ธนาคารโลก – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 02 Oct 2023 13:46:04 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 World Bank คาด GDP ไทยปีนี้โตเหลือแค่ 3.4% เท่านั้น ชี้เศรษฐกิจเอเชียชะลอตัวลงจากหลายปัจจัย https://positioningmag.com/1446391 Mon, 02 Oct 2023 09:05:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1446391 ธนาคารโลก (World Bank) ได้ปรับตัวเลข GDP ของไทย โดยคาดว่าในปีนี้จะเติบโตเหลือแค่ 3.4% เท่านั้น ขณะที่ปี 2024 คาดว่าจะเติบโตได้แค่ 3.5% เท่านั้น โดยมองหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นการส่งออก ไปจนถึงเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง

World Bank ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีนี้เหลือแค่ GDP เติบโต 3.4% ในรายงานฉบับล่าสุดเดือนตุลาคม ลดลงจากคาดการณ์ในเดือนเมษายนที่ 3.6% ขณะเดียวกันก็คาดกว่าในปี 2024 ข้างหน้านี้ไทยจะมีเศรษฐกิจเติบโตที่ 3.5% และยังปรับตัวเลข GDP ในปีนี้หลายประเทศ

สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจไทย ในรายงานของ World Bank ยังชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยเติบโตมากกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เป็นต้น

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ World Bank ปรับลดตัวเลข GDP ของเศรษฐกิจแต่ละประเทศในเอเชียเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากปริมาณการส่งออกสินค้าที่ลดลง นอกจากนี้ยังรวมถึงความไม่แน่นอนจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา ฯลฯ

และอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญคือการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน หรือแม้แต่ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมา นโยบายด้านการค้าที่เปลี่ยนไปของหลายประเทศ หรือแม้แต่หนี้ที่เกิดขึ้นจากรัฐบาลที่นำมาใช้แก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจช่วงการแพร่ระบาดของโควิด

รายงานของ World Bank ยังมองว่าการบริโภคในประเทศจีนที่ชะลอตัวลงจากผลกระทบของการบริโภคในประเทศจีนในปี 2024 ซึ่งคาดการณ์ว่าจะกระทบต่อ GDP จีนถึงเกือบ 0.5 จุดเปอร์เซ็นต์ (Percentage Point) จะส่งผลกระทบต่อ GDP ไทยเกือบๆ 0.2 Percentage Point เช่นกัน

นอกจากนี้ในรายงานของ World Bank ยังกังวลถึงปัญหาหนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้สาธารณะ หนี้ในครัวเรือน หรือหนี้บริษัทต่างๆ (ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน) ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่ากังวล โดยหนี้ที่สูงขึ้นเหล่านี้จะส่งผลต่อต้นทุนการกู้ยืมที่เพิ่มมากขึ้น และยังทำให้การลงทุนลดลง หรือแม้แต่หนี้ครัวเรือนก็ส่งผลต่อการบริโภคของประชาชนเช่นกัน

คาดการณ์ตัวเลขการเติบโตทาง GDP ของแต่ละประเทศในทวีปเอเชียแปซิฟิกสามารถดูได้ในรูปด้านล่าง

]]>
1446391
‘ธนาคารโลก’ หั่นคาดการณ์การเติบโต GDP โลกเหลือ 2.9% หวั่นซ้ำรอยวิกฤตเศรษฐกิจปี 1970 https://positioningmag.com/1388124 Wed, 08 Jun 2022 06:05:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388124 ธนาคารโลก (World Bank) ได้ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจทั่วโลก และเตือนว่าหลายประเทศอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย เนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำเข้าสู่ช่วงที่ซบเซาเหมือนในช่วงปี 1970

การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกคาดว่าจะลดลงเหลือ 2.9% จากที่ปี 2021 เติบโตได้ 5.7% และต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนมกราคมที่ 4.1% นอกจากนี้ยังคาดว่า อัตราการเติบโตระดับ 2% จะลากยาวถึงปี 2023-2024 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังคงสูงกว่าเป้าและมีความเสี่ยงจากภาวะซบเซา

สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวมาจากการที่รัสเซียรุกรานยูเครน ซึ่งส่งผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ให้ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับความเสียหายที่เกิดจากการระบาดใหญ่ของเศรษฐกิจโลก ซึ่งธนาคารโลก กล่าวว่า ขณะนี้กำลังเข้าสู่ช่วงที่อาจเป็น ระยะเวลาที่ยืดเยื้อของการเติบโตที่อ่อนแอและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น

