เเอนิเมชัน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 17 Aug 2021 13:15:11 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 โควิดฉุดวงการ ‘แอนิเมชันญี่ปุ่น’ ยอดขายร่วง ครั้งแรกรอบ 10 ปี เเถมต้องสู้คู่เเข่งจากจีน https://positioningmag.com/1347368 Tue, 17 Aug 2021 09:47:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347368 อุตสาหกรรมการ์ตูนญี่ปุ่นสะเทือนพิษโควิด หลังเติบโตเเละทำรายได้ดีมาอย่างต่อเนื่อง เเม้จะได้ ‘Demon Slaye’ ดาบพิฆาตอสูร มาช่วยพยุงตลาดก็ตาม เเถมยังต้องสู้คู่เเข่งอย่างแอนิเมชันจีนด้วย 

ผลสำรวจจาก Teikoku Databank พบว่า อุตสาหกรรมแอนิเมชันของญี่ปุ่น มียอดขายลดลง 1.8% นับเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกในรอบ 10 ปี 

ในปีที่แล้วยอดขายทั้งหมดของอุตสาหกรรมแอนิเมชันญี่ปุ่น อยู่ที่ราว 251,100 ล้านเยน ลดลงจากปี 2019 ซึ่งอยู่ที่ 255,700 ล้านเยน 

เเม้จะมีความนิยมอย่างล้นหลามจาก ‘Demon Slayer’ ดาบพิฆาตอสูร ที่เพิ่งฉายไปเมื่อปี 2020 ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดในประวัติศาสตร์บ็อกซ์ออฟฟิศของญี่ปุ่น ด้วยรายรับมากกว่า 4 หมื่นล้านเยน มาช่วยชดเชยตลาด เเต่ภาพรวมของวงการนี้ก็ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดไปไม่น้อย

วิกฤตโควิด ส่งผลต่อกระบวนการผลิตแอนิเมชันในหลายสตูดิโอ ซึ่งส่งผลต่อรายได้เเละการเเบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น โดยสตูดิโอในญี่ปุ่นที่เข้าร่วมการสำรวจกว่า 300 แห่ง กำลังเผชิญกับยอดขายที่ลดลงกว่า 48.6%

ขณะเดียวกัน แนวโน้มอุตสาหกรรมแอนิเมชันของญี่ปุ่นนั้น กำลังดูในช่วงท้าทายจากการเเข่งขันที่สูงขึ้น โดยเฉพาะจากฝั่งบริษัทแอนิเมชันของจีน ที่ขยับลงทุนบุกตลาดนี้อย่างจริงจัง

โดยบริษัทจีน ได้มีการทุ่มเงินจ้างนักวาดและเข้าซื้อหุ้นของสตูดิโอของญี่ปุ่น รวมถึงพยายามเร่งพัฒนาเทคโนโลยีคุณภาพการผลิตเเละบุคลากร มีเครื่องมืออำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ก้าวหน้า ทำให้ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ แอนิเมชันจีนเริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ

 

ที่มา : Japantimes  

]]>
1347368
BIDC 2021 แจก 19 รางวัล “ดิจิทัล คอนเทนต์” คนไทยสุดครีเอทีฟ ดันตลาดบูม 39,000 ล้าน https://positioningmag.com/1345047 Tue, 03 Aug 2021 12:18:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345047 BIDC 2021 แจก 19 รางวัลผลงาน “ดิจิทัล คอนเทนต์” ยอดเยี่ยม ร่วมผลักดันอุตสาหกรรม เกมฝีมือคนไทย “Kingdoms Reborn” มาแรงกวาด 4 รางวัล ชี้ตลาดได้อานิสงส์ช่วง COVID-19 เติบโต 10-15% มูลค่าตลาดปี 2564 คาดสูงแตะ 39,000 ล้านบาท โชว์ฝีมือบนเวทีโลกมากขึ้น ผู้ประกอบการ-ศิลปินไทยผลิตงานทรัพย์สินทางปัญญาออกตลาดเพิ่ม

ภาครัฐร่วมภาคเอกชนจับมือกันจัดงาน Bangkok International Digital Content Festival 2021 หรือ BIDC 2021 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 8 และเป็นครั้งที่สองที่งานจัดในรูปแบบออนไลน์ ภายในงานมีการจัดกิจกรรมเสวนาออนไลน์ (Webinar) เกี่ยวกับอุตสาหกรรม “ดิจิทัล คอนเทนต์” รวม 23 หัวข้อ พร้อมมอบรางวัล BIDC AWARDS 2021 ให้ผู้ประกอบการไทย (ดูรายชื่อผู้ชนะได้ด้านล่างบทความ)

