พลาสติกรีไซเคิล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 05 Aug 2022 04:51:33 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สรุปทิศทาง “ปิโตรเคมี” หลังยุค COVID-19 ปรับตัวอย่างไรท่ามกลางความท้าทายรอบด้าน https://positioningmag.com/1395014 Thu, 11 Aug 2022 04:00:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1395014

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงที่โลกเราได้เจอกับสถานการณ์อันเลวร้ายทั้งโรคระบาดไวรัส COVID-19 ยิ่งในปีนี้ได้เจอตัวแปรใหม่ๆ ทั้งสงครามรัสเซีย-ยูเครน เศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลกระทบต่อทุกธุรกิจไปทั่วโลก ในวันนี้ขอพาไปทำความเข้าใจตลาด “ปิโตรเคมี” หนึ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ เป็นสารตั้งต้นของหลายธุรกิจ

กลุ่มปตท. ได้จัดงานสัมมนาออนไลน์  2022 PTT Group The Petrochemical Outlook Forumภายใต้หัวข้อ  “Moving forward in the Post-COVID era” ซึ่งเป็นงานสัมมนาประจำปีของกลุ่ม PRISM Petrochemical Market Outlook ของกลุ่ม ปตท. ปีนี้ได้จัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 13และเป็นปีแรกที่เปิดกว้างให้ผู้สนใจทุกภาคส่วนเข้าร่วมงานสัมมนาผ่านทาง FacebookLIVE ที่เพจ PRISM เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 65 ที่ผ่านมา

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจ สถานการณ์น้ำมันในตลาดโลก และการปรับตัวของธุรกิจปิโตรเคมีหลังสถานการณ์ COVID-19 โดยมุมมองจากนักวิเคราะห์ PRISM กลุ่ม ปตท. และ วิทยากรรับเชิญ

เนื้อหางานสัมมนา 2022 PTT Group The Petrochemical Outlook Forum มีหลากหลายหัวข้อ ประกอบไปด้วยภาพรวมของเศรษฐกิจโลก ทิศทางของปิโตรเคมีในอนาคต บรรจุภัณฑ์พลาสติกในยุค New Normal และการจัดการพลาสติกให้เหมาะสม


เศรษฐกิจโลกชะลอตัว จับตาเงินเฟ้อ

มีการประเมินจากหลายสำนักว่าเศรษฐกิจโลกทั้งในปีนี้ และปีหน้ามีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อสูง และนโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้นของบรรดาธนาคารกลางทั่วโลก ทำให้เศรษฐกิจเริ่มเผชิญความเสี่ยงกับการเกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่เงินเฟ้อยังสูง หรือ Stagflation มากขึ้น และในกรณีเลวร้ายนั้น เศรษฐกิจหลักอย่างสหรัฐฯ หรือยุโรป ก็มีความเสี่ยงที่เข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ในช่วงปลายปี 2566 หรือต้นปี 2567

พูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai Global Markets ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) อธิบายในหัวข้อนี้ว่า

“เศรษฐกิจตอนนี้ผันผวนเหมือนคลื่นในทะเลรุนแรง ผ่านไปครึ่งปีแนวโน้มตลาดเปลี่ยนแปลงอย่างแรง เรื่องเงินเฟ้อคิดว่าจะอยู่ในระดับสูง จากการระบาดของไวรัสโอมิครอน แต่ผ่านไปสักพักหนึ่ง เจอภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้สินค้าโภคภัณฑ์มีการปรับตัวสูงขึ้น ทำให้เงินเฟ้อสูงไปอีกสักพัก”

หลายสำนักปรับการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลก เมื่อต้นปียังไม่เกิดสงคราม มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้ 4% แต่เมื่อเกิดสงคราม หลายประเทศเจอผลกระทบทำให้อัตราการเติบโตเศรษฐกิจโลกไม่ถึง 3% สหรัฐฯ อาจจะเติบโตไม่ถึง 2% ส่วนในประเทศจีนเจอการระบาดของ COVID-19 มีการล็อกดาวน์ ไม่อาจโตได้สูงตามที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้

เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบหนักจากภาวะสงคราม อาจจะโตได้ 3% ในปีนี้ แต่ยังมีความหวังที่จะเติบโตได้จากภาคการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวต่างชาติพร้อมกลับมาไทยมากขึ้น อาจจะสูงถึง 6 ล้านคนในปีนี้ ช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว ช่วยให้ค่าเงินบาทมาแข็งค่าช่วงปลายปี

ส่วนเงินเฟ้อในไทยสูงไม่แพ้สหรัฐฯและยุโรป แบงค์ชาติมองว่าจะลงได้ต้องรอผ่านไตรมาส 3 การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเป็นวงกว้าง


โลกปิโตรเคมีแห่งอนาคต

โลกปิโตรเคมีในอนาคตกำลังจะเปลี่ยนไป ความท้าทายที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อราคาพลังงาน ระบบขนส่ง และห่วงโซ่อุปทานที่เปลี่ยนไป อันนำไปสู่การปรับตัวของโลกยุคใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น อุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบอุตสาหกรรมจึงต้องมีการปรับตัวในทิศทางใหม่ พร้อมเปลี่ยนถ่ายสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่กำลังมาถึงเร็วๆนี้

เดชาธร ฐิสิฐสกร Marketing Strategy and Data Science บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า