“สงครามในยูเครน การล็อกดาวน์ในจีน การหยุดชะงักของซัพพลายเชน และความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอยกำลังส่งผลต่อการเติบโต สำหรับหลายประเทศ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยง” David Malpass ประธานธนาคารโลก กล่าว

การเติบโตทางเศรษฐกิจในตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาในปี 2022 คาดว่าจะลดลงเหลือ 3.4% จากที่ปี 2021 เติบโตได้ 6.6% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงปี 2011-2020 ที่ 4.8% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงไต่ระดับต่อไปทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา กระตุ้นให้ธนาคารกลางออกนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นและขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมราคาที่พุ่งสูงขึ้น

ธนาคารโลก ระบุว่า ภาวะเงินเฟ้อสูงและสภาพแวดล้อมในการเติบโตที่อ่อนแอในปัจจุบัน มีความคล้ายคลึงกันกับช่วงปี 1970 ซึ่งเป็นช่วงที่ เศรษฐกิจซบเซาอย่างรุนแรง โดยจำเป็นต้องมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างมาก และก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินมากมายในตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีความแตกต่างหลายประการ เช่น ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่า โดยทั่วไปราคาน้ำมันที่ลดลง และงบดุลที่แข็งแกร่งในวงกว้างของสถาบันการเงินรายใหญ่ซึ่งมีช่องว่างสำหรับการดำเนินกลยุทธ์ และเพื่อลดความเสี่ยงที่ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ธนาคารโลกได้เรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายประสานงานความช่วยเหลือสำหรับยูเครน ตอบโต้ราคาน้ำมันและอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และตั้งค่าการบรรเทาหนี้สำหรับประเทศกำลังพัฒนา

Source

]]>
1388124
ธนาคารโลกเตือน ราคาอาหาร-พลังงาน พุ่งครั้งใหญ่สุดรอบ 50 ปี กลุ่มยากจนกระทบหนัก https://positioningmag.com/1383142 Wed, 27 Apr 2022 10:50:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1383142 ธนาคารโลก เตือนผลกระทบสงครามรัสเซียยูเครน จะทำให้เกิดวิกฤตราคาอาหารพลังงานพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปี นับตั้งแต่ทศวรรษ 1970

โดยการหยุดชะงักในภาคการผลิตจากในพื้นที่ความขัดแย้ง จะส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้นอย่างมาก ตั้งแต่ก๊าซธรรมชาติ ข้าวสาลี น้ำมันพืชเเละฝ้าย

การปรับขึ้นของราคา กำลังเริ่มส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและด้านมนุษยธรรมอย่างมหาศาล ครัวเรือนทั่วโลกต่างกังวลถึงวิกฤติค่าครองชีพ Peter Nagle นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกระบุ

ครัวเรือนยากจนเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากพวกเขาต้องแบ่งรายได้มาใช้สำหรับค่าอาหารและพลังงานมากขึ้น

ธนาคารโลก คาดการณ์ว่า ราคาพลังงานอาจจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 50% ในปีนี้ ซึ่งจะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของประชาชนทั้งในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ

โดยราคาพลังงานที่จะเพิ่มมากที่สุด คือราคาก๊าซธรรมชาติในยุโรป ซึ่งอาจมีต้นทุนเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า เเละคาดว่าจะลดลงต่อเนื่องในปีหน้าและปี 2024 แต่ก็ยังจะสูงกว่าระดับราคาในปี 2021 ถึง 15% ซึ่งจะนำไปสู่การขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อในวงกว้าง

สำหรับสินค้าโภคภัณฑ์โดยรวม คาดว่าราคาจะสูงสุดในปี 2021 แต่ก็ยังคงสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้มากโดยสินค้าเกษตรและโลหะ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเกือบ 20% ในปีนี้ ก่อนจะค่อยๆ ลดลงในปีถัดไป

รัสเซียและยูเครน นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่เพาะปลูกธัญพืชหลักของโลก โดยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์หลักหลายรายการ อย่างเช่น ข้าวสาลี น้ำมันพืช และข้าวโพด

 

