอีกว่า Barbie ในโลกการลงทุน เป็นอย่างไร? เผื่อว่าคุณอาจเจอโอกาสลงทุนในหุ้นดีๆ ก็ได้ครับ ​

คงหนีไม่พ้นที่จะต้องพูดถึงบริษัท Mattel ผู้ผลิตตุ๊กตา Barbie จะได้รับผลบวกจากกระแสที่ดีครั้งนี้อย่างไร

หากย้อนไป 64 ปีที่แล้ว หรือตั้งแต่ปี 2502 ที่บริษัท Mattel ผู้ผลิตตุ๊กตารายใหญ่ของโลก เปิดตัว  Barbie เป็นครั้งแรก ก็ทำให้ยอดขายตุ๊กตาทั้งหมดของบริษัท Mattel มากกว่าครึ่งมาจากยอดขาย ตุ๊กตา Barbie ดังนั้นการเปิดตัวของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญ ที่จะดันธุรกิจของ Mattel ก้าวไปอีกระดับก็เป็นได้ เพราะใครจะรู้ว่าเวลานี้ Mattel เอง กำลังมีแผนธุรกิจอะไรอยู่อีกรึเปล่า?

ความฮือฮาที่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ

Reconteur ให้ข้อมูลที่น่าสนใจไว้ว่า จริงๆ Mattel ได้ทุ่มเงินกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการทำการตลาดให้กับแผนก Barbie ในปีนี้ และตามรายงานของ Media Radar นี่ยังถือเป็นก้าวสำคัญก้าวแรกในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจจากบริษัทผู้ผลิตของเล่นสู่สนามจำหน่ายทรัพย์สินทางปัญญาอีกด้วย ซึ่งแผนธุรกิจนี้ถูกเซตขึ้นโดย Ynon Kreiz CEO ของ Mattel

เราอาจจะได้เห็นภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับของเล่นในตำนาน ของเล่นสร้างชื่อจาก Mattel ออกมาให้เห็นอีกมากมายในอนาคต

cof

แต่ Barbie จะเป็นมากกว่าของเล่น

ข้อมูลจาก Bloomberg ระบุว่า ความต้องการของเล่นเคยพุ่งสูงขึ้นในช่วงโรคระบาด Covid-19 แต่เมื่อการระบาดสงบลงอุตสาหกรรมนี้ก็เงียบเหงาลงตาม รวมไปถึงภาวะเงินเฟ้อ และเศรษฐกิจตกต่ำก็เข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อสินค้าต่างๆ ด้วย

ฐานลูกค้าของตุ๊กตาบาร์บี้มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 3-8 ปีครับ แต่ถ้าใครดูภาพยนตร์ไปเรียบร้อยแล้ว หรือถ้าดูแค่ Teaser ก็คงจะเห็นว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้กลับไม่ได้สร้างมาให้เด็กด้วยซ้ำ เพราะมันเป็นแผนดึงดูดให้ผู้ใหญ่ซื้อตุ๊กตาเหล่านี้ให้เด็ก หรือแม้กระทั่งหวนนึกย้อนไปถึงของเล่นในอดีตจนอาจจะอยากซื้อมาเล่นอีกรอบก็ได้ครับ

I’m a Barbie girl in investment world… โลกลงทุนที่ไม่มีสีชมพู

แผนธุรกิจของ Mattel เรียกว่าเป็น ‘อนาคต’ ที่น่าจับตามองมากเลยครับ ซึ่งถ้ามันเกิดขึ้นได้จริง ตอนนี้ก็อาจจะเป็นโอกาสในการลงทุนก็ได้ใช่ไหมครับ

แต่การจะลงทุน ต้องดูให้รอบด้านครับ

ดังนั้นก่อนจะไปถึงจุดนั้น ผมจะพาไปส่องดูกันก่อนดีกว่าครับว่า พื้นฐานของหุ้น Mattel ในเวลานี้เป็นอย่างไรบ้าง

หากคุณลองเข้าไปส่องข้อมูลใน Jitta.com คุณจะเห็นได้ว่าราคาปัจจุบันของหุ้นตัวนี้อยู่ต่ำกว่า Jitta Line ถึง 34.84% ครับ แต่ถ้าเลื่อนสายตาไปที่ Jitta Score หุ้นตัวนี้มีคะแนนที่ 4.24 คะแนนเท่านั้น

barbie

เจาะลึกงบการเงินด้วย Jitta

เราลองมาดูงบการเงินของ Mattel กันครับ โดยคุณสามารถอ่านได้ที่ Jitta เลย เพียงเลื่อนเมาส์ไปที่ Factsheet ก็จะเห็นตารางงบการเงินย้อนหลังที่อ่านง่ายและสบายตา ไม่ต้องไปนั่งทำเอาเองครับ ​

ตัวเลขที่น่าสนใจ

  •  รายได้ค่อนข้างคงที่ ไม่ได้มีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ มีเพียงปี 2564 ที่รายได้โตกว่า 18.9%
  •  ด้านคุณภาพของกำไรดูได้จาก รายได้รวม บริษัทขาดทุน 3 ปีติดต่อกันในปี 2560-2562
  •  วงจรเงินสด ในปี 2565 ตัวเลขวงจรเงินสดกระโดดไปที่ 110 วัน จากระดับ 80-90 วันเมื่อเทียบกับงบการเงินในช่วง 3-5 ปีย้อนหลัง แสดงให้เห็นว่าบริษัทอาจจะสูญเสียอำนาจต่อรองกับลูกค้าหรือซัพพลายเออร์ รวมไปถึงอาจจะมีการสต๊อกสินค้าที่มากขึ้น

ยังมีตัวเลขอีกมากมายใน Factsheet ของ Jitta ที่รอให้คุณไปหาคำตอบเพิ่มเติมได้ที่นี่  jitta.com/stock/nasdaq:mat/factsheet

เรียนรู้อดีต ไม่ตัดสินอนาคต

แม้ว่าคะแนน Jitta Score ของ Mattel จะอยู่ต่ำกว่า 5 แต่การเปลี่ยนผ่านธุรกิจครั้งนี้ก็ถือเป็นความสำเร็จอย่างมากครับ นอกจากจะเป็หนังทำเงินมากที่สุดแห่งปี 2566 แล้ว ยังล้มแชมป์เก่าอย่าง The Batman และหายใจรดต้นคอภาพยนตร์  Harry Potter and the Deathly Hallows: Part 2 ล่าสุดกวาดรายได้จากเฉพาะในสหรัฐอเมริกาได้ 526.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และรายได้ Box Office จากพื้นที่ทั่วโลกอีก 657.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

หากคุณสนใจ หรือคิดว่านี่อาจจะเป็นโอกาสการลงทุนที่น่าติดตามต่อ คุณสามารถติดตามหุ้นบริษัท Mattel ผ่านการกด Follow ให้ทันทุกการเคลื่อนไหวได้เลยครับ ​

หุ้นดีๆ หรือ โอกาสลงทุน อยู่รอบตัวเรา ครั้งหน้าถ้าเจออะไรน่าลงทุน ก็ลองใช้ Jitta ดูได้แบบฟรีๆ เลยนะครับ ไม่แน่นะครับ คุณอาจเจออัญมณีสีชมพูที่ซ่อนอยู่ในตลาดการลงทุนก็ได้ครับ

]]>
1442109
ลงทุนจน ‘หยดสุดท้าย’ สไตล์ปู่ Buffett ตัวอย่างการวางแผนการเงินที่คุณเลียนแบบได้ https://positioningmag.com/1436287 Tue, 04 Jul 2023 08:05:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1436287
บทความโดย ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO Jitta Wealth
ผมพูดถึงเรื่องราวของการวางแผนทางการเงินมาหลายตอนแล้ว  หลายท่านที่มีแผนทางการเงินอยู่แล้วอาจจะอ่านผ่าน ๆ บางท่านที่กำลังวางแผนอาจจะเริ่มมีไอเดียกันบ้าง แผนการเงินของคุณเป็นอย่างไรบ้างครับ วางไว้ถึงช่วงเกษียณหรือกว้างไกลไปถึงบุคคลเบื้องหลังหรือไม่อย่างไร

ผมเชื่อว่าเป้าหมายหนึ่งในชีวิตของใครหลายๆ คน คงต้องมีเป้าหมายทางการเงินแทรกอยู่ด้วย เพราะการมี ‘อนาคตทางการเงินที่มั่นคง’ หลายคนจึงพยายามหาวิธีลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อความสบายในอนาคต

วันนี้ผมมีตัวอย่างของบุคคลหนึ่งที่อยากนำมาเป็นแรงบันดาลใจ

ไม่ใช่ใครที่ไหนครับปู่ Warren Buffett นักลงทุนระดับโลก ไอดอลนักลงทุนสาย VI (Value Investing) และล่าสุดยังเป็นไอดอลเรื่องความใจบุญ หลังจากเพิ่งมีข่าวว่าปู่ได้บริจาคหุ้น Berkshire Hathaway อีก 4.64 พันล้านดอลลาร์ให้กับองค์กรการกุศล 5 แห่ง ไม่นับรวมยอดบริจาคเดิมที่ปู่ทำมาอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ปู่จึงเป็นตัวอย่างที่ดีของการสร้างความมั่งคั่งทางการเงินที่ไม่ได้อยู่เฉพาะที่ความมั่งคั่งส่วนตัวของปู่เอง แต่ยังเผื่อแผ่ไปถึงสังคมในวันนี้

และที่ผมอยากจะนำมาเล่าให้ฟังวันนี้ก็คือการวางแผนทางการเงินของปู่ที่เตรียมแผนการลงทุนเอาไว้แล้ว แต่ตนเองจะไม่มีลมหายใจหรือตายจากโลกนี้ไปแล้วก็ตาม
ลงทุนจนวินาทีสุดท้าย ยังน้อยเกินไปสำหรับ Buffett

เรื่องนี้ถูกเปิดเผยขึ้นเมื่อ 10 ปี ที่แล้วครับ ในวันที่ Buffett ฉีกซองพินัยกรรมของตัวเองออกมากางให้ทุกคนได้รับรู้!

จดหมายถึงผู้ถือหุ้นบริษัท Berkshire Hathaway ในปี 2556 ได้ระบุถึงข้อมูลพินัยกรรมบางส่วนที่ปู่ Buffett ได้เขียนเอาไว้ให้กับภรรยา

เนื้อหาในพินัยกรรมก็ยังเป็นไปตามการลงทุนฉบับคุณปู่ครับ เพราะเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ง่ายจนใครๆ ก็ทำตามได้

โดยปู่ Buffett ได้ทิ้งคำแนะนำให้ผู้จัดการมรดกว่า

“หากผมเสียชีวิตลง 90% ของมรดกที่ผมมอบให้ภรรยาควรลงทุนใน กองทุนดัชนีหุ้น ที่มีค่าธรรมเนียมต่ำ และอีก 10% ที่เหลือลงทุนใน พันธบัตรระยะสั้น”

กลยุทธ์ลงทุนแบบ 90/10 ได้ถือกำเนิด

กองทุนดัชนีที่ว่าหนีไม่พ้น กองทุน S&P 500 ครับ ด้วยความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจสหรัฐฯ ของคุณปู่ ที่สำคัญมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำมากอยู่ที่ 0.03% เท่านั้น

ส่วนอีก 10% ปู่แบ่งสัดส่วนเงินออกมาเพื่อลงทุนใน ตราสารหนี้ระยะสั้น

เป็นไปได้ว่าเป็นส่วนที่เผื่อเอาไว้ในกรณีฉุกเฉิน ทั้งยังช่วยเรื่อง ‘ลดความเสี่ยง’ และ ‘เพิ่มสภาพคล่อง’ ให้พอร์ตลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ

ลงทุนตามพินัยกรรมของปู่

ผมบอกได้เลยว่าพินัยกรรมของปู่ Buffett ได้ซ่อนกลยุทธ์การลงทุนที่น่าเหลือเชื่อเอาไว้

และที่น่าประหลาดใจคือกลยุทธ์ลงทุนที่น่าสนใจในพินัยกรรมของ Buffett มีความคล้ายคลึงกับกลยุทธ์ของ GlobalETF ของ Jitta Wealth อย่างบังเอิญครับ เพราะกองทุน Global ETF Jitta Wealth เป็นกองทุนบริหารจัดการเงินอัตโนมัติ ตามทฤษฎีจัดพอร์ตรางวัลโนเบล โดยจะกระจายความเสี่ยงในการลงทุน ใน กองทุนหุ้น และตราสารหนี้คุณภาพทั่วโลก

