บัตรเครดิตกรุงไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 08 Jul 2021 09:32:20 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 KTC หั่นเป้ารูดบัตรเหลือ 2 เเสนล้าน ปรับมูฟครึ่งปีหลัง รออัดโปร-แลกพอยต์ คุมเข้มบัตรใหม่ https://positioningmag.com/1340915 Thu, 08 Jul 2021 08:30:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1340915 KTC มองโควิดลากยาวฉุดการใช้จ่าย หวังฟื้นตัวได้ช่วงปลายปี หั่นเป้าใช้จ่ายเหลือ 5% หรือราว 2 แสนล้านบาท จากเป้าหมายเดิม 8% หรือ 2.2 แสนล้านบาท เลือกทำการตลาดเฉพาะบุคคลให้ตรงจุดมุ่ง Partnership Marketing ช่วยคู่ค้าอัดโปรฯ แลกพอยต์ กระตุ้นยอดขาย เน้นวงเงินยอดใช้จ่ายไม่สูงแต่ต่อเนื่อง

พิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจบัตรเครดิตบริษัท บัตรกรุงไทย จํากัด (มหาชน) หรือ KTC ให้สัมภาษณ์ว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ยอดรวมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต (Spending) อยู่ที่ 94,000 ล้านบาท เติบโต 4% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เเต่ต่ำกว่าที่คาดไว้

ดังนั้น บริษัทจึงปรับลดเป้ายอดใช้จ่ายบัตรเครดิตทั้งปี 2564 เหลือเติบโตที่ 5% หรือราว 200,000 ล้านบาท จากเดิมตั้งเป้าไว้ที่ 8% หรือราว 2.2 แสนล้านบาท

ที่ผ่านมา เริ่มเห็นการเติบโตในเดือนเม.. เเต่พอเข้าเดือนพ.. ก็เริ่มกระตุกอีกครั้ง เมื่อต้องเจอโรคระบาดระลอกที่ 3 ส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงเดือนมิ.. จากเดิมที่เคยคาดหวังว่าตัวเลขจะเป็นบวกไปเรื่อยๆ เเต่ตอนนี้กลับติดลบ

ต้องยอมรับว่าปัจจัยเหล่านี้ จะกระทบต่อเป้าหมายในช่วงปลายปีของเรา การเจอสถานการณ์เช่นนี้ คงทำให้การหาสมาชิกบัตรใหม่ทำได้ยากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันฐานสมาชิกบัตรเครดิต KTC มีจำนวน 2.5  ล้านใบ สมาชิกบัตรฯ ใหม่ตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 95,000 ใบ จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งปี 230,000 ใบ

พิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร – ธุรกิจบัตรเครดิตบริษัท บัตรกรุงไทย จํากัด (มหาชน)

ปกติเเล้ว ช่องทางขยายฐานสมาชิกที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือ ผ่านสาขาธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศ และหน่วยงาน Outsource Sales พนักงานเซลส์จากภายนอก เเต่ในยุคโควิด-19 ต้องเว้นระยะห่าง การไปพบปะลูกค้าทำได้ยากขึ้น รวมไปถึงคุณภาพการเงินของลูกค้าก็ลดลงด้วย

ทั้งนี้ อัตราการอนุมัติบัตรเครดิตใหม่ของ KTC อยู่ที่ 36% ลดลงจากเดิมที่เคยอยู่กว่า 40% โดยยังคงเจาะกลุ่มเป้าหมายหลักคือกลุ่มที่มีรายได้ 30,000 บาทขึ้นไป สัดส่วนสมาชิกอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร 55% และจังหวัดอื่นๆ 45%

เราเชื่อว่าถ้าผ่านพ้นวิกฤตช่วงนี้ไป ยอดบัตรใหม่น่าจะกระเตื้องขึ้น เเต่คิดว่าในช่วงไตรมาส 3 ยังคงไม่ฟื้นตัวได้เร็ว อาจจะค่อยๆ ขยับขึ้นไปรอโอกาสสุดท้ายในช่วงไตรมาส 4 ซึ่งปกติก็เป็นไฮซีซั่นที่การใช้จ่ายกลับมาอยู่เเล้ว

รูดซื้อ ‘ประกัน’ มากสุด ช้อปออนไลน์-เเต่งบ้านพุ่ง 

สำหรับหมวดหมู่ที่ผู้ถือบัตร KTC นิยมใช้จ่ายมากที่สุด คือหมวดประกัน ซึ่งครองอันดับ 1 มาหลายปีเเล้ว ตามมาด้วยอันดับ 2 อย่างการเติมน้ำมัน