“สิ่งของต่างๆ รอบตัวล้วนมีพื้นฐานจากปิโตรเคมีทั้งสิ้น เป็นตัวป้อนวัตถุดิบแก่การผลิตบรรจุภัณฑ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมโดนท้าทายจาก 2 ปัจจัยหลัก เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี แต่ในโลกวันนี้มีหลายปัจจัยมากขึ้น ในปี 2022 มีทั้งเรื่องโรคระบาด ราคาน้ำมัน อากาศที่เปลี่ยนไป การขนส่ง สงคราม ส่งผลกระทบต่อปิโตรเคมีโดยตรง ในส่วนของสงครามก็ส่งผลกระทบ การเกิดใหม่ของขั้วอำนาจฝั่งตะวันออก ตะวันตก ทำให้เกิดการแข่งขันด้านเทคโนโลยี การพัฒนาทางการทหาร การเกิดชนวนสงคราม ส่งผลกระทบต่อซัพพายเชน”

ปี 2021 ประเทศไทยมีการใช้พลาสติกจำนวน 4.968 ล้านตัน หรือคิดเป็นมูลค่า 746,431 ล้านบาท โดยที่ 4 อุตสาหกรรมหลักที่กินสัดส่วน 80% ของทั้งตลาด ได้แก่แพ็คเกจจิ้ง 41% เครื่องใช้ไฟฟ้า 16% ก่อสร้าง 15% และรถยนต์ 6%

ในช่วงหลังโรคระบาด COVID-19 โลกมีการเปลี่ยนแปลงมีการใช้ฟู้ดเดลิเวอรี่ การทำงานที่บ้าน ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น การพัฒนา 5G หรือมิติสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไปก็มีส่วน ปิโตรเคมีก็ต้องปรับตัวไปสู่โลกใหม่เช่นกัน

สำหรับโลกใหม่ของปิโตรเคมี มีปัจจัยหลัก 2 ส่วน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม และธุรกิจใหม่ ในส่วนของสิ่งแวดล้อม การเติบโตของประชากรโลก ในขณะที่ทรัพยากรมีจำกัด จึงเกิด Post Consumer Recycled (PCR) Resin มีการรีไซเคิลเม็ดพลาสติกใหม่ กลายเป็นเทรนด์ของโลกที่เริ่มมีการผลิตบรรจุภัณฑ์ครื่องสำอาง เริ่มเห็นโรดแมปในกลุ่มสหรัฐฯ ยุโรป และจีน ประกาศใช้พลาสติกรีไซเคิลในอุตสาหกรรมต่างๆ มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2040 เม็ดพลาสติกรีไซเคิลจะมีการเติบโต 9%

ปัจจัยที่ 2 ธุรกิจใหม่ ที่จะสร้าง New S-Curve เป็นในเรื่องของเทคโนโลยี AI, IoT รวมไปถึงการมาของ EV ที่จะมาดิสรัปต์ธุรกิจเดิม ในไทยมีโรดแมปเข้าสู่ EV ชัดเจน 10 ปีข้างหน้า มีการวางโครงสร้างพื้นฐานทั้งสร้างจุดชาร์จไฟฟ้า ศูนย์พัฒนาแบตเตอรี่ และฮับการผลิตรถยนต์ กลไกของราคาแบตเตอรี่ถูกลงเรื่อยๆ

หรืออย่างเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ก็มีการใช้พลาสติกในการผลิต ทั้งภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการก็เริ่มมีการใช้หุ่นยนต์มากขึ้น เข้าสู่ยุคที่มนุษย์กับหุ่นยนต์ทำงานร่วมกัน

ใช้พลาสติกในยุค New Normal อย่างยั่งยืน

หลังเข้าสู่ยุค New Normal โลกกลับมาให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอีกครั้ง ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ต่างก็ต้องปรับตัว ไม่ว่าจะเป็น การผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล, การออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ง่ายต่อการรีไซเคิล พลาสติกไม่ใช่ผู้ร้าย ถ้าผู้ใช้พลาสติกรู้จักวิธีจัดการให้เหมาะสม และยังสามารถมีส่วนร่วมช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้ เพียงแค่รู้จัก Reuse นำพลาสติกกลับมาใช้ซ้ำ, ช่วยกันแยกขยะอย่างถูกวิธี และนำไป Recycle และ Upcycle ต่อไป

ธีรัช ศฤงคารินทร์ Marketing Analyst บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า

“หลังจากโลกเข้าสู่ยุค New Normal โลกให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อม หลายคนตั้งคำถามถึงพลาสติกบนเส้นทางความยั่งยืน ว่าจะช่วยโลกได้อย่างไรได้บ้าง อุตสาหกรรมแพ็คเกจจิ้งใช้พลาสติกเยอะมาก ถ้าต้องการลดขยะต้องผลักดันให้มีการรีไซเคิลมากขึ้น เม็ดพลาสติกที่ผ่านการรีไซเคิล เรียกว่า PCR (Post Consumer Recycled material/Post Consumer Resin) สำหรับประเภทที่นิยมมารีไซเคิล ได้แก่ PET, PP และ HDPE ประโยชน์ของการรีไซเคิล คือ ลดขยะ ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ โดยในปีที่ผ่านมามีความต้องการใช้พลาสติกรีไซเคิลมากกว่า 7 ล้านตัน และคาดว่าจะโตขึ้นไปเป็น 12 ล้านตัน ในปี 2026”

การใช้พลาสติกในไทย 40% เป็นรูปแบบ PE โดยที่ 41% นำไปใช้ทำแพ็คเกจจิ้ง 16% ทำชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า 15% วัสดุก่อสร้าง 6% อะไหล่รถยนต์ 6% เส้นใย 2% อุปกรณ์ทางการแพทย์ และ 14% อื่นๆ

