ทางด่วน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 08 Apr 2021 13:38:44 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ดอนเมืองโทลล์เวย์” จ่อเปิด IPO 7 พ.ค. นี้ คาดปริมาณรถขึ้นด่วนเป็นปกติภายในปี 2566-67 https://positioningmag.com/1327207 Thu, 08 Apr 2021 10:32:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327207 “ดอนเมืองโทลล์เวย์” ย้ำแผนเปิด IPO จัดสรร 140 ล้านหุ้นระดมทุน 7 พ.ค.นี้ ประเมินสถานการณ์ทางด่วนปี 2563 ท่ามกลาง COVID-19 รายได้-กำไรลดลง แต่เชื่อว่าปริมาณรถขึ้นทางด่วนจะกลับมาเป็นปกติภายในปี 2566-67 ชี้โอกาสเติบโตจากส่วนต่อขยายรังสิต-บางปะอินจะทำให้มีรถใช้งานดอนเมืองโทลล์เวย์เพิ่ม และสัมปทานภาครัฐอีกหลายเส้นทางที่บริษัทอาจเข้าร่วม

บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) หรือ DMT เจ้าของสัมปทานทางยกระดับอุตราภิมุข หรือ “ดอนเมืองโทลล์เวย์” คืบหน้าไปอีกขั้นในการเตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จ่อเสนอขาย IPO ปลายเดือนเมษายนนี้ และจะเข้าเทรดในตลาดหุ้นวันแรก 7 พ.ค. 64

“ธานินทร์ พานิชชีวะ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงพื้นฐานธุรกิจของบริษัท ก่อตั้งเมื่อปี 2531 หรือกว่า 30 ปีก่อน เพื่อรับสัมปทานเป็นผู้บริหารจัดการทางยกระดับดอนเมืองรวมระยะทาง 21 กิโลเมตร แบ่งเป็น 2 ช่วง คือช่วงดินแดง-ดอนเมือง ระยะทาง 15.4 กิโลเมตร และช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถานแห่งชาติระยะทาง 5.6 กิโลเมตร

ทางด่วนดอนเมืองโทลล์เวย์ถือเป็นทางด่วนเส้นสำคัญของการเข้าออกเมืองทางทิศเหนือ และมีจุดเชื่อมต่อเข้าสนามบินดอนเมืองได้โดยตรง

ตัวอย่างอัตราค่าผ่านทางดอนเมืองโทลล์เวย์ ปรับขึ้นตามสัญญาสัมปทาน (ที่มา : DMT)

ปัจจุบันสัญญาสัมปทานรอบล่าสุดจะสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2577 หรือเหลือระยะเวลาอีก 13 ปีก่อนจะหมดสัมปทานรอบนี้ และเป็นสัญญาที่มีกำหนดการขึ้นอัตราค่าผ่านทางแน่นอน โดยจะมีการปรับขึ้นอีก 2 ครั้งในปี 2567 และปี 2572 (ปัจจุบันค่าผ่านทางเริ่มต้น 80+35 บาท สำหรับช่วงที่ 1 และ 2 ตามลำดับ)

“13 ปีที่ยังเหลือสัมปทาน เราจะไม่หยุดอยู่กับที่ เราจะพัฒนาความพร้อมด้านบุคลากรและเทคโนโลยี เพราะถ้ารัฐเปิดประมูลสัมปทานใหม่เมื่อไหร่ เราก็มีโอกาสไปชิงเค้กเพิ่ม โดยเรามีประสบการณ์ด้านทางด่วนมานานกว่า 30 ปีเป็นจุดแข็ง” ธานินทร์กล่าว

 

ปี’63 สะดุด COVID-19 แต่ยังกำไร

ดร.ศักดิ์ดา พรรณไวย รองกรรมการผู้จัดการสายงานธุรกิจและการเงิน DMT กล่าวต่อถึงผลประกอบการล่าสุดของบริษัท ในปี 2563 บริษัทมีรายได้ 2,063 ล้านบาท กำไรสุทธิ 791 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 38.7% ปริมาณรถผ่านทางอยู่ที่ 34.9 ล้านคันต่อปี หรือเท่ากับกว่า 95,000 คันต่อวัน

(ที่มา : DMT)

