วิดีโอสั้น – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 10 Oct 2023 09:02:34 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เมื่อ ‘T-Pop’ ถูกชุบชีวิตโดยเทรนด์ ‘วิดีโอสั้น’ สู่โอกาสของแบรนด์ที่จะโกย ‘Fandom’ มาเป็นลูกค้า https://positioningmag.com/1447521 Tue, 10 Oct 2023 08:32:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1447521 ในยุคที่ศิลปิน T-Pop ไทยกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง สังเกตได้จาก ด้อม (Fandom) หรือ แฟนคลับ ศิลปินต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นเต็มไปหมด และนี่ได้กลายเป็น โอกาสสำคัญ ของ แบรนด์ ที่จะเปลี่ยนให้แฟนด้อมที่ขึ้นชื่อว่า พร้อมเปย์ เปลี่ยนให้มาเป็นลูกค้าของแบรนด์

เพลงกิจกรรมพักผ่อนที่นิยมมากกว่าการดูหนังหรือซีรีส์

มายด์แชร์ เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาด และการสื่อสาร ในเครือ กรุ๊ปเอ็ม เปิดเผยว่า จากข้อมูลโดยนีลเส็นพบว่า เมื่อเทียบกันกับกิจกรรมพักผ่อนต่าง ๆ คนไทยนิยมการ ฟังเพลง มากกว่าการดูภาพยนต์หรือซีรีส์ 3.4 เท่า และมากกว่าการเล่นเกม 2.8 เท่า

นอกจากนี้ หากประเมินถึงมูลค่าตลาดเพลงในไทย โดยอ้างอิงจาก 2 ค่ายใหญ่อย่าง RS และ GMM แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ โดยในปีที่ผ่านมา GMM Music มีรายได้จากเพลง 3,043 ล้านบาท และปีนี้คาดว่ารายได้จากเพลงเติบโต +25% เฉพาะครึ่งปีแรกมีรายได้จากเพลง 1,713 ล้านบาท เติบโต +54% จากช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา

ส่วน RS ที่ประกาศว่าจะกลับมาโฟกัสธุรกิจเพลงอีกครั้งในปีนี้ บริษัทก็ประเมินว่าจะมีรายได้จากเพลงที่ 720 ล้านบาท และคาดการณ์เติบโตเฉลี่ย +30% สร้างรายได้ 1,200 ล้านบาทใน 3 ปีจากนี้

วิดีโอสั้น ปัจจัยสำคัญคืนชีพ T-Pop

ปัจจุบัน กลุ่มผู้บริโภคที่ใช้ #T-Pop มีทั้งศิลปิน และคนฟังเพลงไทย แต่เจาะลึกช่วงอายุ กลุ่มที่อายุระหว่าง 18-24 ปี สัดส่วนมากสุด 56% ตามด้วยอายุ 25-34 ปี สัดส่วน 31% และอายุ 35 ปีขึ้นไป สัดส่วน 13% ปัจจุบัน T-Pop ไทยอยู่ใน ยุค The Expression เป็นยุคที่มีลักษณะเฉพาะที่ต่างออกไป แสดงตัวตนได้ชัดเจนผ่านผลงานแต่ละด้านไม่ว่าจะเป็น เพลง งานแสดง และมีการร่วมมือกับศิลปินระดับนานาชาติ ในยุคนี้ศิลปินอิสระแจ้งเกิดและได้รับการยอมรับมากขึ้น และความหลากหลายทางเพศมากขึ้นอย่างกลุ่ม LGBTQ+

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสื่อโซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญในการกระจายข่าวสารและการสร้างความสนใจในยุคนี้ โดยเฉพาะ วิดีโอสั้น โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาในแพลตฟอร์ม TikTok มี #T-Pop เติบโตขึ้น 3 เท่าโดยที่มีการใช้งานใน global 2 พันล้านครั้ง นับเป็นของไทย 1 พันล้านครั้ง รวมไปถึงการที่ความนิยมของแพลตฟอร์มวิดีโอสั้น อย่างเช่น Facebook Watch, Instagram Reels, และ TikTok ได้ช่วยให้เกิด emotional connection และเพิ่มการเข้าถึงผู้ชมในวงกว้างมากขึ้น

นอกจากนี้ การมีเวทีการแข่งขัน ซึ่งเป็นการเปิดพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้มีความรู้สึกร่วมไปกับศิลปิน การมีพื้นที่สาธารณะที่ให้เยาวชนได้แสดงออก ถึงความสนใจในดนตรี เช่น พื้นที่ตรงสยามสแควร์ เป็นต้น การใช้เพลงในซีรีส์ ที่นับว่าเป็นสื่อในการเชื่อมแฟนซีรีส์ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ และ การเกิดขึ้นของค่ายเพลงใหม่ ๆ ที่ทำให้ผู้ฟังมีตัวเลือกในการฟังมากขึ้น

TikTok ช่วยสร้างให้เป็นกระแส และทำให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วม ผ่านการเต้นชาเลนจ์ และแพลตฟอร์มสามารถใช้เพลงในการมาทำคอนเทนต์ได้ฟรี ให้เกิดเป็น User Generated Content” อริสรา รัตนโชติวิวัฒน์ ผู้จัดการการวางแผนกลยุทธ์บริษัท มายด์แชร์ ประเทศไทย

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยจากสังคมไทยที่จะยังทำให้กระแสของเพลงไทยยังเติบโตไปได้ เช่น ความสำเร็จที่เกิดขึ้นของ K-Pop และ J-Pop ในระดับโลก ได้สร้างความสนใจที่มากขึ้นในด้านเพลงเอเชียรวมถึงส่งผลให้ T-Pop ได้โอกาสและได้รับการยอมรับ

การสร้าง Cultural Appeal กับผู้ฟังผ่านประสบการณ์ที่ใกล้ชิดและความรู้สึกที่เข้าใจได้ เช่นการแต่งและปล่อยเพลงที่เข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วงนั้น ๆ และแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเพลง เช่น Apple Music, Spotify, และ Joox ได้ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและหลากหลายในการเข้าถึงเพลง T–Pop ให้ได้ราคาที่เหมาะสมและความหลากหลาย

แบรนด์จะเปลี่ยนแฟนด้อมให้มาเป็นลูกค้าอย่างไร

การใช้ T-Pop ในการทำการสื่อสารการตลาด เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ และผลลัพธ์ในวงกว้าง รวมไปถึงการใช้เพลงไทยเป็นสื่อกลางในการขับเคลื่อนเทรนด์ในยุคปัจจุบัน ที่ออกมาในรูปแบบของ

  • สปอนเซอร์ชิป (sponsorship) : เป็นโอกาสสำหรับแบรนด์ ที่ เชื่อมต่อกับผู้บริโภคผ่านทางการมาเป็นผู้สนับสนุน ให้กับคอนเสิร์ตต่าง ๆ หรือรายการเพลง เป็นต้น
  • โปรดักต์เพลสเมนต์ (product placement) : เป็นโอกาสให้กับแบรนด์ด้านความคิดสร้างสรรค์ลงไปในการสร้างการรับรู้บนพื้นที่ที่คนดูมีสามารถมีอารมณ์ร่วม หรือบนพื้นที่ ๆ ที่ไม่ได้คาดคิดว่าจะได้เห็นโฆษณา

