อร่อยดี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 07 Oct 2020 08:43:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 CRG เปิดฉากขายแฟรนไชส์ “อร่อยดี” สตรีทฟู้ดสู่โมเดลร้านสะดวกทาน https://positioningmag.com/1300383 Wed, 07 Oct 2020 07:49:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300383 ใครๆ ก็หันมาจับตลาดร้านสตรีทฟู้ด พร้อมกับเดินกลยุทธ์ขายแฟรนไชส์ เพื่อเป็นการติดสปีดให้กับธุรกิจ ล่าสุด CRG ได้พร้อมเปิดขายแฟรนไชส์แบรนด์ “อร่อยดี” หลังจากปลุกปั้นมาได้ 2 ปี ตั้งเป้า 300 สาขาภายใน 5 ปี

สตรีทฟู้ดเนื้อหอม ใครๆ ก็อยากจับจอง

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าธุรกิจร้านอาหารในปี 2563 จะมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 3.85-3.89 แสนล้านบาท หรือหดตัวประมาณ 9.7-10.6% จากปี 2562 จากพิษของวิกฤตไวรัส COVID-19 ที่ทำให้ธุรกิจร้านอาหารต้องปิดตัวชั่วคราว รวมถึงไม่สามารถให้บริการภายในร้านได้ % รวมถึงปัจจัยจากนักท่องเที่ยวหดตัวด้วย ทำให้การบริโภคลดลง

โดยที่จากตลาดรวม เป็นตลาดของร้านอาหารเชนใหญ่ๆ ในสัดส่วน 25% มีการคาดว่าตลาด “สตรีทฟู้ด” หรือร้านอาหารตามสั่ง ร้านเล็กๆ มีสัดส่วนถึง 50% ตลาด กลายเป็นอีกหนึ่งเซ็กเมนต์เนื้อหอมที่น่าจับตามอง

เพราะตอนนี้เชนร้านร้านอาหารรายใหญ่ต่างลงมาจับตลาดนี้กันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้บุกเบิกตลาดอย่าง “เขียง” จากค่าย “เซ็น คอร์เปอชั่น” ตามมาด้วย “อร่อยดี” จากค่าย CRG และล่าสุดกับ “ตะหลิว” จากค่าย CPF ภายใต้แบรนด์ลูกของเชสเตอร์

ความเนื้อหอมของสตรีทฟู้ดคงไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจอะไร เพราะด้วยพฤติกรรมคนไทยเองคุ้นเคยกับการทานร้านอาหารตามสั่ง หลายคนอาจจะมีร้านโปรดอยู่แถวๆ บ้าน เป็นร้านเล็กๆ ร้านคุณลุง คุณป้า แต่แบรนด์สตรีทฟู้ดเหล่านี้ได้พัฒนาเป็นร้านอาหารตามสั่งให้เข้าไปอยู่ในทุกจุดที่มีทราฟฟิก

ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้า ชุมชน ปั๊มน้ำมัน อาคารสำนักงาน ฟู้ดคอร์ท พร้อมกับมาตรฐานของร้านอาหารแบรนด์ใหญ่ ในราคาที่ย่อมเยา ซึ่งทำให้คนไทยให้การตอบรับอย่างดี และมีทิศทางการเติบโตที่สูงขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับมีการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง

ขายแฟรนไชส์ช้า แต่เอาชัวร์

กลุ่ม CRG ได้เปิดแบรนด์ “อร่อยดี” ได้ร่วมๆ 2 ปี แล้ว เป็นเวลาไล่เรี่ยกับแบรนด์เขียง ปัจจุบันมีทั้งหมด 20 สาขา ตลอดเวลา 2 ปีที่ผ่านมาทาง CRG เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด ยังไม่ได้เริ่มขายแฟรนไชส์ เพราะต้องการวางระบบให้ดีก่อน

ล่าสุด CRG ได้ประกาศความพร้อมในการขายแฟรนไชส์อร่อยดีเต็มตัว มีการวางงบการลงทุนของแฟรนไชส์อยู่ที่ 1.3 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 400,000 บาท มีค่า Royalty Fee 4% และ Marketing Fee 1% ของยอดขาย คาดว่าสามารถคืนทุนภายใน 2 ปี มีรายได้เฉลี่ย 500,000-550,000 บาท/เดือน/สาขา โดยมีต้นทุน 38-40% และกำไร 17%

ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG

“แบรนด์อร่อยดีได้เปิดมา 2 ปีแล้ว ตั้งแต่เดือนธันวา 2561 เริ่มจากขายใกล้ๆ ออฟฟิศก่อนแล้วก็ขยายสาขาเรื่อยๆ จุดเด่นของร้านอาหารสตรีทฟู้ดคือ สะดวก ทานได้ทุกวัน ราคาไม่แพง สตรีทฟู้ดเป็นเมนูยอดนิยม ทานง่าย เครื่องปรุงไม่เยอะ เดลิเวอรี่ง่าย พอเริ่มทำได้สักพักก็เริ่มได้ Know how ต่างๆ มีคลาวด์ คิทเช่น มีช่องทางใหม่ๆ”