ทั้งรายได้ กำไร และปริมาณรถลดลงจากช่วงปี 2560-62 โดยเมื่อปี 2562 บริษัทมีรายได้รวม 2,859 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,159 ล้านบาท ในช่วงปี 2560-62 บริษัทมีอัตรากำไรสุทธิอยู่ระหว่าง 41-48% และมีรถผ่านทางเฉลี่ยกว่า 154,000 คันต่อวัน

ตัวเลขในปี 2563 จึงสะท้อนให้เห็นผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 มีการล็อกดาวน์และลดการเดินทาง แต่ดร.ศักดิ์ดาชี้ว่า บริษัทยังแข็งแกร่งทางการเงินและมีกำไร รวมถึงปัจจุบันบริษัทมีหนิ้สินต่ำ โดยมีอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E) เพียง 0.4 เท่า

 

คาดกลับมาปกติภายในปี 2566-67

ดร.ศักดิ์ดากล่าวต่อว่า เชื่อว่าปี 2564 นี้สถานการณ์จะดีขึ้นกว่าปีก่อน แม้มีการระบาดรอบที่ 3 เกิดขึ้น ส่วนสถานการณ์ปริมาณรถผ่านทางด่วน คาดว่าช่วงปี 2566-67 จะกลับไปสู่ช่วงปกติเท่ากับก่อน COVID-19 คือประมาณ 154,000 คันต่อวันได้

ทางด่วนดอนเมืองโทลล์เวย์

นอกจากนี้ ดอนเมืองโทลล์เวย์จะได้รับอานิสงส์ในช่วงปี 2568-69 เมื่อทางด่วนส่วนต่อขยายรังสิต-บางปะอิน (M5) เปิดใช้ในปีดังกล่าว เส้นทางนี้จะมีการจราจรที่เชื่อมต่อดอนเมืองโทลล์เวย์เดิม ทำให้ปริมาณรถที่ใช้งานน่าจะเพิ่มขึ้น โดยเส้นทางรังสิต-บางปะอินเป็นเส้นทางที่จะไปผ่านสี่แยกบางปะอิน ทางแยกระหว่างรถที่จะขึ้นเหนือกับออกอีสานทาง จ.นครราชสีมา

ธานินทร์กล่าวว่า บริษัทวางเป้าหมายทำรายได้ 3,000 ล้านบาท เมื่อสถานการณ์กลับเป็นปกติ โดยเชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงจากหลายปัจจัย เช่น รัฐบาลมีแผนการฉีดวัคซีนและแผนการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว ซึ่งจะทำให้การเดินทางสูงขึ้น ยอดขายรถยนต์ที่เติบโตขึ้นน่าจะทำให้ปริมาณจราจรเพิ่มขึ้นด้วย

 

เล็งสัมปทาน 5 โครงการ

สำหรับแผนงานอนาคตของ DMT มีงานประมูลสัมปทาน 5 โครงการของรัฐช่วงปี 2564-65 ระยะทางรวม 244 กิโลเมตร ที่บริษัทมองว่ามีศักยภาพที่น่าสนใจ ดังนี้

(ที่มา : DMT)

1)โครงการ M5 รังสิต-บางปะอิน ระยะทาง 18 กม. มูลค่าโครงการ 39,956 ล้านบาท
2)โครงการ M9 บางขุนเทียน-บางบัวทอง ระยะทาง 38 กม. มูลค่าโครงการ 64,848 ล้านบาท
3)โครงการ M8 นครปฐม-ชะอำ ระยะทาง 119 กม. มูลค่าโครงการ 79,006 ล้านบาท
4)โครงการ M82 บางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ระยะทาง 25 กม. มูลค่าโครงการ 48,310 ล้านบาท
5)โครงการทางพิเศษกระทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต ระยะทาง 44 กม. มูลค่าโครงการ 14,177 ล้านบาท

ทั้งนี้ ธานินทร์กล่าวว่า บริษัทจะประเมินความเสี่ยงด้านความคุ้มค่าทางการเงินก่อนตัดสินใจร่วมประมูล

 

