ยา – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 12 May 2021 11:59:21 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ส่อง 4 อุตสาหกรรมเตรียมรับ ‘แรงกระแทก’ จากวิกฤตระบาดหนักในอินเดีย https://positioningmag.com/1331703 Wed, 12 May 2021 09:35:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331703 สิ่งที่หลายคนห่วงหลังจากที่ ‘อินเดีย’ กำลังเผชิญกับวิกฤต COVID-19 ระลอกใหม่ที่ยังไม่มีทีท่าจะดีขึ้นในเร็ววัน ก็คือ เชื้อเชื้อ ‘สายพันธุ์อินเดีย’ (B.1.617) ทาง ‘องค์การอนามัยโลก’ (WHO) เป็น “ภัยคุกคามต่อสุขภาพในระดับโลก” นั้น จะลุกลามไปทั่วโลกหรือไม่ แต่อีกสิ่งที่เป็นปัญหาก็คือ ‘อุตสาหกรรม’ ต่าง ๆ เพราะในอินเดียมีหลายอุตสาหกรรมที่ทั่วโลกต้องพึ่งพาอินเดีย ตั้งแต่เสื้อผ้า, ยา ไปจนถึงบริการทางการเงินและการขนส่งสินค้าทั่วโลก

การขนส่ง

การค้าโลกประมาณ 80% จะขนส่งไปบนเรือ ซึ่งอินเดียถือเป็นประเทศที่จัดหาลูกเรือจำนวนมาก โดย Guy Platten เลขาธิการหอการค้านานาชาติ เปิดเผยว่า ลูกเรือกว่า 200,000 คนจากประมาณ 1.7 ล้านคนทั่วโลกมาจากอินเดีย หลายคนมีตำแหน่งและบทบาทที่ต้องใช้ทักษะที่สำคัญ

เนื่องจากหลายประเทศสั่งห้ามเที่ยวบินจากอินเดีย จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะขนย้ายคนงานชาวอินเดียไปยังท่าเรือทั่วโลกและเปลี่ยนลูกเรือ ดังนั้น ถ้าวิกฤตดังกล่าวยังไม่ดีขึ้นอาจนำไปสู่การขาดแคลนลูกเรือ ซึ่งจะส่งผลต่อระบบซัพพลายเชนทั่วโลก นอกจากนี้อาจเจอปัญหา ‘วิกฤตด้านมนุษยธรรม’ เนื่องจากลูกเรือจะไม่สามารถออกจากเรือและกลับบ้านได้

ภาพจาก Shutterstock

ที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของโรคระบาดทำให้การขนส่งสินค้าทั่วโลกตกอยู่ในความปั่นป่วน และเมื่อปีที่แล้วโดยมีนักเดินเรือเกือบ 200,000 คนติดค้างอยู่เป็นเวลาหลายเดือนเนื่องจากการปิดท่าเรือและเครื่องบิน

วัคซีนและยาอื่น ๆ

การขับเคลื่อนการฉีดวัคซีนของโลกกำลังได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากการระบาดในอินเดีย เพราะโดยทั่วไปแล้วอินเดียจะผลิตวัคซีนมากกว่า 60% ของวัคซีนทั้งหมดที่จำหน่ายทั่วโลก เนื่องจากอินเดียเป็นที่ตั้งของ Serum Institute of India (SII) ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัคซีนที่ใหญ่ที่สุดในโลก 

ด้วยความสามารถในการผลิตจึงเป็นสาเหตุให้อินเดียเป็นประเทศหลักในการผลิตวัคซีน COVID-19 ในโครงการ COVAX ซึ่งเป็นโครงการที่จะแจกจ่ายวัคซีน COVID-19 ในราคาถูกหรือฟรีสำหรับประเทศที่มีรายได้ต่ำ โดย SII ได้ตกลงว่าจะผลิตวัคซีนโควิดมากถึง 200 ล้านโดสเพื่อป้อนให้ 92 ประเทศ แต่ด้วยประชากรอินเดียเพียง 2% ที่ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างครบถ้วน รัฐบาลและ SII จึงเบรกการกระจ่ายวัคซีนให้ประเทศอื่น ๆ และเน้นไปที่พลเมืองอินเดียก่อน

(Photo by Sunil Ghosh/Hindustan Times via Getty Images )

แต่ไม่ใช่แค่การขาดแคลนวัคซีน COVID-19 แต่การระบาดอาจมีผลกระทบอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมยาทั่วโลกอีกด้วย เพราะอินเดียเป็นผู้จัดหายาสามัญรายใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้อินเดียยังเป็นผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่สุดของโลกครอง 60% ของตลาด ขณะที่ผู้ผลิตยาของอินเดียได้รับวัตถุดิบจากจีนมากถึง 70% แต่เมื่อปลายเดือนเมษายนสายการบินเสฉวนของจีนระงับเที่ยวบินขนส่งสินค้าไปยังอินเดียเป็นเวลา 15 วัน นั่นทำให้กลุ่มส่งออกยาชั้นนำของอินเดีย ต้องเขียนจดหมายถึงสถานทูตของอินเดียในปักกิ่งเพื่อเรียกร้องให้จัดการปัญหา

