ยอด ไลน์แมน วงใน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 17 Dec 2024 06:51:55 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ยอด-ไลน์แมน วงใน’ ฉายภาพ ‘Food Delivery’ ปี 67-68 จะเริ่มเห็นชัดว่าใครจะอยู่ใครจะไป! https://positioningmag.com/1503579 Tue, 17 Dec 2024 02:56:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1503579 หากพูดถึงตลาด Food Delivery ในไทยปีนี้ ถือว่าเป็นปีที่มีความเคลื่อนไหวใหญ่ ๆ โดยเฉพาะการเกือบปิดตัวของ Robinhood โดย ยอด ชินสุภัคกุล แม่ทัพใหญ่ LINE MAN Wongnai จะมาฉายภาพของตลาดปีนี้ และมองไปถึงปีหน้า

2567 ปีแห่งความจริงของ Food Delivery

ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai เล่าว่า อ้างอิงจาก Google Sea eConomy 2024 ประเมินว่า ตลาด Food Delivery ไทยจะมีมูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท เติบโต +7% ซึ่งถือว่า เติบโตกว่ามูลค่าตลาดร้านอาหาร ที่คาดว่าจะเติบโตประมาณ +5% มีมูลค่า 7 แสนล้านบาท

ดังนั้น ปี 2567 ถือเป็น ปีแห่งความจริง เพราะแสดงการเติบโตของตลาดอย่างแท้จริงโดยที่ไม่มี ปัจจัยภายนอก ต่างจากที่ผ่านมาที่มีการระบาดของ COVID-19 ซึ่งปัจจัยในการเติบโตหลัก ๆ มาจาก จำนวนผู้ใช้ใหม่จากกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมากับเทคโนโลยี

“ตลาดร้านอาหารไทยแข่งขันสูง แต่ละปีมีร้านปิดประมาณ 30% แต่ก็เปิดใหม่มาทดแทน ดังนั้น การเติบโตจะไม่สูง แต่ที่ตลาด Food Delivery โตกว่าเพราะยังมีโอกาสเติบโตจากผู้ใช้ใหม่ เช่น เด็กจบใหม่ ที่ 80-90% ต้องเคยใช้ Food Delivery หรือกลุ่มหลักที่ใช้อย่าง 30-40 ปี ก็ยังใช้ต่อเนื่อง ดังนั้น ตลาดจึงยังมีโอกาสโตจากคนรุ่นใหม่”

ภาพปีหน้าจะชัดว่าใครรอดในระยะยาว

แม้ว่าในปีนี้ SCBX จะยกธงขาวประกาศ ปิดตัวแพลตฟอร์ม Robinhood หลังจากขาดทุนสะสม 3 ปีกว่า 5,500 ล้านบาท แต่สุดท้ายแพลตฟอร์มก็ถูก ขาย ให้กับกลุ่มผู้ลงทุนที่นำโดย ยิบอินซอย (YIP IN TSOI) มาซื้อไปในมูลค่า 2,000 ล้านบาท

“Robinhood” บทใหม่ภายใต้ “ยิบอินซอย” ขอเก็บ GP 28% 

ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าว ยอด มองว่า ในปีหน้าภาพจะยิ่งชัดเจนว่า ผู้เล่นรายไหนจะยังอยู่ เพราะด้วยลักษณะของตลาดที่มีความเป็นวอลลุ่มค่อนข้างสูง ธุรกิจต้องการ Economy of scale เพื่อทำให้ธุรกิจดำเนินการต่อได้ ดังนั้น ผู้เล่นรายเล็ก จะยิ่งอยู่ยาก เพราะต้องการไซส์เพื่อสเกล และภาพของตลาดไทยจะเหมือนกับต่างประเทศที่จะมีผู้เล่น อยู่รอด 2-3 ราย ซึ่งปีหน้าจะเห็นว่าผู้เล่นรายไหนจะอยู่รอดจากนี้ สำหรับตลาดไทยในปัจจุบันมีผู้เล่นหลัก ๆ อยู่ 4 ราย ได้แก่ LINE MAN Wongnai, Grab, Food Panda, Robinhood และ Shopee Food

ยืนยันเป็นเบอร์ 1

สำหรับภาพรวม 10 เดือนที่ผ่านมาของ LINE MAN Wongnai มีการเติบโต +35% โดยมั่นใจว่าเป็น เบอร์ 1 เมื่อวัดจากจำนวนธุรกรรมต่อวัน โดยปัจจุบันแพลตฟอร์มมีผู้ใช้กว่า 10 ล้านรายต่อเดือน ให้บริการครบ 77 จังหวัด ครอบคลุม 328 อำเภอ มีร้านค้าในระบบกว่า 5 แสนร้าน และมี ไรเดอร์กว่า 1 แสนคน