ส่วนอันดับ 3 โตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญคือวาไรตี้สโตร์มาร์เก็ตเพลลสเช่น เช่น Shopee และ Lazada จากเทรนด์การช้อปปิ้งออนไลน์ อันดับ 4 คือ ซูเปอร์มาร์เก็ต เพราะคนซื้อของกักตุนที่บ้านเยอะขึ้น เเละอันดับ 5 คือสุขภาพโรงพยาบาล

ส่วนหมวดเฟอร์นิเจอร์ของตกเเต่งบ้านก็มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจ จากการที่หลายคนต้องทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ปรับเปลี่ยนชีวิตมาอยู่บ้านมากขึ้น ขณะที่หมวดการใช้จ่ายที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ก็คือ การท่องเที่ยวเเละแฟชั่น

ปัจจุบันวงเงินใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 6,000 บาทต่อราย ลดลงจากราว 7,000 บาท ส่วนหนึ่งมาจากการใช้บัตรเครดิตเพื่อซื้อสินค้าเล็กๆน้อยๆ ตามร้านสะดวกซื้อและช้อปปิ้งออนไลน์ได้มากขึ้น ต่างจากเดิมที่มักจะใช้ซื้อสินค้าใหญ่ๆ

รอจังหวะอัดโปรฯ-แลกพอยต์ กระตุ้นปลายปี 

สำหรับกลยุทธ์การตลาดธุรกิจบัตรเครดิตครึ่งปีหลังของปี 2564 นั้น จะมีการเปลี่ยนเเปลงไปตามสถานการณ์ โดยเน้นไปที่การตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคล เเละยึดหลัก ‘Partnership Marketing’ สร้างความสัมพันธ์กับพันธมิตรให้หลากหลายมากขึ้น

เเต่เดิมเราคิดว่าในไตรมาสที่ 3 จะเริ่มบุกทำการตลาดเเบบเต็มสูบมากขึ้น เเต่พอเจอสถานการณ์เช่นนี้ ทำให้ทีมต้องกลับมาคิดทบทวนใหม่ โดยทุกวันนี้โปรโมชันของเรามีทำไว้รออยู่เเล้ว เพียงเเต่ว่าเมื่อคนยังไม่กล้าออกมา เราก็คงไม่กล้าที่จะทุ่มโปรโมตมากๆ

การตลาดช่วงนี้จึงจะต้องเน้นไปที่การทำความเข้าใจกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น เมื่อการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ยังจำเป็น เเละการสั่งสินค้าออนไลน์กลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตไปเเล้ว

ในช่วงที่คนมีความกังวลมากมาย เเบรนด์ต้องสื่อสารให้ตรงกับเขามากกว่าจะไปพูดสารพัดเรื่อง พยายามให้ข่าวสารที่มีประโยชน์เเละไม่รบกวนลูกค้ามาก

มุ่งเน้นกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้สมาชิกเลือกใช้บัตรเครดิตของ KTC เป็นอันดับแรก หรือตั้งเป็น Default Card ที่ใช้เป็นประจำในทุกวัน โดยร่วมกับพันธมิตรมอบสิทธิประโยชน์และใช้จุดแข็งด้านคะแนนสะสมเน้นวงเงินยอดใช้จ่ายไม่สูงแต่ต่อเนื่อง

ทีมการตลาดทำงานใกล้ชิดกับพาร์ตเนอร์ เมื่อพาร์ตเนอร์ต้องการความช่วยเหลือ เราก็ช่วยได้ เช่น ธุรกิจโรงเเรมในกรุงเทพฯ ที่หันมาจับลูกค้าคนไทยเเละขายอาหารมากกว่าห้องพัก ทาง KTC ก็โปรโมตโปรโมชันเเพ็กเกจเมนูอาหารสำหรับคน Work from Home ให้ ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

พร้อมกันนี้ ยังมี KTC U SHOP ซึ่งเป็นบริการขายสินค้าออนไลน์ที่ใช้เป็นช่องทางในการสนับสนุนพันธมิตรและผู้ประกอบการที่สนใจนำเสนอสินค้าให้แก่สมาชิกบัตรฯ ซึ่งสมาชิกสามารถชำระด้วยคะแนน KTC FOREVER หรือบัตรเครดิตเคทีซีได้

ขณะเดียวกัน บริษัทได้พัฒนาศักยภาพของแอปฯ KTC Mobile ให้มีบริการที่สะดวก เน้นใช้งานง่าย และรวดเร็วขึ้น เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของสมาชิกที่คุ้นชินกับการทำรายการแบบออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันมียอดสมาชิกโหลดใช้งาน KTC Mobile แล้ว 1.8 ล้านราย มียอดใช้ทำธุรกรรมสม่ำเสมอ (Active) คิดเป็นประมาณ 75% จากฐานลูกค้าทั้งหมด 2.5 ล้านราย

ในไตรมาส 3 นี้ เราจะนำเสนอน้องกะทิเเชทบอทตัวใหม่ที่จะมาพูดคุยสื่อสารเเละช่วยเหลือลูกค้าด้วย” 

NPL ยังคุมได้ เข้มอนุมัติบัตรใหม่ 

จากกรณีภาครัฐ กำลังจะมีนโยบายปรับเพดานอัตราดอกเบี้ยในกลุ่มสินเชื่อรายย่อยอีกครั้งนั้น KTC คาดว่าไม่ได้รับผลกระทบ เพราะดอกเบี้ยบัตรฯ ได้ถูกปรับลดลงมาที่ระดับ 16% แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ต้องรอความชัดเจนทางธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.)

