บรรจุภัณฑ์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 23 May 2023 05:08:20 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รู้จัก “XSight” เครื่องมือ AI วิเคราะห์ความโดดเด่นของ “แพ็กเกจจิ้ง” นวัตกรรมเบื้องหลังกระป๋องใหม่ “est Cola” https://positioningmag.com/1431317 Wed, 24 May 2023 04:00:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1431317

การออกแบบ “แพ็กเกจจิ้ง” ให้โดดเด่นบนชั้นวางเป็นเรื่องสำคัญที่แบรนด์มองข้ามไม่ได้ เพราะถึงแม้จะทำการตลาดมาได้ดีแค่ไหน แต่ถ้าแพ็กเกจจิ้งไม่เตะตา ลูกค้ามองหาไม่เจอ ก็จะไม่เกิดเป็นยอดขาย ความสำคัญนี้ทำให้เอเจนซี่โฆษณาดิจิทัล “ adapter digital ” พัฒนาฟีเจอร์ใหม่ในแพลตฟอร์ม “XSight” เครื่องมือ AI ที่ช่วยวิเคราะห์ความโดดเด่นของแพ็กเกจจิ้งสินค้า เบื้องหลังความสำเร็จของกระป๋องแบบใหม่แบรนด์ “est Cola”

“บรรจุภัณฑ์” ของสินค้าหรือ “แพ็กเกจจิ้ง” เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างแบรนด์ที่สำคัญมากต่อยอดขาย มีหลายกรณีศึกษาที่พิสูจน์ให้เห็นว่าแพ็กเกจจิ้งที่ดีจะช่วยให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ และช่วยปิดยอดขายได้เพราะภาพที่โดดเด่นบนชั้นวางจำหน่าย ในทางกลับกันก็มีอีกหลายกรณีศึกษาที่พบว่า แพ็กเกจจิ้งที่ไม่ดีจะทำให้ยอดขายตกลง แม้แต่แบรนด์ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้วในตลาด แต่ถ้าหากปรับแพ็กเกจจิ้งผิดทิศทางก็ทำให้ยอดขายดิ่งลงทันทีได้เช่นกัน

ตัวอย่างเช่น เมื่อปี 2552 มีกรณีศึกษาระดับตำนานของ “น้ำส้ม” แบรนด์ดังในต่างประเทศ ที่ออกแบบปรับแพ็กเกจจิ้งจากเดิมที่ใช้รูป “ผลส้มใบโต” มาเป็นรูป “แก้วใสใส่น้ำส้ม” ซึ่งแตกต่างจากเดิมมาก ทำให้ลูกค้าไม่พึงพอใจ รู้สึกไม่คุ้นเคยกับแพ็กเกจจิ้งโฉมใหม่ ไม่ผูกพันกับแบรนด์เช่นเดิม และนำมาสู่ความเสียหายของยอดขายถึง 30 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1,000 ล้านบาท) จนแบรนด์ต้องรีบพลิกเกมกลับไปใช้แพ็กเกจจิ้งแบบเดิม

อรรถวุฒิ เวศรานุรักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อะแด็ปเตอร์ ดิจิตอล จำกัด (adapter digital group) ให้ความเห็นว่า Brand’s Visual Identity หรือองค์ประกอบแบรนด์ที่สามารถมองเห็นและจดจำได้ เป็นเรื่องที่ส่งอิทธิพลกับลูกค้า เป็นเหมือน “จุดสุดท้าย” (Last Contact Point) ที่แบรนด์จะได้สื่อสารกับผู้บริโภค ก่อนลูกค้าตัดสินใจซื้อจริง

อรรถวุฒิ เวศรานุรักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อะแด็ปเตอร์ ดิจิตอล จำกัด (adapter digital group)

ขณะที่ “ adapter digital ” เองมีแพลตฟอร์ม “XSight” เครื่องมือวิเคราะห์ประสิทธิภาพชิ้นงานโฆษณาด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์​ (AI) และหลักคิดด้านประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience) ที่ให้บริการมาตั้งแต่ปี 2565 อยู่แล้ว และเมื่อเห็นความสำคัญของการออกแบบแพ็กเกจจิ้ง บริษัทจึงพัฒนาต่อเนื่องเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ “XSight Attentive Packaging” เพื่อนำพลัง AI มาใช้วิเคราะห์ความโดดเด่นของบรรจุภัณฑ์ด้วย

adapter digital พัฒนาฟีเจอร์ใหม่ Attentive Packaging ให้กับ XSight ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการเข้ามาตอบโจทย์ลูกค้าฝั่งแบรนด์ โดยเฉพาะการตอบคำถามในใจต่อประเด็นที่ว่า แพ็กเกจจิ้งแบบไหนกันแน่ที่จะ Win ในสายตาและความคิดของผู้บริโภค เพื่อสร้างแบรนด์ที่ยั่งยืนและปิดการขายได้อย่างรวดเร็ว (Long-term branding & Quick Win Sales)”


วัดคะแนน “แพ็กเกจจิ้ง” แบบไหนที่เด่นในสายตาผู้บริโภค

สำหรับวิธีการทำงานของเครื่องมือ “XSight Attentive Packaging” จะมีการวัดค่าคะแนนความโดดเด่น (Outstanding Score) ของบรรจุภัณฑ์ โดยวัดจากประสิทธิภาพดึงดูดสายตาและความสนใจของคน และสามารถเปรียบเทียบได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเทียบกับแบบบรรจุภัณฑ์ของแบรนด์เอง หรือเปรียบเทียบกับของคู่แข่ง โดยมีฟีเจอร์แยกย่อย 4 ส่วนที่ให้บริการ ดังนี้

