อุ้มสายการบิน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 09 Jun 2020 13:12:57 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ฮ่องกง ทุ่มเงินอัดฉีด 1.6 แสนล้านบาท อุ้มสายการบิน “คาเธ่ย์ แปซิฟิค” ฝ่าวิกฤต COVID-19 https://positioningmag.com/1282818 Tue, 09 Jun 2020 11:02:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282818 รัฐบาลฮ่องกง อนุมัติเงินอัดฉีด 39,000 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ราว 1.6 เเสนล้านบาท) ช่วยเหลือ “คาเธ่ย์ แปซิฟิค” เเลกกับการเข้าถือหุ้น 6% เพื่อรักษาสภาพคล่องของธุรกิจการบินให้ผ่านพ้นวิกฤต COVID-19

การช่วยเหลือสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค (Cathay Pacific) ครั้งนี้ ถือเป็นครั้งเเรกที่รัฐบาลฮ่องกงเข้าไปมีส่วนร่วมกับการดำเนินงานของบริษัทเอกชน โดยคาเธ่ย์ แปซิฟิคเป็นสายการบินหลักของฮ่องกงเเละเป็นหนึ่งในสายการบินขนาดใหญ่ของเอเชีย ซึ่งรัฐบาลต้องการรักษาความเป็นศูนย์กลางทางการบินในภูมิภาคของฮ่องกงเอาไว้

สำหรับกระบวนการช่วยเหลือ ทางฝ่ายบริหารของฮ่องกงจะเข้าซื้อหุ้นบุริมสิทธิมูลค่า 19,500 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนราว 6% ของหุ้นสายการบินคาเธ่ย์ และถือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ (Warrant) อีก 1,950 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง เเละจะมีการช่วยเหลือผ่านสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำระยะสั้นอีก 7,800 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตามปกติการถือครองหุ้นบุริมสิทธิจะไม่มีสิทธิออกเสียงด้านนโยบายบริหาร เเต่ทางการฮ่องกงจะส่งผู้สังเกตการณ์ 2 คนเข้าร่วมในการประชุมคณะกรรมการบริหารของสายการบินด้วย

นอกจากนี้ ในข้อตกลงเเผนช่วยเหลือระหว่างรัฐบาลฮ่องกงเเละคาเธ่ย์ แปซิฟิค ยังครอบคลุมถึงการระดมทุนในรูปแบบการให้สิทธิซื้อหุ้นออกใหม่ (rights issue) มูลค่า 11,700 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นคาร์เธ่ย์ของผู้ถือหุ้นเดิมเปลี่ยนแปลง

โดยปัจจุบันผู้ถือหุ้นใหญ่อย่างสายการบิน Swire ที่ถือหุ้นอยู่ 45% จะลดลงเหลือ 42% สายการบิน Air China ถือหุ้นอยู่ 30% จะลดลงเหลือ 28% และ Qatar Airways ที่ถือหุ้นอยู่ 10% จะลดลงเหลือ 9.4%

คาเธ่ย์ แปซิฟิคเป็นสายการบินขนาดใหญ่ที่ให้บริการหลายเส้นทางสู่เมืองใหญ่ทั่วโลก อย่าง ปักกิ่ง ลอสแอนเจลิส ซิดนีย์ เเวนคูเวอร์ และโตเกียว หลังเกิดการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้การเดินทางทั่วโลกต้องหยุดชะงัก ฝูงเครื่องบินส่วนใหญ่ต้องจอดไว้ สายการบินต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเเละขาดสภาพคล่องทางการเงิน

คาเธ่ย์ เปิดเผยล่าสุดว่า รายรับจากผู้โดยสารลดลงเหลือเพียง 1% จากปีก่อนหน้า หมายความว่าสายการบินกำลังสูญเสียเงินสดราว 2,500 – 3,000 ล้านดอลลาร์ฮ่องกงต่อเดือน นับตั้งเเต่ช่วงเดือน ก.พ. ที่การเเพร่ระบาดเริ่มรุนเเรงขึ้น

ก่อนหน้านี้ สายการบินคาเธ่ย์ ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในสถานการณ์การประท้วงต่อต้านรัฐบาลจีนในฮ่องกงที่ดำเนินต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และโดนซ้ำเติมด้วยวิกฤต COVID-19 ซึ่งทำให้ต้องปลดกัปตันเเละลูกเรือไปบางส่วนในสหรัฐฯ และแคนาดา จากนี้จะดำเนินเเผนลดเงินเดือนผู้บริหารต่อไป พร้อมกับแผนการเสนอให้พนักงานลางานเเบบไม่รับเงินโดยสมัครใจครั้งที่ 2 ควบคู่ไปกับข้อเสนอการเพิ่มทุน

ผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 ส่งผลกระทบต่อสายการบินครั้งใหญ่ที่สุดในรอบศตวรรษ สายการบินหลายเเห่งต้องยื่นล้มละลายเพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู เเละสายการบินหลายเเห่ง ต้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลเเบบมี “ข้อเเลกเปลี่ยน”

