หนี้นอกระบบ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 09 Dec 2024 09:40:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ธุรกิจรายเล็ก พึ่งพาหนี้นอกระบบเพิ่มสัดส่วนเป็น 42.8% เดิม 21.3% https://positioningmag.com/1502410 Fri, 06 Dec 2024 16:28:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1502410 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ข้อมูลสินเชื่อธุรกิจ จากฐานข้อมูลบัญชีลูกหนี้นิติบุคคล ซึ่งเป็นข้อมูลสถิติที่ไม่ระบุตัวตนของเครดิตบูโร (NCB) เฉลี่ย 1.7-1.8 ล้านบัญชีต่อไตรมาส (ข้อมูลถึง ณ ไตรมาส 2/2567) พบอินไซต์น่าสนใจ ดังนี้

คุณภาพหนี้ถดถอยยาวตั้งแต่ปลายปี 66

ช่วงหลังเกิดโควิด สัดส่วนหนี้ค้างชำระตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ขึ้นจุดสูงสุดที่ 7.18% ณ ช่วงไตรมาส 1 ปี 2563 ก่อนจะค่อย ๆ เข้าสู่ทิศทางดีขึ้น โดยในช่วงปี 2566 อยู่ระหว่าง 4.60-4.70%

แต่ในปีนี้คุณภาพหนี้ได้ถดถอย จนสัดส่วนหนี้ค้างชำระกลับมาแตะระดับ 5.02% ณ ไตรมาส 2 ปี 2567 จากการหมดแรงส่งของมาตรการช่วยเหลือ และเศรษฐกิจเปราะบาง ฟื้นตัวไม่ทั่วถึง

ธุรกิจยิ่งเล็ก หนี้เสียยิ่งสูง

เมื่อพิจารณาสัดส่วนหนี้ค้างชำระ ทั้งกลุ่มหนี้ที่เพิ่งมีวันค้างชำระ (1-30 วัน) และหนี้เอ็นพีแอล (ค้างชำระเกิน 90 วัน) เรียงตามสัดส่วนมากไปหาน้อย จะเป็นธุรกิจขนาดยิ่งเล็กยิ่งมีปัญหา ดังนี้

  • Super Micro (มียอดสินเชื่อคงค้างน้อยกว่า 5 ล้านบาท)
  • Micro (มียอดสินเชื่อคงค้าง 5-20 ล้านบาท)
  • Small (มียอดสินเชื่อคงค้าง 20-100 ล้านบาท)
  • Medium (มียอดสินเชื่อคงค้าง 100-500 ล้านบาท)

“คุณภาพหนี้เริ่มถดถอยลง ไล่เรียงจากธุรกิจขนาดจิ๋วมาที่ขนาดเล็กและกลาง สะท้อนความอ่อนไหวของภาคธุรกิจต่อปัจจัยแวดล้อมที่มากขึ้นเมื่อธุรกิจมีขนาดที่เล็กลง”

อสังหา-ที่พัก-อาหาร-ค้าปลีก เป็นหนี้เรื้อรัง มากสุด

ทั้งนี้ กลุ่มที่มีสัญญาณของ “ปัญหาหนี้เรื้อรัง” มีสัดส่วนหนี้ค้างชำระทุกระยะต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ประมาณ 9.47% ในไตรมาส 2/2567 เพิ่มขึ้นชัดเจนจากระดับ 5.50% ณ ไตรมาส 2/2564 ตามหนี้ชั้นเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้น

สะท้อนว่า ลูกหนี้กลุ่มนี้ไม่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวเศรษฐกิจ หรือการเยียวยาปัญหาหนี้ของภาครัฐและสถาบันการเงินระหว่างทางเท่าที่ควร

ในแง่หนี้เรื้อรังส่วนใหญ่ อยู่ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง บริการที่พักและอาหาร ค้าส่งค้าปลีก และภาคการผลิต หลัก ๆ มาจาก

  • ปัญหาหนี้ครัวเรือนกดดันอำนาจการซื้อ
  • สงครามการค้า ส่งผลให้สินค้าต่างประเทศราคาถูกมาทุ่มตลาดในไทย หลังจากส่งออกไปสหรัฐฯ ได้ลดลง อาทิ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์

