รัฐประหารเมียนมา – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 09 Jul 2021 01:23:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ลาแล้ว 1! “เทเลนอร์” ขายกิจการในเมียนมาให้ M1 Group มูลค่า 105 ล้านเหรียญ https://positioningmag.com/1341445 Thu, 08 Jul 2021 15:09:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341445 เทเลนอร์ (Telenor) ผู้ให้บริการโทรคมนาคมสัญชาตินอร์เวย์ได้ขายกิจการในเมียนมาให้บริษัท M1 Group กลุ่มนักลงทุนจากเลบานอนในมูลค่า 105 ล้านดอลลาร์ หลังจากที่ประเทศที่ตกอยู่ในความโกลาหลวุ่นวายนับตั้งแต่การรัฐประหารในเดือน ก.พ.

“สถานการณ์ที่ย่ำแย่ลงไปอีกและการพัฒนาล่าสุดในเมียนมาเป็นมูลเหตุสำหรับการตัดสินใจขายบริษัท” เทเลนอร์ระบุในคำแถลง

เทเลนอร์ หนึ่งในนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในเมียนมาเป็นบริษัทตะวันตกเพียงไม่กี่รายที่เสี่ยงเดิมพันกับประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้หลังหลุดพ้นจากการปกครองของทหารเมื่อทศวรรษก่อน

เทเลนอร์เริ่มตัดหนี้สูญตั้งแต่เดือน พ.ค. โดยขาดทุนสุทธิ 6,500 ล้านโครน (ราว 752 ล้านดอลลาร์) หลังธุรกิจมือถือถูกจำกัดอย่างรุนแรงหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. และเมื่อวันที่ 15 มี.ค. รัฐบาลทหารได้สั่งปิดข้อมูลมือถือทั่วประเทศ เพื่อให้นักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยจัดการชุมนุม และส่งข้อความสนับสนุนรัฐบาลพลเรือนที่ถูกโค่นล้มได้ยากมากขึ้น

ความรุนแรงนับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ได้ผลักดันให้ประชาชนมากกว่า 230,000 คนต้องอพยพออกจากบ้านเรือนของตนเอง และประชาชนมากกว่า 880 คน ถูกกองกำลังความมั่นคงสังหาร และถูกควบคุมตัวอีก 5,200 คน ตามการระบุของสหประชาชาติ

รัฐบาลทหารยังห้ามผู้บริหารระดับสูงของบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่เดินทางออกจากประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต และกำลังกดดันพวกเขาให้ใช้เทคโนโลยีสกัดกั้น ที่จะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบผู้ใช้งานได้ ตามการระบุของแหล่งข่าวที่เปิดเผยกับรอยเตอร์เมื่อต้นสัปดาห์

“สถานการณ์ในเมียนมาในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมากลายเป็นความท้าทายมากขึ้นสำหรับเทเลนอร์ ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยของพนักงาน กฎระเบียบ และการปฏิบัติตาม” ซิกเว่ เบรกเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเทเลนอร์ กล่าว และว่า การขายกิจการให้ M1 Group จะรับประกันการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

ผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคมสัญชาตินอร์เวย์รายนี้ดำเนินงานอยู่ในแถบนอร์ดิก รวมถึงเอเชีย โดย 95% ของลูกค้ากว่า 187 ล้านคนของบริษัท อยู่ในบังกลาเทศ ปากีสถาน ไทย และมาเลเซีย รวมถึงพม่า

บริษัทมีลูกค้าในเมียนมาอยู่ราว 18 ล้านคน คิดเป็น 1 ใน 3 ของประชากร 54 ล้านคนของประเทศ

ส่วนบริษัท M1 Group ก่อตั้งขึ้นโดยนาจิบ อัซมี มิคาติ อดีตนายกรัฐมนตรีเลบานอน ที่ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท MTN Group ผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ในแอฟริกา แต่มีการดำเนินงานในเอเชียด้วย

อย่างไรก็ตาม บริษัท M1 อยู่ในบัญชีดำขององค์กร Burma Campaign UK ที่ตรวจสอบความสัมพันธ์ทางธุรกิจของบริษัทระหว่างประเทศกับกองทัพพม่า และในรายงานปี 2562 ที่ดำเนินการโดยคณะสอบสวนอิสระระหว่างประเทศที่รายงานต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของกองทัพพม่า พบว่าบริษัท M1 Group มีหุ้นส่วนในบริษัทที่ให้เช่าเสาสัญญาณมือถือกับบริษัท MEC ที่เป็นกิจการของกองทัพ

