ประกัน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 08 Jul 2021 09:32:20 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 KTC หั่นเป้ารูดบัตรเหลือ 2 เเสนล้าน ปรับมูฟครึ่งปีหลัง รออัดโปร-แลกพอยต์ คุมเข้มบัตรใหม่ https://positioningmag.com/1340915 Thu, 08 Jul 2021 08:30:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1340915 KTC มองโควิดลากยาวฉุดการใช้จ่าย หวังฟื้นตัวได้ช่วงปลายปี หั่นเป้าใช้จ่ายเหลือ 5% หรือราว 2 แสนล้านบาท จากเป้าหมายเดิม 8% หรือ 2.2 แสนล้านบาท เลือกทำการตลาดเฉพาะบุคคลให้ตรงจุดมุ่ง Partnership Marketing ช่วยคู่ค้าอัดโปรฯ แลกพอยต์ กระตุ้นยอดขาย เน้นวงเงินยอดใช้จ่ายไม่สูงแต่ต่อเนื่อง

พิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจบัตรเครดิตบริษัท บัตรกรุงไทย จํากัด (มหาชน) หรือ KTC ให้สัมภาษณ์ว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ยอดรวมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต (Spending) อยู่ที่ 94,000 ล้านบาท เติบโต 4% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เเต่ต่ำกว่าที่คาดไว้

ดังนั้น บริษัทจึงปรับลดเป้ายอดใช้จ่ายบัตรเครดิตทั้งปี 2564 เหลือเติบโตที่ 5% หรือราว 200,000 ล้านบาท จากเดิมตั้งเป้าไว้ที่ 8% หรือราว 2.2 แสนล้านบาท

ที่ผ่านมา เริ่มเห็นการเติบโตในเดือนเม.. เเต่พอเข้าเดือนพ.. ก็เริ่มกระตุกอีกครั้ง เมื่อต้องเจอโรคระบาดระลอกที่ 3 ส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงเดือนมิ.. จากเดิมที่เคยคาดหวังว่าตัวเลขจะเป็นบวกไปเรื่อยๆ เเต่ตอนนี้กลับติดลบ

ต้องยอมรับว่าปัจจัยเหล่านี้ จะกระทบต่อเป้าหมายในช่วงปลายปีของเรา การเจอสถานการณ์เช่นนี้ คงทำให้การหาสมาชิกบัตรใหม่ทำได้ยากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันฐานสมาชิกบัตรเครดิต KTC มีจำนวน 2.5  ล้านใบ สมาชิกบัตรฯ ใหม่ตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 95,000 ใบ จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งปี 230,000 ใบ

พิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร – ธุรกิจบัตรเครดิตบริษัท บัตรกรุงไทย จํากัด (มหาชน)

ปกติเเล้ว ช่องทางขยายฐานสมาชิกที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือ ผ่านสาขาธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศ และหน่วยงาน Outsource Sales พนักงานเซลส์จากภายนอก เเต่ในยุคโควิด-19 ต้องเว้นระยะห่าง การไปพบปะลูกค้าทำได้ยากขึ้น รวมไปถึงคุณภาพการเงินของลูกค้าก็ลดลงด้วย

ทั้งนี้ อัตราการอนุมัติบัตรเครดิตใหม่ของ KTC อยู่ที่ 36% ลดลงจากเดิมที่เคยอยู่กว่า 40% โดยยังคงเจาะกลุ่มเป้าหมายหลักคือกลุ่มที่มีรายได้ 30,000 บาทขึ้นไป สัดส่วนสมาชิกอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร 55% และจังหวัดอื่นๆ 45%

เราเชื่อว่าถ้าผ่านพ้นวิกฤตช่วงนี้ไป ยอดบัตรใหม่น่าจะกระเตื้องขึ้น เเต่คิดว่าในช่วงไตรมาส 3 ยังคงไม่ฟื้นตัวได้เร็ว อาจจะค่อยๆ ขยับขึ้นไปรอโอกาสสุดท้ายในช่วงไตรมาส 4 ซึ่งปกติก็เป็นไฮซีซั่นที่การใช้จ่ายกลับมาอยู่เเล้ว

รูดซื้อ ‘ประกัน’ มากสุด ช้อปออนไลน์-เเต่งบ้านพุ่ง 

สำหรับหมวดหมู่ที่ผู้ถือบัตร KTC นิยมใช้จ่ายมากที่สุด คือหมวดประกัน ซึ่งครองอันดับ 1 มาหลายปีเเล้ว ตามมาด้วยอันดับ 2 อย่างการเติมน้ำมัน

ส่วนอันดับ 3 โตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญคือวาไรตี้สโตร์มาร์เก็ตเพลลสเช่น เช่น Shopee และ Lazada จากเทรนด์การช้อปปิ้งออนไลน์ อันดับ 4 คือ ซูเปอร์มาร์เก็ต เพราะคนซื้อของกักตุนที่บ้านเยอะขึ้น เเละอันดับ 5 คือสุขภาพโรงพยาบาล