  1. การวิเคราะห์บรรจุภัณฑ์แบบเดี่ยว (Single Packaging Test): การวิเคราะห์ประสิทธิภาพงานออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบเดี่ยว โดยสามารถใช้วิธีทดสอบนี้เพื่อหาองค์ประกอบที่โดดเด่นที่สุดบน Packaging ได้
  2. การวิเคราะห์บรรจุภัณฑ์เปรียบเทียบแบบ 1:1 (VS Test): การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์แบบเปรียบเทียบ 1 ต่อ 1 เพื่อหาบรรจุภัณฑ์ที่โดดเด่นที่สุด ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งการเปรียบเทียบระหว่างต้นแบบงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ของแบรนด์ตนเอง และบรรจุภัณฑ์ของแบรนด์คู่แข่ง
  3. การวิเคราะห์บรรจุภัณฑ์มากกว่า 2 ดีไซน์ขึ้นไป (Plan-o-gram Shuffling): การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์ที่มากกว่า 2 ดีไซน์ขึ้นไป (ไม่เกิน 6 รูปแบบ) โดยสามารถสุ่มตำแหน่งการวางได้อัตโนมัติเพื่อตัดปัญหาเรื่องจุดนำสายตา รวมถึงสามารถนำไปทดสอบกับสภาพแวดล้อมที่อยู่บนชั้นวางสินค้าได้อีกด้วย (On-Shelf Test) เพื่อความสมจริงมากที่สุด
  4. กระดานสรุปผลลัพธ์การวิเคราะห์แบบใหม่ (New Results Dashboard): กระดานสรุปผลลัพธ์การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของงานดีไซน์บรรจุภัณฑ์ที่ถูกออกแบบขึ้นมาใหม่เพื่อให้นักการตลาด แบรนด์ สามารถอ่านผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ได้อย่างสะดวก เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่าย

 


กรณีศึกษา ‘est Cola’ โฉมใหม่ที่ผู้บริโภคชื่นชอบ

หลังจากเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่นี้ออกไป มีแบรนด์หนึ่งที่ได้ทดลองใช้จริงและพัฒนาบรรจุภัณฑ์จริงออกสู่ตลาดแล้ว นั่นคือ “est Cola” (เอสโคล่า) ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆ นี้

ตลาดน้ำอัดลมถือเป็นธุรกิจหนึ่งที่แข่งขันกันอย่างดุเดือด ทำให้ปีนี้ est Cola มีการปรับแนวทางการตลาด และการปรับแพ็กเกจจิ้งก็ถือเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญ “สุภรณ์ เด่นไพศาล” ผู้อำนวยการสำนักการตลาด สายธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ประเทศไทย บริษัท ไทยดริ้งค์ จำกัด เปิดเผยว่า กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์คือลูกค้า Gen Z ทำให้แบรนด์ต้องการจะ อัพเลเวลลองใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อสะท้อนภาพของแบรนด์ที่ต้องการก้าวไปข้างหน้าเสมอ

การนำ XSight มาใช้งานจึงถือเป็นเครื่องมือที่ตอบโจทย์การตลาดกับการดีไซน์แพ็กเกจจิ้งใหม่ของพวกเรามาก เพราะจริงๆ แล้วคนดีไซน์กับคนซื้อ ต่างคนก็ต่างความคิดดังนั้นการมีเครื่องมือ AI มาช่วยตรวจสอบความชื่นชอบที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมายเอสโคล่า ก็ทำให้เรามั่นใจมากยิ่งขึ้นว่าแพ็กเกจจิ้งนี้จะตอบโจทย์ความชื่นชอบชาว Gen Z มากที่สุด และจากเสียงตอบรับที่เราได้รับมา คนส่วนใหญ่ก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า เอสโคล่าโฉมใหม่ ดูสวย ดูเด่นออกมาจากชั้นวางจริงๆ”

ผลลัพธ์ที่ได้ของแพ็กเกจจิ้งใหม่ที่ผ่านการใช้งาน XSight วิเคราะห์ ทำให้ผู้บริโภคกดโหวตให้โฉมใหม่และรสชาติใหม่ของ est Cola มีความ ‘Awesome’ มากกว่า 91% ถือเป็นความสำเร็จที่เห็นผลจริงจากการใช้ XSight เป็น MarTech Tool

ด้านประธานเจ้าหน้าที่บริหาร adapter digital กล่าวทิ้งท้ายว่า ในอนาคต adapter จะพัฒนา XSight ให้เพิ่มขีดความสามารถการเป็นเครื่องมือวิเคราะห์สื่อโฆษณาทุกรูปแบบได้อย่างไร้ข้อจำกัด ไม่ว่าจะเป็น Key Visual, OOH หรือ Social Content ที่แบรนด์ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูง เพื่อช่วยให้แบรนด์ใช้งบสื่อโฆษณาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

XSight Attentive Packaging พร้อมให้บริการแล้ววันนี้ สำหรับแบรนด์หรือนักการตลาดที่สนใจทดลองใช้บริการ หรือต้องการสอบถามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://xsight.adapterdigital.com/en/services/package-design-analytics หรือติดต่อได้ที่ https://xsight.adapterdigital.com/


]]>
1431317
คุยกับ ‘ฟูจิฟิล์ม’ และ ‘ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น’ กับการผนึกกำลังสู่ No.1 Total Printing Solution ด้าน ‘การพิมพ์’ ครบจบทุกความต้องการ https://positioningmag.com/1412121 Wed, 14 Dec 2022 10:00:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1412121

เพื่อเป็นการอุดช่องว่างให้กันและกัน ฟูจิฟิล์ม ประเทศไทย ผนึก ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ประเทศไทย ช่วยกันเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจระหว่างบริษัทในเครือฯ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าเทรนด์ การพิมพ์ ทั่วโลกเปลี่ยนไปนับตั้งแต่ช่วงการระบาดใหญ่ โดย คุณรัชกฤช เต็มบุญศักดิ์ Business Unit Head of Graphic Communication Business Division and Industrial บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จํากัด และ คุณกิตติ พรพิพัฒน์วงศ์ General Manager of Graphic Communication Service บริษัท ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น (ประเทศไทย) จํากัด จะมาเล่าถึงจุดแข็งของการผนึกกำลังและแนวทางการช่วยให้ พาร์ทเนอร์ ของฟูจิฟิล์ม ปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์ที่เปลี่ยนไป


ธุรกิจการพิมพ์ถูกขับเคลื่อนด้วยตลาดบรรจุภัณฑ์

สถานการณ์โลกที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากมาย พฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม เริ่มเห็นทิศทางบวกขึ้น มีการลงทุนในธุรกิจการพิมพ์มากขึ้น แม้หลายบริษัทปิดไปแต่มีผู้ประกอบการเกิดใหม่เยอะ โดยตลาดธุรกิจสิ่งพิมพ์ยังคงเติบโตได้ราว 5% ต่อเนื่องจนถึงปีหน้า เพราะปัจจุบัน การพิมพ์ไม่ได้มีแค่สื่อสิ่งพิมพ์ แต่ใช้กับเสื้อผ้าแฟชั่น อีคอมเมิร์ซ การตกแต่งบ้าน โฆษณา และบรรจุภัณฑ์