มาดูกันว่าสูตร 90/10 ของ Buffettและ Global ETF คล้ายกันอย่างไรนั้น

แต่ก่อนอื่น คุณน่าจะเห็นคล้ายกับผมว่าปู่ Buffett เชื่อมั่น และมั่นใจในเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากทีเดียว ด้วยตัวเลขที่ปู่แนะนำให้ลงทุนในสัดส่วน 90% ของพอร์ตในกองทุนดัชนี S&P 500 ที่มีค่าธรรมเนียมต่ำ และปล่อยให้เงินลงทุนงอกเงยตามตลาดหุ้นสหรัฐฯ เพื่อให้พอร์ตโตตามธุรกิจที่ใหญ่ที่สุด 500 บริษัทในระยะยาวเลยครับ

Global ETF ของ Jitta Wealth ก็ให้ความสำคัญกับหุ้นสหรัฐฯ เพราะยังมีสัดส่วนลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ มากที่สุด ทำให้การเติบโตของพอร์ตจะคล้ายกับการลงทุนในกองทุนดัชนี S&P 500 และยังมีการกำหนดการลงทุนในหุ้น และ ตราสารหนี้ ตามสัดส่วนที่ถูกออกแบบมาอย่างเหมาะสมในแต่ละแผนต่างกันแค่ว่า Global ETF เพิ่มโอกาสลงทุนในตลาดหุ้นประเทศอื่นๆ เข้าไปด้วย ทำให้พอร์ตกระจายการลงทุนไปทั่วโลก และจัดการความเสี่ยงได้ดีขึ้น แถมยังมีการปรับพอร์ตอัตโนมัติทุกปีหรือเมื่อสัดส่วนสินทรัพย์ เพิ่ม หรือ ลด เกิน 5% จากสัดส่วนเดิม   

Global ETF จึงน่าจะเป็นคำตอบสำหรับ ‘การลงทุนที่เรียบง่าย’ อย่างสบายใจที่คุณกำลังตามหามานานก็เป็นได้ครับ

เพราะปู่ Buffett เป็นอีกคนที่มีแผนเอาไว้สำหรับทุกสิ่ง แม้แต่ การลงทุน ที่เป็นสิ่งที่ปู่ทำมาทั้งชีวิต ถึงวันนึงที่ Buffett จากโลกนี้ไปปู่ก็มีกลยุทธ์ลงทุนที่ยอดเยี่ยมและใช้ได้จริง ทิ้งเอาไว้เป็นมรดกตกทอดสู่โลกใบนี้ สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าปู่ Buffett เยี่ยมยอดยัน ‘หยดสุดท้าย’ จริงๆ

คุณคงเห็นแล้วว่าพินัยกรรมนี้ได้ซ่อนกลยุทธ์การลงทุนที่น่าเหลือเชื่อเอาไว้ คุณเองอาจจะยังไม่ต้องถึงขั้นเตรียมแผนก่อนจากโลก แต่คุณสามารถใช้กลยุทธ์เดียวกับปู่ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่แบบนี้แหละ เพื่อความไม่ประมาทเช่นเดียวกับปู่ที่ได้เตรียมการณ์ไว้สำหรับคนข้างหลัง

เราหวังว่าการพาคุณเปิด ‘จดหมายลับ’ ในพินัยกรรมของ Buffett ในวันนี้จะทำให้คุณได้ไอเดียการลงทุนอย่างชัดเจน และทำให้คุณเข้าใจ Global ETF ที่บังเอิญคล้ายกลยุทธ์ลงทุนที่ Buffett แนะนำมากยิ่งขึ้นครับ

สุดท้ายหากคุณได้ลงทุนตามเป้าหมายและความเสี่ยงที่คุณรับได้ มันจะกลายเป็น ‘การลงทุนอย่างสบายใจ ที่ทำกำไรให้คุณอย่างยั่งยืน’ ได้อย่างแน่นอนครับ

]]>
1436287
แกะรอย 20 ปีเพดานหนี้สหรัฐฯ สู่บทเรียน ‘วินัยทางการเงินส่วนบุคคล’ https://positioningmag.com/1432235 Mon, 29 May 2023 13:05:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1432235

บทความโดยตราวุทธิ์ เหลือสมบูรณ์ CEO Jitta Wealth

ช่วงนี้ปัจจัย ‘การเมือง’ เข้ามารับบทเด่นและส่งผลต่อ Sentiment การลงทุนในบ้านเราเป็นอย่างมาก แม้เรายังลุ้นกับโฉมหน้ารัฐมนตรีใหม่ และนโยบายใหม่ๆ แต่ตลาดการลงทุนก็ตอบสนองกับหลายๆ นโยบายหาเสียงของว่าที่รัฐบาลใหม่กันไปพอสมควรแล้ว ขณะเดียวกัน ‘Policy Maker’ จากหลากหลายองค์กรในประเทศ ก็ออกมากำชับว่าที่รัฐบาลใหม่ให้ความสำคัญกับ ‘วินัยทางการเงินการคลัง’ ก่อนที่จะมีการประกาศใช้นโยบายอย่างเป็นทางการ    

ข้ามไปอีกฟากฝั่งของซีกโลก ประเด็น ‘เพดานหนี้สหรัฐฯ’​ ก็กลับมาร้อนระอุกันอีกครั้ง เมื่อกำหนดเส้นตายของการขยายเพดานหนี้งวดเข้ามาทุกวัน

ในบางครั้ง หลายปัญหาทางการเงินไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ระดับองค์กร ไปจนถึงระดับประเทศหรือระดับโลก ก็อาจสั่งสมมาทีละเล็กละน้อย บางอย่างเราอาจมองข้าม ละเลย หรือไม่ได้เคร่งครัดจัดการ รู้ตัวอีกทีปัญหาก็อาจมาจ่ออยู่ที่ปลายจมูกแล้ว

ประวัติศาสตร์หนี้สหรัฐฯ

วันนี้ตั้งใจจะมาชวนคุยเรื่องเบาๆ เกี่ยวกับการสร้าง ‘วินัยทางการเงินส่วนบุคคล’ แต่เริ่มเรื่องด้วยปัญหาหนักๆ อย่างเพดานหนี้สหรัฐฯ เพราะเชื่อว่าสามารถสะท้อนให้เห็นถึงวินัยทางการเงินการคลังได้ดีทีเดียวเลยครับ ภายใต้กฎหมาย Public Debt Acts ของสหรัฐฯ ที่เริ่มบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2005 เปิดทางให้รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง สามารถกู้ยืมเพื่อนำเงินมาเสริมสภาพคล่องในการใช้จ่ายด้านต่างๆ ซึ่งช่องทางหลักในการกู้คือการออกพันธบัตรรัฐบาลนั่นเอง แต่กฎหมายก็ได้กำหนดเพดานหนี้ที่ภาครัฐสามารถก่อได้ เพื่อเป็นการควบคุมวินัยการคลัง แต่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นก็คือ รัฐบาลสหรัฐฯ ในแต่ละยุคแต่ละสมัยก็ได้ขอขยายเพดานหนี้มาโดยตลอด 

ดังนั้น ประเด็นเพดานหนี้สหรัฐฯ ที่กลับมาร้อนแรงอีกครั้งในช่วงเดือนนี้ จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ และสามารถพูดได้เลยครับว่า เป็นปัญหาที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์การคลังของประเทศมาอย่างยาวนาน แต่ระดับความกดดันหรือความเสี่ยงก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วง และดูเหมือนว่าในรอบนี้จะมีความกังวลมากเป็นพิเศษ เพราะเศรษฐกิจสหรัฐฯ อยู่ในภาวะอ่อนแอ แถมยังถูกซ้ำเติมด้วยความเปราะบางของภาคการเงินอีกด้วย

ภาระหนี้สหรัฐฯ ซึ่งในที่นี้หมายถึงหนี้ภาครัฐหรือหนี้สาธารณะ เริ่มเพิ่มสูงขึ้นในทศวรรษ 80 หลังประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ลดภาษีครั้งใหญ่ เมื่อไม่มีรายได้จากภาษีมากพอ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเสริมสภาพคล่องด้วยการกู้ยืม ต่อมาในทศวรรษ 90 เมื่อสงครามเย็นระหว่างสหรัฐฯ และสหภาพโซเวียตสิ้นสุดลง ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ลดงบประมาณด้านกลาโหมลงได้จำนวนมาก ขณะที่เศรษฐกิจก็เติบโตและมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีสูงขึ้น

จากเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างร้อนแรง ทำให้สหรัฐฯ ต้องเจอกับปัญหาฟองสบู่เทคโนโลยี หรือที่เรียกกันว่า ‘วิกฤตดอทคอม’ ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 จนเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช จึงประกาศลดภาษีถึง 2 ครั้งในปี 2001 และ 2003 และสามารถช่วยพยุงเศรษฐกิจประเทศไว้ได้ แต่หลังจากนั้นสหรัฐฯ เข้าไปทำสงครามในอิรักและอัฟกานิสถาน ทำให้ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเกือบ 6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐตลอดช่วงสงคราม

จนกระทั่งมาถึงวิกฤตการเงินในปี 2008 หรือ ‘วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์’ รัฐบาลใช้เงินมหาศาลอุ้มธุรกิจธนาคาร รวมถึงเพิ่มงบประมาณด้านการบริการทางสังคม เพราะอัตราการว่างงานพุ่งขึ้นกว่า 10% หลังจากนั้นเมื่อสถานการณ์คลี่คลายลงและอัตราการว่างงานกลับเข้าสู่ภาวะปกติอีกครั้ง ในปี 2017 ภายใต้การนำและนโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศลดภาษีครั้งใหญ่ ทำให้หนี้สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 7.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

ล่าสุดในปี 2019 ที่โลกต้องเผชิญกับ ‘วิกฤต Covid-19’ ทำให้รัฐบาลแทบทุกประเทศต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการรับมือกับโรคระบาด และออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ รวมทั้งรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ออกมาตรการกระตุ้นมาหลายระลอกรวมเป็นเงินกว่า 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อย้อนรอยดูประวัติศาสตร์การก่อหนี้สหรัฐฯ​ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ก็พอจะเห็นภาพกันนะครับว่ารัฐบาลนำเงินไปใช้เพื่อการใดกันบ้าง และหลายต่อหลายครั้งที่รัฐต้องการใช้เงินเพิ่ม ก็จะขอขยายเพดานหนี้เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ขาดดุลงบประมาณมาโดยตลอด จนเมื่อเดือนมกราคม ที่ผ่านมา หนี้ของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นมาชนเพดานที่ 31.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังไม่มีข้อสรุปว่าสภา Congress ว่าจะขยายเพดานหนี้ออกไปอีกหรือไม่

เพดานหนี้-ดราม่าการเมือง

หลายคนมองว่า ปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐฯ คือประเด็นดราม่าทางการเมือง เพราะเป็นเกมระหว่าง 2 ขั้วอำนาจในสภา ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจระบบรัฐสภาของสหรัฐฯ ที่เป็นแบบ Split Congress ซึ่งประกอบด้วยสภาสูงหรือวุฒิสภา โดยปัจจุบันพรรคฝ่ายค้านคือรีพับลิกันครองเสียงข้างมาก และสภาล่างหรือสภาผู้แทนราษฏร ซึ่งพรรครัฐบาลเดโมแครตของประธานาธิบดีโจ ไบเดนคุมเสียงข้างมากอยู่ ดังนั้น การให้ความเห็นชอบในนโยบายใดๆ ของอีกฝ่ายจึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก และมักเกิดการงัดข้อทางการเมืองกันอยู่เสมอ