อย่างเช่น สายการบินลุฟท์ฮันซ่าที่ให้รัฐบาลเยอรมนีเข้าถือหุ้นสายการบิน โดยแลกเปลี่ยนกับมาตรการช่วยเหลือทางการเงิน ด้านรัฐบาลฝรั่งเศสได้อนุมัติเงินกู้ 7,000 ล้านยูโรช่วยเหลือสายการบินแอร์ฟรานซ์ เพื่อแลกกับการลดเที่ยวบินในประเทศและต้องปรับสายการบินให้มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เป็นต้น

 

ที่มา : Reuters , CNN

]]>
1282818
รัฐบาลเยอรมนีบรรลุข้อตกลงทุ่ม 3.1 แสนล้าน ชุบชีวิต “ลุฟท์ฮันซ่า” สายการบินแห่งชาติ https://positioningmag.com/1280580 Tue, 26 May 2020 04:07:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1280580 เยอรมนีมอบสายหล่อเลี้ยงชีวิตแก่ลุฟท์ฮันซ่า สายการบินแห่งชาติ ด้วยการอนุมัติเงินช่วยเหลือ 9,000 ล้านยูโร (310,000 ล้านบาท) แลกกับสิทธิ์วีโต้ในกรณีที่ต้องเผชิญกับการยื่นซื้อกิจการแบบไม่เป็นมิตรเข้ามา

ถือว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือบริษัทเยอรมนีครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตไวรัส COVID-19 แพร่ระบาด จะได้เห็นรัฐบาลเข้าถือหุ้นของสายการบินลุฟท์ฮันซ่า 20% และอาจเพิ่มเป็น 25% กับอีก 1 หุ้น ในกรณึที่มีความพยายามเข้ามาเทกโอเวอร์ และในเรื่องการลดการจ้างงานหลายพันอัตรา

รัฐบาลจะซื้อหุ้นใหม่ในราคา 2.56 ยูโร/หุ้น รวมเป็นเงิน 300 ล้านยูโร แต่ข้อตกลงดังกล่าวจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้น และคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เสียก่อน

ลุฟท์ฮันซ่า ติดหล่มอยู่ในการเจรจากับรัฐบาลเยอรมนีมานานหลายสัปดาห์ เกี่ยวกับเงินช่วยเหลือที่จำเป็นสำหรับความอยู่รอดท่ามกลางแนวโน้มอุปสงค์ด้านการเดินทางดำดิ่งเป็นเวลานาน โดยประเด็นสำคัญที่พูดคุยกันคือ สายการบินแห่งนี้จะยอมให้รัฐบาลเข้ามาควบคุมมากน้อยแค่ไหน เพื่อแลกกับการสนับสนุนทางการเงิน

รัฐบาลกลางของเยอรมนีใช้เวลานานหลายทศวรรษในการปล่อยหุ้นที่ถือครองในบริษัทต่างๆ แต่พวกเขาก็ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในอดีตกิจการต่างๆ ที่ผูกขาดโดยรัฐ อาทิ ดอยช์ โพสต์ (บริษัทไปรษณีย์) และ ดอยช์ เทเลคอม (ธุรกิจโทรคมนาคม) นอกจากนี้แล้วเบอร์ลินยังคงถือครองหุ้น 15% ในธนาคารคอมเมิร์ซแบงก์ด้วย ซึ่งเข้าถือครองระหว่างวิกฤตการเงินโลก

นอกจากลุฟท์ฮันซ่าแล้ว สายการบินอื่นๆ อย่าง แอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม ซึ่งเป็นสายการบินสัญชาติฝรั่งเศส กับ เนเธอร์แลนด์, อเมริกัน แอร์ไลน์ส, ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ส และ เดลตา แอร์ไลน์ส 3 สายการบินสัญชาติสหรัฐฯ ก็ต้องการเงินช่วยเหลือจากภาครัฐเช่นกัน หลังวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ส่งผลกระทบต่อการเดินทางทั่วโลก

กระทรวงการคลังและเศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยว่า ลุฟท์ฮันซ่าเคยเป็นบริษัทที่แข็งแกร่งและมีกำไร เช่นเดียวกับมีแนวโน้มการดำเนินงานที่ดี แต่สายการบินแห่งนี้ต้องดิ่งเข้าสู่ปัญหาสืบเนื่องจากโรคระบาดใหญ่

ลุฟท์ฮันซ่าเปิดเผยว่า เงื่อนไขของการรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล ยังรวมถึงการงดจ่ายเงินปันผล และลดค่าตอบแทนสำหรับฝ่ายบริหาร นอกจากนี้ รัฐบาลจะส่งเจ้าหน้าที่ 2 รายเข้าร่วมคณกรรมการดูแลบริษัท ซึ่งหนึ่งในนั้นจะเป็นหนึ่งในคณะกรรมการตรวจสอบ

อย่างไรก็ตาม เยอรมนีจัดตั้งเงินทุน 100,000 ล้านยูโร สำหรับเข้าถือหุ้นในบริษัทต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เผยว่า มีแผนจะขายหุ้นลุฟท์ฮันซ่าออกไปในช่วงปลายปี 2023 เมื่อบริษัทแห่งนี้กลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง

Source

]]>
1280580