โดยกลุ่มบรรจุภัณฑ์ถือเป็นตัวขับเคลื่อนตลาด คิดเป็นสัดส่วนถึง 70% และมีอัตราการเติบโต 15-20% ปัจจุบัน บรรจุภัณฑ์ในเอเชียเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากการใช้ในตลาดอีคอมเมิร์ซ การผลิตอาหาร เครื่องดื่ม และเภสัชภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์แบบ On Go และ On Fly หรือ ฉีก กิน ทิ้ง และเน้นทำเป็น ชิ้นเดียวมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความสะดวกสบาย เพราะเทรนด์ตอนนี้คนใช้ชีวิตในเมืองมากขึ้น มีครอบครัวที่เล็กลง หรืออยู่คนเดียว ทำให้ซื้อสินค้าในปริมาณน้อยลงแต่ถี่ขึ้น

“สิ่งพิมพ์ยังเป็นสิ่งจำเป็นในปัจจุบัน โดยตั้งแต่เกิดการระบาดจะเห็นว่าการสั่งอาหารหรือสินค้าออนไลน์เป็นเรื่องปกติ ทำให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ โดยเฉพาะกราฟฟิกดีไซน์ที่เขาหันมาทำเอง ทำให้มีบรรจุภัณฑ์สินค้าใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย” คุณกิตติ กล่าว


ผนึกกำลังปิดรอยรั่วให้ลูกค้า

เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ธุรกิจการพิมพ์ก็เปลี่ยนตาม มีข้อจำกัดมากขึ้น ซึ่งแนวคิดของบริษัทนั้นมองตัวเองเป็นพันธมิตรทางธุรกิจให้กับลูกค้า โดยเน้นที่การตอบโจทย์ความต้องการ แก้ปัญหา และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับลูกค้า และการผนึกกำลังระหว่าง ฟูจิฟิล์ม ประเทศไทย ที่มีจุดแข็งในด้านของนวัตกรรมการพิมพ์เชิงพาณิชย์และบรรจุภัณฑ์ที่ล้ำสมัยสามารถตอบโจทย์ได้ทุกงานพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโทนสี และความสามารถในการพิมพ์บนวัสดุที่หลากหลาย อาทิ วัสดุพื้นแข็งอย่างพวกกระป๋องบรรจุภัณฑ์โลหะก็สามารถทำได้ และ ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ประเทศไทย ที่นอกจากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านงานเอกสาร และโซลูชันสำหรับธุรกิจสิ่งพิมพ์แบบครบวงจร ซึ่งการรวมจุดแข็งของทั้ง ฟูจิฟิล์ม ประเทศไทย และฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ประเทศไทย ในครั้งนี้ จะช่วยเติมเต็มทุกความต้องการของลูกค้าในฐานะ No.1 Total Printing Solution ที่พร้อมทั้งเครื่องพิมพ์ระบบแอนาล็อก, เครื่องพิมพ์ระบบดิจิทัล และโซลูชั่นอย่างครบวงจร ตอบบโจทย์ที่งานพิมพ์ของตลาดในปัจจุบัน

“เราเป็น No.1 Total Printing Solution ไม่ได้ถ้าไม่มีกันและกัน เพราะฟูจิฟิล์มมีจุดแข็งที่เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท ส่วนฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่นมีเครื่องพิมพ์โทนเนอร์และโซลูชั่น ดังนั้น ลูกค้าต้องการอะไรเราก็สามารถตอบสนองได้หมด” คุณรัชกฤช อธิบาย

ปัจจุบัน ลูกค้ามีความกังวลเรื่องต้นทุนมากที่สุด ดังนั้น ภายใต้แนวคิดของฟูจิฟิล์มคือ การไม่หยุดยั้งพัฒนานวัตกรรมอย่างล้ำหน้าอยู่เสมอ ทำให้บริษัทสามารถเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัย ช่วยลดขั้นตอนการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพงานพิมพ์ และพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแคมเปญ NEVER STOP Believing in Print ของฟูจิฟิล์ม แสดงถึงความมุ่งมั่นของฟูจิฟิล์มที่จะพัฒนาเครื่องมือและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการอยู่รอดในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ และนอกจากนี้ ฟูจิฟิล์มพร้อมให้คำแนะนำพร้อมเชื่อมโยงกลุ่มธุรกิจเพื่อให้ลูกค้าสามารถปรับตัวและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

“เราเข้าไปคุยกับลูกค้าว่าเขามีอะไร ขาดอะไร ต้องการเสริมอะไร ซึ่งการผนึกกำลังของฟูจิฟิล์มและฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น เพิ่มศักยภาพในการช่วยอุดรอยรั่ว ทำให้เราสามารถตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้าได้ และเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันธุรกิจของลูกค้าให้เติบโตไปพร้อมกับเรา” คุณรัชกฤช กล่าว


นำเสนอมากกว่าเครื่องพิมพ์

ฟูจิฟิล์มมุ่งมั่นเสริมความแข็งแกร่งภายใต้คอนเซปท์ “Connect the Future” เชื่อมโยงความสำเร็จสู่อนาคตด้วยนวัตกรรมการพิมพ์จากฟูจิฟิล์ม ตอกย้ำการเป็นอันดับ 1 ในธุรกิจการพิมพ์ ฟูจิฟิล์มมีผู้ที่ได้การรับรองระดับ Fogra ISO เยอะที่สุดในเอเชียแปซิฟิค และยังเป็นโชว์รูมเดียวในเอเชียแปซิฟิค ที่ได้รับการรับรอง Process Standard Digital printing (PSD)

“นอกจากนี้ เครื่องพิมพ์ระบบดิจิทัลที่เป็นระบบโทนเนอร์ ของ ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ยังมียอดจำหน่ายเป็นอันดับ 1 โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากกว่า 50-60% ซึ่งมันตอบคำถามทั้งความเชื่อมั่นในภาพลักษณ์ การบริการ และ คุณภาพ ของ ฟูจิฟิล์ม” คุณกิตติ เสริม


