มือถือจอพับ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 01 Aug 2023 13:27:34 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ซัมซุง’ ตั้งเป้ายอดขายสมาร์ทโฟนจอพับ 15 ล้านเครื่อง พร้อมแง้มมีแผนจะทำราคาให้ “ถูกลง” ในอนาคต https://positioningmag.com/1439453 Mon, 31 Jul 2023 13:54:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1439453 ซัมซุง (Samsung) เพิ่งเปิดตัว 2 สมาร์ทโฟนจอพับรุ่นใหม่ไปหมาด ๆ ได้แก่ Galaxy Z Fold 5 และ Z Flip 5 ซึ่งทั้ง 2 รุ่นต่างก็ได้รับคำวิจารณ์ที่ดีจากนักข่าวและเหล่า KOLs สายเทคโนโลยีทั่วโลก และทางซัมซุงเองก็มั่นใจว่า สมาร์ทโฟนจอพับ มีแม่เหล็กที่จะทำให้ วัยรุ่น เปลี่ยนใจจาก iPhone

Roh Tae-moon ประธาน Samsung Electronics เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมา ซัมซุงมียอดขายสมาร์ทโฟนจอพับทั้งหมด 10 ล้านเครื่อง ส่วนเป้าหมายของซัมซุงปีนี้วางไว้ที่ 15 ล้านเครื่อง ขณะที่ยอดขายสมาร์ทโฟนจอพับทั้งหมดของซัมซุงคาดว่าจะอยู่ที่ 30 ล้านเครื่องภายในสิ้นปี นอกจากนี้ Roh Tae-moon ยังได้เปิดเผยอีกว่า มีแผนจะออกสมาร์ทโฟนจอพับในราคาต่ำกว่า 1,000 ดอลลาร์ (ราว 35,000 บาท) โดยบริษัทกำลังเจรจากับพันธมิตรด้านการจัดหาเพื่อลดต้นทุนการผลิตอุปกรณ์พับได้โดยไม่กระทบต่อข้อมูลที่สำคัญ

โดยเขามั่นใจว่า สมาร์ทโฟนจอพับมีแรงมากพอที่จะดึงดูด วัยรุ่น ให้เปลี่ยนใจจาก iPhone หลังจากที่ได้ทำการสำรวจกลุ่มวัยรุ่นชาวเกาหลีใต้ที่มีอายุ ต่ำกว่า 30 ปี ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มจะชื่นชอบ iPhone ของ Apple มากกว่า แต่จากผลการสำรวจพบว่า สมาร์ทโฟนจอพับ เป็นสินค้าที่ดึงดูดกลุ่มวัยรุ่นได้มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะ Galaxy Z Flip

Galaxy Z Flip 5 ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถดึงดูดผู้บริโภควัยหนุ่มสาวได้เป็นพิเศษ โดยหลังจากวิเคราะห์ฟังก์ชันและแอปที่ใช้บ่อยที่สุดของกลุ่มรุ่นวัยหนุ่มสาวแล้ว เราจะเร่งความพยายามเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพฟังก์ชันดังกล่าว” Roh Tae-moon กล่าว

มองตลาด ‘สมาร์ทโฟน’ ขาลง เซกเมนต์ ‘พรีเมียม’ คือ โอกาสเดียวสร้างการเติบโต

สำหรับตลาดสมาร์ทโฟนจอพับถือเป็นเซกเมนต์ที่ยังเติบโตได้ในตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลก โดยบริษัท TrendForce คาดการณ์ว่า ตลาดสมาร์ทโฟนพับได้ทั่วโลกจะเติบโต 55% ส่วนบริษัท Counterpoint มองว่าจะเติบโตได้ 42% และจากการคาดการณ์ของสถาบันวิจัยตลาดหลายแห่งเชื่อว่า ยอดขายสะสมของสมาร์ทโฟนพับได้ทั่วโลกจะเกิน 100 ล้านเครื่อง ภายใน 5 ปีข้างหน้า

bloomberg / koreatimes

]]>
1439453
ส่อง 10 ปรากฏการณ์ฝั่งไอทีปี 2020 ที่ได้ COVID-19 เป็นป๋าดัน https://positioningmag.com/1312416 Tue, 29 Dec 2020 12:04:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312416 กำลังจะหมดปี 2020 แล้ว ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นปีที่หนักสำหรับโลกและใครหลาย ๆ คนเพราะการระบาดของ ‘COVID-19’ แต่ก็มี ‘บางธุรกิจ’ ที่ได้อานิสงส์ที่ดีจากการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น เราไปย้อนรอยความปังจากฝั่งธุรกิจ ‘ไอที’ กันดีกว่าว่ามีธุรกิจไหนที่ปังบ้าง

