ประเทศกำลังพัฒนา – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 16 Feb 2021 09:44:23 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘อินเดีย’ ท็อปฟอร์ม กำลังก้าวสู่ประเทศผู้ผลิต ‘วัคซีนโควิด’ เบอร์ 2 ของโลก รองจากสหรัฐฯ https://positioningmag.com/1319499 Tue, 16 Feb 2021 06:59:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319499 อินเดียกำลังจะก้าวสู่การเป็นประเทศผู้ผลิตวัคซีน รายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ โดยจะมีกำลังผลิตที่สูงมาก ครอบคลุมทั้งประชากรในประเทศ 1.3 พันล้านคน เเละยังส่งต่อไปยังประเทศกำลังพัฒนาด้วย

ความเห็นจากนักวิเคราะห์มองไปในทิศทางเดียวกันว่าอินเดียมีเเนวโน้มจะขึ้นตัวท็อปในการผลิตวัคซีน COVID-19 ของโลก ทั้งในด้านการคิดค้นวัคซีนและผลิตเอง หรือเป็นโรงงานรับจ้างผลิตให้กับต่างชาติ

นักวิเคราะห์จาก JPMorgan ระบุว่า ก่อนหน้าที่จะเกิดวิกฤต COVID-19 ‘วัคซีนกว่า 60% ที่ใช้กันทั่วโลกนั้นมีการผลิตจากอินเดีย เเละมีต้นทุนต่ค่อนข้างต่ำกว่าประเทศอื่น จนได้รับฉายาว่าเป็นโรงงานวัคซีนของโลก

ด้านนักวิเคราะห์จาก Deloitte ประเมินว่าในปีนี้ อินเดียจะสามารถผลิตวัคซีน COVID-19 ได้มากกว่า 3.5 พันล้านโดส เป็นรองเเค่สหรัฐอเมริกา ที่มีกำลังผลิตอยู่ที่ 4 พันล้านโดส 

อินเดีย อนุมัติใช้วัคซีนป้องกัน COVID-19 ให้กับ วัคซีนโควิชีลด์ (Covishield) ของ AstraZeneca-Oxford จากสหราชอาณาจักร พร้อมกับอนุมัติใช้ วัคซีนโควาซิน (COVAXIN) ของ “ภารตะไบโอเทค” หนึ่งในผู้ประกอบการด้านชีวเภสัชภัณฑ์รายใหญ่ของอินเดีย โดยประกาศเริ่มกระจายวัคซีนให้ประชากรกว่า 1,300 ล้านคน ตั้งเเต่ 16 .เป็นต้นไป

บรรดาบริษัทยาในอินเดีย กำลังเร่งกำลังการผลิตวัควีนออกมาให้ทันความต้องการ โดยบริษัทภารตะไบโอเทค ซึ่งร่วมมือสภาวิจัยทางการแพทย์แห่งอินเดีย (ICMR) ประกาศตั้งเป้าจะเร่งผลิตวัคซีนให้ได้ 700 ล้านโดส 

ขณะที่วัคซีน Covishield ของ AstraZeneca-Oxford ซึ่งสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย (SII) รับหน้าที่ผลิตนั้น เริ่มผลิตได้เดือนละ 50 ล้านโดส และตั้งเป้าเพิ่มกำลังผลิตให้ได้เดือนละ 100 ล้านโดส ตั้งแต่เดือน มี.. เป็นต้นไป 

(Photo by Yawar Nazir/Getty Images)

นอกจากนี้ เอกชนอินเดียอีกหลายเจ้า ได้ตกลงรับจ้างผลิตวัคซีนให้กับบริษัทต่างชาติ อย่างเช่น วัคซีน Sputnik จากกองทุน RDIF ของรัสเซีย และวัคซีนของ Johnson & Johnson ซึ่งยังต้องรอการอนุมัติในอินเดียเสียก่อน

นักวิเคราะห์มองว่า วัคซีนที่ผลิตในอินเดีย เหมาะกับประเทศกำลังพัฒนาเพราะง่ายต่อการขนส่งและราคาต่ำกว่า เมื่อเทียบกับวัคซีนในตลาดอย่าง Pfizer-Biontech เเละ Moderna

ด้านรัฐบาลอินเดีย’ คว้าโอกาสในยามวิกฤต ด้วยการส่ง ‘วัคซีนไมตรี’ เป็นของขวัญเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้วัคซีน COVID-19 มาเป็นพระเอกของ ‘การทูตเเบบใหม่’ เพื่อยกระดับบทบาทในเวทีโลก ไปพร้อมๆ กับการ ‘ต่อต้านจีน’ ที่กำลังขยายอิทธิพลในเอเชียใต้

โดยได้ประกาศโครงการบริจาควัคซีน ที่มีชื่อ ‘VaccineMaitr’ (วัคซีนไมตรีหรือ ‘Vaccine friendship’ ให้กับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อฟื้นฟูผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ท่ามกลางกระเเสความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงวัคซีนของประเทศที่ร่ำรวยกับประเทศยากจน

