เป๋าตัง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 19 Apr 2023 03:19:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กางแผน 5 ปี “ธนาคารกรุงไทย” กับยุทธศาสตร์ X2G2X ย้ำจุดแข็งธนาคารพาณิชย์ของรัฐ https://positioningmag.com/1427444 Mon, 17 Apr 2023 04:29:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1427444 ธนาคารกรุงไทยกางโรดแมป 5 ปี ตั้งแต่ 2566-2570 มีมิชชั่นสำคัญก็คือ การเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของคนไทย แล้วทำให้ชีวิตดีขึ้นในในทุกๆ วัน เน้นยุทธศาสตร์หลัก X2G2X ใช้จุดแข็งความเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐ เชื่อมต่อพาร์ตเนอร์ และพัฒนาแพลตฟอร์มให้ลูกค้า พร้อมเตรียมงบ 12,000 ล้านบาท ลงทุนเทคโนโลยีรองรับการก้าวสู่การเงินดิจิทัล

เข้าถึงปัจจัย 4 ของคนไทย

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์ หลายคนเรียกมันว่าเข้ามา Disrupt หลายๆ ธุรกิจเลยก็มี เนื่องจากดิจิทัลทำให้รูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป พฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนไป ถ้าธุรกิจไหนไม่ปรับตัว ก็ยากที่จะอยู่รอด

ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอันดับต้นๆ หนีไม่พ้นค้าปลีก และธนาคาร ที่มีหน้าร้านสาขาในการให้บริการลูกค้า ผู้ประกอบการจึงต้องเร่งเครื่องในการเอาตัวเองเข้าสู่อีคอมเมิร์ซ ส่วนธนาคารเองก็ต้องพัฒนาระบบดิจิทัล ซึ่งประเทศถือว่ามีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคตอบรับกับบริการดิจิทัลมากขึ้นด้วย

“ธนาคากรุงไทย” เป็นหนึ่งในกลุ่มธนาคารยักษ์ใหญ่ในไทย ในปีนี้ได้ดำเนินการมาครบ 57 ปีแล้ว แต่เดิมกรุงไทยมีภาพลักษณ์เป็นธนาคารสำหรับข้าราชการ เพราะด้วยความเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐ ผู้ใช้งานจึงค่อนข้างมีอายุหน่อย ทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมากรุงไทยได้รีเฟรชแบรนด์ให้ทันสมัยขึ้น พร้อมกับดึง “ณเดชน์ คูกิมิยะ” เป็นพรีเซ็นเตอร์แอปพลิเคชัน KRUNGTHAI NEXT เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น

ซึ่งปัจจุบันกรุงไทยเองก็เป็นหนึ่งในฟันเฟืองหลักในการพัฒนาบริการดิจิทัลสู่มือผู้บริโภค เรียกว่ามีบริการแทบจะครอบคลุมไลฟ์สไตล์ของคนไทย มีการพัฒนาเองบ้าง และจับมือร่วมกับพาร์ตเนอร์บ้าง

ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB เล่าว่า

“ธนาคารกรุงไทยมีจุดแข็งที่เป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐ มีรัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่เราเน้นสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืน และมิชชั่นสำคัญก็คือ อยากให้คนไทยมีชีวิตที่ดีขึ้นในทุกๆ วัน โฟกัสที่ปัจจัย 4 ของมนุษย์ ลูกค้าส่วนใหญ่ของกรุงไทยจะเป็นผู้สูงวัย จึงให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพเป็นพิเศษ แต่มีการเน้นเรื่องการศึกษามากขึ้น เพราะต้องการดึงคนรุ่นใหม่เข้ามาเพิ่มขึ้น เรียกว่าต้องใช้โมเดลเรือบรรทุกเครื่องบิน กับสปีดโบ้ท เอามาปรับใช้ในการขับเคลื่อนองค์กร”

จุดเปลี่ยนสำคัญก็คือการพัฒนาแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ในช่วงแรกเป็นการใช้กับโครงการสวัสดิการต่างๆ ของรัฐ เช่น คนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน ต่อมาได้พัฒนาบริการต่างๆ ที่สามารถใช้งานผ่านแอปเป๋าตังได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพที่ใช้สิทธิบัตรทอง หรือรับถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิดได้ รวมไปถึงการซื้อสลากดิจิทัล ที่คุมราคาได้ใน 80 บาท และบริการอื่นๆ อีกมากมาย

ปัจจุบันแอปพลิเคชันเป๋าตัง มีผู้ใช้งาน 40 ล้านคน และมีเงินหมุนเวียนในระบบ 600 ล้านบาท ในอนาคตจะมีบริการที่ต่อยอดมากขึ้นเรื่อยๆ อาจมองไปถึง 5 อีโคซิสเท็มหลักของคนไทย ได้แก่ สุขภาพ, การศึกษา, รัฐ, เพย์เมนต์ และการเดินทาง

โรดแมป 5 ปี 7 ยุทธศาสตร์

ทั้งนี้ธนาคารกรุงไทยได้กางแผนงาน 5 ปี ระหว่างปี 2566-2570  เพื่อเร่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงภายใต้แนวคิด “มุ่งสร้างคุณค่า สู่ความยั่งยืน” เพื่อให้องค์กรเติบโตอย่างมั่นคง ตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างครอบคลุม ทั่วถึง แบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ภายใต้ 7 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้