เมื่อมีความต้องการรีไซเคิลมากขึ้น ก็มีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนแพ็คเกจจิ้ง จากเดิมใช้แก้ว เปลี่ยนเป็นพลาสติก ที่เราเห็นในปัจจุบันเป็น Multi-Layer Film คือฟิล์มหลายเลเยอร์มาประกบกัน แต่ทำให้มีการรีไซเคิลยาก เลยปรับปรุงการออกแบบเป็น Mono Material ใช้วัสดุชนิดเดียว เพื่อทำให้รีไซเคิลได้ง่ายขึ้น เช่น ถุงขนมที่ผลิตด้วยพลาสติก 3 เลเยอร์ ถ้าเปลี่ยนกระบวนการผลิตมาใช้วัสดุชนิดเดียวก็จะทำให้รีไซเคิลได้ง่ายขึ้น ซึ่งเริ่มมีผู้ผลิตที่ใช้เทคโนโลยีแบบนี้แล้วเช่น ผู้ผลิตน้ำผลไม้ในอังกฤษ ใช้ขวดพลาสติก PET รีไซเคิล 100% ส่วนเนสท์เล่ผลิตซองบรรจุกาแฟที่รีไซเคิลได้

องค์กรให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเช่นกัน มีการตั้งเป้าหมายในเรื่องความยั่งยืน อย่างเช่น เป๊ปซี่โค ยุโรป ตั้งเป้าว่าในปี 2023 จะไม่ใช้พลาสติกจากฟอสซิลมาผลิตถุงขนมแล้ว ส่วน P&G ตั้งเป้าภายในปี 2030 จะลดการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ให้ได้ 50% เนสท์เล่ก็ตั้งเป้าที่จะลดการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ลงภายในปี 2025


พลาสติกไม่ใช่ผู้ร้าย ต้องอยู่กันอย่างเป็นมิตร

นิรมล วุฒิพฤกษ์ Manager, Business Planning and Risk Management บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด ให้ข้อมูลว่า

“พลาสติกมีประโยชน์มากมาย ช่วยชีวิตมนุษย์ได้ สามารถใช้ครั้งเดียวทิ้ง มีอายุยืนนาน มีราคาเอื้อมถึง น้ำหนักเบา ลดการใช้น้ำมันในการขนส่งได้ ปัจจุบันเราเห็นพลาสติก PP อยู่รอบตัวมากมาย ตั้งแต่ของใช้ส่วนบุคคล ของใช้ทางการแพทย์ หน้ากากอนามัย กล่องอาหาร กล่องข้าว ฝาขวด เก้าอี้ พลาสติกจึงไม่ใช่ผู้ร้าย สามารถรีไซเคิลได้ ต้องรู้จักวิธีจัดการที่ถูกต้อง”

ปัจจุบันกระบวนการรีไซเคิลพลาสติก มี 2 วิธี

  1. Mechanical Recycling บดอัด ล้างทำความสะอาด และทำเม็ดพลาสติกขึ้นมาใหม่

2.Chemical Recycling นำพลาสติกมาผ่านกระบวนการทางเคมี มีราคาแพง แต่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นการใช้พลาสติกอย่างรู้คุณค่า

ผลกระทบจากโรคระบาด ทำให้เราได้เห็นความต้องการใช้พลาสติกมากยิ่งขึ้น ชุด PPE ก็ทำมาจากพลาสติก PP ขวดน้ำเกลือ กล่องอาหาร หรืออุปกรณ์สำหรับทำงานที่บ้านก็เช่นกัน ดีมานด์ของพลาสติก PP หลัง COVID-19 ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป บรรจุภัณฑ์อาหารต้องการความสะอาด รีไซเคิลได้ ด้านสุขอนามัยก็มีความเปลี่ยนแปลง ยังต้องใช้หน้ากากอนามัย และชุด PPE รวมไปถึงสังคมสูงวัย ต้องมีสินค้าที่ตอบโจทย์ผู้สูงอายุ เช่น ผ้าอ้อม แผ่นรองซับ รวมถึง รถ EV ที่ต้องการน้ำหนักเบา พลาสติกหลายชนิดเข้ามาเป็นส่วนประกอบ รวมถึงแบตเตอรี่ของรถ EV ก็ล้วนประกอบมาจากพลาสติกเช่นกัน


ต้องปรับตัวอย่างยั่งยืน

ปิดท้ายที่ สิรวิชญ์ สมรัตนกุล นักวิเคราะห์การพาณิชย์ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า

“แนวทางการปรับตัว และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของพลาสติกหลังสถานการณ์ COVID-19 รวมถึงนโยบาย และแผนงานด้านความยั่งยืนของทุกภาคส่วน จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจในอนาคตทั้งในระดับประเทศ ระดับหน่วยงาน องค์กร ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสร้างโลกที่น่าอยู่มากยิ่งขึ้น”

จะเห็นได้ว่าปิโตรเคมีล้วนเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญของชีวิตประจำวันของคนเราอย่างมาก บางทีเราอาจจะไม่รู้ตัว แต่หลายๆ สิ่งได้เกิดขึ้นจากปิโตรเคมีทั้งสิ้น ทิศทางต่อไปในอนาคตเราคงได้เห็นปิโตรเคมีแบบยั่งยืนมากขึ้น มีนวัตกรรมที่ทำให้เรามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นด้วย

