KAsset ได้ประกาศเปิดตัวพันธมิตรใหม่ J.P. Morgan Asset Management (JPMAM) โดยความร่วมมือของทั้ง 2 ฝ่ายนั้นไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวผลิตภัณฑ์การเงินอื่นๆ ที่เตรียมนำเสนอให้กับลูกค้าในอนาคต การให้คำแนะนำด้านการลงทุนแก่นักลงทุนชาวไทย ไปจนถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่าง บลจ.
ความร่วมมือดังกล่าวนั้นชี้ให้เห็นโอกาสของตลาดกองทุนรวม หรือแม้แต่การบริหารความมั่งคั่งในประเทศไทยยังเปิดกว้างอีกมาก
แดน วัตกินส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เจ.พี.มอร์แกน แอสเซท แมเนจเม้นท์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า ทีมงานของ JPMAM รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้สร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ KAsset ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่มีความสัมพันธ์อันดีมายาวนาน เพื่อนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดให้นักลงทุนไทย โดยมองว่าตลาดทุนไทยเป็นตลาดที่มีความคึกคักและเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาค
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ JPMAM ยังได้กล่าวเสริมว่า “ความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนทั่วโลกของ JPMAM ทำให้พวกเรามีความพร้อมที่จะนำเสนอโซลูชันการลงทุนที่ได้มาตรฐานระดับโลกให้ผู้ลงทุนไทย และเป็นการเปิดโอกาสในการขยายธุรกิจของ JPMAM ไปทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”
ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ปัจจุบันธนาคารมีลูกค้าที่มีการลงทุนในกองทุนรวมเกือบ 1 ล้านราย (ณ วันที่ 25 ธ.ค. 2023) และยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ดังนั้น ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่าง KAsset และ JPMAM ตั้งแต่การบริหารจัดการไปจนถึงการนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ตรงความต้องการของลูกค้าธนาคารกสิกรไทย จะช่วยยกระดับประสบการณ์การลงทุนของลูกค้าได้เป็นอย่างดี
อดิศร เสริมชัยวงศ์ ประธานกรรมการบริหาร KAsset กล่าวว่า “ความร่วมมือกับ JPMAM ถือเป็นการยกระดับการให้บริการของเรา ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ การให้บริการด้านที่ปรึกษาการลงทุน รวมถึงตอบโจทย์ Pain Point ของนักลงทุนในช่วงตลาดผันผวน
ผลิตภัณฑ์การเงินที่เป็นความร่วมมือสำคัญก็คือกองทุนรวมประเภท Multi Asset Fund ซึ่งมีการลงทุนในหลายสินทรัพย์ในกองทุนเดียว ไม่ว่าจะเป็นหุ้นในหลากหลายตลาดหุ้นทั่วโลก ตราสารหนี้ หรือสินทรัพย์อื่นๆ ซึ่งประธานกรรมการบริหาร KAsset ชี้ว่าสัดส่วนของนักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนประเภทนี้ในต่างประเทศมีสัดส่วนมากถึง 20% ในขณะที่ประเทศไทยนั้นถือว่าสัดส่วนนั้นน้อยมาก
ประธานกรรมการบริหาร KAsset ยังกล่าวเสริมว่า JPMAM ถือเป็นพันธมิตรที่จะเข้ามาเติมเต็ม โดยนำเสนอกองทุนในรูปแบบ Multi Asset Fund ที่มีจุดเด่นในการลงทุนสินทรัพย์ที่หลากหลาย ทำให้มีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนที่ดี และมีผลตอบแทนที่ดีในระดับหนึ่งโดยที่ผ่านมาอยู่ระดับ 3-4% ต่อปี
ทางด้านความร่วมมือด้านองค์กรนั้นมีตั้งแต่การแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่าง 2 องค์กร หรือแม้แต่การใช้ข้อมูลจาก JPMAM นำเสนอให้กับลูกค้าของ KAsset เพื่อจะทำให้เห็นภาพรวมในการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น