1. ปลดล็อกศักยภาพในการสร้างมูลค่าจากการทำธุรกิจกับคู่ค้าของลูกค้า (X2G2X) เร่งต่อยอดยุทธศาสตร์ X2G2X ให้เกิดการเชื่อมโยงในเชิงลึกในกลุ่มลูกค้าต่างๆ ทั้ง B2B B2C G2B และ G2C และมีแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์คู่ค้าของลูกค้า ทั้งการเร่งสร้าง Economic Value จากแอปฯ เป๋าตัง และถุงเงิน เสริมศักยภาพผู้ประกอบการ SME ให้แข็งแกร่ง ต่อยอดความร่วมมือที่ได้ลงทุนไปแล้วทั้งระบบ Smart Transit ตั๋วร่วม Smart Hospital และ Digital Business Platform เป็นต้น

2. ขับเคลื่อนประสิทธิภาพองค์กรด้วยดิจิทัล และข้อมูล เร่งนำข้อมูล และเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เป็น Process Digitalization โดยนำระบบ RPA หรือ Robotic Process Automation และการใช้ AI เข้ามาใช้ในกระบวนการทำงานภายในของธนาคารมากขึ้น ทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการใช้กระดาษ (Paperless) นำไปสู่โครงสร้างการประเมินอัตรากำลังที่เหมาะสมในการให้บริการผ่านสาขา ผสมผสานการให้บริการออนไลน์สู่ออฟไลน์ได้เต็มศักยภาพ โดยช่องทางสาขาจะถูกปรับเป็นการให้บริการทางธุรกิจ และอยู่ระหว่างการทดสอบในพื้นที่ EEC

3. เปิดตัวแพลตฟอร์ม เพื่อสร้างการเติบโตในมิติใหม่ พัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร ทั้ง Virtual Banking ที่ธนาคารจะร่วมกับพันธมิตร เพื่อดำเนินการ และ Wealth-Tech เพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และบริการทางการเงินในทุกระดับชั้น ต่อยอดสร้างศักยภาพการออม เสริมสร้างความมั่งคั่งให้คนไทย

4. สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างครอบคลุม เท่าเทียม และยั่งยืน ขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวทาง ESG  สนับสนุนประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างทั่วถึงเท่าเทียม โปร่งใส ลดความเหลื่อมล้ำ ลดช่องว่างการกระจายรายได้ เชื่อมโยงกลุ่มลูกค้า SME กับ Digital Economy และเร่งปรับตัวเข้าสู่กลุ่มอุตสาหกรรม New S-Curve เพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืน

5. พัฒนา และเสริมสร้างขีดความสามารถการทำงานแห่งอนาคต เร่งสร้างการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ ทั้งด้านความพร้อมของระบบรองรับ PDPA & Cyber Risk เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าทุกกลุ่ม บริหารจัดการ NPL และ NPA เพื่อแก้ปัญหาปรับเป็นสินทรัพย์ที่สร้างคุณค่าในเวลารวดเร็วขึ้น พร้อมบูรณาการบริษัทในเครือ สร้างประโยชน์จากสินทรัพย์ให้เต็มศักยภาพ บนความร่วมมือแบบ ONE Krungthai

6. ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีหลักขององค์กรลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT และ Digitalization อย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับโครงสร้างเทคโนโลยีให้มีความทันสมัย มั่นคง ปลอดภัย มีเสถียรภาพ มีประสิทธิภาพและสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นในอนาคต เพื่อสนับสนุนการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าด้วยต้นทุนที่เหมาะสม

7. ปฏิรูปวัฒนธรรม และปลูกฝังวิธีการทำงานแบบใหม่เพื่อขับเคลื่อนองค์กรด้วยความคล่องตัว ปรับวิธีการทำงานรูปแบบใหม่ให้เป็นไปในลักษณะ Agility มีความกระฉับกระเฉง โดยอาศัยหลักการแบบ Fail Fast Learn Fast ยกระดับพนักงานให้มีทักษะใหม่ๆ (Upskill/Reskill) สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถในระดับประเทศและระดับโลกเข้ามาทำงานเสริมสร้างความแข็งแกร่ง เป็นองค์กรแห่งการสร้างผู้นำในอนาคต

ทิศทางการดำเนินธุรกิจธนาคารกรุงไทยในระยะต่อไป อยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทางการเงินใหม่ ที่เปิดกว้างใน 3 ด้านคือ

  1. Open Infrastructure การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับทั้งผู้เล่นใหม่ และผู้เล่นปัจจุบัน เพื่อให้เกิดการแข่งขันและต่อยอดในเชิงนวัตกรรม
  2. Open Data ส่งเสริมให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล เช่น การสนับสนุนให้มีธนาคารไร้สาขา หรือ Virtual Bank เป็นต้น
  3. Open Competition ซึ่งเป็นเรื่องท้าทายที่สุด จากการแข่งขันที่เปิดกว้างจากผู้เล่นใหม่เส้นแบ่งการแข่งขันระหว่างธนาคารและสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-Bank) ที่แยกกันไม่ออก

เร่งลงทุนเทคโนโลยี

สำหรับแผนการบริหารสินทรัพย์รอการขาย (NPA) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 40,000 ล้านบาท นั้น ผยง กล่าวว่า ธนาคารตั้งเป้าจะลด NPA ให้อยู่ในระดับ 20,000 ล้านบาท เท่ากับอุตสาหกรรมภายในระยะเวลา 5 ปี (66-70) โดยภายในไตรมาส 3 ปีนี้ ธนาคารจะสามารถสรุปพันธมิตรเพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนบริหารสินทรัพย์ (JV AMC) ซึ่งจะช่วยให้สินทรัพย์รอการขาย และหนี้เสียลดลง ส่งผลให้การตั้งสำรองหนี้เสียอยู่ในระดับต่ำได้

