น้ำมันปาล์ม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 07 Jul 2022 08:52:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 อินโดนีเซียเตรียมลดภาษีส่งออกน้ำมันปาล์ม หลังปริมาณใช้ในประเทศมีเพียงพอ https://positioningmag.com/1391636 Thu, 07 Jul 2022 05:57:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1391636 อินโดนีเซียกำลังหารือถึงความเป็นไปได้ในการลดภาษีส่งออกน้ำมันปาล์ม เพื่อที่จะกระตุ้นให้มีการส่งออกไปยังต่างประเทศอีกครั้ง หลังจากที่ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ของโลกได้ประกาศหยุดส่งออกชั่วคราว เนื่องจากปริมาณน้ำมันปาล์มในประเทศมีไม่เพียงพอ

ก่อนหน้านี้อินโดนีเซียได้ประกาศงดส่งออกน้ำมันปาล์มเป็นเวลา 3 อาทิตย์ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จากปัญหาสต็อกน้ำมันปาล์มในประเทศมีไม่เพียงพอ และอาจทำให้ราคาขายในประเทศนั้นสูงขึ้น ส่งผลทำให้กระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน

ปกติแล้วอินโดนีเซียจะมีการส่งออกน้ำมันปาล์มไปยังต่างประเทศอยู่ราวๆ 2.5 ถึง 3 ล้านตันต่อเดือน มาตรการดังกล่าวของรัฐบาลอินโดนีเซียที่ห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มในเดือนพฤษภาคมทำให้เกิดความกังวลว่าปัญหาสต็อกน้ำมันปาล์มอาจขาดแคลนทั่วโลก ราคาอาหารนั้นอาจเพิ่มขึ้นได้ และอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นไปอีก

Luhut Pandjaitan รัฐมนตรีอาวุโสของรัฐบาลอินโดนีเซียที่ดูแลด้านการลงทุนได้กล่าวว่า รัฐบาลอินโดนีเซียจำเป็นต้องใช้ความพยายามเป็นพิเศษในการลดสต็อกน้ำมันปาล์มในประเทศอย่างรวดเร็ว และเขาจะทำงานร่วมกันกับ Sri Mulyani Indrawati ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอินโดนีเซียในเรื่องดังกล่าวนี้

มาตรการที่อินโดนีเซียจะนำมาใช้ก็คือการลดภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มในเดือนกรกฎาคมมาอยู่ที่ 200 ดอลลาร์ต่อตัน ซึ่งจากเดิมนั้นอยู่ที่ 375 ดอลลาร์ต่อตัน ก่อนที่กลับมาขึ้นภาษีส่งออกอีกเล็กน้อยในเดือนสิงหาคมซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ 240 ดอลลาร์ต่อตัน

รัฐมนตรีอาวุโสของรัฐบาลอินโดนีเซียยังคาดว่าการส่งออกน้ำมันปาล์มจะกลับมาราบรื่นมากยิ่งขึ้นหลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศลดภาษี และคาดว่าหลังจากนี้อินโดนีเซียจะส่งออกน้ำมันปาล์มได้อย่างน้อย

ที่มา – Reuters

]]>
1391636
อินโดฯ ห้ามส่งออก ‘น้ำมันปาล์ม’ ทุกประเภท สะเทือนตลาดโลก https://positioningmag.com/1383375 Thu, 28 Apr 2022 12:10:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1383375 รัฐบาลอินโดฯ สั่งห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มทุกประเภทหลังเกิดปัญหาขาดเเคลนในประเทศ สร้างความวิตกต่อตลาดโลกที่ราคาพุ่งแตะจุดสูงสุดแล้ว

อินโดนีเซีย กำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำมันสำหรับประกอบอาหารภายในประเทศ จนทำให้ราคาขายในตลาดพุ่งสูงขึ้น ผู้บริโภคในหลายเมืองต้องรอนานเป็นชั่วโมงเพื่อต่อคิวซื้อสินค้าจำเป็น

โดยรัฐบาลจะขยายมาตรการระงับการส่งออกน้ำมันปาล์ม เป็นห้ามการส่งออกผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปาล์มทุกประเภท ทั้งน้ำมันปาล์มดิบ (CPO), น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ (RPO), น้ำมันปาล์มโอเลอิน (RBD), น้ำมันทิ้งจากกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม (POME) และน้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้ว รวมถึงปาล์มดิบด้วย หลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยประกาศว่าจะระงับการส่งออกเฉพาะผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มโอเลอินเท่านั้น

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว สอดคล้องกับการตัดสินใจของประธานาธิบดี หลังจากได้พิจารณาข้อเสนอแนะและความคิดเห็นจากประชาชนเเล้ว” 

โดยรัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการจัดสรรปริมาณน้ำมันพืชให้เพียงพอต่อประชากร 270 ล้านคนเป็นลำดับแรก

ประธานาธิบดี Joko Widodo กล่าวว่า อินโดนีเซียเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดของโลก เเต่กลับประสบปัญหาขาดแคลนน้ำมันพืชที่ใช้ประกอบอาหาร

โดยรัฐบาลวางแผนกลับมาส่งออกน้ำมันปาล์มอีกครั้ง หากราคาน้ำมันปาล์มในประเทศลดลงเหลือลิตรละ 14,000 รูเปียห์ จากที่ตอนนี้ราคาน้ำมันปาล์มในประเทศพุ่งขึ้นไปที่ลิตรละ 26,000 รูเปียห์ ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ อินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มคิดเป็น 60% ของปริมาณทั้งหมดในตลาดโลก โดยมีอินเดีย จีน สหภาพยุโรปและปากีสถาน เป็นประเทศนำเข้าน้ำมันปาล์มรายใหญ่จากอินโดนีเซีย

AFP รายงานว่า ปัญหาขาดแคลนน้ำมันปาล์มในอินโดนีเซีย ยืดเยื้อมานานหลายเดือน อันเป็นผลมาจากกฎหมายที่ไม่รัดกุมและความไม่เต็มใจของผู้ผลิตน้ำมันปาล์ม ที่ไม่อยากนำสินค้าวางขายในประเทศ เเต่ไปเน้นส่งออกไปขายต่างประเทศแทน เพราะเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันพืชในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ผลิตได้กำไรมากกว่า

ขณะเดียวกัน วิกฤตรัสเซียยูเครนก็มีส่วนทำให้ราคาน้ำมันพืชพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้

โดยธนาคารโลก ได้เตือนถึงวิกฤตราคาอาหารเเละพลังงานพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปี นับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ซึ่งครัวเรือนยากจนเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากพวกเขาต้องแบ่งรายได้มาใช้สำหรับค่าอาหารและพลังงานมากขึ้น

 

ที่มา : Reuters , AFP 

]]>
1383375