ตลาดรถ EV – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 12 Jul 2024 01:35:04 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ZEEKR’ น้องใหม่อีวีประนาม ‘สงครามราคา’ ทำภาพแบรนด์จีนในไทยแย่ ยันไม่ลงเล่นราคาแน่นอน! https://positioningmag.com/1482425 Thu, 11 Jul 2024 12:57:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1482425 หากจะพูดถึงแบรนด์ อีวีจีน ในไทยตอนนี้ ถือว่ามีมากมายจนนับนิ้วไม่พอ ดีไม่ดีจำนวนอาจจะแซงหน้าจำนวนแบรนด์รถญี่ปุ่นที่ครองตลาดในไทยไปแล้ว ล่าสุด แบรนด์ใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวในงาน Motor Show 2024 ครั้งที่ 45 อย่าง ZEEKR (ซีเคอร์) ก็ได้ฤกษ์เปิดตัวอย่างเป็นทางการในตลาดไทย ซึ่งกำลังเป็นช่วงที่แบรนด์จีนกำลังมีประเด็นพอดิบพอดี

รู้จัก ZEEKR

ZEEKR (ซีเคอร์) ก่อตั้งขึ้นในปี 2564 โดยเป็นแบรนด์อีวีในเครือบริษัท Geely Holding ของจีน เครือเดียวกับ Volvo Cars โดย ZEEKR นั้นจะเน้นทำตลาดในเซกเมนต์ พรีเมียม-ลักชูรี เป็นหลัก ปัจจุบัน ZEEKR ทำตลาดใน 20 ประเทศ มียอดขายสะสมในช่วง 29 เดือนกว่า 2.4 แสนคัน และภายในเดือนตุลาคมนี้ คาดว่าจะเปิดตัวแบรนด์ในอาเซียนครบทั้ง 9 ประเทศ

สำหรับประเทศไทย แบรนด์ได้เปิดตัวรถรุ่นแรกคือ ZEEKR X รถไฟฟ้าพรีเมียมเอสยูวีอเนกประสงค์ โดยมียอดจองกว่า 200 คัน จากงานมอเตอร์โชว์

ประนามผู้เริ่มสงครามราคาในไทย

เป่า จ้วงเฟย (อเล็กซ์) ประธานฝ่ายภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซีเคอาร์ อินเทลลิเจนท์ เทคโนโลยี มองว่า ไทยเป็นตลาดที่มีศักยภาพมาก โดยในปีที่ผ่านมายอดขายรถอีวีมีประมาณ 76,000 คัน หรือ 10% ของตลาดรถยนต์ในไทยทั้งหมด หรือเติบโตกว่า 7 เท่า เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งแปลว่าคนไทยตอบรับกับรถอีวีจีนเร็วมาก อย่างไรก็ตาม ยอดขายรถอีวีส่วนใหญ่จะเป็นในกลุ่ม อีโคคาร์ หรือ SUV ซึ่ง SUV ยังเป็นกลุ่มที่ยังมีช่องให้เติบโต รวมไปถึงกลุ่มอย่าง MPV (Multi Purpose Van) และคอมเมอร์เชียล

อย่างไรก็ตาม ตลาดไทยอาจจะต้องสะดุดเพราะเริ่มเห็น สงครามราคา ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ เลวร้ายมาก เพราะทำให้ลูกค้าไทย ลังเลหรือชะลอการซื้อ ซึ่งมันจะทำลายทั้งระบบนิเวศ ดังนั้น จะเริ่มเห็นรัฐบบาลไทยเริ่มคุยกับแบรนด์ที่เริ่มทำสงครามราคา โดย สงครามราคาที่จีนเคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะไตรมาส 1 ที่รุนแรงมาก ซึ่งส่งผลทำให้ตลาดวุ่นวาย และต้องใช้เวลา ประมาณ 3-4 เดือนกว่าจะกลับมาเป็นปกติ ดังนั้น มองว่าตลาดไทยก็อาจจะคล้าย ๆ กัน

“การลดราคาอย่างต่อเนื่องหลังเปิดตัวไปไม่นาน มันเป็นการทำตลาดที่ไม่รับผิดชอบต่อลูกค้าที่ซื้อมาก่อน นี่เป็นการทำการตลาดที่ไม่ดี ในจีนเองก็มีสมาคมผู้ประกอบการรถยนต์ที่ต้องเรียกแต่ละแบรนด์มายุติสงคราม”