ที่มา : BBC 

]]>
1383142
‘ธนาคารโลก’ หั่นคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจโลกเหลือ 3.2% เพราะพิษสงครามรัสเซีย-ยูเครน https://positioningmag.com/1381845 Tue, 19 Apr 2022 03:03:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381845 ธนาคารโลก (World Bank) ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทั่วโลกประจำปีสำหรับปี 2565 ลงจาก 4.1% เหลือ 3.2% โดยอ้างถึงผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก โดยธนาคารโลกเตรียมปล่อยกู้ 1.7 เเสนล้านดอลลาร์ สำหรับประเทศที่ได้รับผลกระทบ

David Malpass ประธานธนาคารโลก กล่าวว่า ปัจจัยใหญ่สุดที่ทำให้มีการปรับการคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจโลกให้ลดลงก็คือ การหดตัวทางเศรษฐกิจจากทั่วยุโรปและเอเชียกลาง โดยปัจจัยอื่น ๆ ที่อยู่เบื้องหลังการชะลอตัวของการเติบโต ได้แก่ ต้นทุนอาหารและเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นซึ่งเป็นภาระของผู้บริโภคในประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก

ปัญหาดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการคว่ำบาตรด้านพลังงานจากรัสเซีย ของประเทศแถบตะวันตกซึ่งทำให้ราคาน้ำมันและก๊าซทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น การหยุดชะงักของอุปทานเพื่อการส่งออกสินค้าเกษตรของยูเครนก็เป็นอีกปัจจัยสนับสนุนที่ผลักดันราคาให้สูงขึ้น โดยที่ผ่านมา รัสเซียได้ปิดกั้นท่าเรือสำคัญ ๆ ในทะเลดำของยูเครน ทำให้เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อเรือขนส่งที่บรรทุกธัญพืชและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เนื่องจากเป็นเส้นทางที่สำคัญในการเชื่อมต่อยูเครนกับส่วนอื่น ๆ ของโลก

อย่างไรก็ตาม ธนาคารโลกกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการตอบสนองต่อวิกฤตอย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนตั้งกองทุนวงเงิน 1.7 แสนล้านดอลลาร์ โดยจะปล่อยกู้ให้แก่ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งกองทุนดังกล่าวจะปล่อยเงินกู้ระยะเวลา 15 เดือน โดยมีเป้าหมายปล่อยกู้ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วง 3 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวนี้ใหญ่กว่าที่ธนาคารโลกจัดขึ้นเพื่อบรรเทาทุกข์จาก COVID-19 ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 1.6 แสนล้านดอลลาร์

สำหรับความเสียหายทางเศรษฐกิจของโลกนั้นยังน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับรัสเซียและยูเครน โดยเมื่อต้นเดือน ธนาคารโลกคาดการณ์ว่า GDP ของยูเครนจะลดลง 45.1% ถือว่าไม่ได้ลดลงมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรกว่า 40 ล้านคน โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า GDP ของยูเครนจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ส่วนเศรษฐกิจของรัสเซียก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการคว่ำบาตรและการคว่ำบาตรทางการค้าที่ได้รับการสนับสนุนจาก NATO และตะวันตก โดยมีการคาดการณ์ว่า GDP ของรัสเซียจะลดลง 11.2% ในปีนี้อันเป็นผลมาจากการคว่ำบาตร

โดยหลังจากที่ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียร่วงลงอย่างหนักในช่วงสัปดาห์แรกของสงคราม หลังจากนั้นก็พลิกกลับคืนมาอย่างคุ้มค่า แต่นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าการฟื้นตัวนี้เป็นภาพลวงตาที่สร้างขึ้นโดยการควบคุมสกุลเงินภายในที่เข้มงวดซึ่งกำหนดโดยรัฐบาลเครมลิน ซึ่งทำให้มูลค่ารูเบิลสูงขึ้นอย่างไม่ถูกต้องในรัสเซีย

Source

]]>
1381845
‘ธนาคารโลก’ หั่นเป้า GDP โลกเหลือ 4.1% เหตุเงินเฟ้อรุนแรง โควิดยังระบาดต่อเนื่อง https://positioningmag.com/1370139 Wed, 12 Jan 2022 06:48:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370139 ธนาคารโลกกำลังปรับลดแนวโน้มเศรษฐกิจโลก เนื่องจากการระบาดอย่างต่อเนื่องของ COVID-19 นโยบายการสนับสนุนทางเศรษฐกิจของรัฐบาลหลาย ๆ ประเทศที่ลดลง และปัญหาคอขวดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในซัพพลายเชนทั่วโลก