“เรายืนยันว่าเป็นเบอร์ 1 เมื่อเทียบวัดจากจำนวนธุรกรรมต่อวัน แต่บอกไม่ได้ว่าทิ้งห่างเบอร์ 2 แค่ไหน ถือว่ามีระยะห่างประมาณหนึ่ง แต่เราไม่เคยสบายใจ เพราะผมให้เกียรติคู่แข่งเสมอ เขาก็แข็งแรง เราเองก็ต้องสู้ทุกหยด ทุกเม็ด แม้ผู้เล่นเหลือน้อยก็วางใจไม่ได้”

ไรเดอร์ไม่โต เน้นเพิ่มรอบ

ในส่วนของจำนวนไรเดอร์ ยอด ระบุว่า ไม่เพิ่มขึ้น แต่เน้นเพิ่ม efficiency ให้ดีขึ้น ทำรอบได้มากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้แต่ละวัน โดยสามารถเพิ่ม productivity ของไรเดอร์ได้ถึง 50% ต่อวัน เมื่อเทียบกับ 2 ปีก่อน และปัจจุบันจำนวนไรเดอร์ที่ ทำประจำ มีมากกว่าพาร์ตไทม์ ซึ่งแพลตฟอร์มพยายามจะเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพื่อเพื่อแก้ pain-point ให้กับลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพให้ไรเดอร์

ในปีนี้ฟีเจอร์ใหม่ที่ออกมาก็ได้รับผลตอบรับที่ดี เช่น การเพิ่ม ตัวเลือกจัดส่ง โดยพบว่า 25% เลือกจัดทันใจ และส่งถูก หรืออย่างฟีเจอร์ Multiple Pick-Up ที่ทำให้สั่งร้านที่ 2 ระหว่างทางได้ ซึ่ง 50% ของยูสเซอร์เคยใช้ฟีเจอร์นี้ เป็นต้น

“ฟีเจอร์ใหม่ ๆ 70% เป็นสิ่งที่อยู่ภายในที่ผู้ใช้ไม่ได้เห็น อาทิ Cooking time prediction ที่จะช่วยให้ไรเดอร์ไม่ต้องรอนาน ซึ่งสิ่งนี้ยูสเซอร์อาจไม่ได้เห็น แต่มาเพื่อแก้ปัญหาให้ทั้งไรเดอร์และลูกค้า”

มองโอกาสควบรวมกิจการ Food Delivery ด้วยกันยาก

สำหรับเป้าหมายการ IPO ภายในปีหน้า ยอดยังคงย้ำถึงเป้าหมายเดิมส่วนโอกาสการ ควบรวมกิจการในธุรกิจเดียวกัน ของ LINE MAN Wongnai ค่อนข้าง เป็นไปได้ยาก โดย ยอด ให้ความเห็นว่า เพราะเหลืออยู่ไม่กี่ราย และแข่งขันกันมานาน แต่ถ้าเป็นการ M&A ข้ามอุตสาหกรรมเพื่อสร้างการเติบโตยังเป็นไปได้ เช่นการ M&A กับ Rabbit LINE Pay เป็นต้น

ในส่วนของการ ลงทุนในสตาร์ทอัพไทย รวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยอด มองว่า มีความ ท้าทายมาก เพราะต้องยอมรับว่า นักลงทุนไม่อยากเสี่ยง ที่จะลงทุนกับสตาร์ทอัพระยะแรก ทำให้ช่วงสองปีที่ผ่านมานักลงทุนหันไปลงทุนในตลาดที่มีโอกาสเติบโตและให้ผลตอบแทนได้มากกว่า อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา

]]>
1503579
‘ไลน์แมน วงใน’ ระหว่างเดือนมิ.ย.65-มิ.ย.66 “ร้านอาหารเปิดใหม่” ทะลุ 1 แสนร้าน “แซนวิช-อาหารจีน” เป็นเทรนด์มาแรง https://positioningmag.com/1438813 Mon, 24 Jul 2023 10:55:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1438813 ในปี 2023 ที่สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 คลี่คลายเกือบ 100% ธุรกิจที่ฟื้นกลับมาก็คือ ร้านอาหาร โดย Insight จาก ไลน์แมน วงใน (LINE MAN Wongnai) พบว่าแค่ครึ่งปีแรกร้านอาหารเปิดใหม่ก็พุ่งทะลุ 1 แสนร้าน ไปแล้ว แต่แม้จะเปิดเยอะ ร้านที่อยู่รอดในช่วงปีแรกกลับมีแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น!

