แม้ว่าข้อตกลงจะยุติลง แต่ทั้งสองบริษัทก็ไม่ใช่ว่าจะมองหน้ากันไม่ติด โดยทั้งคู่ยังยังคงมีความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่างกัน โดยจะมุ่งเน้นไปที่ เทคโนโลยียานยนต์อัจฉริยะ และ รถยนต์ไฟฟ้า เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทั้งสองบริษัท เพราะต้องอยู่รอดให้ได้ท่ามกลางการแข่งขันของยานยนต์ยุคใหม่
การควบรวมที่ไม่เกิดขึ้น สำหรับ ฮอนด้า (Honda) ค่ายรถเบอร์ 2 ของญี่ปุ่น อาจไม่ได้น่าเป็นห่วงมาก เพราะ กำไรของบริษัทยังเติบโต โดยกําไรจากการดําเนินงานในไตรมาส 3 อยู่ที่ 3.97 แสนล้านเยน เพิ่มขึ้น +5% จากปีก่อนหน้า เนื่องจากยอดขายรถยนต์ที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ และเงินเยนที่อ่อนค่า
โดยบริษัทยังคงคาดการณ์กําไรจากการดําเนินงานทั้งปีที่ 1.42 ล้านล้านเยน ในขณะที่แก้ไขแนวโน้มยอดขายทั่วโลกเป็น 3.75 ล้านคันจาก 3.8 ล้านคันที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ โดยส่วนใหญ่สะท้อนถึงการลดลงในญี่ปุ่น
ที่น่าเป็นห่วงคือ นิสสัน (Nissan) โดยนักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่า บริษัทอาจเผชิญกับการ ล้มละลาย ในปี 2026 เพราะ กําไร ของนิสสันใน 6 เดือนหลัง (สิ้นสุดในเดือนกันยายน) ลดลง 94% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2023
ด้วยเหตุนี้ ในเดือนพฤศจิกายน 2024 นิสสันได้ปรับลดคาดการณ์ผลกำไรจากการดำเนินงานลง 70% สู่ระดับ 1.5 แสนล้านเยน (3.3 หมื่นล้านบาท) จากเดิมที่คาดการณ์ไว้จะแตะ 5 แสนล้านเยน และทำให้บริษัทต้องประกาศ ลดกําลังการผลิตลง 20% ส่งผลให้มีการ เลิกจ้างพนักงาน 9,000 คน
นอกจากนี้ บริษัทยังใช้เงินสดไปมากถึง 4.48 แสนล้านเยน (ประมาณ 99,880 ล้านบาท) ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ทำให้บริษัทต้องประกาศขายหุ้นมิตซูบิชิ ที่บริษัทถือครองอยู่ประมาณ 1 ใน 3 ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 6.9 หมื่นล้านเยน ในขณะนั้น
นอกจากผลประกอบการที่ไม่สู้ดีนัก บริษัทยังเผชิญกับ หนี้สิน โดยมีหนี้สินระยะสั้นที่ต้องชำระภายใน 1 ปี รวมประมาณ 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 5.4 หมื่นล้านบาท) แต่ตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 5.6 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2026 (ราว 1.9 แสนล้านบาท)
ไม่ใช่แค่ปัญหาทางการเงินที่นิสสันต้องเผชิญ แต่ยังมีปัญหาที่ค่ายผู้ผลิตรถยนต์รุ่นเก่าส่วนใหญ่ เผชิญก็คือ ต้นทุนการวิจัยและพัฒนา จํานวนมากในการเปลี่ยนจากการผลิตรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินเป็นรถยนต์ไฟฟ้า
อีกทั้งยังเจอความกดดันจากตลาด สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดหลักของนิสสัน เพราะแม้ว่า ประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ จะระงับการขึ้นอัตราภาษีสําหรับรถยนต์ที่นําเข้าจากเม็กซิโก ซึ่งถือเป็นฐานการผลิตและตลาดที่สําคัญสําหรับนิสสัน แต่ก็ยังมีความไม่แน่นอนอยู่