เชื่อมั่นเทคโนโลยียึดที่ 1 ตลาดไทย

แม้ตลาดโดยรวมยังใช้เครื่องพิมพ์ระบบแอนาล็อก โดยคิดเป็น 70% ของตลาด แต่ผู้ประกอบการก็พร้อมลงทุนในเครื่องพิมพ์ระบบดิจิทัล โดยฟูจิฟิล์ม ประเทศไทยนำเสนอ JetPress 750S รุ่น High Speed เครื่องพิมพ์ดิจิทัลใหม่ล่าสุด ที่ใช้หัวพิมพ์อิงค์เจ็ท SAMBA™ สามารถปล่อยหมึกได้ตามคำสั่ง มาพร้อมหัวฉีดที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผม และความเร็วในการพิมพ์ 100khz ทำให้งานพิมพ์คมชัดและคงทน ที่สำคัญยังถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของฟูจิฟิล์ม สามารถพิมพ์งานได้ถึง 3,600 แผ่นต่อชั่วโมง ในโหมด High Quality และ 5,400 แผ่นต่อชั่วโมง ในโหมด High Performance เหมาะสำหรับงานพิมพ์เชิงพาณิชย์และบรรจุภัณฑ์ จนไปถึงงานพิมพ์ระดับ High-end อีกด้วย

เครื่องพิมพ์ดิจิทัล JetPress 750s รุ่น High Speed

ด้านฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ประเทศไทย ก็ได้นำเสนอ เครื่องพิมพ์ REVORIA PRESS™ PC1120 เครื่องพิมพ์ระดับโปรดักชั่นรุ่นใหม่ล่าสุดที่ผสานนวัตกรรมการพิมพ์คุณภาพสูง สามารถพิมพ์สีพิเศษ เช่น สีเงิน สีทอง สีชมพู และสีขาวได้คมชัดสมจริง อีกทั้งยังสามารถพิมพ์ลงบนวัตถุต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ รวมไปถึงสามารถพิมพ์ลงบนแผ่นพลาสติกได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยี AI ที่ช่วยในการปรับสีภาพให้นุ่มนวลและสดใส โดยผลวิจัยพบว่า ลูกค้ายอมจ่ายเพิ่ม 25-400% เพื่อให้ได้คุณภาพการพิมพ์ที่ดี

“เราพยายามก้าวไปอีกขั้น เพราะทุกแบรนด์มีจุดอ่อนจุดแข็งเหมือนกัน แต่จะทำยังไงให้เขายอมจ่าย มีการซื้อซ้ำและบอกต่อ เพราะลูกค้าเขาไม่ได้เลือกของที่ราคาถูกสุดเสมอไป แต่เขามองหาจุดคุ้มทุน จ่ายเพิ่มหน่อย แต่สามารถพิมพ์สีพิเศษให้ลูกค้าได้ ก็แข่งขันในตลาดได้มากกว่า” คุณกิตติ กล่าว

ปัจจุบัน ฟูจิฟิล์มเป็น อันดับ 1 ในตลาด Digital Printing โดยมีส่วนแบ่งตลาด 50-60% ซึ่งบริษัทตั้งเป้าที่จะรักษาส่วนแบ่งตลาดนี้ และสร้างการเติบโตอีก 5-10% ภายในปีนี้

“ฟูจิฟิล์มไม่ได้ต้องการเติบโตเร็ว แต่ต้องการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเน้นที่เรื่องเซอร์วิสเป็นหลัก เพราะเป็นสิ่งที่ลูกค้าให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก และไม่ได้มองแค่ขายสินค้าให้ลูกค้า แต่ช่วยสร้างการเติบโตให้ธุรกิจลูกค้า” คุณรัชกฤช ทิ้งท้าย

สุดท้าย การผนึกกำลังของฟูจิฟิล์ม ประเทศไทย และฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ประเทศไทย ไม่ได้แค่ช่วยเติมเต็มกันและกันหรือเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน แต่การก้าวสู่การเป็น No.1 Total Printing Solutions นั้น จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย ด้วยนวัตกรรมที่ล้ำหน้าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่จะช่วยอุดรอยรั่วพร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ช่วยให้ธุรกิจเติบโตและพร้อมรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างยั่งยืน

]]>
1412121
SCGP ซุ่มพัฒนาพันธุ์ “กัญชง” มองธุรกิจ “แพ็กเกจจิ้ง” ทิศทางดีขึ้น แม้ต้นทุนพลังงานสูง https://positioningmag.com/1382988 Tue, 26 Apr 2022 12:37:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1382988
  • SCGP รายงานผลประกอบการไตรมาส 1/65 รายได้พุ่ง 34% แต่อัตรากำไรลดลง เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นโดยเฉพาะค่าพลังงาน ซึ่งเป็นผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน
  • มองภาพปี 2565 เป็นขาขึ้นทั้งปี ตลาดไทยและอาเซียนเปิดประเทศเต็มที่ การกินใช้ฟื้นตัว ส่งผลดีกับธุรกิจ “แพ็กเกจจิ้ง”
  • อัปเดตโปรเจ็กต์ใหม่บริษัท พัฒนาพันธุ์ “กัญชง” ให้เหมาะกับเมืองไทย
  • “วิชาญ จิตร์ภักดี” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP รายงานผลการดำเนินงานบริษัทไตรมาส 1/2565 ทำรายได้ที่ 36,634 ล้านบาท เติบโต 34% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน แต่กำไรสำหรับงวดอยู่ที่ 1,658 ล้านบาท ลดลง -22% หรือคิดเป็นอัตรากำไรสุทธิจะอยู่ที่ 5% ลดจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีอัตรากำไรสุทธิ 8%

    ผลกระทบหลักมาจากต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะค่าพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งบริษัทเร่งบริหารต้นทุนอย่างดีที่สุด รวมถึงพยายามตรึงราคาให้กับลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น แพ็กเกจจิ้งกระดาษอาจลดความหนาลงแต่ไม่ส่งผลต่อความทนทานของการใช้งาน เพื่อให้ลูกค้าได้ซื้อในราคาเดิม

     

