ยันฮี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 09 Aug 2023 09:12:26 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ยันฮี” ทำธุรกิจอะไรบ้าง? https://positioningmag.com/1440446 Wed, 09 Aug 2023 09:12:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1440446
“ทุกโรงพยาบาลสนใจการทำธุรกิจที่ไม่ใช่โรงพยาบาล (non-hospital) กันหมด เพราะการมีรายได้ทางเดียวจะเสี่ยงมาก ยกตัวอย่างช่วงโควิด-19 เห็นผลชัด เพราะคนไม่กล้ามาโรงพยาบาล แต่เราได้ธุรกิจที่ไม่ใช่โรงพยาบาลมาชดเชย เช่น อาหารเสริม น้ำวิตามิน” – นพ.สุพจน์ สัมฤทธิวณิชชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาลยันฮี
 
——————
ยันฮี
1.โรงพยาบาลยันฮี
 
ก่อตั้งมานาน 37 ปี ทำเลที่ตั้งบนถนนจรัญสนิทวงศ์ มีชื่อเสียงด้านการศัลยกรรมความงาม
 
“แหล่งรายได้”
70% ศัลยกรรมความงาม
30% รักษาโรคอื่นๆ
 
“3 อันดับการศัลยกรรมที่ให้บริการมากที่สุด”
1) เสริมจมูก
2) ทำตา
3) เสริมหน้าอก
 
“สัดส่วนลูกค้า”
85-90% ชาวไทย
10-15% ชาวต่างชาติ
 
“5 อันดับชาวต่างชาติที่ใช้บริการมากที่สุด”
1) เมียนมา
2) เวียดนาม
3) จีน
4) กัมพูชา
5) อื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น UAE
 
(Tips: ลูกค้าต่างชาติเกิน 90% มาใช้บริการศัลยกรรมความงาม)
 
——————
 
ยันฮี
2.โซลาร์ฟาร์ม
 
ถือเป็นอีกหนึ่งรายได้ที่มั่นคงของบริษัท โดยเริ่มก่อตั้ง บริษัท ยันฮี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด มาตั้งแต่ปี 2553 และมีการร่วมทุนกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจพลังงานต่างๆ เช่น บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง
 
——————
 
3.ยาและเครื่องสำอาง
 
ดำเนินการภายใต้ บริษัท ยาอินไทย จำกัด มานานกว่า 2 ทศวรรษ ผลิตยาสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง เพื่อจำหน่ายในโมเดิร์นเทรดและอีคอมเมิร์ซ
 
——————
 
4.เครื่องดื่ม
 
ภายใต้ บริษัท ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ จำกัด และมีการร่วมทุนกับ บมจ.โอสถสภา ใน บริษัท โอสถสภา ยันฮี เบเวอเรจ จำกัด เน้นสินค้าเครื่องดื่มที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ เช่น ยันฮี วิตามิน บี วอเตอร์, ยันฮี วิตามิน ซี วอเตอร์, ยันฮี แคลเซียม วอเตอร์
 
บริษัทมีโรงงานผลิตเครื่องดื่มของตนเอง กำลังการผลิตสูงสุด 300 ล้านขวดต่อปี
 
——————
#ยันฮี #โรงพยาบาลยันฮี #โมเดลธุรกิจ #Positioningmag
]]>
1440446
“ยันฮี” แก้เกมตลาดน้ำวิตามินชะลอตัว ออกโปรดักส์ใหม่ “แคลเซียม วอเตอร์” เจาะกลุ่มครอบครัว https://positioningmag.com/1439861 Fri, 04 Aug 2023 08:01:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1439861 “ยันฮี” แบรนด์ดั้งเดิม “น้ำวิตามิน” ต้องพลิกกลยุทธ์แก้เกมเมื่อตลาดเริ่มชะลอตัว ออกโปรดักส์ใหม่ “แคลเซียม วอเตอร์” เจาะกลุ่มครอบครัว แย้มปี 2566 ยังมีโปรดักส์ใหม่อีก 2 รายการรอออกสู่ตลาด ทั้งที่อยู่ภายใต้บริษัทร่วมทุน “โอสถสภา” และที่ผลิตจำหน่ายเอง

แบรนด์น้ำวิตามินเจ้าเก่าอย่าง “ยันฮี” เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในเครือ “ยันฮี แคลเซียม วอเตอร์” เป็นน้ำผสมแร่ธาตุแคลเซียม ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคที่มีปัญหาในการทานแคลเซียมจากแหล่งอื่น เช่น แพ้แลคโตสในนมวัว แคลเซียมเม็ดฟู่ทำให้เกิดอาการท้องอืด โดยเป็นผลิตภัณฑ์แต่งกลิ่นและรสโยเกิร์ต ช่วยให้ดื่มง่ายขึ้น