ร้านอาหารเปิดใหม่เยอะแต่เจ๊งเยอะกว่า

ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai ได้เปิดเผยถึงภาพรวมตลาดร้านอาหารในช่วงเดือนมิ.ย.65 – มิ.ย.66 ว่า มีร้านอาหารเปิดใหม่เพิ่มขึ้นจาก 598,693 ร้าน เป็น 680,190 ร้าน เติบโตขึ้น 13.6% แสดงให้เห็นว่าพอวิกฤตโควิดเริ่มคลี่คลาย คนหันมาเปิดร้านอาหารกันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าร้านอาหารเปิดใหม่จะมีเยอะ แต่จำนวนร้านที่ปิดตัวก็มีไม่น้อยเช่นกัน โดยจากสถิติพบว่ามีร้านอาหารถึง 50% ที่ต้องปิดตัวลงภายในปีแรก และ 65% ปิดตัวลงภายใน 3 ปี

ทั้งนี้ หากเจาะไปที่ ประเภทร้านอาหารที่กลับมา เติบโตมากที่สุดและเติบโตน้อยสุด 5 อันดับ บนแพลตฟอร์มเดลิเวอรี ได้แก่

  • อาหารเช้า โดยเฉพาะแซนด์วิช +34.2%
  • อาหารจีน +28%
  • สุกี้ยากี้ ชาบู +18.3%
  • ราเมน +14%
  • บาร์ +13.9%

ส่วน 5 ประเภทร้านอาหารที่การเติบโตชะลอตัวลง ได้แก่

  • Food Truck -63.8%
  • ข้าวต้มมื้อดึก -44.3%
  • พิซซ่า -39.2%
  • ซีฟู้ด/อาหารทะเล -36.1%
  • หมูกระทะ -31.7%

“ส่วนใหญ่ร้านอาหารที่เปิดใหม่จะเป็นร้านเล็ก ๆ ยิ่งเมื่อมีบริการเดลิเวอรี ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านยิ่งทำให้เปิดร้านอาหารได้ง่าย ทำให้การแข่งขันมันสูง พอเขาลองเปิดแล้วพบว่าขายไม่ดีก็ปิดตัวลง อัตราการปิดกิจการในช่วงปีแรกจึงสูงอย่างที่เห็น” ยอด อธิบาย

ราคา วัตถุดิบ ข้อกังวลใหญ่สุด

จากการสำรวจความเห็นร้านอาหาร 1,230 แห่ง ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2023 พบว่าปัญหาหนักใจที่สุด ได้แก่

  • ต้นทุนวัตถุดิบ 77%
  • ต้นทุนอื่น ๆ (ค่าเช่าที่, ค่าไฟ, ค่าน้ำ) 60%
  • จำนวนร้านคู่แข่งที่เพิ่มขึ้น 57%
  • ลูกค้าใหม่ลดลง 47%
  • ลูกค้าประจำลดลง 45%
  • ค่าแรง 27%

ฐากูร ชาติสุทธิผล ผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มผลิตภัณฑ์ระบบจัดการร้านอาหาร FoodStory POS ของ LINE MAN Wongnai อธิบายว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ต้นทุนร้านอาหาร 25-30% จะมาจาก วัตถุดิบ มากที่สุด ตามด้วย ค่าแรง (20-25%), ค่าเช่าที่ (20-30%), ต้นทุนอื่น ๆ (10%) ที่เหลืออีก 10-20% คือ กำไร

ฐากูร ชาติสุทธิผล ผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มผลิตภัณฑ์ระบบจัดการร้านอาหาร FoodStory POS ของ LINE MAN Wongnai

Dine-in กลับมา หนึ่งในปัจจัยควบรวม Food Story

จากข้อมูลของร้านอาหารที่ใช้ Wongnai POS ยังพบว่ามูลค่าการซื้อขายรวม (GMV) ของยอดขายประเภทนั่งรับประทานที่ร้าน (Dine-in) กลับมามีอัตราการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย โดย ยอด ยอมรับว่าปัจจัยดังกล่าวทำให้ LINE MAN Wongnai ตัดสินใจที่ควบรวมกิจการกับ Food Story สตาร์ทอัพด้านโซลูชัน POS (Point of Sale) ที่บริษัทร่วมลงทุนตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว

ซึ่งจากการควบรวมของ LINE MAN Wongnai กับ Food Story ทำให้บริษัทกลายเป็นเบอร์ 1 ของตลาด POS ผ่านการมีส่วนแบ่งตลาด 40% ด้วยจำนวนการใช้งานกว่า 55,000 ร้านค้า มีมูลค่าการซื้อขายผ่านระบบราว 1.8 แสนล้านบาท ผ่านออร์เดอร์ที่สำเร็จ 636 ออร์เดอร์

“จริง ๆ เรามีคุยเรื่องควบรวมมากันหลายครั้งแรก แต่การที่ LINE MAN ควบรวมกับ Wongnai ก็ค่อนข้างใช้เวลา แล้วมาเจอโควิดอีก มาตอนนี้สถานการณ์คลี่คลาย ร้านอาหารกลับมาเติบโต การทานที่ร้านก็เกือบกลับมาเท่าปกติ เราเลยมองว่าถึงเวลาแล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยมูลค่าดีลได้”

POS ตลาดหมื่นล้านที่ยังเติบโตได้

ร้านอาหารประมาณ 6 แสนร้าน ในไทย จะมีประมาณ 30% ที่ใช้ระบบ POS หรือประมาณ 150,000 ร้าน มีมูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาท ดังนั้น ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก เพราะยังมีร้านอาหารที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีอีกเยอะ ซึ่งการควบรวมของ LINE MAN Wongnai กับ Food Story จะยิ่งช่วยให้เจาะ ร้านอาหารขนาดกลาง (ร้านอาหารที่มีหลายสาขา หรือแฟรนไชส์) จากปัจจุบัน LINE MAN Wongnai จะเก่งในการเข้าถึงร้านรายย่อย ส่วน Food Story เน้นเชนร้านอาหารขนาดใหญ่

อย่างไรก็ตาม แม้ควบรวมกัน แต่จะไม่รีแบรนด์เป็นแบรนด์เดียวกัน เพราะ Food Story ถือเป็นแบรนด์ที่รู้จักอยู่แล้วโดยเฉพาะกับเชนร้านอาหารขนาดใหญ่ ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องรีแบรนด์

“เราเชื่อว่าควบรวมแล้วจะทำให้เราเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด เพราะการทำร้านอาหารมันมีรายละเอียดเยอะ เราเชื่อว่าการรวมเข้าด้วยกันจะทำให้พัฒนาหลาย ๆ ได้ดีขึ้น เร็วขึ้น โดยเฉพาะด้าน CRM เพราะเรามี Audience จากทั้ง LINE และ Wongnai ดังนั้น เรามีชาแนลดึงลูกค้ากลับมาได้ด้วย ไม่ใช่แค่เก็บดาต้าอย่างเดียว”

]]>
1438813
เปิดมุม ‘Startup’ เมืองไทยที่ไม่ ‘Happy Ending’ เหมือนซีรีส์ ยิ่งยุคโควิดโอกาสรอดยิ่ง ‘น้อย’ https://positioningmag.com/1313311 Fri, 08 Jan 2021 01:04:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313311 หากพูดถึง ‘สตาร์ทอัพ’ หลายคนอาจจะไปนึกถึงซีรีส์เกาหลีที่ฮิตไปเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา แต่สำหรับวงการสตาร์ทอัพไทยในปีที่ผ่านมาที่ต้องเจอกับ COVID-19 เลยกลายเป็นปีที่ไม่สดใสเหมือนกับซีรีส์สักเท่าไหร่ ซึ่งทาง ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด ได้เชิญ 3 กูรูในวงการ ได้แก่ กรวัฒน์ เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมิตี้, ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท ไลน์แมน วงใน จำกัด และ ปารดา ทรัพย์ประเสริฐ ผู้อำนวยการ 500 Start-ups ร่วมเสวนาในหัวข้อ Building Thailand’s first Unicorn: the technology powering the nation’s startup innovation

ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด

COVID-19 ทำให้ Seed เข้าถึงเงินลงทุนยากขึ้น

เริ่มต้นจาก ปารดา ทรัพย์ประเสริฐ ผู้อำนวยการ 500 Start-ups เล่าว่า แม้อีโคซิสเต็มส์ของไทยด้านสตาร์ทอัพจะเดินช้ากว่าหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียนจริง แต่ยังเดินอย่างแข็งแรงเพราะมีพื้นฐานที่ดี ทำให้มีสตาร์ทอัพเพียง 15% ที่ล้มหายไป ขณะที่ 60% สามารถระดมทุนได้แต่อยู่ในสภาวะ ‘ซอมบี้’ คืออยู่ได้เรื่อย ๆ ยังไม่สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ดังนั้น อาจต้องหาแนวทางในการช่วยเหลือ

