อุตสาหกรรมการเกษตร – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 05 Oct 2022 12:19:58 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “เบทาโกร” เปิดขายหุ้น IPO เคาะราคา 40 บาท ระดมทุน 2 หมื่นล้าน หุ้นอาหารที่ใหญ่ที่สุดของไทย https://positioningmag.com/1403364 Wed, 05 Oct 2022 09:25:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1403364 “เบทาโกร” (BTG) เตรียมเปิดจองซื้อหุ้น IPO วันที่ 10-17 ตุลาคมนี้ จำนวน 500 ล้านหุ้น เคาะราคาที่ 40 บาทต่อหุ้น มูลค่าการระดมทุน 20,000 ล้านบาท ขึ้นแท่นหุ้น IPO หมวดอุตสาหกรรมอาหารที่ใหญ่ที่สุดของไทย วัตถุประสงค์ระดมทุนเพื่อขยายฟาร์มและโรงงานใหม่

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) หรือ “BTG” เตรียมเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 500 ล้านหุ้น (รวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) พร้อมกำหนดราคาเสนอขายที่ 40.00 บาทต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่าการเสนอขายรวมไม่เกิน 20,000 ล้านบาท (รวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน)

หากมีการจองซื้อเต็มจำนวน จะนับเป็น IPO ของหุ้นในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่มีมูลค่าเสนอขายสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดทุนไทย และเป็นหุ้น IPO ครั้งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำปีนี้

โดยขณะนี้มีนักลงทุนสถาบันจำนวนรวม 25 ราย ลงนามในสัญญาลงทุนในหุ้น BTG เพื่อเป็น Cornerstone Investors คิดเป็นประมาณ 77.1% ของจำนวนหุ้นที่เสนอขายให้แก่นักลงทุนสถาบันในเบื้องต้น (ไม่รวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน)

สำหรับนักลงทุนที่เป็นลูกค้าของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์สามารถจองซื้อหุ้นได้ในระหว่างวันที่ 10 – 12 และ 17 ตุลาคม 2565 และคาดว่าหุ้น BTG จะสามารถเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวันแรก วันที่ 2 พฤศจิกายนนี้

จุดประสงค์ของการระดมทุนของเบทาโกรนั้น จะนำไปเป็นทุนในการขยายฟาร์มและโรงงานแห่งใหม่ ไม่ว่าจะด้วยการเข้าซื้อกิจการหรือก่อสร้างใหม่ คาดว่าจะมีการใช้เงินลงทุนในส่วนนี้ประมาณ 5,000 ล้านบาทต่อปี ไปจนถึงปี 2569 ส่วนจุดประสงค์การใช้เงินระดมทุนอื่นๆ จะนำไปชำระหนี้สินของบริษัทและใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน

 

มีครบต้นน้ำถึงปลายน้ำ

“วสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงพื้นฐานธุรกิจของ BTG ว่า บริษัทก่อตั้งมายาวนาน 55 ปี ปัจจุบันทำธุรกิจเกษตรและอาหารตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ถึงปลายน้ำ โดยมีการจำหน่ายทั้งในไทยและส่งออกไปต่างประเทศรวม 20 ประเทศ เช่น อังกฤษ สหภาพยุโรป จีน แคนาดา ฯลฯ

ธุรกิจของเบทาโกรแบ่งได้เป็น 4 ส่วนสำคัญ คือ

1.ธุรกิจกลุ่มอาหารและโปรตีน ได้แก่ เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ ปลา ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป และผลิตภัณฑ์อาหารทางเลือก (สัดส่วน 68% ของรายได้รวม)

2.ธุรกิจเกษตร ได้แก่ อาหารสัตว์ เวชภัณฑ์สัตว์ อุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ และบริการแล็บ (สัดส่วน 25% ของรายได้รวม)

3.ธุรกิจต่างประเทศ หมายถึง การเข้าลงทุนตลอดซัพพลายเชนในต่างประเทศ ปัจจุบันมีการลงทุนแล้วในลาว กัมพูชา และเมียนมา (สัดส่วน 5% ของรายได้รวม)