ธุรกิจรายเล็ก พึ่งหนี้นอกระบบสัดส่วน 42.8% จากเดิม 21.3%

อย่างไรก็ดี หากต้นเหตุของปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข ปี 2568 จะเป็นอีกปีที่เราจะเผชิญกับปัญหาสินเชื่อใหม่ที่เติบโตต่ำท่ามกลางตลาดผู้กู้ที่มีศักยภาพในการชำระหนี้ที่จำกัดลง และหนี้ด้อยคุณภาพที่ยังจะมีทิศทางเพิ่มขึ้น

ขณะที่ผู้ประกอบการและครัวเรือนที่ประสบปัญหาเรื้อรังอาจต้องหันไปพึ่งหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้น ซึ่งผลสำรวจของ สสว.ในไตรมาส 3/2567 ชี้ว่าธุรกิจเอสเอ็มอีพึ่งพำหนี้นอกระบบเพิ่มมากขึ้จากไตรมาสก่อนหน้า ดังนี้

  • ภาพรวม MSME ใน Q3/67 พึ่งพาหนี้นอกระบบสัดส่วน 42.8% จาก Q2/67 อยู่ที่ 21.3%
  • กลุ่ม Micro (ธุรกิจรายย่อย) ใน Q3/67 พึ่งพาหนี้นอกระบบสัดส่วน 46.6% จาก Q2/67 อยู่ที่ 20.3%
  • กลุ่ม Small (ธุรกิจขนาดย่อม) ใน Q3/67 พึ่งพาหนี้นอกระบบสัดส่วน 45.1% จาก Q2/67 อยู่ที่ 27.8%
  • กลุ่ม Medium (ธุรกิจขนาดกลาง) ใน Q3/67 พึ่งพาหนี้นอกระบบสัดส่วน 19.7% จาก Q2/67 อยู่ที่ 17.4%

ผลสำรวจ ชี้ เอสเอ็มอี ต้องการภาครัฐหนุนเศรษฐกิจ-อยากให้แบงก์ปรับโครงสร้างหนี้

ผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำนวน 400 ตัวอย่าง (ณ สิ้นเดือน พ.ย. 67) ชี้ถึงความต้องการของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี แบ่งเป็น

1.ความต้องการต่อภาครัฐ

  • การสนับสนุนเศรษฐกิจภาพรวม เพื่อให้เกิดผลดีต่อรายได้ของธุรกิจ (28.5%)
  • การจัดตั้งหน่วยงานเพื่อให้ความรู้ทางการเงิน เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสและความสะดวกในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน (22.7%)
  • การช่วยเป็นตัวกลางในการเจรจากับเจ้าหนี้ เพื่อลดภาระหนี้/ปรับโครงสร้างหนี้ (22.0%) ต่อลมหายใจเฉพาะหน้า

2.ความต้องการต่อสถาบันการเงิน

  • การปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้ยอดผ่อนต่อเดือนสอดคล้องกับรายได้ (21.2%)
  • การปรับเงื่อนไขและขั้นตอนการขอสินเชื่อให้เหมาะกับลูกค้า (20.0%)
  • การกำหนดค่าธรรมเนียม และดอกเบี้ยให้เหมาะสมกับความเสี่ยงกับลูกค้าแต่ละราย (17.5%)
]]>
1502410
ไทยเสี่ยงภาวะ ‘Debt Overhang’ ครัวเรือนสูญเสียรายได้ ดิ้นหา ‘เงินกู้-เงินด่วน’ มาใช้จ่ายประจำวัน https://positioningmag.com/1341610 Fri, 09 Jul 2021 12:41:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341610 จากเเนวโน้มหนี้ครัวเรือน’ เพิ่มต่อเนื่อง ทำนิวไฮเเตะ 90.5% ไทยเสี่ยงเผชิญภาวะ ‘Debt Overhang’ เมื่อคนตกงาน-สูญเสียรายได้ ดิ้นรนหา ‘เงินกู้-เงินด่วน’ มาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน บางส่วนหันไปพึ่งพาหนี้นอกระบบมากขึ้น สวนทางเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวได้ช้า 

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ออกบทวิเคราะห์ล่าสุดถึง หนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 1 ปี 2021 แตะระดับ 90.5% ต่อ GDP สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และสูงสุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน

สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากหนี้ครัวเรือนที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง ขณะเดียวกันเศรษฐกิจโดยเฉพาะรายได้ภาคครัวเรือนที่เผชิญกับผลกระทบโรคระบาด ยัง ฟื้นตัวช้า

เหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ครัวเรือนไทยยังมีความต้องการสินเชื่อสูง เพื่อนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันทดแทนสภาพคล่องที่ลดลงในภาวะวิกฤต บางส่วนอาจต้องพึ่งพา ‘หนี้นอกระบบ’ ซึ่งเสี่ยงจะทำให้ปัญหาหนี้มีมากขึ้นในอนาคต

“ไทยมีแนวโน้มประสบภาวะ Debt Overhang หรือ การมีหนี้สูงในภาคครัวเรือน จนเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า”

หนี้ครัวเรือนพุ่ง เกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง ? 