ก็คงต้องจับตาดูอนาคตของนิสสันกันต่อไป ว่าจะเป็นเช่นไรหลังดีลกับฮอนด้าล่ม เพราะมีอีกหลายบริษัทที่สนใจจะลงทุนกับนิสสัน อาทิ Foxconn บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่สุดของโลกสัญชาติไต้หวัน ที่กำลังจะพิจารณาเข้าถือหุ้นในนิสสัน ในขณะที่อนาคตของผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นรายนี้แขวนอยู่บนเส้นด้าย
]]>
สำนักข่าวบีบีซี ได้รายงานว่า นิสสัน และฮอนด้ากำลังเจรจาความเป็นไปได้ในการควบรวมกิจการ ที่จะดำเนินงานภายใต้รูปแบบ ‘บริษัทโฮลดิ้ง’ ซึ่งจะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจในเร็วๆ นี้ และยังระบุว่า ทั้งสองบริษัทยังมีวางแผนจะนำ ‘มิตซูบิชิ มอเตอร์’ (Mitsubishi Motors) ที่นิสสันเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด ด้วยสัดส่วนการถือหุ้น 24% เข้ามาอยู่ภายใต้บริษัทโฮลดิ้งนี้ด้วย
อย่างไรก็ตามทั้งฮอนด้า และนิสสัน ไม่ได้ ‘ยืนยัน’ หรือ ‘ปฏิเสธ’ ต่อกระแสข่าวดังกล่าว โดยฮอนด้าเผยว่า “เมื่อเดือนมีนาคมของปีนี้ ทั้งสองบริษัทมีการสำรวจความเป็นไปได้ต่าง ๆ สำหรับความร่วมมือในอนาคต โดยใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของกันและกัน หากมีการอัปเดตใด ๆ จะแจ้งในเวลาที่เหมาะสม”
การควบรวมกิจการที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างผู้ผลิตรถยนต์อันดับสองและอันดับสามของญี่ปุ่น อาจมีความซับซ้อนด้วยเหตุผลหลายประการ เนื่องจากข้อตกลงใดๆ ก็ตามที่จะออกมาต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบอย่างเข้มข้นของรัฐบาลญี่ปุ่น เนื่องจากการควบรวมกิจการอาจนำไปสู่การเลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก
ด้านสำนักข่าวนิกเคอิ รายงานว่า หลังจากข่าวนี้แพร่สะพัดออกไป ทำให้ราคาหุ้นของนิสสันพุ่งสูงขึ้นกว่า 20% และหุ้นของมิตซูบิชิ มอเตอร์พุ่งขึ้น 13% ขณะที่ที่หุ้นของฮอนด้าปรับตัวลดลงราว 2%
นอกจากนี้ยังระบุอีกว่า ในปี 2023 นิสสันและฮอนด้ามียอดขายทั่วโลกรวมกัน 7.4 ล้านคัน โดยทั้งค่ายกำลังสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับรถยนต์อีวีที่มีราคาถูกกว่า โดยเฉพาะจากสัญชาติจีน อาทิ บีวายดี (BYD) ซึ่งมีรายได้ประจำไตรมาสพุ่งสูงแซงหน้า เทสลา (Tesla) เป็นครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
ก่อนจะมีข่าวการควบรวมกิจการแพร่สะพัดออกมา ทางนิสสันและฮอนด้า ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU เมื่อเดือนมีนาคม 2024 โดยทั้งสองบริษัทจะเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ของความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในด้านของยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า และการเคลื่อนที่อัจฉริยะ ซึ่งขอบเขตของการศึกษาความเป็นไปได้ จะประกอบไปด้วย แพลตฟอร์มและ ซอฟต์แวร์ของยานยนต์ ส่วนประกอบหลักที่เกี่ยวข้องกับรถอีวี และผลิตภัณฑ์เสริม อื่นๆ