]]>
1395014
KitKat ออสเตรเลีย จะเปลี่ยนมาใช้ซองทำจาก “พลาสติกรีไซเคิล” นำร่องขนมอื่น ๆ ของ Nestle https://positioningmag.com/1387903 Mon, 06 Jun 2022 11:46:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1387903 Nestle ผลักดันนโยบายสิ่งแวดล้อม ด้วยการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ KitKat ในออสเตรเลียให้ผลิตจาก “พลาสติกรีไซเคิล” 30% ของตัวแพ็กเกจจิ้ง โดยจะเป็นการนำร่องสำหรับขนมแบรนด์อื่นๆ ในเครือ

บริษัท Nestle ประกาศนโยบายนี้เพื่อต้อนรับ “วันสิ่งแวดล้อมโลก” วันที่ 5 มิถุนายน 2022 โดยขนมช็อกโกแลต KitKat ขนาด 45 กรัมมีการจำหน่ายในออสเตรเลียถึงปีละ 40 ล้านชิ้น และบริษัทเตรียมเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์ผสมพลาสติกรีไซเคิลตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นไป พร้อมกระจายสินค้าไปทั่วประเทศ

การปรับมาใช้พลาสติกรีไซเคิลของขนม KitKat จะทำให้บริษัทลดการใช้พลาสติกใหม่ได้ 250,000 ตารางเมตร เทียบเท่ากับสระว่ายน้ำโอลิมปิก 200 สระรวมกัน

มาร์กาเร็ต สจ๊วต ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการองค์กรและความยั่งยืน Nestle Oceania กล่าวว่า เป้าหมายของบริษัทต้องการจะลดการใช้พลาสติกใหม่ลง 1 ใน 3 ภายในปี 2025 รวมถึงมีเป้าให้พลาสติกทำแพ็กเกจจิ้งเหล่านี้สามารถรีไซเคิลหรือนำไปใช้ใหม่ได้ทั้งหมด

“เราหวังว่าห่อบรรจุภัณฑ์นี้จะไม่เพียงแต่ลดการใช้พลาสติกใหม่ แต่ยังหวังว่าจะเป็นเครื่องเตือนใจว่าการวนกลับมาใช้ใหม่ของพลาสติกประเภทอ่อนนั้นทำได้ รวมถึงความสำคัญของการรีไซเคิลแพ็กเกจจิ้งของคุณด้วย” สจ๊วตกล่าว

“เรายังไปไม่ถึงขั้นนั้นก็จริง แต่เราอยากจะเห็นอนาคตที่ออสเตรเลียสามารถนำขยะพลาสติกอ่อนมาเปลี่ยนกลับเป็นแพ็กเกจจิ้งอาหารที่เป็นพลาสติกอ่อนได้อีก”

KitKat พลาสติกรีไซเคิล
ด้านหลังซองขนม KitKat ที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล 30%

เธอยังกล่าวด้วยว่า การที่บริษัทใหญ่อย่าง Nestle จัดซื้อและใช้พลาสติกรีไซเคิล จะทำให้มีบริษัทจำนวนมากขึ้นลงทุนผลิตวัตถุดิบแพ็กเกจจิ้งประเภทนี้ และนำไปสู่การรีไซเคิลมากขึ้น

ในกรณีพลาสติกอ่อนตัวนั้น การนำมารีไซเคิลยังไม่แพร่หลาย และเทคโนโลยีเพื่อจะนำมันมารีไซเคิลหรือใช้ใหม่ก็ยังเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มาก

“เราต้องตามหาไปทั่วเพื่อจะให้โครงการนี้เกิดขึ้นได้ แต่เราก็ได้ส่งข้อความออกไปด้วยว่ามันเป็นเรื่องสำคัญในการจัดเก็บและรีไซเคิลพลาสติกอ่อน เพราะเรารู้ว่าผู้บริโภคจะต้องการสินค้าที่ยั่งยืน” สจ๊วตกล่าว

“การจะใช้วัสดุรีไซเคิล 100% นั้นเป็นไปได้แต่ยังทำไม่ได้ในตอนนี้ แต่เราเองจะเดินต่อในการใช้พลาสติกรีไซเคิลในซองบรรจุภัณฑ์สินค้าของเราทั้งหมด” โดยบริษัท Nestle จะศึกษาบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดที่มีว่าสามารถพัฒนากับสินค้าไหนได้บ้างอย่างเหมาะสม

คริส โอดอนเนล ผู้จัดการทั่วไปแผนกขนมและของหวาน กล่าวว่า การเปลี่ยนวัสดุซองห่อขนมจะไม่มีผลต่อสินค้า KitKat จะยังคงสดใหม่และกรอบเหมือนปกติ

“ขณะที่ทุกคนเคยชินกับขวดพลาสติกที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิลแล้ว พลาสติกอ่อนที่ทำมาจากวัสดุรีไซเคิลแบบนี้ถือเป็นเรื่องใหม่ในวงการ” โอดอนเนลกล่าว

“คำมั่นของเราต่อการพัฒนาแพ็กเกจจิ้งเป็นหนึ่งในความมุ่งมั่นของเราต่อความยั่งยืน ประเด็นอื่นของเรา เช่น การสนับสนุนฟาร์มและชุมชนผลิตโกโก้ รวมถึงการเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2025”

ในออสเตรเลียนั้นมีเครือข่ายองค์กรที่เรียกว่า REDcycle ซึ่งผนึกกำลังกับร้านค้ารีเทลในการตั้งถังรับพลาสติกอ่อน เช่น ซองห่อไอศกรีมแท่ง ซองขนม ถุงขนมปังแถว บับเบิ้ลกันกระแทก ถุงใส่ของสด ฯลฯ เพื่อนำไปรีไซเคิล โดยองค์กรนี้จะรณรงค์ให้ผู้บริโภคช่วยกันนำพลาสติกอ่อนมาคืน และติดต่อให้บริษัท/ราชการนำพลาสติกอ่อนไปรีไซเคิลใช้งาน