เช่นเดียวกับประเด็นเพดานหนี้ ที่รัฐบาลเป็นฝ่ายเสนอแต่ยังไม่ผ่านสภา โดยพรรครีพับลิกันกังวลว่าการขยายเพดานหนี้ไปเรื่อยๆ จะเป็นการเอาเงินไปใช้เพื่อสนับสนุนโครงการของรัฐบาลเดโมแครตโดยเฉพาะ รวมทั้งจะเพิ่มภาษีคนมีรายได้สูงทั้งที่ไม่ได้เป็นเรื่องจำเป็น จึงอยากให้ปรับลดงบประมาณลง และเพิ่มความเข้มงวดกับการใช้งบประมาณในโครงการสวัสดิการต่างๆ เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังหาข้อตกลงร่วมกันไม่ได้ ซึ่งตามไทม์ไลน์รัฐบาลต้องสรุปประเด็นดังกล่าวให้ได้ภายในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ ไม่เช่นนั้นอาจนำไปสู่ ‘การผิดนัดชำระหนี้’ ของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้

หากมีการผิดนัดชำระ หรือ Default ขึ้นจริง ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นสามารถจินตนาการได้แบบไม่รู้จบเลยล่ะครับ เริ่มจากหุ้นตก ตลาดการเงินผันผวนหนัก รัฐบาลเสียเครดิต ประเทศถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลง สั่นคลอนความเชื่อมั่นของประชาชน นักธุรกิจ นักลงทุน นำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย อัตราว่างงานพุ่งพรวดและอื่นๆ สุดแท้แต่จะประเมินกัน

แม้ประเด็นเพดานหนี้จะเป็นปัญหากับรัฐบาลสหรัฐฯ มาตลอดช่วง 20 ปี แต่ข่าวดีก็คือ สหรัฐฯ ก็ยังไม่เคยเดินไปถึงทางตันขั้นที่ต้องผิดนัดชำระหนี้แม้แต่ครั้งเดียว โดยสถานการณ์เลวร้ายสุดที่เกิดขึ้นคือ สหรัฐฯ ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศลง ซึ่งเกิดขึ้นในปี 2011 สมัยประธานาธิบดีบารัค โอบามา

โดยขณะนั้นปัญหาเกิดจากนโยบาย ‘โอบามาแคร์’​ ที่เกิดการคัดค้านและเตะถ่วงร่างกฎหมาย Affordable Care Act จากฝั่งตรงข้าม ทำให้เหตุการณ์บานปลายไปถึงขั้น Government shutdown คือการหยุดดำเนินงานของภาครัฐชั่วคราว จนเกิดการว่างงานประมาณ 80,000-200,000 ตำแหน่ง ส่งผลให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P ปรับลดอันดับเครดิตสหรัฐฯ ลงจาก AAA Outstanding เหลือ AA+ Excellent

ปัญหาภาคธนาคารกับวินัยการเงิน

เมื่อการขยายเพดานหนี้ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียง เรื่องวินัยทางการเงินการคลังก็จะเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ตามมาด้วยทุกครั้ง แต่ดูเหมือนปัญหาจะยังคงวนลูปกลับไปที่เดิม และเมื่อ 3 ธนาคารในสหรัฐฯ คือ Silicon Valley Bank, Signature Bank และ First Republic Bank เกิดปัญหาสภาพคล่องตามกันมาเป็นโดมิโน รวมถึงความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ของ Credit Suisse ธนาคารชั้นนำในยุโรป ยิ่งสะท้อนวินัยทางการเงินได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่เพื่อความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ก็ต้องยอมรับนะครับว่า การขึ้นดอกเบี้ยอย่างร้อนแรงของธนาคารสหรัฐฯ และยุโรปตลอดปีที่ผ่านมา ก็ส่งผลข้างเคียงต่อสภาพคล่องในภาคการเงินเช่นกัน

ซึ่งในการประชุมผู้ถือหุ้น Berkshire Hathaway ประจำปี 2023 ที่ผ่านมานั้น ก็ได้หยิบยกประเด็นเพดานหนี้ และปัญหาภาคธนาคารมาพูดคุยกันด้วย โดย 2 ศาสดาการลงทุนสาย VI อย่างคุณปู่วอร์เรน บัฟเฟตต์ และคุณปู่ชาร์ลี มังเกอร์ ก็ได้ให้มุมมองถึงความสำคัญของการรักษาวินัยทางการเงินการคลัง การบริหารสภาพคล่องที่เหมาะสมและการบริหารความเสี่ยงที่ดีของภาคธนาคาร รวมถึงการให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีจากภาครัฐ เพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลาม

ปัญหาสภาพคล่องของธนาคารในสหรัฐฯ ได้ส่งผลให้ราคาหุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวลดลงอย่างหนักมากว่า  90% จนนักงทุนพากันเบือนหน้าหนีหุ้นกลุ่มนี้กันหมด แต่นักลงทุนสาย VI อย่างคุณปู่วอร์เรนกลับมองเห็นเป็นโอกาสที่จะเข้าซื้อหุ้นดีช่วงราคาเซลล์ แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าราคาก็คือ การหาหุ้นพื้นฐานดีให้เจอด้วยการศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอ

Financial Investing
Photo : Shutterstock

เมื่อพูดถึงหุ้นกลุ่มธนาคาร ก็มีประสบการณ์การลงทุนดีๆ จากคุณปู่วอร์เรนมาเล่าสู่กันฟังนะครับ ในวัยหนุ่มคุณปู่สนใจติดตามหุ้น American Express ธุรกิจบัตรเครดิตระดับโลกมาโดยตลอด แต่ยังไม่ได้เข้าลงทุนเพราะราคายังสูงตามปัจจัยพื้นฐานของธุรกิจ ต่อมาในปี 1963 เกิดกรณีดราม่า Salad Oil Scandal กับ American Express จนราคาร่วงถึง 50% แต่คุณปู่ก็ไม่ได้กระโดดเข้าซื้อทันทีนะครับ

สิ่งที่คุณปู่ทำก็คือ เดินสำรวจตลาดการใช้บัตร American Express ตามซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าต่างๆ เมื่อพบว่ากระแสข่าวอื้อฉาวที่เกิดขึ้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้บัตรแต่อย่างใด คุณปู่จึงค่อยตัดสินใจซื้อหุ้นสวนทางกับการเทขายของนักลงทุนอื่นๆ เพราะมองว่ายิ่งหุ้นราคาตก ยิ่งมี margin of safety ในการลงทุนเพิ่มขึ้น

ตัดภาพมาตอนนี้ หุ้น American Express ถือว่ามีสัดส่วนการลงทุนสูงสุดตัวหนึ่งในพอร์ต Berkshire Hathaway ของคุณปู่ และสร้างผลตอบแทนได้อย่างน่าประทับใจ ตามคำพูดที่คุณปู่กล่าวไว้เสมอว่า “จงโลภเวลาที่คนอื่นกลัว” เหนือสิ่งอื่นใด ต้องศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มธนาคารต้องมีการบริหารความเสี่ยงที่ดี และมีวินัยทางการเงินสูง

วินัยทางการเงินสร้างได้ตั้งแต่วันนี้

เรื่องการเงินเป็นเรื่องของทุกคนนะครับ ไม่ใช่เรื่องขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือประเทศใดประเทศหนึ่งโดยเฉพาะ การวางแผนทางการเงินและการสร้างวินัยทางการเงินก็เช่นกัน เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสมดุลและความมั่นคงทางการเงินให้กับตัวเราเอง และเป็นโอกาสสร้างความมั่งคั่งให้กับเราได้ในระยะยาว ที่สำคัญจะเป็นเกราะป้องกันให้เรารอดพ้นจากกับดักหนี้ได้อีกด้วย

ผมมีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจจะเป็นไอเดียในการบริหารเงินของแต่ละคนได้ เริ่มจากการวางแผนการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับรายรับ โดยพิจารณาว่าค่าใช้จ่ายที่จำเป็นว่ามีอะไรบ้าง เพื่อกันไว้สำหรับส่วนนี้ แล้วกันส่วนที่เหลือไว้เป็นเงินออม หากพบว่ารายรับไม่เพียงพอก็ควรหาทางลดรายจ่ายหรือเพิ่มรายได้

Photo : Shutterstock

ต่อมา ควรเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น เช่น ควรมีเงินออมเผื่อไว้กรณีฉุกเฉิน 3-6 เท่าของรายจ่ายจำเป็นและภาระหนี้ในแต่ละเดือน เห็นตัวเลขแล้วบางคนอาจร้องโอ้โห! เยอะไปมั๊ย!! แต่หากทำได้ คุณจะต้องขอบคุณตัวเองแน่ๆ ในวันที่ปัญหาเดินทางมาถึง นอกจากนี้ ควรหมั่นตรวจสอบสวัสดิการและประกันสุขภาพที่มีอยู่ ว่าครอบคลุมแค่ไหน หากไม่เพียงพอและสามารถทำได้เพิ่มเติม ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะเพิ่ม buffer ทางการเงินให้กับตัวคุณเอง

กรณีที่ต้องกู้ยืม ควรพิจารณาถึงความพร้อมของรายได้ในปัจจุบัน และความไม่นอนที่มีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของตัวเอง อาจหาแหล่งรายได้เสริมเพิ่มเติมเพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน โดยเฉพาะหลังจากที่เราผ่านเหตุการณ์ไม่คาดคิดระดับโลกอย่าง Covid-19 มาแล้ว วลีที่ว่า ‘ทุกวันนี้มีอาชีพเดียวคงไม่พอ’ คือ เรื่องจริงมากๆ หรืออีกแนวทางในการสร้างรายได้เสริมก็คือการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการนำทรัพย์สินที่มีอยู่ไปลงทุนต่อยอดให้งอกเงย หรือนำเงินออกมาลงทุนในสินทรัพย์ลงทุนต่างๆ

วางแผนการใช้จ่าย

หากรู้ล่วงหน้าว่าจะต้องใช้เงินจำนวนมาก ควรวางแผนเก็บเงินเตรียมไว้แต่เนิ่นๆ บริหารเงินออมให้งอกเงย เช่น ฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตร ซื้อประกันสะสมทรัพย์ ซื้อกองทุนรวม หรือสินทรัพย์ลงทุนอื่นๆ โดยต้องศึกษาและทำความเข้าใจรูปแบบการออม ความเสี่ยง รวมทั้งติดตามข่าวภาวะเศรษฐกิจที่อาจส่งผลกระทบ เช่น ภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนตามสภาวะตลาดที่เหมาะสม และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

หากใช้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล ควรใช้อย่างมีวินัย จัดเก็บใบเสร็จเพื่อตรวจสอบและจ่ายเงินให้ตรงตามกำหนด เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยโดยไม่จำเป็น

ในความจริงแล้ว การก่อหนี้ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวนะครับ แต่ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี และเลือกก่อหนี้ที่มีประโยชน์หรือมีความจำเป็นจริงๆ เช่น การกู้ซื้อบ้าน กู้เพื่อประกอบอาชีพ หรือหาอาชีพเสริม ที่สำคัญต้องประเมินความสามารถในการชำระคืนด้วย ซึ่งตามหลักทฤษฎีมีการแนะนำไว้ว่า เราไม่ควรมีหนี้เกิน 1 ใน 3 ของรายได้ในแต่ละเดือน

หากมีหนี้สินเกินตัว ก็ต้องพยายามปลดหนี้ด้วยการประหยัด ทยอยผ่อนชำระ โดยเฉพาะหนี้นอกระบบและหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูง ที่สำคัญไม่ควรก่อหนี้เพิ่ม หากไม่สามารถชำระคืนได้ ก็ควรหารือกับเจ้าหนี้เพื่อหาทางออกร่วมกัน ซึ่งปัจจุบันสถาบันการเงินต่างๆ ก็มีแพ็กเกจการชำระหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เลือกหลายหลายรูปแบบ สอดคล้องกับรายได้และความสามารถในการชำระคืนของลูกหนี้แต่ละคน

อย่างที่บอกนะครับ การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องผิด แต่จะผิดมากถ้าไม่มีวินัย และปล่อยให้ภาระหนี้กลายเป็นกับดักที่กัดกินตัวเราเอง จนไม่สามารถปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระทางการเงินได้

อย่าลืมนะครับ เราเป็นเพียงคนตัวเล็กๆ ที่ต้องดูแลฐานะทางการเงินของตัวเองและคงไม่สามารถขอผ่อนผันเจ้าหนี้หรือขยายเพดานหนี้ไปได้เรื่อยๆ เหมือนรัฐบาลสหรัฐฯ

]]>
1432235
สร้างเข็มทิศทางการเงิน เติมเต็มชีวิตมั่งคั่งให้มั่นคง https://positioningmag.com/1429600 Sun, 07 May 2023 04:17:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1429600