อ้างอิง
https://www.bbc.com/news/articles/cr56r74214eo
https://asia.nikkei.com/Business/Automobiles/Honda-and-Nissan-to-begin-merger-talks-amid-EV-competition
]]>ล่าสุด Honda Motor ได้ หยุดการผลิตชั่วคราว ที่โรงงานทั้ง สามแห่ง ที่ดําเนินงานในกิจการร่วมค้ากับ Dongfeng Motor ในเมืองอู่ฮั่นตอนกลางของจีน เพื่อลดการผลิตท่ามกลางยอดขายรถยนต์ใหม่ที่ลดลง สวนทางกับสินค้าคงคลังสูง เพราะรวมแล้วโรงงานมีกําลังการผลิตปีละ 720,000 คัน
Honda เริ่มเห็นยอดขายที่ลดลงอย่างมากในประเทศจีน ซึ่งถือเป็นตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ท่ามกลางสงครามราคาที่ทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มซึ่งยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล โดยในเดือนสิงหาคม ยอดขายของ Honda ในประเทศจีน ลดลง 44.3% และนับเป็นการลดลง 7 เดือนติดต่อกัน
นอกจากนี้ Dongfeng Honda เริ่มให้คําปรึกษาแก่คนงานที่อาจยินดีที่จะ ลาออกโดยสมัครใจ โดยมีสื่อจีนรายงานว่า บริษัทวางแผนที่จะลดพนักงานประมาณ 2,000 คน
]]>ยูอิจิ ชิมิซุ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยฮอนด้า จำกัด เปิดเผยว่า แม้ว่าช่วงครึ่งปีแรกจะมีปัจจัยบวกอย่าง ปัจจัยนักท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้น 35% หรืออยู่ที่ 17.5 ล้านคน และภาคการส่องออกเริ่มฟื้นตัว แต่จากปัจจัยลบทั้ง ภาวะเงินเฟ้อและหนี้ครัวเรือนสูง และ GDP ที่เติบโตเพียง 1.5% รวมไปถึงมาตรการควบคุมสินเชื่อที่จำกัดไม่เกิน 130% และมีอัตราการปล่อยเพียง 70%
ส่งผลให้ภาพรวมตลาดรถจักรยานยนต์ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2567 มียอดขายอยู่ที่ 9 แสนคัน ลดลง 10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับ ฮอนด้า (Honda) มียอดขายที่ 7.9 แสนคัน ลดลงประมาณ 7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม ถ้านับเฉพาะตลาด A.T. หรือเกียร์อัตโนมัติ ที่มีสัดส่วนมากที่สุด (ราว 52% ของตลาด) ฮอนด้ามียอดขาย 3.4 แสนคัน เติบโตประมาณ 1% ขณะที่ภาพรวมตลาดในกลุ่มนี้ หดตัว 5% รวม 4.6 แสนคัน
“เรามองว่าภาพรวมตลาดทั้งปีจะมียอดอยู่ที่ 1.7-17.5 ล้านคัน หดตัว 10% ส่วนฮอนด้าเองคาดว่าจะมียอดรวมที่ 1.36-1.4 ล้านคัน ลดลง 7% และด้วยความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ มองว่าตลาดยังซึมยาวไปอีก 2-3 ปี”
เพื่อเป็นการกระตุ้นตลาดช่วงครึ่งปีหลัง ฮอนด้าได้เปิดตัวรถจักรยานยนต์ 2 รุ่นใหม่ ได้แก่ New Honda Forza 350 และ Honda Scoopy Hello Kitty Limited Edition และมีแผนจะเปิดตัวใหม่อีก 6 รุ่น ไม่รวมกับรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ (บิ๊กไบค์) ที่จะได้เห็นในช่วงครึ่งปีหลังนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการตลาดมากขึ้น