เปิด IPO ระดมทุนเป็นบริษัทปลอดหนี้

วรวัสส์ วัสสานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อวานการ์ด แคปปิตอล จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน เปิดเผยข้อมูลการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน จะเปิดขายทั้งหมด 140 ล้านหุ้น คิดเป็น 11.9% ของบริษัทหลังเปิดขาย โดยขณะนี้ยังไม่ระบุราคา คาดว่าจะเสนอขาย IPO ปลายเดือนเมษายนนี้ และจะเข้าเทรดในตลาดหุ้นวันแรก 7 พ.ค. 64

เป้าหมายการระดมทุนจะเป็นการนำเงินไปชำระภาระหนี้มีดอกเบี้ย ซึ่งจะทำให้บริษัทกลายเป็นบริษัทปลอดหนี้เพราะขณะนี้มีหนี้สินต่ำมาก และยังไม่มีแผนลงทุนโครงการใหม่จนกว่าภาครัฐจะเปิดประมูล

]]>
1327207
เตรียมใช้ M-Flow โละไม้กั้นมอเตอร์เวย์-ทางด่วน รื้อระบบเก็บเงินค่าผ่านทาง ก.พ. 64 https://positioningmag.com/1309334 Mon, 07 Dec 2020 05:51:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309334 อีกไม่นานจะได้ใช้มอเตอร์เวย์และทางด่วนที่ไม่มีไม้กั้น หรือ M-Flow กันแล้ว เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณหน้าเก็บค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์และทางด่วน ซึ่งผลพลอยได้ที่ตามมา จะช่วยลดปริมาณฝุ่นพิษ PM2.5 ไปด้วยนั้น

โดยล่าสุดกรมทางหลวงได้เริ่มงานติดตั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานของระบบ M-Flow ไปแล้ว โดยจะนำร่องบนถนนมอเตอร์เวย์หมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออกจำนวน 4 ด่าน ได้แก่ ด่านทับช้าง 1 ด่านทับช้าง 2 ด่านธัญบุรี 1 และด่านธัญบุรี 2 ช่วงต้นปี 2564

ซึ่งจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเป็นสมาชิกระบบ M-Flow ผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ และผ่านเว็บไซต์ของ ทล.ได้ช่วงปลายเดือน ธ.ค. 2563 เป็นการการันตีว่ามีของใหม่ให้ใช้แน่นอน

โดยในช่วงทดลองระบบนั้น จะเป็นการทดสอบระบบเสมือนจริงประมาณกลางเดือน ม.ค. 2564 ทั้งนี้ เพื่อเช็กความพร้อมทั้งในส่วนของผู้ลงทะเบียน และความพร้อมในการทำงานของระบบหลังบ้านทั้งหมดว่ามีการเชื่อมโยงข้อมูลกันถูกต้องหรือไม่

“คาดว่าจะเริ่มมีการทดสอบระบบประมาณ 1 เดือน ซึ่งในช่วงทดลองระบบนั้น ประชาชนที่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก M-Flow แล้ว เมื่อเข้าใช้มอเตอร์เวย์สาย 9 ระบบกล้องจะมีตรวจบันทึกป้ายทะเบียนรถแล้วจะแจ้งเตือนข้อมูลการใช้ เข้าไปในมือถือของสมาชิก แต่จะยังไม่มีการเก็บเงินค่าผ่านทางจากผู้ใช้ทาง โดยยังคงให้ชำระค่าผ่านทางตามวิธีเดิม คือ จ่ายเงินสด หรือ ผ่านบัตร M-Pass หรือ Easy Pass”

ช่องทางชำระเงินหลากหลาย

“ปิยพงษ์ จิวัฒนกุลไพศาล” ผู้อำนวยการกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง กล่าวว่า หลังทดสอบระบบประมาณ 1 เดือนแล้ว จะเข้าสู่ช่วงแรกในการใช้งานระบบ M-Flow คาดว่าจะประมาณปลายเดือน ก.พ. 2564

โดยจะเปิดให้ชำระค่าผ่านทางได้หลายช่องทาง ทั้งหักผ่านบัญชีธนาคาร สแกนคิวอาร์โค้ด บัตรเครดิต และเดบิต หักผ่านบัตร M-Pass หรือ Easy Pass จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือชำระตามรอบบิล ซึ่งสามารถตรวจสอบการใช้งานผ่านแอปฯ หรือเว็บไซต์ได้