Source

]]>
1341445
‘เเบงก์ชาติสิงคโปร์’ สั่งธนาคาร จับตาธุรกรรมน่าสงสัยกับ ‘เมียนมา’ หวั่นก่ออาชญากรรมการเงิน https://positioningmag.com/1321984 Thu, 04 Mar 2021 12:10:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321984 ธนาคารกลางสิงคโปร์ เเจ้งสถาบันการเงินภายในประเทศ จับตาธุรกรรมที่น่าสงสัยระหว่างสิงคโปร์กับเมียนมา ทั้งการโอนเงินหรือเงินหมุนเวียนของกองทุน เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับอาชญากรรมทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้ หลังการทำรัฐประหารในเมียนมา

ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ได้ส่งหนังสือเวียน เเจ้งเตือนไปยังผู้เหล่าผู้บริหารของสถาบันการเงินทุกเเห่งในประเทศ ให้ตรวจสอบสถานะกิจการ ประเมินทรัพย์สินของบริษัท (Due Diligence) ของลูกค้ารายสำคัญด้วยความระมัดระวัง และใช้มาตรการลดความเสี่ยงที่เหมาะสมสำหรับสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง 

ความเคลื่อนไหวดังกล่าว เกิดขึ้นท่ามกลางการเดินขบวนประท้วงเพื่อประชาธิปไตยในเมียนมา หลังกองทัพประกาศเข้ายึดอำนาจ

MAS มองว่า สถานการณ์ความรุนแรงในเมียนมา มีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การฟอกเงิน การระดมเงินทุนเพื่อการก่อการร้าย หรืออาจก่ออาชญากรรมทางการเงินประเภทอื่นๆ ได้ ซึ่งหากสถาบันการเงินตรวจพบการทำธุรกรรมที่น่าสงสัย ต้องแจ้งให้ธนาคารกลางทราบในทันที

นอกจากนี้ ยังขอให้สถาบันการเงิน ติดตามความเป็นไปในเมียนมาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วรวมถึงมาตรการคว่ำบาตรต่อเมียนมาของประเทศต่างๆ ด้วย

สิงคโปร์เเละเมียนมา มีเงินไหลเวียนข้ามพรมเเดนระหว่างกันจำนวนมาก เเละมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ใกล้ชิด เเละสิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าไปลงทุนรายใหญ่

ก่อนหน้านี้ลี เซียนลุงนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ กล่าวว่า การที่กองทัพเมียนมาใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมของผู้ประท้วงที่ไม่ติดอาวุธ ถึงขั้นเสียชีวิตเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ พร้อมเสนอให้คณะรัฐประหารปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี และหาทางออกกับสถานการณ์ในประเทศอย่างสันติ

 

ที่มา : Reutersthestar 

]]>
1321984
อังกฤษคว่ำบาตร “พล.อ.อาวุโสมิน อ่อง หล่าย” พ่วง 5 นายพลเอี่ยวรัฐประหาร ห้ามเข้าประเทศ https://positioningmag.com/1321166 Fri, 26 Feb 2021 14:34:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321166 อังกฤษกำหนดมาตรการคว่ำบาตรกับสมาชิกของรัฐบาลทหารพม่าเพิ่มอีก 6 นาย รวมถึง พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด จากการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร

รัฐบาลอังกฤษระบุว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากบทบาทของพวกเขาในการกำกับควบคุมการละเมิดสิทธิมนุษยชน นับตั้งแต่พวกเขาเข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 1 ก.พ.

