เซมิคอนดักเตอร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 14 Nov 2024 08:32:05 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ขอกลับมาผงาด! ‘ญี่ปุ่น’ เตรียมทุ่ม 10 ล้านล้านเยน ฟื้นอุตสาหกรรม ‘เซมิคอนดักเตอร์’ https://positioningmag.com/1498850 Wed, 13 Nov 2024 12:14:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1498850 ในยุค AI แบบนี้ อุตสาหกรรมที่คึกคักเป็นพิเศษคงหนีไม่พ้น เซมิคอนดักเตอร์ หรือ ชิป ซึ่งปัจจุบัน ไต้หวัน กลายเป็นประเทศเบอร์ 1 ในอุตสาหกรรม แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า ในอดีต ญี่ปุ่น ถือเป็นผู้เล่นเบอร์ต้น ๆ และรัฐบาลญี่ปุ่นก็ต้องการพาประเทศกลับมาผงาดในอุตสาหกรรมอีกครั้ง

รัฐบาลญี่ปุ่น ได้ประกาศแผนฟื้นฟูอุตสาหกรรม เซมิคอนดักเตอร์ และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ใหม่ของประเทศ โดยเตรียมทุ่มงบสนับสนุนมูลค่า 10 ล้านล้านเยน (ราว 2.25 ล้านล้านบาท) หรือมากกว่า ภายในปีงบประมาณ 2030 เพื่อใช้เป็นตัวเร่งให้เกิดการลงทุนจากภาครัฐและเอกชนกว่า 50 ล้านล้านเยน (ราว 11.27 ล้านล้านบาท) ตลอด 10 ปีข้างหน้า ซึ่งมาตรการทั้งหมดคาดว่า จะสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวม 160 ล้านล้านเยน (ราว 36.12 ล้านล้านบาท) 

นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับพันธมิตร เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ไต้หวัน และหลายประเทศในสหภาพยุโรป โดยเน้นที่การวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับเซมิคอนดักเตอร์รุ่นต่อไป

“เราจะกําหนดกรอบความช่วยเหลือใหม่เพื่อดึงดูดการลงทุนภาครัฐและเอกชนมากกว่า 50 ล้านล้านเยนในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามการฟื้นฟูอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์” Shigeru Ishiba นายกรัฐมนตรี กล่าว 

หนึ่งในบริษัทที่จะได้รับผลประโยชน์จากเงินทุนนี้ ก็คือ Rapidus ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2022 โดยรัฐบาลญี่ปุ่น ที่เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัทชิป 8 บริษัท และบริษัทชิปเจ้าอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็น Toyota Motor และ Sony Group และกําลังร่วมมือกับ IBM ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ซึ่งที่ผ่านมา Rapidus บริษัทได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์ แล้ว เนื่องจากตั้งเป้าที่จะผลิตชิปขนาด 2 นาโนเมตร ภายในปี 2027 ซึ่งชิปดังกล่าวจะนำไปใช้ในการพัฒนา AI

ทั้งนี้ ในปี 1988 ญี่ปุ่นเคยเป็นเป็นประเทศที่ครองส่วนแบ่งในตลาดชิปถึง 50% แต่หลังจากปี 1990 เป็นต้นมา ญี่ปุ่นต้องประสบกับปัญหาจากนโยบาย ข้อตกลงด้านเซมิคอนดักเตอร์ระหว่างญี่ปุ่น-อเมริกา ส่งผลให้ต้องปรับราคาสินค้าและต้องเปิดตลาดให้บริษัทจากต่างประเทศเข้ามาลงทุน จนในปี 2017 สัดส่วนของญี่ปุ่นในตลาดชิปลดเหลือไม่ถึง 10%

ขณะเดียวกัน ประเทศอย่าง ไต้หวัน และ เกาหลีใต้ ก็หันมาลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของตัวเอง โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ผลักดัน จนปัจจุบัน บริษัท TSMC ของไต้หวันกลายเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปอันดับ 1 ของโลก ส่วนฝั่งเกาหลีใต้ก็มี ซัมซุง (Samsung) ซึ่งทั้ง 2 บริษัทวางแผนที่จะเริ่มผลิตชิป 2 นาโนเมตรในเชิงพาณิชย์ภายในปี 2025

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่า เงินอุดหนุนเป็นสิ่งจําเป็น แต่ไม่สามารถรับประกันความสําเร็จได้ เพราะสถาปัตยกรรมของชิป 2 นาโนเมตรแตกต่างจากชิป 3 นาโนเมตร โดยเฉพาะการผลิตจํานวนมาก ถือเป็นความท้าทายสําหรับผู้เล่นทุกคน

Source

]]>
1498850
กระแส AI บูม “ไต้หวัน” รับอานิสงส์ ส่งชิปออกเพิ่มขึ้น 22% ทำนิวไฮ 5.6 ล้านล้านบาท https://positioningmag.com/1498150 Fri, 08 Nov 2024 10:23:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1498150 ปัจจุบัน เซมิคอนดักเตอร์ (สารกึ่งตัวนำที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้า หรือ ชิป) เป็นส่วนประกอบ ที่ตั้งแต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปจนถึงกังหันลมรวมถึงขีปนาวุธต่างก็ขาดไม่ได้ และยังเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่ช่วยผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจในหลายประเทศ 