รวมถึงงานนี้จะมีการจัดเจรจาธุรกิจอออนไลน์ระหว่างผู้ประกอบการไทยและต่างชาติทั่วโลก ซึ่งคาดว่าจะมีการจับคู่มากกว่า 300 คู่ คิดเป็นเม็ดเงินไม่น้อยกว่า 700 ล้านบาท

อุตสาหกรรมดิจิทัล คอนเทนต์ของไทยนั้นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดย ผศ.ดร.สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย นายก สมาคมธุรกิจบางกอกเอซีเอ็มซิกกราฟ (BASA) และผู้แทนภาคอุตสาหกรรม ระบุว่า มูลค่าตลาดดิจิทัล คอนเทนต์ปี 2563 อยู่ที่ 34,200 ล้านบาท เติบโต 10.1% จากปีก่อนหน้า ส่วนปี 2564 เชื่อว่าจะยิ่งเติบโตสูงขึ้น โดยคาดว่าจะโต 15% ทำให้ปีนี้มีเม็ดเงินหมุนเวียน 39,000 ล้านบาท พร้อมคาดการณ์ปี 2565 จะโตต่อเนื่องอีก 15% ขึ้นไปแตะ 45,000 ล้านบาท

สาเหตุการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ได้อานิสงส์จากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งทำให้คนยิ่งอยู่หน้าจอและใช้สื่อออนไลน์มากขึ้น

ตารางงาน BIDC 2021 และหน่วยงานรัฐ-เอกชนที่ร่วมกันจัดงาน

“นพ ธรรมวานิช” นายกสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชันและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (TACGA) กล่าวว่า แม้ว่าบางส่วนของอุตสาหกรรมอาจได้รับผลกระทบ เช่น กลุ่มภาพยนตร์ ละครไทย ที่ไม่สามารถออกกองได้ในช่วงนี้ มีผลต่อเนื่องทำให้งานออกแบบ CG ชะลอลง แต่เนื่องจากผู้ประกอบการไทยรับงานจ้างผลิตให้กับต่างประเทศมาก ปัจจุบันคิดเป็น 40% ของงานในมือทั้งหมดแล้ว และเทรนด์ของอุตสาหกรรมนี้ทั่วโลกเติบโตปีละ 10% ทำให้ผลกระทบไม่รุนแรงมากนัก

ขณะที่บางธุรกิจ COVID-19 ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญทีเดียว “เขมนรินทร์ รัตนาอัมพวัลย์” นายกสมาคมอีเลิร์นนิงแห่งประเทศไทย (e-LAT) ระบุว่า ก่อนเกิดการระบาด อีเลิร์นนิงยังไม่เป็นที่สนใจในไทย แต่ตั้งแต่ปีก่อนอีเลิร์นนิงมีการเติบโต 20% ปีนี้คาดว่าจะโตอีก 25% เนื่องจากกลายมาเป็นบทบาทสำคัญของการเรียนตั้งแต่ในโรงเรียนจนถึงศูนย์ฝึกอาชีพ

 

คนไทยสร้างสรรค์สูง อนาคตเห็นงาน IP ไทยมากขึ้น

“กฤษณ์ ณ ลำเลียง” นายกสมาคมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย (DCAT) มองว่าอุตสาหกรรมนี้แข็งแกร่ง เพราะคนไทยมีบุคลากรด้านครีเอทีฟที่แข็งแรง และมีจำนวนมากเป็นอันดับต้นของภูมิภาคนี้ สอดคล้องกับนพจาก TACGA ที่ให้ข้อสังเกตว่างานที่ชนะรางวัล BIDC 2021 ปีนี้จำนวนมากไม่ใช่งานเฉพาะในไทยแต่อยู่ในระดับโลกแล้ว

นพยังชี้ทิศทางอนาคตว่าน่าจะได้เห็น งานทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ของคนไทยมากขึ้น เช่น อนิเมชันคนไทย จะเห็นการลงฉายในระบบสตรีมมิงต่างประเทศเร็วๆ นี้

“เนนิน อนันต์บัญชาชัย” นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย (TGA) กล่าวตรงกันว่า ทั้งภาครัฐและสมาคมมีความพยายามผลักดันให้คนไทยพัฒนาเกมที่เป็น IP ของเราเองมาโดยตลอด ซึ่งประสบผลสำเร็จในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมาจะมีเกมน้ำดีฝีมือคนไทยชนะรางวัลระดับนานาชาติเฉลี่ยปีละ 1-3 เกม ยกตัวอย่างเกมที่โดดเด่นของปีนี้คือ Kingdoms Reborn เพิ่งเปิดลงสตีมแต่ทำรายได้ไปแล้วเกือบ 100 ล้านบาท