เสื้อผ้า

อินเดียเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกสิ่งทอที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นผู้ส่งออกเสื้อผ้าเครื่องหนังรายใหญ่อันดับ 2 และเป็นผู้ส่งออกเครื่องหนังรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก นอกจากนี้ยังเป็นผู้ผลิตรองเท้ารายใหญ่รองจากจีน โดยผลิตรองเท้าเกือบ 3 พันล้านคู่ต่อปี โดยอินเดียถือเป็นศูนย์กลางการผลิตเสื้อผ้าแบรนด์เนมหลายราย อาทิ New Balance และ Nordstrom แต่จากวิกฤต COVID-19 ทำให้พนักงานที่มีทักษะและกึ่งฝีมือเกือบ 50% ต้องหยุดงาน

ภาพจาก Shutterstock

“นี่เป็นครั้งแรกที่คนรุ่นเราประสบกับเหตุการณ์เช่นนี้ ไม่มีใครเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่น่ากลัวนี้” Arpit Aryan Gupta หุ้นส่วนและหัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจใหม่ของผู้ผลิตเครื่องแต่งกาย NG Apparels กล่าว

ที่ผ่านมา การบริโภคและการส่งออกของอุตสาหกรรมเสื้อผ้าในประเทศในปีที่แล้วลดลง 30% และ 24% ตามลำดับ ขณะที่ปีนี้สถานการณ์ยังไม่ทันฟื้นตัวก็เจอผลกระทบอีกครั้ง ซึ่งอาจนำไปสู่การปิดตัวลงครั้งใหญ่และการขาดแคลนพนักงานที่มีทักษะ

Outsource บริการทางการเงิน

อินเดียมีความสำคัญในฐานะศูนย์กลาง งานหลังบ้าน โดยบริษัทหลายแห่งได้จ้างงาน Outsource เทคโนโลยีสารสนเทศและการดำเนินงานจำนวนมากในอินเดีย เนื่องจากพนักงานที่มีการศึกษาและต้นทุนแรงงานที่ถูกกว่า โดยผู้คนเกือบ 4.4 ล้านคนในประเทศทำงานเป็น Outsource ด้านไอทีและการจัดการกระบวนการทางธุรกิจตามข้อมูลของ National Association of Software and Service Companies ซึ่งเป็นองค์กรการค้า

ภาพจาก shutterstock

โดยบริษัทอย่าง Goldman Sachs และ Wells Fargo ก็เป็น 2 บริษัทที่ใช้งาน Outsource ในอินเดีย แม้ว่า 2  บริษัทจะมีมาตรการ Work from Home แต่การทำงานจากที่บ้านในช่วงที่เกิดโรคระบาดนั้นมีความซับซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพนักงานต้องดูแลญาติที่ป่วย นอกจากนี้ยังมีความท้าทายเกี่ยวกับความปลอดภัยและการปกป้องข้อมูล เนื่องจากพนักงานอาจจัดการข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของบริษัทหรือลูกค้า

ดังนั้น หลายบริษัทจึงเลือกที่จะย้ายการทำงานไปยังประเทศอื่น ๆ ที่ประชากรมีทักษะภาษาอังกฤษดี ขณะเดียวกันบางบริษัทก็ตัดปัญหาด้วยการหันไปลงทุนกับระบบอัตโนมัติและ AI แทน

Source

]]>
1331703
‘Sanofi’ เตรียมทุ่ม 400 ล้านยูโร ตั้งโรงงานผลิตวัคซีนใน ‘สิงคโปร์’ รองรับโรคระบาดในอนาคต https://positioningmag.com/1327778 Tue, 13 Apr 2021 08:43:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327778 ‘Sanofi’ บริษัทยายักษ์ใหญ่จากฝรั่งเศส ลงทุนหนักหลังตามไม่ทันคู่เเข่ง เตรียมทุ่ม 400 ล้านยูโร (ราว 1.5 หมื่นล้านบาท) สร้างโรงงานเเห่งใหม่ในสิงคโปร์ภายในช่วง 5 ปีนี้ เพื่อผลิตวัคซีนหลายชนิด รองรับโรคระบาดในอนาคต

Sanofi ระบุว่าการขยายโรงงานดังกล่าว เป็นไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตวัคซีนจำนวนมหาศาลในเอเชีย พร้อมตอบสนองต่อความเสี่ยงจากการเเพร่ระบาดเเบบใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก

คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ พร้อมดำเนินการได้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2026 โดยส่วนใหญ่จะผลิตเพื่อนำมาใช้ในเอเชีย เเละเสริมกำลังการผลิตที่มีอยู่ของบริษัทในยุโรปและอเมริกาเหนือ