ส่วนหมวดเฟอร์นิเจอร์ของตกเเต่งบ้านก็มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจ จากการที่หลายคนต้องทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ปรับเปลี่ยนชีวิตมาอยู่บ้านมากขึ้น ขณะที่หมวดการใช้จ่ายที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ก็คือ การท่องเที่ยวเเละแฟชั่น

ปัจจุบันวงเงินใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 6,000 บาทต่อราย ลดลงจากราว 7,000 บาท ส่วนหนึ่งมาจากการใช้บัตรเครดิตเพื่อซื้อสินค้าเล็กๆน้อยๆ ตามร้านสะดวกซื้อและช้อปปิ้งออนไลน์ได้มากขึ้น ต่างจากเดิมที่มักจะใช้ซื้อสินค้าใหญ่ๆ

รอจังหวะอัดโปรฯ-แลกพอยต์ กระตุ้นปลายปี 

สำหรับกลยุทธ์การตลาดธุรกิจบัตรเครดิตครึ่งปีหลังของปี 2564 นั้น จะมีการเปลี่ยนเเปลงไปตามสถานการณ์ โดยเน้นไปที่การตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคล เเละยึดหลัก ‘Partnership Marketing’ สร้างความสัมพันธ์กับพันธมิตรให้หลากหลายมากขึ้น

เเต่เดิมเราคิดว่าในไตรมาสที่ 3 จะเริ่มบุกทำการตลาดเเบบเต็มสูบมากขึ้น เเต่พอเจอสถานการณ์เช่นนี้ ทำให้ทีมต้องกลับมาคิดทบทวนใหม่ โดยทุกวันนี้โปรโมชันของเรามีทำไว้รออยู่เเล้ว เพียงเเต่ว่าเมื่อคนยังไม่กล้าออกมา เราก็คงไม่กล้าที่จะทุ่มโปรโมตมากๆ

การตลาดช่วงนี้จึงจะต้องเน้นไปที่การทำความเข้าใจกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น เมื่อการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ยังจำเป็น เเละการสั่งสินค้าออนไลน์กลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตไปเเล้ว

ในช่วงที่คนมีความกังวลมากมาย เเบรนด์ต้องสื่อสารให้ตรงกับเขามากกว่าจะไปพูดสารพัดเรื่อง พยายามให้ข่าวสารที่มีประโยชน์เเละไม่รบกวนลูกค้ามาก

มุ่งเน้นกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้สมาชิกเลือกใช้บัตรเครดิตของ KTC เป็นอันดับแรก หรือตั้งเป็น Default Card ที่ใช้เป็นประจำในทุกวัน โดยร่วมกับพันธมิตรมอบสิทธิประโยชน์และใช้จุดแข็งด้านคะแนนสะสมเน้นวงเงินยอดใช้จ่ายไม่สูงแต่ต่อเนื่อง

ทีมการตลาดทำงานใกล้ชิดกับพาร์ตเนอร์ เมื่อพาร์ตเนอร์ต้องการความช่วยเหลือ เราก็ช่วยได้ เช่น ธุรกิจโรงเเรมในกรุงเทพฯ ที่หันมาจับลูกค้าคนไทยเเละขายอาหารมากกว่าห้องพัก ทาง KTC ก็โปรโมตโปรโมชันเเพ็กเกจเมนูอาหารสำหรับคน Work from Home ให้ ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

พร้อมกันนี้ ยังมี KTC U SHOP ซึ่งเป็นบริการขายสินค้าออนไลน์ที่ใช้เป็นช่องทางในการสนับสนุนพันธมิตรและผู้ประกอบการที่สนใจนำเสนอสินค้าให้แก่สมาชิกบัตรฯ ซึ่งสมาชิกสามารถชำระด้วยคะแนน KTC FOREVER หรือบัตรเครดิตเคทีซีได้

ขณะเดียวกัน บริษัทได้พัฒนาศักยภาพของแอปฯ KTC Mobile ให้มีบริการที่สะดวก เน้นใช้งานง่าย และรวดเร็วขึ้น เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของสมาชิกที่คุ้นชินกับการทำรายการแบบออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันมียอดสมาชิกโหลดใช้งาน KTC Mobile แล้ว 1.8 ล้านราย มียอดใช้ทำธุรกรรมสม่ำเสมอ (Active) คิดเป็นประมาณ 75% จากฐานลูกค้าทั้งหมด 2.5 ล้านราย

ในไตรมาส 3 นี้ เราจะนำเสนอน้องกะทิเเชทบอทตัวใหม่ที่จะมาพูดคุยสื่อสารเเละช่วยเหลือลูกค้าด้วย” 

NPL ยังคุมได้ เข้มอนุมัติบัตรใหม่ 

จากกรณีภาครัฐ กำลังจะมีนโยบายปรับเพดานอัตราดอกเบี้ยในกลุ่มสินเชื่อรายย่อยอีกครั้งนั้น KTC คาดว่าไม่ได้รับผลกระทบ เพราะดอกเบี้ยบัตรฯ ได้ถูกปรับลดลงมาที่ระดับ 16% แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ต้องรอความชัดเจนทางธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.)

