น้ำมันดิบ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 06 Sep 2023 08:49:31 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ราคา ‘น้ำมันดิบ’ ทำสถิติสูงสุดของปี หลัง ซาอุดีอาระเบีย-รัสเซีย จับมือลดกำลังการผลิตยาวถึงสิ้นปี https://positioningmag.com/1443635 Wed, 06 Sep 2023 07:30:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443635 ราคาน้ํามันแตะระดับสูงสุดใหม่อีกครั้งสําหรับปีนี้ หลังจากที่ซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ํามันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลกจับมือกันขยายเวลาที่จะ ลดกำลังการผลิตน้ำมัน ยาวถึงสิ้นปีเป็นอย่างน้อย

ราคา น้ำมันดิบเบรนท์ ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานโลกเพิ่มขึ้น +1.8% โดยมีการซื้อขายสูงกว่า 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่ราคาน้ำมัน West Texas Intermediate (WTI) ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นใกล้เคียงกันที่ 87 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจาก ซาอุดีอาระเบีย และ รัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกกลุ่ม OPEC+ ตกลงที่จะลดการผลิตลงอย่างมากและลากยาวไปถึงสิ้นปี

แหล่งข่าวอย่างเป็นทางการจากกระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบีย เปิดเผยกับสํานักข่าว state-run SPA ว่า ทางประเทศจะลดกำลังการผลิตเหลือ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม หลังจากที่เคยกำหนดว่าจะลดกำลังการผลิตถึงแค่เดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ นับตั้งแต่ที่ตัดสินใจลดกำลังการผลิตตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้กำลังการผลิตน้ำมันของซาอุดีอาระเบียเหลือเพียง 9 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ในขณะเดียวกัน อเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย กล่าวว่า ประเทศจะลดการส่งออกลง 300,000 บาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นปี เพื่อรักษาเสถียรภาพและความสมดุลในตลาดน้ำมัน แม้ว่ารัสเซียกําลังพยายามเพิ่มรายได้เพื่อสนับสนุนในการทําสงครามกับยูเครน 

การลดการผลิตโดย OPEC+ ซึ่งถือเป็น ผู้ผลิตน้ํามันดิบ 40% ของโลก ได้ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งยิ่งส่งผลเสียต่ออัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย โดยราคาก๊าซเฉลี่ยในสหรัฐฯ ได้ลอยสูงขึ้นเป็น 3.81 ดอลลาร์ต่อแกลลอน ซึ่งสูงกว่าช่วงนี้ของปีที่แล้ว 2-3 เซ็นต์

Source

]]>
1443635
‘OPEC+’ ยังมีแนวโน้ม “ไม่เพิ่มกำลังผลิตน้ำมัน” แม้ได้รับแรงกดดันจากนานาประเทศก็ตาม https://positioningmag.com/1360440 Thu, 04 Nov 2021 09:47:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1360440 OPEC+ ยังคงตัดสินใจคงกำลังการผลิตเอาไว้ดังเดิม ทั้งที่ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นแทบทุกวันราคาจนแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2014 รวมถึงแม้จะมีแรงกดดันทางการทูตก็ตาม และนั่นอาจหมายถึงราคาพลังงานที่สูงอย่างต่อเนื่องจนถึงสิ้นปีนี้และอาจลากยาวถึงปี 2022

ประธานาธิบดี โจ ไบเดน กล่าวโทษ OPEC+ ที่ไม่เต็มใจที่จะผลิตน้ำมันมากขึ้น เนื่องจากราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก ขณะที่ญี่ปุ่นและอินเดียก็ได้เข้าร่วมกับสหรัฐฯ ในการพยายามกดดันให้กลุ่มโอเปกเพิ่มขีดจำกัดการผลิตและช่วยลดราคาพลังงาน

“ความคิดที่ว่ารัสเซียและซาอุดีอาระเบียและผู้ผลิตรายใหญ่อื่น ๆ จะไม่สูบน้ำมันมากขึ้น เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง” ไบเดน กล่าวเมื่อวันอาทิตย์ที่การประชุม G-20 ที่กรุงโรม อิตาลี

ด้าน Edward Bell ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐศาสตร์การตลาดของ Emirates NBD ในดูไบ กล่าวว่า “สำหรับตอนนี้ เรายังคงคาดหวังว่าสมาชิก OPEC+ จะยังคงสนับสนุนให้ตลาดน้ำมันตึงตัว โดยใช้ประโยชน์จากราคาที่สูงขึ้นเพื่อปรับปรุงบัญชีทางการคลัง”

อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบัน นโยบายของกลุ่ม OPEC+ ตั้งแต่เดือนสิงหาคมคือจะคงการผลิตน้ำมันที่ 400,000 บาร์เรลต่อวันในแต่ละเดือน โดยประเทศคูเวต รวมถึงสมาชิกโอเปกอย่าง อิรัก ไนจีเรีย และแอลจีเรีย ได้ออกมาพูดในทำนองเดียวกันว่า องค์กรควรยึดมั่นในแผนปัจจุบัน เนื่องจากตลาดน้ำมันมี ‘ความสมดุล’

อย่างไรก็ตาม ในฝั่งของผู้บริโภคไม่ได้รู้สึกว่ามัน สมดุลพราะราคาน้ำมันดิบเบรนท์แตะระดับมากกว่า 86 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในช่วงปลายเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี และเพิ่มขึ้นมากกว่า 60% ในปีนี้ แม้ว่าราคาร่วงลงในวันก่อนการประชุม OPEC มาอยู่ที่ 81.86 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลก็ตาม

West Texas Intermediate เพิ่มขึ้นมากกว่า 70% ในปีนี้ และแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี โดยล่าสุดแตะระดับ 85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แม้ว่าจะซื้อขายที่ 80.44 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันเบนซินของอเมริกาก็อยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 7 ปีเช่นกัน