มาตรการคว่ำบาตรจะทำให้ทั้ง 6 คน ไม่สามารถเดินทางไปอังกฤษได้ และห้ามธุรกิจและสถาบันต่างๆ ของอังกฤษทำการค้าข้อตกลงกับคนเหล่านี้ ส่วนความช่วยเหลือของอังกฤษที่อาจถูกนำไปใช้สนับสนุนรัฐบาลทหารทางอ้อมก็ถูกระงับลงด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ อังกฤษได้กำหนดมาตรการคว่ำบาตรแบบเดียวกันนี้มาแล้วกับเจ้าหน้าที่ทหารคนอื่นๆ 19 นาย

โดมินิก ราบ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ กล่าวว่า มาตรการคว่ำบาตรล่าสุดเป็นการส่งข้อความที่ชัดเจนถึงรัฐบาลทหารในพม่า ซึ่งผู้ที่อยู่เบื้องหลังการละเมิดสิทธิมนุษยชนต้องรับผิดชอบ นอกจากนี้ เขายังเรียกร้องให้รัฐบาลทหารคืนการควบคุมให้แก่รัฐบาลพลเรือน

มาตรการคว่ำบาตรล่าสุดนี้ หมายความว่าสมาชิกของสภาบริหารแห่งรัฐ (SAC) ทุกคนถูกคว่ำบาตร

กระทรวงการต่างประเทศ และการพัฒนาของอังกฤษระบุว่า พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย เป็นผู้ควบคุม และสั่งการการละเมิดสิทธิมนุษยชน หลังมีการชุมนุมประท้วงจากผู้สนับสนุนประชาธิปไตย

ส่วนนายพลอีก 5 นาย ที่ถูกคว่ำบาตรพร้อม พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ประกอบด้วย พล.ท.อ่อง ลิน ดวย เลขานุการ SAC, พล.ท.แย วิน อู เลขานุการร่วม, พล.อ.ติน อ่อง ซาน, พล.อ.หม่อง หม่อง จ่อ, พล.ท.โม มี้น ตุน ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกัน

ปัจจุบันอังกฤษเป็นประธานหมุนเวียนการประชุม G7 ได้เข้าร่วมกับประเทศต่างๆ วิพากษ์วิจารณ์นายพลพม่า และเรียกร้องการปล่อยตัวผู้นำพลเรือน ที่รวมถึงอองซานซูจี ซึ่งมาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย

Source

]]>
1321166
ไม่เอาด้วย! “นิวซีแลนด์” ประกาศระงับสัมพันธ์ “เมียนมา” ห้ามผู้นำกองทัพเดินทางเข้าประเทศ https://positioningmag.com/1318654 Tue, 09 Feb 2021 15:40:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318654 รัฐบาลนิวซีแลนด์ประกาศระงับการติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ระดับสูง ทั้งฝ่ายทหารและการเมืองของเมียนมา รวมถึงใช้มาตรการจำกัดการเดินทาง (travel ban) กับผู้นำกองทัพเมียนมา ซึ่งถือเป็นชาติแรกในโลกที่เริ่มใช้วิธีการนี้กับผู้นำทหารเมียนมาเพื่อตอบโต้การรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ.

นายกรัฐมนตรี จาซินดา อาร์เดิร์น แห่งนิวซีแลนด์ ระบุว่า รัฐบาลกีวีจะระงับโครงการช่วยเหลือต่างๆ ที่ต้องอาศัยความร่วมมือหรือเอื้อประโยชน์ให้แก่รัฐบาลทหารพม่า

“สิ่งที่เราอยากจะบอก ก็คือ นิวซีแลนด์จะทำในสิ่งที่เราสามารถทำได้ และหนึ่งในนั้นก็คือ การระงับการติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเมียนมา และตรวจสอบจนมั่นใจว่า เงินทุนที่เราให้แก่เมียนมาจะต้องไม่ถูกนำไปใช้สนับสนุนรัฐบาลทหารในทุกๆ กรณี”

ในช่วงปี 2018-2021 นิวซีแลนด์มีโครงการช่วยเหลือเมียนมา มีมูลค่าราวๆ 42 ล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์

นาไนอา มาฮูตา รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศนิวซีแลนด์ ออกคำแถลงยืนยันว่า รัฐบาลเวลลิงตันไม่ยอมรับความชอบธรรมของรัฐบาลทหารเมียนมา และเรียกร้องให้กองทัพปล่อยตัวผู้นำการเมืองที่ถูกคุมขัง รวมถึงคืนอำนาจปกครองกลับสู่รัฐบาลพลเรือน

รัฐบาลนิวซีแลนด์ยังเห็นชอบให้ใช้มาตรการจำกัดการเดินทางกับผู้นำทหารเมียนมา โดยคาดว่าจะมีผลบังคับอย่างเป็นทางการภายในสัปดาห์ถัดไป

พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเมียนมา ออกมาย้ำคำมั่นสัญญาว่า จะจัดการเลือกตั้งใหม่และส่งมอบอำนาจให้แก่ผู้ที่ชนะ ขณะที่ชาวพม่าหลายหมื่นคนตบเท้าลงถนนเพื่อประท้วงต่อต้านรัฐประหารที่โค่นล้มรัฐบาลพลเรือนของอองซาน ซูจี

Source

]]>
1318654
Kirin เบียร์ยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่น ประกาศ “ตัดสัมพันธ์” หุ้นส่วนในเมียนมาตอบโต้ “รัฐประหาร” https://positioningmag.com/1318149 Fri, 05 Feb 2021 08:24:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318149 คิริน (Kirin) ผู้ผลิตเครื่องดื่มรายใหญ่จากแดนปลาดิบ ประกาศยุติการทำธุรกิจแบบร่วมค้า (Joint Venture) กับบริษัทหุ้นส่วนในเมียนมา ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกองทัพ หลังเกิดการรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อวันที่ 1 ก.พ.

การควบคุมตัวผู้นำทางการเมืองสายประชาธิปไตยในพม่า ซึ่งรวมถึง “อองซานซูจี” เรียกเสียงประณามจากนานาชาติ ซึ่งทาง Kirin ระบุว่าบริษัท “มีความกังวลอย่างยิ่งต่อการกระทำล่าสุดของกองทัพพม่า”

“จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เราจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากขอยุติความเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท เมียนมาร์ อีโคโนมิก โฮลดิงส์ (Myanmar Economic Holdings Public Company Limited – MEHL) ซึ่งบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการให้แก่กองทัพพม่า”

ผู้ผลิตเบียร์สัญชาติญี่ปุ่นรายนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มาสักระยะหนึ่งแล้ว จากการเข้าไปมีสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทเบียร์ที่กองทัพพม่าเป็นเจ้าของ

เมื่อเดือน ม.ค. ทางบริษัทระบุว่า กระบวนการตรวจสอบโดยบุคคลที่ 3 “ยังได้ข้อสรุปไม่ชัดเจน” ว่ารายได้จากการร่วมทุนครั้งนี้ถูกนำไปใช้สนับสนุนการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่าหรือไม่

Kirin ถูกองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนและผู้ตรวจสอบของสหประชาชาติกดดันให้ต้องเปิดการสอบสวน หลังมีรายงานว่าเจ้าของบริษัท MEHL ที่เป็นหุ้นส่วนท้องถิ่นเป็นสมาชิกของกองทัพพม่า ซึ่งถูกกล่าวหาว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และก่ออาชญากรรมสงครามอื่นๆ กับชาวมุสลิมโรฮิงญา

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ซึ่งเป็นศาลสูงสุดของสหประชาชาติ ได้เปิดการไต่สวนกรณีกองทัพพม่ากวาดล้างชุมชนชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่เมื่อปี 2017 จนทำให้โรฮิงญากว่า 750,000 คน ต้องหนีตายข้ามไปยังฝั่งบังกลาเทศ ซึ่งเป็นการกระทำที่อาจเข้าข่ายละเมิดอนุสัญญา ว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ทางการพม่ายืนกรานปฏิเสธข้อกล่าวหานี้มาโดยตลอด

Kirin เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งใน บริษัท เมียนมา บริวเวอรี จำกัด และ บริษัท มัณฑะเลย์ บริวเวอรี จำกัด จากการจับมือเป็นหุ้นส่วนกับ MEHL กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ ซึ่งมีผลประโยชน์ครอบคลุมหลายภาคส่วนตั้งแต่อัญมณี ทองแดง โทรคมนาคม เสื้อผ้า และการธนาคาร

Kirin ได้เข้าถือหุ้นส่วนใหญ่ใน มัณฑะเลย์ บริวเวอรี เมื่อปี 2017 ด้วยมูลค่าการลงทุน 4.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่ได้ทุ่มเม็ดเงินซื้อกิจการ เมียนมา บริวเวอรี ไปด้วยวงเงินกว่า 500 ล้านดอลลาร์เมื่อปี 2015

