ทรู – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 10 Jan 2025 01:10:56 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ซิกเว่ เบรกเก้ Come Back ประเทศไทย คุม ‘กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมและดิจิทัล เครือ CP’ มีผล 1 มี.ค. เป็นต้นไป https://positioningmag.com/1505884 Thu, 09 Jan 2025 07:44:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1505884 ‘เครือเจริญโภคภัณฑ์’ หรือ ‘เครือ CP’ ประกาศแต่งตั้ง ‘ซิกเว่ เบรกเก้’ (Sigve Brekke) ให้ดำรงตำแหน่ง ‘ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมและดิจิทัล เครือ CP รับผิดชอบการดำเนินธุรกิจกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมและดิจิทัลในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นตรงกับ ‘ศุภชัย เจียรวนนท์’ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยจะมีผลในวันที่ 1 มีนาคม 2568

 

ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือ CP เปิดเผยว่า การเข้ามาของซิกเว่ เบรกเก้ครั้งนี้ เป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับเครือ CP ซึ่งมั่นใจในวิสัยทัศน์และประสบการณ์ของซิกเว่ที่จะพาเครือ CP สู่การเป็น Technology Company ชั้นนำระดับโลก พร้อมเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

 

สำหรับบทบาทและความรับผิดชอบของซิกเว่ จะครอบคลุมถึงการดูแลรับผิดชอบธุรกิจที่เครือเจริญโภคภัณฑ์เข้าไปลงทุน เช่น ธุรกิจเทคโนโลยีโทรคมนาคม ธุรกิจดิจิทัล และธุรกิจด้านการเงินดิจิทัล เป็นต้น

 

ทั้งนี้ ซิกเว่ เบรกเก้ เคยดำรงตำแหน่ง ‘ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร’ ของเทเลนอร์กรุ๊ปเป็นเวลา 9 ปี จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2024 ก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่ง ‘รองประธานบริหารและหัวหน้าภูมิภาคเอเชีย’ รวมถึงเคยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ‘ดีแทคในประเทศไทย’ และเคยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการของบริษัทต่าง ๆ หลายแห่งในกลุ่มเทเลนอร์ ทั้งยังเคยเป็นสมาชิกคณะกรรมการของ GSMA ตั้งแต่ปี 2017 ถึงปี 2024

 

ที่มา : เว็บไซต์ We are CP

]]>
1505884
เปิดแผน ‘ทรู’ ปี 2024 พร้อมตอบคำถามการทำ ‘Virtual Bank’ และความพร้อมประมูลคลื่นใหม่ในอนาคต https://positioningmag.com/1465594 Sat, 09 Mar 2024 05:05:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1465594 ครบ 1 ปีเรียบร้อยสำหรับ ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่เกิดจากการควบรวมระหว่าง ทรูและดีแทค โดยสามารถดึงลูกค้ามาเพิ่มได้ถึง 5 แสนราย รวมเป็น 51.9 ล้านราย และมีรายได้รวม 202,765 ล้านบาท แม้จะขาดทุน 15,689 ล้านบาท แต่ EBITDA ก็เติบโตได้ติดต่อกัน 4 ไตรมาส และปีนี้ทรูตั้งเป้าเติบโตที่ 3-4% โดยมีกลยุทธ์หลักคือ ยกระดับประสบการณ์ลูกค้า

มั่นใจปีนี้สัญญาณและบริการจะยิ่งดีขึ้น

ปีที่ผ่านมา ทรูได้พัฒนาเครือข่ายให้ทันสมัย (Network Modernization) แล้วมากกว่า 2,400 เสาทั่วประเทศ สำหรับปีนี้ ทรูจะทำเพิ่มอีกประมาณ 8,000 เสาทั่วประเทศเพื่อให้ครบ 10,000 เสา โดยวางงบลงทุนไว้ 3 หมื่นล้านบาท อีกทั้งเชื่อว่าหากการควบรวมระบบสัญญาณเสร็จสมบูรณ์จะยิ่งทำให้คุณภาพสัญญาณดีขึ้น จากเดิมเป็นการเปิดโรมมิ่งเพราะการควบรวมยังไม่เสร็จสมบูรณ์

“พอการควบรวมแล้วลูกค้าทรู-ดีแทคจะสามารถใช้สัญญาณได้ครบจากทุกเสา เมื่อทุกเสาจะใช้คลื่นได้หมด คุณภาพก็จะดีหมดทั้ง ไม่ว่าจะเป็นความครอบคลุมและความเร็ว” มนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าว

ในส่วนของการขยายโครงข่าย 4G, 5G ก็ยังคงทำอย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของ 5G ทรูตั้งเป้าจะขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมการใช้งาน 99% ภายในปี 2573 ปัจจุบัน ทรูมีลูกค้า 5G รวมทั้งหมด 10.5 ล้านราย ส่วนลูกค้าบรอดแบนด์ทรูออนไลน์  3.8 ล้านราย

“ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีการใช้งาน 5G ประมาณ 20% ขณะที่ประเทศเกาหลีใต้มีสัดส่วนการใช้งานสูงถึง 45% ส่วนญี่ปุ่น 26% ดังนั้น ไทยยังมีโอกาสเติบโต”

นอกจากนี้ ทรูมีแผนที่จะรวมทั้งหมดที่มี 9 แอป ให้เหลือ แอปเดียว เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าทั่วไปและพาร์ตเนอร์องค์กร โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงไตรมาส 3

นำเอไอมาใช้ทั้งกับลูกค้าและลูกจ้าง

นอกจากนี้ ทรูจะนำเทคโนโลยี AI มาใช้ทั้งเรื่องการขยายเครือข่ายและเพิ่มสัญญาณแบบเจาะลึกเฉพาะพื้นที่ทั่วประเทศ และการให้บริการลูกค้าแบบ Personalize เพื่อออกแบบบริการและนำเสนอสิทธิประโยชน์ที่เฉพาะเจาะจงตรงไลฟ์สไตล์ลูกค้าแต่ละบุคคลได้มากขึ้น รวมถึงปรับปรุง มะลิ สู่ Gen2 ที่จะทำให้ฉลาดขึ้น มีความใกล้เคียงมนุษย์ ช่วยแก้ปัญหาทั้งของลูกค้าและพนักงานคอลเซ็นเตอร์ได้แบบเรียลไทม์

ในส่วนของพนักงานภายในองค์กร ทรูมีการรีสกิลและอัปสกิลพนักงาน โดยที่ผ่านมามีการพัฒนาพนักงานไปแล้วกว่า 2,400 คน และปีนี้จะเพิ่มเป็น 5,000 คน

“การใช้เอไอเพื่อเพิ่มคุณภาพการทำงานถือเป็นประเด็นสำคัญของโลกในตอนนี้ ดังนั้น เราต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์กร โดยความรู้และทักษะเก่าไม่พอ ต้องอัปสกิล รีสกิลเพื่อใช้งานหรือสร้างเอไอ”

ยืนยันไม่เคยลดคุณภาพ แต่ผู้บริโภคใช้เยอะไม่รู้ตัว

มนัสส์ ยังยืนยันว่า ทรูไม่มีการลดคุณภาพสัญญาณ แต่มองว่าพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการคอนซูมคอนเทนต์วิดีโอซึ่งใช้แบนด์วิดท์สูง ทำให้ผู้บริโภคใช้งานดาต้าเพิ่มขึ้นไม่รู้ตัว ซึ่งทรูพบว่าการใช้งานดาต้าเพิ่มขึ้น 20% และระยะเวลาในการใช้งานดิจิทัลเซอร์วิสเพิ่มขึ้นจากวันละ 4.40 ชั่วโมง เป็น 5.38 ชั่วโมงต่อวัน

“คอมเพลนมีตลอด เราพยายามจะตอบสนองให้ดีที่สุด เพราะไม่มีเน็ตเวิร์กไหนไม่ถูกคอมเพลน ซึ่งการคอมเพลนของเราลดลง ความพอใจลูกค้าดีขึ้น และปีนี้จะทำให้ดีขึ้นอีก ลูกค้าจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน” มนัสส์ ย้ำ

ขอกสทช. มีความชัดเจนเรื่องจัดสรรคลื่น และจะทำ Virtual Bank ต้องมีพาร์ตเนอร์

จากกรณีที่คลื่นความถี่ 850 MHz, 2100 MHz, 2300 MHz ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ซึ่งจะหมดอายุในเดือน ก.ย.2568 ทางกสทช. ก็เตรียมนำคลื่นความถี่ดังกล่าวรวมถึงคลื่น 3500 MHz มาเปิดประมูล ซึ่งทาง มนัสส์ ยังไม่สามารถบอกได้ว่าทางทรูจะเคลื่อนไหวอย่างไร เนื่องจากอยากเห็น ความชัดเจนของกสทช. ว่าจะกำหนดกติกา, กำหนดเวลา รวมถึงราคาว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้วางแผนในการลงทุนได้

“ทรูสนใจไหมขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ต้องพิจารณาปัจจัยแวดล้อม เช่น คลื่นไหนที่จะจัดสรร ไทม์ไลน์ และราคา เพราะต้องยอมรับก่อนว่าไทยเป็นประเทศที่มีคลื่นความถี่ที่แพงที่สุดในโลก แพงกว่าสหรัฐอเมริกาหรือยุโรป และถ้าจะให้เราทำงานได้ดี วางเเผนได้ดี กสทช. ก็ต้องมีความชัดเจน”

ในส่วนของการทำ Virtual Bank ทาง มนัสส์ ยังบอกไม่ได้ว่าทรูจะทำหรือไม่ทำ แม้ว่าปัจจุบันทรูจะมีแพลตฟอร์ม TrueMoney ก็ตาม โดย มนัสส์ ระบุว่า หากทรูจะทำ Virtual Bank จะเป็นลักษณะของพาร์ตเนอร์ชิปเท่านั้น ไม่ทำเองคนเดียวเด็ดขาด