1. ปรากฏการณ์ ‘เจน-นุ่น-โบว์’ บน ‘TikTok’

สำหรับ ‘TikTok’ ในประเทศไทยเริ่มได้รับความนิยมเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา แต่ภาพลักษณ์นั้นค่อนไปทางที่ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร เพราะหลายคนมองว่ามีแต่เด็ก ๆ เล่น แต่ในปี 2020 เจ้า COVID-19 ที่ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องกักตัวจนเบื่อบ้าน คนเลยต้องหาทางระบายซึ่ง TikTok คือหนึ่งในตัวช่วยนั้น เพราะทั้งมีฟีเจอร์ที่ถูกจริตคนไทยโดยเฉพาะสาย ‘ฮา’ ถูกใจแน่นอน แถมยังมี Challenge มาให้เล่นอีก ดังนั้น TikTok จึงเข้ามาตอบโจทย์ให้การอยู่บ้านมีสีสันมากขึ้น โดยไวรัลที่คนน่าจะจำได้เป็นอย่างดีก็คือ ‘เจน-นุ่น-โบว์’ หรืออย่างแฮชแท็ก #เมษาAtHome ที่ชวนคนไทยมาแชร์คลิปการกักตัวอยู่บ้านอย่างสร้างสรรค์มียอดวิวรวมถึง 1.9 พันล้านครั้ง

2. ปลุกความเป็น ‘แม่ค้า’ ด้วยสารพัด ‘มาร์เก็ตเพลส’

เพราะห้างร้านต่าง ๆ ต้องปิดลงชั่วคราวในช่วงล็อกดาวน์ แต่เงินที่มีมันช่างร้อนนัก ต้องหาทางระบาย ประกอบกับพ่อค้าแม่ค้า หรือคนที่ว่างงานต้องพยายามหารายได้หรือสถานที่ในการขายของใหม่ ดังนั้น ‘eCommerce’ จึงเป็นทางออกเดียว นั่นเลยทำให้ทั้ง Lazada และ Shopee ต่างโกยลูกค้ารวมถึงพ่อค้าแม่ค้าหน้าใหม่ได้เพียบ

แต่ที่ถือว่าเป็นทีเด็ดจริง ๆ ต้องเป็น ‘Facebook Group’ เพราะในช่วงล็อกดาวน์เราได้เห็นการเปิดกลุ่มมาเพื่อขายของกันบานเบอะ ที่ดัง ๆ ก็มีอย่าง ‘จุฬาฯ มาร์เก็ตเพลส’ ที่กลายเป็นต้นแบบให้หลาย ๆ สถาบันมาเปิดกลุ่มขายของบ้าง นอกจากนี้ ‘Facebook Live’ ที่เริ่มดังตั้งแต่ปี 2019 เพราะ ‘บังฮาซัน’ ในปี 2020 ก็ยิ่งปังมากกว่าเดิม โดยการไลฟ์ขายของในไทยเติบโตขึ้นถึง 173% สูงที่สุดในทวีปเอเชียเลยทีเดียว

คนดังชาวจุฬาฯ ฝากร้านในจุฬาฯมาร์เก็ตเพลส

3. Zoom ตัวช่วยประชุมและดูคอนเสิร์ต!

แพลตฟอร์ม VDO Conference มีมานานแล้ว แต่ยังไม่ได้ใช้แพร่หลายมากนัก เพราะทั้งการทำงานและการประชุมต่าง ๆ ก็มักจะทำกันที่ออฟฟิศเป็นปกติอยู่แล้ว แต่เพราะ COVID-19 ที่ทำให้คนต้อง Work from Home กัน แพลตฟอร์ม VDO Conference ต่างก็เลยได้อานิสงส์ไปเต็ม ๆ แต่ที่โดดเด่นสุดเห็นทีจะเป็น ‘ZOOM’ ที่ปังขนาดที่เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา บริษัทมีมูลค่าตลาดสูงถึง 1.39 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

และไม่ได้ใช้แค่การทำงานเท่านั้น แต่ยังกระจายไปถึง ‘คอนเสิร์ต’ โดยแสตมป์-อภิวัชร เอื้อถาวรสุข ประกาศจัดคอนเสิร์ต “Stamp แอบดู Birthday Live” เนื่องในโอกาสฉลองวันเกิดครบรอบ 38 ปีของเจ้าตัว แต่เนื่องจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้งานครั้งนี้เลือกจัดเป็นคอนเสิร์ตเสมือนจริง (Virtual Concert) บนโลกออนไลน์แทน โดยเปิดขายบัตรทั้งหมด 1,000 ใบ ราคาใบละ 380 บาท ซึ่งก็ขายเกลี้ยงใน 18 ชั่วโมงเท่านั้น

