จากรายงานการเก็บขยะและตรวจสอบแบรนด์สินค้าจากขยะพลาสติกของกลุ่มพันธมิตร Break Free From Plastic ที่เผยแพร่ในเดือนตุลาคมพบว่า ‘โคคา-โคล่า’ (Coca – Cola) หรือ ‘โค้ก’ นั้นเป็นแบรนด์ที่ก่อมลพิษพลาสติกมากที่สุดในโลก ซึ่งถือว่าเป็นการครองตำแหน่งดังกล่าว 4 ปีติดเลยทีเดียว ดังนั้น จากเป้าหมายที่จะเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จำนวน 25% มาเป็นแบบรีไซเคิลได้อาจจะไม่พอ
เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ที่ผ่านมา บริษัท Coca – Cola ได้เปิดเผยว่า บริษัทจะตั้งเป้าหมายที่จะเปลี่ยนให้บรรจุภัณฑ์ 25% ทั่วโลกเป็นแบบรีไซเคิลได้ภายในปี 2030 โดยขวดดังกล่าวจะมีทั้งแบบของขวดแก้ว-ขวดพลาสติกที่สามารถส่งคืนหรือนำกลับมาเติมซ้ำ ณ จุดจ่ายเครื่องดื่ม
ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวดังกล่าวมาจากข้อเรียกร้องจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ต้องการให้ผู้ผลิตน้ำอัดลมทั่วโลกหันมาจัดการกับขยะพลาสติกอย่างจริงจัง และแบรนด์ของ Coca – Cola ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดสำหรับกลุ่มผู้บริโภค นักลงทุน และนักสิ่งแวดล้อมที่กังวลเกี่ยวกับขวดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวที่กลายเป็นขยะจำนวนมหาศาลในมหาสมุทร รวมถึงปัญหาอื่น ๆ เนื่องจาก Coca – Cola ถือบริษัทเป็นผู้ก่อขยะพลาสติกที่แย่ที่สุดในโลกเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน และปริมาณยังมากกว่าอันดับ 2 และ 3 อย่างเป๊ปซี่ และยูนิลีเวอร์ ถึง 2 เท่า
“เราหวังว่าบริษัทอื่น ๆ จะทำตามความเป็นผู้นำของ Coke และกำหนดเป้าหมายบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้” Emma Priestland ผู้ประสานงานแคมเปญระดับโลกของกลุ่ม กล่าว
อย่างไรก็ตาม มีองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกจำนวนมากมองว่า ความพยายามของ Coca-Cola ยังไม่มาก พอ โดย Kate Melges ผู้เป็น Global Plastics Corporate Lead ของ Greenpeace แสดงความเห็นว่า “โค้กสามารถ เปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์รีไซเคิลให้ได้ 50% ภายในปี 2030 หรือมากกว่าเป้าหมายเดิม 2 เท่าหากพยายามมากกว่านี้” ทั้งนี้ Greenpeace ระบุว่า Coca-Cola มีการผลิตขวดพลาสติกกว่า 1.2 แสนล้านชิ้น/ปี
ในปี 2020 บรรจุภัณฑ์ของ Coca-Coca ที่สามารถสนำมารีไซเคิลได้คิดเป็น 16% ของบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด โดยบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวเป็นภาชนะประเภทแก้วและพลาสติกแบบรีฟิลได้ 90%
อย่างไรก็ตาม James Quincey ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Coca-Cola กล่าวว่า มันจะง่ายกว่าที่จะบรรลุเป้าหมายในการทำให้โลกปราซจากขยะ ก็คือการที่บริษัทตั้งใจที่จะรวบรวมขวดหรือกระป๋องกลับมาสำหรับทุก ๆ ขวดที่เราขายภายในปี 2030
ทั้งนี้ ผู้ใหญ่ชาวอเมริกัน 8 ใน 10 คนสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ตามผลสำรวจที่เผยแพร่เมื่อวันพุธโดยกลุ่มผู้สนับสนุน Oceana ขณะที่ โคคา-โคลา, เป๊ปซี่ และแบรนด์ต่างประเทศอื่น ๆ ได้ถูกเรียกร้องให้มีข้อตกลงระดับโลกในการลดการผลิตพลาสติก