]]>
1465594
คุ้มแค่ไหนถามใจทรู! เปิดลิสต์เครือทรูที่ ‘ลิซ่า BLACKPINK’ ขึ้นแท่นเป็น ‘พรีเซ็นเตอร์’ https://positioningmag.com/1431989 Fri, 26 May 2023 11:31:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1431989 ด้วยชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และความสามารถ จึงไม่น่าแปลกใจนักหากแบรนด์ (ที่มีเงินถึง) จะอยากคว้าตัวสาว ลิซ่า BLACKPINK หรือ ลิซ่า ลลิษา มโนบาล ไอดอล K-pop ที่ได้รับความนิยมและมีอิทธิพลมากที่สุดในโลกมาขึ้นเป็น พรีเซ็นเตอร์ ให้กับแบรนด์ของตัวเอง และหนึ่งในนั้นก็คือ ทรู คอร์ปอเรชั่น ที่ดูเหมือนจะคุ้มสุด เพราะใช้ลิซ่าไปเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ในหลายภาคส่วนเลยทีเดียว

3 ปีจากถิ่น AIS สู่ 3 พรีเซ็นเตอร์เครือทรูในปีเดียว

ย้อนไปเมื่อปี 2019 หากใครจำกันได้ ลิซ่า ได้กลายเป็นพรีเซ็นเตอร์ปี เอไอเอส (AIS) เบอร์ 1 ของตลาดโทรคมนาคมไทยในขณะนั้น โดยเอไอเอสถือเป็น แบรนด์แรกในไทย ที่คว้าตัวลิซ่ามาเป็นพรีเซ็นเตอร์ได้สำเร็จ จากนั้น ลิซ่าก็เป็นครอบครัวของเอไอเอสมายาวนานถึงปี 2022 แต่ในปี 2023 ลิซ่าก็ไม่ได้ต่อสัญญากับทางค่ายต่อ

ซึ่งในตอนนั้น เอไอเอสได้เปิดเผยว่า บริษัทพยายามจะต่อสัญญากับลิซ่าแล้ว แต่ไม่สำเร็จเนื่องจาก ค่าย YG ปฏิเสธการต่อสัญญาและไปดีลกับบริษัทที่มี Conflict of interest ซึ่งหลายคนก็เดากันว่าต้องเป็น ทรู แน่นอน

อ่าน >>> ทำไม ‘เอไอเอส’ ต้องทุ่มจับ ‘New Gen’ และกลยุทธ์การใช้ ‘พรีเซ็นเตอร์’ จะเป็นอย่างไรเมื่อไร้ ‘ลิซ่า’

TrueID แพลตฟอร์มแรกที่ลิซ่าเป็นพรีเซ็นเตอร์

มาต้นปี 2023 ก็เป็นไปตามที่หลายคนคาดไว้ TrueID (ทรู ไอดี) แพลตฟอร์มคอนเทนต์ในเครือทรูฯ ก็ได้ประกาศว่า ลิซ่า เป็นพรีเซ็นเตอร์คนล่าสุด พร้อมกับเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ พร้อมให้เหตุผลว่า “ลิซ่า BLACKPINK จะมาช่วยตอกย้ำภาพความเป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลกของ TrueID ที่ปัจจุบันให้บริการครอบคลุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” นอกจากนี้ แพลตฟอร์มยังได้เอ็กซ์คูลซีฟคอนเทนต์ของ BLACKPINK และคอนเทนต์อื่น ๆ จากศิลปินในสังกัด YG Entertainment  อีกด้วย

TrueX แอปพลิเคชันใหม่หลังควบรวม

หลังจากที่ ทรู และ ดีแทค ควบรวมกันเป็น บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในช่วงเดือนมีนาคม และ 1 เดือนผ่านไป บริษัทก็ได้เปิดตัวแอปพลิเคชันใหม่ TrueX ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มที่รวมบริการต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ชีวิตของลูกค้าทรู และผู้บริโภคทั่วไปมารวมไว้ในแอปฯ เดียว อาทิ โซลูชันการดูแลบ้าน, สุขภาพ, ช้อปปิ้ง รวมถึงบันเทิง

และเพื่อสื่อสารความเป็น LifeOS แพลตฟอร์ม TrueX ก็เลือกใช้ ลิซ่า เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ โดยมีการยิงโฆษณาทางช่องทางต่าง ๆ ทั้งทำโปรโมชันแพ็กเกจ เพื่อดันให้แพลตฟอร์มมียอดดาวน์โหลด 1 ล้านดาวน์โหลดในสิ้นปี

True Money ที่มีพรีเซ็นเตอร์ระดับโลกครั้งแรก

แม้จะทำตลาดไทยมานาน 8 ปี ให้บริการครอบคลุม 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีผู้ใช้มากกว่า 50 ล้านราย แต่แพลตฟอร์ม ทรูมันนี่ (True Money) ก็ยังไม่เคยมีพรีเซ็นเตอร์ของแบรนด์อย่างจริงจัง มีเพียงแค่บางแคมเปญเท่านั้น แต่มาปีนี้ ทรูมันนี่เลือกจะทุ่มเงินดึงลิซ่า มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้างมากขึ้น รวมถึงต้องการสื่อว่าแบรนด์ทรูมันนี่เป็นแบรนด์ใหญ่ระดับ Top เหมือนกับลิซ่า

เรียกได้ว่าผ่านไปยังไม่ถึงครึ่งปี แต่เครือทรูก็ใช้ลิซ่ายืนเป็นพรีเซ็นเตอร์แล้วถึง 3 แพลตฟอร์ม ซึ่งถือเป็นจุดที่น่าสนใจมากว่า เครือทรูฯ เลือกจะใช้ลิซ่าเป็นพรีเซ็นเตอร์เฉพาะ แพลตฟอร์มดิจิทัล แต่ไม่ได้ใช้มาสื่อสารถึงบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ที่ส่วนนั้นเลือกใช้ นาย ณภัทร และ ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก ซึ่งต้องติดตามกันต่อไปว่าเครือทรูฯ จะใช้ลิซ่าเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับแพลตฟอร์มดิจิทัลไหนอีกบ้าง หรือจะข้ามฟากไปฝั่ง เครือซีพี ที่เคยมีข่าวลือ

]]>
1431989
‘ทรู คอร์ปอเรชั่น’ ยังไม่ฟันอนาคตยุบเหลือ ‘แบรนด์เดียว’ ย้ำ 3 ปีนี้ ‘ทรู-ดีแทค’ ยังต้องแข่งหาลูกค้า https://positioningmag.com/1421654 Thu, 02 Mar 2023 11:34:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1421654 เริ่มสตาร์ทวันที่ 1 มีนาคม สำหรับ ‘บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)’ ที่เกิดจากการควบรวมของ ‘ทรู’ และ ‘ดีแทค’ ซึ่งนับเป็นการควบรวมกิจการโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากมูลค่าของกิจการ (Market Capitalization) ที่รวมกันถึงประมาณ 2.94 แสนล้านบาท แล้วหลังจากควบรวมขุมพลังของ ทรู คอร์ปอเรชั่น จะมีอะไร ลูกค้าจะได้อะไรเพิ่มเติม ไปหาคำตอบกัน

โรมมิ่งคลื่น แต่ไม่รวมคลื่น

แม้ทรู-ดีแทค จะควบรวมกัน แต่การรวม คลื่นความถี่ เป็นสิ่งที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ย้ำว่า ห้ามรวมกันเด็ดขาด ดังนั้น ทรู คอร์ปอเรชั่น จึงเปิดบริการโรมมิ่งข้ามเครือข่ายในชื่อสัญญาณ ‘dtac-true’ และ ‘true-dtac’ โดยลูกค้าทั้ง 2 ค่ายที่รวมกันกว่า 55 ล้านราย (ทรู 33.8 ล.) (ดีแทค 21.2 ล.) จะใช้งานได้ ผ่านการเปิดโรมมิ่งข้อมูล โดยจะครอบคลุม 77 จังหวัดภายในกลางเดือนมีนาคมนี้ นอกจากนี้ บริษัทมีแผนจะขยายโครงข่าย 5G ครอบคลุม 98% ของประชากร ในปี 2569 อีกด้วย

ทั้งนี้ หลังการควบรวม ทรู คอร์ปอเรชั่น มีคลื่นความถี่ทั้งหมด ได้แก่

  • ย่านความถี่ต่ำ ได้แก่ 700 MHz, 850 MHz และ 900 MHz ที่มีความสามารถในการทะลุทะลวง ครอบคลุมพื้นที่ในวงกว้าง
  • ย่านความถี่กลาง 1800 MHz 2100 MHz 2300 MHz 2600 MHz
  • ย่านความถี่สูง 26 GHz สำหรับใช้งานในภาคธุรกิจ

ใช้ชื่อทรูเพราะฉายภาพนวัตกรรมชัดกว่า

คำถามที่หลายคนสงสัยคือ เมื่อควบรวมกัน ทำไมชื่อบริษัทกลับมีแต่ทรู โดย มนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) อธิบายว่า เนื่องจากแบรนด์ทรูมีโปรดักส์ด้านดิจิทัลที่ครอบคลุมกว่า เช่น เรื่องของคอนเทนต์ ดังนั้น บริษัทใหม่ที่ต้องการสื่อสารว่าเป็นบริษัท โทรคมนาคม-เทคโนโลยี จึงเลือกใช้ชื่อของทรู

“บริษัทใหม่จะได้ประโยชน์จากการผนึกกำลังร่วมกัน (Synergy) ทั้งด้านการลงทุนและรายได้ ซึ่งจะขับเคลื่อนร่วมกัน อาทิ โครงข่ายโทรคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เครือข่ายไอที การจัดซื้อ การขาย การตลาด ช่องทางการค้าปลีก และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยจะนำสู่สมดุลความเสมอภาคและความเท่าเทียมในการแข่งขัน และจะนำมาสู่ประโยชน์สูงสุดของลูกค้า

ยังไม่ฟันอนาคตเหลือแบรนด์เดียว

ฐานพล มานะวุฒิเวช หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด กล่าวว่า ตามกฎของกสทช. ที่กำหนดไว้ว่า เมื่อรวมกิจการแล้วต้องคงแบรนด์ไว้ 3 ปี ทำให้แบรนด์ทรู-ดีแทคยังคงอยู่ในตลาด ลูกค้าทั้งสองไม่ต้องเปลี่ยนซิมการ์ด สามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง แพ็กเกจและอายุการใช้งานยังเหมือนเดิม รวมถึงช่องทางติดต่อหรือศูนย์บริการก็ยังใช้ของค่ายเดิมได้เลย