จุดเด่นของโรงงานใหม่ในสิงคโปร์เเห่งนี้ คือจะสามารถผลิตวัคซีนได้ 3-4 ชนิด ด้วยต้นทุนที่ลดลง ขณะที่
โรงงานอื่นๆ ของ Sanofi ผลิตวัคซีนได้เเห่งละชนิดเท่านั้น

อีกทั้งยังจะสามารถผลิตวัคซีนชนิดพิเศษขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว ตามสถานการณ์เเละความจำเป็นด้านสาธารณสุข จากแพลตฟอร์มเทคโนโลยีการผลิตที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับชนิดเซลล์ที่แตกต่างกัน 

การดึงดูดลงทุนของภาคเอกชนต่างชาติ เป็นหนึ่งในนโยบายการตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลสิงคโปร์ ที่ก่อนหน้านี้ ประกาศตัวเตรียมเป็น ‘จุดศูนย์กลาง’ ขนส่งวัคซีนไปทั่วภูมิภาค โดยชูความพร้อมทางด้านดิจิทัล

ขณะเดียวกัน Sanofi กำลังสู้กับการเเข่งขันที่ดุเดือดในวงการผู้ผลิตวัคซีน ที่ถูกคู่เเข่งอย่าง Pfizer-BioNTech , Moderna , Johnson & Johnson เเซงหน้าเรื่องการผลิตวัคซีน COVID-19 ไปจึงมีความพยายามที่จะกลับมาชิงตลาดอีกครั้งด้วยการทุ่มลงทุนครั้งใหญ่ ซึ่ง Sanofi เผยว่าวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาของบริษัทจะพร้อมใช้ได้เร็วที่สุดในช่วงปลายปี 2021

 

ที่มา : CNA , Straitstimes

]]>
1327778
ยุคใหม่ของ Kodak เปลี่ยนเเนวจาก “ฟิล์ม” มุ่งสู่ธุรกิจผลิต “ยารักษาโรค” รายใหญ่ของสหรัฐฯ https://positioningmag.com/1289844 Wed, 29 Jul 2020 09:21:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1289844 บริษัทเก่าเเก่ที่เคยรุ่งเรืองด้านการผลิตฟิล์มกล้องถ่ายรูปอย่าง Eastman Kodak กำลังจะก้าวสู่ยุคใหม่ หันมาผลิต “สารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม” ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของการผลิตยารักษาโรค มีความต้องการของตลาดสูงจากวิกฤต COVID-19

โดยบริษัทเพิ่งได้รับอนุมัติเงินกู้มูลค่ากว่า 765 ล้านเหรียญ (ราว 2.4 หมื่นล้านบาท) จากรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนการวิจัยครั้งนี้

ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ต้องพึ่งพาการนำเข้าส่วนประกอบของการผลิตยาจากต่างชาติจำนวนมาก โดยเฉพาะจาก “จีน” และ “อินเดียเมื่อเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ทำให้เหล่าผู้ผลิตต้องจำกัดการส่งออกสารเหล่านี้ซึ่งทำให้สหรัฐฯ ต้องเสี่ยงที่จะขาดเเคลนยา

เเละแม้สารประกอบในการผลิตยาสามัญทั่วโลกจะถูกใช้โดยชาวอเมริกันถึง 40% แต่มีแค่ราว 10% เท่านั้นที่ผลิตในสหรัฐฯ

นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการไม่ต้องพึ่งพายาจากต่างประเทศ Peter Navarro ที่ปรึกษาด้านการค้าประจำทำเนียบขาว ให้สัมภาษณ์กับ Fox Business

Kodak ได้ทำสัญญาร่วมกับ สถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (DFC) ว่าจะรับหน้าที่ผลิตสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม ซึ่งจะใช้ในกระบวนการผลิตยาที่ไม่ใช่ชีววัตถุ (non-biological) ยาที่ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (non-antibacterial) และยาสามัญ สูงสุดถึง 25% ของปริมาณความต้องการในอเมริกา ซึ่งจะทำให้ Kodak กลายเป็นหนึ่งในผู้ผลิตยาชั้นนำของประเทศเลยทีเดียว

โดยจะมีการขยายโรงงานที่นครนิวยอร์กและรัฐมินนิโซตา เพื่อเป็นฐานการผลิตสารสำคัญของตัวยาที่สำคัญ เเละคาดว่าจะเพิ่มการจ้างงานทั้งทางตรงและทางอ้อมได้ถึง 1,500 ตำแหน่ง

Kodak เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งขึ้นมาตั้งเเต่ปี 1888 มีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ราว 114.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เเต่ผลประกอบการไม่สู้ดีนักในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา หลังธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัล เเละสมาร์ทโฟนที่เข้ามามีบทบาทแทนที่กล้องและฟิล์ม โดยการหันทิศทางธุรกิจเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตยาครั้งนี้ จึงถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญที่บริษัทจะกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง 

 

ที่มา : Reuters , AFP , DFC

]]> 1289844