ทางด่วน

ส่วนบริเวณด่านที่จะให้บริการระบบ M-Flow นั้น จะยกไม้กั้นออกและมีการแบ่งช่องทางให้ชัดเจน สำหรับรถใช้ระบบ M-Flow เพื่อให้สามารถวิ่งผ่านไปได้โดยไม่ต้องชะลอ

ส่วนรถที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก จะแบ่งช่องทางทางด้านซ้ายของด่านส่วนหนึ่ง ไว้ให้วิ่งผ่าน โดยยังให้ชำระค่าผ่านทางในรูปแบบเดิมได้ คือ เงินสด /บัตร M-Pass / Easy Pass

ทั้งนี้ ตามแผนงานจะส่งเสริมให้ประชาชนโหลดแอปฯ และลงทะเบียนเป็นสมาชิก เพื่อระบุตัวตนผูกกับระบบ M-Flow ให้มากที่สุด โดยจะใช้เวลาในการประเมินผลประมาณ 5-6 เดือน เพื่อแก้ไขปัญหา อุปสรรคในทุกด้าน ทั้งความเสถียรของระบบ การชำระเงิน

ซึ่งปลัดคมนาคมให้แนวคิดต่อกรมทางหลวงในการตั้ง KPI เพื่อประเมินผลการใช้งาน เพื่อประกอบการพิจารณาเดินหน้าขยายการใช้งานในระยะต่อไป เนื่องจากคาดว่าอาจจะมีโอกาสที่รถยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิกเข้าไปใช้ระบบ M-Flow ดังนั้น จะต้องประเมินว่า ระบบการตรวจสอบและติดตาม จะสามารถรองรับได้แค่ไหน โดยเบื้องต้นออกแบบระบบให้ค้างชำระค่าผ่านทางได้ 2 วัน

ทุ่มงบ 340 ล้าน “ติดตั้งระบบ-ถอดไม้กั้น-จ้าง Outsource บริหารจัดการ”

กรมทางหลวง จะมีการลงทุน 4 ส่วน ได้แก่

1. ติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานของระบบ M-Flow (M-Flow System Infrastructure) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 วงเงินประมาณ 180 ล้านบาท ซึ่งจะเป็น Back Office ระบบหลัก โดยผู้รับจ้างเริ่มงานมาตั้งแต่ปลายเดือน ก.ย. 2563 ซึ่งคาดว่าจะพร้อมสำหรับการเปิดให้ประชาชนโหลดแอปฯ และลงทะเบียนเป็นสมาชิกในปลายเดือน ธ.ค.นี้

2. ติดตั้งระบบกล้องตรวจจับป้ายทะเบียนอัตโนมัติ และจ้างบริหารจัดการระบบ วงเงิน 120 ล้านบาท ซึ่งประมูลจัดซื้อจัดจ้างแล้ว อยู่ระหว่างที่อัยการตรวจร่างสัญญา คาดว่าจะลนามสัญญากับผู้รับจ้างได้ภายในเดือน ธ.ค.นี้

ซึ่งจะเป็นการจ้าง Outsource สัญญาปีต่อปี ดำเนินการติดตั้งกล้องจับป้ายทะเบียน ติดระบบเซ็นเซอร์ ที่ด่านทับช้าง 1 ด่านทับช้าง 2 ด่านธัญบุรี 1 และด่านธัญบุรี 2 พร้อมจ้างบริหารจัดการระบบ และมีหน้าที่ในการแจ้งบิลค่าผ่านทาง เรียกเก็บไปยังผู้ใช้ทาง ติดตามทวงหนี้ หรือเป็น Customer Service ของระบบ M-Flow นั่นเอง

3.ติดตั้งโครงสร้างสำหรับติดตั้งกล้อง ระบบเซ็นเซอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ และติดป้ายข้อความ ที่ด่านเก็บเงินทับช้างและธัญบุรี วงเงิน 8.8 ล้านบาท

4. ปรับปรุงกายภาพช่องทางเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง เพื่อรองรับระบบ M-Flow วงเงิน 40 ล้านบาท เช่น แบ่งกั้นช่องจราจร รื้อไม้กั้นหน้าด่าน เป็นต้น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประมูลจัดซื้อจัดจ้าง