นพ.สุพจน์ สัมฤทธิวณิชชา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ จำกัด และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอสถสภา ยันฮี เบเวอเรจ จำกัด กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ใหม่ “ยันฮี แคลเซียม วอเตอร์” เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการแคลเซียมสูง เช่น ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน ผู้ที่มีภาวะกระดูกบาง ซึ่งภาวะเหล่านี้เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย แม้แต่ในวัยหนุ่มสาวก็มีคนที่เป็นโรคกระดูกบางเช่นกัน

กลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์นี้จึงมองว่าน่าจะเป็นกลุ่มครอบครัว เพราะสามารถทานได้ทุกคน แต่เป้าหมายหลักน่าจะเป็นกลุ่ม ‘คุณแม่’ ซึ่งมักจะเป็นผู้ซื้อสินค้าเพื่อบำรุงสุขภาพให้กับทุกคนในบ้าน

ยันฮี แคลเซียม วอเตอร์
ยันฮี แคลเซียม วอเตอร์

ทพญ.สุชาวดี สัมฤทธิวณิชชา กรรมการบริหาร บริษัท ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ จำกัด และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอสถสภา ยันฮี เบเวอเรจ จำกัด กล่าวว่า ยันฮี แคลเซียม วอเตอร์ ถือเป็นน้ำดื่มแคลเซียมเจ้าแรกในไทย ปัจจุบันมีวางจำหน่ายแล้วที่ 7-Eleven เป็นขนาดบรรจุ 460 มล. ราคา 25 บาท แต่ตั้งแต่เดือนกันยายนนี้จะมีขนาดบรรจุ 350 มล. ราคา 17 บาท ออกจำหน่ายในโมเดิร์นเทรดและร้านค้าดั้งเดิมทั่วประเทศด้วย

โอกาสการสร้างยอดขายของยันฮี แคลเซียม วอเตอร์นั้น จะขึ้นอยู่กับการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของแคลเซียมของผู้บริโภค ทำให้บริษัทมีงบการตลาด 60 ล้านบาทเตรียมไว้เพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์และให้ความรู้

รวมถึงมีการจัด “โครงการเสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรง” เปิดรับอาสาสมัคร 100 ท่านในวัย 30-60 ปี เพื่อมาทดลองดื่มยันฮี แคลเซียม วอเตอร์ ติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อพิสูจน์ว่าสามารถสร้างมวลกระดูกเพิ่มขึ้นได้จริงหรือไม่

 

ตลาด “น้ำวิตามิน” เริ่มโตช้า

การออกผลิตภัณฑ์น้ำผสมแร่ธาตุใหม่ๆ อย่าง “แคลเซียม” ของยันฮี นับได้ว่าเป็นการแก้เกม หาทางเลือกที่หลากหลายขึ้น เจาะความต้องการอื่นของผู้บริโภคในตลาดท่ามกลางตลาดที่เริ่มโตช้าลงของกลุ่มน้ำวิตามิน

ทพญ.สุชาวดี ให้ข้อมูลว่า ตัวเลขตลาดน้ำดื่มผสมวิตามินในไทยปีนี้น่าจะมีมูลค่าตลาดราว 1,900 ล้านบาท ซึ่งยอมรับว่าตลาดเริ่มโตช้าลง ถ้าเทียบกับปีที่ตลาดเคยพีคสูงสุด มูลค่าตลาดน้ำวิตามินเคยพุ่งไปมากกว่า 2,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าน้ำวิตามินแบรนด์ “ยันฮี” ยังเป็นอันดับต้นๆ ในตลาดนี้

ขณะที่ข้อมูลสถิติเก่าปี 2563 จาก “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” เคยประเมินว่า น้ำดื่มผสมวิตามินในปีนั้นน่าจะมีมูลค่าตลาดขึ้นไปแตะ 5,500 ล้านบาท สะท้อนภาพความผันผวนของน้ำดื่มผสมวิตามินที่เปลี่ยนแปลงเร็ว

นพ.สุพจน์ สัมฤทธิวณิชชา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ จำกัด และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอสถสภา ยันฮี เบเวอเรจ จำกัด และทพญ.สุชาวดี สัมฤทธิวณิชชา กรรมการบริหาร บริษัท ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ จำกัด และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอสถสภา ยันฮี เบเวอเรจ จำกัด