อย่างไรก็ตาม บริษัทยังไม่เคาะว่าในอีก 3 ปีจากนี้จะไปในทิศทางไหน จะรวมเป็นแบรนด์เดียว หรือ สร้างเป็นแบรนด์หลัก-แบรนด์รอง ซึ่งทั้ง 2 โมเดลก็มีข้อดี-ข้อเสียต่างกัน แต่ปัจจุบันการทำตลาดของ 2 แบรนด์ยังต้องทำคู่ขนานกันไป ยังต้องแข่งขันในการหาลูกค้าตามปกติ ขณะที่พนักงานก็ยังทำงานแยกกัน ดีแทคยังทำงานที่จามจุรี ส่วนพนักงานทรูยังอยู่ที่ตึกทรู

“เรากำลังศึกษาอยู่ว่าจะรวมเป็นแบรนด์เดียวหรือสร้างเป็นแบรนด์หลัก-แบรนด์รองเหมือนโตโยต้ากับเลกซัส”

ทั้งนี้ แม้แบรนด์จะแยกกันทำ แต่สิ่งที่ลูกค้าทั้ง 2 ค่ายจะได้เพิ่มเติมคือ สิทธิประโยชน์ที่รวมกัน เช่น ดีแทคจะสามารถเข้าถึงบริการคอนเทนต์ของทรู หรือลูกค้าทรูจะสามารถใช้สิทธิประโยชน์จากแบรนด์พันธมิตรของดีแทคได้ โดยหลังจากควบรวม ทางบริษัทได้เพิ่ม Better Together Gifts ได้แก่ ดูฟรี บอล หนัง และคอนเทนต์ระดับโลก นาน 30 วัน ผ่านแอปฯ ทรูไอดี, เน็ตฟรี 10GB นาน 7 วัน ทั้งเติมเงิน และรายเดือน และดื่มฟรี 1 ล้านแก้ว เลือกรับฟรี All Cafe, KOI The, DAKASI วันที่ 10 และ 24 มี.ค. ให้กับลูกค้าทั้ง 2 ค่าย

วาง 7 กลยุทธ์ขับเคลื่อนองค์กร

  1. ผู้นำด้านโครงข่ายโทรคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอย่างแท้จริง (Be the Undisputed Network and Digital Infrastructure Leader ) – การผสานศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทใหม่ ทั้งโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคม อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมดิจิทัล อาทิ ดาต้าเซ็นเตอร์มาตรฐานสากล ระบบคลาวด์ การต่อยอดนวัตกรรมบริการดิจิทัลต่างๆ เพื่อคนไทย ทั้ง IoT, AI Analytic, Machine Learning, Cyber Security ที่จะช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนวิถีดิจิทัล (Digital Transformation) ร่วมยกระดับคุณภาพชีวิต สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
  2. เติบโตเป็นผู้นำนอกเหนือจากบริการหลัก (Champion Growth Beyond the Core) – มุ่งพัฒนานวัตกรรมด้านดิจิทัล โซลูชัน รวมถึงระบบนิเวศดิจิทัลที่ครบวงจร พร้อมร่วมขับเคลื่อนเพื่อสร้างความเท่าเทียมทางดิจิทัลในทุกภาคส่วน (Digital Inclusion) สร้างประสบการณ์ใหม่ไร้รอยต่อให้กับลูกค้า รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพให้องค์กรธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ตลอดจนร่วมสนับสนุนประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัลได้เร็วยิ่งขึ้น
  3. สร้างมาตรฐานประสบการณ์ใหม่เพื่อลูกค้าในประเทศไทย (Set the Bar for Customer Experience in Thailand) – ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาช่วยในการวิเคราะห์ เติมเต็มไลฟ์สไตล์ลูกค้าได้ตรงใจมากขึ้น ทั้งการนำเสนอสินค้าบริการ การมอบสิทธิพิเศษ ตลอดจนช่องทางการเข้าถึง O2O ผ่านการผนึกพลังทั้งออฟไลน์ในเครือทั่วประเทศและออนไลน์แบบ 24 ชม.
  4. เติมเต็มชีวิตอัจฉริยะยิ่งขึ้นเพื่อทุกสไตล์ลูกค้าชาวไทย (Enhance Smart Life for Customers) – ทรู คอร์ปอเรชั่น จะส่งมอบประสบการณ์ชีวิตอัจฉริยะเพื่อคนไทย ยกระดับวิถีชีวิต และไลฟ์สไตล์ทั้งความสะดวกสบาย การดูแลสุขภาพ ความปลอดภัย และการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า
  5. ยกระดับมาตรฐานสำหรับลูกค้าองค์กร (Raise Standards for Enterprise Customers) – บริษัทใหม่จะเร่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของภาคธุรกิจทั้งลูกค้า SME ธุรกิจองค์กรและภาคอุตสาหกรรม นำเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ อาทิ IoT, Robotics, AI Analytics และ Blockchain พร้อมทำงานร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ สู่การพัฒนานวัตกรรมโซลูชันครอบคลุมทุกมิติ
  6. สร้างสุดยอดองค์กรที่น่าทำงาน (Build the Best Place to Work) – บริษัทใหม่จะเป็นองค์กรแนวหน้าที่ขับเคลื่อนด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการทำงาน ดึงดูดคนเก่งที่มีความรู้ความสามารถจากทั่วโลก
  7. การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เพิ่มคุณค่าขับเคลื่อนองค์กรในระยะยาว (ESG Best in class: Sustainable Organization to Create Long Term Value) – มุ่งเน้นการนำศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม มาร่วมสร้างคุณค่าที่แท้จริงให้กับทุกชีวิต นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทั้งมิติด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล

เราตั้งเป้าจะก้าวไปเป็นหนึ่งในองค์กรนายจ้างที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเราได้เพิ่มสวัสดิการให้เท่าเทียมทุกเพศ รวมถึงกลุ่ม LGBTQ+”

]]>
1421654
ทรู คลิกไลฟ์ มุ่งเสริมแกร่งโรงเรียนเอกชนด้วย CREATIVE LEARNING INNOVATION จัดทัพนวัตกรรมการเรียนล้ำนำเทรนด์ ครบวงจร พร้อมยกระดับเด็กไทยก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 อย่างเต็มศักยภาพ https://positioningmag.com/1414171 Tue, 03 Jan 2023 10:00:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1414171

ทรู คลิกไลฟ์ TRUE CLICK LIFE ผู้นำด้านนวัตกรรมเพื่อการศึกษาแบบครบวงจร ก้าวสู่ปีที่ 15 ไปพร้อมกับความมุ่งมั่นยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย เสริมแกร่งโรงเรียนเอกชนสู่การเป็นผู้นำในศตวรรษที่ 21 โดยดึงจุดแข็งด้านความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการสื่อสารครบวงจรและนวัตกรรมล้ำสมัยของไทย ต่อยอดสู่การออกแบบหลักสูตรที่มีกระบวนการการจัดการเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ และผลิตนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ให้กับโรงเรียนเอกชน

โดดเด่นที่หลักสูตรคุณภาพก้าวล้ำนำเทรนด์ และกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ พร้อมสื่อการสอนครบครัน หวังแบ่งเบาภาระของครูผู้สอน เพิ่มประสิทธิภาพของผู้เรียน โดยมีโรงเรียนทั่วประเทศที่ใช้หลักสูตรพิเศษนี้กว่า 250 แห่งแล้ว และพร้อมที่จะขยายศักยภาพสื่อการเรียนการสอนที่รองรับการศึกษาไทยในยุคใหม่ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เดินหน้าสร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่อง มุ่งอบรมพัฒนาครู เพิ่มรายวิชาที่รองรับแนวโน้มการศึกษาในอนาคต อัปเดทหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และเทคโนโลยีที่ไม่เคยหยุดนิ่ง

ดร. เนตรชนก วิภาตะศิลปิน หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านความเป็นเลิศทางธุรกิจและการศึกษา บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดมุมมองก้าวทันโลกดิจิทัลสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืนว่า ทรูเข้ามามีส่วนผลักดันกระบวนการศึกษาของไทยหลากหลายมิติมาโดยตลอด ทรูจึงมองเห็นช่องว่างด้านการเชื่อมต่อกระบวนการเรียนรู้ เกิดไอเดียผลิตสื่อมัลติมีเดียและคลังความรู้ในรูปแบบดิจิทัลขึ้นเอง ด้วยการใช้ศักยภาพด้านการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ผลิตนวัตกรรมสื่อการสอนเต็มไปด้วยองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับระดับการเรียนรู้ของเด็กแต่ละชั้นเรียนภายใต้การทำงานของ ทรู คลิกไลฟ์ (TRUE CLICK LIFE)

ผู้บริหารด้านการศึกษา ทรู เผยวิสัยทัศน์ของทรู คลิกไลฟ์ จะมุ่งยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนเอกชนสู่มาตรฐานสากล เน้นการพัฒนาระบบการเรียนการสอนยุคใหม่ภายใต้แนวคิด CREATIVE LEARNING INNOVATION ประกอบด้วย 5 นวัตกรรมครบวงจร ครอบคลุมทุกมิติการศึกษา

1. Innovative Curriculum นวัตกรรมหลักสูตรคุณภาพ ได้แก่ หลักสูตรเทคโนโลยีวิทยาการคำนวณ (Computing Science Genius Program) หลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Genius Program) หลักสูตรภาษาจีน (Chinese Genius Program) หลักสูตรโรโบติกส์ (Robotics Genius Program) และหลักสูตรดนตรี (Music Genius Program)

2. Innovative Multimedia สื่อมัลติมีเดียล้ำสมัย ตอบโจทย์การศึกษายุคใหม่

3. Innovative Education Management ระบบการบริหารจัดการการศึกษา วิเคราะห์ประเมินข้อมูลโรงเรียน ครู นักเรียนได้ตรงจุด

4. Innovative Learning Community สร้างสังคมการเรียนรู้ เชื่อมโยง ครู นักเรียน ผู้ปกครอง เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา

5. Innovative Professional Development พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาสู่มืออาชีพ เสริมทักษะก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องตลอดปี

ทั้งนี้ เหตุผลที่ทรู คลิกไลฟ์ ชนะใจ และเข้าสู่รั้วโรงเรียนเอกชนได้มากกว่า 250 แห่งในปัจจุบัน มาจากความเข้าใจความต้องการของโรงเรียนแต่ละแห่งอย่างลึกซึ้ง และสามารถตอบสนองได้อย่างตรงจุด พร้อมนำเสนอความคุ้มค่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อเด็กนักเรียนมากที่สุด และส่งมอบกระบวนการเรียนรู้แบบครบวงจรให้กับโรงเรียนแบบเบ็ดเสร็จ (End to End)

