สารัชถ์ รัตนาวะดี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 22 Aug 2023 14:23:32 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ศูนย์ไตเทียมประสิทธิภาพสูง รพ.ธรรมศาสตร์ฯ อีกหนึ่งภารกิจที่ “กัลฟ์” หวังยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่คนไทย https://positioningmag.com/1441752 Wed, 23 Aug 2023 10:00:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1441752

“โรคไต” เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ด้านสุขภาพของประเทศ โดยจากรายงานของ The United States Renal Data System (USRDS) พบว่า ไทย เป็น 1 ใน 5 ประเทศที่มีอัตราการเกิดโรคไตสูงที่สุด สอดคล้องกับข้อมูลจาก กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่ระบุว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยไตเรื้อรังมากถึง 11.6 ล้านคน และมีจำนวนมากกว่า 1 แสนคนที่ต้องล้างไตต่อเนื่อง นั่นจึงทำให้ “บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)” ได้สนับสนุนเงินกว่า 55 ล้านบาท ร่วมสร้าง ศูนย์ไตเทียมประสิทธิภาพสูง โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย

“ในช่วงเวลาสำคัญที่ผมเคยพาคุณพ่อเข้ารับการฟอกเลือดเพื่อรักษาโรคไต ถึงจะเป็นโรงพยาบาลเอกชน แต่ก็ยังรอคิวครึ่งค่อนวัน นั่นทำให้ผมตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวพอทราบว่า รพ.ธรรมศาสตร์จะมีการขยายศูนย์ไตเทียมด้วยเทคโนโลยีที่จะทำให้การฟอกเลือดรวดเร็วขึ้น พร้อมกับเก็บฐานข้อมูลไปให้นักศึกษาแพทย์ใช้ต่อยอดการเรียน จึงไม่ลังเลที่จะเข้ามาสนับสนุนอย่างเต็มที่”

สารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานกรรมการบริหารของกัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

สารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานกรรมการบริหารของกัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กัลฟ์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง ศูนย์ไตเทียมประสิทธิภาพสูง โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งนั่นก็หวังเพื่อที่จะพัฒนาศูนย์ไตเทียมให้มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่มีความทันสมัย

“เป้าหมายของกัลฟ์คือ มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยโดยเฉพาะเรื่องสุขภาพ ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานของการใช้ชีวิตที่สำคัญมากๆ กัลฟ์ จึงอาสาเข้าไปร่วมในโครงการด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะสถานพยาบาลภาครัฐ เพราะอยากจะช่วยแบ่งเบาภาระและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขให้แก่ประชาชน อย่างกรณี ศูนย์ไตเทียมประสิทธิภาพสูงแห่งนี้ก็เช่นกัน ซึ่งผมได้พูดคุยกับทางตัวแทนโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พบว่า โรคไต เป็นปัญหาระดับชาติ ทั้งนี้การปลูกจิตสำนึกเพื่อป้องกันก็สำคัญ แต่วันนี้สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลฟอกไตให้แก่ประชาชนให้เพียงพอ”

ทั้งนี้ ศูนย์ไตเทียมประสิทธิภาพสูง  รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ อยู่บนพื้นที่กว่า 900 ตารางเมตรของโรงพยาบาล มีเครื่องฟอกไตประสิทธิภาพสูงที่สุดในประเทศไทย มากที่สุดถึง 30 เครื่อง รองรับผู้ป่วยได้ 80-90 เคสต่อวัน สามารถให้บริการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รับการรักษาบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ครอบคลุมทั้งการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแบบเรื้อรัง สำหรับผู้ป่วยนอก (OPD) ผู้ป่วยใน (IPD) รวมถึงหัตถการพิเศษสำหรับผู้ป่วยโรคไต เช่น การใส่สายสวนชนิด 2 ช่องทาง (Hemodialysis Catheter) เพื่อใช้ฟอกเลือดทั้งแบบชั่วคราว และแบบถาวร

นอกจากนี้ยังเพิ่มโอกาสของประชาชนในการเข้าถึงนวัตกรรมการฟอกไตประสิทธิภาพสูง (On-line Hemodiafiltration) ที่สามารถขจัดของเสียโมเลกุลใหญ่ ที่การฟอกไตปกติ (Conventional Hemodialysis) ไม่สามารถทำได้ ลดการติดเชื้อ และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในระยะยาว พร้อมด้วยระบบ Smart IT System ที่จัดเก็บข้อมูลของผู้ป่วยแบบดิจิทัลเชื่อมต่อข้อมูลให้นักศึกษาแพทย์นำมาศึกษาและทำวิจัยได้ เพื่อต่อยอดภารกิจการดูแลผู้ป่วยโรคไตในประเทศไทยของโรงเรียนแพทย์ โดยช่วงที่ผ่านมาโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ได้ให้บริการฟอกไตแก่ผู้ป่วยที่โรคไตในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไตวายแบบเรื้อรัง ซึ่งการสนับสนุนของกัลฟ์ในครั้งนี้จะช่วยทำให้โรงพยาบาลสามารถขยายศักยภาพการบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น

“นโยบายด้านสาธารณสุขมีความสำคัญมากสำหรับการเดินหน้าของประเทศเพราะเป็นเรื่องของ Productivity อย่างไรก็ตาม เราเอกชนก็จะพยายามอย่างเต็มที่ในส่วนที่เราเสริมได้หรือแบ่งเบาได้ สิ่งที่ยังอยากทำต่อเนื่องก็คือ การชวนกันให้ดูแลสุขภาพ ป้องกันก่อนที่จะต้องมารักษาตัวในตอนท้าย เหมือนอย่างกรณีโรคไต ที่วัยคนทำงานอาจจะไม่ได้นึกถึง ซึ่งถ้าเพิ่มการตระหนักรู้ และดูแลตัวเอง Prevent ได้ก่อนเกิดโรค ก็จะทำให้เรามีพลังใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ และเป็น Productivity ที่จะช่วยให้ประเทศเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป”