    เป้าหมาย 1.4 แสนล้าน เชื่อตลาดสดใสขึ้น

    วิชาญกล่าวต่อถึงเป้าหมายรายได้ 1.4 แสนล้านบาทในปีนี้ของ SCGP เชื่อว่าจะทำได้ตามเป้า จากแนวโน้มในตลาดที่ดีขึ้น

    ปัจจุบันตลาดหลักของ SCGP แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

    • ตลาดอาเซียนยกเว้นไทย 43%
    • ตลาดไทย 41%
    • ตลาดประเทศอื่นๆ เช่น ยุโรป จีน 16%

    เป็นปีแรกที่ตลาดอาเซียนมีสัดส่วนมากกว่าตลาดไทยแล้ว ซึ่งเป็นไปตามกลยุทธ์ที่บริษัทได้วางไว้เพราะมองว่าอาเซียนจะเป็นตลาดที่เติบโตได้ดี โดยปี 2565 เห็นได้ชัดว่ากลุ่มประเทศอาเซียนมีการเปิดเมืองเปิดประเทศมากขึ้น จะเป็นผลดีต่อธุรกิจ “แพ็กเกจจิ้ง” เพราะมีการกินใช้ภายในประเทศสูงขึ้น ส่วนตลาดประเทศจีนขณะนี้อาจมีดีมานด์ไม่แน่นอน จากการล็อกดาวน์ที่ยังเกิดขึ้นในหลายเมือง

    ในแง่ของการลงทุนตามกลยุทธ์ M&P (Merger & Partnership) วิชาญกล่าวว่าบริษัทมีงบลงทุน 15,000 ล้านบาทในปีนี้ แต่การลงทุนยังชะลอการตัดสินใจในช่วงไตรมาสแรกเพราะผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งทำให้ดีลต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น

    อย่างไรก็ตาม บริษัทยังหาโอกาสลงทุนอย่างต่อเนื่อง และยังคงเน้นในกลุ่มธุรกิจปลายน้ำ (downstream) และตลาดประเทศอาเซียน

     

    ลงทุน “กัญชง” ปรับปรุงพันธุ์

    อีกหนึ่งธุรกิจที่ SCGP ขอแจ้งความคืบหน้าคือการลงทุนปลูกกัญชงใน อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี จำนวน 210 ต้น ที่กำลังจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ในเดือนพ.ค.-มิ.ย.นี้

    วิชาญระบุว่า การทดลองปลูกกัญชงครั้งนี้มีเป้าหมายสูงสุดคือการปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้น เหมาะกับการปลูกในเมืองไทย และให้ผลผลิตสูงสุด ตอบโจทย์กระแสการนำกัญชงไปใช้งานหลากหลายสินค้า

    “เรามีทีมทาเลนต์ที่มีศักยภาพมาตั้งแต่การปรับปรุงพันธุ์ต้นยูคาลิปตัสจนสามารถปลูกในไทยได้ดี จึงให้ทีมพัฒนาพันธุ์กัญชงต่อ ซึ่งต่อไปกัญชงอาจจะนำมาเป็นส่วนผสมของแพ็กเกจจิ้งได้” วิชาญกล่าว

    ทั้งนี้ ยังไม่มีการแจ้งอย่างชัดเจนถึงแผนการนำกัญชงไปใช้ในเชิงพาณิชย์ของ SCGP ว่าจะเป็นการจำหน่ายในเชิงต้นน้ำ กลางน้ำ หรือปลายน้ำ แต่จะเห็นได้ว่าช่วงหลังบริษัทเริ่มให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพมากขึ้น อย่างการจำหน่ายอาหารเสริมแบรนด์ HOLIS by SCGP เป็นต้น

    ]]>
    1382988
    SCGP เข้าฮุบ Intan Group ในอินโดฯ 75% ขยายตลาดกล่องลูกฟูก เสริมธุรกิจบรรจุภัณฑ์ https://positioningmag.com/1331327 Mon, 10 May 2021 08:22:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331327 SCGP ขยายการลงทุนบรรจุภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซีย โดยลงนามในสัญญาซื้อหุ้น 75% ใน Intan Group หนึ่งในผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกที่มีฐานธุรกิจใน 4 จังหวัดหลัก ต่อยอดจากการลงทุนในธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์ก่อนหน้านี้ เสริมศักยภาพแธุรกิจบรรจุภัณฑ์ครบวงจร 

    ศักยภาพอินโดนีเซีย

    วิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP
    เปิดเผยว่า

    “บริษัทฯ วางกลยุทธ์ขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน เพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น จากการขยายฐานธุรกิจและเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในภูมิภาค โดยมองว่า การขยายบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกจะส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจแบบบูรณาการของบรรจุภัณฑ์”

    “วิชาญ จิตร์ภักดี” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP

    อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีศักยภาพจากประชากรที่มีจำนวนกว่า 270 ล้านคน สูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน บริษัทฯ จึงขยายการลงทุนในอินโดนีเซียอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2556 ปัจจุบันมีบริษัทย่อย 5 บริษัท ได้แก่

    • PT Fajar Surya Wisesa Tbk.,
    • PT Dayasa Aria Prima (บริษัทย่อยของ Fajar)
    • PT Primacorr Mandiri
    • PT Indorcorr Packaging Cikarang
    • PT Indoris Printingdo

    ทั้ง 5 แห่งนี้ เป็นฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูก 2 แห่ง โรงพิมพ์สำหรับบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูก 1 แห่ง และโรงงานผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ 2 แห่ง ในปี 2563 รายได้จากการขายในอินโดนีเซีย เท่ากับ 17,577 ล้านบาท หรือคิดเป็น 18.94% ของรายได้จากการขายรวม

    โดยหลังจากเข้าไปลงทุน บริษัทฯ ได้ร่วมมือเป็นพาร์ตเนอร์ขยายธุรกิจ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านต่างๆ และรวมผนึกพลัง เช่น การลดต้นทุนทางการเงิน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และในไตรมาสแรกปี 2564 บริษัทฯ ได้เริ่มเดินเครื่องจักรสายการผลิตใหม่ของกระดาษบรรจุภัณฑ์

    ส่วนการดำเนินงานใน PT Primacorr Mandiri, PT Indorcorr Packaging Cikarang และ PT Indoris Printingdo บริษัทฯ ได้ประสานความร่วมมือแบบบูรณาการกับธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน ลดของเสีย พัฒนาระบบไอที และนำนวัตกรรม Lightweight G Technology ของ SCGP เข้าไปใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์

