นิคอน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 09 Jun 2021 23:34:35 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Nikon ปิดฉาก Made in Japan ย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นมาประเทศไทยปีหน้า https://positioningmag.com/1336194 Wed, 09 Jun 2021 14:43:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336194 Nikon (นิคอน) ผู้ผลิตกล้องถ่ายรูปรายสำคัญของญี่ปุ่น ประกาศยุติการผลิตในญี่ปุ่นเดือนมีนาคม ปีหน้า โดยจะย้ายการผลิตมายังไทย เนื่องจากตลาดกล้องถ่ายรูปลดลงอย่างมากเพราะผู้คนส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟน

Nikon ทยอยลดการผลิตกล้องถ่ายรูปเลนส์เดี่ยว หรือ SLR มาอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้เหลือโรงงานเพียงแห่งเดียวที่เมืองเซนได จังหวัดมิยางิ ทางบริษัทประกาศว่าโรงงานแห่งนี้จะยุติการผลิตลงในเดือนมีนาคม 2565 ปิดฉากการผลิตในญี่ปุ่นที่ยาวนานกว่า 70 ปี

โรงงานในญี่ปุ่นผลิตกล้องโปรรุ่น D6 เป็นหลัก หลังจากยุติการการผลิตแล้วโรงงานจะไม่ปิดตัว แต่จะผลิตชิ้นส่วนของกล้องและเลนส์โดยใช้หุ่นยนต์อัตโนมัติเป็นหลัก

Nikon ผลิตกล้องถ่ายรูปออกจำหน่ายเป็นครั้งแรกในปี 2491 และก้าวขึ้นเป็นผู้นำในวงการกล้อง แต่หลังจากผู้คนหันมาใช้สมาร์ทโฟนที่มีกล้องคุณภาพสูงเพื่อบันทึกความทรงจำกันมากขึ้น ตลาดกล้องก็ซบเซาลงอย่างต่อเนื่อง ในปี 2563 ยอดการผลิตกล้องทุกยี่ห้อเหลือเพียงแค่ 8,740,000 ชิ้น ลดลงมากถึง 75% เมื่อเทียบกับ 15 ปีก่อน

ในปีที่ผ่านมา Nikon เผชิญการขาดทุนมากเป็นประวัติการณ์กว่า 34,400 ล้านเยน จนต้องตัดสินใจปิดโรงงานผลิตเลนส์ที่จังหวัดยามากาตะ และฟูกูชิมะ

Source

]]>
1336194
Nikon ประกาศเลิกผลิตกล้องในญี่ปุ่น เตรียมย้ายฐานมาไทย 100% หวังลดต้นทุน https://positioningmag.com/1311664 Wed, 23 Dec 2020 05:20:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311664 หลังจากริเริ่มผลิตกล้องถ่ายภาพที่ญี่ปุ่นกว่า 70 ปี ผู้ผลิตกล้องนิคอน (Nikon) กำลังย้ายฐานการผลิตจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทยแบบ 100% หวังลดต้นทุน โดยรุ่นใหญ่ Nikon D6 จะถูกย้ายสายพานภายในสิ้นปี 2564


การย้ายฐานการผลิตของ Nikon ได้รับความสนใจไม่น้อย เพราะสิ่งที่ช่วยให้ตากล้องเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์กับคู่แข่งเพื่อทำความเข้าใจความแตกต่างของราคากล้องก็คือฐานการผลิต แต่ข้อมูลล่าสุดจากสำนักข่าว Asahi ของญี่ปุ่นยืนยันว่า Nikon จะยุติการผลิตกล้องในญี่ปุ่น และจะย้ายมาที่ประเทศไทยเพื่อลดต้นทุนให้สินค้าแข่งขันได้

ในเอกสารเผยแพร่ระบุว่าในที่สุด Nikon ก็ตัดสินใจยุติการผลิตตัวกล้องในประเทศที่ดำเนินต่อเนื่องมากว่า 70 ปีจนถึงปัจจุบัน ที่ผ่านมา การผลิตตัวกล้องได้ดำเนินการที่บริษัท “เซนได นิคอน” (Sendai Nikon) ในจังหวัดมิยางิ คู่ไปกับบริษัท “นิคอนไทยแลนด์” (Nikon Thailand) ในประเทศไทย

เบื้องต้นสายพานการผลิต Nikon Z6 และ Nikon Z7 ซึ่งเป็นกล้องมิเรอร์เลสถูกย้ายไปแล้วตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน และ Nikon D6 ที่เป็นกล้อง DSLR จะถูกย้ายภายในสิ้นปี 2564