จากที่ในปี 2564 ธนาคารโลก เคยคาดว่าเศรษฐกิจทั่วโลกปี 2565 จะเติบโต 5.5% แต่จากการระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย ทำให้เดือนในเดือนมิถุนายนปี 64 ได้มีการปรับลดคาดการณ์การเติบโตเหลือ 4.3% เท่านั้น และมาต้นปีก็ได้มีการปรับคาดการณ์อีกครั้งเหลือเพียง 4.1%

ในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกระบุว่า เศรษฐกิจ สหรัฐฯ จะเติบโต 3.7% ในปีนี้ ลดลงจาก 5.6% ในปี 2564 โดยคาดว่า จีน ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกจะมีอัตราการเติบโตที่ชะลอตัวลงเหลือ 5.1% จากในปีที่แล้วเติบโต 8%

ส่วน 19 ประเทศในยุโรปที่ใช้สกุลเงินยูโรร่วมกันคาดว่าจะเติบโต 4.2% ในปีนี้ ลดลงจาก 5.2% ในปี 2564 และ ญี่ปุ่น คาดว่าจะเติบโต 2.9% ในปี 2565 เพิ่มขึ้นจาก 1.7% ในปีที่แล้ว ในส่วนของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และกำลังพัฒนาคาดว่าจะเติบโตโดยรวม 4.6% ในปีนี้ ลดลงจาก 6.3% ในปี 2564

ทั้งนี้ การมาถึงของ COVID-19 ในต้นปี 2020 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจโลกหดตัว -3.4% แต่จากการบรรเทาทุกข์ครั้งใหญ่จากรัฐบาล, อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดที่ออกแบบโดยธนาคารกลาง และในที่สุดการเปิดตัวของวัคซีน กระตุ้นให้เกิดการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งอย่างไม่คาดคิดในปีที่แล้ว

แต่เพราะการดีดตัวอย่างรวดเร็วทำให้ธุรกิจต้องแย่งชิงกันซัพพลายเชนเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า รวมไปถึงการใช้เรือ รถไฟ และรถบรรทุกเพื่อขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา พวกเขาประสบปัญหาในการหาคนงานเพื่อเติมเต็มปัญหาการขาดแคลน

อีกหนึ่งปัญหาที่ส่งผลต่อการเติบโตในปีนี้คือ อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2551 ขณะนี้ธนาคารกลางกำลังลดการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจและพิจารณาที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับราคาที่สูงขึ้น

“เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับ COVID-19, อัตราเงินเฟ้อ และความไม่แน่นอนของนโยบายพร้อมกัน ด้วยการใช้จ่ายของรัฐบาลและนโยบายการเงินในพื้นที่ที่ไม่คุ้นเคย” David Malpass ประธานธนาคารโลกกล่าว

Source

]]>
1370139
‘World Bank’ แนะไทย ‘ขึ้นภาษีคนรวย’ เพื่อนำเงินไปใช้สู้วิกฤตโควิด https://positioningmag.com/1343315 Tue, 20 Jul 2021 10:20:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343315 อ้างอิงจากการจัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2564 ของนิตยสาร Forbes พบว่าเศรษฐีทั้งหมดร่ำรวยกว่าปีก่อนถึง 20% ขณะที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับหนี้สินกว่า 1.4 ล้านล้านบาท เนื่องจากต้องบริหารสถานการณ์ COVID-19 ทั้งในการดำเนินมาตรการรับมือ และการป้องกันโรค ดังนั้น การขึ้นภาษี ‘คนรวย’ เพื่อนำเงินมาบริหารจัดการอาจเป็นหนึ่งในทางออกที่น่าสนใจ

คิม เอ็ดเวิร์ดส์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของธนาคารโลก (World Bank) กล่าวว่า ไทยอาจต้องขึ้นภาษีคนรวยเพิ่มขึ้นเพื่อจัดการกับเงินกู้ยืมของรัฐบาลจำนวน 45,000 ล้านดอลลาร์หรือกว่า 1.4 ล้านล้านบาทที่เกิดขึ้นในช่วงการระบาดของ COVID-19 เพื่อนำไปบริหารจัดการบรรเทาการระบาดที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างมาก

