สวนสาธารณะ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 28 Oct 2021 12:03:28 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 คำถามเพียบ! ผอ. UddC กังขาโครงการ “คลองช่องนนทรี” ลงทุนเกือบพันล้าน ตอบโจทย์อย่างไร? https://positioningmag.com/1359042 Thu, 28 Oct 2021 10:40:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1359042
“อาจารย์แดง-นิรมล” ผอ. UddC เจ้าของผลงานออกแบบสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ตั้งคำถามยาวเหยียดถึงโครงการ “คลองช่องนนทรี” ของ กทม. ที่ต้องการจะเป็นคลองชองเกชอนแห่งกรุงเทพฯ ลงทุน 980 ล้านแต่การออกแบบตอบโจทย์การพัฒนาเมืองจริงหรือ? โดยพบว่าไม่มีกระบวนการรับฟังความเห็นประชาชนในพื้นที่ ไม่เปิดเผยข้อมูลระบบจัดการน้ำในคลอง และไม่ทราบว่าจะข้ามถนนไปใช้ได้อย่างไร

“ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล” ผู้อำนวยการ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ UddC โพสต์บทความวิพากษ์โครงการ “คลองช่องนนทรี” ของกทม. มูลค่าโครงการ 980 ล้านบาท ใน Facebook ส่วนตัว “Daeng Niramon” แบบยาวเหยียดจัดเต็ม โดย Positioning ขอย่อความมาไว้ที่นี้ (สำหรับบทความเต็มสามารถอ่านได้ในโพสต์นี้)

สำหรับโครงการคลองช่องนนทรีของ กทม. ข้อมูลเบื้องต้นคือต้องการจะปรับคลองช่องนนทรีให้เป็น “สวนสาธารณะริมคลองแห่งแรกของประเทศไทย” มีทั้งการปรับภูมิทัศน์คลองและปรับปรุงระบบระบายน้ำ โดยเปรียบเทียบกับการปรับปรุง คลองชองเกชอน กรุงโซล เกาหลีใต้ ซึ่งทำหน้าที่ได้ทั้งการระบายน้ำ รับมือน้ำท่วม และกลายเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของเมือง

ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการ UddC

บริเวณการดำเนินโครงการ ตลอดแนวคลองช่องนนทรี นับตั้งแต่แยกถนนนราธิวาสฯ ตัดถนนสุรวงศ์ จนถึงแยกถนนนราธิวาสฯ ตัดถนนพระราม 3 ความยาว 4.5 กิโลเมตร โครงการเริ่มเปิดตัวเดือนพฤศจิกายนปี 2563 และขณะนี้เริ่มงานก่อสร้างแล้ว โดยเริ่มจากช่วงแยกตัดถนนสุรวงศ์จนถึงแยกตัดถนนสาทรระยะทาง 800 เมตรก่อน คาดว่าแล้วเสร็จพร้อมเปิดบริการ 25 ธันวาคมนี้

ข้อกังขาของ ผศ.ดร.นิรมล มีหลายประเด็น เช่น

“โครงการไม่มีการรับฟังความคิดเห็นประชาชนโดยรอบ”

จากการสำรวจพื้นที่ 2 กิโลเมตรรอบโครงการ มีร้านค้า 214 ร้าน อาคารสำนักงาน 457 แห่ง มียานพาหนะผ่าน 293,000 คันต่อวัน ซึ่งคิดเป็นจำนวนคนสัญจรกว่า 350,000 คน แต่ผศ.ดร.นิรมลลงพื้นที่สอบถามร้านค้าและคนทำงานในย่าน (เนื่องจากบ้านของอาจารย์แดงอยู่ในย่านนี้เช่นกัน) ส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าจะมีโครงการ และท่านที่ทราบก็ทราบจากโซเชียลมีเดีย

“ข้อมูลรายละเอียดน้อย”

ข้อมูลที่สื่อสารกับประชาชนมีเพียงงานแถลงข่าววันที่ 11 พ.ย. 2563 การอัปเดตผ่าน Facebook Page และการแถลงเปิดตัวโครงการวันที่ 16 ต.ค. 64 โดยไม่มีเอกสารอย่างเป็นทางการที่ประชาชนเข้าถึงได้ รวมถึงภาพที่ใช้ประชาสัมพันธ์โครงการยังคงเป็นภาพที่ระบุว่า “เป็นภาพจำลองเพื่อใช้ในนิทรรศการเท่านั้น ยังไม่ได้ออกแบบจริง”