อย่างไรก็ตาม โรงงานของนิคอนในเซนได จังหวัดมิยางิ จะยังคงมีบทบาทสำคัญในการผลิตกล้องในอนาคต แต่คำถามที่ยังต้องรอดูคือการย้ายการผลิตกล้องจากญี่ปุ่นมาไทยจะส่งผลกระทบต่อตลาดกล้องมือสองหรือไม่ ซึ่งยังต้องใช้เวลาในการติดตามความเคลื่อนไหวต่อไป

ปัจจุบัน สินค้าที่โดดเด่นของนิคอนคือกล้องมิเรอร์เลส Nikon Z7 และ Z6 ที่สามารถบันทึกวิดีโอคุณภาพสูง ขณะที่ D6 ยังเป็นกล้องในฝันของตากล้องหลายคนที่ชื่นชอบการปรับแต่งสไตล์มืออาชีพ

Source

]]>
1311664
ทริปล่ม คนไม่เที่ยว! ฉุดตลาด ‘กล้อง’ ติดลบ 43% หนักสุดในรอบ 3 ปี https://positioningmag.com/1305939 Fri, 13 Nov 2020 12:50:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305939 ถือเป็นอีกตลาดที่ถูกเทคโนโลยีเข้ามาดิสรัปต์เนื่องจากการมาของ ‘สมาร์ทโฟน’ ที่พัฒนากล้องมาดีจนผู้บริโภคไม่ได้ต้องการซื้อกล้องมาใช้งาน ส่งผลให้ตลาด ‘กล้องถ่ายรูป’ ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องจนมีผู้เล่นบางรายหายไปจากตลาดแล้ว อาทิ ‘โอลิมปัส’ ที่เพิ่งขายธุรกิจกล้องถ่ายภาพให้กับ Japan Industrial Partners (JIP) ไปเมื่อปีที่ผ่านมา

COVID-19 ฉุดตลาดกล้องติดลบ 43%

แม้ว่าตลาดกล้องถ่ายภาพจะติดลบมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 แต่พอมาเจอ COVID-19 ยิ่งหนัก โดย วีระ เฉลียวปิยะสกุล ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายและการตลาด บริษัท นิคอน เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า ตลาดกล้องเป็นตลาดที่ต้องอาศัยอุตสาหกรรม ‘ท่องเที่ยว’ ดังนั้น เมื่อ COVID-19 ทำให้คนเดินทางท่องเที่ยวรวมถึงไม่สามารถจัดงาน ‘อีเวนต์’ ต่าง ๆ ได้ ยิ่งเป็นฝันร้ายของตลาดกล้องถ่ายภาพ

วิธีการตัดสินใจซื้อหรืออัพเกรดขึ้นอยู่กับทริปท่องเที่ยวที่จะไป นี่เป็นพฤติกรรมชัดเจนที่ส่งผลกับวงการกล้อง แต่พอเที่ยวไม่ได้ และงานไม่มี ก็หมดความจำเป็นในการซื้อกล้อง ยิ่งส่งผลให้เป็นปีที่ยากของอุตสาหกรรมกล้องถ่ายภาพ”

วีระ เฉลียวปิยะสกุล ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายและการตลาด บริษัท นิคอน เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด

จากตลาดในปี 2562 ที่มีมูลค่า 4,104 ล้านบาท แต่มาปี 2563 คาดว่าจะเหลือเพียง 2,294 ล้านบาท หายไป 43% ส่วนจำนวนกล้องลดจาก 1.24 แสนตัว เหลือ 6.53 หมื่นตัว และสำหรับในปีหน้า 2564 คาดว่ามูลค่าตลาดจะติดลบอีก 25% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปี 2563 นี้ยังไม่ใช่ ‘จุดต่ำสุด’

“เราถามตัวเองตลอดว่าจุดที่มันจะทรงตัวคือตอนไหน เพราะจากยอดขายปีละหลักล้านเครื่องตอนนี้เหลือหลักหมื่น แต่เราเชื่อว่าในปี 2565 ตลาดกล้องจะเริ่มกลับมาดีขึ้นและจะเป็นจุดทรงตัวของตลาด มันจะไม่มีทางต่ำไปกว่านี้อีกแล้ว”

ทางรอดอยู่ที่ ‘Full Frame’

