เศรษฐกิจสหรัฐฯ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 04 Feb 2024 12:05:04 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ตำแหน่งงานที่ถูก “เลย์ออฟ” ในสหรัฐฯ เดือนมกราคม 2024 พุ่ง 136% “ภาคการเงิน” หนักที่สุด https://positioningmag.com/1461411 Sat, 03 Feb 2024 10:25:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1461411 สัญญาณการ “เลย์ออฟ” ในสหรัฐฯ เริ่มเร่งตัวขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2024 หลังจากเดือนมกราคมที่ผ่านมามีตำแหน่งงานถูกปลดไปกว่า 82,000 ตำแหน่ง เพิ่มขึ้น 136% จากเดือนก่อนหน้า “ภาคธุรกิจการเงิน” หนักที่สุด

Challeger, Gray & Christmas บริษัทช่วยจัดหางานใหม่ในสหรัฐฯ ออกรายงานเกี่ยวกับตำแหน่งงานที่ถูก “เลย์ออฟ” ในสหรัฐฯ พวกเขาพบว่า บริษัทที่ศึกษามีแผนการปลดพนักงานรวม 82,307 ตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคม 2024 เพิ่มขึ้น 136% เทียบกับเดือนธันวาคม 2023 ถือเป็นสถิติการปลดพนักงานในเดือนเดียวที่สูงเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2009 เป็นรองแค่เพียงเดือนมกราคม 2023 ที่มีการเลย์ออฟมากกว่าเดือนมกราคมปีนี้ 20%

“กระแสการประกาศเลย์ออฟในบริษัทสัญชาติอเมริกันเริ่มขึ้นอีกครั้งในเดือนมกราคมที่ผ่านมา หลังจากไตรมาส 4 ปีก่อนกระแสนี้ดูจะเงียบลงไปแล้ว” แอนดี้ ชาเลนเจอร์ รองประธานอาวุโสที่ Challeger, Gray & Christmas กล่าว โดยเขาเสริมว่า การปลดพนักงานเกิดขึ้นจากทิศทางเศรษฐกิจโดยรวม ผสานกับการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ไปสู่การใช้ระบบออโตเมชันและ AI ในหลายภาคส่วนธุรกิจ อย่างไรก็ตาม กรณีที่พบมากที่สุดคือบริษัทเพียงจำเป็นต้อง “ลดต้นทุน”

สำหรับภาคธุรกิจที่เลย์ออฟมากที่สุดเมื่อเดือนก่อนคือ “ภาคการเงิน” มีการเลย์ออฟไป 23,238 ตำแหน่ง เป็นเดือนที่ภาคการเงินปลดพนักงานสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2018

ตามด้วย “ภาคธุรกิจเทคโนโลยี” มีการปลดพนักงานไป 15,806 ตำแหน่ง มากที่สุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2023 และเป็นการเลย์ออฟที่สูงขึ้นถึง 254% จากเดือนก่อน

“ผลกระทบจากการพัฒนาของ AI และการนำมาใช้งาน เริ่มจะกระทบไปถึงตำแหน่งงานบ้างแล้วโดยเฉพาะในตลาดงานเทคโนโลยีและธุรกิจสื่อ” ชาเลนเจอร์กล่าว “แต่บริษัทจะโทษ AI ไปทั้งหมดในการตัดสินใจปลดพนักงานไม่ได้เช่นกัน”

อีกหนึ่งภาคธุรกิจที่เลย์ออฟค่อนข้างมากคือ “ภาคการผลิตอาหาร” ปลดพนักงาน 6,656 ตำแหน่ง สูงที่สุดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2012 ชาเลนเจอร์กล่าวว่า ธุรกิจนี้กระทบจากต้นทุนแรงงานที่สูงและระบบออโตเมชันที่ล้ำสมัยมากขึ้น ทำให้การทำงานของอุตสาหกรรมเปลี่ยนรูปแบบไป

รวมถึง “ภาคธุรกิจรีเทล” ที่ปลดคนไป 5,364 ตำแหน่ง ถือว่าสูงทะยานขึ้นมากจากเมื่อเดือนธันวาคมปีก่อนที่มีการปลดพนักงาน 110 ตำแหน่ง โดยบริษัทกลุ่มรีเทลส่วนใหญ่ระบุเหตุของการเลย์ออฟว่าเกิดจากการปิดสาขาหน้าร้านและการนำ AI มาใช้แทน

