นายจ้าง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 17 Mar 2022 13:54:39 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “นายจ้าง” กุมขมับ “นิวยอร์ก” ออกกฎบังคับเปิดเผย “เงินเดือน” ในประกาศรับสมัครลูกจ้าง https://positioningmag.com/1378016 Thu, 17 Mar 2022 13:41:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378016 “นิวยอร์ก” จะเริ่มบังคับใช้กฎหมายให้ “นายจ้าง” ต้องเปิดเผยช่วง “เงินเดือน” ต่ำสุดสูงสุดในประกาศรับสมัครลูกจ้าง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2022 เพื่อปกป้องลูกจ้างไม่ให้ถูกเหยียดกดเงินเดือน ในทางกลับกัน กฎหมายนี้ส่งแรงกระเพื่อมให้บริษัทต้องเตรียมรับมือ เพราะโครงสร้างเงินเดือนทั้งบริษัทอาจขยับสูงขึ้น

กฎหมายแรงงานข้อใหม่ของเมือง “นิวยอร์ก” เกี่ยวกับ “ความโปร่งใสของการจ่ายค่าจ้าง” ผ่านการตรากฎหมายมาตั้งแต่ธันวาคมปีก่อน แต่กำลังจะเริ่มบังคับใช้จริงในวันที่ 15 พฤษภาคม 2022 ยิ่งเวลางวดใกล้เข้ามา บริษัทต่างต้องเร่งการรับมือ

กฎหมายดังกล่าวว่าด้วยการบังคับให้ “นายจ้าง” ต้องเปิดเผยช่วงอัตรา “เงินเดือน” ต่ำสุด-สูงสุดสำหรับตำแหน่งนั้นๆ เมื่อเปิดรับสมัครงาน โดยจุดประสงค์ของกฎหมายเพื่อทำให้ลูกจ้างมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น เนื่องจากทราบอัตราเงินเดือนที่ควรจะได้ โดยเฉพาะกลุ่ม “ผู้หญิง” ที่มักจะมีปัญหาถูกกดเงินเดือนมากกว่าผู้ชายในสหรัฐฯ

อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กฎหมายข้อนี้เป็นปัจจัยบวกต่อการจ้างงานคือ ในกรณีที่ผู้สมัครงานคาดหวังเงินเดือนมากกว่าอัตราสูงสุด ก็จะได้ไม่สมัครงานเข้ามา และไม่ต้องเสียเวลากันทั้งสองฝ่าย เพราะอย่างไรอัตราเงินเดือนก็ไม่ลงตัวอยู่แล้ว

แน่นอนว่าบริษัทอาจจจะหาทางเลี่ยงด้วยการระบุเรทเงินเดือนสูงสุดให้ต่ำเข้าไว้ เพื่อที่จะได้ไม่เสี่ยงผิดสัญญาหรือถูกต่อรองเงินเดือนได้ง่ายจากฝั่งผู้สมัคร แต่ในกรณีนิวยอร์กที่เป็นแหล่งรวมบริษัทชั้นนำ และมีทาเลนต์จำนวนมากพร้อมทำงาน การกดเรทเงินเดือนที่ประกาศไว้ต่ำก็อาจจะมีผลลบทำให้ผู้สมัครที่มีศักยภาพสูงไม่ส่งใบสมัครเข้ามา เพราะคิดว่าฐานเงินเดือนต่ำ จนถูกบริษัทคู่แข่งแย่งตัวไป

กฎหมายประเภทนี้ไม่ได้เกิดขึ้นที่นิวยอร์กเป็นที่แรกของสหรัฐฯ เพราะเคยบังคับใช้ในรัฐโคโลราโดมาก่อนแล้ว อย่างไรก็ตาม การเริ่มใช้ในนิวยอร์กอาจจะเป็นการชิมลางเพื่อขยายไปออกกฎหมายนี้ทั่วประเทศได้

ทำให้บรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างหวั่นวิตกว่าจะเกิดอะไรขึ้นตามมา เมื่อไพ่ทุกใบถูกวางให้เห็นบนโต๊ะ คนทั้งบริษัทเห็นอัตราเงินเดือนได้ชัดๆ จากการรับสมัครงาน จากเดิมที่เคยปกปิดเป็นความลับต่อกัน

 

ลดการใช้ “ดุลยพินิจ” ต่อตัวบุคคล

แต่เดิมนั้นกระบวนการพิจารณาค่าจ้างมักจะเกิดขึ้นเมื่อนายจ้างได้กลุ่มผู้สมัครงานที่สนใจมาแล้วจำนวนหนึ่ง โดยนายจ้างจะกล่าวว่าต้องการความยืดหยุ่นในการจ่ายเงินเดือน เพราะอาจจะมีทาเลนต์ที่มีทักษะสูงเข้ามาสมัคร และบริษัทยินดีที่จะจ่ายสูงกว่าปกติให้กับคนกลุ่มนี้

อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าถ้าไม่มีกรอบเงินเดือนชัดเจนซึ่งกำหนดมาแล้วจากงบประมาณบริษัท ทักษะที่ต้องการ และความรับผิดชอบต่องานที่ต้องทำ ผู้มีอำนาจตัดสินใจจะพิจารณาด้วย “ดุลยพินิจ” หรือธรรมเนียมบริษัทว่าคนลักษณะนี้ควรจะได้ค่าจ้างเท่าไหร่ ซึ่งเป็นที่มาของการกดเงินเดือนเนื่องจากการ ‘เหยียด’ ภายในบริษัท