ไทย ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเท่าเทียมกันน้อยที่สุดในเอเชีย โดยมีมหาเศรษฐีถึง 52 คน ตามรายงานของ Hurun Rich List ซึ่งมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มากกว่าเศรษฐีในประเทศอิตาลี ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ขณะที่มหาเศรษฐีหลายคนมีทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้นในช่วงการระบาด อาทิ ธนินท์ เจียรวนนท์ มหาเศรษฐีเบอร์ 1 ของประเทศไทย ด้วยทรัพย์สินสุทธิ 18.1 พันล้านดอลลาร์

ในทางกลับกัน คนไทยหลายล้านคนตกงาน รวมถึงกองทัพแรงงานนอกระบบจำนวนนับไม่ถ้วน ตั้งแต่คนขับรถตุ๊กตุ๊กไปจนถึงคนขายของตามท้องถนน ในขณะที่หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นเป็น 90% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ขณะที่อัตราภาษียังคงค่อนข้างต่ำ ซึ่งรวมถึงภาษีนิติบุคคลที่ 20% ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียมีอัตราภาษีนิติบุคคล 24% ในขณะที่ฟิลิปปินส์สูงถึง 30% มีเพียงสิงคโปร์และบรูไนเท่านั้นที่มีอัตราที่ต่ำกว่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่กำไรจากการขายสินทรัพย์ไม่ต้องเสียภาษีในประเทศไทย

ธนินท์ เจียรวนนท์ มหาเศรษฐีเบอร์ 1 ของประเทศไทย

ด้วยหนี้นับล้านล้านและความเสี่ยงของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ประกอบกับการเปิดตัววัคซีนที่ยังติดขัด ธนาคารโลกเตือนว่ารัฐบาลอาจถูกบังคับให้กลับไปที่ธนาคารเพื่อ กู้เงินสดเพิ่ม เพื่อป้อนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ

“การเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ช่วยให้ไทยสามารถพยุงสถานะทางการเงิน ดังนั้น อาจเพิ่มอัตราภาษีจากบุคคลที่มีความมั่งคั่งสูงสุด รวมถึงภาษีจากกำไรของการขายทรัพย์สิน และทำการปฏิรูปมาตรการลดหย่อนต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ อาจจะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลได้

ทั้งนี้ ในการติดตามเศรษฐกิจไทย ธนาคารโลกคาดว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยสามารถเติบโตได้ 2.2% หากสามารถควบคุมสถานการณ์ได้เร็ว แต่ถ้าไม่อาจเติบโตเพียง 1.2% ขณะที่ปัจจุบัน ผู้ติดเชื้อในประเทศทุละ 1 หมื่นรายต่อวัน ติดเชื้อสะสมกว่า 3 แสนราย และเสียชีวิตแล้วเกือบ 3 พันราย ขณะที่ผู้ที่ได้รับวัคซีนมีประมาณ 3.4 ล้านคนหรือเพียง 4.8% ของประชากรเกือบ 70 ล้านคน

Source

]]>
1343315
“ธนาคารโลก” คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2021 โต 4% แต่ต้องใช้เวลาฟื้นตัวนาน 2 ปี https://positioningmag.com/1315965 Sat, 23 Jan 2021 13:46:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1315965 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ธนาคารโลก (World Bank) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ และการสนับสนุนของนโยบายการคลัง

ธนาคารฯ คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวแตะที่ 4% ในปี 2021 ก่อนจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.7% ในปี 2022

ธนาคารฯ ได้คาดการณ์ไว้ว่าเศรษฐกิจไทยจะหดตัว 6.5% ในปี 2020 เนื่องจากมาตรการ และการเว้นระยะห่างทางสังคมที่เข้มงวดได้ส่งผลกระทบต่อการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งนำไปสู่การลดลงของตำแหน่งงาน และรายได้ ขณะที่การลงทุน และการส่งออกภาคเอกชน ต่างได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วงจากการแพร่ระบาดเช่นกัน

รายงานระบุว่าผลการดำเนินงานของไทยอยู่ในระดับค่อนข้างดี เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ทั้งในด้านขนาด ความเร็ว และการกำหนดเป้าหมายของการรับมือทางการคลัง ซึ่งมุ่งใช้เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ในด้านการจ่ายเงินเยียวยา การรับมือทางการแพทย์ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม

อย่างไรก็ดี ธนาคารฯ เตือนว่าแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศยังคงมีความไม่แน่นอนสูง เนื่องจากความเสี่ยงจากแหล่งแพร่เชื้อทั้งใน และนอกประเทศ “หากการติดเชื้อระลอกใหม่ในไทยไม่ได้รับการควบคุมที่ดี หรือหากผู้ป่วยทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้น และการแจกจ่ายวัคซีนล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ อาจทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักต่อเนื่องจากมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม และการล็อกดาวน์”

ด้านธนาคารแห่งประเทศไทยเผยว่าแม้โรค COVID-19 ระลอกล่าสุดจะแพร่กระจายรวดเร็วกว่าเมื่อปีก่อน แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจจะไม่รุนแรงขึ้น เนื่องจากรัฐบาลได้กำหนดมาตรการที่ยืดหยุ่นกว่าเดิมโดยมีธุรกิจที่ถูกระงับจำนวนน้อยลง

]]>
1315965
ธนาคารโลกเผย COVID-19 ทำเศรษฐกิจโลกพังทลาย หนักสุดในรอบ 150 ปี https://positioningmag.com/1282733 Tue, 09 Jun 2020 06:08:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282733 ธนาคารโลก รายงานคาดการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจโลก Global Economic Prospects ประจำปี 2020 ระบุว่า การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ไปทั่วโลก ทำให้เกิดภาวะช็อกครั้งใหญ่อย่างรวดเร็วเเละรุนเเรง ซึ่งจะนำไปสู่การพังทลายของเศรษฐกิจโลกในวงกว้างที่สุด นับตั้งเเต่ปี 1870 (ในรอบ 150 ปี) แม้ว่ารัฐบาลในประเทศต่างๆ จะออกมาตรการมากมายอย่างไม่เคยมีมาก่อนเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจเเล้วก็ตาม

จากรายงานการคาดการณ์เศรษฐกิจโลกฉบับล่าสุด ธนาคารโลก (World Bank) ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกจะติดลบ 5.2% ในปีนี้ โดยหากพิจารณาจีดีพีต่อหัว จะพบว่าการหดตัวของเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้ ตกต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 1945-46 ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ขณะเดียวกัน ยังมีอีกหลายประเทศที่ประสบความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่านั้น ซึ่งหมายความว่าขนาดของภาวะเศรษฐกิจจะตกต่ำรุนแรงเป็นวงกว้างที่สุดในรอบ 150 ปี

โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และญี่ปุ่น จะติดลบ 6.1% ยูโรโซน ติดลบ 9.1% บราซิล ติดลบ 8.0% อินเดีย ติดลบ 3.2% ส่วนเศรษฐกิจจีนคาดว่าจะยังเติบโต แต่จะเติบโตเพียง 1% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 44 ปี

ขณะที่เศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ และประเทศกำลังพัฒนาจะติดลบ 2.5% นับเป็นการหดตัวครั้งแรกของประเทศกลุ่มนี้ในรอบ 60 ปี ทั้งนี้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะติดลบ 5.0%

การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเเละเศรษฐกิจจีน อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะประเทศที่ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์เป็นหลัก

เเม้ World Bank จะคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวและเติบโตได้ราว 4.2% ในปี 2021 แต่ก็เตือนว่า อาจมีการปรับตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจโลกให้ลดลงอีก หากเกิดความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการระบาด ซึ่งจะทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์เเละสั่งปิดภาคธุรกิจต่างๆ อีกรอบ ทำให้ยังมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะดิ่งลงไปมากกว่านี้ เเละหากการเเพร่ระบาดยังคงยืดเยื้อ ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดเศรษฐกิจโลกอาจหดตัวได้ถึง -8% ในปีนี้

“ความเลวร้ายของวิกฤต COVID-19 ครั้งนี้ จะทำให้ผู้คน 70-100 ล้านคน ตกอยู่ในสภาพยากจนถึงขีดสุด มากกว่าตัวเลขที่เคยมีการประเมินก่อนหน้านี้ที่ 60 ล้านคน”

 