ในส่วนของ โปรโมชั่นส่งเสริม ยังไม่มี เพราะมองว่าในสถานการณ์แบบนี้ การลดราคาไม่ได้ช่วยอะไร อย่างไรก็ตาม แต่ละดีลเลอร์จะมีโปรโมชั่นส่งเสริมการของตัวเอง ดังนั้น แนวทางจึงเป็นการเพิ่มความหลากหลายของรุ่นเพื่อเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้า และเสริมในส่วนบริการ
“ตลาดอาจไม่ได้โตเหมือนในอดีต เพราะขึ้นอยู่กับเรื่องของเศรษฐกิจ ซึ่งเราทำอะไรไม่ได้ ดังนั้น เราจึงเน้นที่ความพอใจของลูกค้าเป็นหลัก เราจะทำเต็มที่เพื่อตอบสนองความต้องการผู้ใช้ให้พึงพอใจ ทั้งในแง่ผลิตภัณฑ์ การบริการ”
ในส่วนของ มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า อาจไม่ได้เติบโตเร็วเหมือนรถอีวี โดยปีที่ผ่านมามียอดขายที่ 22,600 คัน และปีนี้คาดว่าจะมียอดขายราว 30,000 คัน ขณะที่สัดส่วนของมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในตลาดยังอยู่ที่ประมาณ 2% เท่ากับในปี 2021 ดังนั้น จะเห็นว่ามีการเติบโตแต่ไม่ก้าวกระโดด ซึ่งส่วนหนึ่งมองว่าเป็นเพราะเรื่องเทคโนโลยีที่ยังไม่ตอบโจทย์การใช้งาน และรถจักรยานยนต์ในปัจจุบันก็ค่อนข้างประหยัดอยู่แล้ว
“มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าวิ่งได้ 80-100 กม./การชาร์จ แต่รถจักรยานยนต์ทุกวันนี้เติมน้ำมัน 1 ลิตรวิ่งได้ 60 กม. ดังนั้น ค่อนข้างประหยัดอยู่แล้ว”
อย่างไรก็ตาม ฮอนด้าเองก็มีแผนการเพื่อรองรับตลาดมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า โดยยังคงศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค และการ สวอปแบตเตอรี่ และจะขยายตู้สวอปแบตรุ่นใหม่เป็น 40 ตู้ ภายในปีนี้
หลังจากที่มีข่าวว่า ฮอนด้ามีแผนลดกำลังการผลิตรถยนต์ในไทยลงมากกว่า 50% อันเป็นผลมาจากการเข้ามาของผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติจีน แต่ในส่วนของรถจักรยานยนต์ ยังไม่มีการปรับ โดย ยูอิจิ ย้ำว่า แม้ตลาดจะไม่เติบโตก้าวกระโดดเหมือนอดีตแต่ ยังไปได้ โดยปัจจุบัน กำลังการผลิตรถจักรยานยนต์สูงสุดของฮอนด้าอยู่ที่ 1.6-1.7 ล้านคัน/ปี รวมทั้งจำหน่ายในประเทศและส่งออก ปัจจุบัน ผลิตอยู่ที่ประมาณ 85% ของกำลังการผลิตสูงสุด
]]>ในอดีตค่ายรถยนต์ของญี่ปุ่นอาจจะต้องแข่งกับค่ายรถจากฝั่งยุโรปและแข่งขันกันเอง แต่ตอนนี้ทุกค่ายคงตระหนักได้ว่า คู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดในตลาดก็คือ ค่ายรถอีวีจีน ทำให้ นิสสัน (Nissan) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจแบบไม่ผูกมัด (Memorandum of Understanding – MoU) กับ ฮอนด้า (Honda) ค่ายรถยนต์คู่แข่ง เพื่อร่วมมือกันในการผลิตส่วนประกอบสำคัญสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าและปัญญาประดิษฐ์ในแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ยานยนต์
โดยความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยให้ทั้งสองบริษัทประหยัดต้นทุนในการผลิต เพราะทำให้มี Economy of scale ที่มากขึ้น ซึ่งจะยิ่งช่วยให้ผู้ผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นสามารถแข่งขันกับค่ายรถอีวีจากจีน โดยเฉพาะ บีวายดี (BYD) จากจีนที่เพิ่งบุกตลาดประเทศญี่ปุ่น รวมถึง เทสลา (Tesla) ด้วย
“ผู้เล่นหน้าใหม่มีความก้าวร้าวมากและกำลังบุกเข้ามาด้วยความเร็วที่น่าทึ่ง เราไม่สามารถชนะการแข่งขันได้ ตราบใดที่เรายึดมั่นในแนวคิดและแนวทางแบบดั้งเดิม” มาโกโตะ อุชิดะ ซีอีโอของนิสสัน กล่าว
อย่างไรก็ตาม นิสสันและฮอนด้า ยังไม่ได้หารือเกี่ยวกับการลงทุนร่วมกัน แต่ก็เปิดรับความเป็นไปได้ในอนาคต รวมถึงยัง เปิดกว้างในการร่วมมือกับพันธมิตร ที่มีอยู่หากมีโอกาสเกิดขึ้น
“เราถูกจำกัดด้วยเวลา ดังนั้น จำเป็นต้องทำให้เร็ว เพื่อที่ภายในปี 2030 เราจะอยู่ในตำแหน่งที่ดี เราจึงต้องตัดสินใจตั้งแต่ตอนนี้”
ทั้งนี้ ฮอนด้าตั้งเป้าที่จะเพิ่มอัตราส่วนรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงเป็น 100% ของยอดขายทั้งหมดภายในปี 2040 ส่วนนิสสันถือเป็นผู้บุกเบิกด้านรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% ด้วยรุ่น Leaf
ที่ผ่านมา ทั้งฮอนด้าและนิสสัน ได้พิจารณาเตรียมลดกำลังการผลิตในประเทศจีน โดยสาเหตุสำคัญคือผู้ผลิตรถยนต์จากญี่ปุ่นต้องแข่งขันกับค่ายรถยนต์ไฟฟ้าของจีน โดยนิสสันเตรียมลดกำลังการผลิตในจีนสูงสุดถึง 30% เหลือ 1.6 ล้านคัน/ปี ส่วนฮอนด้านั้นจะลดกำลังการผลิตราว 20% เหลือ 1.2 ล้านคันต่อปี
]]>บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าแห่งใหม่ที่เกิดจากการร่วมทุนของ 2 บริษัทยักษ์ใหญ่สัญชาติญี่ปุ่น ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยใช้ชื่อว่า Sony Honda Mobility Inc หลังจากที่ในเดือนมีนาคม ทั้ง 2 บริษัทตกลงที่จะจัดตั้งบริษัทร่วมทุน 50-50 ด้วยแนวคิดที่จะนำความเชี่ยวชาญของ Honda ในด้านยานยนต์ เทคโนโลยีการขับเคลื่อน รวมถึงการขาย บวกเข้ากับความเชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพ เครือข่าย เซ็นเซอร์ และความบันเทิงของ Sony มาพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า
Yasuhide Mizuno ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ระบุว่า รถยนต์รุ่นแรกจะเปิดพรีออเดอร์ภายในปี 20215 และจะส่งมอบให้ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรก ภายในช่วงต้นปี 2026 ตามด้วยตลาด ญี่ปุ่น ในปีเดียวกัน ต่อจากนั้นจึงเป็นตลาดของประเทศในทวีปยุโรป ขณะที่สายการผลิตรถจะดำเนินการผ่าน หนึ่งในโรงงาน 12 แห่งของฮอนด้าในสหรัฐอเมริกา
อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทยังไม่เปิดเผยถึงรายละเอียดถึงราคา และชนิดของแบตเตอรี่ที่จะใช้ รวมถึงยังไม่ได้ระบุปริมาณการผลิต แต่เปิดเผยเพียงว่า รถรุ่นดังกล่าวเป็น รุ่นพิเศษ และ ไม่ได้มีไว้สำหรับการขายจำนวนมาก