ซึ่ง “ไต้หวัน” ได้กลายเป็นมหาอํานาจระดับโลกเพราะผลิตชิปส่งออกไปทั่วโลก โดยมีการรายงานว่า มูลค่าผลผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของไต้หวันคาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้น 22% ในปีนี้ คิดเป็นมากกว่า 5.3 ล้านล้านดอลลาร์ไต้หวัน หรือประมาณ 5.6 ล้านล้านบาท หลังจากที่ผลผลิตลดลง 10.2% เหลือ 4.3 ล้านล้านดอลลาร์ไต้หวัน (4.5 ล้านล้านบาท) ในปี 2566 เนื่องจากความต้องการด้านคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคซบเซาลง

Cliff Hou (侯永清) ประธานสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ไต้หวัน และรองประธานอาวุโสของ Taiwan Semiconductor Manufacturing Co (TSMC, 台積電) บริษัทผลิตชิปยักษ์ใหญ่ของไต้หวันที่ครองตลาดผลิตชิปมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลกและมี Apple Inc และ Nvidia Corp เป็นพันธมิตรหลัก แสดงความเห็นว่า 

ปัจจุบันเศรษฐกิจหลายๆ ประเทศรวมถึงไต้หวันมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง จากการเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนโดย AI ซึ่งไต้หวันควรเร่งการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อรักษาตำแหน่งผู้ผลิตและส่งออกชิปที่อุตสาหกรรมทั่วโลกขาดไม่ได้ 

โดยคําพูดของ Cliff Hou เกิดขึ้นหลังจากที่ Donald Trump คว้าชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดย Donald Trump เคยกล่าวในตอนหนึ่งของการให้สัมภาษณ์ในรายการพอดแคสต์ว่า ไต้หวันได้ครองส่วนแบ่งของอุตสาหกรรมชิปของสหรัฐฯ ไปกว่า 95% ทําให้ Cliff Hou เกิดความกังวลว่า ไต้หวันอาจโดนภาษีส่งออกชิปที่สูงขึ้น เนื่องจาก Donald Trump อาจผลักดันนโยบายคุ้มครองการค้าขึ้นใหม่

ทั้งนี้ ไต้หวันยังไม่ได้รับการแจ้งเตือนการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกี่ยวกับภาษีใหม่ที่เกี่ยวกับด้านเซมิคอนดักเตอร์จากสหรัฐฯ

ที่มา : Nikkei 

]]>
1498150
แผนรับมือกรณีจีนบุกไต้หวัน! ซีอีโอ “Nvidia” ประกาศพร้อมย้ายไปผลิต “ชิป” ที่ประเทศอื่น https://positioningmag.com/1490442 Wed, 18 Sep 2024 02:19:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1490442 ซีอีโอ “Nvidia” แย้มแนวคิดรับมือหาก “จีน” ตัดสินใจบุก “ไต้หวัน” บริษัทจะเลือกย้ายฐานผลิต “ชิป” GPUs ไปผลิตกับบริษัทอื่นที่ประเทศอื่นแทน แม้ยอมรับว่าประสิทธิภาพจะไม่ดีเท่ากับ TSMC

ระหว่างการประชุม Communacopia & Technology Conference ที่จัดโดย Goldman Sachs เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2024 “Jensen Huang” ซีอีโอของ Nvidia ตอบคำถามที่ถูกถามบนเวทีเกี่ยวกับการพึ่งพิงบริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSMC) ให้เป็นผู้ผลิตชิป GPUs ของ Nvidia ท่ามกลางภัยคุกคามที่ประเทศจีนอาจจะเดินทัพบุกไต้หวันได้ในอนาคต

Huang ตอบว่า “ถ้าหาก TSMC ตกอยู่ในอันตราย การผลิตซัพพลายของเราจะยังมีต่อเนื่อง แม้ว่าจะไม่ดีเท่าการผลิตกับ TSMC ก็ตาม”

ซีอีโอ Nvidia บอกด้วยว่า บริษัทของเขาเป็นเจ้าของ “ทรัพย์สินทางปัญญา” เพียงพอที่จะย้ายการผลิตจากโรงงานหนึ่งไปอีกโรงงานได้ หากมีความจำเป็น “เรามีความสามารถพอที่จะทำได้” Huang กล่าว แต่เตือนด้วยว่าเทคโนโลยีในการผลิตและผลผลิตที่ออกมาอาจจะไม่ดีเทียบเท่ากับ TSMC “แต่เราก็ยังจะผลิตซัพพลายออกมาได้อยู่”