เมียนมา บริวเวอรี เป็นผู้ผลิตเบียร์ขายดีที่สุดในพม่าอย่าง Myanmar Beer ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดเกือบ 80% ตามข้อมูลสถิติที่ Kirin เปิดเผยเมื่อปี 2018

แต่ Kirin ยังไม่ระบุชัดเจนว่า การตัดสัมพันธ์ทางธุรกิจกับหุ้นส่วนรายใหญ่ครั้งนี้ จะหมายถึงการถอนตัวออกจากพม่าด้วยหรือไม่…

Source

]]>
1318149
ญี่ปุ่น เตือน ‘รัฐประหารเมียนมา’ อาจเป็นการเพิ่ม ‘อิทธิพลจีน’ ในอาเซียน https://positioningmag.com/1317611 Tue, 02 Feb 2021 11:32:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317611 กลาโหมญี่ปุ่น เตือนการตอบสนองต่อรัฐประหารเมียนมาต้องระมัดระวัง ไม่เช่นนั้นจะเป็นการเพิ่มอิทธิพลของจีนในอาเซียน โดยรัฐบาลโตเกียวกำลังจับตาความเคลื่อนไหวในเมียนมาอย่างใกล้ชิด

Yasuhide Nakayama รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของญี่ปุ่น ให้ความเห็นกับ Reuters ว่า ท่าทีของประเทศประชาธิปไตยเสี่ยงที่จะผลักให้เมียนมาตกไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของจีน หากตอบสนองการทำรัฐประหาร จนกระทบต่อช่องทางสื่อสารกับเหล่านายพลผู้ทรงอิทธิพล

หากเราไม่จัดการเรื่องนี้ให้ดี เมียนมาจะยิ่งห่างเหินกับชาติประชาธิปไตยไปมากกว่าเดิม และจะหันไปเข้าร่วมกับจีนแทน พร้อมเสริมว่า ญี่ปุ่นควรหารือยุทธศาสตร์นี้ร่วมกันกับชาติพันธมิตร

กองทัพเมียนมา เข้ายึดอำนาจเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (1 ..) พร้อมประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศเป็นเวลา 1 ปี และควบคุมตัวนางอองซาน ซูจีที่ปรึกษาแห่งรัฐและผู้นำประเทศคนอื่นๆ โดยอ้างเหตุผลในการก่อรัฐประหารครั้งนี้ว่า เกิดจากการทุจริตเลือกตั้ง’ เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของนางซูจี คว้าชัยชนะอย่างถล่มทลาย 

รัฐบาลโตเกียว ระบุว่า ยังคงจับตาความเคลื่อนไหวในเมียนมาอย่างใกล้ชิด เเละวิเคราะห์สถานการณ์อย่างถี่ถ้วน

ญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในประเทศใหญ่ที่มีความสัมพันธ์กับเมียนมามายาวนาน ทั้งด้านการเมืองเเละการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ การลงทุน ตอบโต้การัฐประหารครั้งนี้ ด้วยการเรียกร้องให้ปล่อยตัวนางซูจีและสมาชิกรัฐบาลพลเรือน พร้อมขอให้ฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตย

Nakayama กล่าวอีกว่า ความเคลื่อนไหวใดๆ ที่จะระงับโครงการความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นกับกองทัพ
เมียนมา อาจส่งผลให้จีนมีอิทธิพลมากขึ้น เเละอาจทำลายความมั่นคงในภูมิภาค

โดยตั้งเเต่ปี 2014 กองกำลังป้องกันประเทศของญี่ปุ่น มีความสัมพันธ์กับกองทัพเมียนมา ผ่านการจัดสัมมนาและโครงการฝึกอบรมทางทหารอื่น ๆ ทั้งทางน้ำ ทางอากาศ การบรรเทาภัยพิบัติและสอนภาษาญี่ปุ่น รวมถึงโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ

ถ้าเราหยุดความสัมพันธ์นี้ กองทัพเมียนมากับกองทัพจีนก็จะยิ่งแน่นแฟ้นขึ้น พวกเขาจะยิ่งออกห่างจากประเทศเสรี อย่างสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร เเละญี่ปุ่นผมคิดว่านั่นจะเป็นความเสี่ยงต่อความมั่นคงในภูมิภาคได้

 

ที่มา : Reuters (1) , (2)

]]>
1317611