    ขยายตลาดกระดาษลูกฟูก

    SCGP ได้ขยายการลงทุนในอินโดนีเซีย โดยเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2564 บริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญาเข้าถือหุ้น 75% ใน PT Indonesia Dirtajaya Aneka Industri Box, PT Bahana Buana Box และ PT Rapipack Asritama (รวมเรียกว่า Intan Group) ผ่าน TCG Solutions Pte. Ltd. ที่ถือหุ้นทั้งหมดโดย บริษัทกลุ่มสยามบรรจุภัณฑ์ จำกัด (TCG) ใน SCGP และคาดว่าจะดำเนินการควบรวมกิจการแล้วเสร็จภายในกลางปี 2564

    Intan Group เป็นหนึ่งในผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกในอินโดนีเซียซึ่งดำเนินธุรกิจในพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญ 4 แห่ง ได้แก่ Surabaya, Semarang, Bekasi และ Minahasa โดยมีฐานลูกค้าในกลุ่มธุรกิจอาหาร เครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค ทั้งที่เป็นบริษัทข้ามชาติ และกิจการภายในประเทศ ในปี 2563 Intan Group มีรายได้ 1,329 พันล้านรูเปียห์ (ประมาณ 92 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 3,057 ล้านบาท)

    สำหรับการขยายการลงทุนในอินโดนีเซียครั้งนี้ เพื่อรองรับการเติบโตในภูมิภาคอาเซียน เพิ่มศักยภาพการนำเสนอ    บรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย และสามารถส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างธุรกิจที่บริษัทฯ เข้าไปลงทุนใหม่กับธุรกิจด้านบรรจุภัณฑ์ที่ดำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบัน ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มจากฐานลูกค้าร่วม

    บริษัทฯ สามารถนำเสนอบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย ร่วมกับการนำเสนอโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละราย พัฒนาสินค้าที่เป็นนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และเพิ่มศักยภาพด้านการเป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน

    ]]>
    1331327
    รู้จัก Loop ระบบ ‘รียูส’ บรรจุภัณฑ์ ลดใช้พลาสติกแต่ไม่ลดความสะดวก https://positioningmag.com/1327850 Thu, 15 Apr 2021 11:39:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327850 Loop ถูกเปรียบเทียบว่าเป็นระบบแบบเดียวกับ “คนส่งนม” ในสหรัฐฯ ยุค 1950-60s บริษัทนี้ใช้ไอเดียแบบเดียวกันแต่นำมาปรับใช้กับผลิตภัณฑ์อื่น เช่น แชมพู ไอศกรีม ผงซักฟอก ฯลฯ โดยมีเป้าหมายเพื่อ “ลดใช้พลาสติก” ผ่านการ “รียูส” บรรจุภัณฑ์ และลูกค้ายังรู้สึกสะดวกเหมือนเดิม

    สารพัดสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น แชมพู สบู่ ยาสีฟัน ที่เราใช้ในครัวเรือน เมื่อใช้จนเกลี้ยงเราก็มักจะโยนแพ็กเกจจิ้งทิ้ง เพราะนำไปใช้ประโยชน์อื่นต่อได้ยาก

    แต่เมื่อโลกเราเริ่มตระหนักถึงผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมจากของใช้แล้วทิ้งมากขึ้น ทำให้มีธุรกิจพยายามจะสร้างโมเดลใหม่มาแก้ปัญหา เช่น ร้านขายเครื่องอุปโภคบริโภคที่ให้ลูกค้านำบรรจุภัณฑ์มากดสบู่-แชมพูเอง แต่ก็ยังติดปัญหา “ความสะดวก” และ “ความมั่นใจในแบรนด์” ของสินค้านั้นๆ ทำให้โมเดลธุรกิจแบบนี้ยังไม่นิยมเป็นวงกว้าง

    ด้วยเหตุนี้ Loop จึงเป็นบริษัทที่คิดการใหญ่ จับมือแบรนด์เครื่องอุปโภคบริโภคชื่อดังเป็นพาร์ตเนอร์เพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์แบบ ‘รียูส’ ได้ โดยอาจจะทำมาจากอะลูมิเนียม สเตนเลส หรือแก้ว และสร้างระบบจัดส่ง-เก็บคืนที่สะดวก ทำให้ลูกค้าไม่รู้สึกยุ่งยาก แถมยังได้เลือกใช้สินค้ายี่ห้อเดิมที่ตัวเองพอใจ

    ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ของ Loop กับแบรนด์พาร์ตเนอร์ ใช้บรรจุภัณฑ์ใหม่ รียูสได้หลายครั้ง

    วิธีใช้งาน Loop ก็เหมือนกับการใช้คนส่งนมในอดีต ยุคที่นมยังบรรจุในขวดแก้วและมีบริการเดลิเวอรี่ส่งถึงหน้าบ้านพร้อมกับเก็บขวดเก่ากลับ นั่นคือ

    1) ลูกค้าเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ใช้แพ็กเกจของ Loop อาจเป็นการสั่งซื้อออนไลน์ หรือบางเมืองอาจจับมือกับไฮเปอร์มาร์เก็ตมีวางขายแบบออฟไลน์ด้วย โดยจะมี “ค่ามัดจำ” บรรจุภัณฑ์เมื่อซื้อ

    2) เมื่อลูกค้าใช้สินค้าจนหมด สามารถจองนัดให้ระบบจัดส่ง-รับคืนของ Loop มารับบรรจุภัณฑ์คืนถึงบ้าน พร้อมรับค่ามัดจำคืนแบบ 100% และไม่มีค่าใช้จ่ายในการคืนขวด หรือในบางเมืองอาจมีจุดให้ส่งบรรจุภัณฑ์คืนที่ไฮเปอร์มาร์เก็ต หรือไปรษณีย์ หรือพาร์ตเนอร์อื่นๆ ของบริษัท

    3) Loop จะนำบรรจุภัณฑ์ไปทำความสะอาดในโรงงาน พร้อมนำไปบรรจุสินค้าล็อตใหม่วางจำหน่ายอีกครั้ง