ดังนั้นยืนยันว่า ZEEKR จะไม่เล่นสงครามราคาเด็ดขาด แต่จะเน้นการมอบประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า ด้วยคุณภาพสินค้า บริการหลังการขาย นี่เป็นสิ่งสำคัญที่สุด

เฉิน หยู (มาร์ส) รองประธาน ซีเคอาร์ อินเทลลิเจนท์ เทคโนโลยี (ซ้าย), เป่า จ้วงเฟย (อเล็กซ์) ประธานฝ่ายภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซีเคอาร์ อินเทลลิเจนท์ เทคโนโลยี (ขวา)

วางเป้าพันคันในสิ้นปี

ปัจจุบัน ZEEKR มีดีลเลอร์ 6 ราย เป็นพันธมิตร ซึ่งส่วนใหญ่เคยเป็นดีลเลอร์ให้กับแบรนด์พรีเมียมของยุโรป รวมแล้ว ZEEKR มีศูนย์บริการ (ZEEKR House) 14 แห่ง คาดว่าสิ้นปีจะมี 20 แห่ง โดยในปีแรกที่เปิดตัวนี้ อเล็กซ์ มองว่าอยากเน้นไปที่การ สร้างการรับรู้ ดังนั้น จึงวางเป้ายอดขายไว้ที่ประมาณ 1 พันคัน ซึ่งมองว่ายังอยู่ในความเป็นจริงที่จะเป็นไปได้

สำหรับ ZEEKR X จะเริ่มส่งมอบเดือนสิงหาคม และภายในไตรมาส 3-4 ปีนี้คาดว่าจะเปิดตัวอีกรุ่นคือ ZEEKR 009 รถ MPV ไฟฟ้า ส่วนแผนการเปิดโรงงานในไทยนั้นกำลังอยู่ระหว่างการศึกษา

“เราไม่ได้เทียบตัวเองกับแบรนด์จีน แต่เราเทียบตัวเองกับ BMW หรือ Mercedes-Benz เพราะมั่นใจในโปรดักส์ที่มีคุณภาพสูงจริง ๆ เพราะแบรนด์จีนที่เข้ามาก่อน ก็เหมือนมาช่วยโปรโมทแบรนด์จีนให้เป็นที่รู้จัก” เฉิน หยู (มาร์ส) รองประธาน ซีเคอาร์ อินเทลลิเจนท์ เทคโนโลยี ทิ้งท้าย

]]>
1482425
โอกาสตลาด ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’ ในไทย อีก 7 ปีแตะ 1 ล้านคัน มีเเววต่อยอดเป็นฐานผลิต ‘รถไฮบริด’ https://positioningmag.com/1337621 Thu, 17 Jun 2021 11:40:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337621 เมกะเทรนด์การเปลี่ยนแปลง Krungthai COMPASS ประเมินอุตสาหกรรม ‘ยานยนต์ไฟฟ้าในไทย คาดปี 2028 มียอดผู้ใช้เเตะ 1 ล้านคัน ในจำนวนนี้จะเป็น ‘รถไฮบริด’ ถึง 93% เเนะรัฐออกมาตรการช่วยดัน มีโอกาสต่อยอดเป็นฐานผลิต’ ของภูมิภาค 

ช่วงวิกฤตโรคระบาด เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจนเข้าสู่ภาวะถดถอยเเต่ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV) กลับเติบโตอย่างก้าวกระโดด ด้วยยอดขายสูงถึง 3.2 ล้านคันทั่วโลก หรือเพิ่มขึ้นกว่า 43%

ในไทยก็ได้รับความนิยมไม่น้อย โดยมียอดจดทะเบียนสูงถึง 3 หมื่นคัน ขยายตัวถึง 13% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า สวนทางยอดขายรถยนต์โดยรวมที่ลดลง 21%

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย กล่าวถึงปัจจัยที่สนับสนุน EV ว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากการตื่นตัวของภาครัฐในต่างประเทศเพื่อแก้ไขประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมตามข้อตกลงปารีส โดยเฉพาะนโยบายยกเลิกการขายยานยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) ควบคู่ไปกับการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรม

ประกอบกับความเคลื่อไหวของผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่ปรับตัวหันไปทำตลาดยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นตามความสนใจของผู้บริโภคที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน

เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้จำนวนยานยนต์ไฟฟ้าสะสมทั่วโลกมีโอกาสแตะระดับ 25-45 ล้านคันได้ภายในปี 2030 จาก 10 ล้านคันในปัจจุบัน”  

ตลาดไทยยังเล็ก เเต่มีเเววต่อยอด ‘ฐานผลิตไฮบริด’ 

สำหรับประเทศไทยนั้น มียอดใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสะสมในประเทศ ณ สิ้นปี 2020 อยู่ที่เพียง 1.9 แสนคัน หรือคิดเป็นเพียง 1% ของยานยนต์ทั้งหมด ถือว่ายังมีขนาดเล็กและอยู่ในช่วงเริ่มต้นเมื่อเทียบกับประเทศชั้นนำอื่นๆ

ดร.มานะ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการฝ่าย ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS มองว่าข้อได้เปรียบของไทย คือการเป็นฐานผลิตยานยนต์เครื่องยนต์ ICE แบบดั้งเดิมมาอย่างยาวนาน ประกอบกับกลยุทธ์การทำตลาดของผู้ผลิตยานยนต์ OEM ในประเทศที่ยังคงเน้นทำตลาดยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดตามบริษัทแม่ในญี่ปุ่น

ยอดใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสะสมในไทยมีโอกาสแตะ 1 ล้านคันได้ในปี 2028 หรือขยายตัวเฉลี่ยราว 24% ต่อปี โดยยอดใช้ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดที่คาดว่าจะมีสัดส่วนสูงถึง 93% ของยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด

โดยมาตรการภาครัฐที่สนับสนุนทั้งผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค จะเป็นส่วนสำคัญให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย มีโอกาสต่อยอดเป็นฐานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดที่แข็งแกร่งของภูมิภาคในอนาคตต่อไป

ผู้ประกอบการกลุ่มไหน ได้รับผลประโยชน์-ผลกระทบ ? 

การเป็นฐานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดของไทย นอกจากจะช่วยรักษาตลาดผู้ผลิตในกลุ่มเครื่องยนต์ ICE ในประเทศเเล้ว รวมถึงห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องในระยะปานกลางแล้ว ยังส่งผลดีต่อ ผู้ผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้า ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และผู้ผลิตวัสดุน้ำหนักเบาและแข็งแรงอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม พิมฉัตร เอกฉันท์ นักวิเคราะห์ของ Krungthai COMPASS ระบุว่า ในระยะยาว การที่สัดส่วนยานยนต์ปราศจากการปล่อยมลพิษ หรือ Zero Emission Vehicle : ZEV เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยตามกระแสเมกะเทรนด์ที่กำลังเดินหน้าไปสู่เศรษฐกิจพลังงานสะอาด (Green Economy) นั้น จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนในกลุ่ม Powertrain และ Engine ในไทย ซึ่งมีมูลค่าตลาดสูงถึงเกือบ 3 แสนล้านบาท หรือประมาณ 20% ของรายได้ของผู้ผลิตชิ้นส่วนในตลาดทั้งหมด

โดยสรุปเเล้ว ในระยะสั้นปานกลาง อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยแบบดั้งเดิม จะถูกปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้างเพื่อรองรับฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดมากขึ้น ทำให้ดีมานด์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มยานยนต์เครื่องยนต์ ทั้ง ICE แบบเดิม ควบคู่ไปกับระบบไฟฟ้าสมัยใหม่ ยังเป็นที่ต้องการทั้งในและต่างประเทศ

อย่างไรก็ดี กระแสเมกะเทรนด์ที่ตื่นตัวต่อประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม การปรับตัวของผู้ผลิตที่เน้นไปหายานยนต์แบบปราศจากมลพิษ (ZEV) มากขึ้น รวมทั้งการเปิดรับจากผู้บริโภคที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าแบบ ZEV จะทยอยเข้ามามีบทบาทในไทยมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งก็จะทำให้ในระยะยาวที่สัดส่วนยานยนต์ ZEV เพิ่มขึ้นอย่างมีนัย ย่อมจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก โดยเฉพาะในกลุ่ม Powertrain และ Engine มากที่สุด

 

 

 

]]>
1337621