“หากว่ามีอะไรก็ตามเกิดขึ้นจริงๆ” ซีอีโอ Nvidia กล่าวต่อ “เราควรจะสามารถดึงไปผลิตชิป (fab) ในโรงงานอื่นได้” แม้ว่า TSMC จะเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่ดีที่สุดในโลกหากอ้างอิงจากตัวชี้วัดเรื่อง “อัตรากำไรที่เหลือเชื่อ”

Lin Wei-chih รองประธานบริหาร Witology Markettrend Research Institute กล่าวกับสำนักข่าว China Times ว่า ปัจจุบันโรงผลิตชิปในขั้นเวเฟอร์นั้น ไม่มีใครสามารถแทนที่เทคโนโลยีของ TSMC ได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับกลุ่มบริษัทออกแบบชิปอย่าง Nvidia หรือ AMD เองก็ไม่ได้ต้องการจะพึ่งพิงการผลิตไว้ที่บริษัทเดียวเช่นกัน

Lin บอกว่า หากบริษัทออกแบบชิปต้องการจะกระจายการผลิตให้หลากหลาย ตัวเลือกในระดับต่อมาที่พวกเขามักจะเลือกคือ Samsung (เกาหลี) ตามด้วย Intel (สหรัฐฯ)

เขายังวิเคราะห์ด้วยว่า แม้ Samsung และ Intel จะยังเทียบกับ TSMC ไม่ได้ในแง่อัตราการทำกำไรเพราะกระบวนการผลิตยังไม่ขั้นสูงเท่า แต่ถ้ามีการสั่งผลิตเป็นจำนวนมากก็จะได้การประหยัดต่อขนาดที่ช่วยถัวเฉลี่ยได้บ้าง แต่หลังจากนั้นยังมีขั้นตอนการตัดแบ่งชิ้นชิปอีก ซึ่งอาจจะทำให้ต้นทุนสูงกว่าเดิมเมื่อเปลี่ยนโรงงานผลิต

เมื่อเทียบกันแล้วเขามองว่าการกระจายคำสั่งผลิตในขั้นตอนการทดสอบชิปและบรรจุชิปลงอุปกรณ์นั้นยังทำได้ง่ายกว่า โดยมีบริษัทอย่าง Amkor Technology ที่อาจจะเห็นโอกาสในการมารับช่วงงานในขั้นตอนนี้ หรือ TSMC เองอาจจะเลือกหาเอาต์ซอร์สมาทำงานในขั้นตอนนี้ก็ได้

Source

]]>
1490442
ลือ! บริษัทแม่ ‘TikTok’ จับมือบริษัทในสหรัฐฯ ซุ่มพัฒนา ‘ชิปเอไอ’ https://positioningmag.com/1479462 Mon, 24 Jun 2024 07:47:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1479462 อย่างที่รู้ว่า สหรัฐฯ พยายามทำทุกวิถีทางที่จะสกัดกั้นไม่ให้ จีน เข้าถึงอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ โดยอ้างถึง ภัยความมั่นคง อย่างไรก็ตาม มีข่าวลือว่า ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok กําลังทํางานร่วมกับบริษัทออกแบบชิปของสหรัฐฯ ผลิตชิปเอไอ

มีข่าวลือว่า ByteDance กำลังร่วมกับบริษัท Broadcom ในการพัฒนา โปรเซสเซอร์เอไอขั้นสูง โดยใช้เทคโนโลยีชิปขนาด 5 นาโนเมตร เพื่อช่วยให้บริษัทแม่ของ TikTok สามารถจัดหาชิประดับไฮเอนด์ได้เพียงพอ ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ กับจีน โดยเฉพาะ ชิป 5 นาโนเมตร หรือ ชิปรวมเฉพาะแอปพลิเคชัน (ASIC) ที่สหรัฐฯ จำกัดการส่งออก

โดยทั้ง 2 บริษัทจะว่าจ้าง Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSMC) บริษัทผู้ผลิตชิปยักษ์ใหญ่สัญชาติไต้หวันให้เป็นผู้ผลิต ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่า การที่ ByteDance กับ Broadcom ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกัน จะช่วยให้ ByteDance ลดต้นทุนการจัดซื้อและรับรองอุปทานชิประดับไฮเอนด์ที่มีเสถียรภาพ 

ชิปเอไอ ถือเป็นสิ่งสําคัญสําหรับ ByteDance ในการทําให้ อัลกอริธึม มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะนอกจาก TikTok และ Douyin แล้ว ByteDance ยังดําเนินการแอปยอดนิยมมากมาย รวมถึงบริการแชทบอทที่เหมือน ChatGPT ที่เรียกว่า Doubao ซึ่งมีผู้ใช้ 26 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม ByteDance, Broadcom และ TSMC ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นถึงข่าวดังกล่าว

ทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี 2565 สหรัฐฯ ได้ควบคุมการส่งออกสินค้าเซมิคอนดักเตอร์ ทำให้นับตั้งแต่นั้น ก็ไม่มีการประกาศความร่วมมือในการพัฒนาชิปขั้นสูง หรือขนาด 5 นาโนเมตรขึ้นไป ระหว่างบริษัทจีนและสหรัฐอเมริกาอีกเลย เนื่องจากสหรัฐฯ ต้องการขัดขวางความก้าวหน้าด้านเอไอ และ Super Computer ที่อาจนำไปใช้โดย กองทัพจีน