    กล่องสำหรับนำส่งผลิตภัณฑ์จาก Loop โดยบริษัทจะลดการใช้แพ็กเกจเพิ่มเติมในการขนส่ง เช่น กล่องกระดาษ แผ่นกันกระแทก เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Photo: IG@shoploopstore)

    เห็นได้ว่า โมเดลของ Loop มีความเป็นไปได้ที่จะชวนคนมาร่วมรักษ์โลกกับบริษัทมากขึ้น เพราะสำหรับคนที่ไม่ได้ต้องการลดใช้พลาสติกอย่างแรงกล้า การอำนวยความสะดวกให้ใกล้เคียงกับการใช้แพ็กเกจจิ้งพลาสติกใช้แล้วทิ้งมากที่สุดจะเป็นปัจจัยสำคัญ

     

    2 ปีขยายไปกว่า 30 แบรนด์

    บริษัท Loop ก่อตั้งขึ้นโดย Tom Szaky ในนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนมกราคม ปี 2019 นี้เอง ปัจจุบัน Loop มีบริการแล้วใน 4 ประเทศคือ สหรัฐฯ แคนาดา อังกฤษ และฝรั่งเศส

    ขณะนี้มีสินค้าที่ใช้แพ็กเกจจิ้งและระบบของ Loop ถึง 111 SKUs จากทั้งหมดกว่า 30 แบรนด์ ครอบคลุมสารพัดผลิตภัณฑ์ เช่น แชมพูแพนทีน, มีดโกนหนวดยิลเลตต์, ไอศกรีมฮาเก้นดาส เป็นต้น

    บนหน้าเว็บไซต์ของ Loop ยังระบุถึงแบรนด์ใหญ่อื่นๆ ที่จะมาในอนาคต เช่น คอลเกต, โดฟ และมีแผนจะขยายไปอีก 3 ประเทศ คือ เยอรมนี, ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย

    ประเทศที่มีบริการ และที่จะเปิดบริการเร็วๆ นี้

     

    คอนเนกชันและดีไซน์เพื่อแบรนด์

    โมเดลของบริษัทจัดว่าน่าสนใจ แต่สาเหตุหนึ่งที่บริษัทได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก Szaky ผู้ก่อตั้ง ไม่ใช่หน้าใหม่ในวงการ เขาคือผู้ก่อตั้งบริษัทแม่ของ Loop คือ TerraCycle ซึ่งทำธุรกิจรีไซเคิลขยะมาตั้งแต่ 17 ปีก่อน เขาจึงมีเครือข่ายพันธมิตรแบรนด์ใหญ่ๆ ให้เริ่มธุรกิจได้เร็ว

    อีกส่วนหนึ่งคือ Loop เข้าใจการเป็นพันธมิตรกับแบรนด์ว่า แต่ละแบรนด์ล้วนมีอัตลักษณ์งานดีไซน์ของแบรนด์ ดังนั้น แต่ละบรรจุภัณฑ์จะดีไซน์ใหม่เพื่อให้สะท้อนตัวตนแบรนด์โดยเฉพาะ ทำให้การจูงใจแบรนด์เข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรทำได้ดีขึ้น

    ตัวอย่างการดีไซน์ที่เป็นไปตามอัตลักษณ์ของแบรนด์

     

    รียูส vs ลดพลาสติกในบรรจุภัณฑ์

    ประเด็นบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นใหญ่ที่บริษัททั่วโลกต่างกำลังตามหาโมเดลที่ดีที่สุด โดย Loop นำเสนอว่า การรียูสบรรจุภัณฑ์ที่ทนทานเหล่านี้มากกว่า 10 ครั้ง จะทำให้ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลดลงจากปกติ 35%

    อย่างไรก็ตาม หากมองในฝั่งของผู้ผลิตสินค้า การเลือกบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกแบบไหนย่อมเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องคำนวณรอบด้าน ทั้งเรื่องต้นทุน ความสะดวก ความพอใจของผู้บริโภค ฯลฯ ทำให้ Loop ต้องแข่งขันกับอีกโมเดลที่มาแรงในกลุ่มผู้ผลิตขณะนี้ คือการเลือก “ลดพลาสติกในบรรจุภัณฑ์” ทำขวดให้บางลง เพื่อลดทั้งต้นทุนและการใช้พลาสติก

    ขึ้นอยู่กับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคแล้วว่า มองว่าหนทางไหนที่จะช่วยสิ่งแวดล้อมได้จริง และยังสะดวกพอที่คนจะพร้อมปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตใหม่

    Source: Forbes, The Rising, Loop

    ]]>
    1327850
    ‘โค้ก’ เปิดตัว ‘ขวดรีไซเคิล 100%’ ลบภาพผู้ก่อมลพิษจากพลาสติกอันดับ 1 ของโลก https://positioningmag.com/1318765 Wed, 10 Feb 2021 08:19:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318765 ‘Coca-Cola’ หรือ ‘โค้ก’ ที่คนไทยคุ้นเคยกำลังเปิดตัวขวดขนาดใหม่เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี และเป็นขวดแรกที่พลาสติกผลิจจากพลาสติกรีไซเคิล 100%

    Coca-Cola มักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีส่วนทำให้เกิดขยะพลาสติกทำลายสิ่งแวดล้อม โดยเมื่อปีที่แล้ว Coca-Cola ได้รับการเสนอชื่อให้เป็น ‘ผู้ก่อมลพิษจากพลาสติกอันดับ 1 ของโลก’ ที่จัดโดยบริษัท Break Free From Plastic บริษัทด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งวัดผลจากโลโก้และตราสินค้าบนพลาสติก 13,834 ชิ้นใน 51 ประเทศที่มักจะทิ้งในพื้นที่สาธารณะ เช่น สวนสาธารณะ และชายหาด

    ล่าสุด บริษัทก็ได้เปิดตัว ขวดที่ทำมาจากวัสดุพลาสติกรีไซเคิล 100% ในขนาด 13.2 ออนซ์ ซึ่งนี่ถือเป็นหนึ่งในความพยายามของ Coca-Cola ที่เกิดภายใต้โครงการ “โลกไร้ขยะ” ที่เริ่มต้นในปี 2018 โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ ภายในปี 2030 จะยกเลิกบรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียว และจะนำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และได้มาตรฐานมาใช้ผลิตขวดรีไซเคิลแทน

