ตลาดรถอีวีจีน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 13 May 2024 12:30:32 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ลือ ‘สหรัฐฯ’ เล็งขึ้นภาษี ‘รถอีวี’ จากจีนเพิ่ม 4 เท่า เป็น 100% เพื่อสกัดการนำเข้า https://positioningmag.com/1473144 Mon, 13 May 2024 03:27:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1473144 มีข่าวลือว่า ประธานาธิบดี โจ ไบเดน เตรียมประกาศภาษีสินค้าจากจีนในช่วงกลางสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะ รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่จะเป็นขึ้นภาษีครั้งใหญ่ นอกจากนี้ยังมีสินค้าสำคัญ ๆ อาทิ เซมิคอนดักเตอร์ และ อุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์

มีข่าวลือว่า รัฐบาลสหรัฐฯ เตรียมแก้ไข ภาษีมาตรา 301 โดยจะมุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันเชิงกลยุทธ์และความมั่นคงของชาติ โดยจะเพิ่มอัตราภาษีใหม่กับ เซมิคอนดักเตอร์, อุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ และ รถยนต์ไฟฟ้า รวมถึง เวชภัณฑ์ เช่น เข็มฉีดยาและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่ผลิตใน จีน

มีการคาดการณ์ว่า ภาษีรถอีวีของจีนจะเพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่า หรือคิดเป็น 100% ขณะที่ประธานคณะกรรมการการธนาคารวุฒิสภาต้องการให้ฝ่ายบริหารของไบเดน แบนรถยนต์ไฟฟ้าของจีนโดยสิ้นเชิง เนื่องจากความกังวลว่าอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อข้อมูลส่วนบุคคลของชาวอเมริกัน

ปัจจุบัน สหรัฐฯ มีการเรียกเก็บภาษีนำเข้ารถอีวีจีนที่ 25% แต่เพราะราคาที่ไม่ได้สูงมากของรถอีวีจีน ทำให้ไม่ได้ติดปัญหาเรื่องกำแพงภาษีมากนัก ดังนั้น รถอีวีจีนจึงยังสามารถแข่งขันได้ในสหรัฐฯ แต่หากการขึ้นภาษีใหม่เกิดขึ้นจริง จะทำให้รถอีวีจีนที่ขายในสหรัฐอเมริกา อาจต้องขายในราคา เพิ่มขึ้นอีก 2 เท่า อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการนําเข้ารถยนต์จีนยังมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย

ต้องยอมรับว่า การผลิตรถอีวีของจีนได้เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยย้อนกลับไปเมื่อปี 2015 ส่วนแบ่งตลาดรถอีวีของจีนมีเพียง 0.84% เท่านั้น ซึ่งใกล้เคียงกับสหรัฐฯ ที่มี 0.66% แต่ในปี 2023 ที่ผ่านมา ส่วนแบ่งตลาดรถอีวีของจีนก็พุ่งขึ้นเป็น 37% มากกว่าส่วนแบ่งของสหรัฐฯ ที่มี 7.6% 

นอกจากนี้ จีนยังเดินหน้าส่งออกรถอีวีไปยังตลาดต่างประเทศจำนวนมาก หลังจากที่ตลาดจีนเริ่มมีการเติบโตที่ชะลอตัวลง และมีการแข่งขันราคาอย่างรุนแรง ทำให้สหรัฐฯ จึงพิจารณาปรับขึ้นอัตราภาษี เพื่อให้กำแพงภาษีที่สูงขึ้น อาจจะลดการนำเข้าและลดการแข่งขันในสหรัฐฯ

Reuters / electrek

]]>
1473144
สู้ไม่ไหว! รถยนต์ “Mitsubishi” ถอนโรงงานใน “จีน” หลังกระแสรถอีวีจีนเบียดจนยอดขายร่วง 60% https://positioningmag.com/1445862 Wed, 27 Sep 2023 14:25:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1445862 “Mitsubishi Motors” ตัดสินใจถอนโรงงานผลิตรถในประเทศ “จีน” หลังยอดขายปี 2022 ร่วงลงถึง 60% เนื่องจากชาวจีนหันไปนิยมรถอีวีแบรนด์จีนมากขึ้น หลังจากนี้คาดว่า GAC พาร์ทเนอร์ร่วมทุนสัญชาติจีนของโรงงานนี้ จะทำการแปลงโรงงานไปผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทแทน

Nikkei Asia รายงานกระแสข่าวโดยไม่ได้อ้างอิงแหล่งข่าวว่า ยอดขายของ Mitsubishi Motors ในจีนชะลอตัวลงมาพักใหญ่หลังจากชาวจีนหันไปนิยมรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์แบรนด์จีนมากขึ้น และไม่ได้มีเพียง Mitsubishi Motors เท่านั้นที่ประสบปัญหา แต่รถยนต์แบรนด์ญี่ปุ่นอื่นๆ ก็กำลังเผชิญปัญหาแบบเดียวกันในจีน

โรงงานของ Mitsubishi Motors ในจีนเป็นการร่วมทุนกับ Guangzhou Automobile Group (GAC) ลงทุนฝั่งละ 50% ตัวโรงงานตั้งอยู่ในมณฑลหูหนาน และมีข่าวการหยุดดำเนินการผลิตเพิ่มมาตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยโรงงานนี้เป็นโรงงานเดียวที่ Mitsubishi Motors มีในประเทศจีน

สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานต่อไปว่า หลังฝั่งญี่ปุ่นถอนหุ้นออกไป คาดว่า GAC ที่ยังถือครองโรงงานแห่งนี้ จะเปลี่ยนโรงงานมาผลิตรถยนต์อีวีของบริษัท และจะพยายามรักษาการจ้างงานไว้ให้ได้มากที่สุด

สถานการณ์ของ Mitsubishi Motors แย่ลงอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปี 2022 บริษัทมีการจำหน่ายรถยนต์ในจีนได้เพียง 38,550 คัน ต่ำลง 60% เมื่อเทียบกับปี 2021

ในช่วงปลายปีที่แล้ว บริษัทพยายามต่อสู้ในตลาดด้วยการส่งรถเอสยูวีรุ่น ‘Outlander’ ซึ่งเป็นรถยนต์ไฮบริดลงสนามแข่งขัน แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับผลตอบรับที่ดี จนนำมาสู่การถอนโรงงานออกจากจีน

หลังจากนี้ คาดว่าบริษัทจะหันมาทุ่มทรัพยากรทั้งหมดกับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียแทน เพราะภูมิภาคนี้ถือเป็นภูมิภาคทำเงินให้กับ Mitsubishi Motors ได้ถึง 1 ใน 3 ของยอดรวมบริษัท

จากข้อมูลของ สมาคมผู้ผลิตรถยนต์แห่งประเทศจีน ยอดขายรถอีวีในจีนเมื่อปี 2022 ขายได้ถึง 5.36 ล้านคัน พุ่งทะยานขึ้น 80% จากปีก่อนหน้า และคิดเป็นสัดส่วน 20% ของยอดขายรถยนต์ใหม่ทั้งหมดในจีนเมื่อปีก่อน ทั้งนี้ Mitsubishi Motors ไม่ได้ถือสิทธิบัตรการพัฒนารถอีวีในประเทศจีน เนื่องจากจะทับซ้อนตลาดกับ GAC

ปัจจุบันการแข่งขันในตลาดรถยนต์จีน แบรนด์ต่างชาติจะต้องแข่งกับแบรนด์ท้องถิ่น MarkLines บริษัทวิจัย ประเมินว่า ในจำนวนรถยนต์ที่ขายได้ในจีน 23.56 ล้านคันเมื่อปี 2022 มีถึง 50.7% ที่เป็นแบรนด์จีนเอง สัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นเร็วมาก จากปี 2021 รถจีนยังมีสัดส่วนในตลาดที่ 45.5%

ส่วนรถยนต์แบรนด์ญี่ปุ่นก็กำลังถูกตีตลาด เมื่อปี 2022 รถญี่ปุ่นมีสัดส่วนในจีน 18.3% เทียบกับปี 2021 ที่เคยมีสัดส่วน 21.1%

มาโกโตะ อุชิดะ ประธานและซีอีโอของ Nissan Motor เคยพูดถึงสถานการณ์ในจีนไว้ว่า “เรามาถึงจุดที่ไม่สามารถทำกำไรได้ เพราะการแข่งขันลดราคาที่สาหัสในตลาด” เขากล่าว “เรากำลังพิจารณาตัวเลือกที่มี ซึ่งรวมถึงการพิจารณากลยุทธ์ในจีนกันใหม่ เช่น การเข้าร่วมทุนกับบริษัทอื่น”