โดย ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO Jitta Wealth

เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว ไม่ทันไรก็เข้าสู่ไตรมาส 2 ของปี 2566 กันแล้ว สุขภาพการเงินเป็นอย่างไรกันบ้างครับ ผมอยากชวนให้มาสำรวจกันบ้างว่า ขณะนี้สุขภาพการเงินของคุณแข็งแรงแค่ไหน

ผมไม่ได้หมายถึงเพียงเรื่องการออมเงิน พอร์ตการลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ หรือเงินฝากต่างๆ ที่ออกดอกออกผลเติบโตเท่านั้น แต่ผมโฟกัสไปถึง ‘การเงินทั้งหมด’ แบบครบวงจรที่จะตอบโจทย์ ครอบคลุมทั้งการสร้างความมั่นคง มั่งคั่งให้กับการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีอิสระในระยะยาวหรือรองรับช่วงเวลาหลังเกษียณได้อย่างแท้จริง

ผมเข้าใจครับว่า เส้นทางสู่การสร้างสุขภาพการเงินแข็งแรง ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่จริงๆ ก็ทำได้ไม่ยากมากครับ ขอเพียงให้คุณเริ่มต้นโดยเร็ว เพราะยิ่งเริ่มต้นทำตั้งแต่อายุน้อยๆ คุณจะมีโอกาสไปถึงเป้าหมายได้เร็วและมากกว่าคนที่เริ่มต้นช้า วันนี้ผมเลยขออาสามาแนะนำแนวทางการวางแผนการเงินในสไตล์จิตตะ (Jitta)

ก่อนอื่น คุณคิดเหมือนผมใช่ไหม ‘คู่แข่งตัวจริง’ ที่มีผลต่อสุขภาพการเงินของคุณ คือ โลกทุนนิยมที่พยายามโน้มน้าวสร้างกิเลสให้ผู้คนใช้เงินเยอะๆ ไปกับการซื้อของโน่นนี่ที่อยากได้ตามแต่ละช่วงวัยที่มีเงินในกระเป๋า

Photo : Shutterstock

เพราะเรื่องเงินๆ ทองๆ เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับเรามาตลอด หากเป็นช่วงวัยเด็กของคน Gen Y ขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่ก็จะมีรูปแบบการออมเงินให้ในรูปแบบของการฝากเงินกับธนาคารกันแทบทั้งนั้น แต่พอเด็กเหล่านี้เรียนจบหรือเริ่มทำงานใหม่ๆ พอมีรายได้เข้ามา พวกเขาส่วนใหญ่จะหาซื้อสิ่งของที่อยากได้เป็นรางวัลชีวิตก่อนตามโลกทุนนิยมดิจิทัล

ขณะที่สิ่งที่ Jitta อยากให้คุณพยายามทำไม่ว่าจะเป็นทำให้ตัวเองหรือให้คุณลูกๆ คือ แนะนำให้คุณสร้างความสมดุลด้านการเงิน ผมอยากชวนให้มาวางแผนการเงินส่วนบุคคลกันตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงวัยสูงอายุกันเลยครับ เริ่มต้นจากมีเงินน้อยก็จัดแบบน้อยๆ ไปก่อนครับ

วิถีจิตตะ 7 ขั้นตอนอุดรอยรั่ว สร้างสุขภาพการเงินแข็งแรง

มาดูกันว่า การวางแผนการเงินส่วนบุคคล กับ 7 ขั้นตอนง่ายๆ ที่คนโสดทุกคนทำตามได้ เพื่อใช้ชีวิตของตัวเองได้อย่างมีความสุข และถ้าทำไปเรื่อยๆ คุณจะชินและเกิดเป็นวินัยทางการเงินขึ้นมาเองอัตโนมัติครับ

ขั้นตอนแรก จดรายรับ-รายจ่าย เงินเข้าเงินออกต้องรู้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสุขภาพการเงินที่ดี การจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย จะทำให้คุณรู้ว่ามีเงินไหลเข้ากระเป๋าจากทางไหน และไหลออกกับอะไรบ้าง ซึ่งเดี๋ยวนี้มีวิธีจดรายรับ-รายจ่ายเยอะมาก ไม่ว่าจะจดโน้ตง่ายๆ ในมือถือ หรือจะหาแอปพลิเคชันที่ใช้งานง่ายและฟรีมีให้เลือกเยอะ เพียงหยิบมือถือออกมากดไม่กี่ปุ่มก็เสร็จแล้ว

ที่แปลกแต่จริง ก็คือถ้าคุณจดรายรับ-รายจ่ายติดกันสัก 2-3 เดือนแล้วเอามาทำบัญชีแบบง่ายๆ ในสมุดสักเล่มหรือโปรแกรม Spreadsheet คุณจะเริ่มขยับตัว หาทางทำให้ตัวเองมีเงินเหลือเก็บเองโดยธรรมชาติ ถ้าไม่เชื่อให้ลองทำตามดูครับ ใช้ชีวิตปกติของคุณไป แล้วจดให้หมดว่า จ่ายอะไรไปเท่าไรโดยไม่ต้องรู้สึกผิด อย่าลืมว่าคุณกำลังจัดระเบียบการเงินของตัวเองอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากๆ

Photo : Shutterstock

ขั้นตอนที่สอง ตั้งงบประมาณ จัดระเบียบเงิน หลังจากที่คุณจดรายรับ-รายจ่ายมาสักพัก ก็จะเริ่มเห็นว่าในแต่ละเดือนคุณใช้เงินไปกับอะไรบ้าง และถ้าคุณอยากปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายในแต่ละเดือนให้เป็นไปตามที่ต้องการ ต้องทำยังไงบ้าง?

คำตอบคือ การ ‘ตั้งงบประมาณ’ สำหรับค่าใช้จ่ายแต่ละหมวด เช่น คุณอยากลดค่าใช้จ่ายในการดื่มกาแฟแต่ละเดือนลงจาก 4,000 บาท ให้เหลือ 3,000 บาท คุณอาจตั้งงบค่ากาแฟในเดือนถัดไปให้เหลือ 3,500 บาทก่อนเพื่อไม่ให้ตึงเกินไป แล้วค่อยลดเหลือ 3,000 บาทอีกทีก็ได้ หรือถ้าใครอยากให้รางวัลตัวเองทุกเดือนแบบไม่บานปลาย ก็ตั้งงบประมาณตรงนี้เอาไว้ได้เหมือนกันครับ

เพราะฉะนั้น การตั้งงบประมาณช่วยให้คุณคุมค่าใช้จ่ายได้เป็นระบบมากขึ้น แต่คุณก็ต้องมี ‘วินัย’ ที่จะไม่ใช่จ่ายเกินงบที่ตัวเองตั้งมาด้วย ขอย้ำว่าข้อนี้สำคัญมากๆ ครับ

ขั้นตอนที่สาม เคลียร์หนี้ระยะสั้น ก่อนพอกหางหมู หลังจากเห็นว่าเงินตัวเองไหลเข้า-ออกไปไหนบ้าง และเริ่มจัดระเบียบการใช้จ่ายได้แล้ว ถึงตอนนี้คุณน่าจะเห็นตัวเลขมีเงินเหลือเก็บในแต่ละเดือนกันแล้วครับ ซึ่งอาจจะยังไม่รู้ว่าเอาไปทำอะไรดี

ผมแนะนำว่าสิ่งแรกที่คุณควรทำคือการ ‘จ่ายคืนหนี้ระยะสั้น’ เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสดที่คิดดอกเบี้ยสูง ซึ่งหนี้เหล่านี้พร้อมจะพอกพูนเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ ที่ทำให้หลายคนติดกับดักจนหาทางออกไม่ได้ ดังนั้น ถ้าสามารถจ่ายคืนหนี้ระยะสั้นได้ ขอให้รีบเคลียร์เป็นอันดับแรกเมื่อมีเงินเหลือครับ

Photo : Shutterstock

ส่วนหนี้สินระยะยาว เช่น ค่างวดผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ที่ต้องจ่ายทุกเดือนและอยู่ในงบรายรับ-รายจ่ายอยู่แล้ว ถ้าสามารถโปะเงินต้นได้ก็ดีครับ แต่ถ้ามีเรื่องสำคัญกว่าที่ต้องใช้เงินก็ไม่เป็นไร อยู่ที่การบริหารเงินของแต่ละคน

ขั้นตอนที่สี่ เงินสำรองฉุกเฉิน มีหรือยัง? หลังจากที่เคลียร์หนี้ระยะสั้นหมดแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการป้องกันความเสี่ยง โดยเงินก้อนแรกที่ทุกคนต้องมีคือ ‘เงินสำรองฉุกเฉิน’ จำนวน 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือนครับ

สมมติว่าจากที่คุณจดรายรับ-รายจ่ายมา คุณใช้เงินเฉลี่ยเดือนละ 20,000 บาท คุณก็ควรมีเงินส่วนนี้อยู่ 6 x 20,000 = 120,000 บาท หรืออย่างน้อยมีสักครึ่งนึงก็ยังดี เพราะเงินก้อนนี้จะถูกใช้ในยามที่ชีวิตเดินเข้ามาถึงจุดเปลี่ยน เช่น ถูกให้ออกจากงาน ขาดรายได้กะทันหัน คุณจะยังพอมีเวลาให้ตระเตรียมหัวใจ ตั้งหลักให้ชีวิตอีกครั้ง แต่ห้ามใช้เงินก้อนนี้ไปกับเรื่องอื่นที่ ‘ไม่ฉุกเฉิน’ เด็ดขาดนะครับ

ขั้นตอนที่ห้า ทำแผนการออม พร้อมเกษียณอย่างสำราญ เมื่อคุณมีเงินก้อนนึงเตรียมไว้สำหรับเหตุฉุกเฉินที่จำเป็นสำหรับทุกคนแล้ว ก็เริ่มวางแผนใช้ชีวิตเกษียณให้มีความสุขได้แล้วครับ

วิธีคำนวณว่าต้องเก็บเงินเท่าไร ทำได้ง่ายๆ โดยการนำจำนวนเงินที่คุณวางแผนจะใช้ต่อเดือนในยามเกษียณ มาคูณด้วยจำนวนเดือนที่คุณ (คิดว่า) จะมีชีวิตอยู่แบบไม่มีรายได้ เพื่อหาจำนวนเงินที่ต้องเก็บได้เลย สมมติว่าคุณจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี คิดว่าจะอยู่ไปถึงอายุ 80 ปี และน่าจะต้องใช้เงินเดือนละ 30,000 บาท (ไม่รวมเงินเฟ้อ) เท่ากับว่าคุณต้องเก็บเงินให้ได้อย่างน้อย 30,000 x 240 เดือน (20 ปี) = 7.2 ล้านบาท เงินก้อนนี้ คือเป้าหมายที่คุณต้องเก็บเงินไปให้ถึงเป็นอย่างน้อย เพราะจริงๆ แล้วต้องคิดถึงเรื่องเงินเฟ้ออีก โดยอาจวางแผนเก็บเงินทุกเดือน เดือนละกี่บาทก็ว่าไป เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายนี้

Photo : Shutterstock

เห็นจำนวนเงินแล้ว คุณอย่าเพิ่งท้อครับ เพราะจริงๆ แล้วเราเก็บเงินคนเดียวก็ไปถึงจุดนั้นได้ ถ้าเรามีตัวช่วยที่เรียกว่า ‘การลงทุน’ เพื่อให้เงินช่วยเราทำงาน ซึ่งก็จะมีออกดอกออกผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมาได้

ขั้นตอนที่หก เรียนรู้การลงทุน ให้เงินทำงานแทน หลายคนพอเห็นคำว่า ‘การลงทุน’ อาจจะรู้สึกว่ายากจัง แต่ผมอยากบอกว่า เรื่องการลงทุน คุณไม่จำเป็นต้องลงทุนเก่ง ก็สามารถทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้ปีละ 6-8% ได้ด้วย ‘การลงทุนอิงดัชนี’ หรือจะใช้กลยุทธ์ที่ทำตามง่ายแต่ได้ผลจริง คือ การลงทุนแบบ ‘DCA’ หรือ Dollar-Cost Averaging ซึ่งเป็นส่วนเสริมที่ทำให้พอร์ตกลับมาเติบโตและทำกำไรได้เร็วขึ้นจากการเฉลี่ยต้นทุน การมีวินัยที่ชัดเจนและสม่ำเสมอจะทำให้การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงราบรื่นขึ้นได้อย่างแน่นอน