ภาพการก่อสร้างโครงการสวนสาธารณะคลองช่องนนทรี (ภาพจาก: Facebook Page เอิร์ท พงศกร ขวัญเมือง)
“ทำอย่างไรกับหน้าที่ระบายน้ำของคลองช่องนนทรี”

ผศ.ดร.นิรมล กล่าวว่า คลองช่องนนทรีที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2542 มีหน้าที่เป็นคลองระบายน้ำของโซนกรุงเทพใต้ โดยหน้าแล้งจะพร่องน้ำออกจนแห้งเพื่อรอรับน้ำหน้าฝน แต่จากการนำเสนอแบบของโครงการเห็นว่าจะรักษาระดับน้ำให้ปริ่มตลิ่งเสมอเพื่อให้เกิดความสวยงาม รวมถึงมีการออกแบบทางเดินบางช่วงให้พาดกลางคลอง หรือยื่นไปริมคลอง ซึ่งจะต้องมีเสาเป็นตัวรับน้ำหนัก

ดังนั้น คำถามคือ ตัวคลองจะยังใช้รับน้ำและระบายน้ำได้อยู่หรือไม่ หรือจะใช้ระบบใดทดแทนเพื่อไม่ทำให้น้ำท่วม และจะจัดการขยะที่มาติดตามเสารับน้ำหนักอย่างไร

ทั้งนี้ ผศ.ดร.นิรมล ยกตัวอย่างคลองชองเกชอนที่ กทม. ยกเป็นต้นแบบว่า คลองมีการขุดลงไปให้ลึกถึง 7 เมตร (เทียบเท่าตึก 2 ชั้น) เพื่อรับมือน้ำท่วม การขุดลึกขนาดนี้คำนวณจากสถิติน้ำท่วมย้อนหลัง 200 ปี

 

“การบำบัดคุณภาพน้ำยังไม่มีวิธีที่ดีพอและไม่ระบุงบประมาณ”

จากเป้าหมายโครงการต้องการให้เป็นสวนริมคลองที่สวยงาม น้ำใส น่าสัมผัสใกล้ชิด แต่อาจารย์แดงมองว่าโครงการยังไม่มีแนวทางบำบัดน้ำที่ดีพอ ปัจจุบันน้ำในคลองช่องนนทรีเน่าเสียอย่างมาก ค่า DO (Dissolved Oxygen) อยู่ที่ 0.5 มิลลิกรัม/ลิตร เท่านั้น เพราะว่าเป็นคลองรับน้ำเสียจากย่าน CBD จึงไม่เหมาะกับการให้คนไปสัมผัสใกล้น้ำ

แนวทางที่โครงการเสนอเพื่อบำบัดน้ำจะใช้วิธี “ขังน้ำและใช้พืชบำบัด” ซึ่งมองว่าเป็นการใช้ “ยาหม่องทามะเร็ง” เพราะปกติวิธีนี้ต้องมีพื้นที่ขนาดใหญ่ไว้ขังน้ำ และต้องเป็นน้ำที่ไม่ได้เสียอย่างรุนแรง และอีกสองวิธีบำบัดน้ำคือทำ “กำแพงน้ำตก” รวมถึงชวนประชาชน “ปั่นจักรยานบำบัดน้ำ” ขอเสนอให้เลี่ยงเพราะละอองฝอยจากการตีน้ำเสียขึ้นมานั้นอาจเป็นอันตรายกับสุขภาพ

ในแบบจะมีการติดตั้งจักรยานปั่นเพื่อบำบัดน้ำเสีย

ส่วนการเสนอดีไซน์ Aerated ใช้ท่อแทนคลองในการระบายน้ำเสีย มองว่ายังต้องการรายละเอียดที่ชัดเจนมากขึ้นถึงระบบที่จะทำ