“เราขอเพียงห้องเปล่าเพื่อปรับเปลี่ยน ดีไซน์สิ่งแวดล้อม จัดวางสื่อ และบูรณาการเรียนการสอนให้ตรงตามเป้าหมาย รวมทั้งสื่อการเรียนการสอนที่เข้าใจเด็ก ให้ความสนุก กระตุ้นการคิดวิเคราะห์ และเหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัย รวมทั้งใบงาน กิจกรรม และการประเมินผล ตลอดจนพัฒนาครูต้นแบบที่เข้าใจระบบการเรียนรู้ตามแบบฉบับของทรู คลิกไลฟ์ ส่งตรงถึงโรงเรียน เพื่อนำไปสื่อสารต่อกับครูของโรงเรียนอีกทอดหนึ่ง เพื่อทำให้รูปแบบการเรียนการสอนสมบูรณ์แบบและผลสัมฤทธิ์สูงสุด” ดร. เนตรชนก กล่าว

“เสน่ห์ของสื่อการเรียนการสอนของทรู คลิกไลฟ์ คือความใส่ใจในกระบวนการการเรียนรู้ของเด็ก สามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นธรรมชาติ และสอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก ๆ ในแต่ละชั้นวัย เราสร้างแอนิเมชัน ที่มีคาแรกเตอร์อย่างพี่แทนและน้องแยมเป็นตัวแทนของเด็กชายและหญิง และยังมีพี่คลิก Click เป็นตัวแทนของผู้ช่วยเหลือการเรียนที่จะเติบโตตามเด็กๆ ไปเรื่อย ๆ เราสร้างสื่อการสอนที่ใส่ใจในรายละเอียด และสอดรับกับการเรียนรู้ มีการใช้สื่อแบบผสมผสาน อาทิ หนังสือ สื่อภาพ สื่อกิจกรรม สื่อดิจิทัล เพลง การ์ตูนแอนิเมชัน เกมฝึกทักษะ แฟลชการ์ด บวกกับทักษะการสอนของครูที่จะสังเกตพฤติกรรมและกระตุ้นเด็กให้สนุกกับเรียนรู้ตลอดคาบเรียน พร้อมกับเชื่อมโยงกับกิจกรรมในห้องเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ กระตุ้นให้เกิดจินตนาการและสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อให้เด็ก ๆ ได้ใช้ความคิดวิเคราะห์ เรียนรู้ และบรรลุผลตามโครงสร้างหลักสูตร”

ดร.เนตรชนก กล่าวต่อว่า ทรู คลิกไฟล์ ไม่เพียงมุ่งเฉพาะเจาะจงไปที่เด็กเท่านั้น แต่ยังใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยง ครู นักเรียน และผู้ปกครองเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ทุกที่ทุกเวลา ด้วยการใช้เครื่องมือที่กระตุ้นส่วนรวมเรียนรู้ร่วมกัน อีกทั้งยังพัฒนาระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพการสอนของครูผู้สอน ส่งต่อชุดความรู้สู่ผู้เรียนได้อย่างตรงจุด และแสดงผลการเรียนรู้ในรูปแบบดิจิทัล มีการวิเคราะห์และประเมินข้อมูลของโรงเรียน ครู และนักเรียนในทุกมิติเพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการและความก้าวหน้าในการจัดการศึกษาอีกด้วย

ทั้งนี้ แนวทางในการพัฒนาต่อของทรู คลิกไลฟ์ จะยังคงสร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่องด้วยกระบวนการที่เชื่อมโยง โดยจะพัฒนาสื่อการเรียนให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งทรู คลิกไลฟ์ มีเครื่องมือพร้อมจัดทำสื่อต่าง ๆ ให้สดใหม่ได้อยู่เสมอ นอกจากนั้นยังมีแผนในการสร้าง Learning Center เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาแบบยั่งยืนให้ทั้งนักเรียนและครู ได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นในอนาคต ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 พร้อมประกาศตัวเป็นทางเลือกทางการศึกษา โดยคาดหวังจำนวนโรงเรียนที่สนใจหลักสูตรทรู คลิกไลฟ์ เพิ่มขึ้น 500 – 1,000 แห่งทั่วประเทศ

โรงเรียนเอกชนที่สนใจเข้าร่วมหลักสูตร ทรู คลิกไลฟ์ ติดต่อได้ที่โทร. 08-9116-0239 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.trueclicklife.com

 

]]>
1414171
3 พันธมิตรยักษ์ใหญ่ สยามพิวรรธน์ – ทรู – กันตนา กรุ๊ป ทุ่ม 300 ล้านบาท เตรียมเปิดตัว “True 5G PRO HUB” ดิจิทัลฮับสุดล้ำครบวงจรแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ https://positioningmag.com/1406366 Thu, 03 Nov 2022 02:00:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1406366

เตรียมพบปรากฏการณ์สุดยิ่งใหญ่สำหรับคน New Gen เมื่อ 3 พันธมิตรยักษ์ใหญ่ สยามพิวรรธน์ – ทรู – กันตนา กรุ๊ป ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญ ทุ่มงบกว่า 300 ล้าน เตรียมเปิดตัว “True 5G PRO HUB” โลกใบใหม่สำหรับคน New Gen ที่จะเป็นพื้นที่แห่งความสร้างสรรค์ การค้นพบ และการพัฒนาตัวเองสู่ทักษะอนาคต ที่จะตอบโจทย์ 3 ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ Gamer & E-Sports, Gen Z Lifestyle และ Future Skills ได้อย่างไร้ขีดจำกัด พร้อมเปิดให้บริการในเดือนธันวาคมนี้ บริเวณชั้น 4 สยามดิสคัฟเวอรี่

กลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีกชั้นนำ ทรู ผู้นำดิจิทัลไลฟ์สไตล์ครบวงจร และ กันตนา กรุ๊ป ผู้นำธุรกิจคอนเทนต์และโปรดักชั่นแนวหน้าของเมืองไทย ร่วมเปิดโลกใบใหม่ให้กับคน New Gen บริเวณ ชั้น 4 สยามดิสคัฟเวอรี่ ดิเอ็กซ์พลอราทอเรี่ยม ใจกลางสยาม ภายใต้ชื่อ “True 5G PRO HUB” ศูนย์รวมนิวดิจิทัลฮับครบวงจรครั้งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะตอบโจทย์ 3 ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ Gamer & E-Sports : ศูนย์รวมเหล่าเกมเมอร์ ตั้งแต่ระดับสมัครเล่นไปจนถึงระดับอาชีพ พร้อมด้วยพื้นที่สำหรับการจัดการแข่งขันทัวร์นาเมนต์สุดยิ่งใหญ่ รองรับตลาดเกมส์ในไทยที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด Gen Z Life Style : ศูนย์รวมไลฟ์สไตล์คน New Gen สู่การแสดงออกที่สร้างสรรค์ไร้ขอบเขต ทั้ง Cosplay, Anime, Board Game และอื่นๆ และ Future Skills : ศูนย์รวมทักษะใหม่ สู่มิติใหม่แห่งการเรียนรู้ แลกเปลี่ยน ฝึกฝนเพื่อพัฒนา และต่อยอดทักษะสู่โลกอนาคตทั้ง Metaverse NFT และ Digital Skills สุดล้ำสมัย

นางสาวจตุพร เหล่าทรงจิตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจหลัก บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ เรามีความเชื่อมั่นในการร่วมสร้าง (Co-Create & Collaboration) กับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อส่งมอบประสบการณ์เหนือความคาดหมาย และสร้างคุณค่าสมประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย (Create Share Values) โดยจุดเริ่มต้นของ “True 5G PRO HUB” เกิดจากการรวมพลังของ 3 พันธมิตรที่มีแนวคิดตรงกันในการสร้างปรากฏการณ์และนำเสนอโปรโตไทป์ใหม่สำหรับไลฟ์สไตล์เดสติเนชั่นของ New Generation ในปัจจุบัน โดยเราเชื่อว่า สยามดิสคัฟเวอรี่ เป็นพื้นที่ที่ตอบโจทย์การสร้างสรรค์คอมมูนิตี้สำหรับคนรุ่นใหม่ ที่มาพร้อมดิจิตอลไลฟ์สไตล์ ด้วยทำเลที่ตั้งใจกลางย่านสยาม ซึ่งเป็นใจกลางของแหล่งธุรกิจ แหล่งช้อปปิ้ง และศูนย์กลางการใช้ชีวิตของผู้คน ซึ่งเชื่อว่า “True 5G PRO HUB” จะเป็นโลกใบใหม่ของคน New Gen สู่การต่อยอดโอกาสทางธุรกิจในอนาคตได้อย่างไร้ขีดจำกัด

ในขณะที่ นายพิรุณ ไพรีพ่ายฤทธิ์ หัวหน้าคณะทำงานและกรรมการยุทธศาสตร์ 5G บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า โลกดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทต่อคนรุ่นใหม่ ทั้งการใช้ชีวิต ความสนใจ และไลฟ์สไตล์ ซึ่งทรูถือเป็นผู้นำดิจิทัลไลฟ์สไตล์ครบวงจรที่มี 5G เป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยที่สุด ในการเชื่อมโยงชีวิตและไลฟ์สไตล์ของผู้คนให้ไม่สะดุด สำหรับ “True 5G PRO HUB” ทรูได้เข้ามาสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Infrastructure) ทั้งในส่วนของบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต และแพ็กเกจเน็ตทรู 5G ที่เร็ว แรง และความหน่วงที่ต่ำ ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการท่องโลกของเหล่าเกมเมอร์ให้ลื่นไหลไม่มีสะดุด โดยเชื่อว่าพื้นที่แห่งนี้จะเป็นศูนย์รวมครบวงจรของ E-Sport ที่มีพื้นที่สำหรับการจัดทัวร์นาเมนต์ที่ยิ่งใหญ่ และคอมมูนิตี้ ที่รองรับความต้องการตั้งแต่ระดับสมัครเล่นไปจนถึงระดับอาชีพ และจะเป็นโลกใบใหม่ที่คน New Gen จะได้ใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเพื่อการต่อยอดทักษะอนาคตได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ด้าน นายจิรัจ กัลย์จาฤก ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กันตนา กรุ๊ป ในฐานะผู้นำธุรกิจคอนเทนต์และโปรดักชั่นแนวหน้าของเมืองไทย อีกทั้งยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน E-Sports และทักษะอนาคต เราเชื่อว่า “True 5G PRO HUB” จะเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจดิจิตอลของประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ไม่เพียงเฉพาะแค่การต่อยอดและพัฒนาวงการกีฬา E-Sports ยังเป็นทักษะไลฟ์สไตล์ที่คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 37,600 ล้านบาท และยังรวมไปถึงทักษะอนาคตที่มีดิจิทัลเป็นตัวเชื่อมโยง โดยพื้นที่แห่งนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของคน New Gen อย่างแท้จริง ทั้งการเป็นพื้นที่ที่จะส่งเสริมให้เกิดการค้นพบตัวเอง การพัฒนาทักษะที่ตนเองสนใจ และการสร้างสรรค์เครือข่ายความร่วมมือสู่การต่อยอดในอนาคตทั้งสำหรับเด็กรุ่นใหม่และพันธมิตรธุรกิจ