แต่ฝั่งนายจ้างก็มองเห็นถึงปัจจัยลบที่บริษัทจะต้องแบกรับเช่นกัน ทำให้หลายบริษัทมีการจ้างทนายหรือบริษัทที่ปรึกษาเพื่อเข้ามาทำแผนรับมือแล้ว

 

โครงสร้าง “เงินเดือน” ทั้งบริษัทอาจเปลี่ยน

ประเด็นหนึ่งที่บริษัทกังวลมาก คือเมื่ออัตราเงินเดือนถูกกำหนดชัดเจน จะทำให้คนทั้งบริษัททราบอัตราที่ตนเองมองว่าตนควรได้รับ เพราะบริษัทระบุว่าจ่ายได้ และทุกคนจะขอขึ้นเงินเดือนเป็นอัตราสูงสุดที่ระบุ

“เมื่อคุณจำเป็นต้องระบุฐานเงินเดือนในประกาศรับสมัครงาน คุณจะรู้ตัวเลยว่าจะต้องรับผิดชอบต่อฐานเงินเดือนที่คุณจ่ายให้พนักงานปัจจุบันด้วย” Kieren Snyder ซีอีโอของ Textio กล่าว โดยบริษัทนี้เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ที่สมัครใจประกาศฐานเงินเดือนในการรับสมัครงานอยู่แล้ว

จากประเด็นนี้ ทำให้หลายบริษัทคาดว่าโครงสร้างเงินเดือนทั้งหมดจะปรับขึ้น กลายเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น รวมถึงเมื่อบริษัทคู่แข่งสามารถตรวจสอบอัตราเงินเดือนกันได้ง่ายๆ ก็จะทำให้บริษัทที่พร้อมจ่ายขึ้นราคาค่าตัวพนักงานทักษะสูงหรือพนักงานระดับผู้บริหารเพื่อแข่งขันแย่งตัวกัน ในระยะยาวแล้วบริษัทจะต้องจ่ายมากขึ้น

ส่วนพนักงานย่อมเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดตามเจตนากฎหมายฉบับนี้

Source

]]>
1378016
งานหนักคร่าชีวิต 7 เเสนคนต่อปี ทำเกิน 55 ชั่วโมง/สัปดาห์ เสี่ยงตายโรคหัวใจ-หลอดเลือดสมอง https://positioningmag.com/1332677 Tue, 18 May 2021 09:05:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1332677 ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานเกินไป ได้คร่าชีวิตผู้คนหลายเเสนคนต่อปี เเละยิ่งเลวร้ายลงไปอีกในช่วงโรคโควิด-19 โดยคนที่อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฝั่งแปซิฟิกตะวันตก ได้รับผลกระทบมากที่สุด

องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เผยแพร่งานวิจัยในวารสาร Environment International ระบุว่า การเเพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ต้องทำงานทางไกล และเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั่วโลก เพิ่มความเสี่ยงให้ลูกจ้างมีชั่วโมงการทำงานยาวนานขึ้นตามไปด้วย

โดยการทำงานมากกว่า ’55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองสูงขึ้น 35% และเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหัวใจสูงขึ้น 17% เมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานสัปดาห์ละ 35-40 ชั่วโมง

ในปี 2016 ประชาชนกว่า 745,000 คน เสียชีวิตจากอาการเส้นเลือดในสมองแตกและโรคหัวใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทำงานยาวนานหลายชั่วโมง สูงขึ้นเกือบ 30% จากปี 2000

ผลวิจัยของ ILO พบว่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกือบ 3 ใน 4 เป็นผู้ชายในวัยกลางคนหรือสูงอายุ หลายกรณีเสียชีวิตในช่วงบั้นปลายชีวิต 10 ปีให้หลังจากที่ทำงานหนักต่อเนื่องเป็นเวลานาน

โดยแรงงานที่ใช้ชีวิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิกตะวันตก ตามนิยามของ WHO รวมจีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้มากที่สุด

Photo : Shutterstock

นักวิจัย ชี้ว่าชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานขึ้น ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งด้านสรีรวิทยาโดยตรงเเละก่อให้เกิดความเครียด นอกจากนี้ยังส่งผลให้เเรงงานมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมทำลายสุขภาพ เช่นการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การนอนหลับน้อยลง ไม่มีเวลาออกกำลังกายและทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

การทำงาน 55 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล นายจ้างและลูกจ้าง ต้องยอมรับว่าการทำงานที่ยาวนาน อาจทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร” Maria Neira ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสุขภาพของ WHO กล่าว

การทำงานทางไกล ประชุมออนไลน์ และเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงจากพิษไวรัส เร่งให้พนักงานต้องเเบกภาระงานหนักมากขึ้น WHO ประเมินว่า ประชาชนอย่างน้อย 9% มีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานกว่าเดิม

ในทางตรงกันข้าม การลดชั่วโมงการทำงานลงจะเป็นประโยชน์ต่อนายจ้างมากกว่า เนื่องจากผลการศึกษาพบว่าจะช่วยให้ผลิตภาพของพนักงานเพิ่มขึ้น

ไม่มีงานใดที่คุ้มค่าจะเสี่ยงกับการเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหัวใจ รัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้างจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อบรรลุข้อตกลงเพื่อปกป้องสุขภาพของเเรงงาน

 

ที่มา : BBC , Reuters 

 

 

]]>
1332677