เมื่อเปรียบเทียบกับ คลองชองเกชอน มีระบบบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนประชาชนก่อนจะปล่อยลงคลอง และต้องสูบน้ำจากแม่น้ำฮันเข้ามาเพิ่ม จึงทำให้น้ำใสได้ แต่ข้อเสียคือ ระบบนี้ต้องใช้งบบำรุงต่อปีสูงมาก ทั้งค่าไฟฟ้า ค่ารักษาปั๊มน้ำ ค่าเก็บเศษใบไม้สาหร่ายออก ฯลฯ ค่าใช้จ่ายตกปีละ 260 ล้านบาททำให้ถูกวิจารณ์มาตลอดว่าโครงการไม่ยั่งยืนทางการเงิน ส่วนโครงการคลองช่องนนทรียังไม่ปรากฏรายละเอียดว่าจะใช้งบบำรุงรักษาการบำบัดน้ำต่อปีเท่าใด

 

“จะข้ามไปใช้สวนที่อยู่เกาะกลางถนนอย่างไร”

สวนคลองช่องนนทรีนี้ยังไม่มีการระบุว่าประชาชนจะข้ามถนนไปใช้ได้อย่างไร เนื่องจากตั้งอยู่เกาะกลางของถนน 8 เลน (ฝั่งละ 4 เลน รวมเลน BRT) และเป็นหนึ่งในถนนที่การจราจรคับคั่งมาก

ผศ.ดร.นิรมลยกตัวอย่างทางปลายถนนนราธิวาสฯ ใกล้กับจุดตัดถนนพระราม 3 จะมีลานตรงกลางถนนเรียกว่า ลานเรือยานนาวา ซึ่งจากการสอบถามรปภ.คอนโดมิเนียมใกล้เคียง ทราบว่ามีคนข้ามไปใช้วันละ 1-2 คนเท่านั้น เพราะถนนใหญ่ รถวิ่งเร็ว ข้ามยาก

ส่วนถ้าเทียบกับ คลองชองเกชอน จะมีการ “ถักคลอง” ให้เป็นเนื้อเดียวกับการเดินของคนในเมือง เพราะเป็นการฟื้นฟูเมืองที่ไปด้วยกันทั้งระบบ ถนนข้างคลองชองเกชอนถูกลดขนาดเหลือฝั่งละ 2 เลน และมีสะพานข้ามเฉลี่ยทุกๆ 300 เมตร ส่วนรถที่เคยสัญจรผ่านทางนี้ การออกแบบเมืองได้เปลี่ยนทิศทางไปขยายถนนที่ออกรอบพื้นที่ CBD เก่าตรงนี้แทน เพื่อให้รถเข้ามาในเมืองน้อยลง และเพิ่มระบบขนส่งมวลชนให้การเดินทางเข้ามาไม่ต้องใช้รถส่วนตัว

 

“ใครมีหน้าที่รับผิดชอบ?”

จากการค้นข้อมูล ผศ.ดร.นิรมลพบว่าโครงการมีเฉพาะชื่อและโลโก้หน่วยงานที่ติดบนป้ายประกาศและเว็บประชาสัมพันธ์ แต่ไม่มีชื่อของผู้รับผิดชอบโครงการหรือคณะกรรมการโครงการอย่างเป็นทางการ มีเฉพาะชื่อภูมิสถาปนิกผู้ออกแบบที่อาจอนุมานได้ว่าเป็นหัวหน้าโครงการ ส่วนเบอร์ติดต่อมีติดไว้ที่ป้ายหน้าไซต์ก่อสร้าง แต่โทรฯ ไปแล้วมักไม่มีผู้รับสาย มีการรับสาย 1 ครั้งและปลายสายแจ้งว่าไม่สามารถให้ข้อมูลได้

(ทั้งนี้ ผู้ออกแบบโครงการนี้คือ กชกร วรอาคม ซึ่งเป็นสถาปนิกที่ออกแบบโครงการอุทยานจุฬา 100 ปี)

(ภาพจาก: Facebook Page “Daeng Niramon)

สรุปจากอาจารย์แดง ผอ. UddC มองว่าโครงการนี้มีการเร่งรัดก่อสร้างอย่างมาก และกังวลว่าโครงการนี้จะกลายเป็นโครงการฟอกเขียว เข้าทำนอง Green Disney / Green Wash ลงทุนไปมากแต่ไม่ได้ผลกลับมาตามที่คิด จึงออกมาตั้งคำถามดังๆ ถึงผู้ที่รับผิดชอบโครงการ