Sreeram Chaulia นักวิเคราะห์จาก Jindal School of International Affairs ให้ความเห็นว่า การที่อินเดียนำวัคซีน COVID-19 มาใช้ในเเนวทางการทูตเเบบใหม่นี้ เป็นไปเพื่อเสริมภาพลักษณ์และขยายอำนาจบนเวทีโลก เเละทำให้อินเดียเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการพัฒนาวัคซีน

PHOTO: AFP/EMBASSY OF INDIA, YANGON

Chaulia มองว่า การส่ง ‘วัคซีนไมตรี’ เเสดงให้เห็นว่าอินเดียอยู่เหนือจีนได้ ในเรื่องการผลิตวัคซีนและสาธารณสุข แม้ว่าจะเป็นรองในด้านการทหารและเศรษฐกิจ

ด้านจีน ก็กำลังขยายอิทธิพลด้วย ‘วัคซีน COVID-19’ เช่นกัน โดยเริ่มมีการบริจาควัคซีนให้กับอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และตุรกี เเละมีแผนจะบริจาคให้อีกหลายประเทศในเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ เเต่ก็ยังมีข้อกังขาในประสิทธิภาพของวัคซีน เช่นในวัคซีนซิโนแวค (Sinovac) 

อินเดียเป็นผู้ผลิตยารายใหญ่ของโลกอยู่เเล้ว เเละจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในด้านการจัดหาวัคซีนต้าน COVID-19 ซึ่งขณะนี้มีวัคซีนจากสองบริษัทที่ผ่านการรับรองจากรัฐบาลอินเดีย พร้อมที่จะนำไปใช้ในการปกป้องมวลมนุษยชาติแล้วนเรนธรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ระบุ

อ่านต่อ : มองเกมการทูตใหม่ของอินเดีย ส่ง ‘วัคซีนไมตรี’ เป็นของขวัญให้เพื่อนบ้าน ต้าน ‘อิทธิพลจีน’

 

 

ที่มา : CNBC , RT 

]]>
1319499
ธนาคารโลกเผย COVID-19 ทำเศรษฐกิจโลกพังทลาย หนักสุดในรอบ 150 ปี https://positioningmag.com/1282733 Tue, 09 Jun 2020 06:08:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282733 ธนาคารโลก รายงานคาดการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจโลก Global Economic Prospects ประจำปี 2020 ระบุว่า การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ไปทั่วโลก ทำให้เกิดภาวะช็อกครั้งใหญ่อย่างรวดเร็วเเละรุนเเรง ซึ่งจะนำไปสู่การพังทลายของเศรษฐกิจโลกในวงกว้างที่สุด นับตั้งเเต่ปี 1870 (ในรอบ 150 ปี) แม้ว่ารัฐบาลในประเทศต่างๆ จะออกมาตรการมากมายอย่างไม่เคยมีมาก่อนเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจเเล้วก็ตาม

จากรายงานการคาดการณ์เศรษฐกิจโลกฉบับล่าสุด ธนาคารโลก (World Bank) ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกจะติดลบ 5.2% ในปีนี้ โดยหากพิจารณาจีดีพีต่อหัว จะพบว่าการหดตัวของเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้ ตกต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 1945-46 ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ขณะเดียวกัน ยังมีอีกหลายประเทศที่ประสบความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่านั้น ซึ่งหมายความว่าขนาดของภาวะเศรษฐกิจจะตกต่ำรุนแรงเป็นวงกว้างที่สุดในรอบ 150 ปี

โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และญี่ปุ่น จะติดลบ 6.1% ยูโรโซน ติดลบ 9.1% บราซิล ติดลบ 8.0% อินเดีย ติดลบ 3.2% ส่วนเศรษฐกิจจีนคาดว่าจะยังเติบโต แต่จะเติบโตเพียง 1% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 44 ปี

ขณะที่เศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ และประเทศกำลังพัฒนาจะติดลบ 2.5% นับเป็นการหดตัวครั้งแรกของประเทศกลุ่มนี้ในรอบ 60 ปี ทั้งนี้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะติดลบ 5.0%

การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเเละเศรษฐกิจจีน อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะประเทศที่ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์เป็นหลัก

เเม้ World Bank จะคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวและเติบโตได้ราว 4.2% ในปี 2021 แต่ก็เตือนว่า อาจมีการปรับตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจโลกให้ลดลงอีก หากเกิดความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการระบาด ซึ่งจะทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์เเละสั่งปิดภาคธุรกิจต่างๆ อีกรอบ ทำให้ยังมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะดิ่งลงไปมากกว่านี้ เเละหากการเเพร่ระบาดยังคงยืดเยื้อ ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดเศรษฐกิจโลกอาจหดตัวได้ถึง -8% ในปีนี้

“ความเลวร้ายของวิกฤต COVID-19 ครั้งนี้ จะทำให้ผู้คน 70-100 ล้านคน ตกอยู่ในสภาพยากจนถึงขีดสุด มากกว่าตัวเลขที่เคยมีการประเมินก่อนหน้านี้ที่ 60 ล้านคน”

 

ที่มา : World Bank , AFP

]]>
1282733