  • มิวสิคมาร์เก็ตติ้ง (music marketing) : สามารถใช้มิวสิคมาร์เก็ตติ้งเข้ามาช่วย แสดงให้เห็นถึงคาแรกเตอร์ของแบรนด์ หรือเป็นการปรับแบรนด์ดิ้งใหม่ให้ดูเด็กขึ้น ทันสมัยขึ้น
  • สินค้า/ผลิตภัณฑ์ (merchandise) : เป็นการสร้างโอกาสทางการตลาดในรูปแบบหนึ่งให้กับแบรนด์
  • Fan-Driven Marketing : ตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือ แคมเปญ Lotus’s Anniversary 2023 “The Golden Moment” PARK SEO JUN Meet & Greet in Bangkok ฟินไม่พักกับพัคซอจุน ที่ให้ Top spender ได้ Meet & Greet กับ พัคซอจุน (Park Seo Joon) ซึ่งยอดเปย์ของอันดับ 1 ก็ทะลุ 71 ล้านบาทไปแล้ว

ความท้าทายเดียวจะใช้ศิลปินอย่างไรให้คนจดจำ

อย่างไรก็ตาม แน่นอนว่าศิลปินที่ได้รับความนิยมย่อมมีหลายแบรนด์ต้องการคว้าตัวมาร่วมงาน ดังนั้น ความท้าทายของแบรนด์ที่จะใช้งานศิลปิน T-Pop ก็คือ สร้างความแตกต่างและโดดเด่น เพราะศิลปินหลายคนเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับหลายแบรนด์ ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถจดจำแบรนด์ได้

“แม้ศิลปินไทยจะได้รับการยอมรับมากขึ้น แต่ถ้าเทียบกับ K-Pop ที่ถือเป็น Next Level โดยเฉพาะความครีเอต นอกจากนี้ K-Pop ยังได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น มีพื้นที่ช่วยโปรโมต ซึ่งหากมีนโยบายจากภาครัฐในการผลักดันไทยได้เป็นศูนย์กลางทางดนตรีและคอนเสิร์ตจะสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาล”  อริสรา ทิ้งท้าย

]]>
1447521
‘TikTok’ เตรียมจำกัดเวลาใช้งานไม่เกิน 60 นาที/วัน ในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี https://positioningmag.com/1421807 Fri, 03 Mar 2023 09:44:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1421807 เนื่องจากข้อกังวลในการใช้งานโซเชียลมีเดียของเยาวชนในหลายประเทศ ทำให้แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นสุดฮิตในกลุ่มวัยรุ่นอย่าง TikTok ได้เตรียมออกกฎใหม่ โดยทุกบัญชีที่มีผู้ใช้อายุต่ำกว่า 18 ปี จะมีการจำกัดเวลาการใช้งานที่ไม่เกิน 60 นาทีต่อวัน

Cormac Keenan หัวหน้าฝ่ายความไว้วางใจและความปลอดภัยของ TikTok กล่าวว่า แพลตฟอร์มกำลังออกฟีเจอร์ใหม่ทำให้ เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี สามารถใช้งาน TikTok ได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง/วัน โดยเมื่อครบเวลาที่กำหนด ผู้ใช้จะถูกบังคับให้ใส่รหัสผ่านเพื่อยืนยันว่าจะใช้งานต่อ สำหรับบัญชีที่ ผู้ใช้อายุต่ำกว่า 13 ปี ต้องใช้งาน TikTok for Younger Users โดยพ่อแม่หรือผู้ปกครองจะต้องตั้งหรือป้อนรหัสผ่าน เพื่อให้สามารถรับชม TikTok ได้เพิ่มขึ้น 30 นาที หลังจากใช้งานครบขีดจำกัด 1 ชั่วโมง

เบื้องต้น แพลตฟอร์มจะเริ่มกระตุ้นให้เยาวชนกำหนดเวลาการใช้งาน ซึ่งหากพวกเขาเลือกไม่ใช้ค่าเริ่มต้น 60 นาที บริษัทจะส่งการแจ้งเตือนกล่องจดหมายรายสัปดาห์ไปยังบัญชีผู้ใช้ พร้อมสรุปเวลาหน้าจอ นอกจากนี้ ยังมีฟีเจอร์ Family Pairing สำหรับผู้ปกครองที่จะสามารถเชื่อมต่อบัญชีของบุตรหลานเข้ากับบัญชีของตัวเอง เพื่อดูระยะเวลาการใช้ TikTok และกำหนดระยะเวลาใช้งานในแต่ละวันได้

ไม่ใช่แค่ความกังวลถึงการใช้เวลาบน TikTok ที่มากเกินไปในหมู่เยาวชน แต่แพลตฟอร์มกำลังถูกรัฐบาลในหลายประเทศจับตา ไม่ว่าจะเป็นในสหรัฐอเมริกา แคนาดา รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป และสภาสหภาพยุโรป ที่สั่งห้ามไม่ให้อุปกรณ์ไอทีของรัฐบาลติดตั้งแพลตฟอร์ม TikTok บนอุปกรณ์ เนื่องจากข้อกังวลด้านความปลอดภัยของข้อมูล

]]>
1421807
‘TikTok’ เริ่มทดสอบโหมด ‘วิดีโอแนวนอน’ ท้าชน ‘YouTube’ https://positioningmag.com/1412970 Mon, 19 Dec 2022 05:35:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1412970 หากพูดถึงต้นตำรับ ‘วิดีโอสั้น’ และ ‘วิดีโอแนวตั้ง’ แน่นอนว่าต้องเป็น ‘TikTok’ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียสัญชาติจีนที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในโลก และความ Hot ดังกล่าวก็ทำให้แพลตฟอร์มโซเชียลดั้งเดิมต่างก็ต้องพัฒนาฟีเจอร์วิดีโอสั้นแนวตั้งออกมาแข่งขัน แต่ล่าสุด TikTok ก็ขอก้าวไปในโลกของ ‘วิดีโอแนวนอน’ ซึ่งคนที่ต้องปาดเหงื่อก็ไม่ใช่ใคร แต่เป็น ‘YouTube’

แม้จะเป็นผู้บุกเบิกวิดีโอสั้น แต่ล่าสุด TikTok ก็ได้เริ่มทดสอบโหมด แนวนอน (Landscape) กับผู้ใช้ทั่วโลก โดยผู้เชี่ยวชาญบางคน มองว่า ฟีเจอร์ใหม่นี้จะทำให้ TikTok สามารถแข่งขันโดยตรงกับแพลตฟอร์มวิดีโอเบอร์ 1 อย่าง YouTube

ไม่ใช่แค่ฟีเจอร์วิดีโอแนวนอน แต่อีกหนึ่งในสัญญาณของ TikTok ที่ส่งออกมาว่าจะแข่งขันกับ YouTube มากขึ้นก็คือ การเพิ่มความยาวของวิดีโอเป็นไม่เกิน 10 นาที จากที่ก่อนหน้านี้แพลตฟอร์มจะจำกัดความของวิดีโอที่ไม่เกิน 3 นาที ซึ่งการเพิ่มทั้งความยาวและวิดีโอแนวนอนจะช่วยดึงดูดกลุ่มผู้ใช้ที่เป็น ผู้ใหญ่ มากขึ้น