ด้านคุณภาพสินเชื่อ หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) นั้น ผู้บริหาร KTC มองว่า ณ ขณะนี้ถือว่าอยู่ในระดับที่ควบคุมได้แม้ว่าแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจ โดยในไตรมาส 1 NPL อยู่ที่ 1.4% และขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1.5% ในเดือนพ.. ซึ่งอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับภาพรวมอุตสาหกรรม ที่เดือนเม.. NPL อยู่ที่ 2.3%

การที่ NPL ของเราอยู่ในระดับต่ำได้ ส่วนหนึ่งมาจากการคัดกรองลูกค้าใหม่ที่เข้มงวดและอนุมัติยากขึ้น โดยจะดูที่ความสามารถในการชำระหนี้เป็นหลัก

 

 

]]>
1340915
‘AIS’ ผนึก ‘MSIG’ สานต่อเทรนด์ประกัน ‘ออนดีมานด์’ ใช้ AI คำนวณเบี้ย ‘จ่ายเท่าที่ขับ’ https://positioningmag.com/1319003 Thu, 11 Feb 2021 09:12:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319003 ในปี 63 ที่ COVID-19 ระบาดหนัก ๆ จนประเทศไทยต้องล็อกดาวน์ หลายคนคงได้สัมผัสกับประสบการณ์การ Work from Home ไปหลายเดือน (หรืออาจจะนานกว่านั้น) จนเกิดเป็นพฤติกรรมของผู้บริโภคยุค New Normal ไปแล้ว เมื่อไม่ต้องเดินทางไปทำงานเหมือนเดิมหรือเดินทางน้อยลง การใช้รถก็น้อยลงตามไปด้วย

ด้วยเทรนด์ดังกล่าวทำให้ ‘MSIG’ ผนึกกำลังกับ ‘AIS Insurance Service’ ในการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดทำแผนประกันภัยรถยนต์ที่มีเบี้ยสมเหตุสมผล จ่ายเมื่อขับ ไม่ได้ขับก็ไม่ต้องจ่าย รวมทั้งวัดจากพฤติกรรมการขับขี่ตามคอนเซ็ปต์ “ขับไม่เหมือนกัน ทำไมต้องจ่ายเท่ากัน”

จนเกิดเป็น “ประกันขับดี” ประกันภัยรถยนต์ที่ใช้ InsurTech เต็มรูปแบบซึ่งได้รับการอนุมัติจากสำนักงาน คปภ. ให้เข้าร่วมโครงการทดสอบที่นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการสำหรับธุรกิจประกันภัย (Insurance Regulatory Sandbox)

ต่างจากประกันปกติอย่างไร

ประกันขับดี เป็นการประกันภัยรถยนต์ที่มีการคำนวณเบี้ยประกันภัยจากพฤติกรรมการขับขี่โดยใช้นวัตกรรมจาก IoT จ่ายเมื่อขับ หากไม่ได้ขับก็ไม่ต้องจ่าย คิดค่าเบี้ยประกันตามพฤติกรรมการใช้งาน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจาก Big Data โดยมีอุปกรณ์ MSIG Car Informatics หรือ OBD II (On-Board Diagnostic) เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กใช้ติดรถ สามารถเก็บค่าตัวแปรและค่าพฤติกรรมการขับรถในเชิงลึก และละเอียดกว่า Telematics ที่เก็บเฉพาะค่าระยะทางหรือชั่วโมง โดยจะคำนวณเบี้ยประกันภัยผ่าน 5 ตัวแปร ได้แก่

  • ระยะทาง : คิดตามระยะทางที่ขับจริง ไม่ขับก็จะไม่คิดเบี้ยประกัน
  • ความเร็ว : คิดเป็นหลักกิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • ระยะเวลาการขับขี่ : ยิ่งอยู่บนท้องถนนนานก็ยิ่งเสี่ยง
  • ช่วงเวลาการขับขี่ : แต่ละช่วงเวลาในการขับขี่มีความเสี่ยงต่างกัน การคำนวณจึงขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงเวลา
  • พื้นที่การขับขี่ : คิดเบี้ยต่างกันตามจังหวัดที่ขับ ซึ่งแบ่งเป็นจังหวัดเสี่ยงมากเสี่ยงน้อยตามสถิติการเกิดอุบัติเหตุ