อย่างไรก็ตามนอกจากศูนย์ไตเทียมประสิทธิภาพสูง โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ แล้ว ก่อนหน้านี้ กัลฟ์ ได้เดินหน้าโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย ภายใต้แนวคิด Powering The Future , Empower The People ในการสนับสนุนกิจกรรม ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้า และกระโหลกศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ทั้งการบริจาคเงินเพื่อใช้ในกิจการของศูนย์ฯ  ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าที่พัก มอบให้แก่ผู้ป่วย ค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วย ค่าอาหารผู้ป่วย ฯลฯ มาตั้งแต่ปี 2559 ,  ร่วมเป็นอาสาสมัครในกิจกรรมคลินิคเคลื่อนที่ของทางศูนย์ฯ เดินทางไปรักษาผู้ป่วยตามจังหวัดต่างๆ และ สนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่ผู้ป่วยของศูนย์ฯ โดยให้ทุนต่อเนื่องรวม 4 ปี (2563-2566) เป็นจำนวนเงินกว่า 5 ล้านบาท ตามโครงการทุนการศึกษาให้แก่ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ “หนึ่งทุน หนึ่งฝัน ปั้นอนาคต”

รวมทั้งยังสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องมือผ่าตัดกระดูกสันหลังระบบไฟฟ้าความเร็วสูง ให้โรงพยาบาลตำรวจ  ,สมทบทุนสร้างโรงพยาบาลศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จ.ยะลา , สนับสนุนจัดซื้อเครื่อง Surgical Simulator (หุ่นจำลองเพื่อการเรียนการสอนโรคหลอดเลือดสมอง) ให้โรงพยาบาลรามาธิบดี , สนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ ให้กับโรงเรียนแพทย์ ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ , โรงพยาบาลรามาธิบดี และ โรงพยาบาลตำรวจ , โครงการออกหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ร่วมกับคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬา , สนับสนุนโรงพยาบาลในต่างจังหวัด ได้แก่ โรงพยาบาลแก่งคอย จ.สระบุรี และ โรงพยาบาลปลวกแดง จ.ระยอง

 

และในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 กัลฟ์ก็ได้มีส่วนร่วมช่วยเหลือ ทั้งด้านการแพทย์ สมทบทุนจัดทำเป็น Hospitel รองรับผู้ป่วยโควิด-19 ให้แก่โรงพยาบาลรามาธิบดี , จัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับการรักษาผู้ป่วย COVID-19 และผู้ป่วยภาวะการหายใจล้มเหลว ให้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี และ จัดทำกล่อง “GULF CARE” (กัลฟ์แคร์) บรรจุยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ด้วย

“เราให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม ภายใต้กรอบ IMPACT หรือการสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคมผ่านการใช้ศักยภาพขององค์กร เพื่อทำให้กิจกรรมทางธุรกิจของเราเข้าไปมีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนในสังคม”

 

]]>
1441752
‘ฟอร์บส์’ จัดอันดับมหาเศรษฐีโลก ‘อีลอน มัสก์’ ครองเบอร์ 1 ส่วน ‘เจ้าสัวธนินท์’ ติดอันดับ 137 https://positioningmag.com/1380674 Wed, 06 Apr 2022 05:00:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1380674 เป็นประจำทุกปีที่นิตยสารระดับโลกอย่าง ฟอร์บส์ ได้จัดอันดับ มหาเศรษฐีโลก (The World’s Billionaires) ที่มีทรัพย์สินมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 33,000 ล้านบาท โดยที่น่าสนใจคือ จำนวนมหาเศรษฐีปีนี้ลดลง เนื่องจากปัญหาสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน

สำหรับมหาเศรษฐีในปี 2565 นี้ มีจำนวนลดลงกว่าปีที่แล้ว 87 คน แม้จะมีเศรษฐีหน้าใหม่เพิ่มขึ้น 236 ราย ก็ตาม ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากภาวะสงคราม, โรคระบาด และตลาดที่ซบเซา ขณะที่มหาเศรษฐีที่ติดอันดับเหล่านี้มีทรัพย์สินรวมกันมูลค่า 12.7 ล้านล้านดอลลาร์ ลดลงกว่าในปี 2564 ถึง 400,000 ล้านดอลลาร์ โดยในประเทศรัสเซีย มีมหาเศรษฐีลดลง 34 คนจากปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม เศรษฐีพันล้านจำนวนกว่า 1,000 คนก็มีฐานะร่ำรวยขึ้น

สหรัฐอเมริกายังคงเป็นผู้นำของโลก โดยมีมหาเศรษฐี 735 คน ซึ่งมีมูลค่ารวม 4.7 ล้านล้านดอลลาร์ ส่วน ประเทศจีน (รวมถึงมาเก๊าและฮ่องกง) ยังคงเป็นที่สอง โดยมีมหาเศรษฐี 607 คน มูลค่ารวม 2.3 ล้านล้านดอลลาร์

อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของโลก

สำหรับ มหาเศรษฐีเบอร์ 1 ของโลก ในปีนี้ อีลอน มัสก์ นักธุรกิจและนักลงทุนชาวอเมริกัน-แอฟริกาใต้ ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารของบริษัทเทสลาก็ครองตำแหน่งนี้ไป โดยมีมูลค่าทรัพย์สินโดยรวม 219,000 ล้านดอลลาร์ แซง เจฟฟ์ เบซอส ผู้ก่อตั้งอเมซอน บริษัทค้าปลีกออนไลน์ชื่อดังสัญชาติเดียวกัน โดยมีทรัพย์สินรวมที่ 171,000 ล้านดอลลาร์

มาที่ประเทศไทย มีมหาเศรษฐีที่ติดอันดับรวมทั้งสิ้น 28 คน นำโดย เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) โดยอยู่ อันดับที่ 137 ด้วยมูลค่าทรัพย์สินโดยรวม 13,500 ล้านดอลลาร์ ลดลงจากปี 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งติดอันดับที่ 103 มีทรัพย์สินโดยรวม 18,100 ล้านดอลลาร์

เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

นอกจากนี้ยังมี เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ในเครือ ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด หรือเจ้าของอาณาจักร เบียร์ช้าง อยู่ อันดับที่ 156 มีทรัพย์สินโดยรวม 12,000 ล้านดอลลาร์ ตามด้วย นายสารัชถ์ รัตนาวะดี เจ้าของ gulf ธุรกิจด้านพลังงานของไทย ติด อันดับที่ 161 มีทรัพย์สินโดยรวม 11,800 ล้านดอลลาร์

เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี

Source

]]>
1380674
“สารัชถ์ รัตนาวะดี” GULF แชมป์เศรษฐีหุ้นไทย 3 สมัย รวย 1.7 แสนล้านบาท https://positioningmag.com/1365873 Wed, 08 Dec 2021 15:50:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365873 ตลาดหุ้นไทยฟื้นหลัง COVID-19 คลี่คลาย หนุนความมั่งคั่งเศรษฐีหุ้นไทยปี 2564 พุ่ง 3.3 แสนล้านบาท “สารัชถ์ รัตนาวะดี” ครองหุ้นกัลฟ์ขึ้นแท่นแชมป์เศรษฐีหุ้นไทย 3 สมัย รวย 1.7 แสนล้านบาท รวยขึ้น 5.7 หมื่นล้าน

“นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ” นั่งเศรษฐีหุ้นอันดับ 2 ถือหุ้นบางกอกแอร์เวย์ส-โรงพยาบาลกรุงเทพ/นนทเวช รวมมูลค่า 5.8 หมื่นล้านบาท “นิติ โอสถานุเคราะห์” ทายาทโอสถสภา โชว์พอร์ตหุ้นมูลค่า 5.6 หมื่นล้านบาท ติดอันดับ 3

วารสารการเงินธนาคาร ร่วมกับ อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการจัดอันดับเศรษฐีหุ้นไทยติดต่อกันปีนี้เป็นปีที่ 28 แล้ว โดยวัดจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ประเภทบุคคลธรรมดาในประเทศที่ถือหุ้นสูงสุด 10 อันดับแรกของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และตลาด mai ตามการปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นล่าสุดก่อนวันที่ 30 กันยายน 2564

สำหรับผลการจัดอันดับเศรษฐีหุ้นไทยปี 2564 ใน วารสารการเงินธนาคาร ฉบับเดือนธันวาคม 2564 ปรากฏว่า แชมป์เศรษฐีหุ้นไทยปี 2564 ยังคงเป็นของ สารัชถ์ รัตนาวะดี กรรมการ รองประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ GULF ซึ่งเป็นการครองแชมป์ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 โดยถือหุ้นมูลค่าสูงสุดเป็นอันดับ 1 รวม 173,099.73 ล้านบาท รวยเพิ่มขึ้น 57,809.73 ล้านบาท หรือ 50.14% ซึ่งสารัชถ์เป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 ของ GULF ในสัดส่วน 35.55%

มูลค่าความมั่งคั่งของ สารัชถ์ เศรษฐีหุ้น 3 สมัย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 ที่ได้ก้าวเข้ามาเป็นแชมป์เศรษฐีหุ้นไทยเป็นปีแรก โดยสารัชถ์ผู้ถือหุ้นมูลค่าสูงสุดเป็นอันดับ 1 มีความมั่งคั่งรวม 120,959.99 ล้านบาท ต่อมาในปีที่ 2 ความมั่งคั่ง 115,289.99 ล้านบาท และทะยานสู่ 173,099.73 ล้านบาท ในปีนี้ จากราคาหุ้นของ GULF ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อปี 2560

เศรษฐีหุ้นอันดับ 2 ได้แก่ นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ หรือ หมอเสริฐ เจ้าของกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพและสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส โดยถือครองหุ้นมูลค่ารวม 58,217.83 ล้านบาท รวยเพิ่มขึ้น 8,138.52 ล้านบาท หรือ 16.25%

เศรษฐีหุ้นอันดับ 3 ในปีนี้ ยังคงเป็นของ นิติ โอสถานุเคราะห์ นักลงทุนรายใหญ่ ทายาทอาณาจักรโอสถสภา โดยถือครองหุ้นมูลค่ารวม 56,253.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,071.53 ล้านบาท หรือ 16.75% จากการปรับตัวขึ้นของราคาหุ้นที่อยู่ในพอร์ตลงทุนที่มีชื่อนิติเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับแรกในปีนี้

เศรษฐีหุ้นอันดับ 4 ได้แก่ สมโภชน์ อาหุนัย เจ้าของ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) กิจการธุรกิจพลังงาน จำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล และจำหน่ายกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ หลังจากหล่นไปอยู่ในอันดับ 8 เมื่อปีที่แล้ว โดยมีมูลค่าหุ้น EA ที่ถือครองในสัดส่วน 23.21% มูลค่า 53,026.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18,613.93 ล้านบาท หรือ 54.09%

เศรษฐีหุ้นอันดับ 5 และ 6 ได้แก่ 2 เจ้าของ บมจ.เมืองไทยแคปปิตอล (MTC) หรือชื่อเดิมคือ เมืองไทยลิสซิ่ง โดย ดาวนภา เพ็ชรอำไพ ขึ้นมาอยู่ในอันดับ 5 จากอันดับ 6 เมื่อปีที่แล้ว โดยถือหุ้น MTC ในสัดส่วน 33.96% มูลค่า 41,940 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,480 ล้านบาท หรือ 18.27% ส่วน ชูชาติ เพ็ชรอำไพ ขึ้นจากอันดับ 7 มาอยู่อันดับ 6 โดยถือครองหุ้นรวมมูลค่า 41,631.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,354.06 ล้านบาท หรือ 18.01%

เศรษฐีหุ้นอันดับ 7 ได้แก่ วนรัชต์ ตั้งคารวคุณ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท ทีโอเอ ทายาทคนโตของอาณาจักรสี TOA หล่นมาอยู่อันดับ 7 จากอันดับ 4 เมื่อปีที่แล้ว โดยถือครองหุ้นรวมมูลค่า 35,100.85 ล้านบาท ลดลง 6,112.30 ล้านบาท หรือ 14.83%

เศรษฐีหุ้นอันดับ 8 ปีนี้ ตกเป็นของ ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานกลุ่ม บริษัท บี.กริม กลุ่มธุรกิจสัญชาติเยอรมันยักษ์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเป็นเจ้าแห่งธุรกิจพลังงาน, โรงไฟฟ้า, อุปกรณ์การแพทย์, เครื่องปรับอากาศ, คมนาคม และอสังหาริมทรัพย์ โดยขยับขึ้นจากอันดับ 10 เมื่อปีที่แล้ว จากการถือครองหุ้นมูลค่ารวม 26,028.87 ล้านบาท ลดลง 770.38 ล้านบาท หรือ 2.87%