CRG ประกอบธุรกิจอาหาร แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ QSR & Western Cuisine, Thai & Chinese Cuisine, Japanese Cuisine และ Bakery & Beverage Cuisine ซึ่งอร่อยดีอยู่ในกลุ่ม Thai Cuisine และด้วยภาพรวมของตลาดเดลิเวอรี่ และอาหารสตรีทฟู้ดที่เติบโตเพิ่มมากขึ้น  การเปิด Cloud Kitchen และ การขายแฟรนไชส์ จึงเป็น Business Model ที่ตอบโจทย์ และสามารถสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจได้ ด้วยการลงทุนที่ต่ำ ไม่ต้องใช้เงินทุนก้อนใหญ่ จึงสามารถสร้างผลกำไรเพิ่มขึ้น

ถ้าถามว่าเป็นการบุกการขยายแฟรนไชส์ช้าไปหรือไม่ ในขณะที่คู่แข่งนำหน้าไปในระดับร้อยสาขาแล้ว ทาง “ธนพล ธรรพสิทธิ์” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG บอกว่า

“เราช้า แต่เราเอาชัวร์ เพราะต้องการมี Role Model ที่ชัดเจน ต้องการเห็นสาขาที่ประสบความสำเร็จ มีกำไร ก่อนที่จะวางระบบเพื่อขายแฟรนไชส์”

ธนพลเสริมอีกว่า ในแบรนด์อร่อยดี นอกจากจะมีเมนูของตัวเองแล้ว ยังมีแบรนด์สตรีทฟู้ดอื่นๆ ที่เป็นพาร์ตเนอร์ เท่ากับว่าซื้อแฟรนไชส์ยังได้แบรนด์อื่นๆ ด้วย ได้แก่ เจ๊เกียง โจ๊กกองปราบ, โตกียว โบวล์ และ เจ๊เกียงหมูทอด ข้าวเหนียวนุ่ม เป็นต้น

5 ปี ต้องมี 300 สาขา  

ปัจจุบันอร่อยดีมีทั้งหมด 20 สาขา โดย 17 สาขาเป็นโมเดลแบบร้านมีที่นั่ง และ 3 สาขาเป็นคลาวด์ คิทเช่น หลังจากเปิดขายแฟรนไชส์แล้ว คาดว่าปีนี้จะมีโมเดลแฟรนไชส์ 10 สาขา

มองว่าภายใน 5 ปีจะมีสาขารวมทั้งหมด 300 สาขา แบ่งเป็นแฟรนไชส์ 70% และสาขาที่ CRG ลงทุนเอง 30% เหตุผลที่ยังมีสาขาที่ลงทุนเองอยู่ เพราะต้องการทำการตลาด เพื่อให้แฟรนไชส์ได้รับอานิสงส์ด้วย

ในการขยายสาขาจะเน้นโลเคชั่น Non-Mall ตามไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านวัสดุก่อสร้าง ปั๊มน้ำมัน พื้นที่ชุมชน ทำเป็นโมเดลร้านสะดวกทาน ซึ่งจะได้จุดแข็งจากธุรกิจในเครือของกลุ่มเซ็นทรัลที่จะสามารถขยายสาขาได้ เช่น ร้านไทวัสดุ เป็นต้น พื้นที่จะมีตั้งแต่ขนาด 50-60-70 ตารางเมตร

ปัจจุบันสาขาที่ขายดีที่สุดได้แก่ ไทวัสดุบางนา, รามอินทรา และสายไหม มียอดขายเฉลี่ย 750,000 บาท/เดือน ลูกค้าส่วนใหญ่มียอดการใช้จ่ายเฉลี่ย 150 บาท/บิล

ต้องจับตาดูตลาดสตรีทฟู้ดที่ตอนนี้กำลังหอมหวาน จะมีเชนร้านอาหารรายไหนลงมาเล่นอีก ซึ่งยังมีโอกาสในตลาดอยู่อีกมาก เพียงแต่จะทำให้แตกต่างจากตลาดอย่างไร

]]>
1300383
“เชสเตอร์” เอาด้วย! ปั้นแบรนด์ “ตะหลิว” ร่วมวงสตรีทฟู้ด ท้าชน “เขียง-อร่อยดี” https://positioningmag.com/1299681 Thu, 01 Oct 2020 16:07:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299681 กลายเป็นเทรนด์ของเชนร้านอาหารยุคนี้ที่ต้องแตกแบรนด์ใหม่เพื่อจับในทุกๆ เซ็กเมนต์ โดยกลุ่ม “สตรีทฟู้ด” มาแรง ล่าสุด “เชสเตอร์” QSR ในเครือ CPF ได้ปั้นแบรนด์ “ตะหลิว” เริ่มเข้าฟู้ดคอร์ท พร้อมขายแฟรนไชส์ปีหน้า

