เหมา – เหมา – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 21 Sep 2020 16:47:40 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รู้จัก “เหมา-เหมา” อีคอมเมิร์ซ “ค้าส่ง” รวมเเบรนด์-ผู้ผลิต หวังปั้นเป็น “เถาเป่าเมืองไทย” https://positioningmag.com/1297751 Mon, 21 Sep 2020 11:47:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297751 เรามักจะได้ยินคนพูดกันว่าตอนนี้ใครๆ ก็ขายของอยู่เสมอ เเละในยามนี้ยิ่งกระเเสอีคอมเมิร์ซมาเเรงสุดๆ จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป จึงเป็นโอกาสของผู้คนที่ต้องการหารายได้ ด้วยการเป็นพ่อค้าเเม่ค้าออนไลน์ทั้งเเบบฟูลไทม์เเละพาร์ตไทม์

ตลาดค้าขายออนไลน์ไทยเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากข้อมูลระบุว่า ในช่วงวิกฤต COVID-19 มีผู้ลงทะเบียนกับรัฐว่าประกอบอาชีพขายของออนไลน์ราว 2.1 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีคนที่ขายของออนไลน์เป็นอาชีพเสริมอีกถึง 3 ล้านคน รวมๆ เเล้วตอนนี้คนไทยขายของออนไลน์กันถึง 5 ล้านคนเลยทีเดียว

เเต่การหาเงินจากขายออนไลน์ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อต้องเผชิญสมรภูมิการเเข่งขันสูง ทั้งการตัดราคา ค่าโฆษณาก็เเพงขึ้นทุกปี เเละตอนนี้ยังต้องเจอคู่เเข่งจากจีนที่เปลี่ยนจากผู้ค้าส่งมาลงสนามขายเองด้วย “ราคาที่ถูกกว่า” บน E-Marketplace เเถมยังมีโกดังกระจายสินค้าในไทยเเล้ว ดังนั้นผู้ขายคนไทย จะรับของจากจีนมาขายต่อเเบบเดิมๆ ก็คงยาก

จากความสงสัยที่ว่า คนไทยเป็นพ่อค้าเเม่ค้าออนไลน์เกือบ 5 ล้านคน เเต่กลับไม่มีเเพลตฟอร์มค้าส่งสินค้าไทยเหมือนเถาเป่า” หรือ 1688” ของจีนเลย จึงเป็นที่มาของเเพลตฟอร์มน้องใหม่จาก อย่าง “เหมา-เหมา” www.mhao-mhao.com ศูนย์รวมแบรนด์และผู้ผลิตสินค้าส่ง ให้คนขายของออนไลน์มาเลือกซื้อของไปขายต่อได้ใน “ราคาเเบบเหมาๆ” ที่ถูกพัฒนาโดยทีมจาก SCB 10X บริษัทลูกของเเบงก์ใหญ่อย่างไทยพาณิชย์นั่นเอง 

หวังเเก้ Pain Point ให้ชาวขายออนไลน์

มาโนช พฤฒิสถาพร ผู้ร่วมก่อตั้ง เหมาเหมา เล่าให้ฟังว่า เป็นโอกาสที่ตอนนี้ในไทยยังไม่มีแพลตฟอร์มที่ขายสินค้าแบบ B2B (Business-to-Business) มากนัก ส่วนใหญ่มักจะขายผ่าน E-Marketplace ไปยังผู้บริโภคเลย ทำให้ SCB 10X มองเห็น Pain Point ของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ “อยากได้สินค้าดี-หลากหลายหมุนเวียน-ในราคาส่ง-ราคาเหมา-ไม่ต้องสต็อกของ”

ปกติเเล้วผู้ขายในไทย จะเเบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ ขายเต็มตัวจริงจัง ขายเป็นอาชีพเสริม เเละตัวเเทน MLM โดยจะมีช่องทางหาของขายเช่น สั่งของจากจีน ติดต่อผู้ผลิตในไทย รับของจากเเหล่งค้าส่ง (เช่น สำเพ็ง) ซื้อของเเบรนด์ลดราคามาขายต่อ เป็นตัวเเทนจำหน่ายเเละเเบรนด์ที่ให้ขายเเบบ Dropship

ขณะที่เมื่อพูดถึงการขายออนไลน์ คนส่วนใหญ่จะคิดถึงคนที่ไลฟ์ขายของดังๆ เช่น พิมรี่พาย เจ้น้ำ หรือบังฮาซัน เเต่หากมองลึกกว่านั้น เราจะเห็น “ทีเด็ด” ของกลุ่มผู้ขายออนไลน์ในไทย คือ เฟซบุ๊กกรุ๊ปลับ ไลน์กรุ๊ปลับ (ที่ไม่ลับ) ซึ่งพวกเขาสามารถปิดการขายกับลูกค้าได้รวดเร็วมาก ซึ่งเเม้เเต่เเบรนด์ใหญ่ก็ทำไม่ได้ นี่คือกลุ่มผู้ใช้ที่เเพลตฟอร์มเหมา-เหมาเล็งไว้