ที่มา : World Bank , AFP

]]>
1282733
“World Bank” ตั้งกองทุน 376,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือประเทศต่างๆ ฝ่าวิกฤต COVID-19 https://positioningmag.com/1266880 Wed, 04 Mar 2020 06:26:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1266880 ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ประกาศตั้งกองทุนฉุกเฉินวงเงิน 12,000 ล้านดอลลาร์ หรือราวๆ 376,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือประเทศต่างๆ ที่กำลังเผชิญผลกระทบทั้งในด้านเศรษฐกิจและสาธารณสุขจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 ซึ่งแพร่ระบาดจากจีนออกไปยัง 80 ประเทศทั่วโลก

เดวิด มัลพาสส์ ประธานเวิลด์แบงก์ ระบุว่า ยังมีหลายสิ่งหลายอย่างที่คนเรายังไม่รู้เกี่ยวกับเชื้อ COVID-19 และอาจจำเป็นต้องระดมทรัพยากร “อีกมาก” เพื่อหยุดยั้งการระบาดของโรคนี้

องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกคำเตือนว่าทั่วโลกอาจประสบปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกัน COVID-19 ในขณะที่ราคาสินค้าประเภทนี้เริ่มพุ่งทะยานขึ้นเรื่อยๆ ตามตัวเลขผู้ติดเชื้อ

ในวันเดียวกัน ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.5% สู่ระดับ 1.0 ถึง 1.25% เพื่อเป็นมาตรการฉุกเฉินป้องกันภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก (recession) ส่วนเจ้าหน้าที่การคลังจากกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ G7 ก็เตรียมออกมาตรการทางการคลังและการเงินที่เหมาะสมเพื่อรับมือผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของ COVID-19

มัลพาสส์ เรียกร้องให้ทุกประเทศร่วมมือกันทั้งในระดับภูมิภาคและนานาชาติ และย้ำว่าการตอบสนองที่รวดเร็วและครอบคลุมคือหัวใจสำคัญของการรักษาชีวิตผู้ป่วย

“วันนี้เราขอประกาศตั้งกองทุนช่วยเหลือเบื้องต้นในวงเงิน 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อตอบสนองข้อเรียกร้องของประเทศที่มีความจำเป็นเร่งด่วน และช่วยบรรเทาผลกระทบอันน่าเศร้าของวิกฤตครั้งนี้” ประธานเวิลด์แบงก์ ระบุ

“สิ่งสำคัญคือจะต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว ความเร็วคือสิ่งจำเป็นในการรักษาชีวิตผู้คน… มีสถานการณ์หลายอย่างที่อาจต้องระดมทรัพยากรกันมากกว่านี้ เราพร้อมจะปรับเปลี่ยนแนวทางและทรัพยากรต่างๆ ตามความจำเป็น”

ทั้งนี้ สมาคมเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (International Development Association) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดเวิลด์แบงก์ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศยากจน อาจได้รับเงินทุนสนับสนุนเพิ่มเติมในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ หากมีการประกาศโครงการสนับสนุนงบประมาณฉุกเฉินสำหรับการระบาดใหญ่ (Pandemic Emergency Financing Facility, PEF) ซึ่งเวลานี้ยังไม่ได้เกิดขึ้น

มัลพาสส์ ยอมรับว่า ประเทศยากจนที่มีระบบสาธารณสุขอ่อนแอถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุดต่อการเกิดโรคระบาด แต่จากประสบการณ์ในการรับมือไวรัสอีโบลา และโรคระบาดอื่นๆ ชี้ให้เห็นว่า หากมีมาตรการตอบสนองที่ถูกต้องและรวดเร็วพอก็จะสามารถลดการแพร่กระจายของเชื้อและปกป้องชีวิตประชากรได้

อย่างไรก็ดี ประธานเวิลด์แบงค์เตือนทุกประเทศให้หลีกเลี่ยงมาตรการป้องกันที่อาจส่งผลกระทบต่อการค้า

มัลพาสส์ ยืนยันว่ามีบางประเทศที่แสดงความจำนงขอรับความช่วยเหลือจากเวิลด์แบงก์แล้ว แต่ไม่ขอเปิดเผยว่ามีชาติใดบ้าง

เวิลด์แบงก์ระบุว่า เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่จะอนุมัติผ่านช่องทางฟาสต์แทร็กจะช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถจัดหาบริการสาธารณสุขที่ดียิ่งขึ้น, ส่งเสริมมาตรการเฝ้าระวังและแทรกแซงโรคระบาด รวมไปถึงการทำงานร่วมกับภาคเอกชนเพื่อลดผลกระทบด้านเศรษฐกิจ

Source

]]>
1266880