Source

]]>
1387903
McDonald’s ก็ Go Green! เตรียมใช้วัสดุรีไซเคิลผลิตของเล่นชุด ‘Happy Meal’ ภายในปี 2025 https://positioningmag.com/1353407 Sat, 25 Sep 2021 12:08:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353407 จะเห็นว่าหลายองค์กรทั่วโลกเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งถ้าพูดถึงวงการอาหารก็จะเริ่มมีเมนูแพลนต์เบสต์ ในส่วนของบริษัทของเล่นก็หันมาใช้พลาสติกรีไซเคิล รวมถึง ‘McDonald’s’ (แมคโดนัลด์) ที่มีชุดของเล่น ‘Happy Meal’ ซึ่งภายในปี 2025 McDonald’s จะใช้กระดาษ หรือไม่ก็พลาสติกรีไซเคิลในการผลิต

ก่อนหน้านี้ คู่แข่งอย่าง ‘Burger King’ (เบอร์เกอร์ คิง) ได้ระบุในปี 2019 ว่าจะหยุดชุดแถมของเล่นให้กับลูกค้า และลูกค้าสามารถส่งคืนของเล่นที่มีอยู่แล้วเพื่อหลอมเป็นถาดและสิ่งของอื่น ๆ แทนเพื่อลดการใช้พลาสติก ล่าสุด McDonald’s เป้าหมายที่จะเปลี่ยนมาใช้พลาสติกรีไซเคิลในการผลิต หรือใช้กระดาษในการผลิตแทนภายในปี 2025 โดยคาดว่าจะลดการใช้พลาสติกจากเชื้อเพลิงฟอสซิลบริสุทธิ์ได้ถึง 90% เมื่อเทียบกับปี 2018

หลายคนอาจจะไม่เคยรู้ว่า McDonald’s มีการจำหน่ายของเล่นในชุด ‘Happy Meal’ กว่า 1 พันล้านชิ้น โดยเริ่มขายชุด Happy Meals มาตั้งแต่ปี 1979 แต่ในปี 2018 ก็เริ่มเปลี่ยนไปแถมของเล่นที่ใช้ผลิตภัณฑ์ด้านความยั่งยืนมากขึ้นในสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และฝรั่งเศส

แต่จากนี้ชุด Happy Meals ประเทศอื่น ๆ อีกกว่า 100 ประเทศจะเน้นไปที่ของเล่นที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลหรือกระดาษแทน อย่างในสหรัฐอเมริกา McDonald’s ก็เริ่มเปลี่ยนแล้ว อาทิ หนังสือและการ์ดสะสมโปเกมอน

ไม่ใช่แค่ช่วยโลก แต่ เอมี เมอร์เรย์ รองประธานฝ่ายการตลาดทั่วโลก กล่าวว่า ชุด Happy Meals ที่ปรับปรุงใหม่จะไม่มีผลกระทบต่อต้นทุนของเหล่าแฟรนไชส์สาขาย่อยแน่นอน เรียกได้ว่าทั้งดีต่อโลก และดีต่อบริษัทเลยทีเดียว

Source

]]>
1353407
สวยรักษ์โลก! “ลอรีอัล” คิกออฟ ผลิตขวดเครื่องสำอางขวดแรกจากพลาสติกรีไซเคิล 100% https://positioningmag.com/1342011 Tue, 13 Jul 2021 08:00:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342011 ลอรีอัล กรุ๊ป ประกาศความสำเร็จในการผลิตขวดเครื่องสำอางพลาสติกรีไซเคิลขวดแรกจากเทคโนโลยีเอนไซม์ของ Carbios พร้อมตั้งเป้าหมายผลิตขวดด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ในปี พ.ศ. 2568 โดยแบรนด์ไบโอเธิร์มเป็นแบรนด์แรกของลอรีอัล กรุ๊ปที่จะใช้นวัตกรรมขวดบรรจุภัณฑ์แห่งอนาคตนี้

เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการรีไซเคิลพลาสติก PET พัฒนาขึ้นโดย Carbios จะนำไปสู่การผลิตบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ทำจากวัสดุที่ได้มาจากการรีไซเคิล 100% โดยใช้ขั้นตอนของเอนไซม์ ซึ่งมีข้อดีคือ มีความเหมาะสมและใช้ได้กับพลาสติก PET ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นแบบใส แบบมีสี แบบขุ่น และแบบหลายชั้น และจะทำให้พลาสติกเหล่านี้สามารถนำไปรีไซเคิลได้ไม่สิ้นสุด

ฌัก เพล ผู้อำนวยการฝ่ายบรรจุภัณฑ์และการพัฒนา ลอรีอัล กรุ๊ป กล่าวว่า

“เราได้ทำงานร่วมกับ Carbios มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เพื่อพัฒนาขวดใบแรกที่ทำจากพลาสติก PET ที่ได้มาจากเทคโนโลยีการรีไซเคิลด้วยเอนไซม์ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ใช้แทนการรีไซเคิลพลาสติกเชิงกล เรายินดีอย่างยิ่งที่ขวดเหล่านี้ได้รับการพัฒนาขึ้นจริงในโครงการนำร่อง และเราได้สร้างบรรจุภัณฑ์แห่งอนาคตร่วมกับพันธมิตรของเรา นี่จะเป็นนวัตกรรมยอดเยี่ยมสำหรับอนาคต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการนำบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมออกสู่ตลาดมากยิ่งขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานด้านการหมุนเวียน (circularity) ที่ได้ดำเนินการมาเป็นเวลากว่า 15 ปีแล้ว”