คนขายของออนไลน์บางส่วน ยังไม่รู้ว่าจะหาของมาขายจากไหน เพราะในไทยยังไม่มีเว็บไซต์เเบบ เถาเป่าหรือ 1688 จึงต้องสั่งของจากจีน ซึ่งอาจมีความล่าช้าในการจัดส่ง ยิ่งตอนนี้เเบรนด์จีนที่เคยค้าส่งก็ลงตลาดขายปลีกเองด้วย ต้องเจอกับการขายตัดราคา ไม่มีใบกำกับภาษี เงินทุนไม่พอ เข้าไม่ถึงเเละต่อรองซัพพลายเออร์ไม่ได้”

shopping online

มีการคัดกรอง วางระบบแบนขายแบบตัดราคา

โจทย์หลักๆ ของ เหมา-เหมา คือให้ทั้งคนขายเลือกซื้อของในราคาส่งไปขายต่อได้ เเละแบรนด์มีโอกาสขายสินค้าผ่านตัวแทนมากขึ้นเพิ่มเติมจากช่องทางออนไลน์และหน้าร้านของตัวเอง

โดยจะมีการตรวจสอบ “ร้านค้าส่ง” อย่างละเอียด ว่าเป็นร้านที่ผลิตหรือขายสินค้านั้นๆ จริงหรือไม่ ซึ่งในบางสินค้าจะต้องได้รับการรับรองจาก อย. เป็นของเเท้เเละมีมาตรฐาน ขณะที่หากมีการนำเข้าสินค้าก็จะต้องมีหนังสือรับรองอย่างเป็นทางการ เเละยังมีระบบแบนการขายแบบตัดราคาด้วย ขณะเดียวกัน “คนขาย” ก็ต้องลงทะเบียนและให้ร้านค้าหรือผู้ผลิตทำการอนุมัติ จึงจะทำการซื้อสินค้าแบบราคาขายส่งได้

“ระบบจะมีทั้งให้ขายส่งเเละขายปลีก ซึ่งขึ้นอยู่กับร้านค้าว่าต้องการเปิดเผยราคาขายส่งเฉพาะพ่อค้าเเม่ค้าที่จะนำไปขายต่อเท่านั้น หรือจะเปิดเผยให้คนซื้อปลีกทั่วไปด้วยในราคาที่เท่ากันหรือต่างกัน ซึ่งรูปเเบบหน้าเว็บที่ใช้งานก็จะไม่เหมือนกัน” 

ฟีเจอร์เด่นของ “เหมา-เหมา”

‘เหมา-เหมา’ มีเเผนจะขยายไปช่วยผู้ผลิตหรือโรงงานในแง่ของ “การทำตลาด” ยกตัวอย่างว่าเว็บไซต์ขายส่งของจีน จะมีรุปที่สวยงาม คนขายออนไลน์ก๊อบไปโปรโมตต่อได้เลย ซึ่ง SCB 10X จะมาช่วยผู้ผลิตในจุดนี้ รวมถึงการประชาสัมพันธ์อื่นๆ ให้ไม่ต้องแข่งกันยิงโฆษณา เเต่จะเอามาเป็นส่วนลดให้คนขายออนไลน์เเทน โดยเว็บไซต์เหมา-เหมา มีจุดเด่น ดังนี้

  • ออปชั่นร้านอนุมัติก่อนขาย
  • ตั้งราคาออเดอร์ขั้นต่ำ
  • ระบบส่วนลด ตามจำนวนชิ้นที่ซื้อ / ประเภทลูกค้า / ยอดซื้อ
  • ระบบเเบนคนขายตัดราคา
  • ออปชั่นให้เเบรนด์จัดส่งให้
  • เเม่ค้าเเชร์รายละเอียดสินค้า เเละรูปไปขายต่อได้ง่าย

“เหมาเหมา” เเบบ “หมูหมู” 

ย้อนกลับไป ‘เหมา-เหมา’ เริ่มต้นด้วยทีมงานที่มีแบคกราวด์ด้านเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ 5 คน ได้ไปคลุกคลีและพูดคุยกับทั้งกลุ่มผู้ผลิตและกลุ่มผู้ขาย เพื่อนำเอา Pain Point ของคนทั้งสองกลุ่มมาเป็นจุดตั้งต้นในการพัฒนาแพลตฟอร์ม โดยใช้เวลา เดือน 

ที่มาของชื่อเหมา-เหมา เกิดขึ้นด้วยการหยิบคีย์เวิร์ดคำว่า “เหมา” ที่มาจากการซื้อเเบบเหมายกโหล ซื้อจำนวนมากทำให้คนจำง่ายเเละสื่อความหมายได้ตรงๆ ว่าเป็นเเพลตฟอร์มขายส่ง