แต่ถ้าคุณไม่เคยรู้จักคำเหล่านี้มาก่อน สิ่งสำคัญ คือ คุณต้อง ‘หาความรู้’ เรื่องการลงทุนเพิ่มเติมด้วยตัวเอง โดยอาจจะเริ่มจากหนังสือด้านการลงทุน อาทิ THE Jitta WAY (วิถีจิตตะเพื่อการลงทุนเน้นคุณค่า) คุณจะรู้หลักการลงทุน การเลือกซื้อหุ้นราคาถูก ธุรกิจมีอนาคต และอีกหลายๆ เรื่อง ที่ติดอาวุธลงทุน หรือหาข้อมูลแหล่งความรู้ฟรีบนอินเทอร์เน็ตที่มีเยอะมาก ยิ่งคุณมีความรู้ในการลงทุนมากขึ้นเท่าไหร่ แผนเกษียณของคุณก็จะยิ่งยืดหยุ่นมากขึ้นตามไปด้วย และไม่แน่ว่าพอศึกษาเรื่องการลงทุนมากขึ้นแล้ว คุณอาจจะมีเงินใช้ตอนเกษียณมากกว่าที่วางแผนไว้ครับ

ขั้นตอนที่เจ็ด การทำประกันภัย ต้องพร้อม หลังจากที่วางแผนเกษียณและการลงทุนแล้ว สิ่งที่ต้องมีต่อไป คือการจัดการความเสี่ยงและการสร้างความมั่งคั่งคู่ขนานกันไปตามความเหมาะสมของชีวิตแต่ละคนแล้วครับ

Photo : Shutterstock

ประกันภัย ถือเป็นเครื่องมือสำคัญช่วยบริหารความเสี่ยงชีวิตทางการเงินครับ เพราะทุกวันนี้ ‘เรื่องสุขภาพ’ ไม่เข้าใครออกใคร แม้เราจะพยายามดูแลสุขภาพออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารถูกหลักโภชนาการ แต่จู่ๆ มีโรคใหม่อุบัติขึ้น อย่างเช่น ‘โควิด-19’ ที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จนถึงวันนี้ ยังมีเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์อยู่ และในอนาคตอาจมีโรคใหม่อื่นๆ อีกก็ได้ ซึ่งเวลาที่คุณเกิดเจ็บป่วยหนักขึ้นมา กรณีไม่ได้ทำประกันสุขภาพไว้ คุณก็ต้องจ่ายเองหมด ไม่มีใครมาช่วงแบ่งเบาภาระได้ ยิ่งทุกวันนี้ค่ารักษาพยาบาลมีแต่แพงขึ้นทุกวัน อาจทำให้ฐานะการเงินที่มีอยู่ของคุณสั่นคลอนและเปราะบางลงในที่สุดก็ได้

การทำประกันสุขภาพหรือประกันชีวิตตามความเหมาะสมกับช่วงชีวิตนั้นๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญและต้องคิดให้ละเอียด เพื่อไม่ให้การเจ็บป่วยมากระทบกับแผนเกษียณที่คุณออกแบบมามากจนเกินไป

Trick คือคุณอาจเทียบค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลที่คุณใช้บริการบ่อยๆ เพื่อดูว่าต้องซื้อความคุ้มครองแค่ไหน หรือดูว่ามีคนที่รอรับรายได้ต่อจากคุณอยู่มากแค่ไหน โดยอาจจะเป็นพี่น้อง พ่อแม่หรือหลานๆ ก็ได้

ที่สำคัญคือเบี้ยประกันสุขภาพสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ด้วย เป็นผลประโยชน์ต่อที่ 2 ที่เหล่าคนโสดสายมนุษย์เงินเดือนน่าจะรู้กันดี

จัดระเบียบการเงิน ปูพรมชีวิตมั่นคง มั่งคั่ง อุ่นใจ ถึงวัยเกษียณ

เรื่องเงินคือเรื่องสำคัญของชีวิตทุกคนครับ ถ้าคุณไม่อยากนั่งทนปวดหลังทำงานแต่ละวันไปแบบฟรีๆ ก็จะต้องหันกลับมามองตัวเองและเริ่มจัดระเบียบการเงินให้ตัวเองบ้างแล้ว มาเริ่มสร้างสุขภาพทางการเงินกันครับ

เพียงคุณเริ่มทำ 7 ขั้นตอนนี้ได้ คุณจะอุดรอยรั่วได้และเริ่มมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งผมก็เชื่อว่าทุกคนทำได้ครับ แม้ว่าการวางแผนการเงิน ช่วงแรกๆ หรือระหว่างทาง อาจจะไม่ได้ทำให้คุณร่ำรวยขึ้นทันตาเห็น แต่อย่างน้อยเงินที่ได้จากน้ำพักน้ำแรงของคุณ ก็จะค่อยๆ ออกดอกออกผลในรูปแบบต่างๆ ตกมาถึงตัวคุณตามระยะเวลาบ้าง ที่สำคัญคุณจะได้มุมมองใหม่ๆ การบริหารจัดการเรื่องการเงิน และเริ่มเห็นว่ามันไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

และหากในอนาคต คุณพบคนที่ใช่ อยากจะสละโสดแล้วมาใช้ชีวิตคู่ด้วยกัน คุณก็จะมีรากฐานที่แข็งแรงเพื่อสร้างครอบครัวที่มั่นคงได้อีกระดับ เปรียบเสมือนคุณกำลังสร้างเรือที่แข็งแกร่งพร้อมฝ่ามรสุมชีวิตที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดช่วงชีวิตของคุณ

ยิ่งไปกว่านั้น การวางแผนการเงินส่วนบุคคล ยังเป็นรากฐานให้คุณมีสุขภาพการเงินที่มั่นคง มั่งคั่งไปถึงเป้าหมายในชีวิตวัยเกษียณอย่างอุ่นใจ ใช้ชีวิตอิสระสุขเกษมสำราญบั้นปลายชีวิตกับลูกหลานครับ

สุดท้ายนี้ ผมขอพูดในฐานะตัวแทนของ Jitta ซึ่งให้บริการดูแลลูกค้ามาจนเข้าสู่ปีที่ 11 แล้ว เราก็คงมีเป้าหมายที่อยากเห็นทุกคนมีสุขภาพการเงินแข็งแรงครับ และเราเองก็ต้องการขยายขอบเขตด้านการเงินและการลงทุนให้มากขึ้น เพื่อสนับสนุนให้ทุกคนมีสุขภาพทางการเงินที่แข็งแรงได้ มาร่วมกันสร้าง Wealth & Health เติบโตไปด้วยกันนะครับ

]]>
1429600
วางแผนการเงินส่วนบุคคล คุณค่าที่เหนือกว่าการลงทุน https://positioningmag.com/1426615 Sun, 09 Apr 2023 13:34:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1426615 บทความโดย ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO Jitta Wealth
ทุกท่านคิดเหมือนกันไหมครับว่า ‘โลกทุกวันนี้หมุนเร็วเหลือเกิน’ แต่ละปี แต่ละช่วงเวลา จะมีความท้าท้ายใหม่ๆ เข้ามาให้เราได้เรียนรู้ หรือต้องเอาชนะ เพื่อให้สามารถก้าวต่อไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นได้ และการที่จะก้าวไปสู่สิ่งที่ดีกว่าในวันข้างนั้น จำเป็นต้องวางแผนการใช้ชีวิต เท่านั้นยังไม่พอ ควรต้องวางแผนทางการเงินด้วยนะครับ

ต้องยอมรับนะครับว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาการวางแผนทางการเงินมีพัฒนาการที่ดีขึ้นมากในทุกมิติ ที่สำคัญคือ ‘คน’ ที่ให้ความสำคัญกับการวางแผนทางการเงินมากขึ้นโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินและช่องทางการออมการลงลงทุนต่างๆ ก็มีการพัฒนามากขึ้น มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามาช่วยให้เราดูแลเรื่องเงินทองได้ง่ายยิ่งขึ้น ผ่านการออมและการลงทุนบนแพลตฟอร์มต่างๆ ทำให้คนยุคนี้สามารถสร้าง ‘อิสรภาพทางการเงิน’ ให้กับตัวเองได้มากขึ้นและเร็วขึ้น

แนวคิดวางแผนการเงิน

เมื่อพูดถึง ‘การวางแผนการเงิน’ สำหรับบางคนอาจดูเป็นเรื่องยาก ต้องซีเรียสกับการใช้จ่าย จะซื้ออะไรสักอย่างต้องคิดแล้วอีก.. แค่คิดก็เครียดแล้ว!! หลายคนจึงยังไม่ได้เริ่มต้นเสียที แต่จริงๆ แล้วการวางแผนทางการเงินและทำให้ได้ตามแผนไม่ใช่เรื่องยากเย็นขนาดนั้น ลองปรับมุมมองของการวางแผนการเงินให้เป็น ความฝันคุณอาจจะมี “Passion” ขึ้นมาก็ได้

ถ้าเราฝันอยากมีบ้าน มีรถ ไปเที่ยวเมืองนอก แต่งงาน มีลูก มีครอบครัวที่อบอุ่น มีชีวิตที่สุขสบาย มีเงินทองใช้จ่ายไม่ขาดมือ มีผลตอบแทนจากการออมและการลงทุนเป็นโบนัสให้กับชีวิตนอกเหนือจากรายได้ประจำ มีฐานะการเงินที่มั่นคงไปจนถึงวัยเกษียณ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีความสุขกับชีวิต การวางแผนทางการเงินคือ Roadmap ที่จะนำพาคุณไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

Photo : Shutterstock

ในการวางแผนทางการเงิน แต่ละคนคงมีเป้าหมายแตกต่างกันไป ซึ่งในเป้าหมายปลีกย่อยหรือจุดประสงค์แบบเฉพาะเจาะจง ก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจและความสะดวกของแต่ละคนเลยครับ แต่ผมขอใส่เครื่องหมายดอกจันให้เป็นข้อสังเกตไว้สักนิดว่า เป้าหมายโดยภาพรวม เราควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทางการเงินที่ดีขึ้น เพื่อสร้าง ‘ความมั่นคง’ ทางการเงินในระยะยาวไปตลอดเส้นทางชีวิตของเรา และระหว่างทางก็สามารถสะสม ‘ความมั่งคั่ง’ ให้เพิ่มพูนได้ตามตัวไปด้วย

ซึ่งผมมองว่าการวางแผนทางการเงินควรเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา เป็นสิ่งที่ควรทำต่อเนื่องทุกปี และเป็นแผนที่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง สามารถทำได้โดยไม่ต้องกดดันการใช้ชีวิตมากเกินไป ไม่อย่างนั้นแล้วเราต้องทำตามแผนด้วยความเครียด ความสุขในการใช้ชีวิตก็จะลดลง หรืออาจถึงขั้นท้อแท้อยู่กลางทาง จนไม่สามารถเดินไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้

4 เรื่องต้องรู้ ก่อนวางแผนการเงิน

แล้วถ้าจะวางแผนทางการเงินแบบไม่ต้องเครียดมาก ทำไปได้เรื่อยๆ ต้องเริ่มอย่างไร ผมมีทริค 4 ข้อให้คุณเดินอยู่บนทางสายกลางในการวางแผนการเงิน แบบไม่ซีเรียสมากไป แต่ก็ไม่ชิลจนเกินไป.. เพื่อให้เดินไปถึงจุดหมายได้จริงๆ

#ทำบัญชีรายรับรายจ่าย

การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย จะช่วยให้คุณเห็นสถานะทางการเงินของตัวเองอย่างชัดเจนขึ้น แน่นอนว่าช่องรายรับของคนโดยทั่วไปมีอยู่ไม่กี่รายการ เทียบกับช่องรายจ่ายที่ยาวเฟื้อย ทีนี้ลองมาโฟกัสที่ช่องรายจ่าย จิ้มนิ้วเลื่อนลงมาทีละบรรทัดเลยครับ บรรทัดไหนที่ทำให้คุณสะดุด.. หยุด.. และร้องเอ๊ะ!! เป็นสัญญาณว่าบรรทัดนั้นไม่น่ารอด.. ต้องตัดทิ้งไปจากบัญชี แล้วยอดเงินคงเหลือสุทธิในบรรทัดสุดท้าย จะทำให้คุณยิ้มได้กว้างกว่าเดิมแน่นอนครับ