จูลิโอ เบียร์กามาสกี ประธานแบรนด์ไบโอเธิร์ม กล่าวว่า

“ไบโอเธิร์มเป็นแบรนด์บุกเบิกเครื่องสำอางที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำเรื่องบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน และการลดขยะเป็นศูนย์กลางของแผนยุทธศาสตร์ของแบรนด์ เราดีใจที่ได้เป็นแบรนด์ความงามแบรนด์แรกที่ประสบความสำเร็จในการผลิตขวดบรรจุภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิล โดยใช้เทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนโลกของ Carbios”

เมื่อปี พ.ศ.2560 ลอรีอัลได้รวมกลุ่มบริษัทกับ Carbios ซึ่งมี Nestlé Waters, PepsiCo และ Suntory Beverage & Food Europe เข้าร่วมด้วย เพื่อส่งเสริมโซลูชันการรีไซเคิลพลาสติกด้วยการใช้นวัตกรรม และการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้เป็นอุตสาหกรรม และต่อมาในปี พ.ศ. 2562 ลอรีอัลได้ลงทุนใน Carbios ผ่านกองทุนร่วมทุน BOLD หรือ Business Opportunities for L’Oréal Development

ด้วยโปรแกรมเพื่อความยั่งยืนปี 2030 ของลอรีอัล กรุ๊ป “L’Oréal for the Future” บริษัทฯ ได้ยกระดับการทำงาน เพื่อมุ่งสู่การเปลี่ยนโฉมการดำเนินธุรกิจ และได้ตั้งเป้าหมายใหญ่ในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างด้านบรรจุภัณฑ์ อาทิ

  • ภายในปี พ.ศ. 2568 บรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด 100% จะเป็นแบบที่สามารถรีฟิลได้ นำมาใช้ซ้ำได้ รีไซเคิลได้ หรือย่อยสลายได้
  • ภายในปี พ.ศ. 2573 บรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด 100% จะมาจากวัสดุรีไซเคิล หรือแหล่งชีวภาพ และจะไม่ใช้พลาสติกผลิตใหม่ที่มาจากแหล่งกำเนิดฟอสซิลอีกต่อไป
  • ส่วนประกอบ 100% ที่ใช้ในสูตรต่าง ๆ และวัสดุที่มาจากแหล่งชีวภาพจะสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ และจะมาจากแหล่งที่ยั่งยืนภายในปี พ.ศ. 2573

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ลอรีอัล กรุ๊ปทำงานร่วมกับพันธมิตรเชิงกลยุทธ์หลายราย เพื่อให้บริษัทมีช่องทางเข้าถึงเทคโนโลยีที่ดีที่สุด นอกจาก Carbios แล้ว ลอรีอัลยังร่วมมือกับ Albéa ผู้นำระดับโลกด้านบรรจุภัณฑ์ความงาม  ในการพัฒนาหลอดเครื่องสำอางหลอดแรกที่ใช้กระดาษแข็งที่ผ่านการรับรองจาก FSC ในปี พ.ศ.2562

และยังร่วมมือกับ Purecycle เพื่อผลิตพลาสติก polypropylene (PP) ที่รีไซเคิลด้วยการใช้สารละลาย และในเดือนตุลาคม 2563 ลอรีอัลได้ร่วมมือกับ LanzaTech และ Total พร้อมทั้งได้ประกาศให้โลกได้รับรู้เป็นครั้งแรกว่า สามารถผลิตขวดเครื่องสำอางที่ใช้พลาสติก polyethylene (PE) ที่ผลิตจากก๊าซคาร์บอน ซึ่งถูกปล่อยออกมาจากภาคอุตสาหกรรมและถูกนำมารีไซเคิล

]]>
1342011
‘เลโก้’ เตรียมวางขายตัวต่อที่ผลิตจาก ‘ขวดพลาสติก’ ในอีก 2 ปี https://positioningmag.com/1339271 Mon, 28 Jun 2021 05:33:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1339271 เลโก้ (Lego) บริษัทของเล่นชั้นนำของโลกที่เชื้อว่าเด็กส่วนใหญ่ต้องเคยสัมผัสสักครั้ง แต่เพราะการผลิตตัวต่อของเลโก้รวมถึงบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ ทำให้ต้องใช้พลาสติกกว่า 90,000 เมตริกตันต่อปี ทำให้เลโก้เองพยายามที่จะผลิตสินค้าที่มีความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

หลังจากที่เลโก้ได้พัฒนาตัวต่อจากพลาสติกรีไซเคิลมาหลายปี เนื่องจากขยะพลาสติกจากทะเลไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ เนื่องจากเสื่อมสภาพเร็วเกินไป ดังนั้น เลโก้จึงทดสอบ พลาสติก PET (polyethylene terephthalate) กว่า 250 รูปแบบ จนล่าสุด เลโก้ได้เตรียมเปิดตัวตัวต่อที่ผลิตจากขวดพลาสติกที่ถูกทิ้ง โดยคาดว่าจะวางจำหน่ายภายใน 2 ปี

“เป้าหมายคือการหาผลิตภัณฑ์ที่ดีพอที่ผู้คนจะไม่สังเกตเห็นความแตกต่าง โดยทั้งตัวต่อที่ทำจากพลาสติกทั่วไปและพลาสติกรีไซเคิลต้องประกบได้อย่างพอดีกัน ต้องสามารถใช้ได้เหมือนกับผลิตภัณฑ์เลโก้อื่น ๆ” Tim Brooks รองประธานฝ่ายความยั่งยืนของเลโก้ กล่าว