Source

]]>
1479462
‘จีน’ เตรียมเปิดกองทุนมูลค่า 3.44 แสนล้านหยวน เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรม ‘เซมิคอนดักเตอร์’ หลังโดนสหรัฐฯ ปิดกั้นหนัก https://positioningmag.com/1475269 Mon, 27 May 2024 10:18:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1475269 หลังจากที่โดน สหรัฐอเมริกา กีดกันไม่ให้เข้าถึงเทคโนโลยี ชิป หรือ เซมิคอนดักเตอร์ ทำให้ล่าสุด จีน ก็เตรียมเปิดกองทุนใหม่ที่สนับสนุนโดยรัฐบาลจีน เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศจีน

จีน ได้จัดตั้งกองทุนเพื่อการลงทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐตามแผนครั้งที่สาม เพื่อ ส่งเสริมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ด้วยทุนจดทะเบียน 3.44 แสนล้านหยวน (ราว 1.77 ล้านล้านบาท) เพื่อการรันตีว่าจีนจะสามารถผลิตชิปได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ

กองทุนดังกล่าวถือเป็นเรื่องเร่งด่วนอีกครั้ง หลังจากที่สหรัฐฯ กำหนดมาตรการควบคุมการส่งออกหลายชุดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยอ้างถึงความกังวลว่าจีนอาจใช้ชิปขั้นสูงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการทหาร และจากมาตรการดังกล่าวทำให้หุ้นชิปของจีนเพิ่มขึ้น โดยดัชนี CES CN Semiconductor พุ่งขึ้นมากกว่า +3%

สำหรับกองทุนเพื่อการลงทุนอุตสาหกรรมวงจรรวมของจีนระยะที่ 3 ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม และจดทะเบียนภายใต้สำนักงานบริหารเทศบาลนครปักกิ่งเพื่อการควบคุมตลาด โดย กระทรวงการคลังของจีนเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด ด้วยสัดส่วนการถือหุ้น 17% และมีทุนชำระแล้ว 6 หมื่นล้านหยวน ตามข้อมูลของ Tianyancha บริษัทฐานข้อมูล ตามด้วยบริษัท China Development Bank Capital เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับสองด้วยสัดส่วนการถือหุ้น 10.5%

นอกจากนี้ มีหน่วยงานอื่น ๆ อีก 17 แห่งที่จดทะเบียนเป็นนักลงทุน ซึ่งรวมถึงธนาคารจีนรายใหญ่ 5 แห่ง ได้แก่ Industrial and Commercial Bank of China, China Construction Bank, Agricultural Bank of China, Bank of China และ Bank of Communications โดยแต่ละแห่งมีสัดส่วนประมาณ 6% ของเงินทุนทั้งหมด

กองทุนระยะแรกก่อตั้งขึ้นในปี 2557 ด้วยทุนจดทะเบียน 138.7 พันล้านหยวน และระยะที่สองตามมาในปี 2562 ด้วยทุนจดทะเบียน 2.04 แสนล้านหยวน ส่วนกองทุนระยะสามแห่งนี้ ถือเป็นกองทุนที่ใหญ่ที่สุดที่ก่อตั้งโดยกองทุนเพื่อการลงทุนในอุตสาหกรรมวงจรรวมของจีน หรือที่รู้จักกันในชื่อ บิ๊กฟันด์ (Big Fund)

โดย Big Fund ได้จัดหาเงินทุนให้กับโรงหล่อชิปรายใหญ่ที่สุดของจีนสองแห่ง ได้แก่ Semiconductor Manufacturing International Corporation และ Hua Hong Semiconductor รวมถึง Yangtze Memory Technologies ผู้ผลิตหน่วยความจำแฟลช รวมถึงบริษัทและกองทุนขนาดเล็กอีกหลายแห่ง และปัจจุบัน กองทุนกำลังพิจารณาจ้างสถาบันอย่างน้อย 2 แห่งเพื่อลงทุน

Source

]]>
1475269
รัฐบาลสหรัฐฯ ทุ่ม 6.6 พันล้าน ดึง ‘TSMC’ ผู้ผลิตชิปเบอร์ 1 ของโลก ขยายโรงงานในอเมริกา https://positioningmag.com/1469461 Tue, 09 Apr 2024 03:29:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1469461 ไม่ใช่แค่สกัดกั้น จีน ในการเข้าถึงชิประดับสูง แต่ สหรัฐฯ ยังเดินเกมดึงพันธมิตรเข้ามาลงทุนในประเทศ โดยรัฐบาลสหรัฐฯ วางแผนที่จะมอบเงิน 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับผู้ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง TSMC เพื่อขยายโรงงานในรัฐแอริโซนา

รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศว่า ได้ลงนามในข้อตกลงที่ไม่มีผลผูกพันกับ TSMC (Taiwan Semiconductor Manufacturing Co.) บริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์อันดับ 1 ของโลกสัญชาติไต้หวัน เพื่อจัดหาเงินทุนสำหรับลงทุนเปิดโรงงานผลิตในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ จะให้เงินอุดหนุนมูลค่า 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกเหนือจากเงินกู้รัฐบาลประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์ จากกฎหมาย Chips and Science Act

ขณะที่ TSMC เองก็ตกลงจะเพิ่มวงเงินลงทุนในสหรัฐฯ อีก 25,000 ล้านดอลลาร์ รวมเป็น 65,000 ล้านดอลลาร์ โดยเตรียมที่จะสร้างโรงงานแห่งที่ 3 ภายในปี 2030 โดยการลงทุนดังกล่าว ถือเป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของรัฐแอริโซนา  

“อเมริกาคิดค้นชิปเหล่านี้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เราเปลี่ยนจากการผลิตเกือบ 40% ของกำลังการผลิตของโลก เหลือเพียง 10% และไม่มีชิปที่ทันสมัยที่สุดเลย นั่นทำให้เราเผชิญกับความเปราะบางทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติอย่างมีนัยสำคัญ” โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าว

ปัจจุบัน TSMC ครองสัดส่วนถึง 90% ของชิปที่ทันสมัยที่สุดในโลก โดย Mark Liu ประธาน TSMC กล่าวว่า การจัดตั้งโรงงานในสหรัฐฯ จะทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงชิปภายในประเทศ ที่สามารถใช้ได้กับสมาร์ทโฟนไปจนถึงดาวเทียม รวมถึงระบบปัญญาประดิษฐ์ด้วย

ทั้งนี้ โรงงานทั้ง 3 แห่งคาดว่าจะสร้างงานด้านเทคโนโลยีประมาณ 6,000 ตำแหน่ง และงานทางอ้อมมากกว่า 20,000 ตำแหน่ง เช่น ในการก่อสร้างการรักษาความปลอดภัย และซัพพลายเชน รวมถึงจะดึงดูดซัพพลายเออร์เซมิคอนดักเตอร์ 14 ราย ให้กับรัฐ

การที่สหรัฐฯ สามารถดึง TSMC มาลงทุนในประเทศได้นั้น ถือว่า Win-Win ทั้ง 2 ฝ่าย เพราะรัฐบาลสหรัฐฯ ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องนำการผลิตชิปมาใช้ในประเทศมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาการผลิตชิปจากประเทศอื่น หลังจากที่เจอปัญหาชิปขาดแคลนไปในช่วงการระบาดของ COVID-19 จนส่งผลให้ราคาสูงขึ้น

ขณะที่ประเทศไต้หวันก็อยู่ในตำแหน่งที่อ่อนแอเช่นกัน เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญด้านซับพลายเชนและเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กังวลว่า ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน อาจทำให้เกิดการรุกรานทางทหารกับไต้หวัน อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตชิปที่สำคัญของประเทศ นอกจากนี้ ไต้หวันเพิ่งเจอกับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ซึ่งย้ำให้เห็นถึงความเสี่ยงของอุตสาหกรรมต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ

สำหรับกฎหมาย Chips and Science Act ได้ผ่านการรับรองในเดือนสิงหาคม 2022 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศของสหรัฐฯ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและแข่งขันกับคู่แข่งได้ดีขึ้น เช่น จีน โดยรัฐบาลได้ วางงบอุดหนุนด้านการวิจัยและการผลิตสูงถึง 52,700 ล้านดอลลาร์ นอกจากนี้สมาชิกสภาคองเกรสยังได้อนุมัติวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำอีก 75,000 ล้านดอลลาร์ด้วย

Source

]]>
1469461
‘มาเลเซีย’ กลายเป็นอีกหมุดหมายของ ‘โรงงานผลิตชิป’ หลังจีน-สหรัฐฯ ยังตึงใส่กัน https://positioningmag.com/1469027 Thu, 04 Apr 2024 02:57:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1469027 เพราะความตึงเครียดระหว่างจีน-สหรัฐฯ ในด้าน เซมิคอนดักเตอร์ หรือ ชิป ทำให้หลายบริษัทผู้ผลิตชิปในสหรัฐฯ เริ่มมองหาฐานการผลิตใหม่ ๆ นอกจากจีน และดูเหมือนว่า มาเลเซีย กำลังกลายเป็นอีกหมุดหมายของบริษัทผู้ผลิตชิปหลาย ๆ บริษัท ที่จะไปลงทุนตั้งโรงงาน

หลายคนอาจไม่รู้ว่า มาเลเซีย มีโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงและมีประสบการณ์ราว 50 ปีในแบ็กเอนด์ของกระบวนการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ โดยเฉพาะ แรงงานที่มีทักษะการประกอบ การทดสอบ และบรรจุภัณฑ์ อีกทั้งยังลดต้นทุนการดำเนินงานเชิงเปรียบเทียบ ทำให้การส่งออกสามารถแข่งขันได้มากขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้มาเลเซียกำลังกลายเป็นจุดสำคัญสำหรับโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ เนื่องจากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน ส่งผลให้บริษัทต่าง ๆ ต้องกระจายการดำเนินงาน

บริษัทชิปยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกันอย่าง อินเทล (Intel) ได้เคยออกมาประกาศในช่วงเดือนธันวาคม 2564 ว่า บริษัทจะลงทุนมากกว่า 7 พันล้านดอลลาร์ เพื่อสร้างโรงงานบรรจุภัณฑ์และทดสอบชิปในมาเลเซีย โดยคาดว่าจะเริ่มการผลิตได้ในปี 2567 นี้

โดยมาเลเซีย ถือเป็นโรงงานผลิตชิปในต่างประเทศแห่งแรกของอินเทล โดยเปิดตัวครั้งแรกเปิดตัวในปี 2515 ด้วยเงินลงทุน 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัทเดินหน้าเพิ่มศูนย์ทดสอบเต็มรูปแบบ รวมถึงศูนย์การพัฒนาและการออกแบบในมาเลเซีย

“การตัดสินใจลงทุนในมาเลเซียมีรากฐานมาจากกลุ่มผู้มีความสามารถที่หลากหลาย โครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคง และซัพพลายเชนที่แข็งแกร่ง” Aik Kean Chong กรรมการผู้จัดการของ Intel Malaysia กล่าว

นอกจากนี้ยังมี GlobalFoundries บริษัทชิปยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ อีกรายที่จะเปิดโรงงานในเดือนกันยายน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการผลิตทั่วโลก ควบคู่ไปกับโรงงานในสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และยุโรป นอกเหนือจากบริษัทในสหรัฐฯ ก็มี Infineon ผู้ผลิตชิปชั้นนำของเยอรมนี ที่เตรียมสร้างโมดูลการผลิตเวเฟอร์แห่งที่ 3 ในประเทศ Newways ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์หลักของผู้ผลิตอุปกรณ์ชิปสัญชาติเนเธอร์แลนด์  ASML ก็เตรียมจะสร้างโรงงานผลิตแห่งใหม่ในมาเลเซียเช่นกัน

“เนื่องจากนโยบายที่มีความคิดก้าวหน้าและการสนับสนุนที่แข็งแกร่งจากรัฐบาล ร่วมกับพันธมิตรอย่าง InvestPenang ได้สร้างระบบนิเวศที่แข็งแกร่งสำหรับอุตสาหกรรมที่จะเจริญเติบโต” Tan Yew Kong รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปของ GlobalFoundries Singapore กล่าว

นอกจากนี้ มาเลเซียถือหุ้น 13% ของตลาดโลกสำหรับบริการบรรจุภัณฑ์ชิป การประกอบ และการทดสอบ โดยหน่วยงานพัฒนาการลงทุนของมาเลเซีย ได้เปิดเผยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า การส่งออกอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์และวงจรรวมเพิ่มขึ้น 0.03% เป็น 387.45 พันล้านริงกิตมาเลเซีย (81.4 พันล้านดอลลาร์) ในปี 2566 แม้ว่าความต้องการชิปทั่วโลกที่อ่อนแอ

เพื่อพยายามขยายระบบนิเวศเซมิคอนดักเตอร์ของประเทศและดึงดูดการลงทุน มาเลเซียจึงได้จัดตั้ง คณะทำงานเชิงกลยุทธ์ด้านเซมิคอนดักเตอร์ระดับชาติ เมื่อเดือนมกราคม นอกจากนี้ ซาฟรุล อาซิซ รัฐมนตรีกระทรวงการลงทุน การค้า และอุตสาหกรรมของมาเลเซีย ได้เปิดเผยว่า มาเลเซียมีเป้าหมายที่จะมุ่งเน้นไปที่ ส่วนหน้า ของกระบวนการผลิตชิป จากเดิมที่มาเลเซียจะเชี่ยวชาญในส่วนแบ็กเอนด์ โดยกระบวนการส่วนหน้าเกี่ยวข้องกับการผลิตแผ่นเวเฟอร์

อย่างไรก็ตาม มาเลเซียก็มีความท้าทายที่สำคัญก็คือ ภาวะสมองไหล เมื่อคนงานเดินทางออกนอกประเทศเพื่อหางานทำที่ดีขึ้นและเงินเดือนที่สูงขึ้น โดยจากการศึกษาอย่างเป็นทางการที่ดำเนินการในปี 2565 เปิดเผยว่า คนงานชาวมาเลเซียที่มีทักษะหรือกึ่งทักษะ 3 ใน 4 คนย้ายไปทำงานในสิงคโปร์

Source

]]>
1469027
‘อินเดีย’ ขอ 5 ปี! ผงาดเป็น Top 5 ประเทศผู้ผลิตชิปของโลก https://positioningmag.com/1466715 Tue, 19 Mar 2024 02:30:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1466715 ตอนนี้หลายประเทศพยายามที่จะดันอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ หรือ ชิป มากขึ้น หลังจากที่เคยเอาแต่พึ่งพาจีน ขณะที่ อินเดีย ที่ปัจจุบันกลายเป็นประเทศที่บริษัทไอทีหลายรายย้ายมาใช้เป็นฐานการผลิต ทำให้อินเดียมีความหวังที่จะขึ้นเป็นประเทศ Top 5 ของโลกด้านการผลิตชิป