ในช่วงปี 2023 ที่ผ่านมามีข่าวลือหลายครั้งเกี่ยวกับอนาคตของ KAsset ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขายกิจการ หรือแม้แต่หาพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ซึ่งธนาคารกสิกรไทยได้ชี้แจงในประเด็นดังกล่าว นอกจากนี้มุมมองของธนาคารฯ นั้นมองว่าธุรกิจหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่เป็นหนึ่งในธุรกิจที่สำคัญของธนาคาร
ขณะที่โมเดลการเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ของ JPMAM เฉกเช่นการจับมือของ KAsset มีหลายประเทศด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นในออสเตรเลีย หรือแม้แต่ในแอฟริกาใต้ โดยผู้บริหารของ JPMAM ชี้ว่าการจับมือรอบนี้แม้จะไม่ใช่ครั้งแรก แต่โมเดลในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ ก็จะนำมาใช้ในประเทศไทยเช่นกัน
ความร่วมมือดังกล่าวนี้ KAsset ตั้งเป้าหมายมีสินทรัพย์จากการลงทุนในกองทุน Multi Asset Fund มากถึง 100,000 ล้านบาทใน 3 ปี และคาดว่าจะยังมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ เพิ่มเติมหลังจากนี้ด้วย
]]>รื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ตามที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563 มีมติให้ประชาชนทั่วไปหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนเพื่อการออม (Super Savings Fund : SSF) ที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือ “SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน” นั้น โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
(1) ลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนทั้งในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
(2) หักลดหย่อนภาษีเงินได้พึงประเมินตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยแยกจากวงเงินลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน SSF กรณีปกติ และไม่อยู่ภายใต้เพดานวงเงินหักลดหย่อนรวมในกองทุนเพื่อการเกษียณทั้งหมด
(3) ซื้อระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563
(4) ถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี
ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 ก.ล.ต. ได้อนุมัติการจัดตั้งกองทุน SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน ไปแล้วจำนวน 18 กองทุน จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จำนวน 14 แห่ง ซึ่งกองทุน SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน พร้อมเสนอขายได้ในวันที่ 1 เมษายน 2563 สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่ บลจ. ที่เสนอขายกองทุน ดังนี้
1. กองทุนเปิดกรุงศรี SET100 – บลจ.กรุงศรี
2. กองทุนเปิด เค ซูเปอร์สตาร์ เพื่อการออมพิเศษ – กสิกรไทย
3. กองทุนเปิด ทิสโก้ หุ้นทุน เพื่อการออม – ทิสโก้
4. กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นไทยเพื่อการออม – บัวหลวง
5. กองทุนเปิดกรุงไทย ก่อการดี เพื่อการออม – กรุงไทย
6. กองทุนเปิดกรุงไทย 70/30 เพื่อการออม – กรุงไทย
7. กองทุนเปิดพรินซิเพิล เว็ท 50 อินเด็กซ์เพื่อการออม – พรินซิเพิล
8. กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไทยเฟล็กซิเบิล เพื่อการออม – เอ็มเอฟซี
9. กองทุนเปิดเอ็มเอฟซีหุ้นไทยเพื่อการออม – เอ็มเอฟซี
10. กองทุนเปิดยูโอบี เพื่อการออม – ยูโอบี
11. กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ดัชนี SET เพื่อการออม – ไทยพาณิชย์
12. กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ผสม 70/30 เพื่อการออม – ไทยพาณิชย์
13. กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นไทยเเอคทีฟ เพื่อการออม – ไทยพาณิชย์
