ติดโควิด – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 30 Dec 2021 03:29:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ผลวิจัยใหม่พบ ผู้ติดเชื้อ ‘โอมิครอน’ อาจมีภูมิคุ้มกันสายพันธุ์ ‘เดลตา’ https://positioningmag.com/1369067 Wed, 29 Dec 2021 02:26:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369067 เหมือนจะเป็นข่าวดีในข่าวร้าย เมื่อมีการวิจัยพบว่า ผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) จะมีภูมิคุ้มกันสายพันธุ์เดลตา (Delta) ด้วย

จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวแอฟริกาใต้พบว่า ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน อาจมีภูมิคุ้มกันสายพันธุ์เดลตาด้วย โดยการค้นพบอาจมีนัยสำคัญต่อประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ที่การติดเชื้อโอมิครอนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของสายพันธุ์โอมิครอนกับเดลตาคือ อาการป่วยรุนแรงน้อยกว่า

“การติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนจะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันชนิดลบล้างฤทธิ์ (Neutralizing Antibody) ที่สามารถต้านไวรัสสายพันธุ์เดลตา เนื่องจากโอมิครอนสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทำให้การติดเชื้อซ้ำกับเดลตามีโอกาสน้อยลง” ทีมนักวิทยาศาสตร์นำโดย Khadija Khan จากสถาบันวิจัยสุขภาพแอฟริกาเขียนไว้ในผลการวิจัยของพวกเขา

ในการวิจัยเกิดจากการติดตามผู้ติดเชื้อจำนวน 13 คน โดย 11 คนในนั้นติดเชื้อด้วยตัวแปรโอมิครอน โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 7 รายที่ได้รับการฉีดวัคซีน โดยได้ทั้งวัคซีนของ Pfizer, BioNTech และ johnson & johnson

โดยการตอบสนองของแอนติบอดีของผู้ที่ติดเชื้อโอมิครอนดูเหมือนจะเพิ่มการป้องกันตัวแปรเดลตาได้มากกว่า 4 เท่าในสองสัปดาห์หลังจากที่ผู้เข้าร่วมลงทะเบียนในการศึกษา โดยผู้เข้าร่วมยังแสดงให้เห็นว่าความสามารถของแอนติบอดีในการสกัดกั้นการติดเชื้อโอมิครอนได้เพิ่มขึ้น 14 เท่า

ดังนั้น หากสายพันธุ์โอมิครอนแทนที่เดลตาและไม่รุนแรงกว่าสายพันธุ์ในอดีต ความร้ายแรงของ COVID-19 จะลดลงและการติดเชื้ออาจเปลี่ยนไปรบกวนบุคคลและสังคมน้อยลง อย่างไรก็ตาม การศึกษายังไม่ได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ ในสาขานี้ และยังไม่ชัดเจนว่าการป้องกันที่เพิ่มขึ้นนั้นเกิดจากแอนติบอดีที่มาจากโอมิครอน, การฉีดวัคซีน หรือภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อครั้งก่อนหรือไม่ แต่บุคคลที่ได้รับการฉีดวัคซีนแสดงให้เห็นถึงการป้องกันที่แข็งแกร่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาจากแอฟริกาใต้และสหราชอาณาจักรพบว่า ผู้ที่ติดเชื้อโอมิครอนจะมีอาการป่วยที่ไม่รุนแรง โดยผู้ติดเชื้อโอมิครอนมีโอกาสเกิดโรคร้ายแรงน้อยกว่า 70% เมื่อเทียบกับเดลตา แต่ก็มีการตั้งข้อสังเกตว่า “เป็นข้อมูลเบื้องต้นและมีความไม่แน่นอนสูง” เนื่องจากโอไมครอนยังไม่แพร่กระจายอย่างกว้างขวางในกลุ่มอายุสูงอายุและกลุ่มอายุที่มีความเสี่ยงมากขึ้น

แต่นักระบาดวิทยาเตือนว่า แม้โอมิครอนจะรุนแรงน้อยกว่าเดลตา แต่ก็ยังสามารถสร้างภาระให้โรงพยาบาลได้ง่าย ๆ ด้วยการแพร่กระจายเร็วกว่าเดลตามาก โดยองค์การอนามัยโลก กล่าวว่า โอมิครอนกำลังแพร่กระจายเร็วกว่าเชื้อโควิดรุ่นก่อน ๆ การศึกษาจากฮ่องกงพบว่าโอมิครอนแพร่กระจายได้เร็วกว่า 70 เท่าในทางเดินหายใจของมนุษย์ แต่การติดเชื้อในปอดนั้นรุนแรงน้อยกว่า