ผยง กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีนี้ธนาคารกรุงไทยตั้งเป้าลงทุนด้านเทคโนโลยีประมาณ 12,000 ล้านบาท พร้อมรองรับสู่การเงินดิจิทัลทั้งปัจจุบัน และอนาคตในการจัดตั้งธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) กับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC เนื่องจาก ADVANC มีความเชี่ยวชาญด้านโมบายเดต้า ทำให้ธนาคารไม่ต้องสำรองวงเงินไว้ลงทุนในเรื่องดังกล่าว

ผยง ศรีวณิช

“วงเงินลงทุนจำนวน 12,000 ล้านบาท เพียงพอสำหรับการลงทุนด้านเทคโนโลยี และการร่วมทุนจัดตั้งธนาคารไร้สาขา เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาใช้เงินลงทุนดังกล่าวไปเพียง 7,000-8,000 ล้านบาท จากวงเงินเป้าหมายทั้งหมดที่ตั้งไว้ 12,000 ล้านบาท”

ธนาคารเตรียมรุกตลาดสินเชื่อออนไลน์ (ดิจิทัลเลนดิ้ง) บนเป๋าตังค์ภายในปีนี้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มอาชีพอิสระและกลุ่มที่เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน ช่วงเดือนที่ผ่านมาธนาคารปล่อยสินเชื่อออนไลน์ผ่านกรุงไทยเน็กซ์ (NEXT) ได้สูงถึง 5,000 ล้านบาท ทำให้มั่นใจภายในสิ้นปี 66 นี้ ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อดังกล่าวถึง 10,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ธนาคารมีแผนเปิดสาขารูปแบบใหม่ภายใน 1-2 เดือนนี้ ที่ให้บริการในรูปแบบดิจิทัลบนแท็บเล็ตทั้งหมด โดยพนักงานไม่จำเป็นต้องนั่งให้บริการเฉพาะที่หน้าเคาน์เตอร์เท่านั้น ยกเว้นแต่ธุรกรรมถอน-ฝากเงินสด ทำให้ลูกค้าได้รับบริการได้รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งเบื้องต้นตั้งเป้าหมายเปิด 20 สาขาในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และเมืองใหญ่ อาทิ ชลบุรี และเชียงใหม่ เป็นต้น

]]>
1427444
มัดรวมแพลตฟอร์ม ‘E-Wallet’ ในไทย เหลือผู้เล่นคนไหนบ้าง หลัง ‘ดอลฟิน วอลเล็ท’ ยุติการให้บริการ https://positioningmag.com/1426150 Tue, 04 Apr 2023 10:02:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1426150 หลังจากที่แพลตฟอร์ม เจดี เซ็นทรัล (JD CENTRAL) ประกาศยุติการให้บริการในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม ที่ผ่านมา ทำให้ ดอลฟิน วอลเล็ท (Dolfin Wallet) แพลตฟอร์มอีวอลเล็ทของบริษัท เซ็นทรัล เจดี มันนี่ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างเครือเซ็นทรัล และบริษัท เจดี (JD) อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีนก็ต้องออกมายุติการให้บริการในวันที่ 15 มิถุนายนนี้ ดังนั้น ไปดูกันว่า แพลตฟอร์มอีวอลเล็ทที่ยังให้บริการในไทยเหลือใครอยู่บ้าง!

ทรูมันนี่ วอลเล็ท (TrueMoney Wallet)

แพลตฟอร์มอีวอลเล็ทที่มีเจ้าของเป็นสตาร์ทอัพ Fintech ระดับยูนิคอร์น หรือก็คือ Ascend Money ซึ่งก่อตั้งโดย ศุภชัย เจียรวนนท์ ตั้งแต่ปี 2015 ที่เริ่มจากการเติมเกม ปัจจุบัน ทรูมันนี่ วอลเล็ทมีบริการที่หลากหลาย โดยให้บริการครอบคลุม 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย เมียนมา กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม มีผู้ใช้มากกว่า 50 ล้านรายทั่วภูมิภาค และสำหรับประเทศไทยมีฐานลูกค้ามากกว่า 27 ล้านราย

สำหรับจุดแข็งของทรูมันนี่ วอลเล็ท ก็คือ จุดชำระ โดยเฉพาะสินค้าและบริการในเครือซีพี อาทิ เซเว่นอีเลฟเว่นก็มีกว่า 13,000 สาขาทั่วประเทศไปแล้ว ปัจจุบัน จุดรับชำระของแพลตฟอร์มมีกว่า 7 ล้านจุด มากสุดในประเทศไทย สามารถใช้จ่ายบนร้านค้าออนไลน์กว่า 1.3 ล้านร้านค้าทั่วโลก

แรบบิท ไลน์ เพย์ (Rabbit LINE Pay)

ถ้าเป็นคนกรุงเทพฯ ที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS บ่อย ๆ เชื่อว่าก็คงจะใช้บริการ Rabbit LINE Pay แน่นอน ซึ่ง Rabbit LINE Pay นั้นเป็นแพลตฟอร์มที่เกิดจาก LINE Thailand ร่วมมือกับทาง Rabbit Card หลังจากนั้นก็มี mPay แพลตฟอร์มบริการทางการเงินของ AIS