“การร่วมมือครั้งนี้เป็นการรวมตัวกันของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อมอบประสบการณ์ที่น่าพึงพอใจในขณะเดินทาง ดังนั้น เราจำเป็นต้องใช้แนวทางใหม่โดยสิ้นเชิง”
ด้าน Izumi Kawanishi ผู้บริหารของ Sony ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ Sony Mobility กล่าวว่า จะมีการเพิ่มพันธมิตรในโครงการ พร้อมทั้งมองว่า โลกกำลังมีความต้องการรถยนต์ที่ ปลอดมลพิษ เพิ่มขึ้นทั่วโลก เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืน
ปัจจุบัน Honda ได้พัฒนารถยนต์ไฟฟ้าอยู่บ้าง แต่ไม่ได้มีมากมายเท่ากับคู่แข่งบางราย เช่น Ford หรือ Nissan โดยที่ผ่านมา Honda ได้ร่วมมือกับ General Motors เพื่อแชร์แพลตฟอร์มสำหรับพัฒนารถอีวีในเมริกาเหนือ แต่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังไม่ได้วางจำหน่าย
]]>บริษัทวางเเผนจะทุ่มเงินลงทุน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 5 ล้านล้านเยน) ในการพัฒนาเเละผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งจะรวมไปถึงการสร้างเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าและซอฟต์แวร์ของตนเองขึ้นมา พร้อมสำรวจโอกาสใหม่ๆ ในการเติบโตทั้งด้านการสำรวจอวกาศ , eVTOL (แท็กซี่บินได้) , หุ่นยนต์และอื่นๆ
ในช่วงทศวรรษหน้า ฮอนด้ามีการเตรียมเเผนลงทุนทั้งหมดกว่า 6.3 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 8 ล้านล้านเยน) และอีก 80 ล้านดอลลาร์ (ราว 1 หมื่นล้านเยน) ต่อปีในการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ เพื่อนำเสนอโซลูชั่นแบบผสมผสาน แสวงหาความร่วมมือและพันธมิตรระหว่างอุตสาหกรรม เเละใช้นำเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เมื่อเดือนที่ผ่านมา ฮอนด้าได้ร่วมมือกับบริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่อย่าง ‘โซนี่’ พัฒนาและผลิตรถยนต์ไฟฟ้าร่วมกัน ซึ่งจะเริ่มมีการลงทุนอย่างเป็นทางการในปี 2022 นี้ โดยทางโซนี่จะดูเเลเรื่องของระบบเซนเซอร์เครือข่ายและความบันเทิงภายในรถยนต์ขณะที่ฮอนด้าจะดูแลการจัดการเกี่ยวกับเทคโนโลยีรถยนต์
หากเป็นไปตามเเผนที่วางไว้ คาดว่ารถยนต์รุ่นเเรกภายใต้การผลิตของโซนี่และฮอนด้า จะวางจำหน่ายได้ในปี 2025 เเละฮอนด้ายังจับมือกันกับ General Motors (GM) ร่วมกันผลิตรถ EV ‘ครอสโอเวอร์’ ในราคาต่ำ เพื่อตีตลาดสหรัฐฯ คืนจาก Tesla โดยคาดว่าจะเริ่มผลิตหลักหลายล้านคันได้ภายในปี 2027
ฮอนด้า ตั้งเป้าที่จะเปิดตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 30 รุ่นทั่วโลกให้ได้ภายในปี 2030 เเละตั้งเป้าผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้มากกว่า 2 ล้านคันต่อปี
ท่ามกลางเเนวโน้มการแข่งขันที่ดุเดือดทั้งเเบรนด์เล็กเเบรนด์ใหญ่ บริษัทจะเพิ่มสัดส่วนการผลิตรถยนต์ EV และเซลล์เชื้อเพลิงให้ได้ 100% ของยอดขายทั้งหมดภายในปี 2040
ที่มา : techcrunch , japantimes