“ดูเหมือนว่าเป้าหมายคือการดึงดูดผู้ชมที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น โดยเฉพาะวิดีโอในกลุ่มการเรียนการสอน หรือให้ข้อมูลความรู้ ซึ่งโหมดเต็มหน้าจอน่าจะเป็นที่ต้องการมากกว่า” Paul Triolo ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีของบริษัทที่ปรึกษา Albright Stonebridge Group กล่าว

ขณะที่ Carolina Milanesi ผู้ก่อตั้งที่ปรึกษา The Heart of Tech มองว่า ฟีเจอร์ใหม่นี้จะทำให้ TikTok ดึงดูดใจเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์มากขึ้น และแม้ว่าทั้ง 2 แพลตฟอร์มจะส่งสัญญาณการแข่งขันกันดุเดือดมากขึ้น แต่ Jonathon Hutchinson อาจารย์อาวุโสแห่งมหาวิทยาลัยซิดนีย์ เชื่อว่าทั้ง YouTube และ TikTok จะเติบโตต่อไป

ที่ผ่านมา TikTok ถือเป็นแอปยอดนิยมในหมู่วัยรุ่นทั่วโลก โดยมียอดดาวน์โหลดรวมทั่วโลกเกือบ 4 พันล้านครั้ง แม้จะมีการเติบโตอย่างสูง แต่ TikTok เองก็ถือเป็นแพลตฟอร์มที่ถูกตรวจสอบจากหลาย ๆ ประเทศอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะในสหรัฐฯ โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ส.ส.ของสหรัฐฯ เสนอให้แบน TikTok เนื่องจากพวกเขาอ้างถึงความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ

นอกจากนี้ ยังมีการเรียกร้องให้แบน TikTok ในประเทศต่าง ๆ เช่น ออสเตรเลีย ในขณะที่ไต้หวันเพิ่งแบน TikTok จากอุปกรณ์สาธารณะ ส่วนอินเดียก็แบน TikTok ไปตั้งแต่ปี 2020 เนื่องจากมีข้อพิพาททางการทหาร

Source

]]>
1412970
ดาว ‘TikTok’ เตรียมเฮ! หลังแพลตฟอร์มเล็งเพิ่มโมเดล ‘Subscription’ เพิ่มรายได้ให้ครีเอเตอร์ https://positioningmag.com/1386540 Wed, 25 May 2022 09:31:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1386540 คงไม่ต้องพูดถึงความร้อนแรงของ TikTok กันอีกแล้ว เพราะขนาดเจ้าพ่อโซเชียลอย่าง Facebook หรือแพลตฟอร์มวิดีโออย่าง YouTube ยังต้องเพิ่มฟีเจอร์วิดีโอสั้นมาแข่งด้วย อย่างไรก็ตาม TikTok เองก็พยายามจะมัดใจเหล่า ครีเอเตอร์ ให้มีแรงในการผลิตคอนเทนต์ต่อไปด้วยโมเดลหารายได้ใหม่ ๆ ล่าสุดก็คือ โมเดล Subscription

ที่ผ่านมา TikTok ได้เริ่มเพิ่มโมเดลการทำรายได้ให้กับครีเอเตอร์ในแพลตฟอร์ม นอกเหนือจากที่ครีเอเตอร์รับโฆษณาจากแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นโครงการ Creator Next ที่จะเพิ่ม Virtual Gift หรือการ ให้ของขวัญ จากผู้ชมไลฟ์ ซึ่งคล้าย ๆ กับ การส่งดาวแบบใน Facebook

หรือจะเป็นโปรแกรม TikTok Pulse ที่แพลตฟอร์มจะแบ่งรายได้จากค่าโฆษณาให้ถึง 50% ของรายได้ที่เกิดขึ้นจริง แต่ครีเอเตอร์จะต้องมีผู้ติดตามอย่างน้อย 100,000 คนขึ้นไป โดย TikTok จะยิงโฆษณาไปที่ Top 4% แรกของวิดีโอทั้งหมด เพื่อให้เจ้าของแบรนด์มั่นใจว่าจะมีคนเห็นเยอะมากขึ้นแน่นอน

ล่าสุด TikTok ก็ได้เพิ่มโมเดล ‘Subscription’ สำหรับบัญชียอดนิยมบางบัญชี โดยจะสามารถเก็บค่าสมาชิกจากผู้ติดตาม เพื่อเข้าถึงคอนเทนต์เอ็กซ์คลูซีฟ รวมถึงจะมีโหมดแชทเฉพาะสำหรับสมาชิก เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างครีเอเตอร์และสมาชิก

“การสมัครสมาชิกสดเป็นส่วนเสริมของความพยายามของเราในการสร้างโอกาสในการสร้างรายได้จากครีเอเตอร์ที่หลากหลายซึ่งเหมาะกับความต้องการของครีเอเตอร์” TikTok กล่าว

‘TikTok’ ซุ่มปั้น ‘TikTok Shop’ ดึงแบรนด์เปิดร้านบนแพลตฟอร์มโกย ‘เงินโฆษณา’

อย่างไรก็ตาม TikTok ระบุว่า ฟีเจอร์การสมัครสมาชิกที่เปิดตัวในสัปดาห์นี้จะเปิดให้สำหรับครีเอเตอร์ที่ได้รับคำเชิญเท่านั้นในตอนนี้ แต่จะขยายไปทั่วโลกในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า แต่ในการเข้าถึงคุณสมบัติการสมัครสมาชิก ผู้สร้างจะต้องมีอายุอย่างน้อย 18 ปี ในขณะที่ผู้ใช้จะต้องมีอายุอย่างน้อยเท่ากันในการสมัครสมาชิก

แม้ว่า TikTok จะได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจนมีผู้ใช้งานกว่า 1 พันล้านคน แต่แพลตฟอร์มก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ไม่ได้ให้วิธีการสร้างรายได้ให้กับครีเอเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพมากพอ โดยก่อนหน้านี้ทั้ง TikTok และแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นอื่น ๆ ยังไม่มีฟีเจอร์หรือฟังก์ชันให้ผู้ใช้สามารถสร้างรายได้ได้โดยตรง ทำให้เหล่าครีเอเตอร์จะได้รายได้จากการรีวิวสินค้าหรือการทำคอนเทนต์ที่มีผู้ว่าจ้างให้ทำเท่านั้น

ดังนั้น หลายคนมองว่าที่ TikTok ต้องเพิ่มโมเดลหารายได้ใหม่ ๆ ให้ครีเอเตอร์เป็นเพราะต้องการใช้มัดใจให้ผลิตคอนเทนต์อยู่บนแพลตฟอร์ม และช่วยให้ครีเอเตอร์สร้างรายได้จากคอนเทนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Source