โดยจุดเด่นของ Rabbit LINE Pay ก็คือ การใช้งานผ่านแพลตฟอร์ม LINE ได้เลยโดยไม่ต้องโหลดแอปฯ เพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นการซื้อตั๋ว BTS, ซื้อสินค้าใน LINE เช่น สติกเกอร์ รวมไปถึงร้านค้าชั้นนำต่าง ๆ ทั้งนี้ ตัวเลข ณ ปี 2021 Rabbit LINE Pay มีจำนวนผู้ใช้กว่า 8 ล้านราย ขณะที่ผู้ใช้งานไลน์ในปัจจุบันอยู่ที่ 53 ล้านราย

ช้อปปี้เพย์ (ShopeePay)

ShopeePay หรือชื่อเดิม AirPay แพลตฟอร์มอีวอลเล็ทจาก Sea Group ที่ตอนแรกมีจุดเริ่มต้นเพื่อใช้เติมเกมในเครือ Garena ก่อนที่จะมารุกตลาดอีคอมเมิร์ซด้วยแพลตฟอร์ม Shopee และจากที่จุดเริ่มต้นของ AirPay ที่ออกมาเพื่อเสริมอีโคซิสเต็มส์ของ Garena แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นเพย์เมนต์สำคัญของ Shopee จนในปี 2022 ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ShopeePay เต็มตัว

จุดเด่นของ ShopeePay ก็คือ หากช้อปปิ้งใน Shopee ก็จะสิทธิประโยชน์มากกว่าการจ่ายผ่านช่องทางอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการส่งฟรี ได้เครดิตเงินคืน หรือเป็น Coins สำหรับนำมาใช้ในการซื้อสินค้าครั้งต่อไป ทั้งนี้ ShopeePay ไม่มีการเปิดเผยถึงจำนวนผู้ใช้ในไทย แต่มีรายงานว่าทั่วทั้งภูมิภาคมีผู้ใช้รวมกว่า 23.2 ล้านคน (ณ ปี 2021)

เป๋าตัง (Paotang)

เรียกว่าเป็น แอปฯ สามัญประจำบ้าน ก็ว่าได้ สำหรับ เป๋าตัง ที่พัฒนาโดย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพราะในช่วงที่เกิด COVID-19 แพลตฟอร์มดังกล่าวถือเป็นช่องทางในการรับการเยียวยาจากภาครัฐอย่าง คนละครึ่ง โดยการชำระผ่าน จี-วอลเล็ท (G-Wallet) ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ปัจจุบันผู้ใช้งานแอปเป๋าตังอยู่ 40 ล้านคน และมีมูลค่าธุรกรรมในบริการพื้นฐานต่าง ๆ สูงกว่า 1 แสนล้านบาท

แน่นอนว่าจุดเด่นของแพลตฟอร์มนอกจากการใช้สิทธิมาตรการรัฐ ยังมี ร้านถุงเงิน ที่รับชำระผ่านเป๋าตังกว่า 1.8 ล้านร้านค้า รวมถึงสามารถซื้อ สลากกินแบ่งรัฐบาล ได้ภายในแพลตฟอร์ม (จุดแข็งสุด ๆ) และล่าสุด เป๋าตังจึงเปิดตัว เป๋าตังค์เปย์ เป็นบริการอีวอลเล็ทใหม่บนแอปฯ เป๋าตัง ที่สามารถใช้จ่ายได้ในชีวิตประจำวันแยกจากจี-วอลเล็ท

จริง ๆ แล้วแพลตฟอร์มอีวอลเล็ทนอกจาก Dolfin Wallet ที่ลาตลาดไปก็มี Blue Pay ที่ปิดตัวไปตั้งแต่ปี 2021 นอกจากนี้ยังมีบริการวอลเล็ทที่ใช้เฉพาะในอีซิสเต็มส์ของตัวเอง เช่น GrabPay Wallet เป็น Wallet จากทาง Grab ที่ใช้งานกับเฉพาะแอป Grab เท่านั้น เช่นเดียวกับ Lazada Wallet ที่ใช้เฉพาะกับ Lazada เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่าผู้เล่นที่เหลือรอดจะเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ มีร้านรับชำระเงินที่เป็นจุดแข็งของ และสิทธิประโยชน์เพื่อสร้างความต่างจาก Mobile Banking ถึงจะสามารถดึงดูดให้คนมาใช้ได้

]]>
1426150
กรุงไทยเปิดตัว เป๋าตังเปย์ เน้นเจาะฐานลูกค้ากลุ่มนักเรียน นักศึกษา และวัยเริ่มต้นทำงาน https://positioningmag.com/1411523 Tue, 13 Dec 2022 17:10:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1411523 ธนาคารกรุงไทย ร่วมมือกับ อินฟินิธัส เปิดตัวบริการใหม่ เป๋าตังเปย์ โดยเน้นเจาะกลุ่มลูกค้ากลุ่มนักเรียน นักศึกษา และวัยเริ่มต้นทำงานเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัวบัตร Play โดยคาดมีผู้ใช้งานกว่า 5 ล้านรายได้ภายในปี 2566

ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ในความร่วมมือดังกล่าวนั้นต้องการพัฒนา เป๋าตังเปย์ (Paotang Pay) ให้เป็นซูเปอร์วอลเล็ตของคนไทย และยังเป็นการเพิ่มศักยภาพดิจิทัลเพย์เมนต์ให้กับแอปฯ เป๋าตัง ให้ครบวงจรมากขึ้น รวมถึงยังช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจดิจิทัล

นอกจากตัววอลเล็ตแล้วทางธนาคารกรุงไทยยังได้เปิดตัวบัตร Play (Paotang Pay Play) ซึ่งร่วมมือกับทาง Visa โดยสามารถที่จะสมัครบัตรดังกล่าวผ่านแอปฯ เป๋าตังเปย์ ได้ทันที และยังสามารถนำไปใช้บริการอื่นๆ นอกจาการใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าของ MRT ทั้งสายสีม่วงและสีน้ำเงิน รถไฟฟ้า SRT สายสีแดง รถเมล์ รวมถึงการจ่ายค่าทางด่วนได้

อย่างไรก็ดีสำหรับบัตร Play นั้นมีค่าใช้จ่ายเพียง 50 บาทในการออกบัตรและส่งบัตรไปตามที่อยู่ของผู้ใช้งาน แต่จะไม่มีค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับการใช้บัตรแต่อย่างใด

สำหรับกลุ่มเป้าหมายของธนาคารกรุงไทยต้องการที่จะเจาะนั่นก็คือผู้ใช้งานกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และวัยเริ่มต้นทำงานที่มีเพียง 30% บนแอปฯ เป๋าตังเป็นหลัก

ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ล่าสุด ณ เดือนกันยายนที่ผ่านมา การใช้จ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
หรือ e-Payment เพิ่มขึ้นเฉลี่ยที่ 400 รายการต่อคนต่อปี จากปี 2564 ที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 312 รายการต่อคนต่อปี โดยช่องทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ Internet & Mobile Banking ซึ่งมีจำนวนผู้ใช้งานกว่า 133 ล้านบัญชี มีปริมาณธุรกรรม 2,139 ล้านรายการ เพิ่มขึ้น 48.6% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยยังชี้ว่ามีธุรกรรมที่เติบโตสูงคือ บริการชำระเงินผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ซึ่งเป็นการชำระเงินของคนรุ่นใหม่ มีไลฟ์สไตล์ชอบความสะดวก รวดเร็ว ทำธุรกรรมได้แบบเรียลไทม์บนมือถือ โดยมีจำนวนผู้ใช้งานถึง 122.6 ล้านบัญชี ปริมาณธุรกรรม 302 ล้านรายการต่อเดือน เพิ่มขึ้น 38.5% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในปัจจุบันในตลาดกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีผู้เล่นรายใหญ่สุดนั่นก็คือ TrueMoney Wallet โดยมีผู้ใช้งานมากถึง 24 ล้านรายในปี 2564 ที่ผ่านมา รองลงมาคือ Rabbit LINE Pay นั้นมีผู้ใช้งาน 9.5 ล้านรายในปี 2564

โดยทางธนาคารกรุงไทยคาดว่าจะมีผู้ใช้งานเป๋าตังเปย์กว่า 5 ล้านราย ภายในสิ้นปี 2566 

]]>
1411523
วิธีลงทะเบียน “คนละครึ่งเฟส 3” แบบใหม่ คนได้สิทธิเดิมก็ต้องจองใหม่ เริ่ม 14 มิ.ย. https://positioningmag.com/1336746 Sun, 13 Jun 2021 15:19:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336746 “กรุงไทย” เตรียมความพร้อมระบบทุกด้าน มั่นใจการลงทะเบียนโครงการ “คนละครึ่งเฟส 3” และ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ชูศักยภาพ “ระบบคลาวด์” รองรับผู้ลงทะเบียนพร้อมกันได้จำนวนมาก ส่วนแอปฯ เป๋าตัง สามารถรองรับผู้ใช้งานได้มากกว่า 30 ล้านคน แนะทยอยลงทะเบียนรับสิทธิ โครงการคนละครึ่งให้สิทธิถึง 31 ล้านสิทธิ

สำหรับขั้นตอนการลงทะเบียน มีดังนี้

1. โครงการ “คนละครึ่ง” ระยะที่ 3 เริ่มเปิดลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป ในเวลา 06.00 – 22.00 น.ของทุกวัน โดยผู้ที่เคยรับสิทธิโครงการคนละครึ่งระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 จะต้องลงทะเบียนรับสิทธิเช่นเดียวกับผู้ประสงค์รับสิทธิรายใหม่ ระบบ “ไม่มีการจองสิทธิ” ให้กับรายเดิม

1.1 กรณีเคยเข้าร่วมมาตรการ หรือโครงการของรัฐ ที่มีแอปฯ เป๋าตัง

  • สามารถลงทะเบียนผ่านแอปฯ เป๋าตัง หรือเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com โดยผู้ที่เคยเข้าร่วมโครงการรัฐที่ลงทะเบียนผ่านแอปฯ เป๋าตัง จะ “ลดเวลา” การกรอกข้อมูล เนื่องจากระบบจะดึงข้อมูลเดิมมาให้อัตโนมัติ ผู้ลงทะเบียนเพียงตรวจสอบข้อมูล และกรอกข้อมูลเพิ่มเติมบางส่วน
  • รอ SMS แจ้งผลการลงทะเบียนภายใน 3 วัน

1.2 กรณีไม่เคยเข้าร่วมมาตรการ หรือโครงการของรัฐ

  • สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com
  • รอ SMS แจ้งผลการลงทะเบียนภายใน 3 วัน
  • ดาวน์โหลดแอปฯ เป๋าตัง เพื่อยืนยันตัวตน เพื่อใช้สิทธิผ่าน G-Wallet