ตลาดน้ำดื่มผสมวิตามินเคยเฟื่องฟูอย่างมากเนื่องจากโควิด-19 เป็นตัวแปรสำคัญทำให้คนไทยหันมาใส่ใจสุขภาพ จึงนิยมทานอาหารเสริมที่มีสรรพคุณช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ยังผลให้น้ำดื่มผสมวิตามินยอดขายพุ่งจนสารพัดแบรนด์ต่างเข้ามาขอชิงเค้ก

ปัจจุบันน้ำดื่มผสมวิตามินที่ถือว่าเป็นผู้นำในตลาด ได้แก่ วิตอะเดย์ ของเจเนอรัล เบฟเวอเรจ, ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ ของโรงพยาบาลยันฮี, บลู ของเซปเป้, น้ำด่าง 8.5 ของอิชิตัน และยังมีอีกหลายแบรนด์ที่กำลังพยายามตีตลาดเหมือนกัน เช่น อควาวิตซ์ ของศรีนานาพร, แมนซั่ม ของกลุ่มทีซีพี, น้ำดื่มวิตามินของโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ เป็นต้น

 

จับมือ “โอสถสภา” ออกผลิตภัณฑ์เพิ่ม

สำหรับผลิตภัณฑ์ “ยันฮี แคลเซียม วอเตอร์” ถือเป็นผลิตภัณฑ์ลำดับที่สองที่อยู่ภายใต้ บริษัท โอสถสภา ยันฮี เบเวอเรจ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บมจ.โอสถสภา (ถือหุ้น 55%) และ บริษัท ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ จำกัด (ถือหุ้น 45%) ก่อตั้งเมื่อปี 2565

นพ.สุพจน์กล่าวว่ากระบวนการทำงานร่วมกันของยันฮีกับโอสถสภา คือทางยันฮีจะคิดค้นวิจัยผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ด้านสุขภาพประชาชน จากนั้นนำเสนอกับทางโอสถสภา หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทับซ้อนกับที่โอสถสภามีการผลิตจำหน่ายอยู่แล้ว และมองเห็นลู่ทางการตลาดร่วมกัน ก็จะนำมาผลิตจำหน่ายภายใต้บริษัทร่วมทุนนี้

เหตุผลที่ทางยันฮีสนใจร่วมทุนกับโอสถสภา เนื่องจากเป็นบริษัทที่สนใจด้านเครื่องดื่มสุขภาพเช่นเดียวกัน และโอสถสภามีเครือข่ายการกระจายสินค้าที่แข็งแกร่งทั่วประเทศ

ยันฮี วิตามิน วอเตอร์
ผลิตภัณฑ์ของยันฮี วิตามิน วอเตอร์

โดยผลิตภัณฑ์แรกที่อยู่ภายใต้บริษัทนี้คือ น้ำกัญชายันฮี ปัจจุบันชะลอการผลิตออกไปก่อน หลังจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและกระแสสังคมดูยังไม่แน่นอน ส่วนยันฮี แคลเซียม วอเตอร์เป็นผลิตภัณฑ์ที่สอง และในปีนี้จะมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ลำดับที่สามภายใต้บริษัทร่วมทุน

ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ยันฮีผลิตและจำหน่ายเองก็ยังคงมีอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ยันฮี วิตามิน บี วอเตอร์ และ ยันฮี วิตามิน ซี วอเตอร์ รวมถึงในเดือนกันยายนนี้จะมีโปรดักส์ใหม่ที่ยันฮีผลิตและจำหน่ายเอง คือ เครื่องดื่มผสมแอลคาร์นิทีน ช่วยในการสลายไขมัน

ยันฮีระบุว่า โรงงานผลิตของบริษัทมีกำลังผลิตสูงถึง 300 ล้านขวดต่อปี ทำให้กำลังผลิตของบริษัทยังคงมีเพียงพอในการขยายไลน์ผลิตภัณฑ์ได้อีกมากจากนี้

]]>
1439861
10 ความลับ “ยันฮี วิตามินวอเตอร์” ผู้บุกเบิกตลาดน้ำผสมวิตามินในไทย https://positioningmag.com/1290678 Mon, 03 Aug 2020 13:30:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1290678 พามาเจาะ 10 ความลับที่หลายคนยังไม่รู้ของ “ยันฮี วิตามินวอเตอร์” ผู้บุกเบิกตลาดน้ำผสมวิตามินรายแรกๆ ในไทย ล่าสุดได้ออกสูตรใหม่น้ำผสมวิตามินซี ตอบรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ดูแลสุขภาพมากขึ้น

งานนี้ “เจษฏา อุดมถิรพันธุ์” ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ จำกัด เป็นผู้เล่าเรื่องราวต่างๆ ของยันฮี วิตามินวอเตอร์ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน…