]]>
1386540
ส่องอินไซต์การรับชม ‘วิดีโอ’ บน ‘Facebook’ คลิปแบบไหน ยาวเท่าไหร่ คนไทยนิยมสุด https://positioningmag.com/1362928 Fri, 19 Nov 2021 12:33:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1362928 ต้องยอมรับว่าคอนเทนต์วิดีโอเป็นอะไรที่มาแรงมาก เนื่องจากโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่ดีขึ้น บวกกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปเพราะการระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ 99% ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไทยชมวิดีโอออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้งในแต่ละเดือน แล้วสำหรับ Facebook เองผู้ใช้งานมีพฤติกรรมในการดูวิดีโออย่างไรทาง ‘Meta’ ก็ได้ออกมาเปิดเผยอินไซต์ให้ดูกัน

97% ของคนไทยชม Facebook Watch

ปรีชา คุณธรรมสถิต หัวหน้าฝ่ายพันธมิตรเพื่อความบันเทิง ประจำประเทศไทย เวียดนาม และบังกลาเทศ จาก Meta เปิดเผยว่า ผู้คนจำนวน 2 พันล้านคนทั่วโลกรับชมวิดีโอบนช่องทางออนไลน์ในแต่ละวัน และคนกว่า  720 ล้านคนทั่วโลกใช้เวลาในการรับชมวิดีโอผ่าน Facebook Watch อย่างน้อย 1 นาทีในแต่ละเดือน สำหรับประเทศไทยพบว่า

  • กว่า 97% ของคนไทยรับชมวิดีโอผ่านฟีเจอร์ Facebook Watch เป็นประจำ
  • กว่า 67% เลือกดูวิดีโอบน Facebook Watch เพราะใช้งานอยู่แล้ว และ 56% รับชมเพราะเนื้อหาทันสมัย
  • ผู้ชายคิดเป็นสัดส่วน 49% หญิง 51%
  • ช่วงวัยที่ใช้งานมากที่สุดคือ Gen Z (28%), มิลเลนเนียล (23%), Gen X รวมกับเบบี้บูมเมอร์ (49%)
  • 98% ชมผ่านสมาร์ทโฟน ตามด้วย คอมพิวเตอร์/โน้ตบุ๊ก 79% และ สมาร์ททีวี 42%

วิดีโอ สั้น-กลาง นิยมสูงสุด

วิดีโอแบบสั้น (0-3 นาที) และวิดีโอความยาวปานกลาง (3-10 นาที) นิยมมากที่สุด

  • วิดีโอที่มีความยาว 0-3 นาที ถูกรับชมโดยเฉลี่ย 13 ครั้ง/สัปดาห์
  • วิดีโอที่มีความยาว 3-10 นาที ถูกรับชมโดยเฉลี่ย 11 ครั้ง/สัปดาห์
  • วิดีโอที่มีความยาว 10 นาทีหรือมากกว่า ถูกรับชมโดยเฉลี่ย 9 ครั้ง/สัปดาห์
  • คนนิยมรับชมวิดีโอที่มาจากเพจทางการ (official pages) แพลตฟอร์มสื่อ (ช่องทีวีต่าง ๆ) หรือผู้เผยแพร่เนื้อหาดิจิทัลต่าง ๆ (ครีเอเตอร์)
  • 9 ใน 10 รับชมวิดีโอเพื่อพักผ่อนจากการใช้ชีวิตประจำวัน
  • 8 ใน 10 รับชมวิดีโอเพื่อเชื่อมต่อกับผู้คนที่มีความสนใจแบบเดียวกัน

รูปแบบวิดีโอที่ชอบ

ไลฟ์สตรีมมิ่ง ก็เป็นอีกรูปแบบของวิดีโอที่คนสนใจชม เนื่องจาก รู้สึกได้เชื่อมต่อกันแบบเรียลไทม์ อีกส่วนก็คือ การช้อปปิ้ง นอกจากนี้ยัง แชร์ ไปยังกลุ่มคอมมูนิตี้ หรือเพื่อน ๆ และครอบครัวได้ง่าย ในส่วนของรูปแบบวิดีโอทั่วไปแบ่งที่ได้รับความนิยมแบ่งเป็น 3 ส่วน

  • วิดีโอสั้น : ชอบดูไฮไลต์ละคร, คลิปขข่าวสั้น ๆ และตัวอย่างหนัง
  • วิดีโอกลาง : คลิปข่าว และรีวิวสินค้าต่าง ๆ
  • วิดีโอยาว : ละคร, สารคดี และคลิปท่องเที่ยว

นอกจากนี้ ในส่วนของโฆษณาพบว่า คนไทยจำนวนกว่าครึ่งคลิกเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าหลังเห็นโฆษณา

  • 49% ค้นหารีวิวและข้อมูลสินค้าเพิ่มเติม
  • 28% ตัดสินใจซื้อท้นที
  • 22% ติดต่อผู้ขายในทันที
  • 64% พิจารณาก่อน
]]>
1362928
TikTok ดิ้นสู้ศึกวิดีโอสั้น! ‘แจกเงิน – ปั้นออริจินอลซีรีส์’ https://positioningmag.com/1347684 Thu, 19 Aug 2021 08:32:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347684 ต้องยอมรับว่าหากพูดถึงแพลตฟอร์ม ‘วิดีโอสั้น’ ชื่อแรกที่คนจะพูดก็คือ ‘TikTok’ ซึ่งไม่น่าแปลกใจนักเพราะในปี 2020 TikTok ได้กลายเป็นแอปโซเชียลมีเดียที่มีการดาวน์โหลดมากที่สุดในโลก แซงหน้า Facebook และ Instagram ไปเรียบร้อยแล้ว แน่นอนว่าด้วยการเติบโตอย่างก้าวกระโดดสิ่งที่ตามมาก็คือ ‘คู่แข่ง’ 

คู่แข่งใหม่เพียบ

ในปี 2020 ที่ผ่านมา โลกต้องเจอกับวิกฤต COVID-19 ทำให้ต้องใช้เวลาอยู่ที่บ้านเป็นหลักเพื่อสกัดการระบาด และนั่นทำให้แพลตฟอร์มคอนเทนต์ต่าง ๆ เติบโตขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอสตรีมมิ่ง รวมถึงแพลตฟอร์มวิดีโอสั้น ข้อมูลจาก SteamElement ระบุว่า Live-streaming กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างมาก

เมื่อเทียบระหว่างปี 2019 และ 2020 มีการเพิ่มขึ้นของคอนเทนต์จากการ Live-steaming ถึง 99% อย่าง TikTok ที่แค่ต้นปี 2020 ก็มียอดดาวน์โหลดกว่า 2,000 ล้านครั้งใน 150 ประเทศทั่วโลก และจากการรวิเคราะห์โดย Nikkei พบว่า TikTok ได้แซงหน้า Facebook เป็นโซเชียลมีเดียที่มีการดาวน์โหลดมากที่สุดในโลก

จากการเติบโตดังกล่าว เจ้าตลาดไม่ว่าจะ Facebook, Google หรือแม้แต่บริษัทเทคโนโลยีในจีนและอินเดีย ต่างก็พยายามปั้นฟีเจอร์วิดีโอสั้นออกมาแบ่งเวลาจากผู้ใช้บ้าง อาทิ Reels ของ Instagram หรือ Shorts ใน YouTube และ ไคว่โส่ว (Kuaishou) แพลตฟอร์มคลิปวิดีโอสั้นของจีนคู่แข่งคนสำคัญของ Douyin (โต่วอิน) หรือ TikTok เวอร์ชันจีน