14. กองทุนเปิด เเอล เอช สมาร์ท เพื่อการออม – เเลนด์ เเอนด์ เฮ้าส์
15. กองทุนเปิด เเอสเซทพลัส สมอล เเอนด์ มิด เเคป อิควิตี้ เพื่อการออม – เเอสเซท พลัส
16. กองทุนเปิดภัทร SET50 ESG – ภัทร
17. กองทุนเปิดธนชาต อีสท์สปริง หุ้นทุนปันผลเพื่อการออมพิเศษ – ธนชาต
18. กองทุนเปิด วรรณ สนับสนุนตลาดทุนไทย เพื่อการออม – วรรณ
*ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563
อ่านเพิ่มเติม :
ส่องผลประโยชน์-ผลกระทบ “กองทุน SSF” ที่มาทดแทน LTF
]]>
อีสท์สปริง อินเวสท์เมนท์ บริษัทจัดการการลงทุนภายใต้ กลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียล แถลงความคืบหน้าการเข้าซื้อหุ้นในกิจการ บลจ.ธนชาต ตามแผนงานสำเร็จลุล่วงแล้ว โดยบริษัทเข้าซื้อหุ้นรวม 50.1% มูลค่ารวมประมาณ 4,208 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นจากธนาคารธนชาตจำกัด (มหาชน) 25.1% และจากธนาคารออมสิน 25.0% และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Thanachart Fund Eastspring
โดยก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนกันยายนปี 2561 อีสท์สปริง อินเวสท์เมนท์ ได้เข้าซื้อหุ้น 65% ใน บลจ.ทหารไทย และเปลี่ยนชื่อเป็น TMBAM Eastspring ทำให้เมื่อควบรวม บลจ.ธนชาตเข้ามาในครั้งนี้ จะทำให้อีสท์สปริง อินเวสท์เมนท์ เป็นบริษัทที่มีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การบริหารจัดการสุทธิ (AUM) 6.68 แสนล้านบาท ซึ่งคิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 12% หรือใหญ่เป็นอันดับ 4 ของตลาด
“นิค นิแคนดรู” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พรูเด็นเชียล คอร์ปอเรชั่น เอเชีย กล่าวถึงการควบรวมเหล่านี้ว่า เป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่ต้องการรวมความเข้มแข็งของ บลจ.ทั้ง 2 ฝั่งมาสร้างการเติบโตและการบริการใหม่ๆ ช่วยให้บริษัทขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียได้ดีขึ้น
โดยปัจจุบันอีสท์สปริง อินเวสท์เมนท์มีการลงทุนในทวีปเอเชียทั้งหมด 11 ประเทศ บริษัทยังกล่าวด้วยว่า ใน 7 ประเทศของเอเชียที่ลงทุนอยู่ ตนเป็นผู้นำในธุรกิจจัดการการลงทุนอยู่ขณะนี้
ด้าน “ปิติ ตัณฑเกษม” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี กล่าวว่า เป้าประสงค์ของธนาคารคือต้องการให้การจัดการลงทุนเป็นสิ่งที่คนไทยชนชั้นกลางเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และมีผลิตภัณฑ์หลากหลายขึ้น นั่นทำให้ธนาคารมีการเปิด open architecture และใช้เทคโนโลยี Smart Port ช่วยจัดพอร์ตลงทุน ส่วนการร่วมทุนกับอีสท์สปริงจะทำให้ธนาคารมีตัวเลือกการลงทุนทั่วโลกเพื่อนำมาใช้จัดพอร์ตกองทุน
“ธุรกิจนี้ ความสำคัญคือขนาด เพราะต้นทุนต่อหน่วยจะถูกลง และเราต้องการให้คนไทยเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ง่ายและหลากหลาย” ปิติกล่าว ถึงเหตุผลของการควบรวมกับอีสท์สปริง “ปกติกฎหมายไทยเปิดกว้างให้คนไทยไปลงทุนต่างประเทศได้ แต่คนไทยทั่วไปที่ไม่ได้มีเงินล้านจะนำเงินออกไปลงทุนได้อย่างไร? เราจึงมองว่าความร่วมมือนี้จะเป็นประโยชน์ให้คนไทยที่มีเงินหลักแสนหรือหลักหมื่นได้โอกาสลงทุนมากขึ้น ในภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำเช่นนี้”
สำหรับการควบรวม Thanachart Fund Eastspring กับ TMBAM Eastspring เป็นบริษัทเดียวนั้น จะเกิดขึ้นในระยะต่อไปตามแผนที่วางไว้แล้ว แต่ขณะนี้ทั้งสองบริษัทจะทำงานร่วมกันในรูปแบบพันธมิตร
โดยบริษัทมีการเตรียมการแล้วผ่านการจัดตั้งทีมงานดูแลการควบรวมกิจการ 10 คน ตั้งกลุ่มผู้บริหารอาวุโสร่วมทั้งสองบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของสองบริษัทเป็นบุคคลเดียวกัน เพื่อให้การควบรวมทุน คน สำนักงาน เป็นไปโดยเรียบร้อย ไม่กระทบต่อลูกค้า