ขอร่วมวงอาหารตามสั่งขึ้นห้าง

ตลาดสตรีทฟู้ดร้อนแรงขนาดนี้ มีหรือที่ “เชสเตอร์” จะพลาดขบวนในการจับตลาดนี้ด้วย แบรนด์ “ตะหลิว” นี้ จะเป็นเหมือนแบรนด์ลูกในเครือของเชสเตอร์ ต่อยอดจากจุดเด่นของแบรนด์คือข้าว และพริกน้ำปลา

ตะหลิวได้วางจุดยืนเหมือนกับแบรนด์อื่นๆ เน้นที่เมนูอาหารตามสั่ง เมนูอาหารไทยยอดนิยมอย่างข้าวผัดกะเพรา ผัดมาม่า ต้มยำ และเมนูเส้น มีราคาเริ่มต้นที่ 60 บาท

ร้านตะหลิว

เชสเตอร์ได้นำร่องเปิดร้านตะหลิวแบบเงียบๆ ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เลือกโลเคชั่นเป็นฟู้ดคอร์ทระดับพรีเมียม ได้แก่ อาคาร CP Tower 2 และโรงพยาบาลศิริราช และล่าสุดได้เปิดสาขาใหม่ที่อิมพีเรียล สำโรง เป็นโมเดลแบบร้านมีที่นั่ง

ถ้าถามถึงที่มาที่ไป “รุ่งทิพย์ พรหมชาติ” รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เชสเตอร์ฟู้ด จำกัด เล่าให้ฟังว่า

“จุดเด่นของเชสเตอร์คือ เรื่องข้าว และพริกน้ำปลา เลยมองว่าจะมาต่อยอดอย่างไรได้บ้าง อีกทั้งตลาดสตรีทฟู้ดเป็นฐานใหญ่มากของตลาดร้านอาหารในไทย คิดเป็นสัดส่วน 50% เพียงแต่ส่วนใหญ่เป็นร้านเล็กๆ หรือโลคอลข้างทาง แต่ก็มีลูกค้าเยอะตลอด เราเลยมาปรับรูปแบบให้ร้านแบบนี้ขึ้นห้าง ปรับเมนูให้โดดเด่น เอามาผสมกับจุดเด่นของเรา”

รุ่งทิพย์เสริมอีกว่า แผนการขยายสาขาของตะหลิวในปีนี้ยังอยู่ช่วงทดลองตลาด ดูว่าโลเคชั่นไหนเหมาะ และการตอบรับของผู้บริโภค แรกเริ่มจะเป็นบริษัทลงทุนเองก่อน มองว่าจะมี 3 รูปแบบหลักๆ ได้แก่ ร้านเล็กๆ ในฟู้ดคอร์ท, ร้านแบบมีที่นั่ง และ Cloud Kitchen ที่เน้นเดลิเวอรี่ โดยจะใช้ครัวของเชสเตอร์เป็นหลัก

ซึ่งถ้าผลตอบรับดี จะเริ่มขยายแฟรนไชส์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ในปีหน้า จะเป็นอีกหนึ่งโมเดลในการหารายได้เพิ่ม และยังช่วยขยายสาขาได้เร็วขึ้นด้วย

เชนร้านอาหารแห่ลุยสตรีทฟู้ด

เทรนด์ของสตรีทฟู้ดเริ่มเห็นมาได้ 1-2 ปีแล้ว แรกเริ่มกลุ่ม ZEN ได้นำร่องเปิดตลาดด้วยแบรนด์ “เขียง” เป็นสไตล์อาหารตามสั่งยอดนิยม ปัจจุบันได้กลายเป็นแบรนด์ดาวรุ่งของกลุ่ม มีการขยายสาขาอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็นแบรนด์ที่สร้างรายได้จากช่องทางเดลิเวอรี่ได้มากอีกด้วย

ในส่วนของกลุ่ม CRG ก็ร่วมวงด้วยการเปิดตัวแบรนด์ “อร่อยดี” เช่นกัน ปัจจุบันมีทั้งหมด 20 สาขา และยังเตีรยมขยายแฟรนไชส์ในเร็วๆ นี้ด้วย

เชสเตอร์เป็นแบรนด์ล่าสุดที่ไม่พลาดขบวน แม้จะมาช้า แต่ก็ยังไม่หลุดขบวนเท่าไหร่ เพราะผู้บริโภคยังตอบรับกับเซ็กเมนต์นี้ เนื่องจากเป็นอาหารจานด่วน และเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ทุกวัน เมื่อเทียบกับเชนร้านอาหารแล้ว จะมีราคาย่อมเยากว่าด้วย

ต้องจับตาต่อไปว่า จะมีเชนร้านอาหารแบรนด์ไหน ลงมาจับตลาด แต่เชื่อว่าตลาดต้องร้อนแรงอย่างแน่นอน

]]>
1299681