Ashwini Vaishnaw รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ รถไฟ และการสื่อสาร ของอินเดีย ประกาศว่า อินเดียต้องการเป็น 1 ใน 5 ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของโลกในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยจากการรายงานของ เทรนด์ฟอร์ซ ระบุว่า ปัจจุบัน 5 ประเทศที่ผลิตชิปได้มากที่สุดของโลก ได้แก่

  • ไต้หวัน (46%)
  • จีน (26%)
  • เกาหลีใต้ (12%)
  • สหรัฐอเมริกา (6%)
  • ญี่ปุ่น (2%)

หลังจากที่ความตึงเครียดของสหรัฐฯ – จีนไม่มีสัญญาณว่าจะสิ้นสุดลงในเร็ววัน ทำให้หลายบริษัท โดยเฉพาะบริษัทไอทีต้องการลดการพึ่งพาจีน ทำให้อินเดียกลายเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์ไปเต็ม ๆ โดยล่าสุด ควอลคอมม์ (Qualcomm) บริษัทชิปยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ได้เปิดศูนย์ออกแบบใหม่ในเมืองเจนไน โดยโรงงานจะเน้นการออกแบบเทคโนโลยีไร้สายและสร้างงาน 1600 ตำแหน่งในประเทศ

“อุตสาหกรรมชิปเป็นตลาดที่ซับซ้อนมาก และเราคิดว่าในอีกห้าปีข้างหน้า เราจะเป็น Top 5 ประเทศเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำของโลก เนื่องจากมั่นใจว่าอินเดียเป็นพันธมิตรที่เชื่อถือได้” Ashwini Vaishnaw กล่าว

นอกจากการลงทุนของควอลคอมม์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อินเดียพึ่งเปิดตัวโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ 3 แห่ง หนึ่งในโรงงานเหล่านั้นเป็นการร่วมทุนระหว่าง Tata Electronics และบริษัท PowerChip Semiconductor Manufacturing Corp. ของไต้หวัน โดยมีเป้าหมายคือการสร้างชิปเซมิคอนดักเตอร์ตัวแรกของอินเดียภายในปี 2026

ทั้งนี้ Ashwini Vaishnaw คาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกจะมีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ ภายใน 7 ปีข้างหน้า และบริษัททั่วโลกกำลังมองว่าอินเดียเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับการตัดสินใจลงทุนครั้งต่อไป และตอนนี้รัฐบาลกำลังตรวจสอบข้อเสนอการลงทุนด้านเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศรวมมูลค่ากว่า 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์

Source

]]>
1466715
ปัญหา ‘ชิป’ ขาดแคลนอาจกลับมาอีกครั้ง หลัง TSMC แจงมีความเสี่ยง ‘ขาดแคลนน้ำ’ สิ่งสำคัญในการผลิต https://positioningmag.com/1464480 Thu, 29 Feb 2024 09:16:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1464480 ย้อนไปปี 2021 บริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing Company ซึ่งเป็นผู้รับจ้างผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของโลก ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาภัยแล้งในไต้หวัน มาปี 2024 ที่อุตสาหกรรมได้กลับสู่ภาวะปกติ กำลังเจอปัญหาเก่า คือ ขาดแคลนน้ำในการผลิต ซึ่งอาจส่งผลต่อราคาชิปในอนาคต

Taiwan Semiconductor Manufacturing Company หรือ TSMC บริษัทเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่สุดของโลกได้ออกมาเปิดเผยว่า บริษัทกำลังมีความเสี่ยงที่จะเกิดการ ขาดแคลนน้ำ ซึ่งหลายคนอาจไม่รู้ว่าอุตสาหกรรมการผลิตชิปเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำเยอะมาก เนื่องจากต้องใช้น้ำปริมาณมหาศาลเพื่อทำให้เครื่องจักรเย็นลง และรับประกันว่าแผ่นเวเฟอร์ปราศจากฝุ่น

“มีเส้นแบ่งโดยตรงระหว่างการใช้น้ำและความซับซ้อนของชิป เนื่องจากโรงงานใช้น้ำบริสุทธิ์พิเศษ ซึ่งเป็นน้ำจืดที่ผ่านการแปรรูปให้มีความบริสุทธิ์สูงมาก เพื่อล้างเวเฟอร์ระหว่างแต่ละกระบวนการ ยิ่งเซมิคอนดักเตอร์มีความก้าวหน้ามากขึ้น ขั้นตอนกระบวนการก็จะยิ่งใช้น้ำมากขึ้น” Hins Li นักวิเคราะห์เครดิตของ S&P Global Ratings กล่าว