โดย YouTube เองได้ตั้งกองทุน 100 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับใช้อัดฉีดอินฟลูเอนเซอร์ยอดฮิตบนแพลตฟอร์ม Shorts สำหรับให้ผู้ที่มียอดวิวและ engagement สูงสุดในแต่ละเดือนจะได้รับเงินทุนส่วนนี้ไป เรียกได้ว่าพยายามจะดึงคนดังให้ย้ายข้างเลยทีเดียว

แจกเงินดึงผู้ใช้ใหม่

แม้จะเป็นผู้นำ แต่หากอยู่เฉยคงไม่ส่งผลดีแน่นอน ดังนั้น ในปี 2021 TikTok เองก็ขยับตัวในหลายส่วน โดยที่เห็นล่าสุดก็คือแคมเปญ TikTok Bonus โดยผู้บริหารของ TikTok ระบุว่าไม่ใช่แค่ไทยแต่มีหลาย ๆ ประเทศทำ โดยให้ผู้ใช้เดิม ‘แนะนำเพื่อน’ เพื่อดึงผู้ใช้หน้าใหม่ ๆ เข้ามาใช้งาน โดยแบ่งเป็นการเชิญเพื่อน 5 คน ที่ไม่เคยมีบัญชี TikTok มาก่อนให้สมัครและดาวน์โหลดใช้งาน ซึ่งสามารถได้เงินสูงสุด 2,500 บาท นอกจากนี้ยังมีรางวัลสะสมแต้มสำหรับการดูวีดีโออีกด้วย

แม้ผู้บริหาร TikTok จะระบุว่าแคมเปญดังกล่าวเป็นการคืนกำไรให้ผู้ใช้เป็นเรื่องหลัก แต่ก็ยอมรับว่าผลลัพธ์ที่ตามมาคือผู้ใช้ใหม่ ๆ

“เราเห็นว่าพฤติกรรมผู้ใช้ TikTok จะชอบแชร์คลิปของ TikTok ให้เพื่อน ๆ เป็นปกติอยู่แล้ว ดังนั้น เราจึงอยากจะคืนกำไรให้ผู้ใช้ของเรา เราไม่ได้มองว่าเป็นแคมเปญอะไร แค่อยากให้ผู้ใช้” สุรยศ เอี่ยมละออ Head of Consumer Marketing กล่าว

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะย้อนไปปี 2012 เคยมี TikTok Tickets ที่ร่วมกับ Major Cineplex มอบบัตรชมภาพยนตร์ ให้กับผู้ใช้งานใหม่ และปี 2020 ก็มี TikTok Rewards โปรแกรมสะสมแต้มที่สามารถใช้แลกของรางวัลจากแบรนด์ชั้นนำต่าง ๆ ในไทย โดยให้ชวนเพื่อนมาสมัคร TikTok เช่นกัน

ปั้นออริจินอลคอนเทนต์เอง

นอกจากแคมเปญการตลาดดังกล่าวแล้ว สิริประภา วีระไชยสิงห์ Users and Content Operations Lead ของ TikTok ประเทศไทย ระบุว่า TikTok มี 4 กลยุทธ์สำหรับดึงดูดผู้ใช้ ได้แก่

  • Original Content ของ TikTok เช่น ภาพยนตร์ออนไลน์ Songkran Stranger #รักไม่ซ้ำหน้า ในรูปแบบ interactive film การสร้างสรรค์ Partnership Content IP ในการสร้างสรรค์คอนเทนต์รูปแบบใหม่ ๆ เช่น การออดิชั่นนักร้องบน TikTok ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ TikTok และค่ายเพลง White Fox
  • TikTok LIVE ที่ต่างจากคู่แข่ง โดยจะเป็นคอนเทนต์บันเทิงในรูปแบบใหม่ ได้แก่ Fun Fight การแข่งขันไลฟ์แบทเทิลของศิลปินดังจาก GMM TV และดาว TikTok ผ่านฟีเจอร์ LIVE Match และ ฟีเจอร์ Multi Guest ที่คนที่เปิดห้องไลฟ์สามารถดึงคนที่ดูมาร่วมพูดคุยกันได้ด้วยสูงสุด 3 คน
  • อัพเกรดปฏิสัมพันธ์ในคอมมูนิตี้ โดย TikTok ได้มีการจัดแคมเปญเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่ง เช่น แคมเปญ For Your Pride, แคมเปญ Black Lives Matter
  • เพิ่มเครื่องมือ TikTok Tools ต้องยอมรับว่าลูกเล่นต่าง ๆ ของ TikTok นั้นมีความหลากหลายและเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้ผู้ใช้ชื่นชอบและครีเอตวิดีโอออกมา ดังนั้น เมื่อมีเครื่องมือใหม่ ๆ ก็จะทำให้สร้างสรรค์ได้มากขึ้น ไม่น่าเบื่อ นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ใหม่ ๆ เช่น Trending Now เป็นต้น

จะเห็นว่า TikTok ไม่ได้แค่เป็นแพลตฟอร์มแบบ user generated content หรือแค่ให้ผู้ใช้งานสร้างสรรค์คอนเทนต์อีกต่อไป แต่เริ่มมีออริจินอลคอนเทนต์ของตัวเอง ทั้งเป็นซีรีส์ และรายการเกมโชว์ ซึ่งจุดสำคัญคือ ยูสเซอร์สามารถมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์ได้ ขณะที่จุดแข็งเก่าอย่าง Tools ก็มีเพิ่มใหม่ ๆ มาตลอด

มั่นใจ it starts on tiktok

ทาง TikTok เองยอมรับว่าการแข่งขันของแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นมีมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ยังเชื่อมั่นในจุดแข็งของแพลตฟอร์มว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ ไวรัล เนื่องจาก TikTok มีความ Authenticity คือ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องทำอะไรมาก คนที่เข้ามาไม่รู้สึกเคอะเขิน รู้สึกสบาย ๆ ต่างจากแพลตฟอร์มอื่น มีความ Creativity ที่เป็นหัวใจหลักของแพลตฟอร์ม และผู้ใช้ส่วนใหญ่มีความ Positivity คือมีแต่คอนเทนต์ในเชิงบวก คนส่วนใหญ่เข้ามาเพื่อคลายเครียด

โดยที่ผ่านมา 3 ใน 4 ของผู้ใช้ TikTok รู้สึกดี มีแรงบันดาลใจ ความมั่นใจ และรู้สึกได้รับความบันเทิงเมื่อใช้ TikTok และรู้สึกว่า TikTok เป็นพื้นที่ที่พวกเขาสามารถแสดงความเป็นตัวตนได้อย่างอิสระและเปิดกว้าง 60% ของผู้ใช้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับชุมชนบน TikTok

“ตอนนี้ต้องยอมรับว่าการแข่งขันสูงมากจริง ๆ แต่ทุกแคมเปญทุกอย่างพยายามย้ำว่าทุกอย่างเริ่มที่ TikTok ยังเชื่อเราแตกต่าง และเราพยายามพัฒนาฟีเจอร์ Base On การใช้งาน”

ผลิตภัณฑ์บิวตี้เป็นหนึ่งในสินค้าที่ผู้ซื้อต้องการแรงกระตุ้นทั้งราคาและรีวิว และรีวิวมีอิทธิพลมากกว่าเล็กน้อย