]]>ล่าสุด Sony ก็ได้ออกมาประกาศความร่วมมือกับ ฮอนด้า (Honda) บริษัทผู้ผลิตรถรายใหญ่ในการร่วมทุนกันเพื่อผลิตและจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า โดยทั้ง 2 บริษัทตั้งเป้าที่จะก่อตั้งบริษัทใหม่ในปีนี้ และเริ่มจำหน่ายรถยนต์คันแรกในปี 2025
โดยบริษัทใหม่นี้ Sony จะทำหน้าที่ ออกแบบ พัฒนา และจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะการพัฒนาระบบและบริการต่าง ๆ ยังไม่ชัดเจนว่า ณ จุดนี้จะเป็นอย่างไร แต่ Sony เป็นผู้จัดหาเซ็นเซอร์ภาพสำหรับสมาร์ทโฟนรายใหญ่และกำลังออกแบบชิปเหล่านี้สำหรับรถยนต์มากขึ้น และในส่วนของการผลิตนั้นจะมอบหมายให้ Honda เป็นผู้รับผิดชอบเนื่องจากมีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตรถยนต์มานานหลายปี รวมถึงใช้โรงงานของ Honda เองในการผลิต
ย้อนไปเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา Sony ได้แอบเปิดเผยว่าจะจัดตั้งบริษัทที่ชื่อว่า Sony Mobility เพื่อสำรวจการเข้าสู่ตลาดรถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ บริษัทยังได้นำรถเอนกประสงค์ต้นแบบที่เรียกว่า VISION-S 02 ออกมาให้ยลโฉมอีกด้วยในขณะเดียวกัน Honda ก็ได้ก้าวเข้าสู่การเป็นบริษัทรถยนต์ไฟฟ้า โดย Honda ได้ประกาศว่าจะเลิกผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยแก๊สภายในปี 2040 และปัจจุบันก็ได้มีการร่วมทุนกับ เจนเนอรัล มอเตอร์ส เพื่อพัฒนารถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่
การร่วมทุนระหว่าง Sony และ Honda ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของ บริษัทเทคโนโลยีที่ก้าวเข้าสู่ภาคยานยนต์และผู้ผลิตรถยนต์ที่ต้องการเพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยี โดยก่อนหน้านี้ก็มีบริษัทเทคโนโลยีของจีนอย่าง Baidu และ Xiaomi ต่างก็ก่อตั้งบริษัทรถยนต์ไฟฟ้า ในขณะที่รายงานเมื่อปีที่แล้วชี้ให้เห็นว่า Apple กำลังเพิ่มความพยายามในยานยนต์ไร้คนขับ
]]>ฮอนด้า ได้ปิดโรงงานผลิตรถยนต์ที่มีอายุกว่า 58 ปี ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองซายามะ จังหวัดไซตามะ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของโตเกียวเมื่อปลายปีที่แล้ว โดยโรงงานดังกล่าวถือเป็น 1 ใน 3 โรงงานผลิตรถยนต์ของบริษัทในญี่ปุ่น และถือเป็นโรงงานแม่ที่สามารถผลิตรถได้กว่า 2.5 แสนคัน/ปี นอกจากนี้ฮอนด้ายังได้ประกาศการลดต้นทุนอื่น ๆ ในปีที่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกการแข่งขันรถยนต์ฟอร์มูล่าวัน เป็นต้น
สาเหตุที่บริษัทต้องปิดโรงงานลงเพราะนโยบายในอนาคตที่จะมุ่งสู่รถยนต์ไฟฟ้า โดยบริษัทได้ประกาศเมื่อช่วงเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมาว่า รถยนต์ของฮอนด้าทุกรุ่นจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2583 อย่างไรก็ตาม โรงงานดังกล่าวจะยังไม่ปิดตัวโดยสมบูรณ์ แต่จะทำหน้าที่ผลิตชิ้นส่วนก่อนจะปิดถาวรภายใน 2-3 ปี สำหรับพนักงานที่เหลือจะถูกโอนย้ายไปที่โรงงานอื่น ๆ ของบริษัท