“สถิติการขับขี่ในประเทศไทย ซึ่งพบว่า ผู้ขับขี่รถที่ไม่เกิดอุบัติเหตุเลยมีอยู่ถึง 60% กลายเป็นผู้ขับขี่ที่มีประวัติดี แต่ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยเท่า ๆ กับคนอื่น ๆ ดังนั้น จึงเกิดแนวคิด ขับไม่เหมือนกัน ทำไมต้องจ่ายเท่ากัน” รัฐพล กิติศักดิ์ไชยกุล กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าว

เหมาะกับใคร

ประกันขับดี เหมาะสำหรับผู้ขับรถที่ใช้รถน้อย หรือกลุ่มคนที่ใช้รถเป็นช่วงเวลา โดยกับผู้ขับขี่ที่ขับรถดี โดยประกันขับดี จะแบ่งค่าเบี้ยประกันออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นค่าเบี้ยประกันพื้นฐานที่ต้องชำระในขั้นตอนซื้อครั้งแรก โดยจะได้รับอุปกรณ์ (MSIG Car Informatics) จากบริษัทฯ เพื่อนำไปติดตั้งในรถยนต์

ส่วนที่สอง เมื่อติดตั้งอุปกรณ์กับตัวรถและทำการ Activate ในแอปพลิเคชัน “ประกันขับดี” หลังจากเริ่มใช้งาน จะมีการคำนวณเบี้ยประกันจากค่าชี้วัดต่าง ๆ ตามพฤติกรรมการขับขี่เป็นรายวัน โดยค่าเบี้ยจะถูกรวบรวมและตัดบัตรเครดิตที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้โดยอัตโนมัติเป็นรายเดือน โดยจะตัดบัญชีทุกวันที่ 6 ทุกเดือน

ทั้งนี้ บริษัทมีแผนให้เลือกสองแบบ ได้แก่ ประกันรถยนต์ชั้น 1 เริ่มต้นที่ 6,499 บาท และประกันรถยนต์ 2+ ราคา 3,299 บาท โดยใช้กับทุกทุนประกันภัย และรถทุกรุ่น เบื้องต้น AIS Insurance Service และ MSIG ตั้งเป้ายอดกรมธรรม์ดังกล่าวในปีนี้เอาไว้ที่ 20,000 กรมธรรม์ คิดเป็นมูลค่าเบี้ยประกัน 160 ล้านบาท

ไม่ใช่เรื่องใหม่ เเต่เทรนด์กำลังมา

ย้อนไปปี 2562 เอไอเอส เองก็เคยได้เข้ามาในตลาดประกันภัยรถยนต์เเล้ว โดยได้นำโซลูชัน NB-IoT Motor Tracker เข้ามาเสริมขีดความสามารถให้กับธุรกิจประกันภัยรถยนต์ โดยร่วมกับบริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) มาเสริมบริการประกันรถเปิด-ปิด ช่วยให้ลูกค้าจ่ายค่าเบี้ยประกันตามการใช้งานจริง (Pay As You Drive) ทำให้ลดค่าใช้จ่ายค่าเบี้ยประกันได้ถึง 40% นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายบริษัทที่ทำ ประกันรถเปิด-ปิด อย่าง TQM ก็เป็นหนึ่งในนั้น

จะเห็นว่าที่ประกันเปิด-ปิดหรือประกันที่จ่ายตามการใช้งานจริงจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ที่ยังไม่ได้รับรู้เป็นวงกว้างนั้นส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะไลฟ์สไตล์ที่ยังไม่ได้ถูกเปลี่ยนไปอย่างชัดเจนเหมือนตอนที่เกิดการระบาดของ COVID-19 และด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น ราคาถูกลง จึงทำให้บริษัทประกันเริ่มนำอินชัวร์เทคมาใช้งานเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น

อย่างในต่างประเทศนั้นล้ำหน้าไปมาก โดยสามารถเลือกคุ้มครองทรัพย์สินเป็นรายชิ้น และเลือกเปิด-ปิดความคุ้มครองเองได้ผ่านแอปฯ บนมือถือ หรือให้ลูกค้าเลือกจ่ายได้เป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือนก็มี ดังนั้นในตลาดอินชัวรันซ์บ้านเราน่าจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เข้ามาตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุค New Normal มากกว่านี้แน่นอน

และไม่ใช่เเค่ตลาดประกันที่น่าจับตา เเต่เป็น เอไอเอส ที่กำลังรุกคืบในธุรกิจด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากเทเลคอมของตัวเอง โดยที่ผ่านมามีธุรกิจ เกม-อีสปอร์ต เเพลตฟอร์มวิดีโอ รวมถึง เพย์เมนต์ ดังนั้น คงต้องรอดูว่าเอไอเอสจะเหยียบขาไปในธุรกิจไหนอีกบ้าง

]]>
1319003