4.ธุรกิจสัตว์เลี้ยง ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยง ขนมขบเคี้ยวสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์ดูแลสัตว์เลี้ยง (สัดส่วน 2% ของรายได้รวม)

ช่วงครึ่งปีแรก 2565 บริษัททำรายได้รวม 53,285 ล้านบาท เติบโต 24.9% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน และทำกำไรสุทธิ 3,893 ล้านบาท เติบโต 233.1% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ รายได้ของเบทาโกรย้อนหลัง 3 ปี (2562-64) มีการเติบโตเฉลี่ยปีละ 7.3%

 

ทิศทาง “เบทาโกร” สร้างแบรนด์ให้แข็งแรงยิ่งขึ้น

“เราเข้าใจความผันผวนของอุตสาหกรรมนี้เพราะเราอยู่มา 55 ปี สิ่งที่เราจะเอาชนะความผันผวนได้ คือ เรามีการสร้างแบรนด์เพื่อทำให้ความผันผวนของราคาลดลง เราเน้นการขายเนื้อสัตว์ที่แปรรูปแล้วมากกว่าการขายสัตว์เป็น” วสิษฐกล่าว เมื่อถูกถามถึงการถูกมองว่าเบทาโกรจะเป็นหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีความผันผวนสูงหรือไม่

การปั้นแบรนด์เองของเบทาโกรเกิดขึ้นมากว่า 15 ปี และทำให้บริษัทมีความแข็งแรงในตลาดมากกว่าเดิมที่ยังไม่มีแบรนด์ โดยเบทาโกรมีแบรนด์สินค้าทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเกษตร ธุรกิจอาหารและโปรตีน และธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง และมีการจัดแบรนด์ครอบคลุมเซกเมนต์ตั้งแต่ระดับพรีเมียม ระดับมาตรฐาน และระดับคุ้มค่า

IPO เบทาโกร

ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจอาหารและโปรตีน จะมีแบรนด์ S-Pure และ ITOHAM อยู่ในกลุ่มพรีเมียม ส่วนแบรนด์ Betagro จะอยู่ในตลาดมาตรฐาน ขณะที่แบรนด์ เช่น บี-วัน จะเป็นตลาดคุ้มค่า

นอกจากการปั้นแบรนด์ให้แข็งแกร่งทั้งในไทยและต่างประเทศแล้ว วสิษฐยังกล่าวถึงธุรกิจที่จะเป็น New S-Curve ในอนาคต ได้แก่ การเปิดแบรนด์อาหารโปรตีนทางเลือก “Meatly” และการร่วมทุนกับ Kerry สร้างธุรกิจจัดส่งสินค้าที่ต้องแช่เย็น “Kerry Cool” ซึ่งถือเป็นการเติมแวลูเชนของบริษัท

อนาคตที่เบทาโกรกำลังศึกษาเพิ่มเติมของธุรกิจใหม่ คือการหาทางเข้าสู่ตลาดอาหารที่สามารถเก็บได้เป็นระยะเวลานานโดยไม่ต้องแช่เย็น มีอายุยาวนาน ซึ่งจะทำให้ส่งออกต่างประเทศได้ง่ายขึ้นด้วย (ปัจจุบันอาหารของเบทาโกรเป็นอาหารแช่เย็นและแช่แข็ง)

ส่วนทิศทางในระยะยาว ปัจจุบันตลาดโลกมองถึงอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ว่าเป็นตัวการการปล่อยคาร์บอน ซึ่งเบทาโกรไม่ได้นิ่งนอนใจ มีการศึกษาและออกผลิตภัณฑ์ Plant-based แล้วดังกล่าว อย่างไรก็ตาม วสิษฐเชื่อว่า โปรตีนทางเลือกจะไม่ได้มา ‘ดิสรัปต์’ กลุ่มโปรตีนดั้งเดิมได้ทั้งหมด เชื่อว่าอนาคตอาหารก็จะยังต้องรับประทานหมู ไก่ ไข่ ปลากันเป็นหลักเช่นเดิม