ปัจจุบันปริมาณจราจรบนมอเตอร์เวย์สาย 9 ผ่านทั้ง 4 ด่าน มีเฉลี่ยประมาณ 250,000 – 3000,000 คันต่อวัน ซึ่งมีปัญหาการจราจรที่ด่านเก็บค่าผ่านทางอย่างมาก

ว่ากันว่า…การใช้เทคโนโลยี AI จัดเก็บค่าผ่านด้วยกล้องตรวจบันทึกภาพป้ายทะเบียนรถอัตโนมัติ หรือ Automated License Plate Recognition ในการคิดค่าผ่านทางโดยไม่ต้องหยุดหรือชะลอรถ เป็นหลักการทำงานของ Video Tolling ภายใต้ความเร็วที่ 80 กม./ชม. จะรองรับรถได้ถึง 1,200 คัน/ชม. เปรียบเทียบกับช่องทางอัตโนมัติ (M Pass) ปัจจุบันรองรับได้ 500-800 คัน/ชม. ซึ่งเป้าหมายของระบบ M-FLOW จะให้รถวิ่งผ่านได้ที่ความเร็ว 120 กม./ชม. ซึ่งเป็นความเร็วที่ประกาศใช้บนทางด่วนและมอเตอร์เวย์ จะเพิ่มความเร็วรถผ่านหน้าด่านและรองรับรถได้ถึง 2,000-2,500 คัน/ช่องทาง หรือเพิ่มขึ้น 5 เท่า

ทางด่วน กทพ. นำร่องสายรามอินทรา-อาจณรงค์ กลางปี 64

สำหรับระบบ M-Flow ของทางด่วนนั้น กทพ. จะนำร่องที่ทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) จำนวน 2 ด่าน คือ ด่านสุขาภิบาล 5 และด่านลาดพร้าว ซึ่ง กทพ. จะลงทุนเพื่อดำเนินงานระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบไม่มีไม้กั้น (Multi-Lane Free Flow) หรือ M-Flow ในรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน (Single Platform System) จำนวน 38 ล้านบาท

เพื่อดำเนินการในส่วนของโครงสร้างและระบบซอฟต์แวร์ โดยจะเชื่อมต่อข้อมูลกับระบบของกรมทางหลวง ที่จะใช้ดำเนินการกับระบบเก็บค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์ โดย กทพ. จะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุ และคาดว่าจะเริ่มติดตั้งในเดือน ก.พ. 2564 ใช้เวลา 4 เดือน ให้บริการได้ในเดือน มิ.ย. 2564

และขยายแผนการพัฒนาและขยายการบริการไปยังทางด่วนสายอื่นๆ รวมถึงทางด่วนในสัญญาสัมปทานกับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เพื่อให้การบริการเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมด

ซึ่งเบื้องต้น กทพ. มีแผนดำเนินงาน บนทางด่วนสายรามอินทรา-อาจณรงค์ 4 ระยะ โดยระยะที่ 1 นำร่องใช้ระบบ M-Flow ในช่วงเดือน ก.ค. 2564 ที่ด่านสุขาภิบาล 5 และด่านลาดพร้าว ระยะที่ 2 ช่วง เดือน ม.ค. 2565 ขยายไปยังด่านที่เหลือทั้งหมด ระยะที่ 3 ประมาณกลางปี 2565 ขยายไปที่ทางพิเศษกาญจนาภิเษก หรือทางพิเศษศรีรัช และระยะที่ 4 จะใช้ได้ครอบคลุมโครงข่ายทางด่วนทั้งหมด

สำหรับการขยายระบบ M-Flow ไปยังทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 หรือมอเตอร์เวย์สายกรุงเทพมหานคร-ชลบุรี-บ้านฉาง นั้น คาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกระยะเพื่อรอให้การใช้งานบนมอเตอร์เวย์สาย 9 มีความเสถียร และแก้ปัญหาอุปสรรคได้ระดับหนึ่ง อีกทั้งระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางของมอเตอร์เวย์สาย 7 ยังเป็นระบบปิด คือเก็บค่าผ่านทางตามจำนวนกิโลเมตรใช้จริง ซึ่งระบบจะมีความซับซ้อน ต่างจากมอเตอร์เวย์สาย 9 ที่เก็บค่าผ่านทางระบบเปิด