ความคิดเห็นทั่วไปของประชาชนที่รับทราบโครงการ ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับโครงการคลองช่องนนทรี หลายคนมองด้วยความกังวลเช่นเดียวกับผศ.ดร.นิรมล คือเกรงว่าคลองจะไม่สามารถบำบัดน้ำเน่าได้ และไม่มีทางข้ามไปใช้งาน ทำให้กลายเป็นสวนร้าง ผลาญงบประมาณภาษี หลายคนเห็นว่างบ 980 ล้านบาทน่าจะนำมาใช้ปรับปรุงสิ่งที่คนย่านนี้ต้องการ เช่น ปรับปรุงทางเท้า ไฟส่องทาง นำสายไฟลงดิน จะมีประโยชน์กว่า

อ่านต่อเรื่องรายละเอียดงบประมาณโครงการคลองช่องนนทรีได้ที่โพสต์ผศ.ดร.นิรมล

]]>
1359042
พาชม “สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา” เปลี่ยนโครงสร้างรกร้างของรถไฟฟ้าลาวาลินเป็นพื้นที่สีเขียว https://positioningmag.com/1286117 Wed, 01 Jul 2020 13:18:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286117 “สะพานด้วน” ซึ่งเป็นโครงสร้างเก่าของโครงการรถไฟฟ้าลาวาลินถูกทิ้งร้างมานาน 30 ปีในสภาพตอม่อสร้างไม่เสร็จระหว่างเลนถนนไปและกลับของสะพานพระปกเกล้า แต่บัดนี้ UddC และ กทม. ได้ร่วมกันพลิกฟื้นต่อเติมจนสะพานแห่งนี้เป็นทางเดินคนข้ามและเป็น “สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา” โครงการต้นแบบของการนำพื้นที่และโครงสร้างทิ้งร้างกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่โดยไม่ต้องทุบทำลาย

โครงการ “สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา” เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2563 หลังจากเริ่มต้นวางแผนมานาน 5 ปี ได้รับงบประมาณก่อสร้างเมื่อปี 2560 และต่อเติมโครงสร้าง ปลูกต้นไม้ตกแต่งจนเสร็จเรียบร้อยในปีนี้ ครบรอบ 30 ปีนับจากปีที่โครงการรถไฟฟ้าลาวาลินเริ่มดำเนินการก่อสร้างพอดี

สวนลอยฟ้าเจ้าพระยาเป็นการรีโนเวตโครงสร้างเก่าของรถไฟฟ้าลาวาลินที่สร้างไม่เสร็จดังกล่าว สภาพดั้งเดิมของพื้นที่มีเพียงตอม่อปักอยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างเลนถนนไปและกลับของสะพานพระปกเกล้า ไม่มีทางขึ้นหรือลงสะพาน ทำให้ชาวบ้านในชุมชนย่านนั้นเรียกขานกันว่า “สะพานด้วน” และแน่นอนว่าสะพานที่ไม่มีทางขึ้นลงย่อมใช้ประโยชน์ใดไม่ได้

ภาพสะพานด้วนในอดีต (photo : UddC)

โครงการพัฒนาพื้นที่สะพานด้วนนั้นเกิดขึ้นมาในช่วงที่ กทม. และ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UddC) นำโดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการ UddC เป็นหัวหน้าทีมวางผังแม่บทอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสานเมื่อ 5 ปีก่อน ระหว่างนั้น “ประดิษฐ์ ห้วยหงษ์ทอง” ประธานชุมชนบุปผารามย่านกะดีจีน ทักขึ้นมาว่าสะพานด้วนที่ถูกทิ้งไว้เฉยๆ ควรที่จะนำมาใช้ประโยชน์บ้าง

ทาง UddC จึงปิ๊งไอเดียชวน กทม. เป็นมือประสานสิบทิศเพื่อปรับปรุงสะพานด้วนเป็นทางเดินเท้า จักรยาน และสวนสีเขียวให้สำเร็จ