“True 5G PRO HUB” ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 2,000 ตารางเมตร บริเวณชั้น 4 สยามดิสคัฟเวอรี่ ดิเอ็กซ์พลอราทอเรี่ยม ใจกลางเมือง โดยแบ่งพื้นที่เป็น 5 โซน ได้แก่

· Gaming Zone : พื้นที่สำหรับเกมเมอร์และโปรเพลเยอร์ ที่พรั่งพร้อมด้วยคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สำหรับการเล่มเกมส์และ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

· Private VIP Zone : พื้นที่สำหรับเกมเมอร์และโปรเพลเยอร์ ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว

· Arena Zone : พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรม การแข่งขัน E-Sports, Live Studio, Watch Party และกิจกรรมที่คลอบคลุมทุกไลฟสไตล์คน New Gen รวมถึงการสร้างสรรค์ดิจิทัลคอนเทนต์เต็มรูปแบบ

· Future Skills Training Zone : พื้นที่สำหรับการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะอนาคต ได้แก่ ทักษะในกีฬา E-Sports, Metaverse, NF, Digital Skills อื่นๆ

· Food & Beverage Service : พื้นที่สำหรับการพักผ่อน พร้อมบริการอาหารและเครื่องดื่ม

ด้วยความพร้อมในทุกๆด้าน ความร่วมมือของพันธมิตรที่แข็งแกร่ง และเทรนด์การใช้ชีวิตของ New Gen ที่มีสไตล์เป็นของตัวเอง จะส่งผลให้ “True 5G PRO HUB” จะเปรียบเสมือนโลกใบใหม่ของคน New Gen ที่จะหลอมรวมทุกความต้องการ ความสนใจไว้ด้วยกัน เพื่อเดินหน้าสู่การเป็นคอมมิวนิตี้ที่จะจุดประกายความคิด การค้นพบ และการพัฒนาต่อยอดทักษะอนาคตได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยพร้อมเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในเดือนธันวาคมนี้

]]>
1406366
ชำแหละดีลควบรวม ‘ทรู’-‘ดีแทค’ ผูกขาดหรือไม่ เสี่ยงแค่ไหน และ ‘ผู้บริโภค’ ได้หรือเสียมากกว่ากัน https://positioningmag.com/1374729 Mon, 21 Feb 2022 12:15:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374729 เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ที่ผ่านมา บอร์ดทรู-ดีแทค ไฟเขียวควบรวมกิจการ เคาะตั้งบริษัทใหม่เข้าตลาดหุ้น พร้อมถอนหุ้น TRUE และ DTAC ออกจากตลาด โดยทาง สภาองค์กรของผู้บริโภค จัดงานเสวนา เรื่อง ‘ดีล True – Dtac ต้องโปร่งใส กสทช. ต้องรับฟังผู้บริโภค’ เพื่อสะท้อนหากเกิดการควบรวมจริงถือเป็นการ ‘ผูกขาด’ หรือไม่ และ ผู้บริโภค’ ได้หรือเสียมากกว่ากัน

ตามหลักเศรษฐศาสตร์ผูกขาดชัดเจน

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ประโยชน์ของการควบรวมบริษัทมีอยู่ 2 ประการ คือ ทำให้บริษัทมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีนวัตกรรมมากขึ้น ประหยัดต้นทุนมากขึ้น ผู้บริโภคมีโอกาสได้ของดีราคาถูก อีกมุมคือ เพิ่มอำนาจการผูกขาด ทำให้ผู้บริโภคอาจเสียผลประโยชน์ ดังนั้น ในทางเศรษฐศาสตร์ต้องชั่งน้ำหนักของ 2 ข้อนี้

“ตัวอย่างในสหรัฐอเมริกา องค์กรที่กำกับดูแลจะพิจารณาจาก ผลกระทบต่อผู้บริโภคเท่านั้น ว่าการควบรวมก่อให้เกิดผลดีหรือผลเสียกับผู้บริโภคมากกว่ากัน ถ้าเกิดผลเสียอย่างร้ายแรงก็จะ ห้ามการควบรวม แต่ถ้ายังไม่ถึงขั้นร้ายแรงก็จะมีการกำหนดกฎเกณฑ์เพิ่มเติม”

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

สำหรับการควบรวมของ ทรู-ดีแทค นั้นส่งผลดีหรือผลเสียให้ผู้บริโภคในทางเศรษฐศาสตร์นั้นพิจารณาจาก ผู้ประกอบการรายที่เหลือ (เอไอเอส) มีท่าทีอย่างไร ถ้ามีการ คัดค้าน หน่วยงานกำกับดูแลควรอนุญาตให้ควบรวม แต่ถ้า ไม่คัดค้านหรือสนับสนุน ควร ห้ามการควบรวม กรณีนี้ไม่มีใครคัดค้าน เพราะจะทำให้ตลาดกระจุกตัวเพิ่มขึ้นทำให้ผู้ประกอบการได้ประโยชน์

หลักฐานที่ชัดเจนคือ ราคาหุ้นของทั้ง 3 บริษัทเพิ่มขึ้น แม้ว่าเอไอเอสไม่ได้เกี่ยวข้องกับการควบรวมก็ตาม นอกจากนี้ การควบรวมทรู-ดีแทค ยังถือว่าเป็นการผูกขาดในระดับ อันตรายมาก ดังนั้น จึงไม่ควรอนุญาตให้ควบรวม

“ทุกอย่างชี้ว่าการควบรวมครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ แต่เป็นผลเสียกับผู้บริโภค รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่ต้องดีลกับผู้ประกอบการที่จะเหลืออยู่ 2 รายในตลาด ไม่ว่าจะเป็นดีลเลอร์ที่เหลือแค่ 2 ทางเลือก ผู้พัฒนานวัตกรรมหรือสตาร์ทอัพก็มีทางเลือกน้อยลง จะเห็นว่าทุกฝ่ายแย่ลงหมดยกเว้นผู้ประกอบการ ดังนั้น ควรระงับไม่ให้เกิดการควบรวม”

ด้าน นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการ สอบ. กล่าวว่า การควบรวมกิจการ มีผลกระทบต่อผู้บริโภคอย่างแน่นอน เพราะเมื่อทางเลือกลดลงย่อมส่งผลต่อราคา อีกทั้งยังทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล สิทธิในด้านกิจการโทรคมนาคมก็จะลดลงตามไปด้วย ดังนั้น หวังว่าบอร์ดใหม่กสทช. จะพิจารณาให้ถี่ถ้วน

“จากงานวิจัยในอังกฤษพบว่า เมื่อผู้เล่นลดลงจาก 4 เหลือ 3 ราย ผู้บริโภคต้องรับภาระเพิ่มขึ้นถึง 20% ดังนั้นจาก 3 เหลือ 2 ย่อมส่งผลต่อผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการ สอบ.

กฎหมายใหม่กสทช. มีช่องว่าง

นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า ตั้งแต่ที่ทั้งทรู-ดีแทคออกมาประกาศว่า “อยู่ระหว่างการหารือเรื่องควบรวม” แต่กลับมีการเรียนอัตราการแลกหุ้นอย่างชัดเจน แสดงว่าทั้ง 2 บริษัทได้คำนวณเรื่องการควบรวมไว้แล้วแสดงว่า มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน มีการเจรจากัน ก่อนที่จะมีการประกาศการควบรวม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทั้ง 2 บริษัทตั้งใจจะควบรวมกิจการ ลึกที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้

ไม่ว่าจะมีการควบรวมหรือไม่นั้น กสทช. เป็นองค์กรที่ต้องออกมากำกับดูแลหากเห็นพฤติกรรมที่ส่องเค้าที่จะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน ดังนั้น กสทช. ไม่ควรรีรอบอร์ดกสทช. ชุดใหม่ ควรจะวางกระบวนการตั้งแต่วันแรกที่มีการประกาศควบรวม ต้องเรียกขอดูข้อมูล และอีกปัญหาคือ ประกาศกสทช. ฉบับปี 2561 มีช่องว่างก่อให้เกิดความเสี่ยงในการควบรวมเมื่อเทียบกับประกาศของปี 2553 จากเดิมจะ ต้องมาขออนุญาตก่อน แต่ประกาศฉบับปี 61 แค่รายงานให้ทราบ

“เห็นชัดเจนว่าถ้าจาก 3 เหลือ 2 การแข่งขันน้อยลงอย่างแน่นอน ดังนั้น ถ้าปล่อยให้ทั้ง 2 บริษัทเดินหน้าควบรวมโดยที่ไม่มีหน่วยงานไหนเลยเข้ามากำกับก็จะนำไปสู่ภาวะการผูกขาดหรือการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งอาจเกิดได้ตั้งแต่ก่อนที่การควบรวมจะสิ้นสุดด้วยซ้ำ เพราะแค่เจรจาก็สุ่มเสี่ยงแล้ว”

กสทช. รับต้องรอบอร์ดใหม่พิจารณา

นพ. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช ยอมรับว่า ตั้งแต่มีข่าวการควบรวม กสทช. ได้เรียกผู้ประกอบการมาชี้แจงบ้าง รวมถึงได้ประสานงานกับคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) แต่ช่วง 3 เดือนที่มีข่าว ทางกสทช. ไม่เคยนำเสนอเรื่องการควบรวมให้เป็นวาระการประชุมเลย เพิ่งมี 2 ครั้งหลังสุดที่มีการรายงานด้วยวาจา โดยไม่มีเอกสารวาระก่อนปิดประชุมทั้ง 2 ครั้ง