ก่อนหน้าที่ฮอนด้าจะตัดสินใจปิดโรงงานดังกล่าว บริษัทมีกำลังการผลิตรถยนต์ในประเทศประมาณ 1 ล้านคัน/ปี จากโรงงานทั้งหมด 3 แห่งในญี่ปุ่น โดยตั้งอยู่ในเมืองซายามะ, โยริอิ และซูซูกะ
ด้าน ‘โตโยต้า’ (Toyota Motor) ค่ายรถยนต์อันดับ 1 ของโลกยังไม่มีแผนที่จะลดกำลังการผลิตในญี่ปุ่น ในเร็ว ๆ นี้ โดยยังคงตรึงกำลังการผลิตในประเทศที่ 3 ล้านคัน/ปี ส่วนด้าน ‘นิสสัน’ (Nissan Motor) ในญี่ปุ่นยังคงอยู่ที่ 1.34 ล้านคัน/ปี ตามข้อมูลของ Fourin บริษัทวิจัยที่เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมยานยนต์
สาเหตุที่กำลังผลิตรถยนต์ของฮอนด้ามีน้อยกว่าอีก 2 แบรนด์ เป็นเพราะฮอนด้ามีส่วนแบ่งยอดขายภายในประเทศน้อยกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง โดยในปีงบประมาณ 2561 ฮอนด้าขายรถยนต์ได้ 740,000 คันในญี่ปุ่น หรือ 14% ของยอดขายทั่วโลก ขณะที่โตโยต้าขายได้ 2.29 ล้านคัน คิดเป็น 22% ของยอดรวมทั่วโลก
ขณะที่ตลาดต่างประเทศ ฮอนด้าสามารถทำยอดขายได้ดีกว่า อย่างในตลาดสหรัฐฯ ฮอนด้ามียอดขายถึง 1.61 ล้านคัน หรือ 30% ของยอดขายโดยรวม และ 1.46 ล้านคันในจีน หรือ 28% ทำให้ฮอนด้าจึงเน้นไปที่การผลิตในต่างประเทศมากกว่า
ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า กำลังการผลิตของฮอนด้าทั่วโลกสิ้นสุด ณ ปีงบประมาณ (เดือนมีนาคม) จะเหลือ 5.14 ล้านคัน ลดลงจาก 5.59 ล้านคันในปีก่อนหน้า
]]>ฮอนด้ามองว่า ภายในปี 2573 ยอดขายรถยนต์ทั่วโลกจะมีสัดส่วนของรถที่ใช้พลังงานสะอาดถึง 40% และมีสัดส่วนเป็น 80% ภายในปี 2578 และเป็น 100% ในปี 2583 ที่ผ่านมา บริษัท ‘เจนเนอรัลมอเตอร์ส’ (GM) ประกาศว่าจะผลิตแต่รถยนต์ที่ใช้พลังงานสะอาดภายในปี 2578 ส่วน ‘ฟอร์ด’ (Ford) ตั้งเป้าที่ปี 2573 เช่นเดียวกับ ‘วอลโว่’ (Volvo)
ผู้ผลิตรถยนต์แทบทุกรายกำลังปรับแผนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น อย่างในอเมริกา ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 50% ภายในปี 2573 และรัฐบาลหลายประเทศได้ประกาศกฎที่จะกำหนดให้มีรถยนต์ไฮบริดแบบปลั๊กอินหรือรถยนต์ปลอดการปล่อยมลพิษตามวันที่ต่าง ๆ ในอนาคต นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้ขายเฉพาะรถยนต์ที่ไม่มีการปล่อยมลพิษภายในปี 2578
ความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์พัฒนาทางเลือกมากขึ้นในราคาที่ถูกลง นอกจากนี้ยังมีแรงจูงใจทางด้านต่าง ๆ สำหรับผู้ผลิตรถยนต์แบบดั้งเดิมในการเปลี่ยนมาผลิตรถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ รถยนต์ไฟฟ้ายังมีชิ้นส่วนใช้น้อยกว่ารถยนต์ที่ใช้ก๊าซ ดังนั้นจึงสามารถสร้างได้ถูกกว่าเนื่องจากต้องใช้แรงงานน้อยกว่า
ที่ผ่านมา ในตลาดอเมริกาฮอนด้าร่วมมือกับเจเนอรัลมอเตอร์ส เปิดตัวรถอีวีรุ่นใหม่ซึ่งใช้ e: Architecture ออกสู่ตลาดแล้ว ส่วนตลาดประเทศจีน ฮอนด้าเตรียมเปิดตัวรถอีวี 10 รุ่นภายใน 5 ปี
]]>