#กำหนดเป้าหมายลงทุน

อย่างที่ผมกล่าวไปแล้วนะครับว่า เราควรมีเป้าหมายในภาพรวมเพื่อบริหารจัดการการเงินได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สร้างความมั่นคงทางการเงิน และนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้แต่ละคนอาจมีเป้าหมายปลีกย่อยที่อยากได้ อยากทำ อยากมี ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ในระยะสั้นหรือระยะยาว เช่น เก็บเงินไปดูแสงเหนือสิ้นปีนี้, หรือเก็บเงินก้อนใหญ่ไว้ดาวน์รถ Tesla เพื่อเป็นเจ้าของ EV ให้ได้ภายใน 4 ปี, วางแผนแต่งงานในอีก 2 ปี พร้อมซื้อบ้านหลังใหญ่ขึ้นเพื่อรอต้อนรับลูกคนแรกในปีถัดไป

ตามหลักทฤษฎี ยิ่งวางแผนการเงินและเริ่มลงทุนตั้งแต่อายุยังน้อยยิ่งได้เปรียบ แต่บางคนอาจใช้ช่วงวัยมาเป็นข้ออ้างที่ยังไม่เริ่มลงทุน ถ้ามีเงื่อนไขแบบนี้ก็ต้องบอกว่า ตัวเลขอายุจะเป็นเท่าไหร่ไม่สำคัญครับ เพราะคุณสามารถเริ่มต้นตอนนี้ได้เลย ที่สำคัญควรสร้างวินัยการออมให้เป็นนิสัย โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ เพราะทันทีที่คุณเริ่มลงทุนคุณก็จะสะสมพลังแห่งผลตอบแทนทบต้นได้ทันที เมื่อระยะเวลาผ่านไปคุณยิ่งได้ประโยชน์จากดอกผลที่หว่านเมล็ดไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ

Photo : Shutterstock

#เลือกสินทรัพย์ลงทุน

ในโลกของการเงินการลงทุนมีหลากหลายประเภทสินทรัพย์ให้คุณเลือก โดยพื้นฐานแล้วผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเราในแต่ละช่วงชีวิตประกอบด้วยเงินฝาก สินเชื่อ ประกัน การลงทุน ซึ่งตามหลักการการเลือกสินทรัพย์ลงทุนก็จะพิจารณาจากวัตถุประสงค์ในการลงทุน อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ ระยะเวลาในการลงทุน และที่สำคัญคือระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

ซึ่งความเสี่ยงที่ยอมรับได้ อาจทดสอบง่ายๆ จากจิตใจของผู้ลงทุนเอง ถ้าลงทุนอะไรไปแล้วนอนหลับไม่สนิท แสดงว่าคุณไม่เหมาะกับสินทรัพย์นั้น วิธีแก้ก็แค่ตื่นขึ้นมาแล้วคิดทบทวนดูใหม่ และเลือกสินทรัพย์ลงทุนที่ทำให้คุณสบายใจและนอนหลับได้สนิท

#หมั่นปรับพอร์ตลงทุน

เมื่อวางแผนการเงินและจัดพอร์ตลงทุนแล้ว คุณควรหมั่นตรวจสอบพอร์ตลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูว่าให้ผลตอบแทนได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ ถ้าเริ่มเบี่ยงเบนหรือผิดเพี้ยนไปก็สามารถปรับพอร์ตลงทุนได้ตามความเหมาะสม

เพิ่มทักษะวางแผนการเงิน

แผนการเงินที่จะประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับทักษะทางการเงินของแต่ละคนด้วย ลองสำรวจตัวเองดูนะครับว่า คุณมีความรู้ทางการเงินหรือมีทักษะในการวางแผนทางการเงินมากน้อยแค่ไหน ซึ่งอาจใช้มาตรวัดง่ายๆ ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน เช่น ในแต่ละเดือนมีเงินเหลืออยู่มากน้อยแค่ไหนหลังหักค่าใช่จ่ายที่จำเป็นออกไปแล้ว เงินในส่วนที่เหลือนั้นนำไปใช้ทำอะไร สามารถแบ่งเป็นเงินออมหรือเงินลงทุนได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าคำตอบของคุณจบตั้งแต่คำถามแรก คือแต่ละเดือนแทบไม่มีเงินเหลือเลย ก็สะท้อนทักษะในการวางแผนทางการเงินได้ชัดเจนเลยละครับ แต่หากมีคำตอบได้ถึงคำถามสุดท้าย แสดงว่าคุณมีทักษะทางการเงินที่แข็งแรงทีเดียว

หรือถ้าจะอัพเลเวลขึ้นอีกนิด ลองนึกย้อนกลับไปในช่วงโควิด 19 ว่าสถานะทางการเงินของคุณอยู่ในภาวะที่ยากลำบากมากน้อยแค่ไหน คุณมีเงินเหลือพอใช้ได้ถึงกี่เดือนในสถานการณ์โรคระบาดที่ยาวนานกว่า 2 ปี ซึ่งทุกคนเจอปัญหาเดียวกัน แต่ผลกระทบของแต่ละคนไม่เท่ากัน และ เงินออมคือตัวชี้วัดผลกระทบได้อย่างชัดเจน

Photo : Shutterstock

ก่อนวิกฤติโควิด 19 ตามหลักทฤษฎีแนะนำไว้ว่า เราควรมีเงินออมสำรองไว้ให้พอใช้ในระยะ 3 เดือนข้างหน้า เพื่อรองรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดหรือกรณีที่ไม่มีรายได้ แต่วิกฤตการณ์ครั้งนี้ที่ส่งผลกระทบอย่างแสนสาหัส ทำให้เราต้องปรับทฤษฎีให้เข้มขึ้น โดยควรมีเงินออมให้เพียงพอรองรับการขาดรายได้ในช่วง 6 เดือนข้างหน้า ระยะเวลาเพิ่มขึ้นมาเท่าตัวเลยนะครับ ที่สำคัญโควิด 19 ยังได้สะท้อนถึงความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงทักษะทางการเงินและการวางแผนทางการเงินของคนไทยได้อย่างแจ่มชัด ซึ่งโดยภาพรวมแล้วถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างอ่อนแอ และส่งผลถึงความเหลื่อมล้ำทางการเงินที่สูงขึ้นในสังคมไทย

โดยงานวิจัยเกี่ยวกับความมั่งคั่งของครัวเรือนไทย ของจากธนาคารแห่งประเทศไทยระหว่างปี 2560-2564 พบว่า คนมีรายได้สูงมีโอกาสสะสมความมั่งคั่งได้มากกว่า โดยคนในกลุ่มนี้มีมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินรวมกันเกิน 50% ของครัวเรือนทั้งหมดที่ทำการสำรวจ ขณะที่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยมีโอกาสสะสมความมั่งคั่งได้น้อยลง โดยคนกลุ่มนี้มีสินทรัพย์ทางการเงินรวมกันในสัดส่วนเพียง 2% เท่านั้น และส่วนใหญ่อยู่ในรูปของเงินสดและเงินฝากเกือบทั้งหมด

นอกจากนี้ ยังมีผลสำรวจทักษะทางการเงินของคนไทยปี 2563 พบว่า คนไทยมีพัฒนาการระดับทักษะทางการเงินอยู่ที่ 71% แต่ในแง่การบริหารการเงินยังน่าเป็นห่วงและสามารถพัฒนาเพิ่มเติมได้ เช่น การคำนวณดอกเบี้ยทบต้น การกระจายความเสี่ยงในการลงทุน และมูลค่าเงินตามเวลา ซึ่งประเด็นเหล่านี้ล้วนเป็นหนึ่งในพื้นฐานความรู้ที่สำคัญ ในการวางแผนการเงินและสร้างรากฐานทางการเงินที่แข็งแกร่งในระยะยาว

นิสัยการออม ชี้อนาคตการเงิน  

David Bach นักเขียนและนักวางแผนทางการเงินชาวอเมริกันชื่อดัง ที่ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการบริหารการเงินส่วนบุคคลออกมาถึง 7 เล่ม และหนังสือของ Bach ติดชาร์ต Best seller มาอย่างต่อเนื่อง โดย Bach ได้ทำนายอนาคตทางการเงินตามนิสัยการใช้เงินของแต่ละคน ซึ่งแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มดังนี้

  • มั่งมี ศรีสุข คือ หาได้ 100, ใช้ 50, ออม 25, ลงทุน 25
  • กินดี อยู่ดี คือ หาได้ 100, ใช้ 80, ออม 20
  • พอมี พอกิน คือ หาได้ 100,ใช้ 90, ออม 20
  • ร่อแร่ ไม่มั่นคง คือ หาได้ 100, ใช้ 100
  • ล้มละลาย หายนะ คือ หาได้ 100, ใช้มากกว่า 100 และหยิบยืมคนอื่น
Photo : Shutterstock

และยังมีอีกทฤษฎี ที่ Bach ได้เขียนไว้ในหนังสือที่ขายดีที่สุดเล่มหนึ่ง คือ “The Automatic Millionaire” หรือ “เศรษฐีอัตโนมัติ” โดยได้แบ่งฐานะทางการเงินของคนตามนิสัยการออม ซึ่งแยกได้เป็น 6 กลุ่มคือ

1. กลุ่มถังแตก คนกลุ่มนี้จะไม่คิดเรื่องการออม ใช้จ่ายมากกว่าที่หาได้หรือใช้จ่ายเกินตัว ทำให้ต้องคอยหยิบยืมจากคนอื่นเป็นประจำ ซ้ำร้ายยังไม่สามารถจ่ายคืนได้อีกต่างหาก แนวทางแก้ปัญหาสำหรับกลุ่มคนถังแตก เริ่มแรกเลยก็คือ ต้องหยุดก่อหนี้ แล้วหารายได้เสริม ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องใช้จ่ายให้น้อยลง

2. กลุ่มคนจน กลุ่มนี้จะเข้าใจและเห็นประโยชน์ของการออม แต่ติดที่ “ไม่เริ่มซะที” จึงยังต้องติดกับดักความจนอยู่ ซึ่งตามคำจำกัดความของ Bach คนจนไม่ได้ชี้วัดจากรายได้แต่สะท้อนจากสัดส่วนเงินออม หากคุณไม่อยากอยู่ในข่ายคนจนต้องรีบออมเสียตั้งแต่วันนี้ เพราะการออมคือจุดเริ่มต้นของความมั่งคั่ง คำพูดที่ว่า “ออมก่อนรวยกว่า” จึงถูกต้องที่สุดครับ

3. กลุ่มชนชั้นกลาง คือกลุ่มที่สามารถออมได้ 5-10% ของรายได้ เพราะมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการวางแผนทางการเงินค่อนข้างดี ไม่ว่าจะมาจากการถูกปลูกฝังนิสัยการออมมาตั้งแต่เยาว์วัย หรือจากทัศนคติในการใช้เงินของตนเองก็ตาม แม้สามารถเก็บออมได้ในระดับนี้ แต่ยังมีความเสี่ยงที่จะไม่พอใช้ในยามเกษียณ ทั้งจากปัจจัยเงินเฟ้อ ค่าครองชีพที่มีโอกาสสูงขึ้นในอนาคต และสถานการณ์ความไม่แน่นอนต่างๆ ที่ไม่อาจคาดเดาได้

การออมอย่างเดียวจึงอาจไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงควรมองหาการลงทุนเข้ามาเสริมด้วย เพื่อให้เงินต้นออกดอกออกผลมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ควรบริหารความเสี่ยงด้วยประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพควบคู่ไปด้วย เพื่อสร้างความปลอดภัยทางการเงินให้ครอบคลุมไปถึงหลังเกษียณ

4. กลุ่มพอมีพอกิน ออมได้ประมาณ 10-15% ของรายได้ กลุ่มนี้ถือว่าสามารถออมได้ตามหลักทฤษฎีขั้นพื้นฐานที่ระดับ 10% แต่หากสามารถออมเพิ่มได้ก็จะยิ่งเพิ่มความอุ่นใจในอนาคตได้มากขึ้น เพื่อรองรับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การเจ็บไข้ได้ป่วย หัวหน้าครอบครัวขาดรายได้หรือตกงาน ดังนั้นการลงทุนเพื่อให้เงินงอกเงยและการประกันเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงก็จะช่วยเพิ่ม Buffer ให้คุณได้เช่นกัน