Source

]]>
1369067
วิจัยกรุงศรี ประเมิน ยอดติดเชื้อโควิด สูงสุด 26,000 คน/วัน ในต้นเดือนก.ย.นี้ กรณีเลวร้าย อาจเสียชีวิตพุ่ง 250-300 คน/วัน https://positioningmag.com/1347391 Tue, 17 Aug 2021 11:34:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347391 วิจัยกรุงศรี ประเมินยอดติดเชื้อโควิด เเตะสูงสุด 26,000 คนต่อวัน ภายในต้นเดือนก.ย.นี้ กรณีเลวร้าย ยอดเสียชีวิตอาจพุ่ง 250-300 คนต่อวัน มองรัฐขยายมาตรการล็อกดาวน์เข้มงวด ยาวถึงกลางเดือนต.ค. 

ศูนย์วิจัยกรุงศรี เผยแบบจำลองวิเคราะห์การแพร่ระบาดของโควิดระลอก 3 ในไทย ล่าสุด ณ วันที่ 15 ส.ค. 64 จากสมมติฐานที่ผลของการล็อกดาวน์และวัคซีน มีประสิทธิภาพต่อการป้องกันการแพร่ระบาดที่ลดลง

โดยระบุว่า ในกรณีฐาน (Base Case) ที่ถูกเลื่อนออกไปเป็นช่วงต้นเดือนก.ย. (จากเดิมช่วงกลางเดือนส.ค.) อัตราการติดเชื้อรายวัน จะเเตะ ‘จุดสูงสุด’ ในต้นเดือนก.ย. ที่จะมีผู้ติดเชื้อสูงสุดอยู่ที่ 26,000 คนต่อวัน จากนั้นยอดผู้ติดเชื้อจะทยอยปรับตัวลดลง

ทั้งนี้ ในกรณีฐาน ประเมินภายใต้สมมติฐานที่ว่า ไทยสามารถฉีดวัคซีนได้อย่างน้อย 250,000 โดสต่อวัน หรือ 55 ล้านโดสภายในสิ้นปี 64 ประสิทธิภาพวัคซีนอยู่ที่ 50% และการล็อกดาวน์ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา สามารถควบคุมการระบาดได้ 40% ของการล็อกดาวน์ในเดือนเม.ย. 63

ส่วนกรณีเลวร้าย (Worst Case) อัตราการติดเชื้อต่อวันจะเพิ่มสูงกว่า 26,000 คน เเละจำนวนผู้เสียชีวิตต่อวัน จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงประมาณต้นถึงกลางเดือนก.ย. สูงถึง 250-300 คนต่อวัน

ทั้งนี้ ในกรณีเลวร้าย ประเมินภายใต้สมมติฐานที่ว่า ไทยสามารถฉีดวัคซีนได้อย่างน้อย 250,000 โดสต่อวัน หรือ 55 ล้านโดสภายในสิ้นปี 64 แต่ประสิทธิภาพของวัคซีนอยู่ที่ 40% และการล็อกดาวน์ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา สามารถควบคุมการระบาดได้เเค่ 25% ของการล็อกดาวน์ในเดือนเม.ย. 63

จากข้อมูลทางสถิติพบว่า แม้วัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ก็สามารถป้องกันอัตราการเสียชีวิตได้พอสมควร ดังนั้นในระยะต่อไป จำนวนผู้ติดเชื้ออาจจะยังคงอยู่ในระดับสูง แต่อัตราการเสียชีวิตอาจจะลดลงได้ หากมีผู้ฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นถึงระดับหนึ่งแล้ว

ทางวิจัยกรุงศรี คาดว่า การควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบเข้มงวดของภาครัฐ อาจจะยังคงมีต่อไปจนกว่าจะพ้นกลางเดือนต.ค. ที่อัตราการเสียชีวิตเริ่มจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยจะต้องติดตามปัจจัยเพิ่มเติมในช่วงหลังจากนี้อีกครั้ง

หากมาตรการล็อกดาวน์ขยายเวลาต่อไปจนถึงเดือนต.ค. วิจัยกรุงศรีจะคงประมาณการ GDP ไทยปีนี้ไว้ที่ 1.2% ลดลงจากเดิมที่เคยคาดไว้ที่ 2%

เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มอ่อนแอลงจากครึ่งปีแรกอย่างชัดเจน เเละประมาณการ GDP ปีนี้ ที่วิจัยกรุงศรีคาดไว้ว่าจะเติบโตที่ 1.2% นั้น ยังเผชิญความเสี่ยงขาลงมากขึ้น หากมาตรการทางการคลังและการเงินที่กำลังจะออกมาไม่มากเพียงพอที่จะบรรเทาผลเชิงลบได้

 

 

]]>
1347391
สปสช.ย้ำ นำเอกสารผลตรวจ RT-PCR ไปเคลม ‘ประกันโควิด’ ได้ทันที ไม่ต้องขอใบรับรองแพทย์ https://positioningmag.com/1346310 Wed, 11 Aug 2021 09:48:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346310 นับตั้งแต่เริ่มมีการปลดล็อกให้ใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ในการตรวจคัดกรองหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ก็ทำให้ปริมาณผู้ได้รับการตรวจหาเชื้อในไทย เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งจากการตรวจในหน่วยบริการ การตรวจเชิงรุกโดยหน่วยงานต่างๆ

อย่างไรก็ตาม มีประเด็นเกี่ยวเนื่องในส่วนของผู้ที่ ‘ผลตรวจเป็นบวก’ และต้องการขอใบรับรองแพทย์ เพื่อนำไปเคลมสิทธิประโยชน์จากบริษัทประกัน โดยในทางปฏิบัติทางบริษัทประกันแต่ละบริษัท ก็มีเงื่อนไขการเอาประกันต่างกันไป

วันนี้ (11 ส.ค.64) ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เผยว่า ในส่วนของหน่วยบริการสาธารณสุข บางหน่วยก็ออกให้ บางหน่วยงานออกให้ทางออนไลน์ หรือบางหน่วยงานก็ไม่ได้ออกให้ โดยเฉพาะในส่วนของการตรวจคัดกรองเชิงรุก ที่มีบุคลากรจากหลายหน่วยงานมาให้บริการนอกที่ตั้ง

ทำให้มีประชาชนจำนวนมาก สอบถามไปยังหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อขอใบรับรองแพทย์ บางกรณีบริษัทประกันยังมีเงื่อนไขอีกว่า ต้องประทับตราของหน่วยงานนั้นๆ ทำให้ผู้ต้องการใบรับรองแพทย์ต้องเดินทางไปถึงที่ตั้งของหน่วยงานดังกล่าว

“กรณีในลักษณะนี้ สปสช. ขอแจ้งให้ทราบว่าประชาชนผู้ทำประกัน ไม่มีความจำเป็นต้องขอใบรับรองแพทย์ แต่อย่างใด” 

เนื่องจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 45/2564 เรื่อง การใช้เอกสารประกอบการจ่ายผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 สำหรับบริษัทประกันชีวิต และคำสั่งนายทะเบียนที่ 46/2564 เรื่องการใช้เอกสารประกอบการจ่ายผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2564 ที่ผ่านมา

โดยระบุว่า ให้บริษัทใช้เอกสารการตรวจพบเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งสามารถยืนยันตัวตนของผู้ที่ได้รับการตรวจหาเชื้อได้ จากห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยวิธี RT-PCR แทนใบรายงานหรือรับรองจากแพทย์ สำหรับการจ่ายผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 กรณีผู้เอาประกันภัยเจ็บป่วยหรือตรวจพบเชื้อโควิด-19 เป็นจำนวนเงินที่กำหนดไว้ (แบบเจอ-จ่าย-จบ) “อ้างอิงตามประกาศดังกล่าว ทำให้ใบรับรองแพทย์ไม่มีผลในการเอาประกันภัยอีกต่อไป”

นอกจากนี้ ขอชี้เเจงถึงประชาชนผู้รับการตรวจคัดกรองโควิด-19 ด้วย ATK ให้ทราบว่า โดยหลักการแล้ว เมื่อผลตรวจ ATK พบว่าเป็นบวก ทางเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจด้วยวิธี RT-PCR ซ้ำเพื่อยืนยันผลอยู่แล้ว ดังนั้นจึงสามารถนำผลตรวจ RT-PCR ไปเคลมประกันได้โดยไม่ต้องขอใบรับรองแพทย์อีก ส่วนผู้ที่ตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ตั้งแต่แรกก็ยิ่งไม่มีปัญหา สามารถนำไปเคลมประกันได้เลย

]]>
1346310