ทั้งนี้ โครงการคนละครึ่ง รับสิทธิผ่านแอปฯ เป๋าตัง โดยใช้จ่ายในร้านค้าที่ร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม-31 ธันวาคม 2564 โดยประชาชนสามารถ “ทยอย” ลงทะเบียนรับสิทธิได้ เนื่องจากโครงการคนละครึ่งระยะที่ 3 เปิดให้สิทธิกับประชาชนทั้งหมดถึง 31 ล้านสิทธิ

2. โครงการ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” เริ่มเปิดลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป ในเวลา 06.00 -22.00 น. ของทุกวัน

2.1 กรณีเคยเข้าร่วมมาตรการ หรือ โครงการของรัฐ ที่มีแอปฯ เป๋าตัง

  • สามารถลงทะเบียนผ่านแอปฯ เป๋าตังหรือเว็บไซต์ www.ยิ่งใช้ยิ่งได้.com
  • รอ SMS แจ้งผลการลงทะเบียนภายใน 3 วันทำการ

2.2 กรณีไม่เคยเข้าร่วมมาตรการหรือ โครงการของรัฐ

  • สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ยิ่งใช้ยิ่งใด้.com
  • รอ SMS แจ้งผลการลงทะเบียนภายใน 3 วันทำการ
  • ดาวน์โหลดแอปฯ เป๋าตัง เพื่อยืนยันตัวตนใช้สิทธิผ่าน G-Wallet

โครงการ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” เริ่มใช้จ่ายจาก G-Wallet ในร้านค้าที่ร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม-31 ธันวาคม 2564 โดยจ่ายได้ไม่เกิน 5,000 บาท/คน/วัน ยอดใช้จ่าย 40,000 บาทแรก ได้รับ E-Voucher คืน 10% ยอดใช้จ่าย 40,001-60,000 ได้รับ E-Voucher คืน 15% โดยริ่มรับ E-Voucher ตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม – 7 ตุลาคม 2564 และสิ้นสุดการใช้จ่ายเพื่อรับ E-Voucher วันที่ 30 กันยายน 2564

โดยผู้รับสิทธิโครงการคนละครึ่ง หรือ ยิ่งใช้ยิ่งได้ จะต้องไม่เป็นผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และผู้ใช้สิทธิโครงการเราชนะผ่านบัตรประชาชน โดยสามารถเลือกรับสิทธิได้เพียงโครงการเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ ผู้รับสิทธิโครงการคนละครึ่ง และยิ่งใช้ยิ่งได้ ก่อนใช้สิทธิครั้งแรก จะต้องยืนยันตัวตนด้วยบัตรประชาชนที่สาขา หรือ ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย ยกเว้นผู้ที่เคยยืนยันตัวตนด้วยบัตรประชาชนกับธนาคารกรุงไทย หรือผู้ที่มีแอปฯ “Krungthai NEXT” ซึ่งผ่านการยืนยันตัวตนมาแล้ว

]]>
1336746
ไขข้อสงสัย www.เราเที่ยวด้วยกัน.com สำหรับผู้ประกอบการ-ประชาชน-แอปฯ เป๋าตังรับส่วนลด https://positioningmag.com/1286445 Fri, 03 Jul 2020 08:48:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286445 มาเเล้วกับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ หลัง COVID-19 ผ่าน 3 โครงการ รวมวงเงิน 22,400 ล้านบาท ได้แก่ ท่องเที่ยวปันสุข เราเที่ยวไปด้วยกัน ท่องเที่ยวกำลังใจ ที่จะดำเนินการได้ในเดือนกรกฎาคมตุลาคมนี้ 

ล่าสุดรัฐบาลเปิดลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราเที่ยวด้วยกัน.com ให้โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร และสถานที่ท่องเที่ยวแล้ว ตั้งเเต่วันที่ 1 .. ที่ผ่านมา ขณะที่ประชาชนทั่วไป รอลงทะเบียนในวันที่ 15 ..นี้ ผู้สนใจต้องดาวน์โหลดเเอปพลิเคชันเป๋าตังรอไว้ เพื่อใช้จ่ายค่าที่พัก เช็กอิน รับส่วนลดร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยว แถมขอคืนค่าตั๋วเครื่องบินได้ 40% สูงสุด 1,000 บาทต่อที่นั่ง มีแค่ 2 ล้านสิทธิเท่านั้น

วันนี้ Positioning รวบรวมข้อสงสัย คำถามที่พบบ่อย “เราเที่ยวด้วยกัน” ทั้งฝั่งผู้ประกอบการร้านค้า โรงเเรม สถานที่ท่องเที่ยว ประชาชนทั่วไปเเละการใช้เป๋าตังเป็นข้อควรรู้ก่อนลงทะเบียน มาให้อ่านก่อน…

ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร-สถานที่ท่องเที่ยว

1. ผู้ประกอบการร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ที่สนใจเข้าร่วมโครงการต้องทำอย่างไร

คำตอบ: มีบัญชีธนาคารกรุงไทย

  • สมัครใช้บริการแอปพลิเคชันถุงเงิน
  • ลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมโครงการที่ เราเที่ยวด้วยกัน.com
  • กรณีประสงค์ใช้แอปพลิเคชันถุงเงินรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต สามารถยื่นความประสงค์ได้
  • กรณีผู้ประกอบการโรงแรม/ที่พัก สมัครใช้บริการระบบชำระเงินออนไลน์ (Payment Service Provider) หรือผู้ให้บริการ Online Travel Agency กับผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครงการฯ

2. ผู้ประกอบการร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ที่มีหลายสาขาต้องลงทะเบียนแยกเป็นรายสาขาหรือไม่

คำตอบ: การลงทะเบียนผู้ประกอบการต้องมีหมายเลข TAX ID และบัญชีรับเงินในการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการและสมัครแอปพลิเคชันถุงเงิน กรณีมีสาขามากกว่า 1 สาขา ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนแยกสาขา

 

3.ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว จะได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง เมื่อเข้าร่วมโครงการ

คำตอบ:

  • ได้เพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์กิจการผ่านทางเว็บไซต์ เราเที่ยวด้วยกัน.com
  • มีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการสนับสนุนของภาครัฐให้ประชาชนออกมาท่องเที่ยวแบบ New Normal

4.ผู้ประกอบการที่มาลงทะเบียน จะทราบผลการลงทะเบียนจากช่องทางใด

คำตอบ: ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ที่ผ่านเกณฑ์และไม่ผ่านเกณฑ์เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับ SMS แจ้งผลจากชื่อผู้ส่ง “TTogether”

5. ผู้ลงทะเบียนต้องเป็นเจ้าของกิจการเท่านั้นหรือไม่

คำตอบ: ผู้ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการผ่านเว็บไซด์ ต้องเป็นเจ้าของกิจการ หรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของกิจการ ให้ทำการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ โดยยืนยันตัวตนด้วยเบอร์โทรศัพท์มือถือ ผ่านรหัส OTP ที่ทำการลงทะเบียน

6.ผู้ประกอบการร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ที่มีหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (TAX ID) 1 หมายเลข สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้กี่ครั้ง

คำตอบ: สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ครั้งเดียว และเมื่อลงทะเบียนสำเร็จจะไม่สามารถลงทะเบียนซ้ำได้

7. โรงเเรมในเครือสามารถลงทะเบียนได้เองหรือไม่ 

  • กรณีที่มีหมายเลข TAX ID และบัญชีกรุงไทย เฉพาะสาขา สามารถเลือกลงทะเบียนแยกได้
  • กรณีที่ไม่มีหมายเลข TAX ID และบัญชีกรุงไทย เฉพาะสาขา โรงแรมสามารถเลือกลงทะเบียนครั้งเดียวได้ และเพิ่มสาขาในระบบจัดการข้อมูลกิจการโดยเพิ่มหมายเลขโทรศัพท์มือถือแต่ละสาขาในการใช้ระบบแอปพลิเคชันถุงเงิน

สำหรับประชาชน 

  • มีบัตรประจำตัวประชาชนและเป็นบุคคลสัญชาติไทย
  • อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ลงทะเบียน
    * ประชาชนจะได้รับสิทธิเมื่อท่องเที่ยว กิน และนอน ในจังหวัดที่ไม่ใช่ทะเบียนบ้านของตนเอง

1.การใช้สิทธิสามารถใช้สิทธิได้ทุกจังหวัดยกเว้นจังหวัดตามทะเบียนบ้านใช่หรือไม่

คำตอบ : ประชาชนที่ลงทะเบียนรับสิทธิ สามารถเดินทางท่องเที่ยวทุกจังหวัด ยกเว้นจังหวัดตามทะเบียนบ้านตนเอง

2. สิทธิส่วนลดค่าที่พัก (40%) และสิทธิใช้จ่ายซื้อของจากร้านอาหาร/สถานที่ท่องเที่ยว (600 บาท/วัน) มีกําหนดระยะเวลาหรือไม่ว่าหมด อายุภายในกี่วัน

คำตอบ: บัตรกำนัลส่วนลดโรงแรมและอาหาร/สถานที่ท่องเที่ยวจะมีอายุการใช้งานถึง 23.59 น. ของวันที่จอง เช็กเอาต์ ที่พัก

3. สิทธิต่อประชาชน 1 คน สามารถจองห้องพักได้ครั้งละกี่ห้อง มีจํากัดหรือไม่

คำตอบ: ประชาชนมีสิทธิ 1 คนต่อ 5 ห้อง/คืน ซึ่งสามารถจองกี่ครั้งก็ได้ แต่ใช้สิทธิส่วนลดห้องพักได้ไม่เกิน 5 ห้องคืน

4. สิทธิใช้จ่ายซื้อของจากร้านค้า (600 บาท/วัน) สามารถกดออกมาเป็นเงินสดหรือโอนเข้าบัญชีได้หรือไม่

คำตอบ: บัตรกำนัลส่วนลดอาหารไม่สามารถโอนออกหรือใช้เป็นเงินสดได้

5. กรณีประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ จ่ายชําระค่าจองที่พัก (60%) แล้วมีการยกเลิกการจอง จะต้องแจ้งอะไรกับทางภาครัฐหรือไม่ สิทธิยังคงไปใช้จองที่ใหม่ได้อีกหรือไม่

คำตอบ: ตามเงื่อนไขของโครงการ เมื่อทำการจองที่พักและชำระเงินส่วน 60% แล้วจะไม่สามารถยกเลิกและเปลี่ยนการจองได้

6. ประชาชนที่ได้รับสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ จะสามารถจองโรงแรมผ่านช่องทางใดได้บ้าง