สำหรับการรับสมัครตำแหน่งงานใหม่ กรมแรงงานของสหรัฐฯ ประกาศเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า เดือนมกราคม 2024 มีการรับสมัครงาน 180,000 ตำแหน่ง มากกว่าจำนวนการปลดพนักงาน แต่ก็ต่ำลงเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2023 ที่มีการรับสมัครงาน 216,000 ตำแหน่ง

ทางการสหรัฐฯ คาดการณ์ว่าอัตราการว่างงานจะขยับเพิ่มขึ้นเป็น 3.8% ในปีนี้

Source

]]>
1461411
วิกฤต! “การจ้างงาน” ในสหรัฐฯ จะไม่ฟื้นกลับมาในระดับก่อน COVID-19 จนกว่าปี 2023 https://positioningmag.com/1299821 Sat, 03 Oct 2020 14:33:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299821 สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า แพทริก ฮาร์เกอร์ ประธานธนาคารกลางประจำนครฟิลาเดลเฟียของสหรัฐฯ เปิดเผยว่าแม้เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะกลับมาฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ หลังเผชิญภาวะหดตัวครั้งใหญ่ในไตรมาส 2 (เม.ย.-มิ.ย.) ของปีนี้ แต่การจ้างงานในสหรัฐฯ อาจจะไม่ฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาดใหญ่จนกว่าจะถึงปี 2023

“แนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจที่ผมพูดมานั้น ขึ้นอยู่กับอัตราผู้ป่วยใหม่ที่ลดลงอย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งอาจเป็นผลจากการสวมหน้ากากอนามัยอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะพื้นที่ในร่ม ทำให้การระบาดครั้งใหม่เกิดขึ้นเพียงประปราย” ฮาร์เกอร์กล่าวระหว่างการประชุมออนไลน์ที่จัดโดยการประชุมสถาบันการเงินและเงินตราทางการ (OMFIF)

“เราคาดว่าวัคซีนจะเริ่มพร้อมใช้งานเป็นวงกว้างในช่วงกลางถึงปลายปีหน้า แต่โรค COVID-19 นั้นยังยากจะควบคุม” ฮาร์เกอร์กล่าว พร้อมเสริมว่าทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจนั้นส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับทิศทางการระบาดของโรค

ฮาร์เกอร์ชี้ว่าแม้เศรษฐกิจจะยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และสามารถหลีกเลี่ยงการระบาดรอบใหม่ได้ แต่หลายภาคธุรกิจอย่างการท่องเที่ยวและการบริการจะยังคงซบเซาไปอีกนาน ฉุดให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และการเติบโตของการจ้างงานโดยรวมลดลงตามไปด้วย

Photo : Xinhua

“โชคร้ายที่การจ้างงานอาจไม่กลับไปสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาดใหญ่จนกว่าจะถึงปี 2023” ฮาร์เกอร์กล่าว พร้อมเรียกร้องฝ่ายนิติบัญญัติของสหรัฐฯ พิจารณาการสนับสนุนทางการเงินเพิ่มเติมในเร็ววัน เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจของโรค COVID-19

“เนื่องจากสหรัฐฯ ไร้ความสามารถควบคุมไวรัส ทำให้ยอดผู้ป่วยเสียชีวิตในประเทศครองสัดส่วนราว 21% ของยอดผู้ป่วยเสียชีวิตทั่วโลก แม้ประชากรของประเทศจะครองสัดส่วนเพียง 4% ของประชากรโลกก็ตาม” ฮาร์เกอร์กล่าว

ทั้งนี้ ฮาร์เกอร์ออกมาแสดงความคิดเห็นหลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเดโมแครตเปิดเผยมาตรการเยียวยาโรค COVID-19 มูลค่า 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 69 ล้านล้านบาท) ซึ่งเป็นความพยายามกดดันทำเนียบขาว และพรรครีพับลิกันบรรลุข้อตกลงดังกล่าวก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายน

ด้านแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ และมาร์ก มีโดวส์ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาว ต่างแสดงความหวังว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาโรค COVID-19 หลังการเจรจาที่หยุดชะงักกลับมาดำเนินการต่ออีกครั้ง

]]>
1299821