ตามข้อมูลของ S&P พบว่า ผู้ผลิตชิปทั่วโลกใช้น้ำมากพอ ๆ กับปริมาณการใช้น้ำของฮ่องกง ที่มีประชากร 7.5 ล้านคน โดยปริมาณการใช้น้ำของ TSMC เพิ่มขึ้นมากกว่า 35% หลังจากที่ได้ก้าวไปสู่การผลิตชิปขนาด 16 นาโนเมตร นับตั้งแต่ปี 2558 และรายงานระบุว่า ปริมาณการใช้น้ำในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประมาณ 1 หลักในแต่ละปี โดยได้แรงหนุนจากการขยายกำลังการผลิตและความต้องการของเทคโนโลยีกระบวนการที่ก้าวหน้า

ทั้งนี้ S&P คาดว่า การหยุดชะงักของขั้นตอนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับน้ำอาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานเทคโนโลยีทั่วโลกเนื่องจาก TSMC ครองส่วนแบ่งตลาดของชิปขั้นสูงประมาณ 90% ของโลกที่ใช้สำหรับแอปพลิเคชัน AI และควอนตัมคอมพิวเตอร์

“ความมั่นคงทางน้ำจะเป็นปัจจัยสำคัญมากขึ้นต่อสถานะเครดิตของบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ การจัดการทรัพยากรน้ำอย่างไม่ถูกต้องอาจขัดขวางการดำเนินงานของบริษัท ส่งผลเสียต่อผลการดำเนินงานทางการเงิน และอาจกระทบต่อความสัมพันธ์กับลูกค้า”

ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเพิ่มอัตราสภาพอากาศที่รุนแรง ความถี่ของความแห้งแล้ง และความผันผวนของปริมาณน้ำฝน กำลังจำกัดความสามารถของผู้ผลิตชิปในการจัดการเสถียรภาพของการผลิต

Source

]]>
1464480
‘ญี่ปุ่น’ อัดฉีด 2 หมื่นล้านเยนให้ ‘ซัมซุง’ เพื่อดึงมาสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนา ‘ชิป’ ภายในประเทศ https://positioningmag.com/1456824 Fri, 22 Dec 2023 06:44:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1456824 นับตั้งแต่ ชิป เคยขาดตลาดไปในช่วงโควิด แม้ว่าช่วงนี้ปริมาณจะกลับมาล้นตลาดแล้วก็ตาม ทำให้นานาประเทศพยายามที่จะลดการพึ่งพาจีนและหันมาพึ่งตัวเองมากขึ้น โดย ญี่ปุ่น ก็ถือเป็นหนึ่งในนั้น

ย้อนกลับไปในช่วงปี 1980 ญี่ปุ่น เคยเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ โดยมี อะกิโอะ โมริตะ ผู้ร่วมก่อตั้ง Sony ที่ถือเป็นคนที่มีบทบาทสำคัญในการนำพาให้ญี่ปุ่นสามารถผลิตชิปในรูปแบบของตนเอง แต่ปัจจุบัน ญี่ปุ่นแม้จะไม่ใช่ผู้นำในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์อีกต่อไปแล้ว แต่ก็ยังบทบาทสำคัญโดยเป็นประเทศที่ผลิตอุปกรณ์พิเศษมากกว่า 1 ใน 3 ที่ใช้ในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก

ล่าสุด กระทรวงอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นได้ดึง ซัมซุง (Samsung Electronics) บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของเกาหลีใต้ โดยรัฐบาลได้ให้เงินอุดหนุนสูงถึง 2 หมื่นล้านเยน (ราว 4.8 พันล้านบาท) เพื่อสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาใหม่สำหรับเซมิคอนดักเตอร์ขั้นสูง เพื่อเพิ่มการผลิตชิปในประเทศ

เนื่องจากการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงการแข่งขันทางเทคโนโลยีระหว่าง 2 มหาอำนาจอย่าง สหรัฐอเมริกาและจีน ทำให้ญี่ปุ่นได้พยายามที่จะสนับสนุนซัพพลายเชนของเซมิคอนดักเตอร์โดยดึงดูดการลงทุนจากบริษัทในต่างประเทศ

“ขณะนี้บริษัทต่าง ๆ จากทั่วโลกสนใจลงทุนในญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก” ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรี กล่าว

ที่ผ่านมา การลงทุนด้านเซมิคอนดักเตอร์โดยบริษัทต่างชาติที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่นในปัจจุบัน ได้แก่ Taiwan Semiconductor Manufacturing (TSMC) ในจังหวัดคุมาโมโตะ, Micron Technology Inc. ในจังหวัดฮิโรชิม่า และ Western Digital Corp. ในจังหวัดมิเอะ

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นตั้งเป้าเพิ่มรายได้จากชิปภายในประเทศ 3 เท่า ภายในปี 2030 และอัดฉีดงบลงทุนจำนวน 6.8 พันล้านดอลลาร์ เพื่อผลักดันเป้าหมายดังกล่าว โดยทางรัฐบาลเชื่อมั่นว่าแผนที่วางไว้จะลุล่วงไปด้วยดี

Source

]]>
1456824