ดังนั้น กรรมการกสทช. จึงไม่มีเวลาถกแถลง หรือ หารือว่าจะทำอย่างไรต่อ และเป็นปัญหาที่ตัวข้อเท็จจริงยังอยู่ในชั้นสำนักงานทั้งหมด ซึ่งปัญหาที่เกิดถือเป็น จุดอ่อนของการบริหารของสำนักงานกสทช. อีกปัญหาคือ ตัวกฎหมายผู้ร่างคือสำนักงานกสทช. ซึ่งประกาศฉบับแก้ไขการรวมกิจการปี 61 ก็ร่างโดยสำนักงานกสทช. ซึ่งส่วนตัวนั้น ไม่เห็นด้วย เพราะกฎหมายปี 53 มีความเสี่ยงในการควบรวมได้ทันที

“หลายคนไม่เอะใจเลยว่า กฎหมายปี 61 เป็นแค่การรายงานให้ทราบ แต่ไม่มีอำนาจในการพิจารณา ถือเป็นประกาศที่อำนวยความสะดวกให้ธุรกิจไม่ได้พิจารณาถึงผลกระทบในการควบรวม ดังนั้น ตรงนี้ตรงไปตรงมามาก และผมไม่ได้เห็นด้วย”

อีกปัญหาสำคัญคือ การควบรวมมาในช่วงคาบเกี่ยวการแต่งตั้ง กสทช. ชุดใหม่ ซึ่งทางกรรมการชุดปัจจุบันไม่ใช่เป็นผู้มีอำนาจในการอนุมัติเรื่องการควบรวม ดังนั้น เมื่อมีการเสนอคำขอควบรวม จึงทำให้เกิดความอิหลักอิเหลื่อหากบอร์ดทั้ง 2 ชุดเห็นไม่ตรงกัน อย่างไรก็ตาม มีข่าวว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ใน 1-2 สัปดาห์จากนี้ ขณะที่การควบรวมคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 65

นพ. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช

อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาเรื่องการควบรวมจำเป็นต้องใช้ข้อมูลจำนวนมากมาประกอบว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ไม่เช่นนั้นจะเกิดการลำเอียงในการพิจารณาในภายหลัง ผู้ที่ขอยื่นอาจขอค้านทางปกครองในภายหลังว่าเราไม่มีความเป็นกลาง ดังนั้น โดยหลักแล้วทำให้กสทช. ต้องรอข้อมูลผลการศึกษาให้ครบถ้วน ซึ่งปัจจุบันข้อถกเถียงเรื่องผลดีผลเสียจากการควบรวมของทรู-ดีแทค ยังเป็นแค่การพยากรณ์ทั้งสิ้น เพราะยังไม่เกิด แต่ถ้าปล่อยให้ควบรวมก็จะสายเกิดไปในการรับมือ

และทางกสทช. ไม่ได้นิ่งนอนใจโดยมีการประสานงานกับ คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า โดยได้หารือว่าจะรับมืออย่างไร นอกจากนี้ คณะสภาผู้แทนราษฎรณ์ก็มีการแต่งตั้งตัวแทนเพื่อศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งทางกสทช. ก็ได้หารือกันทุกสัปดาห์ มีการศึกษาผลระยะยาวสภาพตลาด ภายหลังจากการควบรวม เบื้องต้นพยายามรวมประเด็นเพื่อทำการวิเคราะห์ในทุกด้าน

“โดยสรุปแล้ว กสทช. ยังไม่ได้ฟันว่าจะไม่ให้ควบรวม หรือให้ควบรวม แต่ต้องปกป้องประโยชน์ต่อประชาชน และต้องคำนึงถึงมาตรการในระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปได้คือ ถ้าจะพิจารณาเรื่องนี้ต้องวิเคราะห์โครงสร้างตลาดที่เหมาะสมในประเทศไทย มีมาตรการเชิงโครงสร้าง และสิ่งสำคัญต้องติดตามผลกระทบจากการควบรวมจริง ๆ”

แนะ 3 ข้อ ป้องกันผูกขาด

ดร. สมเกียรติ ได้เสนอ 3 แนวทาง สำหรับป้องกันการผูกขาดที่จะเกิดจากการควบรวมทรู-ดีแทค ดังนี้

  1. ไม่อนุญาตให้ควบรวม : โดยหากดีแทคต้องการจะเลิกกิจการในประเทศไทย ควรให้ขายกิจการกับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เอไอเอสและทรู
  2. ควบรวมได้ แต่ต้องคืนคลื่น : อนุญาตให้ควบรวมได้แต่ต้องคืนคลื่นมาบางส่วนแล้วนำมาจัดสรรใหม่ เพื่อให้มีผู้ประกอบการ 3 ราย ในตลาดโทรศัพท์มือถือเหมือนเดิม
  3. ควบรวมได้แต่ต้องส่งเสริมให้เกิด MVNO หรือผู้ให้บริการที่ไม่มีโครงข่ายฯ ของตัวเอง : ทางเลือกนี้ไม่ใช่ทางเลือกที่มีความเหมาะสม เนื่องจาก MVNO ไม่ได้เกิดง่าย และการดูแลยากมาก ดังนั้น ควรป้องกันไม่ให้มีการผูกขาด เพราะหากปล่อยให้มีการผูกขาดแล้วไปแก้ไขในภายหลังจะเป็นเรื่องที่ยากมาก

สุดท้าย ผศ.ดร. กมลวรรณ จิรวิศิษฏ์ อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายพาณิชย์และธุรกิจ ตั้งข้อสังเกตว่า แม้จะยังไม่ควบรวมแต่การมีการ แบ่งปันข้อมูล อาจนำไปมาซึ่งการ ไม่แข่งขัน เพราะอาจมีการ ฮั้ว กันเกิดขึ้นได้ ดังนั้น เรื่องนี้หน่วยงานกำกับดูแลต้องนำมาพิจารณาด้วย

]]>
1374729
‘อีริคสัน’ มองในปี 68 คนไทยใช้ 5G เกิน 50% พร้อมประเมินควบรวม ‘ทรู-ดีแทค’ ตลาดยิ่งแข่งสูง https://positioningmag.com/1364923 Wed, 01 Dec 2021 14:05:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1364923 รายงานเชิงลึกระดับโลกของอีริคสัน (NASDAQ: ERIC) เปิดเผยว่าตั้งแต่อีริคสันจัดทำและเผยแพร่รายงาน Ericsson Mobility Report ครั้งแรกในปี 2554 จนถึงปัจจุบันมีปริมาณ การใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือเพิ่มขึ้นเกือบ 300 เท่า โดยในรายงานฉบับครบรอบสิบปีนี้ยังได้รวบรวมข้อมูลและสถิติต่าง ๆ เกี่ยวกับเครือข่ายมือถือทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมถึงการคาดการณ์ไปจนถึงปี 2570

ผู้ใช้ 5G ทั่วโลกแตะ 660 ล้านบัญชีในสิ้นปี

จากการคาดการณ์ที่ระบุว่า ยอดผู้ใช้บริการ 5G จะสูงแตะ 660 ล้านบัญชีภายในสิ้นปีนี้ เป็นการตอกย้ำสมมติฐานที่ว่า 5G เป็นเจเนอเรชั่นเครือข่ายไร้สายที่มีการนำมาใช้งานรวดเร็วที่สุด โดยตัวเลขที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากความต้องการใช้งานที่เพิ่มขึ้นในประเทศจีนและอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นผลมาจากราคาอุปกรณ์ 5G ที่ลดลง อีริคสันยังพบว่าในไตรมาส 3 ที่ผ่านมานี้ทั่วโลกมียอดผู้ใช้ 5G มีจำนวนเพิ่มขึ้นสุทธิที่ 98 ล้านบัญชี เทียบกับผู้สมัครใช้ 4G รายใหม่ที่ 48 ล้านบัญชี

นอกจากนี้ยังคาดว่าเครือข่าย 5G จะครอบคลุมผู้ใช้งานกว่า 2 พันล้านคนภายในสิ้นปี 2564 ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ล่าสุดที่ระบุว่าภายในปี 2570 เครือข่าย 5G จะกลายเป็นเครือข่ายหลักของโลกเพื่อใช้เข้าถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ  ซึ่ง ณ เวลานี้ผู้ใช้ 5G มีสัดส่วนประมาณ 50% ของจำนวนผู้ใช้มือถือทั้งหมดทั่วโลก โดยครอบคลุมประชากรโลกถึง 75% และคิดเป็น 62% ของปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตบนสมาร์ทโฟนทั่วโลก

ดีไวซ์มีจำนวนมากในราคาที่ถูกลง

ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2554 การนำเครือข่าย 4G LTE มาใช้งานได้ถือเป็นปัจจัยกระตุ้นสำคัญที่เพิ่มยอดผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลกพุ่งเป็น 5.5 พันล้านคน และเกิดอุปกรณ์ที่รองรับการเชื่อมต่อ 4G ขึ้นในตลาดมากกว่า 20,000 รุ่น ในรายงานยังชี้ให้เห็นว่าวงจรเทคโนโลยีของอุปกรณ์ 5G นั้นเปลี่ยนแปลงไปได้รวดเร็วกว่า ปัจจุบันมีโทรศัพท์มือถือ 5G คิดเป็นสัดส่วน 23% ของมือถือทั้งหมดทั่วโลก เทียบกับโทรศัพท์มือถือ 4G ที่มีเพียง 8% ณ จุดเดียวกัน

สิ่งนี้กระตุ้นให้การใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ตบนมือถือเติบโตอย่างก้าวกระโดด หากพิจารณาการเติบโตแบบปีต่อปี จะพบว่าปริมาณการใช้เน็ตมือถือ ณ ไตรมาส 3 ปี 64 เติบโตที่ 42% หรือประมาณ 78 เอกซะไบต์ (EB) ซึ่งนับรวมปริมาณอินเทอร์เน็ตจากบริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตไร้สาย (Fixed Wireless Network) นอกจากนี้ ยังพบว่ายอดการใช้เน็ตมือถือในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา มีปริมาณเทียบเท่าปริมาณเน็ตที่เคยมีมาทั้งหมดจนถึงปี 2559 ซึ่งจากการคาดการณ์ล่าสุดยังเผยว่าในปี 2570 จะมีการใช้เน็ตมือถือเพิ่มขึ้นสูงถึง 370 เอกซะไบต์ (EB)