ส่วนการเลือกใช้คาร์แร็กเตอร์ “น้องหมู” นั้นมองว่าเป็นสัตว์นำโชคที่สื่อถึงความเจริญรุ่งเรือง เป็นการอวยพรให้พ่อค้าแม่ค้า และผู้ผลิต รวมถึงเจ้าของแบรนด์ต่างๆ ขายดีมีกำไรง่ายๆ แบบ หมูๆ

หลังจากได้ทดลองเปิดใช้งานเป็นเวลา 1 เดือนในวงจำกัด พบว่า พบว่าได้รับการตอบรับจากผู้ผลิตและแบรนด์ชั้นนำอย่าง ADVICE IT, AMADO, ANELLO, ANITECH, BODUM, BOSSINI, ESPRIT, ETAM, FN OUTLET, JOSEPH JOSEPH, MALEE, RADLEY, ZWILLING และดอยคำ เป็นต้น เเละตอนนี้มีร้านค้าส่งรายย่อยต่างๆ ทยอยลงทะเบียนเเล้ว

สำหรับหมวดสินค้าที่ “คนขาย” สนใจซื้อนำไปขายต่อมากที่สุด ได้เเก่ ของใช้ของตกแต่งบ้าน เครื่องสำอาง อาหารเสริม แฟชั่นผู้หญิง และเครื่องใช้ไฟฟ้า

นอกจากนี้ ยังพบว่าสินค้าที่จะได้รับความสนใจ คือ สินค้าแบรนด์ชื่อดังลดราคา สินค้าที่รูปสามารถขายได้ด้วยตนเอง สินค้าโละสต็อก รวมถึงสินค้าคุณภาพดียังไม่ดังมากแต่ให้ผลตอบแทนสูง

“เหมา-เหมา” ตั้งเป้าจะมีคนขายออนไลน์มาใช้เเพลตฟอร์มนี้กว่า 500,000 คน ซึ่งตอนนี้มีคนขายลงทะเบียนเเล้วหลายพันคน เเละหวังว่ามีร้านค้าเเละเเบรนด์ต่างๆ เข้าร่วม 1,000 เจ้าให้ได้ภายในสิ้นปี 2563 

พร้อมเตรียมขยายให้มี “เเอปพลิเคชัน” ภายในช่วง 2 เดือนนี้ โดยให้เหตุผลถึงการเปิดตัวเป็นเว็บไซต์ก่อนว่า คนไทยเสิร์ซหาคำว่า “หาของขาย” , “สมัครตัวเเทน” , “ขายของออนไลน์” ฯลฯ จำนวนมากใน Google จึงเหมาะที่จะเป็นเว็บไซต์ก่อนนั่นเอง

เก็บ Data ต่อยอดปล่อยกู้ 

สำหรับโมเดลรายได้นั้น ช่วงแรกยังให้ขายฟรีแบบไม่มีค่าธรรมเนียม เเต่จะเน้นไปที่การ “เก็บ Data เพื่อปล่อยกู้” โดยในอนาคตอีก 1 ปีข้างหน้า จะเริ่มใช้ข้อมูลที่เก็บได้จากแพลตฟอร์มเหมา-เหมา มาใช้เพื่อการปล่อยกู้คนขายหรือแม่ค้าพ่อค้าที่ต้องการขยายธุรกิจ หรือให้เครดิตกับผู้ใช้ชั้นดี เพื่อเป็นการหมุนเงิน เป็นต้น

ขณะเดียวกัน “เหมา-เหมา” ยังต้องเผชิญกับความท้าทายอยู่มาก โดยเฉพาะสินค้าราคาส่งจากจีนที่ราคาถูกกว่ามาก เเละวางขายทั่วไปใน E-Marketplace ผู้ร่วมก่อตั้ง เหมา-เหมา บอกว่า มีเป้าหมายระยะยาว คือ การพัฒนาให้เป็นเเพลตฟอร์มที่ศูนย์รวมแบรนด์และผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุดในไทย เติบโตไปพร้อมๆ กับผู้ประกอบการรายย่อยเเละผู้ขายของออนไลน์ 

“สินค้าไทยอาจจะสู้เรื่องราคาไม่ได้ อย่างไรต้นทุนจากจีนก็ราคาถูกกว่าแน่นอน ดังนั้นเราจึงอยากชูความแตกต่างและความโดดเด่นของสินค้าไทย ซึ่งมีจุดเด่น มีกลุ่มลูกค้า และได้รับการยอมรับอยู่แล้ว” 

ต้องรอลุ้นว่าในอนาคตข้างหน้า “เหมา-เหมา” จะกลายเป็น เถาเป่าเมืองไทย ได้หรือไม่?

 

 

]]>
1297751