]]>
1403364
อ่านเกม “สิงห์ เอสเตท” ลุยนิคมฯ เต็มตัว เข้าซื้อ “เวิลด์ ฟู๊ด วัลเลย์ ไทยแลนด์” เติมเต็มธุรกิจโรงไฟฟ้า https://positioningmag.com/1332060 Fri, 14 May 2021 10:00:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1332060

การทำธุรกิจในยุคสมัยนี้ การสยายปีกสู่อุตสาหกรรมใหม่ๆ ถือว่าเป็นโอกาสทองในการสร้างการเจริญเติบโตเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังช่วยกระจายความเสี่ยงเมื่ออีกอุตสาหกรรมมีการเติบโตน้อยลงด้วย ช่วยสร้างความสมดุลให้พอร์ตได้อย่างดี

เมื่อไม่นานมานี้ จึงได้เห็นการเคลื่อนไหวสำคัญของวงการอสังหาริมทรัพย์ “สิงห์ เอสเตท” ผู้พัฒนา และลงทุนอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทย ได้ใช้งบลงทุนกว่าพันล้าน ได้สิทธิ์ซื้อหุ้น 30% ในโรงงานผลิตไฟฟ้า และความร้อนร่วม (Co-generation power plant) ขนาดใหญ่ 3 แห่ง

มูฟเมนต์นี้ถือเป็นการขยายธุรกิจสู่กลุ่มที่ 4 กลุ่มพลังงาน นวัตกรรมใหม่ๆ อย่างเต็มตัว และคาดการณ์ว่าจะทำให้มีรายได้ปีละ 20,000 ล้านภายใน 3 ปี เป็นการหาน่านน้ำใหม่

สิงห์ เอสเตทไม่หยุดแต่เพียงเท่านี้ ล่าสุดได้ลงนามในข้อตกลงเข้าซื้อหุ้น 100% ของบริษัท ปาร์ค อินดัสตรี จำกัด จากบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด โดยบริษัท ปาร์ค อินดัสตรี จำกัด เป็นเจ้าของนิคมอุตสาหกรรมเวิลด์ ฟู๊ด วัลเลย์ ไทยแลนด์ ซึ่งมีเนื้อที่ 1,790 ไร่ ตั้งอยู่ใน จ.อ่างทอง

ธุรกรรมดังกล่าวมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 2,421 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 510 ล้านบาท เป็นเงินที่จ่ายเพื่อซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัท ปาร์ค อินดัสตรีในราคาพาร์ ส่วนอีก 1,726 ล้านบาท เป็นเงินที่จะใช้ในการลงทุนพัฒนานิคมอุตสาหกรรม และอีกส่วนหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งการโอนหุ้นระหว่างกันคาดว่าจะแล้วเสร็จ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2564

จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ประธานกรรมการ บมจ. สิงห์ เอสเตท เปิดเผยว่า

“การซื้อนิคมอุตสาหกรรมซึ่งเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับโรงไฟฟ้าสามแห่งที่เราเข้าไปถือหุ้นในสัดส่วนที่มากพอสมควรนี้ ถือเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่ง ในการเดินหน้าสู่เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของเราที่จะสร้างจุดแข็งที่ทรงพลังให้กับธุรกิจ จากการส่งเสริมซึ่งกันและกันของกลุ่มธุรกิจต่างๆ ที่หลากหลายของสิงห์ เอสเตท เพื่อทำให้เรามีความแข็งแกร่งในการแข่งขัน และทำให้ธุรกิจของเรามีความเป็น Resilient Business”

ทางด้าน ฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. สิงห์ เอสเตท กล่าวว่า

“การผสานธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมเข้ากับธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้า จะสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจของเรา ทั้งในด้านการเงิน และการดำเนินงาน เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วนิคมอุตสาหกรรมคือหนึ่งในผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุด การดำเนินกิจการในนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้ทำให้เกิดความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งของเรา