ด้านคุณภาพสินเชื่อ หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) นั้น ผู้บริหาร KTC มองว่า ณ ขณะนี้ถือว่าอยู่ในระดับที่ควบคุมได้แม้ว่าแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจ โดยในไตรมาส 1 NPL อยู่ที่ 1.4% และขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1.5% ในเดือนพ.. ซึ่งอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับภาพรวมอุตสาหกรรม ที่เดือนเม.. NPL อยู่ที่ 2.3%

การที่ NPL ของเราอยู่ในระดับต่ำได้ ส่วนหนึ่งมาจากการคัดกรองลูกค้าใหม่ที่เข้มงวดและอนุมัติยากขึ้น โดยจะดูที่ความสามารถในการชำระหนี้เป็นหลัก

 

 

]]>
1340915
กางแผน KTC 2020 แม้เศรษฐกิจชะลอ แต่ก็ขอโต 10% https://positioningmag.com/1256235 Sun, 08 Dec 2019 17:26:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1256235 KTC รุกปี 2020 ยกระดับเป็นองค์กรคล่องตัว (Agile Organism) พลักดันทั้งแพลตฟอร์มการชำระเงิน (Payment Platform) และแพลตฟอร์มสินเชื่อรายย่อย (Retail Lending Platform) ขยายฐานลูกค้าเพิ่มอีก 350,000 ราย

ต้องแข็งแรงทั้งชำระเงิน และสินเชื่อ

ระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “ KTC ” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

“วิสัยทัศน์ใหม่ของ KTC มุ่งสู่การเป็นแพลตฟอร์มการเงินหลักที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ ด้วย 2 แพลตฟอร์มคือ “แพลตฟอร์มการชำระเงิน” และ “แพลตฟอร์มสินเชื่อรายย่อย” เน้น 3 จุดแข็งหลักคือ ปลอดภัย รวดเร็ว และสร้างประสบการณ์ที่ดี รองรับการขยายธุรกิจใหม่เข้าไปในธุรกิจสินเชื่อรายย่อยแบบมีหลักประกันและธุรกิจใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพิ่มเติมจากธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลที่มีอยู่

ซึ่งจะทำให้ KTC สามารถนำเสนอสินเชื่อให้กับผู้บริโภคได้หลากหลายและครบวงจร ทั้ง “สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน” “พิโกพลัส” (สินเชื่ออเนกประสงค์ที่ให้กับรายย่อยระดับจังหวัด)” และธุรกิจ “นาโนไฟแนนซ์” (สินเชื่อรายย่อยสำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือผู้มีรายได้ไม่แน่นอน) ซึ่งทยอยเปิดให้บริการแล้ว และคาดว่าทั้ง 3 ธุรกิจใหม่นี้ จะสามารถเริ่มรับรู้กำไรได้ประมาณ 18-24 เดือน นับตั้งแต่วันที่ดำเนินธุรกิจจริง”

เศรษฐกิจชะลอ แต่ยังโต 10%

พิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร – ธุรกิจบัตรเครดิต KTC กล่าวว่า

“ถึงแม้ว่าในปีนี้เศรษฐกิจไทยจะชะลอตัว แต่ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต KTC สามารถเติบโตได้ถึง 10% หรือประมาณ 150,000 ล้านบาท และคาดว่าสิ้นปี 2019 จะสามารถรักษาสัดส่วนการเติบโตของยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตโดยรวมได้ที่ประมาณ 10%

สำหรับปี 2020 แนวคิดการทำตลาดบัตรเครดิต KTC คือ “Everyone, everyday, and everywhere” ด้วยเป้าหมายที่ต้องการให้บัตร KTC เป็นบัตรที่สมาชิกเลือกใช้ทุกวันและทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นการจับจ่ายผ่านช่องทางออนไลน์หรือการใช้จ่ายที่ร้านค้าในประเทศ หรือต่างประเทศ

โดยนอกจากการมุ่งเน้นความคุ้มค่าผ่านคะแนน KTC FOREVER แล้ว KTC จะให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ที่ดีกับสมาชิก ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลในการเรียนรู้พฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าแต่ละราย เพื่อนำเสนอสิ่งที่สมาชิกบัตรชื่นชอบ