1. คิดค้นโดยหมอสุพจน์ CEO ยันฮี

ยันฮี วิตามินวอเตอร์ได้เริ่มคิดค้นในปี 2557 โดยเจ้าของไอเดียคือ “นพ.สุพจน์ สัมฤทธิวณิชชา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาลยันฮีนั่นเอง ไอเดียมาจาก Pain Point ของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ซึ่งหมอสุพจน์เห็นว่าคนไข้หลังผ่าตัดจะอยู่ในภาวะอ่อนแอ เพราะเสียเลือดเยอะ หมอก็ทำการจ่ายยาวิตามินเพื่อฟื้นฟู แต่ผู้ป่วยจะไม่ค่อยยอมกินยา เพราะมีเม็ดขนาดใหญ่

หมอสุพจน์จึงหาวิธีทดแทนการกินยา เพื่อไม่อยากให้ผู้ป่วยอ่อนแอลงไปอีก จึงคิดค้นน้ำวิตามิน และจ่ายน้ำวิตามินแทนยา เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็ว

นพ.สุพจน์ สัมฤทธิวณิชชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาลยันฮี
นพ.สุพจน์ สัมฤทธิวณิชชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาลยันฮี

2. เริ่มจากคนป่วย ขยายไปยังคนทั่วไป

จุดประสงค์หลักของยันฮี วิตามินวอเตอร์ก็คือตอบโจทย์คนไข้ในโรงพยาบาล ตอนแรกยังไม่คิดถึงขั้นทำตลาดขายข้างนอกอย่างจริงจัง จนมีผู้ป่วยหลายๆ เคสดื่มน้ำวิตามินแล้วติดใจ เพราดื่มแล้วสดชื่น ฟื้นตัวได้เร็ว ผู้ป่วยเริ่มติด จนเริ่มถามว่ามีทำขายหรือไม่ จนมาประชุมกันว่าจะทำขายอย่างไรดี ในตอนแรกผู้ป่วยเป็นคนสั่ง แล้วไปขายต่อๆ กัน จนคนทั่วไปรู้จัก

3. ทำไมต้องเริ่มที่วิตามินบี

จะเห็นว่าน้ำผสมวิตามินในตลาด ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำผสมวิตามินบีเป็นหลัก ของยันฮี วิตามินวอเตอร์ในสูตรดั้งเดิมก็เป็นน้ำผสมวิตามินบี เหตุผลที่หลายเจ้าเลือกวิตามินตัวนี้เพราะเป็นวิตามินสำคัญ ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า เข้าไปเสริมสร้างร่างกายไม่ให้อ่อนแอ

โดยที่สูตรจะเป็นน้ำใส่สมุนไพรสกัด เช่น เก๊กฮวยสกัด ทำให้มีกลิ่นสดชื่น

4. ขวดมาจาก “ขวดยา” ที่ใช้ในโรงพยาบาล

ขวดสีฟ้า มีฝาแบบคล้องนิ้วได้ ค่อนข้างจะเป็นดีไซน์แบบสปอร์ต แต่จริงๆ แล้วไอเดียหลักของขวดนี้มาจาก “ขวดยา” ที่ไว้ใช้ในโรงพยาบาลนั่นเอง ทำการเปลี่ยนฝาให้จับง่าย คล้องกระเป๋าได้ หรือใส่กระเป๋าได้ง่าย มีสีสันสดใสมากขึ้น

5. ทำไมต้อง 17 บาท

เป็น Price Point ที่ไม่ค่อยเห็นในตลาดมากนัก เพราเป็นตัวเลขที่เป็นเศษ ส่วนใหญ่การตั้งราคาในตลาดจะเป็นเลขที่ลงตัว 15, 20 หรือ 25 บาทไปเลย

การตั้งราคาที่ 17 บาทนั้น มาจากที่หมอสุพจน์บอกว่า ไม่ต้องการเอาเปรียบผู้บริโภค จริงๆ สามารถขาย 20 บาทก็ได้ แต่ขาย 17 บาทพอ ไม่อยากเอากำไรมาก เป็นราคาที่ลูกค้าจ่ายได้

6. ชื่อแบรนด์มีความน่าเชื่อถือ

นอกจากตลาดในโรงพยาบาลแล้ว ยันฮี วิตามินวอเตอร์ยังแข็งแกร่งในตลาดต่างจังหวัด เพราะความแข็งแกร่งของชื่อแบรนด์ ทำให้มีความน่าเชื่อถือ