สำหรับหนี้ครัวเรือนไทย ณ ไตรมาส 1 ปี 2564 เพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 14.1 ล้านล้านบาท หรือขยายตัวที่ 4.6% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน (YOY) ซึ่งเป็นการขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า และยังนับเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 5 ไตรมาส ตามการเติบโตแบบเร่งตัวของการให้กู้ยืมจาก 2 ผู้ให้กู้หลัก ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่รับฝากเงิน (SFI) ที่เติบโตที่ 4.9% และ 5.5% ตามลำดับ โดยเฉพาะอัตราการเติบโตจาก SFI ที่อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี

ขณะที่การปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคครัวเรือนจาก สหกรณ์ออมทรัพย์ หรือบริษัทบัตรเครดิต-ลิสซิ่ง-และสินเชื่อส่วนบุคคล มีการเติบโตแบบชะลอตัวลง ส่วนหนี้ครัวเรือนที่กู้ยืมจากโรงรับจำนำยังคงหดตัวต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า

EIC วิเคราะห์ว่า การขยายตัวของหนี้ครัวเรือนไทย เป็นผลมาจาก 3 ปัจจัยด้วยกัน ได้แก่

ปัจจัยที่หนึ่ง เมื่อเกิดวิกฤตโควิด ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสถาบันการเงินต่างๆ ได้มีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกหนี้รายย่อย ทั้งในรูปแบบของการพักชำระหนี้และการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งช่วยลดภาระการชำระหนี้ในระยะสั้น และช่วยป้องกันการเกิดหนี้เสียในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม การชำระหนี้ที่ถูกพักหรือเลื่อนออกไปมีส่วนทำให้ระดับหนี้ครัวเรือนในภาพรวมปรับลดลงช้ากว่าปกติ

ปัจจัยที่สอง วิกฤตโควิดส่งผลทำให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนขาดรายได้ นำไปสู่การลดลงของสภาพคล่องของคนจำนวนมาก จึงเกิดการกู้ยืมเพื่อนำมาใช้จ่ายทดแทนสภาพคล่องที่หายไปของภาคครัวเรือน ดังจะเห็นได้จากการเติบโตของสินเชื่อส่วนบุคคล (Personal Loan) ในระบบธนาคารพาณิชย์ ที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2020 และมีอัตราการเติบโตในไตรมาสแรกของปีนี้ที่ 5.9% เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 4.8% แม้มาตรฐานการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินจะมีแนวโน้มระมัดระวังมากขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจ

“แนวโน้มความต้องการสินเชื่อเร่งตัวขึ้นมาก เมื่อเทียบกับการเติบโตที่เกิดขึ้นของสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ ประกอบกับมาตรฐานการให้สินเชื่อที่มีแนวโน้มระมัดระวังมากขึ้น สะท้อนว่าครัวเรือนบางส่วนที่ต้องการสินเชื่ออาจไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้ ทำให้มีแนวโน้มต้องพึ่งพาหนี้นอกระบบ ซึ่งจะต้องเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่ามาก เสี่ยงก่อให้เกิดปัญหาวังวนของกับดักหนี้ได้ในอนาคต” 

ปัจจัยที่สาม ครัวเรือนบางส่วนที่มีกำลังซื้อยังมีการใช้จ่ายซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงที่ผู้ประกอบการมีการลดราคา ออกโปรโมชันจูงใจเป็นจำนวนมาก เพื่อลดอุปทานคงค้าง ประกอบกับมาตรการ LTV มีการผ่อนคลายลง เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจ ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนในส่วนนี้เติบโตได้ดีในช่วงวิกฤต สะท้อนจากสินเชื่อผู้บริโภคในระบบธนาคารพาณิชย์ในหมวดที่อยู่อาศัยที่เติบโตได้ค่อนข้างดีที่ 5.9% ณ สิ้นปี 2020 และยังเติบโตได้ดีต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปีนี้ที่ 6.8%