4. ฟู้ดเดลิเวอรี่ New Normal ที่แท้ทรู

อยากกินก็ต้องได้กิน แม้จะออกจากบ้านไม่ได้เพราะล็อกดาวน์ ซึ่งนั่นทำให้บริการ ‘ฟู้ดเดลิเวอรี่’ กลายเป้นพระเอกของคนไทยในช่วงล็อกดาวน์ไปโดยปริยาย และถือเป็นอีกทางรอดของผู้ประกอบการร้านอาหาร โดยจากเดิมช่วงก่อน COVID-19 ร้านอาหารหลายเเห่งอาจจะมีสัดส่วนการขายหน้าร้านต่อออนไลน์ ประมาณ 90:10 เเต่หลังจากมีโรคระบาด ร้านบางเเห่งอาจมีสัดส่วนมากถึง 70:30 หรือ 50:50 เลยก็ว่าได้

แต่ด้วยความปังของบริการทำให้มี ‘ดราม่า’ ออกมาเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องของ ค่าส่วนแบ่งยอดขาย (GP Food Delivery) ที่ร้านอาหารระบุว่าผู้ให้บริการบางรายถือโอกาสขึ้นค่า GP ในข่วงขาขึ้นนี้ ซึ่งนั่นก็ทำให้ 2 แบงก์อย่าง ‘ไทยพาณิชย์’ ที่เปิดตัวบริการฟู้ดเดลิเวอรี่ของตัวเองในนาม Robinhood และ ‘กสิกร’ ที่เปิดตัว Eatable (อีทเทเบิล) ใช้ช่องว่างนี้โกยลูกค้าด้วยการ ไม่เก็บค่า GP’ และการมาของผู้เล่นใหม่ ๆ แบบนี้ ปีหน้าคงได้เห็นอะไรเดือด ๆ อีกแน่นอน

5. Nintendo Switch ไอเทมสุดปัง

Nintendo เป็นอีกเเบรนด์ที่ได้รับ ‘อานิสงส์ที่ดี’ จากวิกฤต COVID-19 เพราะช่วงล็อกดาวน์คนแห่ ‘เล่นเกม’ ตอนอยู่บ้าน ทำให้ Nintendo สามารถกำไรครึ่งปีเเรกถึง 3 เท่า ปิดที่ 2.13 แสนล้านเยน (ราว 6.3 หมื่นล้านบาท) สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท และในอาเซียนเอง Nintendo Switch กลายเป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมที่ได้รับความนิยมสูงสุดโดยขายดีเป็นลำดับต้น ๆ ใน 5 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, ฮ่องกง และไทย ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้น Nintendo Switch ขายดีจนขาดตลาด ส่งผลให้จากราคาที่เคยขายกันหลักหมื่นต้น ๆ ก็พุ่งไปถึงกว่า 2 หมื่นบาทเลยทีเดียว

nintendo switch
Photo : Shutterstock

6. มือถือจอพับ

เป็นอีกนวัตกรรมที่ฮือฮาตั้งเเต่ปี 2019 สำหรับ ‘สมาร์ทโฟนจอพับ’ ที่หลายค่ายต่างพยายามโชว์ของกันสุดพลัง และในปี 2020 นี้ เบอร์ 1 ในตลาดโลกอย่าง ‘ซัมซุง’ ก็ได้เปิดตัวสมาร์ทโฟนจอพับรุ่นที่ 2 ก็คือ ‘Samsung Galaxy Z Flip’ สานต่อความสำเร็จของ Samsung Galaxy Fold ส่วนฝั่งของจีนอย่าง ‘หัวเว่ย’ ที่ขับเคี่ยวขึ้นเป็นเบอร์ 1 กับซัมซุง ก็ไม่น้อยหหน้าส่ง ‘Huawei Mate Xs 5G’ ลุยตลาดโดยมีราคาสุดสะพรึงที่ 89,990 บาท

นอกจากนี้ยังมีค่ายในตำนานอย่าง ‘โมโตโรล่า’ ก็เอาด้วย โดยส่ง ‘Motorola razr 5G’ มาประเดิมในสังเวียน แต่ไม่ใช่เเค่จอพับจะเป็นเทรนด์อีกต่อไป เพราะอีกหนึ่งค่ายใหญ่ของจีนอย่าง ‘ออปโป้’ ได้ส่งสมาร์ทโฟนตัวต้นแบบที่หน้าจอยืดได้ หดได้มาให้ชมกันในงาน OPPO X 2021