ปัจจุบัน trending บนแพลตฟอร์ม TikTok ไม่ได้มีแค่ความบันเทิงแต่หลากหลายมากขึ้น อาทิ คอนเทนต์การศึกษา, ข่าว, เกม, สอนทำอาหาร อย่างไรก็ตาม คอนเทนต์ทุกประเภทก็จะสอดแทรกความบันเทิงเป็นในลักษณะ Edutainment ดังนั้น เนื้อหาของคอนเทนต์ในอนาคตจะมีเนื้อหาแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่มีสาระสอดแทรกไปกับความบันเทิง

จะเห็นว่าการแก้เกมของ TikTok ไม่ได้มีจุดประสงค์แค่ ดึงผู้ใช้ใหม่ แต่ยังสามารถ หารายได้ เพิ่มเติมจากค่าโฆษณาได้ผ่านการ ขายบัตร เข้าชม ในขณะที่เทรนด์ที่ขยายกว้างขึ้นยิ่งทำให้ TikTok มีโอกาสทางธุรกิจที่สามารถเจาะลึกลงในในแต่ละกลุ่มได้อีกด้วย จาก TikTok จะงัดอะไรมารักษาสถานะผู้นำตลาดวิดีโอสั้นอีกบ้างคงต้องรอดู เพราะคู่แข่งเยอะขนาดนี้จะอยู่เฉย ๆ คงไม่ได้เเล้ว

]]>
1347684
‘TikTok’ ขอใช้ความ ‘เรียล’ สู้ศึก ‘วิดีโอสั้น’ พร้อมดัน ‘วิดีโอยาว’ สวนกระแส https://positioningmag.com/1324733 Wed, 24 Mar 2021 10:41:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324733 ปฏิเสธไม่ได้ว่าความฮิตของ ‘TikTok’ ในปี 2020 นั้นเรียกได้ว่าถล่มทลายอย่างแท้จริง เพราะมียอดดาวน์โหลดกว่า 2,000 ล้านครั้งใน 150 ประเทศทั่วโลก! แน่นอนว่าการเติบโตดังกล่าวได้ล่อเป้าให้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียระดับโลกหันมาให้ความสนใจและพร้อมจะเปิดฟีเจอร์ใหม่ (ที่ได้แรงบันดาลใจจาก TikTok) เพื่อจะเป็น ‘ทางเลือกใหม่’ ให้กับผู้บริโภคได้ใช้งาน ดังนั้นการทำตลาดของ TikTok จากนี้คงไม่ง่ายเหมือนอดีตแน่นอน

‘วิดีโอ’ ตลาดใหญ่ที่ใคร ๆ ก็อยากเล่น

จากผลสำรวจของ Neilsen ในปี 2020 พบว่า คนไทยใช้เวลากับสื่อดิจิทัลผ่านทางสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น 59% จาก 3.51 ชั่วโมงต่อวันเป็น 6.08 ชั่วโมงต่อวัน และข้อมูลจาก MediaBrix ในปี 2020 ระบุว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่มีการรับชมคอนเทนท์ประเภทวิดีโอ โดย 55% มีการรับชมทุกวัน 90% ชื่นชอบวิดีโอสั้นแนวตั้ง และ 72% เรียนรู้ผลิตภัณฑ์และรู้จักบริการต่าง ๆ ผ่านคอนเทนต์ประเภทวิดีโอ

ส่วนข้อมูลจาก SteamElement ระบุว่า Live-streaming กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นโดยในปี 2020 มีการเพิ่มขึ้นของคอนเทนต์จากการ Live-steaming ถึง 99% เมื่อเทียบจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2019 ดังนั้น จะเห็นว่าคอนเทนต์วิดีโอได้เข้ามาช่วงชิงเวลาของกลุ่มผู้ชมในโลกออนไลน์ไปเรียบร้อยแล้ว

Facebook ส่ง Reels บุกตลาดไทย

จากความสำเร็จของ TikTok ทำให้เจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียรายใหญ่ของโลกต่างก็ซุ่มพัฒนาฟีเจอร์ ‘วิดีโอสั้น’ เพื่อทำตลาดแข่งขันกับ TikTok ไม่ว่าจะเป็น ‘YouTube’ ที่มีฟีเจอร์ ‘Shorts’ สำหรับทำคลิปวิดีโอสั้นแบบแนวตั้งโดยมีความยาวไม่เกิน 1 นาที โดยได้ทดลองใช้ฟีเจอร์นี้ในประเทศอินเดียเป็นที่แรกตามด้วยอเมริกา ซึ่งในอินเดีย Shorts ก็สามารถทำยอดวิวได้ถึง 3,500 ล้านครั้งต่อวัน (แต่อย่าลืมว่า TikTok โดนแบนในอินเดีย)

อีกรายก็คือ ‘Facebook’ ที่เปิดตัวฟีเจอร์ ‘Reels’ ซึ่งก็เป็นฟีเจอร์ทำคลิปวิดีโอสั้นแบบแนวตั้งเช่นกัน โดยสามารถใช้งานได้ทั้งบน Facebook และ Instagram สามารถสร้างวิดีโอความยาว 15 และ 30 วินาที โดยฟีเจอร์ดังกล่าวหลังจากได้ทดลองใช้ในอินเดียและอเมริกา ล่าสุดก็ได้เปิดตัวในไทยเป็นที่เรียบร้อยเเล้ว

ฟีเจอร์ Reels

TikTok ขอใช้ความ ‘เรียล’ เข้าสู้

สุรยศ เอี่ยมละออ Head of Consumer Marketing ระบุว่า จุดแข็งของ TikTok ที่ใช้มัดใจผู้ใช้ก็คือความ Authentic หรือ ‘ความจริงใจ’ และ ‘เครื่องมือ’ ที่หลากหลาย โดยวิดีโอที่ถูกสร้างสรรค์จะทำออกมาแบบเรียลไม่ค่อยประดิษฐ์ ซึ่งแสดงถึงความเป็นตัวตนของครีเอเตอร์ ขณะที่แพลตฟอร์มอื่นอาจจะเน้นที่ ความสวยงาม อีกทั้งผู้ใช้ที่ได้รับชมวิดีโอจาก คนที่ไม่รู้จัก เพราะแพลตฟอร์มจะสุ่มวิดีโอตามความสนใจให้รับชม ขณะที่แพลตฟอร์มอื่นจะเป็นการรับชมคอนเทนต์ในวง เพื่อน หรือการ ติดตาม เท่านั้น

นอกจากนี้ ความเป็น ‘โลคอล’ และ ‘ชาเลนจ์’ ที่ก่อให้เกิด ‘ไวรัล’ ก็เป็นอีกจุดแข็งของ TikTok โดยที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีหลายไวรัลในไทยที่มีจุดกำเนิดมาจาก TikTok ทั้งสิ้น ทั้งเพลง ‘เจน-นุ่น-โบว์’ เพลง ‘สิบสอง’ เป็นต้น

“ตอนนี้มีหลายเพลตฟอร์มทำวิดีโอสั้น แต่เราก็มั่นใจและไม่ต้องปรับอะไรเยอะ เนื่องจากเรายังคงรูปแบบความครีเอตที่สูง มีชาเลนจ์ที่ทำตามได้ง่าย และมีโลคอลไรซ์แคมเปญเยอะกว่าคู่แข่ง”