เศรษฐีหุ้นอันดับ 9 ได้แก่ ณัฐชไม ถนอมบูรณ์เจริญ กรรมการผู้จัดการ บมจ.คาราบาวกรุ๊ป (CBG) ก้าวเข้ามาติดทำเนียบ TOP 10 เศรษฐีหุ้นไทย โดยขึ้นมาอยู่อันดับ 9 จากอันดับ 11 เมื่อปีที่แล้ว ถือหุ้น CBG ในสัดส่วน 21% มูลค่า 25,200 ล้านบาท รวยเพิ่มขึ้น 630 ล้านบาท หรือ 2.56% จากราคาหุ้น CBG ที่ยังคงปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เศรษฐีหุ้นอันดับ 10 ได้แก่ คีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) กลับเข้าสู่ TOP 10 เศรษฐีหุ้นไทยอีกครั้ง โดยขึ้นมาอยู่ในอันดับ 10 หลังจากหล่นไปอยู่อันดับ 12 เมื่อปีที่แล้ว โดยหุ้นที่คีรีถือครองมีมูลค่ารวม 24,632.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,051.52 ล้านบาท หรือ 19.69%

ทั้งนี้ หลังจากปัจจัยลบต่างๆ ในปีที่ผ่านมาได้คลี่คลายลง ทำให้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกผ่านจุดต่ำสุดจากผลกระทบของ COVID-19 ไปแล้ว และเริ่มฟื้นตัวขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลจากการระดมฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัส COVID-19 ที่ทำให้มีผู้ป่วยอาการหนักและผู้เสียชีวิตน้อยลง หลายประเทศเริ่มคลายมาตรการล็อกดาวน์เพื่อเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว ทำให้มีแรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติเข้ามาในตลาดหุ้นเอเชีย รวมถึงตลาดหุ้นไทยเพิ่มขึ้น

โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 ซึ่งเป็นวันที่ใช้คำนวณมูลค่าความมั่งคั่งของเศรษฐีหุ้นไทยปี 2564 ปรับเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 1,605.68 จุด จากปี 2563 ที่อยู่ในระดับ 1,237.04 จุด เพิ่มขึ้น 368.64 จุด คิดเป็น 29.80% ทำให้มูลค่าความมั่งคั่งของเศรษฐีหุ้นไทยในปี 2564 เพิ่มขึ้น 331,463 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม คงต้องติดตามสถานการณ์กันต่อไป เพราะล่าสุดมีการพบไวรัส COVID-19 สายพันธุ์ใหม่โอไมครอน (Omicron) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลว่าอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำมากกว่าการกลายพันธุ์ของไวรัสในอดีต และอาจจะลดประสิทธิภาพของวัคซีนเจเนอเรชั่น 1 ลง ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจช้ากว่าที่คาดการณ์ และแน่นอนว่าจะส่งผลกระทบมาถึงความมั่งคั่งในทำเนียบเศรษฐีหุ้นไทยปีหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

]]>
1365873
“สารัชถ์ รัตนาวะดี” แชมป์เศรษฐีหุ้นไทย 63 สมัย 2 รวย 1.1 แสนล้านบาท https://positioningmag.com/1309463 Tue, 08 Dec 2020 04:02:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309463 พิษ COVID-19 กระหน่ำตลาดหุ้นไทย ฉุดความมั่งคั่งเศรษฐีหุ้นไทยปี 2563 หดหายกว่า 1.4 แสนล้านบาท บิ๊กพลังงานสารัชถ์ รัตนาวะดียึดบัลลังก์แชมป์เศรษฐีหุ้นไทยเป็นปีที่ 2 ครองหุ้นกัลฟ์ มูลค่า 1.1 แสนล้านบาท รวยลดลง 5.7 พันล้านบาท

รวยลดลง 5.7 พันล้าน

.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถนั่งแท่นเศรษฐีหุ้นอันดับ 2 ถือหุ้นบางกอกแอร์เวย์สโรงพยาบาลกรุงเทพ/นนทเวช รวมมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท รวยลดลง 1.6 หมื่นล้านบาท นักลงทุนรายใหญ่ทายาทโอสถสภานิติ โอสถานุเคราะห์ติดอันดับ 3 รวย 4.8 หมื่นล้านบาท

ปีนี้เป็นปีที่ 27 แล้ว ที่ วารสารการเงินธนาคาร ร่วมกับ อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการจัดอันดับเศรษฐีหุ้นไทย โดยวัดจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ประเภทบุคคลธรรมดาในประเทศที่ถือหุ้นสัดส่วน 0.5% ขึ้นไป ตามการปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นล่าสุดก่อนวันที่ 30 กันยายน 2563

สำหรับผลการจัดอันดับเศรษฐีหุ้นไทยปี 2563 ใน วารสารการเงินธนาคาร ฉบับเดือนธันวาคม 2563 ปรากฏว่า เศรษฐีหุ้นไทยปี 2563 ยังคงเป็นของ สารัชถ์ รัตนาวะดี กรรมการ รองประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ GULF ซึ่งเป็นการครองแชมป์ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 โดยถือหุ้นมูลค่าสูงสุดรวม 115,290 ล้านบาท รวยลดลง 5,670 ล้านบาท หรือ 4.69% ซึ่งสารัชถ์เป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 ของ GULF ในสัดส่วน 35.44%

ย้อนไปเมื่อปี 2562 ที่สารัชถ์ได้ก้าวเข้ามาขึ้นเป็นแชมป์เศรษฐีหุ้นไทยเป็นปีแรก ขณะนั้นมูลค่าของหุ้น GULF ทะยานขึ้นมาอยู่ที่ 160 บาท ( 30 กันยายน 2562 ราคาพาร์อยู่ที่ 5 บาท) เพิ่มขึ้นถึง 83.75 บาท หรือ 109.84% จากราคาเสนอขายประชาชนครั้งแรก (IPO) ที่ 45.00 บาทต่อหุ้นเมื่อปี 2561