 

สำหรับการมอบรางวัล BIDC AWARDS 2021 ผู้ชนะมีทั้งหมด 19 รางวัลจาก 5 สาขา ดังนี้

สาขา Emerging Technology and Education (สนับสนุนโดยสมาคมธุรกิจบางกอกเอซีเอ็มซิกกราฟ หรือ BASA)
  • Best Student’s Animation Technical Project Award : ผลงาน FAST WEIGHTS (ฟาส เวท) จาก อภิสิทธิ์ สมบุญใจ (ICT Silpakorn)
  • Best Student’s Animation Art & Design Project Award : ผลงาน Little Miss Dungjai (ลิตเติ้ล มิส ดั่งใจ) จาก พริ้ม สุรพักตร์ภิญโญ และ ปัทมา หอมรอด
  • Best Student’s Game Project Award : ผลงาน PARASITE จาก กันภัย รูปทอง (ICT Silpakorn)
สาขา Character (สนับสนุนโดยสมาคมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย หรือ DCAT)
  • Character of the Year Award : ผลงาน Warbie Yama (วอร์บี้ ยามะ) จาก บริษัท อาร์วามะ จำกัด
  • Best Corporate Character of the Year Award (มาสคอตองค์กร) : ผลงาน ZONZON (ซนซน) จาก บริษัท วิธิตา แอนิเมชั่น จำกัด
  • Most Popular Character in Social Media Award : ผลงาน Bear Please หรือ หมีขอ จาก คมสัน ฟักสกุล
Warbie Yama ผลงานชนะรางวัล Character of the Year
สาขา e-Learning (สนับสนุนโดยสมาคมอีเลิร์นนิงแห่งประเทศไทย หรือ e-LAT)
  • e-Learning for School Award : AR Education เทคนิคและอาชีวะ จาก บริษัท อินฟินิตี้ เดฟ จำกัด
  • Virtual Class Room Platform Innovation Award : ผลงาน ห้องเรียนอาชีพออนไลน์ จาก สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)

(มี 3 รางวัลที่ไม่มีผู้เข้ารอบสุดท้าย คือ Reality Media for Special Education Award, AI Innovation For Learning Award และ Innovation Online for Learning for Seniors Award)

สาขา Animation and Visual Effect (สนับสนุนโดยสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชันและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย หรือ TACGA)
  • Best VFX In TV Commercial Award : ผลงาน BTS Past & Present (บีทีเอส พาส แอนด์ พรีเซ้นท์) จาก บริษัท อิ๊กดราซิล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่

  • Best VFX in Motion Picture Award : ผลงาน The Yin Yang Master’s (เดอะ หยิน หยาง มาสเตอร์) จาก บริษัท เดอะมั้งค์ สตูดิโอ จำกัด
  • Best VFX in Thai Drama Award : ผลงาน ภาพยนตร์ซีรี่ส์ “อินจัน” จำนวน 13 ตอน จาก บริษัท กันตนา แอนนิเมชั่น สตูดิโอ จำกัด
  • Best Animated Short Award : ผลงาน A Town Where We Live จาก บริษัท อิ๊กกลู สตูดิโอ จำกัด
  • Best Motion Design Award : ผลงาน Okinawa Symphony จาก บริษัท ดีไซนด์ คิท จำกัด
  • Best Animated Content Award : ผลงาน หนุมานนักรบมนตรา จาก Riff Studio (ริฟ สตูดิโอ)

สาขา Game & Interactive (สนับสนุนโดยสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย หรือ TGA)
  • Game of the Year Award : ผลงาน Kingdoms Reborn จาก บริษัท เอิร์ธไชน์ จำกัด
  • Best of Game Design Award : ผลงาน Kingdoms Reborn จาก บริษัท เอิร์ธไชน์ จำกัด
  • Best of Visual Art Award : ผลงาน Dash Dash World จาก บริษัท โมชั่นเอ็กซ์ สตูดิโอ จำกัด
  • Best of Sound Award : ผลงาน Kingdoms Reborn จาก บริษัท เอิร์ธไชน์ จำกัด
  • Developer Choice Award : ผลงาน Kingdoms Reborn จาก บริษัท เอิร์ธไชน์ จำกัด