สุรยศ เอี่ยมละออ Head of Consumer Marketing TikTok

สวนกระเเสเพิ่มความยาววิดีโอ

อีกกลยุทธ์ที่จะใช้เพื่อเพิ่มฐานผู้ใช้คือ ‘วิดีโอยาว’ โดยปีที่ผ่านมา TikTok ได้เพิ่มความยาวของวิดีโอจาก 15 วินาทีเป็นสูงสุด 3 นาที โดยจะจะสามารถใช้ได้ในผู้ใช้ที่มีคนติดตาม 5,000 คนขึ้นไป แต่ปีนี้จะเปิดให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถสร้างคอนเทนต์ความยาว 3 นาทีได้ อีกส่วนคือ ฟีเจอร์ ‘Live-streaming’ พร้อมด้วยฟีเจอร์เสริมอย่าง ‘Multi-Guest’ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถชวนเพื่อนมาไลฟ์พร้อมกันได้สูงสุด 3 คน เป็นต้น

นอกจากนี้ TikTok เริ่มหาพันธมิตรที่เป็น ‘ผู้ผลิตคอนเทนต์มืออาชีพ’ เช่น สำนักข่าว ค่ายเพลง ค่ายละคร เพื่อสร้างสรรค์คอนเทนต์รูปแบบใหม่ ๆ ล่าสุด ร่วมกับ Star Hunter เปิดตัวซีรีส์แนวตั้งเรื่อง Bad Roommate ความยาวจะอยู่ที่ตอนละ 1-3 นาที รวมการจัดเอ็กซ์คลูซีฟ ไลฟ์สตรีมมิ่ง ร่วมกับศิลปินดัง ๆ

ทั้งนี้ ประเภทคอนเทนต์ที่กำลังได้รับความนิยม คือ ‘ข่าว’ มียอดวิวรวมกว่า 1.1 พันล้านวิว ‘การศึกษา’ เช่น ฮาวทู มียอดวิว 901 ล้านวิว และสุดท้าย ‘คอมเมดี้’ 571 ล้านวิว ซึ่งการเพิ่มระยะเวลาจะช่วยให้คอนเทนต์เหล่านี้สามารถอธิบายเรื่องราวได้ดีขึ้น

ฟังดูย้อนแย้งที่เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นจะเน้นที่วิดีโอยาว แต่วิดีโอยาวจะช่วยเพิ่มให้ผู้ใช้สามารถอธิบายเรื่องราวได้มากขึ้น และฟีเจอร์ไลฟ์ก็จะช่วยให้เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ได้ใกล้ชิดกับแฟนคลับได้ง่ายขึ้น โดยปีที่แล้วเป็นการสร้างการรับรู้ แต่ปีนี้จะเป็นการสร้างเอนเกจเมนต์มากขึ้น

ภาพจาก Facebook TikTok Live Thailand

มั่นใจ TikTok เป็น Top of Mind

ข้อมูลจาก App Annie เปรียบเทียบการใช้แพลตฟอร์ม TikTok ระหว่างเดือนมกราคมปี 2021 กับเดือนมกราคมปี 2020 พบว่าในไทยมีการดาวน์โหลด TikTok เพิ่มขึ้น 44% และมีการเพิ่มขึ้นของการใช้เวลาบนแพลตฟอร์มของผู้ใช้แต่ละคนสูงถึง 71%

โดยมีระยะเวลาการใช้งานในแต่ละครั้งเพิ่มสูงขึ้น 47% มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 18 – 34 ปี ที่ปัจจุบันมีสัดส่วนมากกว่า 54% ของจำนวนผู้ใช้ทั้งหมดในประเทศไทย

ล่าสุด ได้มีการสำรวจความรู้สึกของผู้ใช้คนไทยที่มีต่อ TikTok โดย Kantar พบว่า 83% ของผู้ใช้รู้สึกว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มผู้นำกระแส 82% มองว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่เป็นบวกและทำให้ผู้ใช้รู้สึกดีเมื่อได้ใช้เวลาบนแพลตฟอร์ม

“เรายังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องแม้วิกฤตโควิดจะซาลง โดยเรามั่นใจว่ายังสามารถเติบโตได้อีกโดยเฉพาะช่วงเทศกาล เช่น สงกรานต์ที่จะถึงนี้”

จะเห็นว่าเมื่อเหล่าแพลตฟอร์มใหญ่ที่มีความแข็งแกร่งในด้าน ‘วิดีโอยาว’ ก็หันมาจับตลาด ‘วิดีโอสั้น’ ส่วน TikTok ที่แข็งแรงในตลาดวิโอสั้นก็หนีไปทำวิดีโอยาว ก็ไม่รู้ว่าสงครามนี้จะจบอย่างไร คงต้องดูว่าแพลตฟอร์มใหญ่จะเปลี่ยนผู้ใช้ในมือให้หันมาใช้ฟีเจอร์วิดีโอสั้นของตัวเองได้แค่ไหน ส่วน TikTok เองก็ไม่รู้ว่าวิดีโอยาวที่จะเน้นจะได้รับการตอบรับอย่างไรบ้าง แต่ที่แน่ ๆ เวลาของผู้ใช้โดนขโมยเพิ่มอีกแล้ว

]]>
1324733
รู้จัก ‘Kuaishou’ คู่แข่ง TikTok กำลังขึ้นแท่น IPO มูลค่าสูงสุดนับตั้งแต่เกิด COVID-19 https://positioningmag.com/1317102 Fri, 29 Jan 2021 11:51:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317102 หากพูดถึงแอปวิดีโอสั้น ใคร ๆ ก็คงจะคิดถึง ‘TikTok’ มาเป็นอันดับแรกแน่นอน และหลายคนคงไม่รู้จัก ‘Kuaishou’ (ไคว่โฉ่ว) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นเหมือนกับ TikTok แถมยังเคยเข้ามาทำตลาดในไทยชื่อ ‘Klip’ ในช่วงปี 2018 (แล้วก็หายไปเรียบร้อยแล้ว)

โดย Kuaishou นั้นถือเป็นคู่แข่งเบอร์ต้น ๆ ของ TikTok หรือ Douyin ในประเทศจีนเลยทีเดียว และสิ่งที่น่าสนใจคือ Kuaishou เตรียมเปิด IPO ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์นี้ โดยหลายคนคาดว่าจะเป็น IPO แรกที่มีมูลค่าสูงสุดในโลกในรอบ 1 ปีที่เกิด COVID-19 มา

รู้จัก Kuaishou

Kuaishou ถือเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นเหมือนกับ TikTok ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศจีน โดยผู้ใช้หลักจะเป็นคนจีนทางตอนเหนือเน้นไปที่ผู้ใช้ในแถบชนบท โดยผู้ใช้หลักอายุเฉลี่ย 25-34 ปี เป็นหญิง-ชายเฉลี่ยเท่า ๆ กัน ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่ให้ความสนใจในตัวบุคคลเป็นหลัก ดังนั้น เวลาไลฟ์จะมีผู้ชมที่ติดตามมาชมเยอะกว่า ขณะที่เนื้อหาวิดีโอส่วนมากเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน มีความหลากหลายสูง