7. VIDEO Streaming โตกระโดด

อะไรก็ตามที่ทำให้คนแก้เบื่อช่วงล็อกดาวน์ได้สิ่งนั้นเติบโหมด ยิ่งโรงภาพยนตร์ยังไม่เปิดให้บริการ หรือเปิดแต่ก็ยังไม่มีหนังใหม่ ๆ เข้า ก็เลยเข้าทางบริการ ‘Video Streaming’ อย่าง ‘Netflix’ ก็โตพุ่งมาก โดยไตรมาสแรกของปีมีผู้ใช้ใหม่เพิ่มขึ้นเกือบ 16 ล้านราย หรือเป็นสองเท่าจากจำนวนผู้ใช้งานใหม่ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2019 และไตรมาส 2 ผู้ใช้ใหม่ยังเพิ่มอีก 7 ล้านราย หรือน้องใหม่อย่าง ‘Disney+’ ก็มีผู้ใช้ทะลุ 73.7 ล้านรายภายในเวลา 1 ปีเท่านั้น ส่วนในไทยเองหลายแพลตฟอร์มก็ปังไม่แพ้กันอย่าง ‘LINE TV’ ปัจจุบันมีผู้รับชมถึง 40 ล้านคน โดยมีแม่เหล็กอย่าง ‘ซีรีส์ Y’ หรือแพลตฟอร์มสัญชาติจีนอย่าง ‘Viu’ ก็มีเสียงพากย์ ‘อีสาน’ เจาะตลาดท้องถิ่นอีกด้วย

8. แบน Pornhub

จริง ๆ มีอีกแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งที่ปังแม้ไม่มี COVID-19 ซึ่งก็คือ ‘Pornhub’ ที่แถมยังใจดีแจก Premium ฟรีตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมาจนถึง 23 เมษายน เพื่อดึงดูดให้คนอยู่แต่บ้านไม่ต้องไปไหน แต่ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาก็เกิดเหตุการณ์ช็อกผู้ใช้ชาวไทย เมื่อ ‘กระทรวงดีอี’ สั่งให้ระงับการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตาม พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กับ เว็บ Pornhub จำนวนกว่า 191 URLs ที่มีเนื้อหาลามก อนาจาร ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและมือถือทุกค่ายต้องปฏิบัติตาม จนเหล่าชาวเน็ตผุด #SavePornhub พร้อมกับหา VPN เพื่อที่จะหาทางเข้าเว็บให้ได้อีกครั้ง

9. 5G ที่มาถูกเวลา

จริง ๆ แล้วศึก 5G แข่งขันกันตั้งเเต่ช่วงปลายปี 2019 หรือตั้งเเต่ยัง ‘ไม่มี 5G’ ด้วยซ้ำ โดยจะเห็นว่าค่ายสีเขียวและสีแดงต่างก็แย่งชิงพื้นที่เพื่อ ‘โชว์ศักยภาพ’ ของ 5G ว่าทำอะไรได้บ้าง และหลังจากที่ประมูลคลื่น 5G เสร็จในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ จากนั้นไม่นานก็ต้องเจอกับการ ‘ล็อกดาวน์’ เพราะ COVID-19 ซึ่งช่วงนั้นก็เป็นช่วงที่แต่ละค่ายได้โชว์ศักยภาพของ 5G ในด้านเฮลท์แคร์ ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ทางไกลหรือการใช้ ‘หุ่นยนต์’ ในโรงพยาบาลเพื่อลดการสัมผัส

และเเน่นอนว่าสำหรับผู้บริโภคเองก็ค่อนข้างจะตื่นตัวไม่น้อย เพราะ ‘iPhone 12’ ซึ่งเป็นรุ่นเเรกของค่าย Apple ที่รองรับ 5G ก็ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แม้ราคาจะค่อนข้างสูงก็ตาม โดยหลายคนได้วิเคราะห์ว่ายอดขาย iPhone 12 สะท้อนว่ากระเเสสมาร์ทโฟน 5G ในปีหน้าจะยิ่งแรงขึ้นอีกแน่นอน

10. ดราม่า OTP

อีกหนึ่งดราม่ารับสิ้นปีก็คือกรณี OTP ยืนยันการสมัคร ‘คนละครึ่ง’ โครงการที่รัฐบาลออกมาเพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศหลังจากมี COVID-19 ของค่าย ‘ดีแทค’ ดัน ‘ล่ม’ ทำให้ลูกค้าของดีแทคต้องเสียสิทธิ์ในการลงทะเบียนโครงการดังกล่าวจนเกิดแฮชแท็ก #dtac และ #คนละครึ่งเฟส2 ติดเทรนด์ทวิตเลย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ดีแทคเองต้องออกมาตรการมาชดเชยลูกค้าเป็นมูลค่า 3,500 บาท นับเป็นความปังส่งท้ายปีของค่ายสีฟ้าที่น่าเห็นใจเลยทีเดียว

]]>
1312416