โดยส่วนแบ่งการตลาดของกล้องในปัจจุบัน แบ่งเป็น กล้อง DSLR 26% และ Mirrorless 74% โดยในจำนวนนี้แบ่งเป็นประเภทกล้อง ‘Full Frame’ ถึง 43.3% และอาจเติบโตเป็น 50% ในอนาคตเนื่องจากยังเห็นแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมที่เป็นมืออาชีพซื้อ แต่ปัจจุบันผู้บริโภคทั่วไปที่เริ่มซื้อกล้องหรือต้องการจะอัพเกรดกล้อง 70-80% มองหากล้อง Full Frame แถมลูกค้ากลุ่มนี้ยังมีการครอบครองเลนส์เฉลี่ยที่ประมาณ 3 ตัว ดังนั้น Nikon ในฐานะ ‘เบอร์ 1’ ของตลาด Full Frame ที่มีส่วนแบ่งตลาดที่ 42.4% จะต้องรักษาตำแหน่งให้ได้

โดยล่าสุด Nikon เปิดตัวกล้อง Full Frame รุ่นใหม่ ถึง 2 รุ่น คือ NIKON Z6 II และ NIKON Z7 II ที่มีจุดเด่นด้านการถ่าย ‘วิดีโอ’ ซึ่งถือเป็นเทรนด์ของความต้องการของผู้บริโภคในยุคนี้ที่ให้ความสำคัญทั้งการถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอเท่า ๆ กัน ซึ่งในส่วนของการถ่ายวิดีโอนั้น Nikon ยอมรับว่าเป็นจุดอ่อนของแบรนด์มาโดยตลอด เพราะไม่ค่อยได้สื่อสารจนภาพจำลูกค้านึกถึงแต่ภาพนิ่ง

“กล้องเราถ่ายวิดีโอได้มานานแล้วแต่ไม่ค่อยได้สื่อสาร เพราะเรามีจุดแข็งที่ภาพนิ่งโดยเฉพาะ Full Frame ดังนั้น คู่แข่งจึงเน้นสื่อสารด้านวิดีโอแทน ซึ่งนั่นทำให้เราพลาด”

เน้นทำตลาดผ่าน ‘ออนไลน์’ เพื่อเข้าถึง ‘เด็ก’

อีกหนึ่งจุดอ่อนของ Nikon ก็คือ ฐานผู้ใช้ที่เป็น ‘ผู้ใหญ่’ เสียเยอะ โดยปัจจุบันกลุ่มลูกค้ามีอายุเฉลี่ยที่ 30 ปีต้น ๆ แม้ลดลงจากเดิมที่มีอายุเฉลี่ย 40-45 ปี แต่ฐานลูกค้าคู่แข่งเฉลี่ยที่อายุ 25 ปีเป็นหลัก ซึ่งจุดนี่ถือเป็นอีกจุดที่ Nikon มองว่าอาจเป็นปัญหาในระยะยาว ดังนั้น Nikon จึงพยายามสื่อสารไปที่คนรุ่นใหม่มากขึ้น โดยดึงอินฟูลเอนเซอร์เด็ก ๆ เข้ามาเป็นกระบอกเสียง และมีทีมนิคอนยูสทีมเพื่อสื่อสารกับกลุ่มเด็ก ๆ

“นี่เป็นสิ่งที่เรากังวลมาก เพราะอายุเยอะขึ้นมีคนออกจากตลาดมากกว่าที่เราหาลูกค้าใหม่ ถ้าเป็นแบบนี้อีก 3-5 ปีเราจะลำบากมาก”

ประกอบกับหน้าร้านส่วนใหญ่ถูกปิดไปช่วงล็อกดาวน์ ทำให้หันไปโฟกัสการขายผ่านออนไลน์แทน ขณะที่ปีนี้งาน ‘Photo Fair’ ซึ่งถือเป็นงานใหญ่ที่ช่วยสร้างยอดขายก็ไม่ได้จัด ดังนั้น จากการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด Nikon จึงต้องปรับตัว โดยปีนี้ได้ ยกเลิกโฆษณาในสื่อออฟไลน์ทั้งหมด ไปลงออนไลน์แทน เนื่องจากเร็วกว่า เปลี่ยนแปลงได้ง่าย นำเสนอได้หลายแบบ และไปโฟกัสที่คนรุ่นใหม่ และโปรโมชันต่าง ๆ จะทุ่มไปที่แคมเปญ 11.11 และ 12.12

“ด้วยสถานการณ์ การประท้วงที่อาจทำให้เดินทางไม่สะดวก รวมถึงต่างจังหวัดที่ไม่มีร้านกล้องอยู่ ขณะที่งบการตลาดจาก 200 ล้านบาท แต่ปีนี้เราใช้ไม่ถึง 30 ล้านบาทเพราะต้องระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ดังนั้น ออนไลน์จึงเป็นทางที่เราไปเต็มรูปแบบเพราะตัวเลือกเราถูกบีบมา ดังนั้นเชื่อว่าอนาคตสัดส่วนยอดขายออนไลน์ปีนี้จะอยู่ที่ 21% จากปีที่ผ่านมามีเพียง 9.2% และปีหน้ามีโอกาสถึง 30-40%