5. กลุ่มคนรวย ออมได้ 15-20% ของรายได้ ใครที่สามารถออมเงินได้อย่างสม่ำเสมอในระดับนี้ และสามารถบริหารรายจ่ายได้แบบไม่ต้องกดดัน ต้องกด Like ให้เลยครับ และโดยพื้นฐานแล้วคนกลุ่มนี้ยังสามารถสร้างรายได้จาก Passive income ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเข่า ที่สำคัญคนกลุ่มนี้สามารถบริหารจัดการเงินออม เงินลงทุน ความเสี่ยง และค่าใช้จ่ายได้แบบชิลๆ อีกด้วย

6. กลุ่มคนรวยที่สามารถเกษียณอายุได้ก่อนเวลา ออมเงินได้มากกว่า 20% ของรายได้ ใครที่สามาถบริหารจัดการเงินได้อย่างสม่ำเสมอในระดับนี้ ต้องกด Like แถมกด Love ให้แบบรัวๆ ไปเลย คุณยอดเยี่มมากๆ เพราะสามารถสร้างอิสระทางการเงินให้กับตัวเองได้อย่างแท้จริง

ซึ่งคนกลุ่มนี้ ไม่จำเป็นต้องมี Wealth มาแต่กำเนิดนะครับ เพราะความมั่งคั่งทางการเงินเราสามารถสร้างได้เอง โดยมีการวางแผนทางการเงินเป็นเข็มทิศนำทาง กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน มีวินัยทางการเงิน และลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ‘อิสรภาพทางการเงิน’ ที่อาจอยู่ไกลถึงยอดเขาเอเวอเรสต์ของใครหลายๆ คน ก็อาจอยู่ใกล้แค่หน้าปากซอยสำหรับคุณ

Photo : Shutterstock

ไม่ว่าคุณจะอยู่ในกลุ่มไหนตามนิยามของ Bach เพียงแค่เริ่มต้น เครื่องยนต์การออมของคุณก็จะสตาร์ทขึ้นได้ทันที ให้คุณพร้อมไปต่อ และต่อยอดความมั่งคั่งด้วยเครื่องมือลงทุนอื่นๆ หรือจะใช้วิธีทยอยลงทุนอย่างสม่ำเสมอในรูปแบบ DCA (Dollar cost averaging) เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยง และช่วยแบ่งเบาภาระการลงทุนในแต่ละเดือนก็ย่อมได้เช่นกัน

วางแผนการเงินด้วยแพลตฟอร์มลงทุน

ในโลกยุคดิจิทัล ทำให้ชีวิตทางการเงินของเราง่ายและสะดวกมากขึ้น ผ่าน Mobile application ของผู้ให้บริการทางการเงินในรูปแบบต่างๆ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์ซื้อขายหน่วยลงทุน รวมถึงฟินเทคและสตาร์ทอัพ ให้เราสามารถเลือกใช้งานได้ตามอัธยาศัย และจะช่วยให้เราวางแผนทางการเงิน ออมเงิน และลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในส่วนของการพัฒนาเทคโนโลยีการออมและการลงทุนบนแพลตฟอร์มดิจิทัล อาจอยู่ในรูปแบบ Robo-adviser ที่เป็นเสมือนผู้จัดการการลงทุนให้คุณอย่างครบวงจร ตั้งแต่การจัดพอร์ตลงทุน เลือกสินทรัพย์ลงทุน ปรับพอร์ตลงทุน และคอยติดตามผลการดำเนินงานของพอร์ตลงทุนให้คุณแบบอัตโนมัติ

หรือรูปแบบของ AI portfolio manager ที่เสมือนเป็นผู้ช่วยตัดสินใจด้านการลงทุน โดยใช้วิธีการคิด (Algorithm) ด้วยการเรียนรู้จากตัวอย่าง ข้อมูลสถานการณ์ลงทุนปัจจุบัน และข้อมูลผู้ลงทุนทั้งส่วนตัวและทางการเงินที่เคยให้ไว้มาช่วยปรับพอร์ตลงทุน

ในต่างประเทศ ยังมีเทคโนโลยีการลงทุนในรูปแบบของ Micro-investing ที่เสมือนเป็นผู้ช่วยออมและลงทุนอัตโนมัติ โดยมีแนวคิดว่าจะช่วยตัดเงินส่วนหนึ่งจากการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของคุณ เช่น ค่าช้อปปิ้ง ค่าเดินทาง ค่าสาธารณูปโภค เข้ามาสะสมไว้เป็นเงินสำหรับลงทุน ทำให้เหมาะกับคนที่ไม่สามารถออมเองได้และไม่มีเงินก้อนมาลงทุน ซึ่งในประเทศไทยก็ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาบริการนี้ เพื่อช่วยให้คนไทยสามารถเข้าถึงการลงทุนได้ง่ายขึ้น

และอยากตอกย้ำกันอีกครั้งนะครับว่า “การวางแผนการทางการเงิน” ไม่ได้เป็นเรื่องของคนรวย แต่เป็นเรื่องของทุกคนที่อยากมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีสุขภาพทางการเงินที่มั่นคงแข็งแรง และเป็นหนทางสู่การสร้างความมั่งคั่งได้ในอนาคต.. เราสามารถออกแบบชีวิตให้เป็นไปตามที่ฝันไว้ได้ ด้วยการวางแผนทางการเงิน เพราะการวางแผนทางการเงินคือคุณค่าที่ให้คุณได้มากกว่าการลงทุน

]]>
1426615
สูตรลับ ‘กระจายความเสี่ยง’ สร้างผลตอบแทนแสนคลาสสิก https://positioningmag.com/1421338 Wed, 01 Mar 2023 05:18:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1421338

โดย ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO Jitta Wealth

ปีใหม่ผ่านมาจะเข้าสู่เดือนที่ 3 ของปีแล้ว ไม่ทราบว่าใครได้เริ่มลงมือปฏิบัติ New Year’s Resolution 2023 หรือสิ่งที่ตั้งใจทำในปีนี้กันบ้างแล้วครับ

เท่าที่ผมได้พบปะกับนักลงทุนโดยตรง หรือพูดคุยกันผ่าน social media ต่างๆ ‘การวางแผนลงทุน’ ถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายของใครหลายๆ คนในปีนี้ และสำหรับบางคนอาจเป็นเป้าหมายในทุกๆ ปีด้วยซ้ำ ที่สำคัญเราเห็นแนวโน้มของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการออมและการลงทุนมากขึ้น นับเป็นนิมิตหมายที่ดีเลยครับ

ผมเองก็ได้รับคำถามแนว How to เกี่ยวกับการลงทุนจากนักลงทุน New gen มากขึ้น ที่เริ่มสนใจลงทุนจากเงินจำนวนไม่มากมากนัก หรือโอนย้ายจากเงินฝากมาเป็นเงินลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้น เป็นโอกาสให้คนหนุ่มสาว วัยทำงาน หรือเพิ่งเริ่มทำงานได้วางแผนการเงิน สร้างวินัยทางการเงิน เพื่อสั่งสมความมั่งคั่งในอนาคต และผมก็ได้รับโจทย์จากนักลงทุนรุ่นใหม่ท่านหนึ่งที่ถามถึงหลักการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตลงทุน วันนี้เลยมาแบ่งปันข้อมูลและแลกเปลี่ยนมุมมอง ถือเป็นการเล่าสู่กันฟังมากกว่าการเฉลยคำตอบนะครับ เพราะกลยุทธ์ลงทุนของแต่ละคนไม่มีคำว่า ‘ผิด’ หรือ ‘ถูก’

พื้นฐานการกระจายความเสี่ยง

หลักการกระจายความเสี่ยง พูดง่ายๆ ก็คือการจัดสรรพอร์ตลงทุนให้เหมาะกับ ‘จริต’ ของนักลงทุนแต่ละคนนั่นเองครับ ซึ่งจริตนี้ก็แตกต่างกันไปตามวัย ความรู้ ประสบการณ์ ความชื่นชอบ ความกล้าได้กล้าเสีย รวมไปถึงตัวเลขเงินในบัญชี และจำนวนที่พร้อมจะสูญเสียได้ หรือปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งที่เกิดจากบุคลิกและไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนเอง หรือสถานการณ์แวดล้อมต่างๆ ที่เข้ามากระทบ

สมมติเรามีเงินลงทุน X บาท การจัดพอร์ตลงทุนก็จะต้องมาดูว่าเราต้องการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทไหน อะไรบ้าง และมาแบ่งสัดส่วนว่าเราจะลงทุนในสินทรัพย์นั้นๆ กี่เปอร์เซนต์ของเงินลงทุนทั้งหมด แต่ก่อนที่จะวางเงินลงในสินทรัพย์ใดๆ ต้องวางใจในตัวเองเสียก่อนว่าได้ศึกษาข้อมูลมาอย่างครบถ้วนชัดเจนแล้ว ซึ่งไม่เพียงแต่ต้อง ‘รู้จริง’ ในสินทรัพย์ที่จะลงทุนเท่านั้น แต่ต้อง ‘รู้ใจ’ ตัวเองอย่างถ่องแท้ด้วย และผมมีหลักการพื้นฐาน 3 ข้อ ที่นักลงทุนควรรู้ก่อนลงมือจัดพอร์ตลงทุน

ข้อแรกคือ รู้จักตัวเอง ถ้าว่ากันตามทฤษฎีก็คือ Risk profile นั่นเองครับ โดยต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้ว่า ต้องการลงทุนในอะไร ต้องการผลตอบแทนเท่าไหร่ ในระยะเวลานานแค่ไหน ที่สำคัญต้องทำความเข้าใจกับตัวเองให้ได้อย่างชัดเจนว่า สามารถยอมรับผลขาดทุนได้มากน้อยแค่ไหน เพราะผลขาดทุนนี่แหละคือความเสี่ยงของการลงทุน

Financial Investing
Photo : Shutterstock

นักลงทุนหลายท่านคงเคยผ่านการทำแบบประเมินความเสี่ยงการลงทุนกันมาบ้างแล้ว ซึ่งคะแนนที่ได้จากแบบประเมินสะท้อนถึงระดับความเสี่ยงและสินทรัพย์ที่เหมาะสมกับตัวเรา หลายคนอาจทำแบบประเมินมามากกว่า 1 ครั้ง ผลลัพธ์ในแต่ละครั้งอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ และหนึ่งใน ‘ปัจจัย’ เหล่านั้นอาจเป็น ‘ใจ’ ของเราเอง ตามคำกล่าวที่ว่า เวลาเปลี่ยนใจคนเปลี่ยน.. ซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไรนะครับ แต่ในการทำแบบประเมิน เราต้องไม่หลอกตัวเอง ต้องตอบคำถามตามความจริง เพื่อให้แม่นยำว่าเราสามารถยอมรับความเสี่ยงนั้นๆ ได้จริง

ข้อต่อมาคือ รู้จักความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำไปถึงสินทรัพย์ความเสี่ยงสูง ตั้งแต่เงินฝาก หุ้น ตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล น้ำมัน ทองคำ ตราสารอนุพันธ์ หรือแม้กระทั่งสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างคริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งสินทรัพย์แต่ละประเภทล้วนมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ผลตอบแทนและความเสี่ยงก็แตกต่างกันไปด้วย

ข้อสุดท้ายคือ รู้เท่าทันสถานการณ์ โดยต้องติดตามข่าวสาร และปัจจัยต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ซึ่งสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปย่อมส่งผลต่อระดับความเสี่ยง ผลตอบแทนในสินทรัพย์ที่เราลงทุน และอาจกระทบถึงพอร์ตลงทุนโดยรวมได้เช่นกัน

จัดพอร์ตตามวัย

การจัดพอร์ตตามช่วงอายุของผู้ลงทุนเป็นอีกหนึ่งในหลักการกระจายความเสี่ยง ตามหลักทฤษฎีเราคงจะทราบกันอยู่แล้วนะครับว่า คนอายุน้อยมีโอกาสรับความเสี่ยงได้มากกว่าคนที่อายุมากขึ้น และสินทรัพย์เสี่ยงเหมาะกับการลงทุนระยะยาว เมื่อประมวลตามทฤษฎีนี้ก็จะได้ผลลัพธ์ที่ว่า คนอายุน้อยสามารถลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงได้มากกว่าคนอายุเยอะ เพราะรับความเสี่ยงได้สูงกว่า