(มี 1 รางวัลที่ไม่มีผู้เข้ารอบสุดท้ายคือ Best of Storytelling Award)

]]>
1345047
ร้องว้าวหนักมาก Netflix จะฉายแอนิเมชัน 21 เรื่องของสตูดิโอ Ghibli ให้ชมทั่วโลก 1 ก.พ.นี้ https://positioningmag.com/1261320 Mon, 20 Jan 2020 10:20:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261320 หลังสร้างความประทับใจเป็นตำนานเเห่งวงการภาพยนตร์แอนิเมชันมายาวนานกว่า 35 ปี ล่าสุด “สตูดิโอจิบลิ” (Studio Ghibli) กำลังจะเข้าสู่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งให้เเฟนๆ ได้รับชมผ่านทางออนไลน์ได้เป็นครั้งแรกบน Netflix ซึ่งจะเริ่มฉายชุดเเรก ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2020 นี้

นับเป็นโอกาสอันดีที่ผลงานของสตูดิโอจิบลิจะเข้าถึงคนทั่วโลก เเม้ก่อนหน้านี้ HBO Max คู่เเข่งของ Netflix จะได้ดีลนี้ไปเช่นกัน เเต่ยังจำกัดการให้บริการไม่กี่ประเทศเเละจะให้บริการในฤดูใบไม้ผลิปีนี้ ขณะที่ Netflix จะฉายทั่วโลก มีซับไตเติล 28 ภาษา และพากย์ 20 ภาษา

สำหรับผลงานของสตูดิโอจิบลิที่จะนำมาฉายใน Netflix มีทั้งหมด 21 เรื่อง ตลอดระยะเวลา 35 ปี ตั้งแต่เรื่องแรกอย่าง Nausicaä of the Valley of the Wind ปี 1984 จนถึงผลงานล่าสุด When Marnie Was There ปี 2014

อย่างไรก็ตาม ขาดไป 1 เรื่องเท่านั้นคือ Grave of the Fireflies สุสานหิ่งห้อย กำกับโดย อิซาโอะ ทาคาฮาตะ ซึ่งเป็นผลงานคลาสสิกครองใจใครหลายคน

Photo : My Neighbor Totoro – Ghibli/Netflix

“นี่เป็นเหมือนฝันที่กลายเป็นจริงสำหรับ Netflix เเละสมาชิกหลายล้านคนของเรา ภาพยนตร์แอนิเมชันของสตูดิโอจิบลิ เป็นตำนานและมีแฟนๆ ทั่วโลก เรารู้สึกตื่นเต้นมากที่จะทำให้พวกเขาสามารถดูได้ในหลายภาษา ทั้งในละตินอเมริกา ยุโรป แอฟริกาและเอเชีย เพื่อให้ผู้คนเพลิดเพลินไปกับความมหัศจรรย์แห่งโลกแห่งแอนิเมชัน” Aram Yacoubian ผู้อำนวยการฝ่ายแอนิเมชันของ Netflix กล่าว

ด้าน Toshio Suzuki โปรดิวเซอร์ ผู้ร่วมก่อตั้งสตูดิโอจิบลิ ให้เหตุผลในการนำผลงานมาฉายบน Netflix ว่า ในยุคนี้ผู้ชมสามารถเข้าถึงภาพยนตร์ได้จากหลายช่องทาง เราทราบถึงเสียงเรียกร้องจากเเฟนๆ จำนวนมาก จึงได้ตัดสินใจเปิดสตรีมผลงานของเรา เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางให้ผู้ชมทั่วโลกได้มีโอกาสค้นพบโลกมหัศจรรย์ของสตูดิโอจิบลิ

สำหรับรายชื่อและช่วงเวลาฉายทั้ง 21 เรื่อง ได้แก่

1 กุมภาพันธ์ : Castle in the Sky (1986), My Neighbor Totoro (1988), Kiki’s Delivery Service (1989), Only Yesterday (1991), Porco Rosso (1992), Ocean Waves (1993), Tales from Earthsea (2006)

1 มีนาคม : Nausicaä of the Valley of the Wind (1984), Princess Mononoke (1997), My Neighbors the Yamadas (1999), Spirited Away (2001), The Cat Returns (2002), Arrietty (2010), The Tale of The Princess Kaguya (2013)

1 เมษายน : Pom Poko (1994), Whisper of the Heart (1995), Howl’s Moving Castle (2004), Ponyo on the Cliff by the Sea (2008), From Up on Poppy Hill (2011), The Wind Rises (2013), When Marnie Was There (2014)

 

ที่มา : hollywoodreporter

]]>
1261320