ไทยเป็นผู้นำ 5G เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

คาดว่าภายในสิ้นปีนี้ยอดผู้ใช้มือถือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะเพิ่มเป็น 1.1 พันล้านราย โดยมียอดผู้สมัครใช้บริการ 5G สูงแตะ 15 ล้านราย และจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีนี้ โดยคาดว่าในปี 2570 จะมียอดผู้ใช้ 5G ถึง 560 ล้านราย

นอกจากนี้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะมีปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตต่อสมาร์ทโฟนหนึ่งเครื่องเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วที่สุดในโลก แตะ 46 กิกะไบต์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ย 34% ต่อปี สอดคล้องกับปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือทั้งหมดที่เติบโตต่อปีที่ 39% ส่งผลให้มียอดการใช้เน็ตต่อเดือนสูงถึง 46 เอกซะไบต์ (EB) เป็นผลมาจากจำนวนผู้สมัครใช้บริการ 4G และ 5G ที่เพิ่มขึ้นในตลาดที่เปิดให้บริการ 5G

สำหรับประเทศไทย คือ หนึ่งในประเทศที่มีประชากรใช้อินเทอร์เน็ตสูงที่สุดในโลก โดยมีการประเมินว่าภายในปี 2568 การใช้งานจะคิดเป็น 50% ส่วน 4G จะมีการใช้งานประมาณ 40% นอกจากนี้ ไทยคือหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญของภาคอุตสาหกรรมในระดับภูมิภาค โดยมีธุรกิจที่มีศักยภาพจำนวนมากที่นำเทคโนโลยี 5G มาปรับปรุงการดำเนินงานให้มีความทันสมัย ดังนั้น อุตสาหกรรมการผลิต, ยานยนต์ และเฮลท์แคร์ จะเป็นอุตสาหกรรมที่นำ 5G มาใช้โดยเฉพาะในเรื่องของออโตเมชั่นและการแพทย์ทางไกล ซึ่งการใช้งาน 5G จะช่วยเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการ

ทั้งนี้ การใช้งาน 5G ไทยเป็นช่วงเออรี่สเตจ ตอนนี้โอเปอเรเตอร์มองไปที่โคเวอเรจพื้นที่ใช้งานเป็นหลัก ขณะที่ผู้ใช้ในปัจจุบันมีประมาณ 3 ล้านราย ดังนั้นมองว่า โอเปอเรเตอร์ควรไปเน้นที่ คุณภาพ มากกว่าโคเวอเรจด้านพื้นที่เพื่อให้คนมาใช้ 5G เนื่องจากปัจจุบัน สิ่งที่ขับเคลื่อนการใช้งานคือ คอนเทนต์ และอีกสิ่งที่สำคัญก็คือ แพ็กเกจใหม่ ๆ ในราคาที่จับต้องได้

“ตลาดไทยแอคทีฟมาก และ 5G ก็ไปเร็วกว่าที่อื่น ถือเป็นผู้นำด้วยซ้ำ แต่จะทำอย่างไรให้ประสบการณ์ 5G ดีกว่านี้ และผลักดันให้ผู้บริโภคมาใช้มากขึ้น ซึ่งผู้บริโภคไทยมีการใช้งานหลากหลายและคาดหวังกบบริการสูง ดังนั้น ต้องตอบโจทย์ผู้บริโภคให้ได้” อิกอร์ มอเรล ประธานบริษัทอีริคสัน ประเทศไทยกล่าว

อิกอร์ มอเรล ประธานบริษัทอีริคสัน ประเทศไทย

ควบรวมทรู-ดีแทค อาจทำให้ตลาดแข่งสูงขึ้น

สำหรับประเด็นที่โอเปอเรเตอร์เบอร์ 2 และ 3 อย่าง ทรู-ดีแทค ควบรวมกัน ทำให้ผู้เล่นในตลาดจาก 3 เหลือ 2 รายที่ต้องแข่งขันกัน แน่นอนว่าผู้เล่นที่น้อยลงแปลว่าตัวเลือกที่น้อยลง แต่แปลว่าเส้นแบ่งระหว่างเบอร์ 1 และ 2 ก็ยิ่งน้อย ดังนั้น การแข่งขันจะยิ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะในด้านของคุณภาพสัญญาณและโปรโมชัน เพราะผู้บริโภคไทยมีความคาดหวังสูงและใช้งานหลากหลาย ดังนั้น ในส่วนนี้ทางด้านผู้กำกับดูแลต้องมาดูว่าโอเปอเรเตอร์ให้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้บริโภคหรือยัง

สำหรับอีริคสันเอง การควบรวมนี้นำมาซึ่งโอกาสและความท้าทาย ซึ่งใน ระยะสั้น มองว่าการควบรวมจะนำไปสู่การ ลดต้นทุน จะมีการรวมทรัพยากรกัน แต่ใน ระยะยาว โอเปอเรเตอร์จะต้องพยายามหาเทคโนโลยีที่ดีขึ้น เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้ลูกค้า ดังนั้น อีริคสันต้องเกาะติดลูกค้าให้ได้มากที่สุด เพื่อที่จะได้รับรู้ถึงความต้องการของเขา และนำเสนอโซลูชั่นที่ดีที่สุดให้ลูกค้า ซึ่งสิ่งที่อีริคสันกำลังมองก็คือ เทคโนโลยี สแตนด์อะโลน หรือก็คือ การใช้เทคโนโลยี 5G ที่ไม่ได้ไปใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีเก่าอย่าง 4G

]]>
1364923
‘เอไอเอส’ ไม่ขออยู่เฉยส่งแคมเปญ ‘อยู่กับเอไอเอสดีที่สุด’ พร้อมอัดส่วนลด 50% ดึงย้ายค่าย https://positioningmag.com/1363591 Tue, 23 Nov 2021 13:59:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1363591 ในช่วงสัปดาห์นี้ ในแวดวงโทรคมนาคมคงไม่มีข่าวไหนจะใหญ่ไปกว่าการที่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน) หรือ dtac จะควบรวมกัน แน่นอนว่าหลังจากมีข่าว หลายคนต่างก็ต้องคิดแล้วว่าการแข่งขันจากนี้จะเป็นอย่างไร และพี่ใหญ่อย่าง ‘เอไอเอส’ (AIS) จะงัดไม้ไหนออกมาสู้

ในตลาดโทรคมนาคมที่ผ่านมา เอไอเอสถือว่าเป็นเบอร์ 1 ที่แข็งแรงมาโดยตลอด หากอ้างอิงจากตัวเลขไตรมาส 3 ปี 64 เอไอเอส มีลูกค้าทั้งสิ้น 43.7 ล้านเลขหมาย มีคลื่นความถี่รวม 1,420 MHz และมีรายได้ รายได้ 130,995 ล้านบาท ขณะที่เบอร์ 2 อย่าง ทรูมูฟ เอช มีลูกค้า 32 ล้านเลขหมาย มีคลื่นรวม 990 MHz มีรายได้ 96,678 ล้านบาท ส่วน ดีแทค มี 19.3 ล้านเลขหมาย มีคลื่นรวม 270 MHz และมีรายได้ 78,818 ล้านบาท

แน่นอนว่าหากทรูและดีแทคควบรวมกันแล้วจะพลิกขึ้นนำเอไอเอสทันที แต่ในส่วนของจำนวนคลื่นความถี่ยังถือว่าน้อยอยู่ ดังนั้น ก่อนที่ทั้ง 2 บริษัทจะควบรวมกันอย่างสมบูรณ์ เอไอเอสก็ไม่รอช้าที่จะสื่อสารไปยังผู้บริโภคด้วยการใช้จุดแข็งของ จำนวนคลื่นความถี่ ว่ามีมากที่สุดพร้อมทั้งขยี้ด้วยแคมเปญ อยู่กับเอไอเอสดีที่สุด

โดยเอไอเอสถือเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่กวาดเอาดาราตัวท็อปมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ได้มากเบอร์ต้น ๆ ของไทย ไม่ว่าจะ เจมส์ จิรายุ, เป๊ก ผลิตโชค, เวียร์ ศุกลวัฒน์, เบลล่า ราณี, น้องเทนนิส, แบมแบม กันต์พิมุกต์, ลิซ่า ลลิษา และน้อง ๆ BNK48 ดังนั้น เอไอเอสจึงได้ปล่อยภาพเหล่าพรีเซ็นเตอร์เพื่อสื่อสารถึงความเป็น เบอร์ 1 เผยแพร่ลงในโซเชียลทุกช่องทาง โดยในทวิตเตอร์ก็ขึ้นเทรนด์เป็นอันดับ 1 เลยทีเดียว

ไม่ใช่แค่ย้ำว่า อยู่กับเอไอเอสดีที่สุด แต่ถ้าย้ายมาอยู่ด้วยกันมันก็จะดีนะ เพราะมีความเห็นในโซเชียลบางส่วน ที่รู้สึกอยากย้ายค่ายหากทรูและดีแทคควบรวมกัน ดังนั้น เอไอเอสจึงอัด โปรย้ายค่าย โดยโปร 4G มีส่วนลด 50% แถมใช้ฟรี 1 เดือนด้วย ส่วนโปร 5G ลด 25%

ก็ไม่รู้ว่ากว่าจะถึงเวลาที่ทรูและดีแทคควบรวมกันเสร็จ เอไอเอสจะสามารถดึงลูกค้าย้ายค่ายไปได้มากน้อยแค่ไหน และไม่รู้ว่าทางทรูและดีแทคจะออกแคมเปญอะไรออกมารักษาลูกค้าไหม หรือจัดหนักทีเดียวตอนควบรวมไปเลย คงต้องรอดูกัน

]]>
1363591
รู้จัก STS แพลตฟอร์มพิเศษ ที่ “กลุ่มทรู” พัฒนาเพื่อดูแลกลุ่ม “ออทิสติก” เป็นพิเศษ https://positioningmag.com/1329082 Wed, 12 May 2021 14:18:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329082 ปฏิเสธไม่ได้ว่าในโลกปัจจุบันเราได้พบเจอกับบุคคลที่มีความแตกต่างทั้งทางด้านกายภาพ และจิตใจ หลายคนเกิดมาพร้อมกับความสมบูรณ์ของอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย แต่บางคนเกิดมาพร้อมกับความบกพร่องบางส่วนของร่างกาย แต่ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข

นอกจากความพิการทางด้านร่างกายแล้ว เราสามารถพบเห็นกลุ่มคนที่มีความบกพร่องในทักษะทางสังคมและการสื่อสาร โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลออทิสติก ให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติได้ เพียงแค่มอบความเข้าใจและการยอมรับในศักยภาพของพวกเขาเท่านั้นเอง

สร้างความตระหนักแก่ “กลุ่มออทิสติก” 

ในวันที่ 2 เมษายนของทุกปี องค์การสหประชาชาติ หรือ UN ได้กำหนดให้เป็นวันตระหนักรู้ออทิสติกโลก หรือ World Autism Awareness Day ในปีนี้ถือว่าเป็นปีที่ 14 แล้ว โดยมีแนวคิดบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า เมื่อโลกมีความตระหนักรู้ และมีความเข้าใจภาวะบุคคลออทิสติก ก็จะส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการรณรงค์ส่งเสริม ระบบสุขภาวะที่ดีให้กับประชากรโลกอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

รวมทั้งเป็นการเพิ่มระดับของการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับภาวะออทิสซึ่มทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลออทิสติกได้แสดงศักยภาพอันโดดเด่น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการ ความเข้าใจ เกิดความเคารพ และการยอมรับความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันจากทุกคนสังคมต่อบุคคลออทิสติก

ปีนี้ UN ให้นโยบายในวันออทิสติกโลก เกี่ยวกับความห่วงใยในการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการกระจายรายได้ และความมั่งคั่งการเข้าถึงการดูแลสุขภาพการคุ้มครองภายใต้กฎหมาย และการกีดกันทางการเมือง

บุคคลที่เป็นโรคออทิสติกต้องเผชิญกับความไม่เท่าเทียมกันมานานแล้ว ซึ่งยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นอีกจากการแพร่ระบาด เป็นปัญหาที่เลวร้ายยิ่งขึ้นจากแนวทางการจ้างงานที่เลือกปฏิบัติ และสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับบุคคลออทิสติก ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลให้เกิดการว่างงาน หรือการทำงานที่ไม่เหมาะสมอย่างรุนแรงของผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ในความสามารถของออทิสติก

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิคนพิการยังให้การยอมรับ “สิทธิของคนพิการในการทำงานบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกับผู้อื่น” และ “สภาพแวดล้อมการทำงานที่เปิดกว้างครอบคลุมและเข้าถึงได้สำหรับคนพิการ”

“กลุ่มทรู” ขอใช้เทคโนโลยีดูแลกลุ่มคนพิเศษ

ยิ่งในยุคโลกาภิวัฒน์ การพัฒนาเทคโนโลยีในการเข้าถึงสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวดเร็วขึ้น และมีชีวิตที่ดีขึ้น การที่ใช้เทคโนโลยีช่วยเหลือกลุ่มคนพิเศษจึงเป็นภารกิจสำคัญอีกอย่างหนึ่งของ “กลุ่มทรู” เรียกว่าเป็นการดูแลผู้คนในทุกกลุ่ม ทุกประเภทในสังคมไทยเลยทีเดียว

ในปีนี้ “กลุ่มทรู” ได้ร่วมกับ “มูลนิธิออทิสติกไทย” พัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ ซึ่งเป็นครั้งแรกของกลุ่มคนเปราะบางในประเทศไทย ที่มีชื่อว่า STS (Screening Tools for Special Needs) แพลตฟอร์มการสำรวจ และคัดกรองเบื้องต้น สำหรับบุคคลที่มีความจำเป็นพิเศษเพื่อช่วยให้กลุ่มคนเปราะบางอย่างกลุ่มออทิสติก ได้มีโอกาสเข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างทันท่วงทีและรับสิทธิพื้นฐานที่เท่าเทียม

โดยแพลตฟอร์ม จะทำหน้าที่ใน 2 ส่วนคือ

ส่วนที่ 1 :  สำหรับผู้ไม่มีบัตรคนพิการ  ใช้สำหรับคัดกรองผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ผ่านแบบคัดกรอง 40 ข้อ เพื่อประเมินภาวะความเสี่ยงเบื้องต้น ได้แก่ สมาธิสั้น เรียนรู้ช้า สติปัญญา และออทิสติก ซึ่งจะเป็นข้อมูลในการช่วยตัดสินใจให้กับผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ในการนำผู้มีความเสี่ยงเข้าพบแพทย์และเข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งยังช่วยให้บุคคลออทิสติกได้เข้าถึงบริการ สวัสดิการ รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ดีขึ้นอย่างเท่าเทียม

ส่วนที่ 2 : สำหรับผู้มีบัตรคนพิการ ใช้สำหรับผู้ที่มีบัตรคนพิการ เพื่อสำรวจ และเก็บข้อมูลที่จำเป็นต่อการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการ ให้เข้าถึงรัฐสวัสดิการได้อย่างทั่วถึง รวมถึงเป็นฐานข้อมูลสำคัญเพื่อการจ้างงานของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในอนาคตได้อีกด้วย

แพลตฟอร์มนี้สำคัญอย่างไร… จากสถิติพบว่า จำนวนเด็กออทิสติกทั่วโลก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงในอัตรา 1:54 ของประชากรวัยเด็ก ส่วนในประเทศไทยปัจจุบันมีเด็กออทิสติกมากกว่า 300,000 คน แต่อยู่ในระบบการรักษา และสวัสดิการของรัฐไม่ถึง 8% หรือประมาณ 15,000 คนเท่านั้น อีกกว่า 92% ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบการรักษาที่มีคุณภาพ และสวัสดิการ

เพราะฉะนั้นต้นเหตุของปัญหานี้ก็คือ การขาดระบบจัดทำฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ทำให้บุคคลออทิสติก ขาดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ และทักษะอาชีพ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการที่จะช่วยให้บุคคลออทิสติก และครอบครัวสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยืน

กลุ่มออทิสติกเข้าถึงสวัสดิการได้อย่างเท่าเทียม

กลุ่มทรูได้พัฒนาแพลตฟอร์ม STS ขึ้น เพื่อรวบรวมข้อมูล ณ ปัจจุบัน ของบุคคลออทิสติกทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยให้บุคคลออทิสติกได้เข้าถึงบริการ สวัสดิการ รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ดีขึ้นอย่างเท่าเทียม

การดำเนินการของแพลตฟอร์มนี้ จะอยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์ สามารถใช้งานได้ผ่านทาง โทรศัพท์มือถือทุกระบบ และคอมพิวเตอร์ มีการแสดงผล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบ Dashboard สำหรับเจ้าหน้าที่ชมรมออทิสติกแต่ละจังหวัด ภายใต้เครือข่ายของมูลนิธิออทิสติกไทย เป็นผู้ดำเนินการจัดเก็บ และอัพเดทข้อมูลในเขตรับผิดชอบของตัวเอง

สามารถสำรวจข้อมูลพื้นฐาน จำนวน และตำแหน่งที่อยู่ ของบุคคลออทิสติกทั่วประเทศ ใช้ข้อมูลนี้สามารถต่อยอด ส่งเสริมอาชีพ ได้ตรงตามความสามารถ และทักษะ รวมถึงจัดสรรสวัสดิการ ได้ตรงตามความต้องการของบุคคลออทิสติก

บุคคลทั่วไป และผู้มีบัตรคนพิการ สามารถลงทะเบียนใช้ แพลตฟอร์มได้ด้วยตัวเอง ผ่าน www.autisticthsi.com โดยฐานข้อมูลจัดเก็บที่มูลนิธิออทิสติกไทย

ประเมินเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง

ในแง่การใช้งานแพลตฟอร์มนี้เป็นเสมือนทางผ่านที่จะช่วยคัดกรองบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ จะมีทั้งหมด 2 ขั้น คือ

  1. แบบทดสอบเบื้องต้น เพื่อคัดกรองผู้มีความเสี่ยงที่จะเป็น สมาธิสั้น เรียนรู้ช้า สติปัญญา และออทิสซึม
  2. แบบทดสอบเชิงลึก เพื่อคัดกรองความเสี่ยเชิงลึกเฉพาะด้านที่ผู้ทำแบบทดสอบมีความเสี่ยงที่จะเป็น พร้อมกับการเก็บข้อมูลเพื่อการติดตามผลและส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่ม

แพลตฟอร์มนี้ยังเหมาะสำหรับพ่อแม่ หรือผู้ดูแล ที่สงสัยว่าบุตรหลานของตนเองเข้าข่ายว่าเป็นบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษหรือไม่ ซึ่งอาจจะไม่สะดวกไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการที่โรงพยาบาลได้ ก็สามารถเข้าไปทำการคัดกรองออนไลน์เบื้องต้นด้วยตนเองได้

หากทำแบบทดสอบเชิงลึก แล้วได้รับผลประเมินว่าเป็นบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ  ผู้ทำแบบทดสอบจะมีข้อมูลเบื้องต้นที่สามารถนำไปปรึกษาแพทย์ พร้อมรับการวินิจฉัย และเข้าสู่กระบวนการลงทะเบียน ออกบัตรคนพิการ เพื่อเข้ารับสวัสดิการของภาครัฐ และเอกชนได้ตรงตามความสามารถ และความต้องการอีกด้วย

จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นบุคคลกลุ่มไหน ทุกคนมีคุณค่าความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ควรได้รับสิทธิ์ในการเข้าถึงสวัสดิการอย่างเท่าเทียมกันเช่นกัน ก่อนหน้านี้เราได้เห็นกลุ่มทรูพัฒนาเทคโนโลยีที่หลากหลาย ใช้เทคโนโลยี True 5G ในการช่วยทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น แต่กลุ่มทรูก็ไม่ลืมที่จะใช้เทคโนโลยี ช่วยเหลือกลุ่มคนพิเศษที่เป็นกลุ่มเปราะบางอย่างกลุ่มออทิสติก เพื่อให้พวกเขาอยู่ร่วมกับสังคมไทยได้อย่างเท่าเทียมไปด้วยกัน
]]>
1329082