ที่ผ่านมา บริษัทเลโก้ได้เริ่มจากการใช้ถุงกระดาษรีไซเคิลแทนถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง นอกจากนี้ บริษัทยังได้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่นุ่มขึ้น เช่น ต้นไม้และพืชจากพลาสติกที่ได้จากอ้อย

Libby Peake หัวหน้าฝ่ายนโยบายทรัพยากรที่ Think Tank ของ Green Alliance กล่าวว่า แผนการใช้พลาสติกรีไซเคิลนั้น “ดีกว่าการใช้พลาสติกบริสุทธิ์อย่างแน่นอน” และหวังว่า “การใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งจะลดลงในอนาคตเนื่องจากผู้คนหันมาใช้ซ้ำ”

บริษัทหลายแห่งผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล เนื่องจากความยั่งยืนมีความสำคัญต่อลูกค้ามากขึ้น โดยเลโก้ กล่าวว่า ลูกค้าจำนวนมาก ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ต่างต้องการความยั่งยืนมากขึ้นเมื่อซื้อสินค้าโดยทั่วไปและได้ติดต่อบริษัทเพื่อแจ้งเช่นนั้น

อย่างไรก็ตาม Camilla Zerr นักรณรงค์ด้านพลาสติกจาก Friends of the Earth กล่าวว่า “สิ่งสำคัญจริง ๆ ที่การรีไซเคิลจะไม่ถูกยกย่องว่าเป็นวิธีแก้ปัญหาเริ่มต้นของวิกฤตพลาสติก แต่ผู้ผลิตต้องแน่ใจว่าของเล่นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ใช้งานได้หลายปี เพื่อให้สามารถส่งต่อและนำกลับมาใช้ใหม่จากรุ่นสู่รุ่น”

โดยปกติแล้วตัวต่อเลโก้จะมีความทนทานเพียงพอสำหรับเล่นกับมนุษย์ 2-3 รุ่น และในกรณีของตัวต่อที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลก็ต้องมีความทนทานเพียงพอในระดับเดียวกันด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ในปี 2561 เลโก้ตั้งเป้าที่จะผลิตผลิตภัณฑ์หลักทั้งหมดจากวัสดุรีไซเคิลภายในปี 2573

ที่ผ่านมา เลโก้ผลิตชิ้นส่วนพลาสติกได้ประมาณ 1.1-1.2 แสนล้านชิ้นต่อปี และปัจจุบันประมาณ 80% ทำจาก ABS หรือต้องใช้พลาสติกกว่า 90,000 เมตริกตันต่อปี โดยประมาณ 5% ทำจากพอลิเมอร์ที่มาจากอ้อย ซึ่งจากการผลิตส่งผลให้บริษัทต้องปล่อยคาร์บอนประมาณ 1.2 ล้านตันต่อปี แต่จากการใช้พลาสติกรีไซเคิลจะช่วยลดการปล่อยมลพิษ

cnet.com / bbc.com

]]>
1339271
‘โค้ก’ เปิดตัว ‘ขวดรีไซเคิล 100%’ ลบภาพผู้ก่อมลพิษจากพลาสติกอันดับ 1 ของโลก https://positioningmag.com/1318765 Wed, 10 Feb 2021 08:19:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318765 ‘Coca-Cola’ หรือ ‘โค้ก’ ที่คนไทยคุ้นเคยกำลังเปิดตัวขวดขนาดใหม่เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี และเป็นขวดแรกที่พลาสติกผลิจจากพลาสติกรีไซเคิล 100%

Coca-Cola มักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีส่วนทำให้เกิดขยะพลาสติกทำลายสิ่งแวดล้อม โดยเมื่อปีที่แล้ว Coca-Cola ได้รับการเสนอชื่อให้เป็น ‘ผู้ก่อมลพิษจากพลาสติกอันดับ 1 ของโลก’ ที่จัดโดยบริษัท Break Free From Plastic บริษัทด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งวัดผลจากโลโก้และตราสินค้าบนพลาสติก 13,834 ชิ้นใน 51 ประเทศที่มักจะทิ้งในพื้นที่สาธารณะ เช่น สวนสาธารณะ และชายหาด

ล่าสุด บริษัทก็ได้เปิดตัว ขวดที่ทำมาจากวัสดุพลาสติกรีไซเคิล 100% ในขนาด 13.2 ออนซ์ ซึ่งนี่ถือเป็นหนึ่งในความพยายามของ Coca-Cola ที่เกิดภายใต้โครงการ “โลกไร้ขยะ” ที่เริ่มต้นในปี 2018 โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ ภายในปี 2030 จะยกเลิกบรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียว และจะนำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และได้มาตรฐานมาใช้ผลิตขวดรีไซเคิลแทน

“การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่ถือเป็นงานแห่งความรักและนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ โดยบรรจุภัณฑ์ใหม่นี้ จะสามารถนำไปทำความสะอาดก่อนจะนำไปบดให้ละเอียดจนกลายเป็นเกล็ดคล้ายเมล็ดพืช ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นขวดใหม่มาใช้อีกครั้ง” Alpa Sutaria ผู้จัดการทั่วไปด้านความยั่งยืนของ Coca-Cola กล่าว