ด้านความกังวลถึงสถานการณ์ตลาดที่ไม่เอื้อต่อการลงทุนในประเทศไทยรวมถึงภูมิภาคเอเชียระยะนี้ ทั้งประเด็นอัตราดอกเบี้ยต่ำและไวรัสโคโรนามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ จะทำให้พรูเด็นเชียลชะลอการลงทุนออกไปหรือไม่ พรูเด็นเชียลยืนยันว่า แผนการลงทุนใน Thanachart Fund Eastspring กับ TMBAM Eastspring ถือเป็นการลงทุน “ขนาดใหญ่” ของบริษัทแม่ และบริษัทมีความตั้งใจอย่างยิ่งในการทำงานและต้องการปักหลักระยะยาว
“พรูเด็นเชียลเราเริ่มการทำงานจากประกันชีวิตและประกันสุขภาพ การอุบัติของไวรัส COVID-19 ยิ่งทำให้คนตระหนักถึงชีวิตและสุขภาพ การปกป้องตนเอง และการลงทุนมากขึ้นด้วยซ้ำ ดังนั้นเราไม่คิดจะชะลอการลงทุนในภูมิภาค แต่จะยิ่งเสริมความแข็งแกร่งให้มากขึ้นด้วย” นิคกล่าวย้ำ
]]>นางมารี แรมลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้ารายย่อย ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนธนชาต จำกัด หรือ บลจ.ธนชาตได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรรายล่าสุดที่ช่วยตอกย้ำให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมแก่ลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยบลจ.ธนชาต เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนแบบ Active Fund ทั้งตราสารหนี้และตราสารทุนมาอย่างยาวนาน โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าดัชนีชี้วัดให้กับผู้ลงทุน รวมทั้งสร้างสรรค์รูปแบบกองทุนที่แตกต่างเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ เช่น กองทุนที่ลงทุนในหุ้นผันผวนต่ำ (Low Beta Stocks) ที่มีผลงานโดดเด่นจนได้รับการยอมรับ ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้ามีตัวเลือกในการลงทุนได้มากขึ้น
ทั้งนี้ ทีเอ็มบีได้เริ่มจำหน่ายกองทุนของบลจ.ธนชาตตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา โดยกองทุนที่เราคัดเลือกเข้ามาเป็นกองหุ้นไทย คือ T-LowBeta และ T-PrimeLowBeta โดยทั้งสองกองทุนเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นมีความผันผวนของเงินลงทุนน้อยกว่า SET Index มุ่งเน้นการสร้างผลตอบแทนการลงทุนในระยะยาวที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ ซึ่งเหมาะกับสภาวะตลาดในปัจจุบันที่มีแนวโน้มจะมีความผันผวนสูงขึ้นในอนาคต นอกจากนี้เรายังได้นำกองทุน T-LowBetaLTFD และ T-LowBetaRMF เข้ามาเป็นทางเลือกเพิ่มเติมสำหรับลูกค้าที่ต้องการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีในช่วงโค้งสุดท้ายนี้อีกด้วย
บริการ Open Architecture ของธนาคารได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างต่อเนื่องเพราะสามารถเลือกซื้อกองทุนที่มีผลงานดีมีหลากหลายนโยบายการลงทุนจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ชั้นนำกว่า 11 บลจ. ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน), บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อเบอร์ดีน สแตนดาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด
ทีเอ็มบี มีความมุ่งมั่นที่จะคัดสรรกองทุนดีๆ จากพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ โดยพิจารณาปัจจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพมาให้นักลงทุนได้เลือกลงทุนอยู่ตลอดเวลา พร้อมเพิ่มทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลาย เพื่อให้ลูกค้าลงทุนได้อย่างเสรีมากขึ้นและมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีและไปถึงเป้าหมายทางการเงินที่วางไว้ได้เร็วยิ่งขึ้น
]]>