ภาพจำลอง perspective โครงการสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา

สาเหตุที่ กทม. ต้องประสานงานเนื่องจากพื้นที่นี้อยู่ในความดูแลของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) แต่ กทม.ต้องการจัดงบลงทุนปรับปรุงพื้นที่ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ผศ.ดร.นิรมล ก็ให้ความเห็นไว้ด้วยว่า ยังถือเป็นโครงการที่ซับซ้อนน้อย เพราะการก่อสร้างไม่จำเป็นต้องเวนคืนที่ดินของใคร ทั้งยังใช้งบประมาณไม่มาก ทำให้ไม่ติดปัญหาในเชิงราชการมากเท่าโครงการอื่นๆ

หลังจากวางแผนงาน ทำประชาพิจารณ์ และ กทม.ได้รับอนุมัติงบประมาณ 129 ล้านบาท โครงการก็เริ่มก่อสร้างเพื่อต่อขาให้สะพาน

 

ทางเดินที่ร่มรื่น เชื่อมพระนคร-ธนบุรี

การออกแบบสวนลอยฟ้าบนสะพานแห่งนี้ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดหลายอย่าง ได้แก่ สะพานมีความยาว 280 เมตร แต่กว้างเพียง 8 เมตร, สะพานอยู่ระหว่างสะพานพระปกเกล้าที่มีรถสัญจรไปมา คนในสวนต้องปลอดภัยจากรถ และรถต้องปลอดภัยจากต้นไม้ในสวน, โครงสร้างสะพานที่อยู่มานาน 30 ปีต้องระมัดระวังการรับน้ำหนัก นอกจากนี้ สวนยังต้องมีลักษณะที่เป็น “แลนด์มาร์ก” ใหม่ ตามความตั้งใจให้เป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยว

ทั้งหมดทั้งมวลทำให้ทีมออกแบบจาก LANDPROCESS และ N7A ผู้รับผิดชอบโครงการนี้ ดีไซน์ให้สะพานมีการยกระดับบางส่วนเป็น “อัฒจรรย์” เพื่อให้เป็นจุดชมวิว เนื่องจากสะพานนี้อยู่ในจุดที่สวยงามของกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตกเป็นวิวสะพานพุทธ และวิวตะวันออกเป็นแลนด์สเคปเมืองตั้งแต่ช่วงสามย่านจนถึงสาทร

ทางเดินยกระดับสองชั้นบางส่วน ทำให้ชั้นบนเป็นอัฒจรรย์ชมวิว
บริเวณอัฒจรรย์จะยกสูงเหนือถนนบนสะพานพระปกเกล้า ทำให้เป็นจุดชมวิว

ลักษณะ “สวน” นี้จะไม่เหมือนสวนขนาดใหญ่ต้นไม้ครึ้มอย่างสวนลุมพินีหรือสวนรถไฟ เพราะโครงสร้างอาจรับหน้าดินหนักๆ ไม่ได้มาก และมีไม้ดอกไม่มากเนื่องจากกลางสะพานจะมีลมแรง รวมถึงไม่ต้องการให้พื้นที่มืดทึบเกินไป ป้องกันการกลายเป็นแหล่งซ่องสุมในยามกลางคืน แม้ว่าจะมีรั้วกั้นทางเข้าออกทั้งสองด้านและติดตั้งกล้องวงจรปิด อีกทั้งต้องระวังไม่เลือกต้นไม้ที่จะแผ่กิ่งก้านออกไปร่วงหล่นใส่ถนนบนสะพานพระปกเกล้า

ดังนั้น โครงการจึงเลือกปลูก ต้นมะกอกน้ำ เป็นหลัก (เพื่อให้พ้องกับคำว่า “บางกอก”) พืชพรรณที่จะได้เห็นจึงเป็น ต้นรัก ใบต่างเหรียญ หญ้าหนวดแมว ชงโค ต้อยติ่ง เป็นต้น ดังนั้น สวนลอยฟ้าแห่งแรกของกรุงเทพฯ จึงเหมือนทางเดิน-ทางจักรยานที่มีต้นไม้ดอกไม้บ้างพอให้ดูร่มรื่น