ด้วยขนาดขนาด 13.2 ออนซ์นั้นใหญ่กว่าโค้กกระป๋องอะลูมิเนียมเล็กน้อย แต่ก็เล็กกว่าขวด 20 ออนซ์ทั่วไป ด้วยขนาดที่ไม่เหมือนใครนี้ Coca-Cola ได้ระบุว่าจะช่วยให้ “ดึงดูดให้ดื่มง่ายมากขึ้น” ขณะที่ราคาจะอยู่ที่ 1.59 ดอลลาร์ และไม่ใช่แค่จะช่วยลดขยะพลาสติกเท่านั้น แต่ Alpa Sutaria ระบุว่า ขวดใหม่ที่รีไซเคิลได้ 100% นี้จะช่วยดึงดูดนักดื่มอายุน้อยกว่า 25 ปีที่กำลังมองหาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน

“เรารับฟังผู้บริโภคและพวกเขาบอกเราว่าพวกเขาต้องการอะไรที่เล็กลงและบริโภคได้ง่ายขึ้น เราเลยถือโอกาสนี้ทำขวดพลาสติกที่รีไซเคิลได้ 100% โดยเรามุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดผลกระทบต่อโลกของเราให้น้อยที่สุด โดยบริษัทได้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาของเราด้วยการลงมือปฏิบัติจริง”

ทั้งนี้ โค้กขวดใหม่จะเริ่มวางจำหน่ายในเดือนนี้ในบางรัฐทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกา รวมถึงนิวยอร์ก, แคลิฟอร์เนีย, คอนเนตทิคัต และฟลอริดา ก่อนจะเปิดตัวทั่วประเทศในช่วงฤดูร้อนนี้ 

อย่างไรก็ตาม Coca-Cola ไม่ใช่บริษัทข้ามชาติเพียงแห่งเดียวที่มีเป้าหมายเพื่อลดมลภาวะจากพลาสติก ‘เนสท์เล่’ บริษัทอาหารรายใหญ่ที่สุดของโลกประกาศเมื่อปีที่แล้วว่าใช้เงิน 2 พันล้านดอลลาร์ในโครงการที่คล้ายกัน เช่นเดียวกับ ‘Pepsi’ เพิ่งเปิดตัวขวดขนาด 2 ลิตรที่ออกแบบใหม่ซึ่งใช้วัสดุน้อยลง 24%

Source

]]>
1318765
“เยอรมนี” ขยายระบบเงินมัดจำบรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้แล้วทิ้ง กระตุ้นใช้วัสดุรีไซเคิล https://positioningmag.com/1315953 Sat, 23 Jan 2021 14:04:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1315953 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า กระทรวงสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติ และความปลอดภัยนิวเคลียร์ของเยอรมนี เปิดเผยว่ารัฐบาลกลางอนุมัติการขยายระบบเงินมัดจำค่าบรรจุภัณฑ์ ครอบคลุมขวดและกระป๋องเครื่องดื่มทุกประเภทที่ทำจากพลาสติกใช้แล้วทิ้ง ตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นไป

กระทรวงฯ ระบุว่ากฎหมายใหม่ยกเลิกข้อยกเว้นสำหรับเครื่องดื่มบางประเภทที่ใช้บรรจุภัณฑ์ขวด และกระป๋องพลาสติก เช่น กำหนดให้เพิ่มเงินมัดจำในผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ ซึ่งทำให้ต้องจำหน่ายในราคาแพงขึ้น จากที่แต่เดิมบังคับใช้กับน้ำผลไม้อัดลมเท่านั้น

ตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นไป ร้านอาหาร ร้านเหล้า และร้านกาแฟในเยอรมนีที่ให้บริการห่ออาหาร หรือเครื่องดื่มกลับบ้านจำเป็นต้องใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ทว่ากฎหมายใหม่นี้ยังต้องรอการอนุมัติจากบุนเดิสทาคและบุนเดิสราท ซึ่งเป็นสภาล่างและสภาสูงของเยอรมนีตามลำดับ

“การห่ออาหารกลับบ้านกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ข้อเสียของมันคือปริมาณขยะครัวเรือนที่เพิ่มสูง” สเวนยา ชูลเซอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ระบุในแถลงการณ์

เยอรมนีไม่อนุญาตให้ผลิตขวดพลาสติกใหม่ด้วยปิโตรเลียม และเปลี่ยนมาใช้พลาสติกรีไซเคิลในปริมาณมากขึ้น โดยตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป ขวดเครื่องดื่มที่ทำจากพลาสติกพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลตแบบใช้แล้วทิ้ง (PET) ต้องผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลอย่างน้อย 25%

รัฐบาลเยอรมนีระบุว่ากฎหมายใหม่นี้ช่วยให้เยอรมนี “ลดขยะ ประหยัดวัตถุดิบ และปกป้องสิ่งแวดล้อม”

สหภาพยุโรป (EU) เริ่มบังคับใช้คำสั่งห้ามส่งออกขยะพลาสติกที่ยากต่อการรีไซเคิลทั้งแบบผสม และแบบปนเปื้อนตั้งแต่ช่วงต้นปี 2021 ส่วนเยอรมนีเริ่มใช้กฎที่เข้มงวดยิ่งกว่าตั้งแต่ปี 2019 เพื่อควบคุมการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์พลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ

รัฐบาลเยอรมนีระบุว่าปริมาณการส่งออกขยะพลาสติกจากเยอรมนีไปยังจีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดลงมากตั้งแต่ปี 2016 โดยปีดังกล่าวเยอรมนีส่งออกขยะพลาสติกไปยังจีน 562,910 ตัน ก่อนจะลดลงเหลือราว 2,600 ตันในปี 2019

]]>
1315953