จ้าง Outsource บริหารระบบ “ส่องป้าย- แจ้งบิล-ทวงหนี้”

ทั้งนี้ การชำระเงินค่าผ่านทางที่มีทั้ง แบบหักบัญชี หักบัตรเครดิต หรือจะเป็นระบบ postpaid คือ แบบใช้ก่อน…จ่ายทีหลัง หรือการแจ้งเป็นรอบบิล เหมือนบิลค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ามือถือ ฯลฯ ซึ่ง ทล.จะจัดจ้างเอกชน ( Outsource) ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบทั้งหมด

ซึ่งบริษัท Outsource จะต้องแบกรับความเสี่ยง กรณีที่ยังไม่สามารถติดตามรถ หรือติดตามเก็บค่าผ่านทางได้ เพราะอาจจะมีรถสวมทะเบียน รถที่ถูกโจรกรรมมา หรือกรณีป้ายทะเบียนรถลางเลือนทำให้กล้องอาจจะจับภาพได้ไม่ชัดเจน ระบบตรวจทะเบียนคลาดเคลื่อนตามไปด้วย…ปัญหามากมายที่มีโอกาสเกิดขึ้น

ขณะที่กรมทางหลวงและ กทพ.ในฐานะผู้กำกับ จะต้องได้รับค่าผ่านทางครบ 100% ดังนั้น นอกจากระบบ M-Flow จะต้องมีประสิทธิภาพแล้ว บริษัท Outsource ที่จะเข้ามาบริหารจัดการระบบหลังบ้าน จะต้องมีศักยภาพสูงมากเช่นกัน ด้วยค่าจ้าง 120 ล้านบาทต่อปี กับภาระหน้าที่บริหารจัดการระบบ ตรวจสอบรถ เรียกเก็บเงิน ออกบิล ไปจนถึง ติดตามทวงหนี้ ภายใต้เงื่อนไข คือ เงินค่าผ่านทางจะต้องส่งตรงเข้ากรมทางหลวงแบบ 100% ภายในเวลาที่กำหนด …ถือว่าต้องแบกรับความเสี่ยงที่สูงมาก

Source

]]>
1309334
ทางด่วนกำไรหรู 6 พันล้าน! เคาะโบนัสพนักงาน 5 เดือน ปีใหม่เปิดใช้ฟรี 8 วัน https://positioningmag.com/1254600 Mon, 25 Nov 2019 15:28:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1254600 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดครั้งที่14/2562 เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 62 อนุมัติจัดสรรโบนัสประจำปี 2562 ในอัตรา 5 เท่าของเงินเดือน

ขณะที่รายงานผลการดำเนินงาน กทพ.ประจำปีงบประมาณ 2562 มีกำไรประมาณ 6,702 ล้านบาท

นอกจากนี้บอร์ด กทพ.ยังเห็นชอบกำหนดอัตราค่าผ่านทาง ทางพิเศษ สายบูรพาวิถี (บางนา-ชลบุรี) และทางพิเศษสายกาญจนาภิเษก (บางพลี–สุขสวัสดิ์) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2563 ฟรีรวม 8 วัน ตั้งแต่เวลา 00.01 น.ของวันที่ 27 ธ.ค. 2562 ถึงเวลา 24.00 น.ของวันที่ 3 ม.ค. 2563

และเห็นชอบโครงการให้ส่วนลดค่าผ่านทาง 5 บาท สำหรับรถ4 ล้อ ที่ใช้ระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติ (Easy Pass) สำหรับทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1 ) เฉพาะฝั่งขาเข้าเมือง จำนวน 4 ด่าน ได้แก่ ด่านดินแดง ด่านบางนา ด่านดาวคะนอง และด่านบางจาก และทางพิเศษศรีรัช ( ทางด่วนขั้นที่ 2) ฝั่งขาเข้า จำนวน 2 ด่าน ได้แก่ ด่านประชาชื่น และด่านอโศก 4 ระหว่างเวลา 04.00 -07.00 น. ระหว่าง วันที่ 6 ม.ค. 2562 – วันที่ 6 มี.ค. 2563 รวมเป็นเวลา 2 เดือน

Source

]]>
1254600