Mitsubishi Motors เริ่มการส่งออกรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไปยังประเทศจีนตั้งแต่ทศวรรษ 1970s และเริ่มเข้าไปลงทุนในประเทศตั้งแต่ปี 2006 ส่วนการตั้งบริษัทร่วมทุน GAC Mitsubishi Motors เริ่มต้นในปี 2012 โรงงานแห่งนี้เคยผลิตและจำหน่ายรถยนต์ได้สูงสุด 140,000 คันเมื่อปี 2018

สำหรับประเทศไทย GAC ก็เริ่มเข้ามาทำตลาดครั้งแรกในเดือนกันยายนนี้เอง โดยส่งรถคอมแพ็คครอสโอเวอร์ AION Y Plus เข้ามาชิมลางในราคาเริ่มต้น 1,069,900 บาท และมีแผนจะมาตั้งฐานการผลิตรถยนต์ใน จ.ระยอง เพื่อใช้ส่งออกไปในภูมิภาคนี้ด้วย

Source

]]>
1445862
‘Tesla’ ลดราคาสินค้าใน ‘จีน’ อีกครั้ง ทั้งที่เคยเซ็นข้อตกลงเลิกทำ “สงครามราคา” https://positioningmag.com/1441086 Tue, 15 Aug 2023 11:26:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1441086 ย้อนไปเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ภายในงาน China Automotive Forum ได้มีการลงนาม เซ็นสัญญาสงบศึก เลิกตัดราคา จากผู้บริหารจากบริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 16 ราย โดย เทสลา (Tesla) ที่ถือเป็นผู้จุดฉนวนสงครามราคาก็ร่วมลงนามด้วย อย่างไรก็ตาม สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาใจไม่ได้มีผลทางกฎหมาย ทำให้ล่าสุด เทสลาได้ปรับลดราคาสินค้าอีกครั้ง

เทสลา ประกาศลดราคาในตลาดจีนอีกครั้ง โดยราคา Tesla Model Y ลดลง 14,000 หยวน (ราว 70,000 บาท) เหลือ 296,400 หยวน (ราว 1,440,000 บาท) และยังได้ปรับราคา Tesla Model 3 ทั้งสองรุ่นย่อย (RWD และ Performance) ลงจากเดิมอีก 8,000 หยวน (ราว 39,000 บาท) โดยมีราคาเริ่มต้นเหลือ 220,400 หยวน (ราว 1,070,000 บาท)

การเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้หุ้นของบริษัท ร่วง 1.2% เพราะไม่ใช่แค่ในตลาดจีน แต่ในตลาดสหรัฐฯ เทสลาก็ลดราคา Tesla Model S และ Model X อีกประมาณ 10% โดยเริ่มต้นที่ 78,490 ดอลลาร์ (ราว 2,740,000 บาท) และ 88,490 ดอลลาร์ (ราว 3,090,000 บาท) ตามลำดับ ซึ่งการปรับลดดังกล่าวทำให้ อัตรากําไรของเทสลาอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2020

ทั้งนี้ เทสลาได้เริ่มลดราคาสินค้าในตลาดจีนครั้งแรกตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2022 จนถึงเดือนมกราคม 2023 ซึ่งเป็นช่วงที่แบรนด์กำลังสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับคู่แข่ง ซึ่งสะท้อนถึงการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในประเทศจีน โดยหลังจากที่เทสลาลดราคาลง แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าในจีนก็เริ่มทำสงครามราคากัน โดยนักวิเคราะห์มองว่าแนวโน้มของการแข่งขันด้านราคาจะยังดำเนินต่อไปตลอดช่วงไตรมาส 3 ของปี และหลายแบรนด์จะเริ่มหั่นราคากันหนักมากขึ้นเรื่อย ๆ

“แรงกดดันด้านราคาที่เพิ่มขึ้นเกิดขึ้นมาจากการแข่งขันที่สูง รวมถึงจำนวนสินค้าคงเหลือที่สูงขึ้น และการส่งเสริมการขายในช่วงนอกฤดูท่องเที่ยว” นักวิเคราะห์ยานยนต์ของ HSBC กล่าว

ปัจจุบัน ตลาดจีนถือว่ามีความสําคัญต่อเทสลาอย่างมาก โดยเฉพาะกำลังการผลิตจากโรงงาน Shanghai Gigafactory เพียงแห่งเดียวก็คิดเป็น มากกว่าครึ่งหนึ่งของยอดขายทั่วโลก

Source

]]>
1441086