ธุรกิจสินเชื้อ ต้องสร้างคุณภาพหนี้ที่ดีขึ้น

พิชามน จิตรเป็นธรรม ผู้อำนวยการ – ธุรกิจสินเชื่อบุคคล KTC กล่าวว่า

ธุรกิจสินเชื่อบุคคลในปี 2020 คือ เพิ่มปริมาณสินเชื่อพร้อมกับการสร้างคุณภาพหนี้ที่ดีขึ้น ใน 4 แกนหลัก คือ

  1. หาสมาชิกใหม่ที่มีความต้องการสินเชื่อเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เนื่องจากการใช้วงเงินอย่างมีวัตถุประสงค์แสดงถึงการวางแผนเพื่อความก้าวหน้าในชีวิต และวินัยทางการเงินที่ดี โดยตั้งเป้าเพิ่มปริมาณลูกค้าและพันธมิตรในกลุ่มสินเชื่อเพื่อการศึกษาให้มากขึ้น
  2. รักษาฐานสมาชิกปัจจุบันให้มีความผูกพันกับ KTC และเป็นบัตรที่ลูกค้านึกถึงเป็นใบแรก โดยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายสมาชิกที่มีวินัยการชำระเงินที่ดี ผ่านแคมเปญที่โดนใจสมาชิกตลอดกาล เช่น โครงการเคลียร์หนี้เกลี้ยง โครงการเหมาเหมาจ่ายดอกเบี้ยเพียง 199 บาท รวมทั้งวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อนำเสนอโปรโมชั่นที่สมาชิกต้องการอย่างแท้จริง
  3. พัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการเพื่อสร้างความพึงพอใจด้วยบริการใหม่ เพิ่มวงเงินฉุกเฉินที่สามารถทำรายการด้วยตนเองตลอด 24 ชั่วโมง อนุมัติรับวงเงินทันทีเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของลูกค้าให้มากขึ้น พัฒนาบริการเบิกเงินสดออนไลน์ผ่านแอปฯ KTC Mobile ตลอด 24 ชั่วโมงแบบเรียลไทม์ และจะเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานบัตรกดเงินสด “KTC พราว” ให้ตอบไลฟ์สไตล์ของสังคมไร้เงินสดที่ผู้บริโภคสามารถใช้บัตรได้ทุกที่ ทุกเวลา
  4. สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ลูกค้า เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยสร้างวินัยทางการเงินผ่านกิจกรรมสัมมนาให้ความรู้ (Financial Literacy) และบทความที่เป็นประโยชน์ในรูปแบบของสื่อที่เข้าใจง่าย

เพิ่มฐานสมาชิกอีก 350,000 ราย

ปิยศักดิ์ เตชะเสน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส – ช่องทางจัดจำหน่ายและธุรกิจร้านค้า KTC กล่าวว่า

“การขยายฐานสมาชิกในปี 2020 น่าจะเป็นความท้าทายและสร้างโอกาสที่ดีให้กับ KTC ด้วยผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่มีความหลากหลายและครบวงจรมากขึ้น โดยตั้งเป้าหมายสมาชิกบัตรเครดิตใหม่ 350,000 ใบ และบัตรกดเงินสด “KTC พราว” 210,000 ใบ รวมทั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุด “สินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม” ซึ่งประกอบด้วย สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ สินเชื่อทะเบียนรถจักรยานยนต์และสินเชื่อเงินสด

สำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักของ KTC จะยังเป็นพนักงานที่มีรายได้ประจำตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป โดยจะเน้นช่องทางการรับสมัครผ่านทางออนไลน์มากขึ้น

9 เดือนแรก กำไร 4 พันล้าน

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2562) มีตัวเลขสำคัญทางการเงินดังนี้

– กำไรสุทธิ 4,205 ล้านบาท

– พอร์ตลูกหนี้การค้ารวมเท่ากับ 79,618 ล้านบาท (ขยายตัว 9%)

– ฐานสมาชิกรวม 3.43 ล้านบัญชี (เติบโต 6%) แบ่งเป็น

  • บัตรเครดิต 2,460,595 บัตร (ขยายตัว 7%)
    – พอร์ตลูกหนี้บัตรเครดิตรวม 51,137 ล้านบาท (ขยายตัว 10%)
    – อัตราเติบโตของปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต 9 เดือน อยู่ที่ 10.4%
    – NPL รวม ลดลงต่อเนื่องอยู่ที่ 1.07% NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 0.96%
  • สินเชื่อบุคคล 973,356 บัญชี (ขยายตัว 5%)
    – ยอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลรวม 28,219 ล้านบาท (เติบโต 9%)
    – NPL ของสินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 0.83%
]]>
1256235