    “การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่ถือเป็นงานแห่งความรักและนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ โดยบรรจุภัณฑ์ใหม่นี้ จะสามารถนำไปทำความสะอาดก่อนจะนำไปบดให้ละเอียดจนกลายเป็นเกล็ดคล้ายเมล็ดพืช ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นขวดใหม่มาใช้อีกครั้ง” Alpa Sutaria ผู้จัดการทั่วไปด้านความยั่งยืนของ Coca-Cola กล่าว

    ด้วยขนาดขนาด 13.2 ออนซ์นั้นใหญ่กว่าโค้กกระป๋องอะลูมิเนียมเล็กน้อย แต่ก็เล็กกว่าขวด 20 ออนซ์ทั่วไป ด้วยขนาดที่ไม่เหมือนใครนี้ Coca-Cola ได้ระบุว่าจะช่วยให้ “ดึงดูดให้ดื่มง่ายมากขึ้น” ขณะที่ราคาจะอยู่ที่ 1.59 ดอลลาร์ และไม่ใช่แค่จะช่วยลดขยะพลาสติกเท่านั้น แต่ Alpa Sutaria ระบุว่า ขวดใหม่ที่รีไซเคิลได้ 100% นี้จะช่วยดึงดูดนักดื่มอายุน้อยกว่า 25 ปีที่กำลังมองหาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน

    “เรารับฟังผู้บริโภคและพวกเขาบอกเราว่าพวกเขาต้องการอะไรที่เล็กลงและบริโภคได้ง่ายขึ้น เราเลยถือโอกาสนี้ทำขวดพลาสติกที่รีไซเคิลได้ 100% โดยเรามุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดผลกระทบต่อโลกของเราให้น้อยที่สุด โดยบริษัทได้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาของเราด้วยการลงมือปฏิบัติจริง”

    ทั้งนี้ โค้กขวดใหม่จะเริ่มวางจำหน่ายในเดือนนี้ในบางรัฐทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกา รวมถึงนิวยอร์ก, แคลิฟอร์เนีย, คอนเนตทิคัต และฟลอริดา ก่อนจะเปิดตัวทั่วประเทศในช่วงฤดูร้อนนี้ 

    อย่างไรก็ตาม Coca-Cola ไม่ใช่บริษัทข้ามชาติเพียงแห่งเดียวที่มีเป้าหมายเพื่อลดมลภาวะจากพลาสติก ‘เนสท์เล่’ บริษัทอาหารรายใหญ่ที่สุดของโลกประกาศเมื่อปีที่แล้วว่าใช้เงิน 2 พันล้านดอลลาร์ในโครงการที่คล้ายกัน เช่นเดียวกับ ‘Pepsi’ เพิ่งเปิดตัวขวดขนาด 2 ลิตรที่ออกแบบใหม่ซึ่งใช้วัสดุน้อยลง 24%

    Source

    ]]>
    1318765
    “เยอรมนี” ขยายระบบเงินมัดจำบรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้แล้วทิ้ง กระตุ้นใช้วัสดุรีไซเคิล https://positioningmag.com/1315953 Sat, 23 Jan 2021 14:04:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1315953 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า กระทรวงสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติ และความปลอดภัยนิวเคลียร์ของเยอรมนี เปิดเผยว่ารัฐบาลกลางอนุมัติการขยายระบบเงินมัดจำค่าบรรจุภัณฑ์ ครอบคลุมขวดและกระป๋องเครื่องดื่มทุกประเภทที่ทำจากพลาสติกใช้แล้วทิ้ง ตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นไป

    กระทรวงฯ ระบุว่ากฎหมายใหม่ยกเลิกข้อยกเว้นสำหรับเครื่องดื่มบางประเภทที่ใช้บรรจุภัณฑ์ขวด และกระป๋องพลาสติก เช่น กำหนดให้เพิ่มเงินมัดจำในผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ ซึ่งทำให้ต้องจำหน่ายในราคาแพงขึ้น จากที่แต่เดิมบังคับใช้กับน้ำผลไม้อัดลมเท่านั้น

    ตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นไป ร้านอาหาร ร้านเหล้า และร้านกาแฟในเยอรมนีที่ให้บริการห่ออาหาร หรือเครื่องดื่มกลับบ้านจำเป็นต้องใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ทว่ากฎหมายใหม่นี้ยังต้องรอการอนุมัติจากบุนเดิสทาคและบุนเดิสราท ซึ่งเป็นสภาล่างและสภาสูงของเยอรมนีตามลำดับ

    “การห่ออาหารกลับบ้านกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ข้อเสียของมันคือปริมาณขยะครัวเรือนที่เพิ่มสูง” สเวนยา ชูลเซอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ระบุในแถลงการณ์

    เยอรมนีไม่อนุญาตให้ผลิตขวดพลาสติกใหม่ด้วยปิโตรเลียม และเปลี่ยนมาใช้พลาสติกรีไซเคิลในปริมาณมากขึ้น โดยตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป ขวดเครื่องดื่มที่ทำจากพลาสติกพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลตแบบใช้แล้วทิ้ง (PET) ต้องผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลอย่างน้อย 25%

    รัฐบาลเยอรมนีระบุว่ากฎหมายใหม่นี้ช่วยให้เยอรมนี “ลดขยะ ประหยัดวัตถุดิบ และปกป้องสิ่งแวดล้อม”

    สหภาพยุโรป (EU) เริ่มบังคับใช้คำสั่งห้ามส่งออกขยะพลาสติกที่ยากต่อการรีไซเคิลทั้งแบบผสม และแบบปนเปื้อนตั้งแต่ช่วงต้นปี 2021 ส่วนเยอรมนีเริ่มใช้กฎที่เข้มงวดยิ่งกว่าตั้งแต่ปี 2019 เพื่อควบคุมการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์พลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ

    รัฐบาลเยอรมนีระบุว่าปริมาณการส่งออกขยะพลาสติกจากเยอรมนีไปยังจีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดลงมากตั้งแต่ปี 2016 โดยปีดังกล่าวเยอรมนีส่งออกขยะพลาสติกไปยังจีน 562,910 ตัน ก่อนจะลดลงเหลือราว 2,600 ตันในปี 2019

    ]]>
    1315953