ทางเดินกว้าง 8 เมตร มีบันไดที่นั่งข้างทางเป็นระยะๆ
ส่วนหนึ่งของพืชพรรณบนสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา

บรรยากาศดี เปิดมุมมองใหม่ของกรุงเทพฯ

ขณะนี้ต้นไม้ใบหญ้าต่างๆ เพิ่งลงปลูก ทำให้บรรยากาศอาจจะดูโล่งกว่าในภาพ perspective ของโครงการ แต่ก็ถือว่าทำให้การเดินข้ามสะพานในเวลา 4 โมงเย็นของเราไม่ร้อนโหดร้ายเกินไป นับว่าเป็นความสำเร็จของผู้ออกแบบที่ทำให้พื้นที่กลายเป็นจุดที่น่าเดินออกกำลังกาย

ไฮไลต์สำคัญอย่างหนึ่งของสะพานคือการปรับบริเวณ 2 จุดของสะพานเป็น “อัฒจรรย์” ยกสูงขึ้นไปเหนือสะพานพระปกเกล้า โดยอัฒจรรย์ฝั่งหนึ่งจะเห็นวิวตะวันตกคือฝั่งสะพานพุทธ และอีกฝั่งหนึ่งเป็นวิวเมืองช่วงสามย่าน-สาทร-เจริญนคร ที่เราจะได้เห็นตึกที่เป็นไอคอนของกรุงเทพฯ อย่างไอคอนสยาม โรงแรมเลอบัว ตึกมหานคร และไอดีโอ คิว จุฬา-สามย่านที่คนเรียกกันเล่นๆ ว่า “ตึกยานแม่”

วิวฝั่งสะพานพุทธ
วิวฝั่งเมือง สามย่าน-สาทร-เจริญนคร

บรรยากาศช่วงหลัง 5 โมงเย็นนั้นมีประชาชนเดินทางมาชมพระอาทิตย์ตกดินกันอย่างคึกคัก นั่งกันเต็มแน่นเกือบทั้งอัฒจรรย์ สะท้อนให้เห็นอีกหนึ่งความเป็น “แลนด์มาร์ก” สำหรับท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจตามที่ทีมงานตั้งใจเช่นกัน

ทางขึ้นลงมีลิฟต์บริการสำหรับวีลแชร์ คนชรา รถเข็นเด็ก และผู้ที่ต้องการความช่วยเหลืออื่นๆ

สำหรับผู้ที่สนใจไปเยือน ทางขึ้นลง “สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา” ฝั่งคลองสานจะอยู่ในสวนป่า กทม. เฉลิมพระเกียรติเชิงสะพานพระปกเกล้า ส่วนฝั่งพระนครจะอยู่ในสวนพระปกเกล้าฯ เปิดปิดเวลา 05.00-20.00 น. ทุกวัน ระยะนี้ผู้ที่ต้องการเข้าชมสวนต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเพื่อป้องกันการระบาดของโรค COVID-19

วันหยุดนี้หากยังไม่มีจุดหมายการเดินทาง การไปนั่งมองพระอาทิตย์ขึ้นและลงบนสวนลอยฟ้าเจ้าพระยาก็น่าสนใจไม่น้อย

]]>
1286117
เสี่ยงนะกล้าไหม? สวนสนุกในอเมริกา ติดป้ายเตือนอาจติด COVID-19 แม้มีมาตรการป้องกัน เพื่อเลี่ยงถูกฟ้อง https://positioningmag.com/1281579 Mon, 01 Jun 2020 11:10:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281579 “หากคุณเข้าร่วมการแข่งขันเบสบอลคุณยอมรับความเสี่ยงที่คุณอาจถูกเบสบอลตี” นี่คือ ‘ข้อสรุป’ ของผู้พิพากษาในรัฐมิสซูรีและมินนิโซตา เพียงแต่ในปี 2020 เกมเบสบอล คือ สถานที่สาธารณะ และ ลูกเบสบอล คือ COVID-19

NEW YORK, NEW YORK – MAY 31: People sit in the social distance circles on the grass at Domino Park with a view of the Williamsburg Bridge in the Williamsburg neighborhood of Brooklyn on May 31, 2020 in New York City. Government guidelines encourage wearing a mask in public with strong social distancing in effect as all 50 US states have begun to slowly reopen after weeks of stay-at-home measures to control the spread of COVID-19. (Photo by Rob Kim/Getty Images)