ด้าน เฮอร์มาน หวาง นักเขียนอาวุโสด้านน้ำมันของ S&P Platts มองว่า แม้จะมีแรงกดดันทั้งหมดจากสหรัฐฯ อินเดีย และญี่ปุ่นให้ปล่อยน้ำมันดิบเพิ่ม แต่ก็มีรัฐมนตรีหลายคนกล่าวถึงอัตรา COVID-19 และความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงตามฤดูกาล รวมถึงแนวทางการลดใช้พลังงาน

ดังนั้น ราคาที่พุ่งสูงขึ้นอาจเป็นเพียงชั่วคราว แต่จนกว่าตลาดจะเย็นลง OPEC+ ก็จะเจอการร้องเรียนจากลูกค้ารายสำคัญอีกมาก เนื่องจากผู้นำเข้าน้ำมันผิดหวังที่ไม่สามารถบังคับโอเปกได้มากนัก นอกจากนี้ยังมองว่า การที่สหรัฐฯ เรียกร้องให้ประเทศในกลุ่มโอเปกสูบน้ำมันมากขึ้น ก็ขัดแย้งกับเป้าหมายที่ตั้งใจจะเป็นผู้นำในนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก

Source

]]>
1360440
ผลประกอบการ Q3 ‘Saudi Aramco’ บริษัทน้ำมันเบอร์ 1 โลกโต 158% จากราคาน้ำมันที่พุ่งไม่หยุด https://positioningmag.com/1359414 Mon, 01 Nov 2021 04:23:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1359414 หลังจากที่ทั่วโลกเริ่มคลายมาตรการล็อกดาวน์ คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตและเดินทางกันอย่างปกติ ส่งผลให้การใช้งานน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่าระหว่างปี 2564-2565 ราคาน้ำมันดิบโลกจะเฉลี่ยอยู่ที่ 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 65% จากปี 2563 และนั่นทำให้ผลประกอบการของ Saudi Aramco เพิ่มขึ้น 158%

‘โอเปก’ ยืนยันส่งน้ำมันดิบ 4 แสนบาร์เรล/วัน ส่งผลค่าน้ำมันแพงสุดในรอบ 7 ปี

ผลประกอบการของ Saudi Aramco บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของซาอุดีอาระเบียเพิ่มขึ้น 158% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยมาจากราคาน้ำมันและปริมาณการขายที่สูงขึ้นในขณะที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว โดยรายรับสุทธิของ Aramco อยู่ที่ 3.04 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 1.18 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา โดยมีกระแสเงินสดอิสระเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวเป็น 2.87 หมื่นล้านดอลลาร์

จากผลประกอบการดังกล่าวทำให้ บริษัทมีผลกำไรสูงสุดนับตั้งแต่ Aramco เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซาอุดีอาระเบียเมื่อเดือนธันวาคม 2019 ก่อนที่จะประสบกับภาวะตกต่ำ 44.4% ในปี 2020 และเมื่อย้อนไปช่วงไตรมาสที่ 2 บริษัทมีผลกำไรเพิ่มเกือบ 4 เท่า หลังจากที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด ความต้องการที่เพิ่มขึ้น และราคาน้ำมันพุ่งขึ้นเหนือ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

“รายได้สุทธิที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นและปริมาณการขายที่มากขึ้น เนื่องจากความต้องการพลังงานทั่วโลกที่ฟื้นตัวและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในตลาดหลัก” Saudi Aramco กล่าวในแถลงการณ์ผลประกอบการ

ซาอุดีอาระเบีย ถือเป็นหนึ่งในผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ที่สุดและผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก และเพราะเหตุนี้ ทำให้ประเทศได้ให้คำมั่นว่าจะปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ภายในปี 2060 โดย Amin Nasser ผู้บริหารระดับสูงของ Aramco กล่าวว่า บริษัทจะสร้างจากประวัติการดำเนินงานที่มีต้นทุนต่ำและคาร์บอนต่ำ หลังจากประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าตั้งใจที่จะบรรลุการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในการดำเนินงานภายในปี 2050

ประเมินราคาน้ำมันในไทยพุ่ง 25% กระทบธุรกิจ ครัวเรือนเเบกค่าครองชีพเพิ่ม 340 บาท/เดือน

อย่างไรก็ตาม คำมั่นสัญญาเกี่ยวกับการลดการปล่อยคาร์บอนโดย Aramco ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก ได้รับการตอบรับด้วยความกังขาจากนักสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการประกาศดังกล่าวไม่ได้นับรวมถึงการปล่อยมลพิษจากผลิตภัณฑ์ของบริษัท

ทั้งนี้ เมื่อต้นเดือนนี้ Aramco ได้ประกาศว่ามีแผนจะเพิ่มการผลิตน้ำมันให้มีกำลังการผลิตสูงสุดที่ 13 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในปี 2027 โดยในแถลงการณ์ล่าสุด Aramco กล่าวว่า การผลิตไฮโดรคาร์บอนรวมของบริษัทนั้นเทียบเท่ากับ 12.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน รวมถึงน้ำมันดิบ 9.5 ล้านบาร์เรล

นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่าบริษัทยังมีสัดส่วนการถือหุ้น 30% ในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Sudair ขนาด 1.5 กิกะวัตต์ ซึ่งจะเป็นหนึ่งในโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค และจะเริ่มผลิตในช่วงครึ่งหลังของปี 2022 โดยบริษัทได้ขยายการลงทุนโดยเน้นที่ความยั่งยืนบางส่วน และจะกำหนดเป้าหมาย เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

Source

]]>
1359414