แต่มาในปีนี้หุ้น GULF ก็หนีไม่พ้นผลกระทบจาก COVID-19 ที่ฉุดให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงอย่างหนัก โดยราคาหุ้น GULF ตกลงมาอยู่ที่ 30.50 บาท ลดลงไป 4.69% ( 30 กันยายน 2563 ราคาพาร์ปรับเป็น 1 บาท) ความมั่งคั่งของสารัชถ์ในปีนี้จึงลดลงไปกว่า 5,600 ล้านบาท

เจ้าสัวเจริญรวยเพิ่มขึ้น 2.7 หมื่นล้าน 

เศรษฐีหุ้นอันดับ 2 ได้แก่ นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ หรือ หมอเสริฐ เจ้าของกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพนนทเวช และสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส โดยถือครองหุ้นมูลค่ารวม 50,079.31 ล้านบาท ซึ่งหุ้นที่หมอเสริฐถือครองทั้ง บมจ.การบินกรุงเทพ (BA) สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส  บมจ. กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS)  บมจ.โรงพยาบาลนนทเวช (NTV) และกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย (SPF) นั้น ล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจาก COVID-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายการบินบางกอกแอร์เวย์สที่ต้องหยุดชะงักไปจากมาตรการล็อกดาวน์ ส่วนหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาลก็ราคาทรุดลงจากกลุ่มคนไข้ต่างชาติที่หดหายไป ส่งผลให้ปีนี้หมอเสริฐรวยลดลง 16,031.33 ล้านบาท หรือ 24.25%

เศรษฐีหุ้นอันดับ 3 ในปีนี้ ยังคงเป็นของ นิติ โอสถานุเคราะห์ นักลงทุนรายใหญ่ ทายาทอาณาจักรโอสถสภา โดยถือครองหุ้นมูลค่ารวม 48,181.64 ล้านบาท ลดลง 431.68 ล้านบาท หรือ 0.89%  สำหรับพอร์ตการลงทุนของนิติในปีนี้ ประกอบด้วยหุ้นทั้งหมด 12 บริษัท โดยลงทุนต่อเนื่องจากปีที่แล้วใน 10 บริษัท และมีหุ้นใหม่ในพอร์ตอีก 2 บริษัทที่ลงทุนเพิ่ม

เศรษฐีหุ้นอันดับได้แก่ วนรัชต์ ตั้งคารวคุณ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัททีโอเอ ทายาทคนโตของอาณาจักรสี TOA ขยับมาอยู่ที่ 4 จากอันดับ 6 เมื่อปีที่แล้ว โดยถือครองหุ้น บมจ.สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น (STARK) และ บมจ. ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) (TOA) รวมมูลค่า 41,213.15 ล้านบาท รวยเพิ่มขึ้น 157.85 ล้านบาท หรือ 0.38%

เศรษฐีหุ้นอันดับได้แก่ เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี หลังจากก้าวเข้ามาติดทำเนียบเศรษฐีหุ้นไทยอันดับ 23 เมื่อปีที่แล้ว รวมมูลค่าหุ้นที่ถือครองทั้งสิ้น 38,178.70 ล้านบาท รวยเพิ่มขึ้น 27,848.13 ล้านบาท หรือ 269.57% จากการนำ บมจ.แอสเสท เวิรด์ คอร์ป (AWC) ซึ่งเป็น Holding Company ที่ถือหุ้นในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของทีซีซี กรุ๊ปทั้งกลุ่มธุรกิจโรงแรม/การบริการ และกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อเดือนตุลาคม 2562

นอกจากนี้ ยังถือหุ้น บมจ.เครือไทย โฮลดิ้งส์ (SEG)  ซึ่งเป็น Holding Company ของกลุ่มสิริวัฒนภักดี ลงทุนในธุรกิจประกันชีวิต ประกันภัย และลิสซิ่งอีกด้วย

เศรษฐีหุ้นอันดับ 6 และอันดับ 7 ได้แก่  2 เศรษฐีหุ้นเจ้าของ บมจ.เมืองไทยแคปปิตอล (MTC) หรือชื่อเดิมคือ เมืองไทยลิสซิ่ง โดย ดาวนภา เพ็ชรอำไพ ขึ้นมาอยู่ในอันดับ 6 จากอันดับ 7 เมื่อปีที่แล้ว โดยถือหุ้นมูลค่า 35,460 ล้านบาท ลดลง 5,580 ล้านบาท หรือ 13.60% ส่วน  ชูชาติ เพ็ชรอำไพ ขึ้นจากอันดับ 8 มาอยู่อันดับ 7 โดยถือครองหุ้นรวมมูลค่า 35,277.91 ล้านบาท ลดลง 5,563.30 ล้านบาท หรือ 13.62%

เศรษฐีหุ้นอันดับได้แก่ สมโภชน์ อาหุนัย เจ้าของ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) กิจการธุรกิจพลังงาน จำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล และจำหน่ายกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์  หล่นจากอันดับ 5 เมื่อปีที่แล้ว โดยมีมูลค่าหุ้นที่ถือครองรวม 34,412.43 ล้านบาท ลดลง 7,671.82 ล้านบาท หรือ 18.23%

เศรษฐีหุ้นอันดับ 9 ได้แก่  คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ขยับขึ้นเช่นเดียวกับเจ้าสัวเจริญ โดยขึ้นจากอันดับ 23 เมื่อปีที่แล้ว มีมูลค่าหุ้นที่ถือครองรวม 28,728.70 ล้านบาท รวยเพิ่มขึ้น 18,398.13 ล้านบาท หรือ 178.09%

เศรษฐีหุ้นอันดับ 10 ได้แก่ ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานกลุ่มบริษัท บี.กริม กลุ่มธุรกิจสัญชาติเยอรมันยักษ์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเป็นเจ้าแห่งธุรกิจพลังงาน, โรงไฟฟ้า, อุปกรณ์การแพทย์, เครื่องปรับอากาศ, คมนาคม และอสังหาริมทรัพย์ โดยขยับขึ้นจากอันดับ 11 เมื่อปีที่แล้ว จากการถือครองหุ้นมูลค่ารวม 26,798.95 ล้านบาท ลดลง 632.63 ล้านบาท หรือ 2.31%

ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19  มาตั้งแต่ต้นปี 2563 ทำให้ภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวทรุดตัวลงอย่างหนัก ส่งผลมายังตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 ซึ่งเป็นวันที่ใช้คำนวณมูลค่าความมั่งคั่งของเศรษฐีหุ้นไทยปี 2563 ปรับตัวลงมาอยู่ที่ 1,237.04 จากปี 2562 ที่อยู่ในระดับ 1,637.22  ลดลงถึง 400.18 จุด คิดเป็น 32.35% ทำให้มูลค่าความมั่งคั่งของเศรษฐีหุ้นไทยในปี 2563 ลดลงถึง 140,796 ล้านบาท หรือ 7.09%

]]>
1309463
ทำเนียบ 10 อันดับ “มหาเศรษฐีไทย” ประจำปี 2563 จัดอันดับโดย Forbes https://positioningmag.com/1271504 Fri, 03 Apr 2020 05:32:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271504 Forbes เปิดโผ “มหาเศรษฐี” ที่รวยที่สุด 10 อันดับแรกของไทยประจำปี 2563 พร้อมบทวิเคราะห์ภาพรวมความมั่งคั่งของเศรษฐีไทยปีนี้ มีเศรษฐี 38 คนจาก 50 คนที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 และทำให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิลดลง

10 อันดับ “มหาเศรษฐี” ไทย ปี 2563 โดย Forbes

อันดับ 1 พี่น้องเจียรวนนท์ (อันดับคงที่)
แหล่งที่มา: เครือเจริญโภคภัณฑ์
มูลค่าทรัพย์สิน: 2.73 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)

อันดับ 2 เฉลิม อยู่วิทยา (ขึ้นจากอันดับ 3)
แหล่งที่มา: กระทิงแดง
มูลค่าทรัพย์สิน: 2.02 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น)

อันดับ 3 เจริญ สิริวัฒนภักดี (ขึ้นจากอันดับ 4)
แหล่งที่มา: ไทยเบฟเวอเรจ
มูลค่าทรัพย์สิน: 1.05 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)

อันดับ 4 ตระกูลจิราธิวัฒน์ (ลงจากอันดับ 2) 
แหล่งที่มา: กลุ่มเซ็นทรัล
มูลค่าทรัพย์สิน: 9.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)

อันดับ 5 สารัชถ์ รัตนาวะดี (อันดับคงที่)
แหล่งที่มา: กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์
มูลค่าทรัพย์สิน: 6.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น)

อันดับ 6 อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา (อันดับคงที่)
แหล่งที่มา: คิง เพาเวอร์
มูลค่าทรัพย์สิน: 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)

อันดับ 7 ประจักษ์ ตั้งคารวคุณ (ขึ้นจากอันดับ 15)
แหล่งที่มา: TOA
มูลค่าทรัพย์สิน: 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น)

อันดับ 8 ตระกูลโอสถานุเคราะห์ (อันดับคงที่)
แหล่งที่มา: โอสถสภา
มูลค่าทรัพย์สิน: 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินคงที่)

อันดับ 9 วานิช ไชยวรรณ (อันดับคงที่)
แหล่งที่มา: ไทยประกันชีวิต
มูลค่าทรัพย์สิน: 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)

อันดับ 10 ชูชาติ เพ็ชรอำไพ-ดาวนภา เพชรอำไพ (ขึ้นจากอันดับ 11)
แหล่งที่มา: เมืองไทย ลิสซิ่ง
มูลค่าทรัพย์สิน: 2.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น)

ทั้งนี้ มีเศรษฐีสองรายที่หลุดจาก 10 อันดับแรกไปในปีนี้คือ “นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ” มูลค่าทรัพย์สินลดลงเหลือ 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้อยู่ในอันดับ 11 และ “สมโภชน์ อาหุนัย” มูลค่าทรัพย์สินลดลงเหลือ 1.75 พันล้านเหรียญสหรัฐ อยู่ในอันดับ 18

 

เศรษฐีทรัพย์สินหดระนาวหลังตลาดหุ้นร่วง

ปี 2563 นี้ บุคคลร่ำรวยที่สุด 50 อันดับของไทยมีทรัพย์สินรวมกันลดลงถึง 2.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการลดลงถึงร้อยละ 18 เหลือเพียง 1.32 แสนล้านเหรียญ

สาเหจุเกิดจากเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยว ชะลอตัวจากสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ตั้งแต่ปีก่อน เมื่อเผชิญโรคระบาดไวรัส COVID-19 ทำให้ปัญหาหนักหนาขึ้นอีก และเป็นปัจจัยลบส่งให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยทรุดหนัก ลดลงไปแล้วเกือบ 1 ใน 3 เทียบกับเดือนเมษายน 2562 มหาเศรษฐี 38 คนจาก 50 คนแรกจึงมีทรัพย์สินสุทธิลดลง โดยในจำนวนนี้มี 6 คนที่ความมั่งคั่งลดลงกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

ด้านความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในหมู่เศรษฐีไทย พี่น้องตระกูลเจียรวนนท์ แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ ยังครองตำแหน่งอันดับหนึ่ง แม้ว่าทรัพย์สินของพวกเขาจะลดลง 2.2 พันล้านเหรียญ ไปอยู่ที่ 2.73 หมื่นล้านเหรียญ และเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้เข้าซื้อกิจการของเทสโก้ในไทยและมาเลเซียมูลค่า 1.06 หมื่นล้านเหรียญได้สำเร็จ

กลุ่ม CP เข้าซื้อกิจการเทสโก้ในไทยและมาเลเซียเป็นผลสำเร็จ (อ่านรายละเอียดที่นี่)

เฉลิม อยู่วิทยา เจ้าของแบรนด์เครื่องดื่มชูกำลัง Red Bull ร่วมกับตระกูลของเขา มาในอันดับที่ 2 เขาเป็นหนึ่งในแปดผู้มีรายชื่อในทำเนียบที่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นสวนทางเศรษฐกิจ โดยมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1.99 หมื่นล้านเหรียญเมื่อปีก่อน เป็น 2.02 หมื่นล้านเหรียญในปีนี้