คำตอบ:

  • Online Travel Agency (OTA) ได้แก่ Agoda , Traveloka
  • Website โรงแรมที่เข้าร่วมโครงการ (ถ้ามี)
  • www.เราเที่ยวด้วยกัน.com โดยไปที่ค้นหากิจการโรงแรม
  • ช่องทางติดต่ออื่นๆ ที่โรงแรมมี เช่น Line , Facebook , เบอร์โทรศัพท์

7. ช่องทางการลงทะเบียนสามารถลงทะเบียนผ่านช่องทางไหนบ้าง และจํากัดจํานวนผู้ลงทะเบียนหรือไม่ 

คำตอบ: ประชาชนและร้านค้า สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ ที่ www.เราเที่ยวด้วยกัน.com เท่านั้น ไม่จำกัดจำนวนผู้ลงทะเบียน

8. จะตรวจสอบผลการลงทะเบียนอย่างไรและทําการแจ้งผลผ่านช่องทางไหน หากไม่มี e-mail สามารถลงทะเบียนได้ไหม 

คำตอบ: สามารถตรวจสอบผลการลงทะเบียนได้จาก sms ระบบจะส่ง sms แจ้งผลจากชื่อผู้ส่ง “TTogether” แจ้งไปยังเบอร์ที่รับรหัส OTP

นักท่องเที่ยวไทยพร้อมกลับมาเที่ยวในประเทศเร็วๆ นี้ (Photo by Thanakorn Phanthura from Pexels)

คำถามเกี่ยวกับ “แอปฯ เป๋าตัง”

1. กรณีที่มี แอปฯ เป๋าตัง อยู่แล้ว จะต้องลงทะเบียนใหม่หรือไม่

คำตอบ: ประชาชนที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ ต้องลงทะเบียนรับสิทธิที่ www.เราเที่ยวด้วยกัน.com ก่อนจึงจะสามารถใช้สิทธิบนแอปฯ เป๋าตังได้

2. กรณีที่เดิมเคยใช้ แอปฯ เป๋าตัง แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้เบอร์โทรศัพท์เบอร์เดิมแล้ว จะเข้าใช้งาน แอปฯ เป๋าตัง ได้อย่างไร

คำตอบ:สามารถแก้ไขปัญหา ได้ 3 วิธี ได้แก่

  • สามารถเข้าใช้งานด้วยการผูกบัญชีกรุงไทย
  • สามารถเข้าใช้งาน G-wallet ด้วยการรับรหัส OTP จากเบอร์ที่ลงทะเบียนโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เพื่อยืนยันตัวตน
  • ติดต่อเบอร์ 02-111-1144 หรือสาขาธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศ

3. เมื่อจองโรงแรมเรียบร้อยแล้ว จะทราบได้อย่างไรว่าได้รับการยืนยันจากโรงแรม

คำตอบ: สามารถตรวจสอบผลยืนยันการจองโรงแรมที่แอปฯ เป๋าตัง จากการแจ้งเตือนบนแอปฯ ซึ่งประชาชนสามารถทำการตรวจสอบรายละเอียดส่วนลดจากสิทธิที่ได้รับ และชำระเงินได้ที่ Payment Link บนแอปฯ

4. จะทราบได้อย่างไร ว่า E-voucher โรงแรมที่จองสามารถใช้งานได้ในวันไหน

คำตอบ: สามารถทราบได้หลังจากที่ประชาชนชำระเงินส่วน 60% ที่จองโรงแรมสำเร็จ และตรวจสอบ E-voucher บนแอปฯ เป๋าตัง ที่เมนู G-wallet

5. ประชาชนจะได้รับบัตรกำนัล ส่วนลดค่าอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวอย่างไร

คำตอบ: ประชาชน ต้องทำการจองโรงแรมพร้อมชำระเงินส่วน 60% สำเร็จ และเดินทางไปเข้าพักที่โรงแรม เมื่อทำการเช็กอิน ที่พักเรียบร้อย ระบบจะแสดงคูปองส่วนลดอาหาร/ท่องเที่ยว บนแอปฯ เป๋าตังให้ใช้งานเวลา 17.00 น. ในวันเช็กอิน

6. คูปองอาหารมีวันหมดอายุหรือไม่

คำตอบ: คูปองส่วนลดค่าอาหาร/สถานที่ท่องเที่ยว จะมีอายุการใช้งานถึงวันเช็กเอาต์ก่อนเที่ยงคืน

7. E-Voucher โรงแรมที่ได้รับ สามารถเปลี่ยนแปลงวันเข้าพัก หรือ ยกเลิกได้หรือไม่

คำตอบ: ผู้ที่ได้รับสิทธิส่วนลดโรงแรมเรียบร้อยแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวันเข้าพัก หรือ ยกเลิกการจองได้

8. หลังจากที่โรงแรมส่ง Payment Link เพื่อยืนยันการจอง ประชาชนต้องเข้าไปชำระเงินภายในกี่วัน

คำตอบ: ประชาชนที่ได้รับ Payment Link บนแอปฯ เป๋าตัง สามารถชำระเงินเพื่อยืนยันการจองได้ภายในวันถัดไป (T+1)

9. E-Voucher ที่ได้รับจากการจองโรงแรม จะมีหมดอายุวันไหน

คำตอบ: ส่วนลดค่าโรงแรมจะหมดอายุ ตามวันที่จองที่พัก

 

 

]]>
1286445