เจษฎาบอกว่า “แบรนด์เป็นชื่อเดียวกับโรงพยาบาล ทำให้มีความน่าเชื่อถือ สำหรับคนในต่างจังหวัดเขาแยกไม่ออกว่าอันนี้น้ำแร่ น้ำเปล่า หรือมาตรฐาน GMP แต่เขารู้แค่ว่านี่คือน้ำของโรงพยาบาล เลยเลือกอันนี้ดีกว่า” เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เติบโตในต่างจังหวัดได้ดี

7. เร่งขยายช่องทางจัดจำหน่าย

ในช่วงแรกยันฮี วิตามินวอเตอร์มีจำหน่ายแค่ในโรงพยาบาล และค่อยๆ ขยายออกมายังช่องทางอื่นๆ เทรดิชันนอลเทรด และโมเดิร์นเทรด ปัจจุบันมีสัดส่วนยอดขายจากเทรดิชันนอลเทรด (ร้านโชห่วยทั่วไป) 60-70% และโมเดิร์นเทรด 30-40%

แต่เทรนด์ในโมเดิร์นเทรดเริ่มเติบโตมากขึ้น ทั้งในร้านสะดวกซื้อ และร้านขายส่งอย่างแม็คโคร เพราะลูกค้าให้การตอบรับดีมากขึ้น

ในปีนี้ได้ทำการขยายกำลังการผลิต เพื่อตอบรับเทรนด์เพื่อสุขภาพ ขยายช่องทางจัดจำหน่ายมากขึ้น ขยายโมเดิร์นเทรดมากขึ้น เพื่อขยายฐานคนเมือง จากปกติลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วย และคนต่างจังหวัด แต่มองว่าอยากทำช่องทางการขายเอง เพราะการเข้าร้านค้าปลีกต้องมีเสียค่า GP ยิ่งทำให้กำไรน้อยลงไปอีก

8. ออกสูตรวิตามินซีในรอบ 6 ปี

สำหรับทีม R&D ของยันฮี วิตามินวอเตอร์เป็นทีมแพทย์ และนักโภชนาการ จะพบว่าในปัจจุบันผู้ป่วยมาหาหมอด้วยโรคภูมิแพ้เยอะขึ้น เลยคิดออกสูตร “วิตามินซี” ขึ้นมาสูตรใหม่ เป็นสินค้าใหม่ในรอบ 6 ปี

ล่าสุดได้เปิดตัว “ยันฮี วิตามิน ซี วอเตอร์ (Yanhee Vitamin C Water)” น้ำดื่มผสมวิตามินซี 200% ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และสมุนไพรสกัด ส่งผลให้ไม่ป่วยหรือเป็นหวัดได้ง่าย เพิ่มความต้านทานต่อโรคหัวใจ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย และเป็นตัวกระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิตของผิวพรรณ เสริมสร้างคลอลาเจน ทำให้ผิวพรรณดูสดใสไม่แห้งกร้าน

9. ขอโตแบบมั่นคง ไม่หวือหวา

ตอนนี้ในตลาดน้ำผสมวิตามินกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก มีผู้เล่นหลายรายลงมาจับตลาดนี้ ทำให้หลายคนมองว่าจะมาเร็วไปเร็วเหมือนกับตลาดอื่นหรือไม่

เจษฎามองว่า พยายามทำให้ตลาดเติบโตอย่างมั่นคง ไม่อยากเป็นแบบตลาดฟังก์ชันนอลดริ้งก์ที่โตเร็ว และลงเร็ว แต่น้ำวิตามินมีจุดเด่นคือสามารถดื่มทดแทนน้ำเปล่าได้ ไม่มีข้อจำกัดเหมือนฟังก์ชันนอลดริ้งก์ หรือวิตามินแบบช็อตที่มีปริมาณดื่มแบบจำกัด รูปแบบการบริโภคต่างกันด้วย

"เจษฏา อุดมถิรพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ จำกัด
“เจษฏา อุดมถิรพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ จำกัด

10. ตลาดคึกคัก เหยียบ 5,000 ล้าน

จากเทรนด์การดูแลสุขภาพของผู้บริโภคในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประกอบกับช่วง COVID-19 คนยิ่งตื่นตัวเรื่องการดูแลสุขภาพมากขึ้น หลายแบรนด์ลงมาทำตลาดนี้มากขึ้นเช่นกัน ทำให้มีการคาดการณ์ว่าตลาดน้ำผสมวิตามินในปีนี้จะมีมูลค่าแตะ 5,500 ล้านบาท โดยที่ยันฮี วิตามินวอเตอร์ คาดมีรายได้ 3,000 – 4,000 ล้านบาท และมาจากอีก 2 แบรนด์ ที่มีการตั้งเป้ารายได้ที่คนละ 1,000 ล้านบาท

]]>
1290678