สุดท้าย เป้าหมายปีนี้ของ Nikon คือ ต้องพยายามติดลบให้น้อยกว่าตลาด โดยต้องไม่เกิน 30% ซึ่งในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีจะเป็นตัวชี้วัดสิ่งที่เราทำ

]]>
1305939
COVID-19 ซ้ำเติมธุรกิจกล้องขาลง Nikon ปลดพนักงาน 700 คน ในไทย-ลาว กำไรลด 88% https://positioningmag.com/1281190 Fri, 29 May 2020 08:46:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281190 Nikon ผู้ผลิตกล้องรายใหญ่จากญี่ปุ่น ประกาศปลดพนักงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 700 คน เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจกล้องดิจิทัล หลังรายได้เเละยอดขายลดลงต่อเนื่อง ท่ามกลางวิกฤต COVID-19 เตรียมรับขาดทุนในช่วง 2 ปีนี้ 

ก่อนหน้านี้ “ตลาดกล้องดิจิทัล” ก็อยู่ในช่วงขาลงหนักอยู่เเล้ว เนื่องจากผู้บริโภคหันมาใช้สมาร์ทโฟนในการถ่ายภาพมากขึ้น เหล่าบริษัทกล้องทั้งหลาย จึงพยายามจะปรับตัวโดยหันมามุ่งตลาดกล้อง Mirrorless เเละเจาะตลาดคนรุ่นใหม่ กลุ่มบล็อกเกอร์หรือคนที่ชอบถ่ายวิดีโอ ซึ่งความต้องการใช้กล้องที่มีความละเอียดสูง

การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ซ้ำเติมให้ยอดขายกล้องลดฮวบลงไปอีก เพราะผู้คนไม่สามารถออกไปท่องเที่ยวหรือออกไปถ่ายภาพได้ตามปกติ อีกทั้งหลายคนยังต้องประหยัดค่าใช้จ่าย กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง

อ่านเพิ่มเติม : ตลาดกล้อง ขาลงหนักมาก “ฟูจิฟิล์ม” ฮึดสู้รอบใหม่ เน้นถ่ายวิดีโอ หวังพึ่ง Vlogger-Youtuber

Nikkei Asian Review รายงานว่า การปลดพนักงานฝ่ายผลิตในส่วนที่เกี่ยวกับกล้องของ Nikon ครั้งนี้เริ่มมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2019 จนถึงเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งบางส่วนเป็นการให้ออกในรูปแบบสมัครใจ “เกษียณก่อนกำหนด” (Early Retire)

สำหรับในประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากการลดจำนวนพนักงานครั้งนี้ จำนวน 500 คน ส่วนอีก 200 คนเป็นพนักงานใน สปป.ลาว คิดเป็นสัดส่วนราว 10% ของจำนวนพนักงานในแต่ละประเทศ

การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อรายได้ของ Nikon ซึ่งหนึ่งในผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดในของวงการกล้อง โดยปีงบประมาณ 2019 ที่สิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2020 ที่ผ่านมา บริษัทมีผลกำไรสุทธิลดลง 88% เหลือ 7,600 ล้านเยน ( ราว 2.2 พันล้านบาท)

นอกจากนี้ COVID-19 ยังทำให้การเปิดตัวโปรดักต์ใหม่ล่าช้าด้วย อย่างกล้องรุ่น D6 ซึ่งเป็นกล้องดิจิทัลที่มีฐานเเฟนคลับเป็นกลุ่มช่างภาพกีฬา เมื่อผู้คนถูกจำกัดการกิจกรรมต่างๆ จึงทำให้ยอดขายกล้องลดลงไปด้วย

Hiroyuki Ikegami รองประธานอาวุโสฝ่ายธุรกิจถ่ายภาพของ Nikon กล่าวว่า ท่ามกลางผลกระทบของการระบาดที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกในอนาคต “เราจะมีปรับกำลังการผลิตให้มีความเหมาะสม”

อย่างไรก็ตาม Nikon ไม่ได้เปิดเผยคาดการณ์รายได้ในงบการเงินปีนี้ เเละมองว่าการฟื้นตัวของยอดขายกล้องจะเป็นไปอย่างล่าช้า

“เราต้องเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการขาดทุนในธุรกิจการถ่ายภาพ ช่วง 2 ปีนี้” Muneaki Tokunari ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินระบุ

]]>
1281190