และการที่นิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้ เน้นสินค้าอาหารโดยเฉพาะ ทำให้มีความต้องการใช้ไอน้ำจากผู้ประกอบการแปรรูปอาหารต่างๆ ในนิคมฯ ซึ่งโรงไฟฟ้าของเรา ก็เป็นผู้ผลิตไอน้ำที่ใช้ได้ในอุตสาหกรรมอาหารด้วย นอกจากนั้น กิจการโรงไฟฟ้ายังช่วยให้เรามีรายได้อย่างต่อเนื่อง และมีกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอ ลดความเสี่ยงในเรื่องความไม่แน่นอนของกระแสเงินสดจากการขายพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรม”

การที่มีนิคมอุตสาหกรรมในมือนั้น นอกจากความลงตัวในเชิงกลยุทธ์แล้ว ต้องบอกว่าธุรกิจนิคมฯ ยังมีอนาคตที่สดใสมากเลยทีเดียว นิคมตั้งอยู่ในจ.อ่างทองซึ่งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย

ถ้าดูจากสถิติโดยรวมของอัตราการเข้าใช้พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมของทั้งประเทศนั้น เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 80% ณ ช่วงสิ้นปี 2563 ในขณะที่ภาคกลางของประเทศไทย มีอัตราการเข้าใช้พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในระดับสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 89% จึงเป็นโอกาสทองอย่างมากในการลงทุนครั้งนี้

ฐิติมากล่าวเพิ่มเติมว่า “นิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้ยังมีความสำคัญตามนโยบายการขับเคลื่อนประเทศที่มุ่งยกระดับประเทศไทยให้เป็นครัวของโลก และเป็นหนึ่งในผู้ผลิตอาหารชั้นนำของโลก โดยทำเลที่ตั้งของนิคมฯ แห่งนี้ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่มีความเหมาะสมสำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางห่วงโซ่อุปทานอาหาร และวัตถุดิบของประเทศ ทั้งแหล่งสำคัญในการผลิตข้าว ผลิตภัณฑ์จากนม และสัตว์ปีก นอกจากนี้ ยังมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากอยู่ใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยา”

รัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ซึ่งกำหนดเป็นนโยบายระยะยาว โดยข้อมูลของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน พบว่า อุตสาหกรรมการเกษตร และอาหาร เป็นหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมที่มีการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนเข้ามาในอัตราที่เติบโตรวดเร็วที่สุด โดยภาคกลางของประเทศไทยมีสัดส่วนของการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนประมาณครึ่งหนึ่งของการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมดในปี 2563 อีกทั้งยังมีการคาดการณ์ว่า ความต้องการที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้น เมื่อมีการผ่อนปรนมาตรการความเข้มงวดในการเดินทางหลังการคลี่คลายของวิกฤต COVID-19

ทั้งนี้สิงห์ เอสเตท ได้จัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 23 เมษายน ซึ่งในการประชุมดังกล่าว ผู้ถือหุ้นได้อนุมัติแผนการซื้อหุ้น 30% ในโรงไฟฟ้า 3 แห่งที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเวิลด์ ฟู๊ด วัลเลย์ ไทยแลนด์ โดยคิดเป็นมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 1,392 ล้านบาท

โดยที่โรงไฟฟ้าแห่งแรกเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่ดำเนินการผลิตอยู่แล้วขนาด 123 เมกะวัตต์ ส่วนโรงไฟฟ้าแห่งที่ 2 และ 3 เป็นโรงไฟฟ้าใหม่ที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง โดยมีกำหนดจะเปิดดำเนินการได้ในปี 2566 มีกำลังการผลิตแห่งละ 140 เมกะวัตต์

เมื่อเดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา สิงห์ เอสเตท เปิดเผยว่าบริษัทมีเป้าหมายดันรายได้ต่อปีให้เพิ่มขึ้น 3 เท่า กลายเป็นประมาณ 20,000 ล้านบาทต่อปี และมีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็น 80,000 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 3 ปี

 

]]>
1332060