อย่างไรก็ตาม ในปี 2020 ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าจำนวนดีลที่ลงทุนในสตาร์ทอัพมีน้อยลง โดยเฉพาะในระดับ Seed หรือเริ่มต้น เนื่องจากการเดินทางที่ยาก ทำให้นักลงทุนไม่สามารถเดินทางมทาเจอกับสตาร์ทอัพได้ จึงต้องชะลอไว้ก่อน แต่ก็ยังมีการลงทุนในรายใหญ่ ๆ ระดับซีรีส์ B-C แสดงให้เห็นว่าสตาร์ทอัพเหล่านั้นมีศักยภาพ

“การระดมทุนมันยากขึ้น VC ก็มีความกลัว เพราะปกติต้องคาดการณ์ไกล ๆ 3-5 ปีว่าจะเป็นอย่างไร แต่มี COVID-19 ทำให้ต้องกลั่นกรองมากขึ้น อย่าง 500 Start-ups จากปกติลงทุน 1 ดีล/เดือน แต่ COVID-19 มาทำให้ 6 เดือนก็ยังไม่มีซักดีล ดังนั้น นี่เป็นอีกความท้าทายของสตาร์ทอัพไทย โดยอาจต้องพึ่ง Angel Investor แทน แต่ต้องอยู่ในเทรนด์ ในตลาดที่ถูกต้อง

ยุค COVID-19 ต้องรอดด้วยตัวเอง

เนื่องจาก COVID-19 ที่ทำให้หลายดีลที่ถูกชะลอการลงทุน เพราะนักลงทุนรอดูสถานการณ์ ดังนั้น สตาร์ทอัพต้องเปลี่ยนแนวคิดจากที่ไม่เน้นทำกำไร เน้นสร้างการโตและเรสฟันด์เอาต้องพึ่งตัวเองให้ได้ ต้องทำรายได้อย่างแท้จริงเพื่ออยู่รอด ซึ่งปีที่ผ่านมาเป็นปีที่ยากลำบากมากของสตาร์ทอัพ แน่นอนว่ามีทั้งธุรกิจที่โชคดีกับโชคร้าย โดยมีสตาร์ทอัพบางรายที่ต้องอยู่โหมดจำศีลหรือเลิกกิจการไป โดยเฉพาะที่ทำเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยวหรือเกี่ยวกับการออกนอกบ้าน แต่ก็จะมีบางกลุ่มที่โชคดีทำให้โตเร็วขึ้น

“เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ วงการสตาร์ทอัพตอนนี้ต้องฝึกความอดทน ไม่ใช่เรื่องน่าอายหากไปทำอย่างอื่นชั่วคราวหรือปิดถาวรไปเลย เพื่อหาโอกาสใหม่ ๆ ในการสร้างธุรกิจ” ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท ไลน์แมน วงใน จำกัด กล่าวเสริม

อย่างไรก็ตาม เพราะตอนนี้มีเครื่องมือเสริมที่ช่วยให้ทำธุรกิจง่ายขึ้น อย่าง AWS ก็มีโปรแกรม AWS Activate นำเสนอเครื่องมือ ทรัพยากร และอื่น ๆ ที่ช่วยให้เริ่มใช้งาน AWS สำหรับสตาร์ทอัพโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ดังนั้น คนเลยมาเป็นเจ้าของธุรกิจได้ง่ายขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องโฟกัสที่ ‘โปรดักต์’ ให้เหนือกว่าคู่แข่งได้มากที่สุด

ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท ไลน์แมน วงใน จำกัด

องค์กรใหญ่แข็งแกร่งเกินไป

กรวัฒน์ เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมิตี้ ยอมรับว่า อีกหนึ่งที่เป็นอุปสรรคของการเกิดสตาร์ทอัพไทยก็คือ องค์กรใหญ่ ‘แข็งแกร่ง’ เกินไป โดยที่ผ่านมามีการลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อปรับตัวอย่างเร็วมาก อาทิ ธนาคารที่ปรับตัวเร็วมาก จึงเป็นเรื่องยากขึ้นที่จะมีสตาร์ทอัพใหม่ ๆ เกิดขึ้นมา