เจริญ สิริวัฒนภักดี จากเครือไทยเบฟเวอเรจ ขยับขึ้นมาในอันดับที่ 3 ด้วยทรัพย์สิน 1.05 หมื่นล้านเหรียญ อย่างไรก็ดี ทรัพย์สินสุทธิของเขาลดลงจาก 1.62 หมื่นล้านเหรียญในปีที่ผ่านมา

ตระกูลจิราธิวัฒน์ หล่นจากอันดับ 2 มาอยู่ในอันดับ 4 ในปีนี้ ด้วยความมั่งคั่งที่ลดลงกว่าครึ่งไปอยู่ที่ 9.5 พันล้านเหรียญ พวกเขาเพิ่งนำบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยนับเป็นการเสนอขายหุ้นไอพีโอครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แต่ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวและนักช้อปที่ลดลงอย่างมาก ทำให้ราคาหุ้นของเซ็นทรัล รีเทล ต่ำกว่าราคาไอพีโอถึงร้อยละ 27 โดยตกลงต่อเนื่องตั้งแต่เข้าการซื้อขาย

ทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร เซ็นทรัล รีเทล

ผู้ที่มีทรัพย์สินลดฮวบอีกคนคือ อาลก โลเฮีย (อันดับ 26) มหาเศรษฐีชาวอินเดียโดยกำเนิด เจ้าพ่อธุรกิจปิโตรเคมีผู้ที่ง่วนอยู่กับการเข้าซื้อกิจการมากมาย ทรัพย์สินสุทธิของเขาลดลงจาก 2.52 พันล้านเหรียญในปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 1.09 พันล้านเหรียญ เมื่อราคาหุ้นบริษัทอินโดรามา เวนเจอร์ส ของเขาดิ่งลงถึงร้อยละ 57  ในช่วง 11 เดือนผ่านมา

 

นักธุรกิจภาคพลังงานไทยยังแข็งแกร่ง

แม้ว่าราคาพลังงานทั่วโลกจะประสบภาวะตกต่ำครั้งรุนแรง มหาเศรษฐีจากวงการพลังงานของไทย 3 ใน 4 คนกลับมีทรัพย์สินงอกเงย ทั้งนี้เป็นผลจากการที่พวกเขาพุ่งความสนใจไปที่ก๊าซธรรมชาติและพลังงานทดแทน

ในจำนวนนี้ มีสารัชถ์ รัตนาวะดี ผู้ที่ทำเงินเพิ่มขึ้นมากที่สุด ด้วยทรัพย์สินสุทธิ 6.8 พันล้านเหรียญพุ่งขึ้น 1.6 พันล้านเหรียญ ขณะที่บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ ของเขาเปิดโรงพลังงานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงเพิ่มเติม ตลอดจนเข้าดำเนินการโครงการใหม่ ๆ อาทิ ท่าเรือและถนน

ฮาราลด์ ลิงค์ (อันดับที่ 12 ทรัพย์สิน 2.3 พันล้านเหรียญ) หัวเรือใหญ่รุ่นที่สามของบี.กริม มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ขณะที่บี.กริม เพาเวอร์เพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าอีกร้อยละ 40 และกำไรของบริษัทกระโดดขึ้นร้อยละ 34 ในปีที่ผ่านมา

ภาคพลังงานที่คึกคักได้พา วิระชัย ทรงเมตตา (อันดับ 40 ทรัพย์สิน 585 ล้านเหรียญ) เข้าทำเนียบเศรษฐีเป็นครั้งแรกหลังจาก บริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ ผู้ผลิตพลังไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัว เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว

นายแพทย์กำพล พลัสสินทร์ (อันดับ 38 ทรัพย์สิน 610 ล้านเหรียญ) ผู้ก่อตั้งเครือโรงพยาบาลจุฬารัตน์ ที่เป็นบริษัทมหาชน กลับเข้าสู่ทำเนียบหลังจากห่างหายไปสามปี อันเป็นผลจากการที่บริษัทเปิดโรงพยาบาลใหม่อีกสองแห่ง ช่วยหนุนราคาหุ้นบริษัทให้ทะยานขึ้น

ปีนี้ Forbes กำหนดทรัพย์สินสุทธิขั้นต่ำสำหรับผู้ที่จะมีรายชื่ออยู่ในทำเนียบที่ 460 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจาก 565 ล้านเหรียญ ในปี 2019

 

]]>
1271504
“สารัชถ์ รัตนาวะดี” แชมป์เศรษฐีหุ้นไทยปี 62 รวย 1.21 แสนล้านบาท โค่น “หมอเสริฐ” แชมป์ 6 สมัย https://positioningmag.com/1256669 Thu, 12 Dec 2019 02:53:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1256669 เผยแชมป์เศรษฐีหุ้นไทยปี 2562 “สารัชถ์ รัตนาวะดีรวย 1.21 แสนล้านบาท หุ้นกัลฟ์ราคาพุ่งหนุนนั่งบัลลังก์แชมป์เศรษฐีหุ้นปีแรก อันดับ 2 “นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถมูลค่า 6.61 หมื่นล้านบาท

อันดับ 3 นิติ โอสถานุเคราะห์รวย 4.86 หมื่นล้านบาท ด้านเจ้าสัวเจริญคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดีติดทำเนียบเศรษฐีหุ้นหน้าใหม่ IPO

วารสารการเงินธนาคารร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำการจัดอันดับเศรษฐีหุ้นไทย โดยวัดจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ประเภทบุคคลธรรมดาในประเทศที่ถือหุ้นสัดส่วน 0.5% ขึ้นไป ตามการปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นล่าสุดก่อนวันที่ 30 กันยายน 2562 สำหรับผลการจัดอันดับเศรษฐีหุ้นไทยปี 2562

ปรากฏว่าทำเนียบเศรษฐีหุ้นไทยปี 2562 ได้ต้อนรับแชมป์เศรษฐีหุ้นไทยคนใหม่ นายสารัชถ์ รัตนาวะดี กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ GULF โดยถือครองหุ้นมูลค่าสูงสุดเป็นอันดับ 1 รวม 120,960 ล้านบาท รวยเพิ่มขึ้น 63,315 ล้านบาท หรือ 109.84% ซึ่งหุ้นที่ถือครองมีเพียง 1 บริษัท คือ GULF โดยถือหุ้นสูงเป็นอันดับ 1 ในสัดส่วน 35.44%