ในขณะที่หลายธุรกิจพยายามเปิดประตูต้อนรับลูกค้าอีกครั้ง โดยมีมาตรการความปลอดภัย เช่น การใส่มาสก์, การตรวจสอบอุณหภูมิ และการเว้นระยะห่างทางสังคม ที่ถูกบังคับใช้แล้ว แต่กฎเหล่านี้ไม่ได้แปลว่าความเสี่ยงของการติด COVID-19 นั้น เป็น 0 นั่นเป็นสาเหตุที่ธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็กออกแถลงการณ์และวางป้ายเพื่อบอกผู้มีอุปการคุณว่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อ COVID-19 ในที่สาธารณะ

สัญญาณได้ถูกโพสต์ที่สวนสาธารณะสำนักงานทันตกรรมและสถานที่ YMCA ทั่วประเทศ แต่แบรนด์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในการออกป้ายเตือนความเสี่ยงเหล่านี้คือ Disney และ Universal เนื่องจากบริษัททั้งสองได้เปิดศูนย์การค้าในฟลอริดาอีกครั้ง และกำลังเตรียมที่จะเปิดสวนสนุกในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ทั้งคู่ได้เตือนลูกค้าว่า เมื่อเข้าไปในสถานที่ของพวกเขา ทุกคนต่างมีความเสี่ยงในการติด COVID-19

“สวนสาธารณะมีหน้าที่รับผิดชอบในการทำให้มันปลอดภัย ไม่ว่าจะด้วยการทำความสะอาดสวนสาธารณะทั้งหมด รวมถึงกลั่นกรองพนักงานของพวกเขาให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้คนที่ทำงานในสวนสาธารณะอย่างดีที่สุด แต่ก็ไม่ได้แปลว่า จะไม่มีไวรัส” Barry Kantrowitz หุ้นส่วนที่ Kantrowitz, Goldhamer & Graifman กล่าว

ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่สวนสนุกในการเตือนถึงความเสี่ยง อย่างรถไฟเหาะตีลังกาก็มาพร้อมกับคำเตือนด้านความปลอดภัยแนะนำผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ มีอาการบาดเจ็บที่หลัง หรือมีความไวต่อแสงแฟลชเพื่อเข้าร่วมในความเสี่ยงของตนเอง ซึ่งการทำสิ่งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้าอ้างว่าพวกเขาไม่ได้ตระหนักถึงความเสี่ยงและบอกว่าสวนสนุกนั้นประมาท ซึ่งมันเป็นความรู้สึกเดียวกันเมื่อเตือนลูกค้าเกี่ยวกับความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19

อย่างไรก็ตาม หากพูดถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากเครื่องเล่น ไม่ได้หมายความว่าบริษัทจะไม่ต้องรับผิดชอบ แต่อาจต้องรับผิดชอบหากข้อผิดพลาดเกิดจากบริษัทเอง เช่น อุปกรณ์ชำรุด แต่ในกรณีของ COVID-19 นั้น โจทก์จะต้องพิสูจน์ว่า เขาทำตามมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด และธุรกิจดังกล่าวไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย แต่ปัญหาคือ จะพิสูจน์ได้อย่างไรว่า ได้รับมาจากที่ใดในที่สาธารณะ?

ดังนั้น ในกรณีของ COVID-19 บุคคลนั้นจะต้องพิสูจน์ว่ามาตรการความปลอดภัยถูกละเลยโดยบริษัท เช่น หากพนักงานที่คอยดูแลลูกค้าที่ไปที่สวนสนุกก็มีอาการป่วยอย่างเห็นได้ชัดไอและมีไข้ แต่ผู้จัดการของเขาไม่ได้ส่งเขากลับบ้านบางทีอาจมีกรณีหนึ่งเกิดขึ้น

“ถือเป็นความรับผิดชอบขงเจ้าของสถานที่ หากสถานที่เหล่านั้นมีความประมาท และไม่ได้ทำสิ่งที่สมเหตุสมผลในสถานการณ์”

Source

]]>
1281579