ขณะที่ ปารดา เสริมว่า เทรนด์ขององค์กรก็เริ่มเลือกที่จะไม่ลงทุนในสตาร์ทอัพหรือสร้างโปรแกรมบ่มเพาะสตาร์ทอัพแล้ว เพราะส่วนหนึ่งเกิดจากทำแล้ว ‘ไม่ตอบโจทย์’ องค์กร ดังนั้นจึงหันมาทำยูนิตย่อยของตัวเองดีกว่า อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าองค์กรยังต้องการสตาร์ทอัพมาตอบโจทย์ดีมานด์ของเขา ดังนั้นยังมีโอกาสอีกมากที่จะเป็นพาร์ตเนอร์หรือปลั๊กอินกับองค์กรใหญ่ ๆ ได้

Dtac Accelerrate อดีตโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพของดีแทค

ติดกับดัก Mind Set จึงเป็น ‘ยูนิคอร์น’ ยาก

แน่นอนว่าสูตรการเป็น ‘ยูนิคอร์น’ หรือบริษัทที่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ ยอด ระบุว่า หากพิจารณาจากยูนิคอร์นที่เกิดในภูมิภาคจะพบว่ามี 3 ปัจจัย 1. มาร์เก็ตไซส์ที่ใหญ่พอ อย่างประเทศอินโดนีเซียที่มีประชากรกว่า 270 ล้านคน ดังนั้น แค่ไซส์ของประเทศก็ทำเป็นยูนิคอร์นได้ด้วยตัวเอง 2. โมเดลเป็นแบบ B2C เนื่องจากมีจำนวนการใช้งานมากกว่า B2B แน่นอน และ 3. ต้องสร้างคุณค่าให้กับผู้บริโภคมากพอที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้งาน

“อีกหนึ่งปัญหาของสตาร์ทอัพไทยก็คือ ‘Mind Set’ ที่ไม่คิดไปไกลกว่าประเทศไทยตั้งแต่แรก ไม่เหมือนสิงคโปร์กับมาเลเซียที่คิดไประดับภูมิภาคตั้งแต่แรกเพราะประเทศเขาเล็ก ดังนั้นความสามารถในการแข่งขันของสตาร์ทอัพไทยจึงไม่สูงตั้งแต่ต้น”

ด้าน กรวัฒน์ เห็นด้วยว่าการเป็นสตาร์ทอัพที่เจาะตลาด B2B มีโอกาสเป็นยูนิคอร์นยาก เพราะมูลค่าการใช้จ่ายขององค์กรของอาเซียนน้อยกว่า ‘อังกฤษ’ ประเทศเดียวด้วยซ้ำ ดังนั้นต้องโฟกัสที่ ‘ตลาดโลก’ ไปเลย และจากที่ศึกษาการเติบโตของสตาร์ทอัพในกลุ่ม B2B ที่ประสบความสำเร็จพบว่าต้องเป็น The Best ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งไปเลย ตัวอย่างเช่น ‘Zoom’ ที่เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอคอนเฟอเรนซ์แต่ประสบความสำเร็จกว่าผู้เล่นอื่น ๆ เพราะ ทำได้ดีกว่าทุกคน แม้จะนิดเดียวแต่ก็สร้างการเติบโตได้มหาศาล

ถึงเวลา Re-Think เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส

กรวัฒน์ ทิ้งท้ายว่า แม้ปีที่ผ่านมาจะเป็นปีที่ยากของสตาร์ทอัพ แต่นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดของโลก ดังนั้น พยายามหาโอกาสในวิกฤตนี้ให้ได้ ดังนั้น นี่เป็นเวลาที่จะ Re Think ธุรกิจ และคำแนะนำของ ‘Mentor’ เป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ สำหรับจุดเริ่มต้นการเป็นสตาร์ทอัพนั้น เพราะจะช่วยแชร์ประสบการณ์ถึงปัญหาและอุปสรรคที่เคยเจอจะช่วยให้ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น ดังนั้น การเชื่อมกันระหว่างสตาร์ทอัพและ Mentor จึงสำคัญมาก

ด้าน ปารดาเสริมว่า ไม่อยากให้สตาร์ทอัพโฟกัสกับการเป็น ‘ยูนิคอร์น’ เพราะปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้เป็นหรือไม่เป็นยูนิคอร์นก็คือ ‘เงินลงทุน’ ดังนั้น อยากให้ทำธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนมากกว่า สุดท้ายแล้วการเป็นยูนิคอร์นไม่ได้สำคัญขนาดนั้น

]]>
1313311