(Photo by VCG/VCG via Getty Images)

ในปี 2017 Kuaishou เคยขึ้นอันดับ 1 แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นในจีนแซงหน้า Meipai และ Miaopai โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2020 Kuaishou มีผู้ใช้งานแอปฯ 262.4 ล้านคนต่อวัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2019 ที่มีผู้ใช้ 165.2 คนต่อวัน ส่วนยอดผู้ใช้จ่ายรายเดือนเพิ่มขึ้นเป็น 59.9 ล้านคนจาก 48.5 ล้านคน อย่างไรก็ตาม แม้ผู้ใช้งานจะเติบโต แต่บริษัทกลับขาดทุนในช่วง 9 เดือนแรกถึง 7.24 พันล้านหยวนเนื่องจากค่าใช้จ่ายทางการตลาดพุ่งสูงขึ้น

สำหรับเจ้าของ Kuaishou นั้นถือเป็น Top 5 เศรษฐีวัยรุ่นของจีน โดย ชาง อีเซียว ปัจจุบันอายุ 36 ปี เขาเริ่มเข้าสู่วงการเทคโนโลยีจากการเป็นวิศวกรรมซอฟต์แวร์ในบริษัท HP จากนั้นก็กลับมาอยู่ที่จีนและทำงานให้กับบริษัทเทคโนโลยีที่ชื่อว่า Renren ก่อนที่จะมาทำแอปฯ Kuaishou ของตัวเอง

IPO ที่มีมูลค่าสูงสุดนับตั้งแต่การระบาด

ที่ผ่านมา บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนคือ Tencent ผู้พัฒนา WeChat ก็ได้ประกาศทุ่มเงินทุนเป็นมูลค่ามากกว่า 350 ล้านเหรียญสหรัฐ เป้าหมายเพื่อพัฒนาและขยายให้ Kuaishou ไปรุกตลาดต่างประเทศมากขึ้น รวมถึงเพิ่มลูกเล่นต่าง ๆ เข้าไปมากขึ้น โดยช่วงปี 2018 Kuaishou ก็ได้เริ่มทำตลาดในต่างประเทศ เปลี่ยนชื่อเป็น Klip โดยเจาะตลาดเกาหลี รัสเซีย ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ล่าสุด Kuaishou เตรียมจะระดมทุนในวันที่ 5 กุมภาพันธ์นี้ โดยมีแผนจะออกหุ้นประมาณ 365 ล้านหุ้นโดยมีราคาระหว่าง 105-115 ดอลลาร์ฮ่องกง (13.55-14.84 ดอลลาร์สหรัฐ) หลายคนมองว่าการระดมทุนนี้จะมีมูลค่าสูงถึง 5.24 พันล้านเหรียญสหรัฐ และทางนักลงทุนสัมพันธ์ของ Kuaishou ระบุว่าอาจจะมีการออกหุ้นเพิ่มเพื่อระดมทุนให้กับบริษัท ซึ่งอาจจะช่วยเพิ่มเป็น 6.2 พันล้านเหรียญ ถ้ามีความต้องการมากจริง ๆ ซึ่งนั่นจะทำให้ Kuaishou ขึ้นแท่นการระดมทุนสูงที่สุดในรอบ 1 ปีตั้งแต่มี COVID-19

(Photo credit should read Costfoto/Barcroft Media via Getty Images)

อย่างไรก็ตาม การระดมทุนที่สูงสุดในฮ่องกงยังเป็นของ China Tower Corp ผู้เป็นเจ้าของเสาโทรคมนาคมทั่วประเทศจีนที่ระดมทุนได้ 7.4 พันล้านเหรียญไปในเดือนสิงหาคม ปี 2018 และในแง่ของบริษัทดิจิทัลเทคโนโลยี Uber Technologies นับเป็นที่ 1 โดยระดมทุนไปได้ 8.1 พันล้านเหรียญ

SCMP / CNN / CNBC

]]>
1317102
YouTube Shorts คู่แข่ง TikTok ยอดวิวพุ่งกระฉูด 3,500 ล้านครั้งต่อวันในอินเดีย https://positioningmag.com/1316780 Thu, 28 Jan 2021 03:22:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1316780 นับเป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่ส่อแววมาแรง สำหรับ “YouTube Shorts” บริการแชร์คลิปวิดีโอสั้นที่ค่ายยูทูบส่งมาเป็นคู่แข่งกับ TikTok โดยล่าสุดมีการเผยว่าเจ้าฟีเจอร์ตัวใหม่ซึ่งกำลังทดลองให้บริการในเวอร์ชันเบต้า (Beta) ที่อินเดียมียอดวิวพุ่งกระฉูดถึง 3,500 ล้านครั้งต่อวัน

ซูซาน วอจซิกกี (Susan Wojcikci) ซีอีโอ YouTube ระบุว่า “คลิปวิดีโอในแพลตฟอร์ม Shorts ซึ่งช่วยให้ผู้คนทั่วโลกสามารถดูคลิปสั้นๆ ผ่านทางยูทูบ มียอดวิวที่น่าประทับใจถึง 3,500 ล้านครั้งต่อวัน!”

“เรามีแผนที่จะขยายบริการ Shorts ไปยังตลาดอื่นๆ ด้วยภายในปีนี้”

YouTube ซึ่งเป็นบริษัทลูกในเครือกูเกิล (Google) เปิดตัว Shorts เมื่อกลางเดือน ก.ย.ปีที่แล้ว เพื่อเป็นแพลตฟอร์มใหม่สำหรับนักสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ต้องการ “แสดงตัวตนผ่านคลิปวิดีโอสั้นแค่ 15 วินาที หรือต่ำกว่านั้น”

ฟีเจอร์ตัวนี้ถูกรวมเอาไว้ในแอปฯ YouTube และปัจจุบันยังคงเปิดให้ทดลองใช้งานได้เฉพาะในอินเดีย

YouTube Shorts ถือเป็นบริการที่กูเกิลตั้งใจสร้างขึ้นมาเพื่อแข่งขันโดยตรงกับแอปฯ แชร์วิดีโอสั้นสัญชาติจีนอย่าง TikTok ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในกลุ่มวัยรุ่น Gen-Z และมีผู้ใช้งานราว 700 ล้านคนทั่วโลกในขณะนี้

YouTube สบโอกาสเข้าไปตีตลาดคลิปวิดีโอในแดนภารตะ หลังเกิดข้อพิพาทชายแดนในภูมิภาคลาดักห์ระหว่างจีนกับอินเดีย ซึ่งทำให้รัฐบาลเดลีสั่งแบน 59 แอปพลิเคชันจีนเมื่อเดือน ก.ค.ปีที่แล้ว รวมถึง TikTok ด้วย

อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เคยขู่จะแบน TikTok ในอเมริกา โดยกล่าวหาว่าแอปฯ นี้ว่าเป็นเครื่องมือสอดแนมของรัฐบาลจีน ซึ่งก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน

ทางด้านเฟซบุ๊กก็ตอบสนองความแรงของ TikTok ด้วยการปล่อยฟีเจอร์ Reels ออกมาชนเมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา

Source

]]>
1316780