ขณะที่การกระจายความเสี่ยงตามวัยก็มีอยู่หลายทฤษฎี เป็นทางเลือกให้ผู้ลงทุนนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์การลงทุนของตัวเอง วันนี้ผมมี 2 แนวทางมาแบ่งกันกันครับ โดยแนวทางแรกเป็นทฤษฎีของ John Bogle นักลงทุนสหรัฐฯ ที่เป็นผู้คิดค้นกองทุนอิงดัชนี ซึ่งใช้วิธีคิดง่ายๆ โดยให้เอา 100 – อายุ เช่น หากคุณอายุ 30 ปี เมื่อเข้าสูตร 100-30 = 70 นั่นหมายความว่า คุณสามารถแบ่งสัดส่วนลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงได้ถึง 70%

Photo : Shutterstock

ส่วนอีกแนวทาง เป็นการจัดพอร์ตตามวัยที่พ่วงมาด้วยความรับผิดชอบ ซึ่งแบ่งได้เป็นช่วงอายุคือ

  • อายุ 20-30 ปี วัยเริ่มต้นทำงาน เริ่มมีรายได้ ยังไม่มีภาระค่าใช้จ่ายมากนัก แนะนำให้หัก 20% ของรายได้เป็นเงินออม และสามารถลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงได้สูงถึง 80% ของพอร์ต
  • อายุ 30-40 ปี เริ่มสร้างครอบครัว มีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น เช่น ค่าผ่อนบ้านผ่อนรถ แต่งงานมีลูก ควรหักเงินออมไว้ 10% ของรายได้ และลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงได้ 60% ของพอร์ต
  • อายุ 40-50 ปี วัยผู้ใหญ่ มีรายได้มากขึ้น เริ่มมีความมั่งคั่ง แต่ก็เป็นช่วงอายุ ‘แซนวิช’ ที่อาจต้องดูแลทั้งลูกหลานและพ่อแม่ สัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงจึงลดลงเหลือ 40% ของพอร์ต
  • อายุ 50 ปีขึ้นไป วัยเตรียมเกษียณจนถึงวัยเกษียณ การจัดพอร์ตควรเน้นในสินทรัพย์ปลอดภัยเป็นหลัก และหากมีเงินออมอยู่พอสมควรอาจกระจายลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสัก 10-20% เพื่อสู้กับเงินเฟ้อ

กระจายลงทุนพอร์ต Core/Satellite

สำหรับผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์มาระดับหนึ่งแล้ว คงทราบหลักการกระจายความเสี่ยงแบบ Core/Satellite กันนะครับ โดยเป็นการจัดสรรพอร์ตลงทุนระหว่างพอร์ตหลักกับพอร์ตเติบโต ซึ่งระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนก็จะแตกต่างกันไป ตามหลักการ high risk high return นั่นเองครับ

โดย Core จะเป็นพอร์ตลงทุนหลัก ให้ความสำคัญกับความมั่นคงของพอร์ต จึงเน้นลงทุนในธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น บริษัทในดัชนี S&P 500 ซึ่งถือว่ามี Buffer ค่อนข้างหนาที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงให้พอร์ตลงทุนของเราได้ แต่ผลตอบแทนอาจไม่หวือหวานัก หากต้องการผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น เราอาจกระจายสัดส่วนลงทุนไปในพอร์ต Satellite ได้ ซึ่งเป็นพอร์ตลงทุนที่เน้นการเติบโต โดยเน้นลงทุนในอุตสาหกรรมหรือบริษัทที่โตเร็ว เช่น Thematic ETF ต่างๆ พอร์ตลงทุนแบบ Satelite จึงช่วยเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่มากกว่าการลงทุนในดัชนี และแน่นอนครับ.. จะมาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงขึ้น

ทีนี้ถามว่า แล้วเราจะจัดสรรสัดส่วนระหว่างพอร์ต Core กับ Satellite อย่างไรดี ผมก็ขอตอบแบบกำปั้นทุบดินว่าเราสามารถจัดพอร์ตลงทุนในแต่ละฝั่งได้ตั้งแต่ 0-100%เลยครับ ดูเหมือนเป็นคำตอบกวนๆ หรือตอบแบบไม่ตอบ แต่นี่คือคำตอบตามหลักการจริงๆ ครับ เพราะสัดส่วนลงทุนในแต่ละฝั่งขึ้นอยู่กับเป้าหมายการลงทุนของแต่ละคนเลยครับ

หากคุณต้องการปกป้องเงินต้นเป็นหลัก เวลาที่พอร์ตตกต่ำลงมาแล้วรู้สึกกระสับกระส่ายใจคอไม่ดี แนะนำให้เพิ่มน้ำหนักลงทุนในฝั่ง Core มากกว่า 50% แต่ถ้าคุณต้องการเห็นพอร์ตเติบโต และมีจิตใจที่มั่นคงพอ ไม่ได้หวั่นไหวเมื่อราคาทรุดตัวลงมา สัดส่วน Satellite เกิน 50% คือพอร์ตลงทุนที่คู่ควรกับคุณครับ

Photo : Shutterstock

โดยพื้นฐานแล้ว นักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับสูงกว่า 50% ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่อายุยังน้อย ซึ่งอายุของผู้ลงทุนจะมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาลงทุนและระดับความเสี่ยง เพราะในช่วงอายุน้อยเรายังมีเวลาลงทุนได้อีกมาก ยืนระยะสะสมพอร์ตลงทุนได้อีกยาว มีเวลาให้แก้ตัวเมื่อกลยุทธ์ลงทุนผิดพลาดไป และสามารถรับความเสี่ยงได้ในระดับสูง นักลงทุนที่อายุน้อยจึงสามารถลงทุนในพอร์ต Satellite ได้มากขึ้น ในทางกลับกันหากเราอายุเยอะขึ้น รับความเสี่ยงได้น้อยลง ไม่อยากเห็นพอร์ตลงทุนผันผวนเกินไป ก็ไม่ควรลงพอร์ต Satellite มากเกินไปครับ

สำหรับคนที่เริ่มลงทุนตั้งแต่อายุยังไม่มาก และยอมรับความเสี่ยงได้สูง ก็อาจเทพอร์ตไปฝั่ง Satellite ได้ถึง 100% โดยไม่ต้องลงพอร์ต Core เลยก็ได้ หรือบางคนอายุมากแล้ว แถมนำเงินเก็บทั้งชีวิตมาลงทุน ไม่อยากเสี่ยงมาก ต้องการปกป้องเงินต้นไว้และเก็บเกี่ยวผลตอบแทนไปเรื่อยๆ ไม่ได้หวังกำไรเติบโตหวือหวา อาจเลือกลงพอร์ต Core 100% ได้เช่นเดียวกัน

ดังนั้น ผลตอบแทนละความผันผวนของพอร์ตลงทุนแต่ละคนก็จะผันแปรไปตามสัดส่วนลงทุนในพอร์ต Core และพอร์ต Satellite หากเราให้น้ำหนักในพอร์ต Satellite มากขึ้นเท่าไหร่ ก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น ขณะที่เดียวกันก็ต้องรับความเสี่ยงที่สูงขึ้นเช่นกันครับ

จากสถิติการลงทุนระหว่างพอร์ต Core และ พอร์ต Satellite ช่วงเดือนสิงหาคม 2013 – กุมภาพันธ์ 2020 พบว่า การลงทุนในพอร์ต Satellite 100% จะได้รับผลตอบแทนสูงขึ้นประมาณ 7% ต่อปี ในขณะที่ความผันผวนก็จะมากกว่าเดิมได้ถึง 18% แต่หากลดสัดส่วนลงทุนลงเหลือ 90%, 80% จนถึง 0% อัตราผลตอบแทนและระดับความผันผวนก็จะลดหลั่นลงตามมา

เรียนหลักการ-รู้หลักปฏิบัติ

เมื่อทราบถึงหลักการกระจายความเสี่ยงกันแล้ว เราลองมาเรียนรู้การจัดพอร์ตลงทุนจริงๆ จากที่มีผู้ตั้งโจทย์เป็นตุ๊กตามาให้ว่า ‘หากมีเงินเย็น 100,000 บาท การนำเงินทั้งหมดมาลงใน Thematic Optimize ในระยะเวลาลงทุน 10 ปีขึ้นไป โดยจะ DCA ไตรมาสละ 10,000 บาท ถือว่าเสี่ยงมากเกินไปหรือไม่?’ ผมขอตอบตามนี้นะครับ

Thematic Optimize ถือเป็นพอร์ต Satellite เพราะเน้นลงทุนในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตตาม Megatrend ต่างๆ โดยลงทุนตาม Thematic ETF อยู่แล้ว ถ้าหากอุตสาหกรรมเหล่านี้เติบโตในระยะยาว พอร์ตการลงทุน Thematic Optimize ก็จะเติบโตตามไปด้วย ในทางกลับกันพอร์ตก็มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ซึ่งกรณีเลวร้ายสุดคือเงินลงทุนหายไปทั้งจำนวน แต่กรณีนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ทุกอุตสาหกรรมที่เราลงทุนสูญเสียมูลค่าเชิงเศรษฐกิจไปพร้อมกันทั้งหมด ซึ่งโอกาสที่จะเกิดขึ้นถือว่ามีน้อยมากครับ

Photo : Shutterstock

ดังนั้น ในทางปฏิบัติการจัดสัดส่วนลงทุนในพอร์ต Thematic Optimize ว่าเป็นเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายการลงทุนของแต่ละคน รวมถึงความเสี่ยงที่รับได้ หากคุณเป็นนักลงทุนที่อายุยังไม่มาก มีเวลาลงทุนได้อีก 10-20 ปีขึ้นไป โดยเงินที่นำมาลงทุนและทำ DCA นั้น เป็นคนละส่วนกับเงินที่ต้องใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หากพอร์ตลงทุนตกต่ำลงก็ไม่กระทบกับการใช้ชีวิตปกติ ที่สำคัญคุณหากคุณยอมรับความเสี่ยงที่สูงได้ เพื่อผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ก็สามารถลงทุนใน Thematic Optimize ได้ 100%

อย่างไรก็ตาม ระหว่างทางของพอร์ตลงทุนคุณควรหมั่นทบทวนเป้าหมายการลงทุนว่ายังเป็นไปตามที่วางไว้หรือไม่ และต้องเช็คหัวใจตังเองด้วยว่ายังสามารถยอมรับความเสี่ยงในระดับเดิมได้หรือเปล่า ถ้าเริ่มรู้สึกว่ามีมุมมองการลงทุนที่เปลี่ยนไป เป้าหมายการลงทุนก็ไม่เหมือนเดิม หรือรับความเสี่ยงได้น้อยลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ถึงเวลาที่ต้องปรับสัดส่วนพอร์ตลงทุนให้ตรงกับความต้องการของตัวเอง ซึ่งจริงๆ แล้วการปรับพอร์ตลงทุนสามารถทำให้ตลอดนะครับ ขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป

เปิดเดือนแรกของปีใหม่ เราเริ่มเห็นสัญญาณการลงทุนที่สดใสขึ้นเมื่อเทียบกับตลอดปีที่ผ่านมา คนที่วางแผนการลงทุนและเริ่มทำตาม Roadmap ที่วางไว้ ถือว่าคุณได้เดินมาไกลกว่าคนที่ยังไม่เริ่มทำอะไรเลย อย่างน้อยก็ 1 ก้าวแล้ว แม้เส้นทางการลงทุนในปีนี้ยังอีกยาวไกล และไม่มีใครหยั่งรู้ได้อย่างชัดเจนว่าระหว่างทางจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง แต่การวางแผนลงทุนถือเป็นเครื่องกันกระแทกขั้นพื้นฐาน ที่จะช่วยให้คุณตั้งสติเพื่อปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ลงทุนไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ และอีกหนึ่ง Buffer ที่จะช่วยปกป้องคุณจากความผันผวนของตลาดก็คือ ‘การกระจายความเสี่ยง’ ของพอร์ตลงทุนอย่างเหมาะสมนั่นนเองครับ   

]]>
1421338