หนี้ครัวเรือนไทย ‘สูงสุด’ ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

อีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ สัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยในเวลานี้อยู่ในระดับสูงสุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน โดยข้อมูลจาก Bank of International Settlement (BIS) พบว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทย ณ สิ้นปี 2020 เพิ่มขึ้นจากปี 2019 ถึง 12.0% ต่อ GDP ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นที่สูงเป็นอันดับ 7 จากทั้งหมด 43 ประเทศ

โดยเป็นผลมาจาก GDP ที่ลดลงมากกว่าและฟื้นตัวช้ากว่า ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยยังคงสูงสุดเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างของการพึ่งพาสินเชื่อในการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนไทยในช่วงที่ผ่านมา

EIC มองว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยในช่วงที่เหลือของปี 2021 มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยคาดว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ณ สิ้นปี 2021 จะอยู่ในช่วง 88-90% ซึ่งชะลอลงเล็กน้อยจากในไตรมาสที่ 1 ตามการทยอยฟื้นตัวของ GDP

อย่างไรก็ตาม ยังมีความเป็นไปได้ที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนภายในปี 2021 อาจปรับเพิ่มขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้อีก หากผลของการแพร่ระบาดของโควิดมีความรุนแรงและต่อเนื่อง จนทำให้ GDP ลดต่ำลงกว่าที่คาด ขณะที่หนี้ยังสามารถขยายตัวได้ด้วยอัตราการเติบโตใกล้เคียงกับปัจจุบัน

Debt Overhang อยู่ไม่ไกล 

สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง จะส่งผลให้ภาคครัวเรือนไทยมีความเสี่ยงต่อการเผชิญกับภาวะ Debt Overhang คือ ภาวะของการมีหนี้สูงจนเป็นปัญหาต่อการใช้จ่ายและการก่อหนี้ใหม่ในอนาคต ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนในด้านต่างๆ ของภาคครัวเรือน เช่น การลงทุนเพื่อซื้อสินทรัพย์หรือการลงทุนในด้านการศึกษา เเละภาวะ Debt Overhang จะยังเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นหนี้เสียที่จะกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินได้อีกด้วย

โดยจากการศึกษาของ BIS พบว่า หากสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP สูงกว่าระดับ 80% จะส่งผลเสียต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป

“สถานการณ์หนี้ของภาคครัวเรือนไทยที่เกิดขึ้นจริงอาจแย่กว่าที่สัดส่วนหนี้ต่อ GDP บ่งชี้จากการที่รายได้ภาคครัวเรือนโตช้ากว่า GDP โดยเฉลี่ย และในช่วงโควิดแนวโน้มดังกล่าวนี้ก็น่าจะยังมีต่อเนื่อง จากผลกระทบต่อภาคครัวเรือนที่รุนแรง สะท้อนจากการตกงานและสูญเสียรายได้ของคนทำงานจำนวนมากเป็นประวัติการณ์” 

โดยรายได้ของแรงงานที่ได้รับค่าจ้างในไตรมาสที่ 1 ปี 2021 ลดลงถึง -8.8% ขณะที่ Nominal GDP ลดลงเพียง -2.1% ในช่วงเดียวกัน

แม้ในปีนี้เศรษฐกิจไทยยังสามารถได้รับแรงหนุนจากการส่งออกที่ขยายตัวดี แต่ภาคการส่งออก โดยเฉพาะการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม มีการใช้แรงงานไม่มากนักเมื่อเทียบกับการจ้างงานในภาคบริการ อีกทั้งรายได้จากการส่งออกยังกระจุกตัวอยู่ในบริษัทขนาดใหญ่จำนวนไม่มาก

ด้วยเหตุนี้การให้ความช่วยเหลือจากภาครัฐแก่ภาคครัวเรือน ทั้งในรูปแบบของมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจและการเพิ่มศักยภาพในการหารายได้โดยการปรับและเพิ่มทักษะแรงงาน ยังเป็นสิ่งจำเป็นในภาวะที่เศรษฐกิจภาคครัวเรือนยังคงมีความเปราะบางสูง

 

]]>
1341610