เศรษฐีหุ้นอันดับ 2 ได้แก่ นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ หรือหมอเสริฐ เจ้าของกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพและสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ถือครองหุ้นมูลค่ารวม 66,110.64 ล้านบาท รวยลดลง 11,018.68 ล้านบาท หรือ 14.29% ความมั่งคั่งของหมอเสริฐที่ลดลงในปีนี้เนื่องมาจากหุ้นที่ถือครองทั้ง 3 บริษัท คือ บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) บมจ.การบินกรุงเทพ (BA) และ บมจ.โรงพยาบาลนนทเวช (NTV) ราคาตกลงจากปีที่แล้ว โดยหมอเสริฐเป็นแชมป์เศรษฐีหุ้นไทย 6 ปีติดต่อกันตั้งแต่ปี 2556-2561

เศรษฐีหุ้นอันดับ 3 ได้แก่ นักลงทุนรายใหญ่ทายาทอาณาจักรโอสถสภา นายนิติ โอสถานุเคราะห์ ก้าวจากอันดับ 7 เมื่อปีที่แล้ว โดยถือครองหุ้นมูลค่ารวม 48,613.32 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16,648.61 ล้านบาท หรือ 52.08% นอกจากพอร์ตหุ้นที่ลงทุนมาอย่างต่อเนื่องแล้ว ปีนี้ยังถือครองหุ้น บมจ.โอสถสภา (OSP) ซึ่งเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2561 โดยนายนิติเป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 2 ในสัดส่วน 16.28%

เศรษฐีหุ้นอันดับ 4 ได้แก่ นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) ขยับจากอันดับ 9 เมื่อปีที่แล้ว โดยหุ้นที่ถือครองรวมมูลค่าทั้งสิ้น 43,080.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14,708.42 ล้านบาท หรือ 51.84% เนื่องจากราคาหุ้น BTS และ บมจ.วี จี ไอ โกบอล มีเดีย (VGI) ปรับตัวสูงขึ้นมากจากปีที่แล้ว เศรษฐีหุ้นอันดับ 5 ได้แก่ นายสมโภชน์ อาหุนัย เจ้าของ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) กิจการธุรกิจพลังงาน จำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล และจำหน่ายกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ หล่นจากอันดับ 3 เมื่อปีที่แล้ว โดยมีมูลค่าหุ้นที่ถือครองรวม 42,084.25 ล้านบาท ลดลง 125.16 ล้านบาท หรือ 0.30%

เศรษฐีหุ้นอันดับ 6 ได้แก่ นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ กรรมการกลุ่มบริษัท ทีโอเอ ทายาทคนโตของอาณาจักรสี TOA โดยมีมูลค่าหุ้นที่ถือครอง 41,055.30 ล้านบาท รวยเพิ่มขึ้น 34,162.15 ล้านบาท หรือ 495.60% จากการเข้าลงทุนเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยอ้อม (Backdoor Listing) ใน บมจ.สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย (SMM) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2562 ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น (STARK) เพื่อทำธุรกิจผลิตและจำหน่ายสายไฟฟ้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยวนรัชต์เป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 ใน STARK ที่ 73.37%

เศรษฐีหุ้นอันดับ 7 และ 8 ได้แก่ 2 เศรษฐีหุ้นเจ้าของ บมจ.เมืองไทยแคปปิตอล (MTC) หรือชื่อเดิมคือ เมืองไทยลิสซิ่ง ดาวนภา เพ็ชรอำไพ ร่วงลงไปอยู่ในอันดับ 7 จากอันดับ 5 เมื่อปีที่แล้ว โดยถือหุ้น MTC มูลค่า 41,040 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,300 ล้านบาท หรือ 18.13% ส่วนนายชูชาติ เพ็ชรอำไพ ร่วงจากอันดับ 4 ลงมาอยู่อันดับ 8 โดยถือครองหุ้นรวมมูลค่า 40,841.21 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,448.98 ล้านบาท หรือ 15.40%

เศรษฐีหุ้นอันดับ 9 ได้แก่ นายพิชญ์ โพธารามิก ทายาทคนเดียวของอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดิศัย โพธารามิก ผู้ก่อตั้ง บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) ถูกเบียดลงมาจากอันดับ 8 เมื่อปีที่แล้ว โดยถือหุ้นมูลค่ารวม 32,596.74 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,677.46 ล้านบาท หรือ 12.72% และเศรษฐีหุ้นอันดับ 10 ได้แก่ นายอนันต์ อัศวโภคิน เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ร่วงจากอันดับ 6 เมื่อปีที่แล้ว โดยถือครองหุ้นมูลค่ารวม 27,469.19 ล้านบาท ลดลง 5,431.16 ล้านบาท หรือ 16.51%

ด้านเจ้าสัวเจริญ และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ได้ก้าวเข้ามาอยู่ในทำเนียบเศรษฐีหุ้นไทยปีนี้เป็นครั้งแรก โดยอยู่ในอันดับ 23 มีมูลค่าหุ้นที่ถือครองคนละ 10,330.57 ล้านบาท จากการนำ บมจ.เครือไทย โฮลดิ้งส์ (SEG) Holding Company ของกลุ่มสิริวัฒนภักดีที่ลงทุนในธุรกิจประกันอาคเนย์เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 โดยเจ้าสัวเจริญและคุณหญิงวรรณาถือหุ้น SEG สูงสุดเป็นอันดับ 1 ในสัดส่วนเท่ากันที่ 37.38% ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ปรากฏชื่ออย่างเป็นทางการในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

สำหรับทำเนียบเศรษฐีหุ้นไทยในปี 2563 น่าจะได้เห็นความมั่งคั่งของเจ้าสัวเจริญและคุณหญิงวรรณาเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล จากการนำ บมจ.แอสเสท เวิรด์ คอร์ป (AWC) Holding Company ที่ถือหุ้นในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของทีซีซี กรุ๊ปเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 ด้วยมูลค่า IPO รวม 185,742 ล้านบาท สูงสุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย ซึ่งเจ้าสัวเจริญถือหุ้นเป็นอันดับ 2 ในสัดส่วน 25.12% และคุณหญิงวรรณาถือหุ้นอันดับ 3

Source

]]>
1256669